เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 15032 ที่มาของคำว่า"ไม่ฟังอีร้าค้าอีรม"
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 15 ธ.ค. 12, 15:15

 ยิงฟันยิ้ม
ebay อีเบย์ ==> นางเบย์   นางอ่าว
ebook  ==> นางบุ๊ค นางหนังสือ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 15 ธ.ค. 12, 16:01

พวกนี้สมรสแล้วทั้งนั้น


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 ธ.ค. 12, 16:05

วิศวฯ สาขา Electronics ---> วิศวฯ สาขา นางเล็คโทรนิกส์

electronics ท่านรอยอินยืนยันมาว่า "E" ตัวนี้ คนไทยออกเสียงว่า "อิ"

อิเล็กทรอนิกส์ [ทฺรอ] น. วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่งที่นํามาประยุกต์ใช้กับการศึกษาวงจรไฟฟ้าที่ใช้สารกึ่งตัวนําและอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งควบคุมการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนได้. (อ. electronics).

จึงเปลี่ยนสถานะเป็น "นาง" ไม่ได้

อิ อิ

ยิงฟันยิ้ม


คุณเพ็ญชมพูลองเปิดเข้าไปในเว็บออกเสียง  พิมพ์คำนี้ให้จูลี่ US  ออกเสียงให้ฟัง
จะรู้ว่ารอยอินท่านไม่ยอมให้คำนี้สมรส ต่างหากล่ะคะ  ถ้ายอมก็เป็นนางไปนานแล้ว

http://www.oddcast.com/home/demos/tts/tts_example.php?sitepal
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 18 ธ.ค. 12, 06:41

เดี๋ยวนี้เมื่อกระทำความผิดจะถูกจับเข้าคุกเข้าตะราง แต่เมื่อก่อนเราบอกกันว่า เข้า"ซังเต"

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 18 ธ.ค. 12, 07:26

เดี๋ยวนี้เมื่อกระทำความผิดจะถูกจับเข้าคุกเข้าตะราง แต่เมื่อก่อนเราบอกกันว่า เข้า"ซังเต"



เข้ามุ้งสายบัว...เก๋กว่าครับ ลุงไก่  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 18 ธ.ค. 12, 08:52

สงสัยว่า ไฉนกระทู้นี้จึงเลี้ยวเข้าสู่คุกตะรางได้   ฮืม

เข้าใจว่าคำว่า "คุก" และ "ตะราง" น่าจะเก่ากว่า "ซังเต" เสียอีก

คุก - ตะราง

คุณประเสริฐ เมฆมณี อดีตรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เขียนบทความส่งไปให้ราชบัณฑิตยสถานเพื่อตีพิมพ์ลงใน "สารานุกรมไทย" เกี่ยวกับเรื่องนี้ ตอนหนึ่งว่า

...เรือนจำในกรุงเทพฯ (ยุคแรก) มีชื่อเรียกเป็น ๒ อย่าง คือ คุก และ ตะราง

คุกเป็นที่คุมขังผู้ต้องขังมีกำหนดโทษตั้งแต่ ๖ เดือนขึ้นไป คุกเดิมตั้งอยู่ที่หน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ตรงที่ตั้งกองทหาร ร.พัน ๑ ในปัจจุบัน ภาษาสามัญชนเรียกคุกนี้ว่า "คุกหน้าวัดโพธิ์" และสังกัดกระทรวงนครบาล หลวงพัศดีกลางเป็นหัวหน้าดูแลรับผิดชอบ โดยมีขุนพัศดีขวาและขุนพัศดีซ้ายเป็นผู้ช่วย ส่วนผู้คุมใช้เลขไพร่หลวงยามใน คนใดมาเข้าเวรไม่ได้ ต้องเสียเงินคนละ ๖ บาทสำหรับจ้างผู้คุมแทนตัว เจ้าพนักงานคุกไม่มีเงินเดือนหรือเบี้ยหวัด ได้ผลประโยชน์จากการใช้แรงงานนักโทษทำงาน และได้ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่นักโทษต้องเสีย ค่าธรรมเนียมการรับนักโทษ มีอัตราวางไว้เก็บเมื่อเข้ามาต้องโทษ และเมื่อพ้นโทษต้องเสียเงินให้เจ้าพนักงานที่นำความกราบบังคม ทูล ๓ ตำลึง (๑๒ บาท) ครั้นโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยตัว เสียให้อีก ๒ ตำลึง (๘ บาท) การกิน การนุ่งห่มของนักโทษ ญาติพี่น้องต้องติดตามมาส่งบ้าง นักโทษทำงานด้วยฝีมือเป็นลำไพ่ของตนบ้าง เช่น การช่างไม้และการจักสาน มิได้จ่ายของหลวงให้เลย

ส่วนตะรางใช้เป็นที่คุมขังผู้ต้องขังที่มีโทษตั้งแต่ ๖ เดือนลงมา กับนักโทษที่มิใช่โจรผู้ร้าย ตะรางมีหลายแห่งซึ่งสังกัดอยู่ตามกระทรวงทบวงกรมที่บังคับบัญชากิจการนั้น ๆ เช่น ตะรางกลาโหม ตะรางมหาดไทย ตะราง กรมท่าช้าง ตะรางกระทรวงวัง ตะรางกระทรวงนครบาล ตะรางกระทรวงนครบาลนี้มีรวมทั้งหมด ๑๒ ตะราง ซึ่งได้แยกไปสังกัดในบังคับบัญชาของกรมพระนครบาล ๔ ตะราง สังกัดกรมพลตระเวน ๔ ตะราง ตะรางต่าง ๆ ที่แยกย้ายไปสังกัดกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ กันนี้ก็เพราะการศาลสถิตยุติธรรมในสมัยนั้นแยกย้ายกันสังกัดอยู่ ไม่ได้รวมขึ้นอยู่ในกระทรวงเดียวกันเหมือนสมัยนี้

จาก ภาษาไทย ๕ นาที

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 18 ธ.ค. 12, 09:03

ซังเต

มักพูดเป็นสำนวนว่า "เข้าซังเต" คำนี้ท่านรอยอินไม่ได้เก็บเอาไว้ในพจนานุกรม ทุกวันนี้ก็ยังเห็นใช้สำนวนนี้กันอยู่

คำนี้น่าจะมาจากชื่อคุก La Santé Prison อยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส



 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 18 ธ.ค. 12, 15:23

ว่าด้วยคำนำหน้าว่า "อี" ในกฎหมายรัชกาลที่ ๔

กฎหมายคำนำหน้าชื่อ รัชกาลที่ ๔ จากบล็อกของคุณกัมม์

ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้คำนำหน้าชื่อชนต่าง ๆ

มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า คนในพระราชอาณาจักรมิใช่จีนมิใช่ฝรั่ง แขก ญวน พม่า มอญ ซึ่งมาแต่เมืองจีน เมืองฝรั่ง เมืองแขก เมืองญวน เมืองพม่า เมืองมอญ แลมิใช่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ชีพ่อพราหมณ์ หลวงญวน หลวงจีน บาดหลวงฝรั่ง โต๊ะแขก รูปชี แพทย์หมอ แลครูอาจารย์สอนหนังสือก็ดี ยกเสียแต่ข้าราชการที่มีชื่อตามบรรดาศักดิ์ แต่หมื่นขึ้นไปถึงสมเด็จเจ้าพระยาแลเจ้าพระยาก็ดี แลยกเสียแต่พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ แลเจ้าประเทศราช แลเจ้าซึ่งเป็นบุตรตหลานพี่น้องของเจ้าประเทศราช ตลอดลงไปจนท้าวเพี้ยในเมืองลาว พระยาพระในเมืองเขมรตองกูตวนเจะในเมืองมลายู จ่ากังในพวกกระเหรี่ยงก็ดีแล้ว

ชายสามัญทั้งปวงมีคำนำหน้าชื่ออยู่แต่สองอย่างคือ นายอย่างหนึ่ง อ้ายอย่างหนึ่ง ตั้งแต่นายยามหุ้มแพรมหาดเล็ก แลนายเวรตำรวจ นายม้าจูง นายท้ายช้าง ลงไปจนตัวเลกหมู่ไพร่หลวงสามัญ มิใช่ไพร่หลวงมหันตโทษ แลนักโทษที่ไม่มีบรรดาศักดิ์ แลขาดบรรดาศักดิ์ก็ดี ไพร่สมกำลัง แลลูกหมู่มิใช่ทาสมิใช่เชลยก็ดี มีคำนำชื่อว่า นาย ทั้งหมด

ตัวแลลูกหมู่ไพร่หลวงมหันตโทษ แลนักโทษที่ไม่มีบรรดาศักดิ์ แลขาดบรรดาศักดิ์แล้ว แลตัวแลลูกหมู่ ทาส เชลย ทั้งปวงมีคำนำหน้าชื่อว่า อ้าย หญิงเช่นชายที่มีคำนำหน้าชื่อว่าอ้ายทั้งปวงนั้น ย่อมมีคำนำหน้าชื่อว่า อี ทั้งสิ้น

แต่หญิงอื่นจากที่ต้องมีลักษณะจะเรียกว่า อี นั้น ถ้าเป็นพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า ก็เรียกว่าพระองค์เจ้า หม่อมเจ้าตามที่ ถ้าต้องโทษถอดจากบรรดาศักดิ์พระองค์เจ้าหม่อมเจ้าก็เรียกว่า หม่อม บุตรชายหญิงของหม่อมเจ้าก็เรียกว่าหม่อมเหมือนกันกับราชนิกูลที่ไม่มีชื่อตำแหน่ง ทั้งชายหญิงก็เรียกว่า หม่อม

แต่ในกาลทุกวันนี้เจ้าราชนิกูล ผู้หญิงเชื้อพระวงศ์ที่สนิทในพระเจ้าอยู่หัว เขาเรียกกันว่าคุณว่าเจ้าคุณบ้าง ข้างในใช้ชิดพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมมหาราชวังแลพระบวรราชวัง มีคำนำหน้าว่าเจ้าจอม ถ้ามีพระองค์เจ้าก็มีคำนำหน้าเพิ่มเข้าว่าเจ้าจอมมารดา จอมเปล่าก็ขาดไป ท่านเจ้าจอมก็เกินไป

เจ้าจอมอยู่งานในแผ่นดินที่ล่วงลับแล้ว ที่สูงอายุแล้วใช้ราชการออกข้างหน้าได้ เรียกว่าเจ้าจอมเถ้าแก่

พนักงานข้างในทั้งปวงที่ไม่ได้เป็นเจ้าแลราชนิกูลเรียกว่า หม่อมพนักงานทั้งสิ้น

หม่อมพนักงานที่สูงอายุแล้วใช้ราชการออกข้าหน้าก็ดี หญิงหม้ายภรรยาข้าราชการที่ผัวถึงอสัญกรรม ถึงแก่กรรมบ้าง ผัวหย่าร้างบ้าง เข้ามารับราชการเช่นนั้นก็ดี บรรดาหญิงสูงอายุที่มิใช่เจ้าจอมเก่า ซึ่งรับราชการเช่นกับเจ้าจอมเฒ่าแก่นั้น เรียกว่าท่านเฒ่าแก่

หญิงมีบรรดาศักดิ์ในตำแหน่งมีชื่อตามบรรดาศักดิ์ มีคำนำว่าท้าว แต่กาลบัดนี้หญิงที่ไม่มีชื่อตามบรรดาศักดิ์ แต่ว่าราชการแทนท้าวหรือเทียบที่ท้าว ก็มีคำว่า ท้าว หน้าชื่อเดิม ว่าท่านท้าวก็เกินไป

นายโขลนที่เป็นจ่าทนายเรือน ก็มีคำนำหน้าชื่อว่า ทนายเรือน ข้างในใช้ชิดของพระองค์เจ้าหม่อมเจ้าทั้งปวง ที่มิใช่พระองค์เจ้าหม่อมเจ้าก็เรียกหม่อมทั้งสิ้น

ภรรยาหลวงข้าราชการที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการที่ถือศักดินาตั้งแต่นา ๑๐๐๐๐ ลงมาจนถึง ๔๐๐ ก็ดี ที่ได้พระราชทานเครื่องยศตามบรรดาศักดิ์ ก็มีคำว่าท่านผู้หญิงว่าท่านนำหน้าชื่อ ที่ไม่ได้พระราชทานเครื่องยศบรรดาศักดิ์ก็ดี เป็นอนุภริยามิใช่ทาสภริยาที่มีบุตรด้วยกันก็ดี หญิงบุตรหลานข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์ก็ดี หญิงยังไม่มีผัวก็ดี ไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อทั้งสิ้น

ภรรยาข้าราชการที่ต่ำนาน ๔๐๐ ลงมา จนถึงไพร่หลวง ไพร่สมทั้งปวง ยกแต่หญิงมหันตโทษทาสเชลยที่ต้องลักษณะ จะเรียกว่าอีแล้วมีคำนำหน้าชื่อว่าอำแดง

เด็กสามัญที่ยังไม่ได้โกนจุกอายุไม่เกินกว่า ๑๓ ปี ทั้งชายหญิงที่นอกจากจะเรียกว่าอ้ายว่าอีแล้ว จะเรียกว่าหนูนำหน้าชื่อก็ควร

ประกาศมา ณ วันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีระกาตรีศก ศักราช ๑๒๒๓ หรือวันที่ ๓๗๗๓ ในรัชกาลปัจจุบัน


หญิงทั่วไปใช้คำนำหน้าว่า "อำแดง" เมื่อทำผิดต้องโทษจึงเปลี่ยนเป็นใช้ว่า "อี"

 ตกใจ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง