เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 15021 ที่มาของคำว่า"ไม่ฟังอีร้าค้าอีรม"
piya2551
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


 เมื่อ 13 ธ.ค. 12, 05:49

เรียนสอบถามท่านผู้รู้ทุกท่านครับ ผมใคร่อยากทราบที่มาของคำว่า "ไม่ฟังอีร้าค้าอีรม(ไม่ทราบว่าพิมพ์ถูกหรือเปล่า ว่าคำนี้มีที่มาอย่างไรครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 ธ.ค. 12, 08:00

"ไม่ฟังอีร้าค่าอีรม"

อีร้า รอยอินท่านว่าคือนกชนิดหนึ่งคล้ายนกยาง ส่วนอีรมก็คือหอยนางรมนั่นเอง

แปลตามรูปศัพท์คือ ไม่ฟังเสียงนกร้า ไม่รู้ค่าหอยนางรม 

แปลเอาความคือ ไม่ฟังคำเตือน ไม่ฟังเหตุผล

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
piya2551
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 13 ธ.ค. 12, 09:32

ขอบพระคุณท่านผู้รู้มากๆนะครับที่มาไขข้อข้องใจ โอกาสหน้าหากมีข้อข้องใจอีกกระผมในฐานะผู้แสวงหาความรู้จะใคร่ขอมาเรียนถามอีกนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 13 ธ.ค. 12, 09:56

ในสมัยหนึ่งของไทย    ศัพท์ที่มีคำว่า "อี" นำหน้า ไม่ว่าจะด้วยความหมายดั้งเดิมใดๆก็ตาม  ถูกตัดสินว่าหยาบคาย ไม่เหมาะสม  ต้องเปลี่ยนเป็น"นาง "
หอยอีรม จึงกลายเป็นหอยนางรม    อีเลิ้ง (เป็นชื่อตุ่มชนิดหนึ่ง) กลายเป็นนางเลิ้ง   ด้วยประการฉะนี้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 13 ธ.ค. 12, 10:11

ในสมัยหนึ่งของไทย    ศัพท์ที่มีคำว่า "อี" นำหน้า ไม่ว่าจะด้วยความหมายดั้งเดิมใดๆก็ตาม  ถูกตัดสินว่าหยาบคาย ไม่เหมาะสม  ต้องเปลี่ยนเป็น"นาง "
หอยอีรม จึงกลายเป็นหอยนางรม    อีเลิ้ง (เป็นชื่อตุ่มชนิดหนึ่ง) กลายเป็นนางเลิ้ง   ด้วยประการฉะนี้

อีเลิ้ง ใบใหญ่ขนาดเท่าไรกันหนอ มีหลายขนาดหรือไม่  ฮืม

"ในการพระราชทานเลี้ยงโรงทาน จัดขนมจีน ๑๐๐ กระจาด สิ้นน้ำยา ๒๐ อีเลิ้ง"...  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 13 ธ.ค. 12, 10:25

อีเลิ้ง ...

“อีเลิ้ง”เป็นคำมาจากภาษามอญหมายถึงภาชนะชนิดหนึ่งปั้นด้วยดินและผ่านการเผาโดยไม่ได้เคลือบผิวคงเห็นเป็นเนื้อดินสีแดง เราสามารถใช้ “อีเลิ้ง” ใส่น้ำหรือของเหลวได้ ลักษณะพิเศษของ “อีเลิ้ง” คือบริเวณปากและก้นจะแคบ แต่ป่องบริเวณช่วงกลาง ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว “อีเลิ้ง” มักจะเป็นภาชนะขนาดใหญ่ ชาวมอญนิยมใช้ภาชนะชนิดนี้ใส่น้ำเพื่อเก็บไว้สำหรับการอุปโภคและบริโภค ซึ่งเรียกกันว่า “ตุ่มอีเลิ้ง”หรือ“โอ่งอีเลิ้ง” แต่ “อีเลิ้ง” ขนาดเล็กก็มี

ชาวมอญใช้ “อีเลิ้ง” ขนาดเล็กเป็นภาชนะในการหุงหาอาหาร ซึ่งคนทั่วไปเรียกภาชนะชนิดนี้ว่า “หม้ออีเลิ้ง” “อีเลิ้ง” เป็นภาชนะที่มีใช้กันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยแล้ว ในพงศาวดารกล่าวว่าบ้านวัดครุฑ เป็นชุมชนชาวมอญที่มีชื่อเสียงในการปั้น “อีเลิ้ง” ซึ่งปัจจุบันบ้านวัดครุฑ เป็นชุมชนอยู่ในคลองสระบัว อำเภอพระศรีอยุธยา จังหวัดพระศรีอยุธยา

ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมบริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษมช่วงบริเวณที่คลองเปรมประชากรมาบรรจบ ในบริเวณนี้มีชาวรามัญหรือมอญมาตั้งรกรากขายตุ่มดินขนาดใหญ่เรียงรายริมคลอง จนขยายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีบ่อนการพนันที่ดูแลโดยขุนพัฒน์ นายอากรผู้ผูกภาษีเก็บส่งให้แก่หลวง คนที่มาเล่นการพนันตลอดจนพ่อค้าแม่ค้า ชาวบ้านทั่วไปจึงเรียกย่านนี้ว่า “บ้านอีเลิ้ง” ตามชื่อตุ่มอีเลิ้ง ต่อมาภายหลังคนทั่วไปเห็นว่าชื่อบ้านอีเลิ้งไม่ค่อยสุภาพ จึงเปลี่ยนเป็น “นางเลิ้ง” และเรียกกันติดปากมาจนปัจจุบัน แต่บางตำนานกล่าวว่าย่าน “บ้านนางเลิ้ง” นั้นมิใช่เป็นชุมชนของชาวรามัญหรือมอญมาแต่ดั้งเดิม แต่ชาวมอญรับ “ตุ่มอีเลิ้ง” มาจากอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี และล่องเรือมาขายที่กรุงเทพฯ และมาจอดเรือเพื่อจำหน่ายตุ่มอีเลิ้ง ซึ่งก็ขายได้เป็นกอบเป็นกำ ชาวมอญจึงมาอพยพตั้งรกรากเพื่อจำหน่ายตุ่มชนิดนี้ที่ย่านดังกล่าวแต่บางตำนานเชื่อว่าชาวรามัญหรือมอญได้ปั้น “ตุ่มอีเลิ้ง” ในบริเวณนั้นเองพร้อมกับจำหน่ายไปด้วย แม้ว่าตำนานที่เล่าขานกันมาทั้งสองทางจะคลาดเคลื่อนผิดกันไปกันบ้าง แต่ได้ข้อสรุปที่ตรงกันคือบริเวณนั้นเป็นย่านที่มีการจำหน่าย “ตุ่มอีเลิ้ง” กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน

ที่มา - http://catadmin.cattelecom.com



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 13 ธ.ค. 12, 10:32

ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีไหอีเลิ้งตั้งแสดงอยู่ประปราย แต่ไม่ปรากฏคำอธิบายแต่อย่างใด ภัณฑารักษ์ท่านหนึ่งได้ให้ข้อมูลว่า ไหอีเลิ้ง หรือ นางเลิ้ง เป็นโอ่งขนาดใหญ่มาก มีไว้สำหรับเก็บน้ำเพื่อการบริโภคลักษณะพิเศษของโอ่งชนิดนี้ คือ ปากโอ่งจะมีขนาดเล็กและผายออกมา ปัจจุบันตั้งแสดงไว้ที่ ทางด้านซ้ายของหมู่พระวิมาน พระบวรราชวัง หรือบริเวณสนามหญ้า พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย จำนวน ๔ ใบด้วยกัน ด้วยเหตุที่ไม่มีประวัติแน่นอนว่าได้โอ่งเหล่านี้มาอย่างไร ทางพิพิธภัณฑ์จึงมิได้จัดทำคำอธิบายไว้

โอ่งเหล่านี้ สูงประมาณ ๑ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของส่วนที่กว้างที่สุดยาวประมาณ ๑ เมตร ๑๐ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของปากโอ่งยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร

ข้อมูลจาก  เว็บของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม

 ยิงฟันยิ้ม      


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 13 ธ.ค. 12, 10:33

ถ้าขนมจีน 100 กระจาด  มีสัดส่วนพอกับน้ำยา 20 ตุ่ม  เท่ากับ 1 ตุ่มต่อ 5 กระจาด   ก็น่าจะเป็นตุ่มขนาดเล็กนะคะ    
เหตุผลอีกอย่างคือเพื่อให้คนแบกเข้าไปในวางในโรงทานได้สะดวก   ก็น่าเป็นตุ่มขนาดเล็กพอหนึ่งคนแบกได้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 13 ธ.ค. 12, 11:49

เป็นที่น่าสังเกตคนไทยดูจะนิยมเรียกชื่อสัตว์, สิ่งของเครื่องใช้, การละเล่น, โรคภัยไข้เจ็บ เป็นเพศหญิง  นอกจาก นกอีร้า และ หอยอีรม ก็มีอีกหลายชื่อ

นก - อีแอ่น, อีกา, อีก๋อย, อีโก้ง, อีแร็ง, อีลุ้ม

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม - อีเก้ง, อีเห็น

สิ่งของเครื่องใช้- อีจู้, อีโต้, อีแปะ, อีโปง, อีเลิ้ง

การละเล่น - อีตัก, อีคว่ำอีหงาย

โรคภัยไข้เจ็บ - อีสุกอีใส, อีดำอีแดง

คำเหล่านี้ถูกตัดสินว่าไม่สุภาพเพราะมีคำว่า "อี" นำหน้า การปรับปรุงคำมีอยู่ ๒ วิธีคือไม่เอาคำว่า "อี" ออก ก็เปลี่ยน "อี" เป็น "นาง" แต่อย่างไรก็ตามหลายคำก็ยังใช้ "อี" นำหน้าอยู่ และเริ่มมีคำใหม่ ๆ ที่ใช้ "อี" เช่น อีแต๋น

ปัจจุบันมีการนำเข้า "E" จากเมืองนอกเข้ามา คำไทยหลายคำจึงเริ่มมี "อี" นำเข้า นับตั้งแต่ "อีหรอบ" จนถึง "อีมู และ "อีเมล"

สองคำหลังถ้าเปลี่ยนเป็น "นางมู" และ "นางเมล" คงฟังตลกดี

แหะ แหะ

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 13 ธ.ค. 12, 12:02

อ้างถึง
ปัจจุบันมีการนำเข้า "E" จากเมืองนอกเข้ามา คำไทยหลายคำจึงเริ่มมี "อี" นำเข้า นับตั้งแต่ "อีหรอบ" จนถึง "อีมู และ "อีเมล"

สองคำหลังถ้าเปลี่ยนเป็น "นางมู" และ "นางเมล" คงฟังตลกดี

เปลี่ยนได้อีกหลายคำเชียวละค่ะ
e-card  --->  นางการ์ด   
e-market ---> นางมาร์เก็ต   
e-learning ----> นางเลิร์นนิ่ง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 13 ธ.ค. 12, 14:57

Egypt - อียิปต์  - -  - นางยิปต์  แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 13 ธ.ค. 12, 15:15

จัดงาน event  ---> จัดงาน นางเว้นท์
วิศวฯ สาขา Electronics ---> วิศวฯ สาขา นางเล็คโทรนิกส์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 13 ธ.ค. 12, 15:46

คู่กับ "อี" คือ "ไอ้"

ในขณะที่เราใช้ "อี" นำหน้าชื่อจริงของสัตว์ สำหรับ "ไอ้" มักใช้นำหน้าชื่อเรียกเล่น ๆ ของสัตว์ เช่น ไอ้จ๋อ, ไอ้ตูบ, ไอ้เข้, ไอ้ทุย

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 13 ธ.ค. 12, 16:23

จัดงาน event  ---> จัดงาน นางเว้นท์
วิศวฯ สาขา Electronics ---> วิศวฯ สาขา นางเล็คโทรนิกส์

E.T. the Extra-Terrestrial หรือ อีที - - นางที

อีหรอบเดิม - - นางหรอบเดิม

แสดงว่า แต่งงานมีสามีกันหมดแล้ว ถึงได้ใช้ "นาง"  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 14 ธ.ค. 12, 14:42

วิศวฯ สาขา Electronics ---> วิศวฯ สาขา นางเล็คโทรนิกส์

electronics ท่านรอยอินยืนยันมาว่า "E" ตัวนี้ คนไทยออกเสียงว่า "อิ"

อิเล็กทรอนิกส์ [ทฺรอ] น. วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่งที่นํามาประยุกต์ใช้กับการศึกษาวงจรไฟฟ้าที่ใช้สารกึ่งตัวนําและอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งควบคุมการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนได้. (อ. electronics).

จึงเปลี่ยนสถานะเป็น "นาง" ไม่ได้

อิ อิ

ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 20 คำสั่ง