เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 41397 อาหารการกินใน "บ้านเล็ก" (3) ตอน เด็กชายชาวนา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 21:23

แม้ว่ากินอาหารค่ำกันอย่างอิ่มหนำสำราญแล้ว   เมื่อเสร็จอาหารเย็น   ครอบครัวของแอลแมนโซก็ยังไม่หยุดกินอยู่ดี    ตกใจ  เมื่อล้างถ้วยชามทำงานประจำวันเสร็จแล้ว   ทุกคนก็มานั่งกันอยู่ในห้องนั่งเล่น ก่อนถึงเวลาเข้านอน
พ่อขึ้นมาจากห้องใต้ดิน(ที่ใช้เก็บผักผลไม้และเครื่องดื่มแทนตู้แช่ในฤดูหนาว)  นำเหยือกใหญ่บรรจุน้ำไซเดอร์ และลูกแอปเปิ้ลสดๆขึ้นมาด้วย
ส่วนรอยัลพี่ชายของแอลแมนโซคั่วข้าวโพดในเตา   จากนั้นก็เอาเนยเหลวเคล้าให้ทั่ว    กินข้าวโพดคั่ว แอปเปิ้ลสด และน้ำไซเดอร์ก่อนนอน 
When the work was done, Father came up thecellar stairs, bringing a big pitcher of sweet cider and a panful of apples. Royal took the corn-popper and a pannikin of popcorn.
When the big dishpan was heaping full of fluffy white popcorn, Alice poured melted butter over it, and stirred and salted it. It was hot and crackling crisp, and deliciously buttery and salty, and everyone could eat all he wanted to.
ในนี้บอกเสียด้วยว่า จะกินข้าวโพดคั่วมากเท่าไรก็ไม่มีใครว่า      สมัยนั้นเขากินกันจุจริงๆ  ตกใจ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 21:30

เรื่องรินชาหรือกาแฟลงในจานรองแล้วจิบหรือดื่มจากจานรองนี้  ผมได้รับฟังคำอธิบายมาอีกอย่างหนึง อย่างน้อยก็สองคนในต่างทวีป ว่าเป็นการสอนหรือบอกกล่าวให้คนท้องถิ่นที่อยู่ในอาณัติกระทำ (ในรูปของ licking)  เพื่อให้มีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติของเจ้าขุนมูลนายที่ดื่มจากปากถ้วย     ผมก็เลยขอเดาต่อเอาว่า อาจจะเป็นเพราะว่าถ้วยใส่กาแฟและชาของคนที่เป็นเจ้าขุนมูลนายนั้นเป็นถ้วยมีหูจับ  เมื่อถ้วยของคนในอานัติเป็นถ้วยที่ไม่มีหูจับ ก็เลยบอกว่าเทลงใส่จานซิจะได้ไม่ร้อนมือ จะได้จิบได้สะดวกขึ้น   ซึ่งก็เลยมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า การเทกาแฟหรือชาลงในจานรองนั้น มักจะเห็นอยู่ในประเทศที่เคยอยู่ในอาณัติของประเทศเจ้าของอาณานิคมใดๆมาก่อน ซึ่งถ้วยกาแฟหรือชาที่เสิร์ฟมานั้นก็จะเป็นลักณะของถ้วยหรือแก้วที่ไม่มีหูจับที่จะเสิร์ฟมาพร้อมกับจานรอง      

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 21:43

ในตอนกินอาหารเย็น  พ่อของแอลแมนโซก็กินน้ำชาจากจานรอง ขณะกินอาหาร เหมือนเราอาหารเย็นแล้วต้องมีน้ำเปล่ากำกับด้วย
ชาในจานรองไม่ได้ดื่มจนหมดแล้วพอ  แต่เติมแล้วเติมอีก
Father blew on the tea in his saucer. He tasted  it, then drained the saucer and poured a little more tea into it.
ผู้เขียนบรรยายว่า พ่อเป่าน้ำชาในจานรองให้คลายร้อน แสดงว่าน้ำชาที่รินลงมาน่าจะร้อนจัดควันฉุยทีเดียว  พ่อก็ลองจิบ แล้วพอรู้สึกว่าอุ่นพอกินได้ ก็ดื่มจากจานรองจนหมด  แล้วเติมน้ำชาลงไปอีกนิดหน่อย    ครั้งที่สองคงไม่เต็มจานเหมือนครั้งแรก
ข้อสังเกตของคุณตั้งเรื่องการดื่มชาในอาณานิคม มีน้ำหนักอยู่มาก     อเมริกาโดยเฉพาะรัฐทางตะวันออก ที่พ่อของแอลแมนโซอาศัยอยู่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษเป็นส่วนใหญ่   วัฒนธรรมนี้อาจมาจากดั้งเดิมเมื่อครั้งอเมริกายังไม่เป็นประเทศเสรีแยกตัวออกจากอังกฤษ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 21:49

ในตอนนี้พูดถึงเครื่องดื่มอีกอย่างคือ แอปเปิ้ลไซเดอร์     เมื่ออ่านนิยายชุดนี้ครั้งแรก ไม่รู้ว่ามันคืออะไร  รู้จากผู้แปลเพียงว่าทำจากแอปเปิ้ลหมัก     ต่อมามีโอกาสเห็นของจริง  ลองดื่มแล้วไม่ชอบ มันฉุนๆคล้ายผสมเหล้า ไม่อร่อย  ก็เลยไม่กินอีก   
จนบัดนี้ก็ไม่รู้วิธีทำว่าหมักยังไงแบบไหน   สไตล์เดียวกับน้ำหมักของป้าเช็งหรือไม่      ข้อสำคัญคือไม่รู้ว่าจัดเข้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเปล่านะคะ     
ถ้าหากว่ามีแอลกอฮอล์จากการหมักก็ต้องถือว่าชาวบ้านสมัยนั้นไม่ถือว่าเป็นเครื่องดองของเมา   ให้เด็กๆกินได้   แต่ถ้าไม่มีแอลกอฮอล์ ก็จัดเป็น soft drink  ปลอดภัยแก่คนทุกวัย
ได้แต่หารูปมาให้ดู    สมัยนี้ถ้าจะกินก็ง่ายมาก  ไม่ยากเหมือนสมัยแอลแมนโซ  เพราะเขามีขายสำเร็จรูป   เปิดขวดเทกินได้เลย จะผสมนั่นผสมนี่ลงไปเป็นคอกเทลก็ยังได้ค่ะ

ใครรู้จักแอปเปิ้ลไซเดอร์ กรุณาอธิบายเพิ่มเติมด้วยจะขอบคุณมาก


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 10 ธ.ค. 12, 19:29

ที่พอจะรู้และเคยเห็นอุปกรณ์การทำนะครับ
   
apple cider ก็คือ น้ำจากผลแอบเปิลสดที่ได้มาจากการบีบคั้น  สมัยเดิมนั้นก็ใช้ถังไม้ที่มีร่องอยู่รอบตัว ใส่ผลแอบเปิลสดลงไป ปิดด้วยฝาไม้ แล้วใช้คานไม้ต่อก้านกดลงไปบนฝาไม้นั้น บีบกดขยี้ลงไปด้วยแรงมากๆ ก็จะได้น้ำแอบเปิลผสมกับผงเนื้อชิ้นเล็กๆที่แหลกละเอียดออกมา (เป็นเครื่องเดียวกันกับที่ใช้คั้นน้ำจากผลองุ่น)  น้ำแอบเปิลสดนี้มีสองแบบคือแบบขุ่นข้น (ไม่กรองเอาเนื้อออก) และแบบใส (กรองเอาเนื้อออก)   สำหรับผมนั้นเห็นว่า น้ำแบบขุ่นข้นให้รสชาติและความอร่อยมากกว่าชนิดกรองแล้วมาก คือได้รสสัมผัสกับส่วนที่เป็นเนื้อด้วย

เครื่องบีบคั้นนี้ หรือเครื่องหีบนี้ มีขนาดค่อนข้างใหญ่มาก พบเห็นอยู่ตามใต้ถุนของบ้านในชนบท ผมไม่เคยเห็นในสหรัฐฯเลย เคยเห็นแต่ในยุโรปเท่านั้น ตัวถังไม้ที่ใช้บรรจุองุ่นหรือแอบเปิลมีขนาดเส้นผ่าศุนย์กลางเพียงประมาณ 60 - 80 ซม. เท่านั้น แต่ตัวคานไม้ที่แขวนอยู่เพื่อให้เป็นน้ำหนักกดทับนั้น คือท่อนเสาไม้สี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 8x8 นิ้ว ยาวประมาณ 4 - 5 เมตร

เรื่องของเรื่องก็ไปอยู่ตรงที่ น้ำแอบเปิลและน้ำองุ่นนี้มันมีความหวานอยู่ในตัว หากไม่แช่เย็นแล้วทิ้งไว้ไม่กี่วันมันก็จะมีรสเปรี้ยว เมื่อตอนเริ่มมีรสเปรี้ยวนั้น มันก็กลายเป็นยาช่วยย่อยอาหาร   ฝรั่งผิวขาวนั้นเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่มีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร จึงต้องการกินของที่เป็นกรดเพื่อไปช่วยย่อย   เมื่อรสชาติเปรี้ยวจัด มันก็กลายเป็นของที่เสียแล้วสำหรับกรณ๊การใช้กินเป็นน้ำผลไม้คั้น  แต่กลับเป็นของดีที่ใช้ในการทำอาหาร คือกลายเป็นน้ำส้มสายชูหมัก  เลยจากจุดนี้ต่อไปก็จะเกิดแอลกอฮอลล์ กินแล้วเมาได้ กลายเป็นไวน์ผลไม้ไป  ซึ่งจะมีดีกรีความแรงอยู่ที่ประมาณ 5 - 6 %   หากยังรู้สึกว่าดีกรีไม่แรงพอ ก็เอาไปกลั่น ก็จะกลายเป็นเหล้าที่เรียกว่า Brandy   กรณีน้ำจากแอบเปิลก็จะได้เหล้าที่คนฝรั่งเศสเรียกกันว่า Calvados  ในสหรัฐฯก็จะรู้จักกันในชื่อของ Moonshine (หรือเหล้าเถื่อน) ซึ่งมีการลักลอบทำกันมากในย่านตอนกลางและใต้ของเทือกเขา Appalachian โดยเฉพาะแถบรัฐ Kentucky, Tennessee และรอยต่อกับรับ North Carolina     หากเป็นเหล้ากลั่นมาจากน้ำองุ่นก็เป็นเหล้าที่เราเรียกกันในองค์รวมโดยทั่วๆไปว่า Cognac

ย้อนกลับมาเรื่องของ apple cider    ตามที่กล่าวมาแล้วว่า น้ำแอบเปิลและน้ำองุ่นคั้นนั้น มีทั้งแบบไม่กรองและแบบกรอง  น้ำขุ่นข้นแบบไม่กรองนี้ เมื่อออกรสเปรี้ยว เขาเรียกว่า Must (มูส) ง่ายๆก็คือกำลังเริ่มมีแอลกอฮอลล์เป็นของมึนเมา  มีคนจำนวนมากชอบกินมูสนี้   ในหน้าหนาวก็เอาไปอุ่นให้ร้อนกินแก้หนาวได้ดี (คงจะมึนนิดๆ) จะแช่ให้เย็นก็อร่อยดี กินแทนน้ำในระหว่างอาหารเย็นก็เข้ากับอาหารได้ดี     
เรื่องจึงไปเกิดอยู่ว่า แอลกอฮอลล์เป็นเรื่องที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต การผลิตเองโดยไม่ได้รับอนุญาตอาจจะผิดกฎหมายได้  แอบเปิลไซเดอร์จึงกลายเป็นของที่คนทำและคนที่ดื่มกินต้องระระวัง อาจจะถูกจับได้ว่ากินเหล้าเถื่อน   เส้นแบ่งตรงเรื่องของความมีปริมาณของแอลกอฮอลล์นี้เอง ทำให้ชื่อเสียงของแอบเปิลไซเดอร์เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง  เข้าใจว่าในสหรัฐฯเองมีกฏหมายกำหนดให้น้ำแอบเปิลที่ใส่ขวดขายจะต้องเป็นน้ำที่กรองแล้วและจะต้อง pasteurized ด้วย เพื่อมิให้เกิดมีการหมักเป็นแอลกอฮอลล์ได้ต่อไป

คงพอได้ความนะครับ  เท่าที่พอจะมีความรู้ครับ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 10 ธ.ค. 12, 19:48

There was oatmeal with plenty of thick cream and maple sugar. There were fried potatoes, and the golden buckwheat cakes, as many as Almanzo wanted to eat, with sausages and gravy or with butter and maple syrup.
There were preserves and jams and jellies and doughnuts. But best of all Almanzo liked the spicy apple pie, with its thick,rich juice and its crumbly crust. He ate two big wedges of the pie.

แอลแมนโซเข้านอนตอนสามทุ่ม  ตื่นตีห้าไปรีดนมวัว ทำงานในคอกเสร็จแล้วจึงกลับมากินอาหารเช้าก่อนไปโรงเรียน     ข้างบนนี้คือรายชื่อของกินที่ตั้งเรียงรายอยู่บนโต๊ะอาหาร     อ่านแล้วก็คงเห็นภาพ ว่าจำนวนมากกว่าอาหารเช้าสมัยนี้หลายเท่าตัวค่ะ   ยังไม่ทันกิน อ่านรายชื่อก็จะอิ่มแล้ว
นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยแป้ง และน้ำตาล   มองไม่เห็นผักอยู่ตรงไหนเลย  ฤดูหนาวคงหาผักกินได้ยากโดยเฉพาะผักสด  

อย่างแรกที่บรรยายไว้ คือ oatmeal  มันเป็นซีเรียล(cereal) ชนิดหนึ่งทำจากข้าวโอ๊ตบดละเอียดตากแห้ง แล้วเอามาต้ม ทำเป็นอาหารเช้า  เวลากินก็ไม่ได้กินเปล่าๆ  แต่ปรุงรสให้อร่อย แบบเดียวกับกินซีเรียล    
ปัจจุบันนี้ มักจะเติมแค่นม ถ้ากลัวอ้วนก็เลือกใส่นมพร่องมันเนย    แต่สมัยของแอลแมนโซ นอกจากไม่กลัวความมันแล้วยังไม่กลัวความหวานอีกด้วย
โอ๊ตมีลนอกจากนม  จึงใส่น้ำเชื่อมทำจากน้ำตาลเมเปิ้ลผสมลงไปด้วย   ออกมาทั้งทั้งหวานทั้งมัน  


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 10 ธ.ค. 12, 19:55

เพิ่งเห็นค.ห.คุณตั้งเรื่องแอปเปิ้ลไซเดอร์   ขอบคุณที่อธิบายให้กระจ่างขึ้นค่ะ

เพราะดิฉันเองก็ไม่แน่ใจว่าแอปเปิ้ลไซเดอร์ที่พ่อของแอลแมนโซไปจ้างเขาทำน้ำไซเดอร์เก็บไว้ดื่มตลอดปี   มีแอลกอฮอล์อยู่ด้วยหรือไม่     เพราะให้ลูกเล็กๆกินด้วย     พอดีนึกได้ว่าฝรั่งไม่กลัวเหล้า   เหล้าบรั่นดีถือว่าเป็นยานอกเหนือจากเป็นเหล้า  ดังนั้นแอลกอฮอล์น้อยๆจากไซเดอร์  ถือว่าสบายมากสำหรับเด็กอายุ 9 ขวบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 10 ธ.ค. 12, 20:23

There were fried potatoes, and the golden buckwheat cakes, as many as Almanzo wanted to eat.

กินโอ๊ตมีลเข้าไปหนึ่งชาม  ยังไม่จบแค่นั้น ยังมันฝรั่งทอดตามมาอีก    มันฝรั่งที่ว่านี้หั่นเป็นแว่นแล้วทอดจนสุก  ซึ่งจะสุกแค่ไหนก็แล้วแต่ฝีมือแม่บ้านว่าทอดนานแค่ไหนถึงจะอร่อย  อาจจะดิบๆสุกๆ คือทั้งนิ่มและกรอบ  นิ่มตรงกลางกรอบตรงริม หรือบางชิ้นก็นิ่มบางชิ้นก็เกรียม   แต่ไม่ได้ทอดจนกรอบอย่างมันฝรั่งเลย์ที่เรากินกัน  เพราะไม่ได้ฝานบางขนาดนั้น

บวกจากโอ๊ตมีล  จานนี้นี่ก็เป็นแป้งอย่างที่สองแล้วนะคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 10 ธ.ค. 12, 20:43

มาถึงคำที่ปวดหัวสำหรับดิฉันอีกคำหนึ่งคือ buckwheat cakes   คำว่า cakes ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าขนมเค้ก  แต่หมายถึงแพนเค้ก ซึ่งเป็นอาหารเช้าของคนอเมริกัน    ข้อนี้พอเข้าใจ 
ส่วนบั๊ควีท ตอนแรกเข้าใจผิดว่าเป็นข้าวสาลีชนิดหนึ่ง    มารู้ทีหลังว่าไม่ใช่    มันเป็นพืชอีกชนิดหนึ่ง จัดเข้าประเภทพืชทอดยอด  ปลูกกันเป็นทุ่ง  เมล็ดคล้ายเมล็ดทานตะวัน เปลือกนอกแข็ง แต่เนื้อในนุ่ม เอาไปทำแป้งได้

ข้างล่างนี้คือทุ่งบั๊ควีท และเมล็ดบั๊ควีท ที่เอามาทำแป้ง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 10 ธ.ค. 12, 20:45

แม้ว่าบัควีทปลูกกันในอเมริกามากที่สุด แต่ผู้บริโภครายใหญ่สุดกลับเป็นญี่ปุ่น     เขาบอกว่าชาวญี่ปุ่นนิยมใช้แป้งบัควีทผสมกับแป้งข้าวสาลี เพื่อทำโซบะ หรือ เส้นบะหมี่ญี่ปุ่น เส้นจะนุ่มเหนียวและกรุบกว่าเส้นบะหมี่ที่ทำจากแป้งข้าวสาลีล้วนๆ 
ผลิตผลสำคัญอีกอย่างคือเปลือกเมล็ดบัควีท ทำเป็นไส้หมอนขายในญี่ปุ่นด้วยราคาค่อนข้างแพง เพราะหนุนแล้วจะยืดหยุ่นยุบตัวลงตามรูปของศีรษะและต้นคอ  นำออกมาล้างทำความสะอาดได้ง่าย

แต่ตอนนี้กลับมาดูแพนเค้กบั๊ควีทที่แอลแมนโซกินกันก่อนว่าหน้าตาอย่างไร      สังเกตว่าแป้งบั๊ควีทสีคล้ำกว่าแป้งสาลี  เวลาเอามาทำแพนเค้ก  ขนมก็เลยสีคล้ำไปด้วยค่ะ
(หวังว่ารูปนี้คงไม่ใช่เซรามิคอีกนะคะ  ฟันจะร่วงเอา ยิ้มเท่ห์)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 11 ธ.ค. 12, 10:51

with sausages and gravy or with butter and maple syrup.
แพนเค้กบั๊ควีท กินกับไส้กรอก (แบบอเมริกัน)   และมีเกรวี่  เนย กับน้ำเชื่อมเมเปิ้ล แทนซอสเอาไว้ปรุงรส

หารูปแพนเค้กราดน้ำเชื่อม กับไส้กรอก มาให้ดูกันค่ะ  ในรูปนี้เขาแถมแอปเปิ้ลสดหั่นเป็นชิ้นๆลงไปด้วย


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 11 ธ.ค. 12, 18:34

ไม่เคยกินแพนเค็กที่ทำจากแป้ง buckwheat ครับ  เคยแต่กินโซบะที่ทำจากบั๊กวีทจริงๆ อร่อยกว่าที่ทำมาจากแป้งผสม หรือเส้นโซบะเทียมมากๆ   ในญี่ปุ่นบั๊ควีทปลูกกันมากในพื้นที่ของเมือง Nagano   เส้นโซบะที่ทำจากบั๊ควีทจะนุ่มแต่ไม่เหนียวเหมือนเส้นบะหมี่ หากจะเทียบเคียงก็คงจะเหมือนกับกินข้าวเสาให้ (ค่อนข้างร่วน ไม่มียาง) ซึ่งจะต่างไปจากขาวหอมมะลิ (มียางและนิ่ม)   โซบะจากบั๊ควีทจะอร่อยด้วยตัวเส้นของมันเองเพียงกินกับน้ำซุบปรุงรสให้จัดสักหน่อย ก็คงจะให้ความรู้สึกของความต่างระหว่างกินข้าวเสาให้ราดแกงรสจัดกับกินข้าวหอมมะลิราดแกง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 11 ธ.ค. 12, 18:52

โซบะที่ทำจากบั๊ควีท ในเมืองไทยน่าจะมีขายในร้านอาหารญี่ปุ่น  แต่ไม่รู้ว่าที่ไหนบ้าง   ไม่เคยเป็นนักชิมเสียด้วยค่ะ
 
There were preserves and jams and jellies and doughnuts. But best of all Almanzo liked the spicy apple pie, with its thick,rich juice and its crumbly crust. He ate two big wedges of the pie.
จากนั้นก็มีอาหารเช้าจำพวกแยม ให้กินกับขนมปังอีกชุดใหญ่  สังเกตได้ว่าแอลแมนโซบรรยายแยมไว้หลายชนิด ก็คงกินเข้าไปทุกอย่าง   และบอกว่ามีขนมโดนัทให้กินเสียด้วย    
โดนัทเป็นอาหารอีกอย่างหนึ่งที่ดิฉันไม่เข้าใจว่าเป็นของคาว ของหวาน หรือของว่างกันแน่     ดูเหมือนจะเป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง    เพราะนำมาวางรวมกับอาหารเช้าประเภทขนมปังและแยม   หรือโดนัทอาจจะกินพร้อมแยมก็ได้  
เอ่ยถึงโดนัท  เราก็จะเห็นภาพขนมรูปกลมมีรูตรงกลาง  เคลือบน้ำตาลสีๆ หรือช็อคโกแลตให้หวานจัด  (รูปซ้ายมือ)    แต่โดนัทที่แม่ของแอลแมนโซทำเป็นโดนัทแบบโบราณ  (รูปทางขวามือ)    แม่ใช้วิธีนวดแป้งเป็นท่อนกลมยาวแล้วบิดเป็นเกลียวครั้งเดียว     ไม่ได้เป็นเกลียวหลายท่อนอย่างขนมเกลียวในบ้านเรา    
สมัยก่อนที่อาหารการกินต้องทำโดยแม่บ้าน หาซื้อไม่ได้   เพื่อประหยัดเวลา  แม่บ้านชอบทำโดนัทแบบนี้  เพราะเมื่อหย่อนลงในกระทะใส่น้ำมันร้อนๆ   โดนัทเกลียวแบบนี้จะบิดตัวได้เอง  พลิกตัวให้สุกได้โดยคนทำไม่ต้องคอยพลิกกลับด้านล่างขึ้นมาข้างบน อย่างโดนัทรูปกลมๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 11 ธ.ค. 12, 18:56

บ้านเรามีขนมชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายๆโดนัทโบราณของอเมริกัน  วิธีทำก็น่าจะคล้ายกันคือผสมแป้ง ทำเป็นท่อนยาวแล้วบิด ทอดน้ำมันร้อนๆ      แต่ดิฉันจำชื่อไม่ได้ว่าอะไร
ดูจากอินทรเนตร ในเว็บนี้คนทำเรียกว่าขนมเปีย  คนละอย่างกับขนมเกลียว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 11 ธ.ค. 12, 18:59

But best of all Almanzo liked the spicy apple pie, with its thick,rich juice and its crumbly crust. He ate two big wedges of the pie.
ส่งท้ายรายการอาหารเช้าด้วยพายแอปเปิ้ล  ซึ่งตัดแบ่งเป็นชิ้น    แต่ละชิ้นก็ใหญ่ๆทั้งนั้น  ในเมื่อบ้านนี้ให้ลูกกินอาหารอย่างอิ่มหมีพีมัน  แอลแมนโซจึงกินถึง 2 ชิ้นใหญ่ๆโดยไม่มีใครว่า
ดูจากอาหารเช้าในบ้าน  คนสมัยนั้นต้องใช้แรงงานมากทีเดียว    เพราะทุกอย่างสำเร็จด้วยแรงคน ไม่มีเครื่องจักรทุ่นแรง    ไปโรงเรียนก็ไม่มีรถไปส่ง ต้องเดินกันไปสองหรือสามไมล์กว่าจะถึง ในฤดูหนาวที่หิมะตกหนัก   เด็กๆจึงต้องกินแป้งและน้ำตาลมากให้ร่างกายอบอุ่น    ถ้าเป็นสมัยนี้ กินแบบนี้  หมอคงจะต้องจับเด็กลดน้ำหนักกันเป็นการใหญ่


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง