เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 07 ธ.ค. 12, 11:31
|
|
He felt very comfortable inside. Slowly he ate a large piece of pumpkin pie. หลังจากกินเข้าไปจนอิ่มแล้ว ก็มาถึงของหวานรายการท้าย คือพายผลไม้ ในที่นี้แม่ทำพายฟักทองมาวางบนโต๊ะ ลูกชายขนาดอิ่มแล้วยังกินเข้าไปอีกชิ้นใหญ่ ขนมพายที่แม่ทำให้พ่อ แม่ ลูกๆ 4 คน และครูที่มาค้างอยู่ด้วยในบ้าน น่าจะเป็นพายฟักทองขนาดมหึมาทีเดียว แล้วตัดแบ่งเป็นชิ้นสามเหลี่ยม ให้หยิบกินกันคนละชิ้นหรืออาจจะสองชิ้นก็ได้ถ้ามีเหลือพอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 07 ธ.ค. 12, 11:37
|
|
สำหรับอาหารที่ตัวเองรู้สึกว่าเป็่นสัญลักษณ์ของแอลแมนโซ คือแพนเค้กที่วางซ้อนเป็นตั้ง ๆ ราดไซรัปจนชุ่ม แอลแมนโซคงทำแพนเค้กเก่งเป็นพิเศษนะคะ เพราะเห็นแสดงฝีมือในตอนฤดูหนาวอันแสนนานด้วย
รอยัลพี่ชายแอลแมนโซยอมรับว่าแม้แต่แม่ก็ยังสู้แอลแมนโซไม่ได้เรื่องทำแพนเค้ก ในสมัยนั้นเขากินแพนเค้กกันทีละหลายสิบแผ่น เพราะตั้งหนึ่งมี 10 แผ่น เป็นอาหารพิเศษกินกันในวันอาทิตย์ ลูกๆกินกันคนละหลายๆตั้ง มีเนยป้ายและราดน้ำเชื่อมทำจากน้ำตาลเมเปิ้ล เรียกว่าเมเปิ้ลไซรัป จนชุ่ม เคยลองกิน ทั้งมันทั้งหวาน คนที่ชอบกะปิน้ำพริกปลาทู กินเข้าไปแผ่นเดียวก็อาจจะเลี่ยนจนหยุดแค่นั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปรุงใจ
อสุรผัด

ตอบ: 3
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 07 ธ.ค. 12, 13:59
|
|
การดื่มน้ำชาเป็นอีกเรื่องที่สงสัยมานานค่ะ มีอยู่ตอนหนึ่งที่พี่สาวคนโตของแอลแมนโซ ที่ชื่ออิไลซา เจน เพิ่งกลับมาจากโรงเรียนกุลสตรีอะไรสักอย่าง แล้วมาบอกให้พ่อเปลี่ยนการดื่มน้ำชาจากจานรองถ้วยเป็นดื่มจากถ้วยแทน แสดงว่าคนยุคบุกเบิกดื่มน้ำชาจากจานรองถ้วยหรือคะ การดื่มจากถ้วยน้ำชาเพิ่งมานิยมในสมัยหลัง ๆ หรือคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 07 ธ.ค. 12, 14:32
|
|
การดื่มชาจากจานรองเป็นธรรมเนียมที่ทำกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ค่ะ ดื่มกันเป็นของธรรมดาสมัยวิคตอเรียน ธรรมเนียมนี้มาจากยุโรปในหลายๆประเทศรวมทั้งอังกฤษด้วย ดิฉันก็ไม่ทราบว่าบรรพบุรุษของแอลแมนโซมาจากประเทศไหน แต่น่าจะมาจากอังกฤษเพราะแอลแมนโซเล่าว่าชื่อเขามาจากบรรพบุรุษที่ไปรบในสงครามครูเสด (ในยุคกลางของยุโรป) แล้วมีชายชาวอาหรับมาช่วยชีวิตไว้ จึงถือเป็นประเพณีว่าทุกชั่วคนจะต้องมีคนในสกุลไวลเดอร์ชื่อแอลแมนโซ เพี้ยนจากภาษาอาหรับว่า อัล มันซู ว่ากันว่าเมื่อชาเดินทางจากจีนไปยุโรปนั้น เพื่อให้น้ำชาเย็นเร็วๆ คนอังกฤษเทลงในถ้วยรอง ซึ่งเป็นจานก้นลึกคล้ายๆถ้วยจีน ต่อมาก็พัฒนาเป็นจานรองแบบที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้ ความกว้างของจานรองทำให้ไอร้อนระเหยไปได้เร็ว กลายเป็นธรรมเนียมดื่มกันเป็นปกติ จนปลายศตวรรษที่ 19 คนมีการศึกษาจึงยกเลิกการดื่มน้ำชาจากจาน กลับมาดื่มจากถ้วยโดยตรง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 07 ธ.ค. 12, 15:41
|
|
สำหรับอาหารที่ตัวเองรู้สึกว่าเป็่นสัญลักษณ์ของแอลแมนโซ คือแพนเค้กที่วางซ้อนเป็นตั้ง ๆ ราดไซรัปจนชุ่ม แอลแมนโซคงทำแพนเค้กเก่งเป็นพิเศษนะคะ เพราะเห็นแสดงฝีมือในตอนฤดูหนาวอันแสนนานด้วย
รอยัลพี่ชายแอลแมนโซยอมรับว่าแม้แต่แม่ก็ยังสู้แอลแมนโซไม่ได้เรื่องทำแพนเค้ก ในสมัยนั้นเขากินแพนเค้กกันทีละหลายสิบแผ่น เพราะตั้งหนึ่งมี 10 แผ่น เป็นอาหารพิเศษกินกันในวันอาทิตย์ ลูกๆกินกันคนละหลายๆตั้ง มีเนยป้ายและราดน้ำเชื่อมทำจากน้ำตาลเมเปิ้ล เรียกว่าเมเปิ้ลไซรัป จนชุ่ม เคยลองกิน ทั้งมันทั้งหวาน คนที่ชอบกะปิน้ำพริกปลาทู กินเข้าไปแผ่นเดียวก็อาจจะเลี่ยนจนหยุดแค่นั้น แพนเค้กรูปแรก เป็นเซรามิค กินเข้าไป ฟันร่วงหมดแน่ อิอิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 07 ธ.ค. 12, 15:44
|
|
การดื่มชาจากจานรองเป็นธรรมเนียมที่ทำกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ค่ะ ดื่มกันเป็นของธรรมดาสมัยวิคตอเรียน ธรรมเนียมนี้มาจากยุโรปในหลายๆประเทศรวมทั้งอังกฤษด้วย ดิฉันก็ไม่ทราบว่าบรรพบุรุษของแอลแมนโซมาจากประเทศไหน แต่น่าจะมาจากอังกฤษเพราะแอลแมนโซเล่าว่าชื่อเขามาจากบรรพบุรุษที่ไปรบในสงครามครูเสด (ในยุคกลางของยุโรป) แล้วมีชายชาวอาหรับมาช่วยชีวิตไว้ จึงถือเป็นประเพณีว่าทุกชั่วคนจะต้องมีคนในสกุลไวลเดอร์ชื่อแอลแมนโซ เพี้ยนจากภาษาอาหรับว่า อัล มันซู ว่ากันว่าเมื่อชาเดินทางจากจีนไปยุโรปนั้น เพื่อให้น้ำชาเย็นเร็วๆ คนอังกฤษเทลงในถ้วยรอง ซึ่งเป็นจานก้นลึกคล้ายๆถ้วยจีน ต่อมาก็พัฒนาเป็นจานรองแบบที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้ ความกว้างของจานรองทำให้ไอร้อนระเหยไปได้เร็ว กลายเป็นธรรมเนียมดื่มกันเป็นปกติ จนปลายศตวรรษที่ 19 คนมีการศึกษาจึงยกเลิกการดื่มน้ำชาจากจาน กลับมาดื่มจากถ้วยโดยตรง
คนอังกฤษมีรสนิยมในการดื่มชายามบ่าย เป็นการหรูหรามาก โถชาเป็นเครื่องเงินอย่างดี แก้วชาทำด้วยเซรามิกอย่างหรู บิสกิต สโคน เนย เสริฟมาบนถาดสูงซ้อนกันสามชั้น เป็นวัฒนธรรมการดื่มน้ำชาที่ฟู่ฟ่าหรูหรา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 08 ธ.ค. 12, 19:42
|
|
เมื่อกว่า 15 ปีมาแล้ว รสนิยมการดื่มชาหรือกาแฟจากจานรองนี้ยังมีให้เห็นอยู่ในพม่า เห็นอยู่ได้ทั่วไปตลอดเส้นทางจากย่างกุ้งถึงมัณฑะเลย์ แต่ไม่เห็นในวงราชการและในกลุ่มคนที่พอจะมีฐานะ ไม่ทราบว่าเปลี่ยนไปมากน้อยเพียงใดแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 08 ธ.ค. 12, 20:22
|
|
เป็นความรู้ใหม่ค่ะว่าพม่ายังดื่มน้ำชาจากจานรอง คงเป็นวัฒนธรรมที่รับมาเมื่ออังกฤษเข้าครอบครองพม่าตั้งแต่สมัยพระเจ้าสีป่อ ตรงกับรัชกาลที่ ๓ ของไทย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 08 ธ.ค. 12, 21:11
|
|
คนอังกฤษมีรสนิยมในการดื่มชายามบ่าย เป็นการหรูหรามาก โถชาเป็นเครื่องเงินอย่างดี แก้วชาทำด้วยเซรามิกอย่างหรู บิสกิต สโคน เนย เสริฟมาบนถาดสูงซ้อนกันสามชั้น เป็นวัฒนธรรมการดื่มน้ำชาที่ฟู่ฟ่าหรูหรา
นำรูปมาประกอบค่ะ ชุดน้ำชาเงินสมัยวิคตอเรียน ถ้วยชากระเบื้องอย่างดี และขนมหวานที่กินกับน้ำชา ดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์ของอังกฤษ เพราะฉะนั้นชุดน้ำชา รวมผ้าปูโต๊ะ ลายกุหลาบจึงเป็นลายคลาสสิค
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
hobo
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 02:13
|
|
ที่ยุโรปยังมีหลายประเทศที่ทำอยู่ครับ เห็นคำถามคุณปรุงใจหลายวันแล้วแต่ผมไม่รู้ว่าจะเรียบเรียงอย่างไรเลยรอท่านอื่นมาตอบก่อน ครั้งแรกเลยผมเจอที่เบลเยี่ยม ดื่มกาแฟกันระหว่างเวลาพักก่อนอาหารกลางวัน อาจารย์ผมเองเพิ่งเกษียณปีที่แล้ว (65) เป็น ศ.ดร. แต่ไม่ได้ดื่มจากจานรองโดยตรงนะครับ พอดื่มกาแฟหมดก็เอาน้ำร้อนๆ เทบนจานรองแล้ววนๆ จากนั้นก็เทกลับใส่แก้วอีกที ดร.คนญี่ปุ่นที่ไปด้วยกันมองแบบตาไม่กระพริบ ฝรั่งประหยัดกันมากครับ น้ำตาลก้อนสี่เหลี่ยมเล็กๆ ยังมีที่ตัดเลยครับ แต่ดื่มจากจานนั้นสาเหตุหลักๆ น่าจะเป็นเพราะร้อนไม่อยากรอดังที่หลายท่านอธิบายด้านบน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 15:31
|
|
ร้านกาแฟที่ภูเก็ต(ชาวเมืองเรียกโกปี้)สมัยก่อนแถววงเวียนน้ำพุ เช้าๆชาวบ้านจะนิยมไปนั่งเพราะใกล้ตลาดสดเทศบาล โกจะรินกาแฟใส่ถ้วยแก้วที่มีจานกระเบื้องรองจนล้นปรี่ทั้งแก้วทั้งจานมาเสริฟ ถือว่าเป็นการแถม คนสั่งจะเอาแก้วออกก่อนแล้วค่อยๆบรรจงประคองจานขึ้นมาซดจนหมด หลังจากนั้นจะวางแก้วลงในจาน แล้วค่อยๆซดกาแฟจากแก้วต่อไป
ผมไม่ได้ไปภูเก็ตมานานนับสิบปีแล้ว ไม่ทราบว่าวัฒนธรรมนี้ยังอยู่หรือไม่อยู่แล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 19:14
|
|
ไม่เข้าใจวิธีกินจากจานจนแล้วจนรอดค่ะ ว่ามันสะดวกง่ายดายตรงไหน พอเข้าใจ ว่าเทน้ำชาใส่จานมันอาจจะช่วยให้ไอร้อนระเหยได้เร็ว แต่ลักษณะจานรองแบนๆ มันไม่เอื้อต่อเทน้ำชาเข้าปากเอาเสียเลย ถ้าไม่ประคับประคองให้ดี และไม่รู้วิธีเอียงจาน ชาอาจจะไหลบ่าลงมาเป็นแผ่นแบบน้ำตก เทลงบนเสื้อและกางเกงแทนจะเข้าปาก ผิดกับกินจากถ้วยก้นลึก น้ำชาไหลเข้าปากได้น้อยกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 19:15
|
|
อินเดียก็มีธรรมเนียมดื่มชาจากจานรองเหมือนกันนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 19:29
|
|
ไม่เข้าใจวิธีกินจากจานจนแล้วจนรอดค่ะ ว่ามันสะดวกง่ายดายตรงไหน พอเข้าใจ ว่าเทน้ำชาใส่จานมันอาจจะช่วยให้ไอร้อนระเหยได้เร็ว แต่ลักษณะจานรองแบนๆ มันไม่เอื้อต่อเทน้ำชาเข้าปากเอาเสียเลย ถ้าไม่ประคับประคองให้ดี และไม่รู้วิธีเอียงจาน ชาอาจจะไหลบ่าลงมาเป็นแผ่นแบบน้ำตก เทลงบนเสื้อและกางเกงแทนจะเข้าปาก ผิดกับกินจากถ้วยก้นลึก น้ำชาไหลเข้าปากได้น้อยกว่า
ลองทำดูเลยครับ จะได้คำตอบว่า การเทเอียง ๆ ค่อย ๆ นำชาร้อน ๆ เข้าปากต้องทำด้วยความระวัง ค่อย ๆ ดูด และบางครั้งจะมีเสียงเพื่อเพิ่มอรรถรสในการซดชา เสียงกับอากาศจะไหลเข้าริมปาก ทำให้ชาหายจากความร้อนอีกด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 20:22
|
|
ลองทำดูเลยครับ จะได้คำตอบว่า การเทเอียง ๆ ค่อย ๆ นำชาร้อน ๆ เข้าปากต้องทำด้วยความระวัง ค่อย ๆ ดูด และบางครั้งจะมีเสียงเพื่อเพิ่มอรรถรสในการซดชา เสียงกับอากาศจะไหลเข้าริมปาก ทำให้ชาหายจากความร้อนอีกด้วยครับ
เสียงซดชาดังเอื๊อกๆ รึเปล่าคะ  นี่ ผู้ดีอังกฤษต้องกรีดนิ้วจับหูถ้วยชา แล้วค่อยๆจิบอย่างแนบเนียน เงียบกริบแบบคุณป้าคนนี้ ขืนซดจากจานรองดังโฮก (หรือจะเอื๊อก) ก็ตาม จะต้องถูกมองลอดแว่นอีกหลายครั้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|