เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 73299 ถนนเยาวราช จากวันวานถึงวันนี้
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 10:15

...มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งให้กรมโยธาธิการ สร้างถนนขึ้นใหม่สายหนึ่งแทรกลงในระหว่างกลางแห่งถนนเจริญกรุงแลถนนสามเพ็ง  ตั้งต้นแต่ป้อมมหาไชยตัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  เข้าบรรจบถนนเจริญกรุง  ตรงตะพานวัดสามจีน  โดยยาว ๑๔๓๐ เมเตอ (หรือ ๓๕ เส้น ๑๕ วา) โดยกว้าง ๒๐ เมเตอ (หรือ ๑๐ วา)  เปนทางรถกว้าง  ๗ วา  ทางคนเดินกว้างข้างละ ๖ ศอก  พระราชทานชื่อว่า "ถนนเยาวราช"..

ข้อความข้างบนเป็นประกาศกรมโยธาธิการ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ร.ศ. ๑๑๐  ลงพระนาม "นริศรานุวัตติวงษ์"  เล่าถึงกำเนิดของถนนเยาวราช ในรัชกาลที่ ๕ 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 10:20

      ถนนเยาวราชเป็นถนนหนึ่งใน ๑๘ สายที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ขณะดำรงพระอิสริยยศพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสนอให้สร้าง  ถนนอื่นๆนอกจากนี้ก็เช่น ถนนจักรวรรดิ ถนนราชวงศ์ ถนนอนุวงศ์
       ถนนเยาวราชเริ่มตั้งแต่คลองรอบกรุงตรงข้ามกับป้อมมหาไชยตัดลงไปทางทิศใต้บรรจบกับถนนราชวงศ์ซึ่งสร้างแยกจากถนนเจริญกรุงตรงไปฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (ท่าราชวงศ์) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์กราบบังคมทูลว่าจะสร้างถนนใน พ.ศ. ๒๔๓๔ โดยตั้งพระทัยจะให้ชื่อถนนว่า ถนนยุพราช แต่พระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่าถนนเยาวราช
      ในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๔  ได้มีพระบรมราชโองการให้ออกประกาศกรมโยธาธิการแจ้งให้ราษฎรทราบว่า การตัดถนนเยาวราชเนื่องจากมีพระราชประสงค์จะให้บ้านเมืองเจริญและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไปเพื่อมิให้ราษฎรพากันตกใจขายที่ดินไปในราคาถูก เพราะเข้าใจว่าจะซื้อเป็นของหลวง หรือบางทีเข้าใจว่าการชิงขายเสียก่อน ถึงจะได้ราคาน้อยก็ยังดีกว่าจะสูญเปล่า และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตึกที่ยื่นล้ำเข้ามาในแนวถนนไม่เกินกว่า ๑ วา ไม่ต้องรื้อถอนด้วย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 10:54

ขอมอบแผนที่แนวเส้นทางการวางผังถนนเยาวราชให้ชมกันครับ แนวทางเริ่มกรุยทางตั้งแต่ถนนมหาไชย สะพานหัน เรื่อยไปจนกระทั่งจรดถนนเจริญกรุง



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 11:06

ขอเจาะลึกต้นถนนเยาวราช บริเวณสะพานภาณุพันธ์ - ปัอมมหาไชย หน้าวังบุรพา

บริเวณนี้เลือกทำถนนเนื่องจากกระทบพื้นที่ประชาชนน้อยที่สุดครับ ตัวถนนกินพื้นที่คลอง ลำรางเก่ามาก และไปเบียดพื้นที่ของตลาดปีระกา ซึ่งเป็นที่ดินเดิมของราชสกุลยุคลครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 14:25

ขอบคุณคุณหนุ่มสยาม เข้ามาแจมด้วยแผนที่อย่างเร็วไว ปานกามนิตหนุ่ม ค่ะ   ยิ้มกว้างๆ

ถนนเยาวราชเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๕ ก็จริง   แต่ความเป็นมาของถนนย้อนกลับไปได้ถึงรัชกาลที่ื ๑     เริ่มเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงย้ายเมืองหลวงจากธนบุรีมาฝั่งตรงกันข้าม     ที่ดินฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้เป็นที่ดินว่างเปล่า  หากแต่มีการตั้งชุมชนอยู่ก่อนแล้ว   ตอนนั้นคือชุมชนบ้านเรือนคนจีนที่มีหัวหน้าคือพระยาราชาเศรษฐี     เมื่อจะทรงสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นใหม่ริมฝั่งแม่น้ำตรงที่เดียวกัน   จึงโปรดเกล้าฯให้ชุมชนคนจีนย้ายบ้านเรือนไปอยู่ในที่ใหม่ ลึกเข้าไปห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยา  นอกเขตกำแพงพระราชวังไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

ที่ใหม่ที่ว่านั้นเป็นที่สวน  อยู่ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม(วัดจักรวรรดิราชาวาส) ไปจนถึงคลองวัดสามเพ็ง(วัดปทุมคงคา)ชาวจีนอพยพไปอยู่ ในชื่อที่รู้จักกันว่า "สำเพ็ง"   ต่อมาขยายตัวเป็นแหล่งชุมชนคนจีนใหญ่ที่สุดในเมืองหลวง    และถือได้ว่าเป็นชุมชนคนจีนโพ้นทะเลที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก   ถือกำเนิดมาพร้อมกับกรุงเทพพระมหานครอมรรัตนโกสินทร์เมื่อพ.ศ. ๒๓๒๕
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 21:32

  เนื่องจากไทยมีนโยบายต้อนรับคนจีนโพ้นทะเลให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินได้อย่างไม่รังเกียจเดียดฉันท์    คนจีนก็เลยอพยพเข้ามาไม่ขาดสาย   ทำให้สำเพ็งกลายเป็นชุมชนคึกคักมาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์   เห็นได้จากนิราศเมืองแกลงของสุนทรภู่ ที่บรรยายบรรยากาศตอนดึกของกรุงเทพฯ    ย่านอื่นๆ ชาวบ้านชาวช่องน่าจะนอนหลับกันหมดแล้ว   แต่สำเพ็งก็ยังครึกครื้นมีชีวิตชีวาอยู่

      ถึงสำเพ็งเก๋งตั้งริมฝั่งน้ำ                                    แพประจำจอดเรียงเคียงขนาน
       มีซุ้มซอกตรอกนางจ้างประจาน                            ยังสำราญร้องขับไม่หลับลง

       โอ้ธานีศรีอยุธยาเอ๋ย                                        นึกจะเชยก็ได้ชมสมประสงค์
       จะลำบากยากแค้นไปแดนดง                               เอาพุ่มพงเพิงเขาเป็นเหย้าเรือน

      จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่าทำไมชุมชนคนจีนจึงขยายตัวรวดเร็ว และไม่หยุดยั้ง   แผ่ขยายจนล้นสถานที่ ออกพ้นวัดสามปลื้มขึ้นมาถึงคลองรอบกรุง   ทางใต้ก็ขยายไปจนข้ามคลองวัดสำเพ็งลงไปทางบ้านญวนหรือบ้านองเชียงสือ    ทางตะวันออก ขยายจากริมแม่น้ำไปตามแนวคลองวัดสามปลื้ม  คลองโรงกะทะ   และคลองวัดสำเพ็ง
     ผลก็คือ เกิดย่านการค้าใหม่ๆของคนจีนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ  เช่น ตลาดน้อย ตลาดวัดเกาะ  ตลาดสำเพ็ง ตลาดเก่า และตลาดสะพานหัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 21:34

สำเพ็งในอดีต


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 ธ.ค. 12, 07:48

สำเพ็งในอดีต

ภาพนี้คือสะพานหัน สมัยที่ยังเป็นสะพานเหล็ก เปิด-ปิด ได้ครับ .. เป็นทางผ่านออกจากกำแพงเมืองเข้าสู่สำเพ็ง ด้วยถนนหน้าวัดสามปลื้ม
รูปยอดของประตู มีลักษณะเดียวกับประตูสามยอดครับ

จำชื่อประตูนี้ไม่ได้ .. จำได้แต่ว่าประตูนี้ทะลายลงมาเองเนื่องจากเครื่องบนผุพังไป จึงมีพระราชดำรัสให้รื้อลงเสีย

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 02 ธ.ค. 12, 09:35

ยินดีที่เห็นคุณลุงไก่เข้ามาร่วมวง เที่ยวถนนเยาวราชกันอีกคนหนึ่งค่ะ

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ในรัชกาลที่ ๑-๓  คนกรุงเทพยังสัญจรกันทางน้ำ  ไม่มีถนนบนบก  จนถึงรัชกาลที่ ๔ ถึงมีการตัดถนนตามความประสงค์ของทูตานุทูตฝรั่งที่ต้องการนั่งรถม้าไปพักผ่อนหย่อนใจนอกบ้าน      แต่ความที่สำเพ็งแออัดมาก  และขยายตัวไปจนชาวจีนในชุมชนนี้มีจำนวนมากไม่ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง  จึงมีการสร้างทางสัญจรทางบกขึ้นสายหนึ่งในรัชกาลที่ ๓   เป็นตรอกที่ตัดผ่านสำเพ็ง    มีบ้านช่องร้านค้าชั้นเดียวของชาวจีนตั้งอยู่เรียงรายสองข้างทาง
ตรอกนี้ในหนังสือไม่ได้บอกชื่อ     เดาว่าเป็นตรอกสำเพ็ง   แต่ถ้าไม่ใช่  ใครทราบกรุณาบอกด้วยนะคะ

ในรัชกาลที่ ๓  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงเปิดโอกาสให้คนจีนอพยพกันเข้ามาระลอกใหญ่  เพื่อใช้แรงงาน และเป็นโอกาสให้ได้งานศิลปะจากจีนมาเสริมสร้างในวัดต่างๆที่ทรงทะนุบำรุงอยู่ด้วย     จำนวนคนจีนไม่เคยลดน้อยลงนับจากนั้น   ในรัชกาลที่ ๔  สนธิสัญญาเบาริงที่คนไทยรุ่นหลังมองว่าเป็นปัญหาใหญ่ทำให้ไทยเสียเปรียบทางสิทธิสภาพนอกอาณาเขต     ความจริงในสมัยที่ทำ  ก่อให้เกิดผลดีทางการค้า เศรษฐกิจ และพ่วงมาด้วยแรงงานจีนที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างมหาศาล
 
ผลพวงจากสนธิสัญญาเบาริงคือ  เรือสินค้าจากต่างแดนก็เข้ามาค้าขายกับสยามอย่างเป็นล่ำเป็น    สำเภาแบบโบราณที่อุ้ยอ้ายอาศัยแรงลม พัฒนาขึ้นมาเป็นเรือกำปั่นใบ และเรือกลไฟแบบตะวันตกที่ช่วยให้การเดินทางระหว่างเมืองท่าเป็นไปได้คล่องตัว  ทำให้เกิดบริการเส้นทางเดินเรือขึ้นตามเมืองท่าต่างๆ โดยเฉพาะจากจีนมากรุงเทพ  ตั้งแต่ปี ๒๔๒๕  ทำให้คนจีนอพยพกันเข้ามากันไม่หยุดยั้ง
บัญชีสำมะโนครัวไทยเมื่อพ.ศ. ๒๔๕๒  แสดงยอดคนจีนในกรุงเทพว่ามีถึง ๑๘๘,๐๖๕ คน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 02 ธ.ค. 12, 20:19

ชาวจีนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเขตสัมพันธวงศ์นั้น ส่วนมากเป็นชาวจีนเชื้อสายแต้จิ๋วเป็นหลัก และมีชาวฮกเกี้ยน, กวางตุ้ง, ไหหลำ, แคะ เข้ามาอยู่จัดเป็นกลุ่ม ๆ ไปโดยมีศูนย์กลางคือ "ศาลเจ้า"

และที่น่าแปลกคือ ความผสมผสานกันลงตัวของจีน และ แขก ซึ่งริมท่าน้ำละแวกวัดเกาะ มีมัสยิดมุสลิมตั้งอยู่ในท่ามกลางชาวจีนได้อย่างลงตัว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 02 ธ.ค. 12, 20:30

ความผสานกันลงตัวอย่างคุณ siamese ว่า ทำให้ความเป็นอยู่ในชุมชนคึกคัก  ยิ่งนานปีไปก็ยิ่งหนาแน่น  ยิ่งหนาแน่นก็ยิ่งแออัดยัดเยียด   ด้วยเหตุนี้ผลพลอยเสียของบ้านเรือนแออัดคือทำให้สำเพ็งเกิดไฟไหม้หลายครั้ง   บ้านเรือนและทรัพย์สินเสียหายกันครั้งละมากๆ   ผู้คนก็โกลาหลอลหม่าน  จนกลายเป็นสำนวนเปรียบเทียบความโกลาหลใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นว่า
"เหมือนไฟไหม้สำเพ็ง"
ความวุ่นวายของคนในชุมชนก็กลายเป็นสำนวนที่บางท่านอาจเคยได้ยิน คือ
"เจ๊กตื่นไฟ"

ในพ.ศ. ๒๓๔๓   พงศาวดารบันทึกไฟไหม้ครั้งใหญ่ในสำเพ็งไว้ว่า "...เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่วัดสามปลื้ม   ไหม้ตลอดลงไปถึงตลาดน้อยวัดสำเพ็ง" นับระยะทางแล้วยาวกว่าหนึ่งกิโลเมตร   บ้านเรือนเสียหายมากแค่ไหนก็ลองนึกภาพดูเองนะคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 09:33

พื้นที่ในกลุ่มสำเพ็ง - เยาวราช - วัดเกาะ ต่างประสพปัญหาเรื่องไฟไหม้ในหน้าประวัติศาสตร์มานานตั้งแต่ครั้งต้นกรุงรัชกาลที่ ๑ มาเลยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 10:03

ด้วยเหตุที่ว่ามานี้  เพื่อให้ชุมชนจีน "โปร่ง"ขึ้น  มีทางเข้าออกสะดวกกว่าในอดีตที่มีบ้านเรือนเต็มแน่นไปทุกทิศทาง    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าจึงทรงเห็นความจำเป็นในการตัดถนนเพิ่มขึ้นหลายสาย   ต่อกับถนนที่มีอยู่แล้ว   คือถนนทรงวาด  ถนนทรงสวัสดิ์  ถนนอนุวงศ์  และถนนพาดสาย
สิ่งที่โปรดเกล้าฯให้สร้างอีกอย่างคือตึกแถวริมถนน ให้คนจีนได้อยู่อาศัย ใช้เป็นที่ค้าขาย   ผลที่ตามมาคือเศรษฐกิจก็ยิ่งเจริญขึ้น    สำเพ็งกลายเป็นย่านการค้าใหญ่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๕ 
จากนั้น  การตัดถนนสายสำคัญที่เป็นชื่อของกระทู้นี้ ก็ตามมาในพ.ศง ๒๔๓๕

รูปข้างล่างนี้คือสำเพ็งในรัชกาลที่ ๕


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 10:44

ขอแยกซอยหน่อยนะคะ เรื่องสำเพ็ง
สำเพ็ง ยังเป็นถิ่นกำเนิดของลูกสาวชาวจีน  ซึ่งต่อมาได้เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง และต่อมาได้เป็นฝ่ายใน  คือเจ้าจอมสมบูรณ์ในรัชกาลที่ ๕ 
เจ้าจอมสมบูรณ์เป็นธิดาของนายซุ้ย และนางบุญมา  ครอบครัวนี้ต่อมาใช้นามสกุลว่า "มันประเสริฐ" เพราะสืบเชื้อสายมาจากหมื่นประเสริฐ หรือ เจ้าสัวมัน นายอากรในรัชกาลที่ ๓
เจ้าจอมสมบูรณ์รับราชการฝ่ายในมาตลอดทั้งในพระบรมมหาราชวัง และในพระราชวังสวนดุสิต  จนสิ้นรัชกาลที่ ๕ จึงกราบถวายบังคมทูลลาออกมาพักอยู่บ้านเดิมในสำเพ็ง แต่ยังคงถวายการรับใช้พระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎมาตลอด จนพระวิมาดาฯสิ้นพระชนม์ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒

เจ้าจอมสมบูรณ์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุด คือ ทุติยจุลจอมเกล้า ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐  ท่านอายุยืนยาวถึง ๘๒ ปีจึงถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑  ด้วยโรคเบาหวาน

เสียดายไม่มีรูปของเจ้าจอมสมบูรณ์  ไม่ทราบว่าคุณ siamese หรือคุณ art47 มีไหมคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 14:04

สำเพ็งในอดีต

ภาพถ่ายสะพานสำเพ็ง (สะพานหัน) และประตูเมืองนี้เป็นภาพที่ถ่ายโดยช่างภาพชาวต่างประเทศชื่อ เจ อันโตนิโอ ครับ มีสตูดิโอที่หัวมุมถนนตรอกชาเตอร์แบงก์ ปัจจุบันเป็นร้านขายเครื่องเขียน ใกล้โรงเรียนอัสสัมชัญบางรักครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 20 คำสั่ง