เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 73308 ถนนเยาวราช จากวันวานถึงวันนี้
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 14:14


รูปข้างล่างนี้คือสำเพ็งในรัชกาลที่ ๕

ภาพนี้มีประวัติครับ อ.เทาชมพู

ภาพนี้ถ่ายไว้บริเวณห้องแถวย่านวัดเกาะ เป็นแหล่งที่พ่อค้าชาวจีนและอินเดียทำมาหากินด้วยความกลมกลืนกัน (ชายแก่ กลางถนนเป็นจีนนุ่งโสร่ง....แขกนั่งร้านสวมรองเท้าเกี๊ย)

ที่มีเรื่องเล่าคือบรรยากาศของภาพนี้ได้รับการถ่ายทอดจากเฮียสมชัย ซึ่งมีบ้านอาศัยอยู่ถ้ดไปไม่กี่ห้องแถว ผมได้สัมภาษณ์ภาพนี้ว่า ตึกแถวด้านขวามือเราเป็นตึกแถวที่ได้รับการสร้างใหม่ เพราะว่ามีเหตุการณ์ไฟไหม้ย่านวัดเกาะ ซึ่งแนวอาคารเดิม (เส้นประสีแดง) ยังคงทิ้งร่องรอยเอาไว้ ซึ่งเป็นถนนที่แคบมาก ทรงมีพระราชกำหนดการสร้างอาคารแบบใหม่ให้ถนนมีความกว้างเพิ่มขึ้น จึงต้องกระเถิบอาคารเข้าไปอย่างที่เห็นในภาพ

ส่วนในวงกลมข้างบนเป็นกลุ่มตึกแถวรุ่นหลัง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากไฟไหม้ คือ "ที่บังไฟ" ให้สร้างไว้ด้านบนอาคาร

ผมก็ถามต่อว่า ร้านขายเพชรพลอยเจ้าของร้านยังอยู่ไหม ก็ทราบว่า เป็นรุ่นเหลนที่ดำเนินการ แต่ได้ปิดบ้านหายตัวไปราว ๓ เดือนมาได้ ยินว่าทางบ้านป่วยหนักเลยกลับไปอินเดียแล้วยังไม่กลับมาเลย ซึ่งตู้กระจกก็ยังคงอยู่

ส่วนร้านอาเฮียก็อยู่ตรงป้ายอักษรภาษาจีน (เยื้องหัวเด็กกลางภาพขวามือ) เป็นร้านเขียนโพยก๊วน ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 14:21


เสียดายไม่มีรูปของเจ้าจอมสมบูรณ์  ไม่ทราบว่าคุณ siamese หรือคุณ art47 มีไหมคะ

หามีไม่ ขอรับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 14:29

ขอบคุณมากสำหรับ "ข้างหลังภาพ" เวอร์ชั่นหนุ่มสยาม ให้สีสันเพิ่มขึ้นแก่กระทู้มากค่ะ

สะดุดตาตั้งแต่เห็นรูปนี้แล้ว เป็นภาพที่มีชีวิตชีวามาก      สังเกตว่าเถ้าแก่ขายสร้อยขายแหวนในร้านหน้าตาโอ่อ่านี่ไม่ใช่อาแปะ แต่เป็นอาบังแต่งกายภูมิฐานตามวัฒนธรรมของเขา   มีพรรคพวกซึ่งก็คงเป็นพี่น้องเจ้าของร้านด้วยกันนั่งทอดอารมณ์อยู่หน้าร้าน   พอมีคนไปตั้งกล้องถ่ายรูป  คนทั้งถนนก็เหลียวมองเป็นตาเดียวกันอย่างสนใจ  แต่ไม่หนีไปไหน  แถมยังมีอาตี๋หน้าทะเล้นมาโผล่อยู่หน้ากล้องทางซ้ายมืออีกด้วย
ไม่รู้ว่าย่านนี้ปัจจุบันเป็นยังไงนะคะ
 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 14:41

ไม่รู้ว่าย่านนี้ปัจจุบันเป็นยังไงนะคะ
 

ถนนสายเดียวกัน แต่ต่างกันแค่เวลา  ยิ้มกว้างๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 14:51

การตัดถนนในสมัยนั้นเป็นเรื่องยาก    ที่ว่ายากนี้ไม่ได้หมายถึงลำบากอย่างตัดถนนเข้าดงพระยาเย็น   แต่ยากเพราะชาวบ้านไม่เข้าใจ   พอตัดถนนใหม่ข่าวลือก็แพร่สะพัดไปว่า ที่ดินสองข้างถนนจะถูกยึดให้ตกเป็นของหลวงบ้าง  หรือตัดถนนแล้วก็จะสร้างตึกของหลวงสองข้างทางบ้าง   แย่งที่ของประชาชนไป    
คนที่เชื่อข่าวลือก็ตกอกตกใจ รีบขายที่ทางกันยกใหญ่เสียก่อนล่วงหน้า โดนโขกราคาถูกขนาดไหนก็ยอม เพราะนึกว่ายังไงก็ยังดีกว่าโดนหลวงยึดไปฟรีๆ    ดังนั้นก่อนตัดถนนเยาวราช  กรมโยธาธิการถึงกับต้องแถลงเป็นทางการว่า

"...จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประกาศมาให้ทราบทั่วกัน ว่าการตัดถนนสายนี้ พระราชประสงค์จะทรงอุดหนุนให้เป็นการเจริญแก่บ้านเมือง แลเปนประโยชน์แก่คนทั้งหลายฝ่ายเดียว    ไม่ได้ตัดถนนเพราะจะต้องพระราชประสงค์ที่สองข้าง   อย่าให้ชนทั้งหลายตื่นตกใจ     เหตุที่จะตัดถนนสายนี้  โดยทรงพระราชดำริหเห็นว่า พื้นที่แขวงสำเพ็งเปนทำเลที่ประชุมชนไปทำมาค้าขายมาก    แต่ทางไปมาลำบากเพราะแคบเล็ก    ไม่สมกับประโยชน์ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ในที่นั้นอีกเปนอันมาก"

แต่ถึงชี้แจงแล้ว อุปสรรคการตัดถนนเยาวราชก็มีมากมายหลายเรื่อง  ทำให้ถนนสายนี้กินเวลานานถึง ๘ ปีกว่าจะสร้างเสร็จ คือตั้งแต่พ.ศ.๒๔๓๕ ถึงพ.ศ. ๒๔๔๓
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 16:34

ใช่ครับ การตัดถนนเยาราช พบกับปัญหาต่าง ๆ มากมายที่เกิดตามมา ทั้งเรื่องความไม่เข้าใจในเรื่องที่ดิน ความไม่เข้าในเรื่องการปลูกตึกแถว ที่สำคัญการที่ถนนเยาวราชต้องคดไป คดมาไม่ตัดตรงแน่วเหมือนถนนบำรุงเมือง ก็ด้วยพบกับปัญหาการที่เจ้าของที่ดินไม่ยอมให้ตัดผ่านที่ดินของตนเอง อันเป็นปัญหามากมายครับ ดังนั้นวิธีแก็ก็เบนถนนออกไปจากแนวถนนเดิม

ประการหนึ่งก็คือการฟ้องร้องเพื่อที่จะเรียกเงินเวนคืนในจำนวนมาก และอุปสรรค์จากบ้านของจีนหรือแขกในร่มธงต่างประเทศ ที่ไม่ยอมย้ายและต้องขึ้นศาลประเทศนั้น ๆ เสียเวลามาก ๆ ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 16:37

มีผู้ให้ขอ้สักเกตุว่า การโค้งของถนนเยาวราชนั้นมีด้วยกัน ๒ โค้ง ซึ่งโค้งหนึ่งเพื่อเลี่ยงพื้นที่ของเวิ้งท่านเลื่อน (ฤทธิ์) และอีกโค้งเพื่อเลี่ยงบ้านเจ๊สัวเนียม ซึ่งตรงกับพื้นที่สีเขียวในภาพ ทำให้ถนนเยาวราชต้องเบนความโค้งออกครับ แต่ปัจจุบันกลับมองไปยังลักษณะของลำตัวมังกรที่ทอดยาวอยู่บนผืนแผ่นดิน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 20:26

ใช่ค่ะ  อย่างที่คุณหนุ่มสยามว่า  คือมีอุปสรรคนานัปการในการสร้างถนนเยาวราช   นอกจากยากเย็นกับเอกชนแล้ว  ก็ยากกับราชการไม่น้อยกว่ากัน   ถึงขั้นปีนเกลียวกันระหว่างกระทรวงโยธาธิการกับกระทรวงนครบาล เรื่องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
แต่ก็เอาเถอะ  ในที่สุดทางการก็ฝ่าฟันอุปสรรค สร้างไปจนสำเร็จ  หลัง 8 ปีอันยาวนาน     ถ้าหากว่าเป็นโครงการสมัยนี้  8 ปีคงเปลี่ยนรัฐบาลไปหลายชุดแล้ว     ผลก็คือถนนคดโค้งเป็นพญามังกรเลื้อย  ไม่ได้ตัดตรงแน่วอย่างถนนเจริญกรุง

งานนี้  กระทรวงโยธาธิการเอาจริงเอาจังกับการตัดถนนมาก    ส่วนไหนที่หลบรอดจากปัญหาเจ้าของที่ดิน คือไปเจอที่ดินว่างเข้า  ก็ขยายความกว้างของถนนจาก ๑๐ วาเป็น ๑๒ วากันตรงนั้น    แต่เนื่องจากถนนเยาวราชมีการสร้างอาคารริมถนนแล้ว   กระทรวงจึงต้องรีบขุดรางน้ำขึ้นถมปลายถนน  และกันที่เอาไว้สำหรับทำทางเท้า ที่เรียกกันว่าฟุตปาท    นอกจากนี้ยังปลูกต้นไม้ห่างจากริมถนน ๑๐ วาอันเป็นอัตรากำหนดของถนน ๑๐ ศอก

ถนนเยาวราชบางส่วนก็ผ่าเข้าไปในถิ่นฐานบ้านช่องคนจีน  แต่บางส่วนก็เป็นป่ารก  และเป็นที่ใช้เลี้ยงหมู เป็ด ไก่ สำหรับเอาไปขายที่สำเพ็ง  ส่วนนี้คือส่วนที่ปัจจุบันตรงกับวงเวียนโอเดียน ไปจนถึงสี่แยกวัดตึก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 20:53

ถ้าผมปีนเข้าตึกสีเข้มขวามือ (ตึกตรงสามแยกถนนเจริญกรุง-ถนนเยาวราช) และถ่ายภาพลงมายังวงเวียนโอเดียน จะได้ภาพนี้ครับ (วัดไตรมิตรซ้ายมือ - ด้านหน้าถนนซ้ายมือคือ เจริญกรุงมุ่งหน้าสี่พระยา หรือ ยืนหันหลังให้ถนนเยาวราช)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 04 ธ.ค. 12, 10:44

ภาพข้างบนนี้น่าจะถ่ายในยุค 2490s  เพราะเห็นสามล้ออยู่เต็มถนน

เรือนไทยเคยนำภาพสี่แยกที่มุมหนึ่งเป็นห้างใต้ฟ้ามาลง   อาจจะเป็นฝีมือคุณหนุ่มสยามนี่เองละค่ะะ และอีกมุมเป็นธนาคารศรีนคร จำได้ไหมคะ
ในอดีต ตรงนี้เคยเป็นที่เทอุจจาระและเป็นส้วมสาธารณะคนเดินทางที่เข้ามาค้าขายซื้อสินค้าในสำเพ็ง     อาจเป็นที่มาของชื่อ "ตรอกอาจม" ก็เป็นได้   ทุกวันนี้คนไทยยังคงเรียกสี่แยกนี้ว่า กงซีหลงซี้กัก   หรือสี่แยกสุขา
เขียนมาถึงตรงนี้ต้องขอคุณ Crazy HOrse ให้ตรวจสอบภาษาจีนอีกทีว่าดิฉันสะกดถูกหรือเปล่านะคะ
แถวนี้มีตรอกอีกตรอกชื่อ ตรอกป่าช้าหมาเน่า   ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นถนนแปลงนาม     ฟังชื่อก็พอจะเห็นภาพของความสกปรกน่ากลัวของสถานที่ได้
การตัดถนน ช่วยทำให้บริเวณนี้โปร่งตาทันสมัยขึ้นทันตาเห็น     จากป่ารกเรื้อมีแต่สัตว์และของสกปรกก็กลายเป็นถนนโอ่อ่าในสมัยรัชกาลที่ ๕   ตึกแถวสองชั้นริมถนนตามมา   ยุคนั้นคงเป็นภาพน่าตื่นตาตื่นใจมากเมื่อเทียบกับบ้านเรือนไม้เล็กๆสมัยก่อน 

ตึกแถวเหล่านี้ ทางการโอนที่ดินริมถนนจักรวรรดิด้านฝั่งตะวันออก เรื่อยมาตามถนนเยาวราช     สร้างเป็น ๔ ตอน จำนวน ๑๑๙ ห้อง  ให้ชาวจีนเช่าเพื่ออยู่อาศัยและค้าขาย   ก็มีคนแห่กันเข้ามาเช่ากันเนืองแน่น     ริมถนนเยาวราชคึกคักหนาแน่นไม่ต่างจากสำเพ็ง
ตึกแถวที่ว่าน่าจะยังเหลืออยู่ให้เห็นจนบัดนี้นะคะ คุณหนุ่มสยามพอมีรูปไหมคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 04 ธ.ค. 12, 10:52


ตึกแถวเหล่านี้ ทางการโอนที่ดินริมถนนจักรวรรดิด้านฝั่งตะวันออก เรื่อยมาตามถนนเยาวราช     สร้างเป็น ๔ ตอน จำนวน ๑๑๙ ห้อง  ให้ชาวจีนเช่าเพื่ออยู่อาศัยและค้าขาย   ก็มีคนแห่กันเข้ามาเช่ากันเนืองแน่น     ริมถนนเยาวราชคึกคักหนาแน่นไม่ต่างจากสำเพ็ง
ตึกแถวที่ว่าน่าจะยังเหลืออยู่ให้เห็นจนบัดนี้นะคะ คุณหนุ่มสยามพอมีรูปไหมคะ

ยกแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๔๔ มาให้ คงใกล้เคียงกับการเปิดถนนเยาราชใหม่ ๆ จะเห็นว่า ด้านตะวันออกของวัดจักรวรรดิ์ (ล่างซ้าย) เป็นอาณาบริเวณของท่านเลื่อน (ฤทธิ์) หรือเวิ้งท่านเลื่อน ซึ่งตอนเด็ก ๆ ทางครอบครัวผมอยู่ในหลังเวิ้งนี้ และเรียกตำแหน่งนี้ว่า "เซียง หวู่ ไหล"

ที่ดินของเวิ้งท่านเลื่อน เมื่อมีการตัดถนนเยาวราชพาดผ่านที่ดิน ท่านก็ขายที่ดินให้ตกเป็นของหลวง ดุแลโดยพระคล้งข้างที่ ซึ่งพระคลังข้างที่ก็จัดการก่อสร้างอาคารห้องแถว จัดแบ่งเสียใหม่ (ตามแผนที่) ส่วนฝั่งตรงข้ามถนนก็เป็นฝั่งวัดตึก ก็เป็นที่หลวงเช่นเดียวกัน มีการปลูกห้องแถวให้ประชาชนซื้อหา เช่าได้ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 04 ธ.ค. 12, 11:01

ลักษณะห้องแถวแบบเก่าที่ด้านถนนเยาวราชฝั่งตะวันออก (ตามภาพ) จะเป็นห้องแถวสองชั้นหลังคาสูง มุงด้วยกระเบื้องว่าวทำด้วยปูนซิเมนต์ (กระเบื้องฟารันโด) ปลูกเป็นช่วง ๆ แนวยาว ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 04 ธ.ค. 12, 11:08

ภาพถนนเยาวราช บริเวณแยกตัดกับถนนราชวงศ์ ซ้ายบนจะเห็นพระเจดีย์ของวัดจักรวรรดิ์ ถัดมาทางซ้ายนิด ๆ ก็จะเจอเวิ้งท่านเลื่อน และถนนเยาวราช ภาพนี้น่าจะถ่ายในช่วงรัชกาลที่ ๖ ปลาย ๆ ครับ เพราะว่าในสมัยรัชกาลที่ ๗ บริเวณที่เป็นพุ่มไม้ใหญ่ ๒ ต้นนั้น ได้เกิดเพลิงไหม้กินบริเวณกว้างมาก จนกระทั่งอาคารริมถนนเยาวราชบางส่วนไฟไหม้ไปหมด

เมื่อไฟสงบลงแล้ว บริเวณที่เคยเกิดไฟไหม้ก็ถูกสร้างเป็นตึกแถวคอนกรีตเสริมเหล็กแทนที่ (ปัจจุบันเป็นอาคารที่จัดแสดงหอศิลป์ธนาคารกรุงไทย) 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 04 ธ.ค. 12, 11:13


ยกแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๔๔ มาให้ คงใกล้เคียงกับการเปิดถนนเยาราชใหม่ ๆ จะเห็นว่า ด้านตะวันออกของวัดจักรวรรดิ์ (ล่างซ้าย) เป็นอาณาบริเวณของท่านเลื่อน (ฤทธิ์) หรือเวิ้งท่านเลื่อน ซึ่งตอนเด็ก ๆ ทางครอบครัวผมอยู่ในหลังเวิ้งนี้ และเรียกตำแหน่งนี้ว่า "เซียง หวู่ ไหล"

ที่ดินของเวิ้งท่านเลื่อน เมื่อมีการตัดถนนเยาวราชพาดผ่านที่ดิน ท่านก็ขายที่ดินให้ตกเป็นของหลวง ดุแลโดยพระคล้งข้างที่ ซึ่งพระคลังข้างที่ก็จัดการก่อสร้างอาคารห้องแถว จัดแบ่งเสียใหม่ (ตามแผนที่) ส่วนฝั่งตรงข้ามถนนก็เป็นฝั่งวัดตึก ก็เป็นที่หลวงเช่นเดียวกัน มีการปลูกห้องแถวให้ประชาชนซื้อหา เช่าได้ครับ

ท่านเลื่อน(ฤทธิ์) ผู้นี้ท่าทางจะเป็นวีไอพีในสมัยรัชกาลที่ ๕    คุณหนุ่มสยามพอจะเล่าเรื่องท่านให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ    ท่านเป็นคหบดี หรือว่าขุนนาง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 04 ธ.ค. 12, 11:29


ยกแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๔๔ มาให้ คงใกล้เคียงกับการเปิดถนนเยาราชใหม่ ๆ จะเห็นว่า ด้านตะวันออกของวัดจักรวรรดิ์ (ล่างซ้าย) เป็นอาณาบริเวณของท่านเลื่อน (ฤทธิ์) หรือเวิ้งท่านเลื่อน ซึ่งตอนเด็ก ๆ ทางครอบครัวผมอยู่ในหลังเวิ้งนี้ และเรียกตำแหน่งนี้ว่า "เซียง หวู่ ไหล"

ที่ดินของเวิ้งท่านเลื่อน เมื่อมีการตัดถนนเยาวราชพาดผ่านที่ดิน ท่านก็ขายที่ดินให้ตกเป็นของหลวง ดุแลโดยพระคล้งข้างที่ ซึ่งพระคลังข้างที่ก็จัดการก่อสร้างอาคารห้องแถว จัดแบ่งเสียใหม่ (ตามแผนที่) ส่วนฝั่งตรงข้ามถนนก็เป็นฝั่งวัดตึก ก็เป็นที่หลวงเช่นเดียวกัน มีการปลูกห้องแถวให้ประชาชนซื้อหา เช่าได้ครับ

ท่านเลื่อน(ฤทธิ์) ผู้นี้ท่าทางจะเป็นวีไอพีในสมัยรัชกาลที่ ๕    คุณหนุ่มสยามพอจะเล่าเรื่องท่านให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ    ท่านเป็นคหบดี หรือว่าขุนนาง

ตึกแถวนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับซื้อที่ดินจากคุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ และสร้างตึกแถวให้เช่า พร้อมทั้งพระราชทานกรรมสิทธิ์แก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช และจากวิกิให้ข้อมูลว่าพลเอกพระยาเทพหัสดินฯ (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2420 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2494) พลเอก หัวหน้าคณะทูตทหารไทยที่เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 นักโทษประหาร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม
 
พลเอกพระยาเทพหัสดินฯ ได้รับพระราชทานยศ บรรดาศักดิ์ และราชทินนามเต็มว่า พลเอก พระยาเทพหัสดิน สยามพิชิตินทร์ สวามิภักดิ์อุดมศักดิ์เสนีย์ พิริยะพาหะ เป็นบุตรชายคนที่ ๑ ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๘ คน ของพันเอกหลวงฤทธิ์นายเวร (พุด เทพหัสดิน ณ อยุธยา พี่ชายต่างมารดาของ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)) ซึ่งเป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับคุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ เกิดเมื่อวันขึ้น ๓ ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันพุธที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๐ ณ.บ้านสำเพ็ง หน้าวัดจักรวรรดิราชาวาส พระนคร พระยาเทพหัสดิน มีศักดิ์เป็นหลานอาของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี แต่มีอายุไล่เลี่ยกัน

ดังนั้นมรดกจึงตกมาอยุ่ในสิทธิ์ของคุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ที่ดินตรงนี้ถนนจะเลี่ยงผ่านไปครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง