เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
อ่าน: 37790 เรื่องของจอร์จส้มหล่น
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 02 ม.ค. 13, 20:27

อีตาโคนิกส์มาร์กเคยพบกับโซเฟีย โดโรเทียตั้งแต่สมัยหมอนี่อายุแค่ 16 ปี ส่วนโซเฟียเพิ่งจะ 15 กำลังหวานๆ แหววๆ  และคงปิ๊งป๊างกันตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว ดังนั้นเมื่อทั้งคู่พบกันอีกครั้งในปี 1688 ถ่านไฟเก่าก็คุขึ้นทันที เพราะโซเฟีย โดโรเทียเองก็เป็นเพียงเจ้าหญิงที่สวามีไม่สนใจ กำลังเงียบเหงาเปล่าเปลี่ยว อีตาโคนิกส์มาร์กก็หล่อล่ำสุภาพบุรุษ ทั้งคู่ส่งจดหมายติดต่อกันซึ่งเนื้อหาในจดหมายบ่งชี้ว่าความสัมพันธ์นี้ไม่ได้มีแค่ทางใจแต่มีทางกายด้วย แต่อย่างไรก็ตาม จดหมายเหล่านี้อาจเป็นจดหมายปลอมก็ได้หรือทั้งคู่จงใจเขียนขึ้นเพื่อปั่นหัวคนอื่น


ในปี 1692 มีอีกาคาบข่าวเอา จ.ม. รักของทั้งคู่ไปให้พ่อสามีเออร์เนส ออกัสอ่านดู เอิร์นเห็นว่าเรื่องอื้อฉาวนี้อาจจะสั่นคลอนตำแหน่งเจ้าชายอิเล็กเตอร์ของเออร์เนสที่เพิ่งได้รับมาใหม่ ได้ เออร์เนสเลยหาเรื่องส่งอีตาโคนิกส์มาร์กไปรบไกลๆ ซะเลย แล้วห้ามเข้ามาฮันโนเวอร์ซะด้วย แต่โคนิกส์มาร์กก็ยังแอบลักลอบมาหาเจ้าหญิงได้อีก


ส่วนอีตาจอร์จส้มหล่นที่โดนภรรยาสวมเขาก็เดือดไม่แพ้กัน ทั้งนี้ไม่ใช่ด้วยความรักใครหึงหวงแต่คงรู้สึกเสียหน้าโดนผู้คนหัวเราะเยาะที่ปล่อยให้ภรรยาคบชู้มากกว่า อีตาจอร์จถึงกับลงมือตบตีแล้วยังบีบคอภรรยาซะอีกด้วย ดีว่าพวกเหล่านางกำนัลช่วยกันดึงออกมา แต่ก็เล่นเอาโซเฟีย โดโรเทียเป็นแผลฟกช้ำดำเขียว  แต่ถ้าจะหย่าร้างอีตาจอร์จก็ไม่ยอมหย่าให้เพราะเงินได้สินสมรสที่ได้จากเจ้าหญิงแต่ละปีเป็นเงินไม่น้อย


อย่างไรก็ตาม ทั้งท่านเคานท์และเจ้าหญิงก็ไม่อาจตัดใจจากกันได้ ในหนังสือ Sex with Queen หรือเร้นรักราชินี ถึงกับบอกว่าทั้งคู่ลอบนัดหมายว่าโคนิกส์มาร์กจะพาเจ้าหญิงหนีตามไปใช้ชีวิตด้วยกันในดินแดนอันห่างไกลเลย  ดังนั้นเพื่อตัดปัญหาซะ เออร์เนส ออกัสก็เลยใช้วิธีที่แถวๆ บ้านเราช่วงนึงก็นิยมไม่น้อย คืออุ้มโคนิกส์มาร์กซะเลย


ดังนั้นในวันที่ 2 กรกฏาคม 1694   หลังจากแอบแว้บไปหาหาโซเฟีย โดโรเทียในตอนเช้า หลังจากนั้นก็ไม่มีใครได้เห็นโคนิกส์มาร์กตัวเป็นๆ อีกเลย คาดว่าโคนิกส์มาร์กถูกอุ้มและสังหาร ศพถูกทิ้งลงแม่น้ำหรือไม่ก็ฝังไว้แถวในวัง Leineschloss ที่เคานท์หนุ่มแอบลอบไปหาโซเฟีย โดโรเทียนั่นเอง


ขณะที่กำลังจะสิ้นใจในปี 1700 เคานท์เตสเพลเท่น อดีตนางสนมของเออร์เนส ออกัสได้สารภาพว่านางเองก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอุ้มสังหารเคานท์หนุ่มด้วยโดยความร่วมมือของทหารของเออร์เนสอีก 4 คนที่ได้ค่าจ้างสูงลิ่ว


ภาพวัง Leineschloss  ที่คาดว่าอีตาโคนิกส์มาร์กน่าจะถูกฝังไว้แถวๆ นี้มากกว่าทิ้งลงแม่น้ำ


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 02 ม.ค. 13, 20:50

หลังจากกำจัดโคนิกส์มาร์กไปแล้ว เจ้าหญิงโซเฟีย โดโรเทียถูกจับไปขังไว้ที่ Ahlden House เจ้าหญิงไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปไหน ไม่ได้รับอนุญาตให้พบหน้าลูกๆ ของตัว ต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้การจับตามองอย่างใกล้ชิด  มีความพยายามหลายครั้งทั้งจากมารดาของเจ้าหญิง หรือแม้แต่เจ้าชายจอร์จ พระโอรสของเจ้าหญิงที่ต่อมาเป็นพระเจ้าจอร์จที่ 2 ที่จะให้เจ้าหญิงได้รับการปล่อยตัว แต่เออร์เนส ออกัส และจอร์จส้มหล่นไม่เคยยอมที่จะผ่อนปรนเรื่องนี้เลย ซึ่งเจ้าหญิงอยู่ที่นี่นานกว่า 30 ปีจนถึงวาระสุดท้ายในปี 1727


Ahlden House


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 03 ม.ค. 13, 18:49

หลังจากจัดการเอาโซเฟีย โดโรเทียไปขังไว้ให้ไกลหูไกลตาแล้ว ดวงชะตาของจอร์จก็ยิ่งดูเหมือนจะดีเอาดีเอา


ในต้นปี 1698 เออร์เนส ออกัสตายไป ทิ้งแผ่นดินทั้งหมดให้จอร์จครอบครองแต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ต้องแบ่งให้น้องๆ เลย จอร์จได้รับตำแหน่งๆ ต่างๆ ที่เดิมเคยเป็นของบิดาคนเดียวทั้งหมดเช่นตำแหน่งดุ๊กแห่งบรันสวิก-ลูนเบอร์กหรือตำแหน่งเจ้าชายอิเล็กเตอร์  ส่วนน้องๆ ของจอร์จไม่มีทางเลือกก็ต้องรับราชการในกองทัพกันไป  ราชสำนักภายใต้จอร์จก็เฟื่องฟูไม่น้อย  จอร์จเป็นผู้สนับสนุนคนเก่งๆ มากมายหลายคนอาทิเช่นคีตกวี เฟรดเดอริก แฮนเดล  นักคณิตศาสตร์ไลบ์นิซ เป็นต้น


ส่วนในอังกฤษขณะนั้นพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 3 เป็นกษัตริย์   รัชทายาทลำดับ 2 ของบัลลังก์อังกฤษคือเจ้าชายวิลเลี่ยม ดุ๊กแห่งกลอสเตอร์ พระโอรสเพียงคนเดียวที่ยังมีชีวิตของเจ้าหญิงแอนน์ รัชทายาทลำดับที่ 1 เกิดสิ้นพระชนม์ในปี 1700 และมีทีท่าว่าเจ้าหญิงแอนน์ไม่น่าจะให้กำเนิดรัชทายาทได้อีกจนต้องมีการออกกฏหมาย Act of Settlement ในปี 1701 เพื่อจำกัดให้เฉพาะผู้ที่เป็นโปรแตสแตนท์เท่านั้นถึงจะมีสิทธิขึ้นครองบัลลังก์อังกฤษได้  ทำให้เจ้าหญิงโซเฟียแห่งฮันโนเวอร์ พระมารดาของจอร์จกลายเป็นรัชทายาทอังกฤษทันทีเพราะถือว่าเป็นผู้สืบสายโลหิตบัลลังก์อังกฤษที่เป็นโปรแตสแตนท์ที่ใกล้ที่สุด ข้ามเหล่าพระญาติพระวงศ์อื่นๆ ทั่วยุโรปที่เป็นคาธอลิก หรือสมรสกับคาธอลิกแต่สายเลือดใกล้ชิดกว่าไปราว 50 พระองค์ ดังนั้นสถานะของจอร์จจากเจ้าชายผู้ปกครองดินแดนที่ห่างไกลเลยมามีความสำคัญกับอังกฤษไปด้วย


ภาพเจ้าชายวิลเลี่ยม ดุ๊กแห่งกลอสเตอร์กับเจ้าหญิงแอนน์


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 03 ม.ค. 13, 19:11

ดังนั้น แม้จะไม่ได้มีคุณงามความดีพิเศษอันใด ในปี 1701 จอร์จก็ส้มหล่นอีก ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของอังกฤษคือเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์ (Order of the Garter) เพื่อเป็นเกียรติยศ หลังจากนั้นไม่นาน อดีตพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษที่ถูกขับไล่ไปก็สิ้นพระชนม์  ปีถัดมาพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 3 ก็สิ้นพระชนม์อีก เจ้าหญิงแอนน์ขึ้นครองราชย์เป็นพระราชินีแอนน์   มีเจ้าหญิงโซเฟียแห่งฮันโนเวอร์เป็นรัชทายาทอันดับ 1 หนทางสู่ราชบัลลังก์อังกฤษของจอร์จก็ใสปิ๊งๆ ขึ้นเรื่อยๆ  เพราะเจ้าหญิงโซเฟียตอนนั้นก็พระชนม์ 71 แล้ว  แก่กว่าพระราชินีแอนน์ตั้ง 35 ปี ถ้าจอร์จรักษาตัวเองไม่ให้ตายก่อนพระราชินีแอนน์ได้ หนทางสู่บัลลังก์แทบจะไม่มีอะไรมาขวาง


ส่วนโซเฟียแห่งฮันโนเวอร์เองก็อย่างที่เคยบอกไปว่าเป็นผู้หญิงที่ฉลาด สนใจใฝ่รู้ไม่ใช่ทื่อทึมทึบ แม้จะสูงวัยถึง 71 แล้ว แต่ก็ยังฟิตปั๋งๆ  ดังนั้นภารกิจหลักของโซเฟียคือการทำทุกอย่างให้มั่นใจว่าหนทางสู่บัลลังก์อังกฤษของเธอและลูกจะต้องราบรื่นไม่มีอะไรมาขวาง เช่นการสร้างเครือข่าย ซื้อใจขุนนางอังกฤษ ฯลฯ  ส่วนจอร์จเองแม้จะไม่ได้ฉลาดแต่ก็ไม่ได้แปลว่าโง่เง่า  เขี้ยวเล็บก็มีเช่นกัน จอร์จเข้าใจความซับซ้อนของระบบการเมืองการปกครองอังกฤษดี จอร์จรู้ด้วยว่าระบบกษัตริย์ต่อไปของอังกฤษนั้นจะไม่ได้มีอำนาจเด็ดขาดเหมือนในอดีตด้วย


ในปี 1705 ส้มหล่นอีก จอร์จได้รับดินแดนเซลล์เพิ่มเติมอีกหลังจากพระเจ้าลุงและอดีตพ่อตาจอร์จ วิลเลี่ยมสิ้นพระชนม์


ภาพเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 03 ม.ค. 13, 19:38

บางคนอาจจะสงสัยว่าแล้วเด็กที่ถูกสปอยแบบจอร์จ พอเป็นผู้ปกครองแล้ววันๆ เค้าทำอะไรกัน?


แม้จะไม่โดดเด่นเป็นมหาราช แต่จอร์จก็เข้าใจเกมส์อำนาจในยุโรปดีและเป็นผู้เล่นที่เชี่ยวชาญด้วย  ไม่ได้เป็นผู้นำที่ทำตัวแบ๊ะ ๆ ๆ เน้นเดินสายออกงานเป็นพริตตี้อย่างเดียว  ส่วนเรื่องบริหารรอคนแดนไกลสั่งการหรือปล่อยให้ขุนนางบริหารกันไปเองอย่างเดียว จอร์จจึงพาตัวเองเข้าไปพัวพันเกมส์อำนาจในยุโรปด้วย เช่นการมีส่วนร่วมในการทำสงครามเพื่อหาผู้สืบราชสมบัติสเปน อยู่ฝ่ายเดียวกับอังกฤษและฮอลแลนด์ เพื่อลดทอนอำนาจฝรั่งเศส ด้วย


ในวันที่ 28 พฤษภาคม 1714 เจ้าหญิงโซเฟียแห่งฮันโนเวอร์สิ้นพระชนม์ด้วยวัย 83  จอร์จจึงเลื่อนขึ้นมาเป็นรัชทายาทลำดับหนึ่งของบัลลังก์อังกฤษทันทีแถมพระพลานามัยของราชินีแอนน์เองก็ไม่สู้ดี  จอร์จใช้อิทธิพลปรับเปลี่ยนคณะองคมนตรีอังกฤษเอาคนของตัวไปไว้เพื่อให้เส้นทางของตนราบรื่น


ในวันที่ 1 สิงหาคม  1714 พระราชินีแอนน์สินพระชนม์ ในขณะที่สภาองคมันตรีก็มีแต่คนของจอร์จที่ตั้งรอไว้แล้ว ดังนั้นจอร์จจึงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษได้อย่างสะดวกโยทิน จอร์จเดินทางจากฮันโนเวอร์มาที่อังกฤษในเดือนกันยายน 1714 และทำพิธีสวมมงกุฏเป็นพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งอังกฤษเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 1714 เป็นกษัตริย์อังกฤษพระองค์แรกและอาจจะพระองค์เดียวที่ตรัสภาษาอังกฤษไม่ได้


ส้มหล่นแล้วจ้า  จอร์จในปี 1714


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 16:08

ยินดีด้วยเพคะ


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 17:45

อู้เรื่องจอร์จมาหลายวัน  ไปเที่ยวพม่าบ้าง ตามล่าหาทับทิมบ้าง ไปหาอะไรกินบ้าง สังหรณ์ใจว่าถูกตามตัวแล้ว ต้องมาเพิ่มเติมเรื่องซะหน่อย


อย่างที่บอกว่าจอร์จเดินทางจากฮันโนเวอร์มาอังกฤษอย่างพระราชามาเพื่อเป็นกษัตริย์ ตอนส้มลูกใหญ่ที่สุดหล่นนี่จอร์จก็อายุ 54 แล้ว   ดังนั้นจอร์จจึงไม่ได้มาตัวเปล่าหรือมีผู้ติดตามมาแค่ไม่กี่คน  แต่คณะของจอร์จากเยอรมันมากันเป็นขบวนใหญ่ทั้งขุนนางทั้งที่ปรึกษา ลูกเต้าญาติโกโหติกาข้าราชบริพารรวมถึงนางสนมด้วย  เอาเป็นว่าขนาดแค่กุ๊กจอร์จเอามาด้วย 18 คน  ยกเว้นคนเดียวที่ไม่ได้มาด้วยคือโซเฟีย โดโรเทียแห่งเซลล์ ที่ควรจะได้ตามมาเป็นพระราชินีอังกฤษด้วยแต่ยังถูกกักอยู่ที่เยอรมันโน่น


ในกระบวนผู้ติดตามของจอร์จก็มีนางสนมตามมาด้วย   จอร์จมีสนมหลักๆ 2 นาง  นางแรก Ehrengard Melusine Baroness von der Schulenburg ขอเรียกสั้นๆ ว่าชูเล็นเบิร์กร่างผอมสูง สูงกว่าจอร์จอีก ชาวบ้านให้สมญาว่า "the maypole" ขอแปลแบบไทยๆ ว่า "เสาไฟฟ้า"  นางที่สองลือว่าเป็นน้องสาวต่างมารดาของจอร์จ คือเกิดจากเออร์เนส ออกัสพ่อของจอร์จกับนางสนม นางนี้ชื่อว่า Sophia von Kielmansegg ขอเรียกว่าโซเฟียก็แล้วกัน  นางนี้ชาวบ้านให้สมญาว่า "ช้าง" เพราะอ้วนเตี้ย    สองสาว(จริงๆ ตอนมาอังกฤษนี่ไม่สาวกันแล้ว)ไม่คอยลงรอยกันนัก ต่างพยายามแย่งชิงหัวใจจอร์จกัน  แต่ชูเล็นเบิร์กดูจะได้ใจจอร์จมากกว่าเพราะตอนหลังได้รับยศถาบรรดาศักดิ์เป็นถึงดัชเชสแห่งเคนเดล และดัชเชสแห่งมันสเตอร์เลย


ว่าไปแล้วรสนิยมสาวๆ ของจอร์จนี่แปลกพิกลไม่น้อย สวยๆ ไม่ชอบ ขอแค่พอใช้การได้ก็พอแล้ว
ภาพ "เสาไฟฟ้า" กับ "ช้าง"




บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 18:21

ทางด้านการเมืองการปกครองนั้นแม้จอร์จจะพยายามหาหนทางที่จะควบคุมรัฐสภาแต่ก็ไม่สำเร็จ อำนาจของกษัตริย์ในยุคสมัยของจอร์จถูกลดทอนลงไปมาก


จอร์จมาอังกฤษแบบแทบจะพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย แถมอายุอานามก็ 54 แล้วไอ้จะปรับตัวเรียนรู้ภาษาใหม่ก็คงเป็นไปได้ยาก ความนิยมในหมู่ประชาชนอังกฤษก็ไม่มี ชาวบ้านทั่วไปมองว่าจอร์จและหมู่มวลคนรอบตัวเข้ามาเพื่อหาผลประโยชน์มากกว่า  ชีวิตในอังกฤษของจอร์จเลยไม่ค่อยมีความสุขนัก ดังนั้นจอร์จจึงมักจะหาโอกาสกลับไปฮันโนเวอร์บ้านเกิดให้บ่อยที่สุดมากเท่าที่จะทำได้  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ยิ่งช่วยลดทอนอำนาจของระบบกษัตริย์ลงไป


เมื่อจอร์จเดินทางไปฮันโนเวอร์  จอร์จไม่ได้มอบหมายให้องค์รัชทายาท เจ้าชายจอร์จเป็นผู้สำเร็จราชการ เพราะพ่อลูกคู่นี้เรียกได้ว่าเกลียดกันมากเลยทีเดียว ทั้งคู่ไม่ลงรอยกันในแทบทุกเรื่อง  ดังนั้นเมื่อใดที่จอร์จะกลับฮันโนเวอร์  การบริหารประเทศจึงอยู่ภายใต้อำนาจของคณะรัฐมนตรี  ส่วนรัฐสภามีหน้าที่ในการออกกฏหมาย  ดังนั้นการบริหารประเทศอังกฤษจึงไม่ได้อยู่ภายใต้กษัตริย์อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแล้วแต่อยู่ภายใต้การบริหารของคณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีที่เป็นเสมือนตัวแทนของกษัตริย์ในการบริหารงาน   นายกรัฐมนตรีคนแรกอย่างไม่เป็นทางการของอังกฤษคือ เซอร์โรเบิร์ต วาลโพ



ประเทศอังกฤษในยุคสมัยของจอร์จพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งหรือสงครามในยุโรป แต่ในอังกฤษเองก็มีการกบฎของพวกจาโคไบต์ที่พยายามจะยกโอรสของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ที่ถูกขับไล่ไปให้มาเป็นกษัตริย์ของอังกฤษ แต่การกบฏก็ล้มเหลวไป หลังจากนั้นแล้วยุคสมัยของจอร์จได้ชื่อว่าเป็นยุคที่สงบสุขดี อังกฤษมีการไปตั้งอาณานิคมสร้างเมืองใหม่ๆ ในอเมริกา เงินทองไหลมาเทมา


ภาพเซอร์โรเบิร์ต วาลโพ


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 21:32

ในรัชสมัยของจอร์จ ตั้งแต่ปี 1714 ที่เป็นกษัตริย์เป็นต้นมาจนถึงปี 1727 จอร์จเดินทางกลับบ้านที่ฮันโนเวอร์บ่อยมาก คือในปี 1716, 1719, 1720, 1723 และ 1725 ซึ่งในช่วงที่จอร์จไม่อยู่ อำนาจการบริหารก็เป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีไป  แต่แม้แต่ช่วงที่ยังอยู่ในอังกฤษ จอร์จก็ไม่ค่อยเข้าประชุมกับคณะรัฐมนตรีอยู่แล้ว ซึ่งต่างจากกษัตริย์องค์ก่อนหน้าคือพระราชินีแอนน์มาก ทำให้นายกรัฐมนตรีวาโพลมีอำนาจมาก มากขนาดสามารถเลือกคณะรัฐมนตรีเองได้เลย


ส่วนเรื่องลูกๆ ของจอร์จนั้นอย่างที่เคยบอกไป จอร์จมีบุตรตามกฏหมาย 2 คน ลูกนอกสมรสเป็นหญิงอีก 3   ลูกในสมรสคือเจ้าชายจอร์จที่ต่อมาเป็นพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งอังกฤษ และบุตรสาวคือเจ้าหญิงโซเฟีย โดโรเทีย ชื่อเดียวกับพระมารดาคือโซเฟีย โดโรเทียแห่งเซลล์ ดังนั้นขอเรียกโซเฟียน้อยนี้ว่าโซเฟีย โดโรเทียแห่งฮันโนเวอร์แทน


เจ้าหญิงโซเฟีย โดโรเทียแห่งฮันโนเวอร์ (1687 - 1757) ต่อมาสมรสกับพระเจ้าเฟรดเดอริก วิลเลี่ยมที่ 1 แห่งปรัสเซีย (1688-1740)  ซึ่งก็คือแคว้นใหญ่แคว้นหนึ่งในเยอรมัน มีเมืองหลวงคือเบอร์ลิน ไม่ใช่รัสเซียนะจ๊ะ อย่าจำสับสน


ในปี 1726 โซเฟีย โดโรเทียแห่งเซลล์ ซึ่งถูกกักบริเวณไว้ที่ Ahlden House ป่วย ด้วยความเกลียดชังเป็นอย่างยิ่ง และรู้ตัวว่าวาระสุดท้ายของพระนางใกล้เข้ามาแล้ว พระนางได้เขียนจดหมายถึงจอร์จ  สาปแช่งไว้ว่าถ้าพระนางตายเมื่อไหร่ ขอให้จอร์จตายตกตามไปภายในหนึ่งปี  ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 1726 โซเฟีย โดโรเทียแห่งเซลล์ก็สิ้นชีวิตแสนเศร้าของพระนางหลังจากถูกคุมขังไว้ถึง 33 ปี พระศพถูกนำใส่หีบเก็บไว้ที่ห้องใต้ดินของปราสาท จนถูกขนย้ายอย่างเงียบๆ นำไปไว้ที่สุสาน Stadtkirche St. Marien ในเดือนพฤษภาคม ปี 1727


เมื่อทราบข่าวการเสียชีวิตของโซเฟีย โดโรเทีย  จอร์จสั่งห้ามการไว้ทุกข์ทั้งในราชสำนักอังกฤษและที่ฮันโนเวอร์   ดังนั้นจึงไม่มีพิธีการไว้อาลัยใดๆ ต่อการสิ้นพระชนม์ของโซเฟีย โดโรเทีย  จอร์จถึงกับโมโหโกรธาเมื่อรู้ว่าราชสำนักปรัสเซียในเบอร์ลินของลูกสาว คือโซเฟีย โดโรเทียแห่งฮันโนเวอร์จัดพิธีไว้อาลัยโดยการแต่งชุดดำกัน

Stadtkirche St. Marien


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 21:56

ด้วยความรักและคิดถึงฮันโนเวอร์  จอร์จจึงเดินทางกลับฮันโนเวอร์อีกครั้งในปี 1727  เป็นการกลับบ้านครั้งที่ 6 ของจอร์จ  ทิ้งให้วาลโพบริหารราชการงานเมืองในอังกฤษต่อไป 


การเดินทางครั้งที่ 6 ของจอร์จเป็นไปอย่างไม่ราบรื่นนักเพราะมีตำนานเล่าขานกันว่ามีมือดีเอาจดหมายสาบแช่งของโซเฟีย โดโรเทียส่งให้จอร์จอ่าน จอร์จอ่านแล้วตระหนกตกใจจนถึงกับความดันขึ้นสูงต้องล้มหมอนนอนเสื่อเลยทีเดียว  และสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมาไม่นานด้วยโรคหลอดเลือดในสมองเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 1727 พระชนม์ 67 พรรษา  ทั้งยังเป็นเวลาเพียงประมาณ 1 เดือนหลังจากที่โซเฟีย โดโรเทียถูกนำไปฝังอย่างเงียบๆ ที่ Stadtkirche St. Marien และเป็นเวลาไม่ถึง 1 ปีหลังการตายของโซเฟีย โดโรเทียตามที่โซเฟียสาปแช่งไว้ซะด้วย  ปิดตำนานคนที่ไม่ได้มีอะไรโดดเด่นแต่ได้ทุกอย่างมาด้วยบุญญาธิการล้วนๆ   


พระศพของจอร์จถูกฝังไว้ที่โบสถ์ในพระราชวัง Leineschloss  วังเดียวกันกับที่คาดว่าตาโคนิกส์มาร์กน่าจะถูกฝังไว้แถวๆ พื้นท้องพระโรงที่วังนั้นแหละ   ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 วัง Leineschloss ถูกทิ้งระเบิด โบสถ์รวมทั้งที่ฝังพระศพของจอร์จได้รับความเสียหาย    ซากชิ้นส่วนที่เหลือของอดีตกษัตริย์แห่งอังกฤษถูกย้ายนำไปไว้ที่ Berggarten Mausoleum  ในฮันโนเวอร์แทน


Berggarten Mausoleum


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ศุศศิ
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 14 ม.ค. 13, 13:52

ลงชื่อเข้าเรียน
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 14 ม.ค. 13, 18:20

วิชานี้แค่รายงานหน้าชั้นเท่านั้นเอง ช่วงนี้คนรายงานมัวหนีไปเที่ยวเมืองพม่ารามัญอยู่ เลยเหลวไหลไม่มาต่อ  ใช้ไม่ได้ ใช้ไม่ได้  โดนตามตัวซะแล้ว

 

หลังจอร์จสิ้นพระชนม์ไป เจ้าชายจอร์จ เจ้าชายแห่งเวลส์ องค์รัชทายาทที่ไม่ถูกกับพระบิดาอย่างแรงก็ได้ขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้าจอร์จที่ 2 ในปี 1727 นั่นเอง
เรื่องการไม่ถูกกันระหว่างบิดากับบุตรนี่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปรกติมากในราชวงศ์ฮันโนเวอร์  เพราะในรัชสมัยต่อๆ มาเหตุการณ์แบบนี้ก็เกิดขึ้นซ้ำรอยไปเรื่อยๆ พระเจ้าจอร์จที่ 2 เองก็ไม่ถูกกับรัชทายาทของพระองค์เช่นกัน



ในสายตานักประวัติศาสตร์ ในแง่การปกครอง พระเจ้าจอร์จที่ 1 เป็นกษัตริย์อังกฤษที่ไม่ได้เลวร้าย แต่ก็ไม่ได้เป็นมหาราชแต่อย่างใด  แต่ถ้าเปรียบเทียบกับการปกครองในเยอรมันที่จอร์จมีสิทธิเด็ดขาดกว่า จอร์จนับว่าเป็นกษัตริย์ที่กดขี่และเป็นเผด็จการกว่าการปกครองในอังกฤษ ที่อำนาจส่วนใหญ่ถูกคานโดยรัฐสภา ทำให้จอร์จต้องปล่อยให้ระบบบริหารราชการแผ่นดินในอังกฤษเป็นไปตามระบบของมันเองโดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวมากนัก   แต่การมีจอร์จเป็นกษัตริย์เป็นเหมือนหลักประกันว่าระบบกษัตริย์อังกฤษจะไม่กลับไปมีกษัตริย์ที่ไม่ใช่โปรแตสแตนท์อีกต่อไป ทำให้ปัญหาเรื่องความแตกต่างทางศาสนาค่อยๆ ลดความร้อนแรงในการเมืองอังกฤษลง แม้จะยังมีการพยายามปฏิวัติหลังจากนั้นบ้างประปราย



ถึงแม้จอร์จเป็นคนที่เห็นแก่ตัว ละโมภ แต่ในสายตานักประวัติศาสตร์ จอร์จยังเป็นตัวเลือกที่ดีกว่ามากๆ  เมื่อเทียบกับอีกตัวเลือกที่มีความเหมาะสมทางสายเลือดมากกว่า คือเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจ๊วต พระโอรสของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ที่ถูกขับไล่ไปฝรั่งเศส  เพราะเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจ๊วต ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์หลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสซึ่งพระเจ้าหลุยส์สามารถจะควบคุมสั่งการในเรื่องต่างๆ ได้ 



ในทางส่วนตัว จอร์จไม่เป็นที่ชื่นชมเลยสำหรับคนอังกฤษ  คนทั่วๆ ไปมักมองว่าจอร์จเป็นคนที่ไม่ฉลาด ทึ่มทึบ ไม่ชอบออกงานพิธีหรือปรากฏตัวในที่สาธารณะนัก การแสดงออกในที่สาธารณะก็แข็งทื่อ พูดภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ แต่ที่จริงจอร์จเข้าใจภาษาอังกฤษดี และยังสามารถใช้ภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศสได้อย่างคล่องแคล่ว  รู้ภาษาละติน อิตาเลี่ยนและดัช  และแม้จะเสื่อมเสียเรื่องที่จอร์จปฏิบัติต่ออดีตภรรยาเจ้าหญิงโซเฟีย โดโรเธ๊ย แต่จอร์จยังหัวก้าวหน้ากว่านักการเมืองแถวๆ นี้เพราะอนุญาตให้สื่อต่างๆ ในอังกฤษสามารถวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้โดยไม่มีการเซนเซอร์  อนุญาตให้นักคิดนักปรัชญาที่เป็นปฏิปักษ์กับประเทศตัวเองมาลี้ภัยได้



จดหมายที่จอร์จเขียนถึงพระธิดา เจ้าหญิงโซเฟีย โดโรเธียแห่งฮันโนเวอร์เปิดเผยอีกด้านของจอร์จที่เป็นพ่อที่รักและห่วงใยลูก ดูอบอุ่นอ่อนโยน ซึ่งแตกต่างจากภาพลักษณ์ที่แสดงออกในที่สาธารณะเหมือนคนที่ทื่อๆ เย็นชายิ่งนัก  พระมารดาของจอร์จเอง เจ้าหญิงโซเฟีย เคยให้นิยามของจอร์จไว้ซึ่งอาจจะตรงทีสุดว่า  ภาพลักษณ์ที่ดูเย็นชา ไม่สนใจใยดี เป็นแค่สิ่งอำพรางความอ่อนไหว ความจริงใจที่ซ่อนไว้ลึกๆ ข้างในใจของจอร์จ 



และนี่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำไมจอร์จจึงยังคงใจร้ายต่อเจ้าหญิงโซเฟีย โดโรเธียแห่งเซลล์ ที่แม้ผ่านมา 30 ปีแล้วยังคงไม่ให้อภัยเธอ


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 19 คำสั่ง