เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 37829 เรื่องของจอร์จส้มหล่น
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 12 ธ.ค. 12, 01:55

เรื่องราวของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 นี่สนุกสนานมาก โดยเฉพาะเรื่องของเหล่ากิ๊กของพระองค์  ท่านอาจารย์เทาชมพูเคยเขียนเล่าไว้ในเว็บวิชาการเมื่อนานมาแล้ว เรื่อง ราชาเจ้าสำราญ : ชาร์ลส์ที่ ๒ แห่งอังกฤษ  มีทั้งหมด 4 ตอน ใครไม่ยอมตามลิงค์ไปอ่านต้องขอบอกเลยว่าจะพลาดของดีมาก ๆ  เชิญไปอ่านตามนี้ระหว่างที่กระผมขออู้ไปก่อน ช่วงนี้ซุปฯเรียกคุยทุกสัปดาห์เลย

http://www.vcharkarn.com/varticle/395

http://www.vcharkarn.com/varticle/396

http://www.vcharkarn.com/varticle/397

http://www.vcharkarn.com/varticle/398

อ้อ เกือบลืมภาพพระเอกนักรักของเรา ชาลส์ที่ 2 ไม่หล่อแต่เร้าใจ


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 12 ธ.ค. 12, 10:12

         เรื่องราวสมัย Restoration ของพระองค์ถูกนำมาถ่ายทอดเป็นหนังในชื่อเดียวกัน
ผ่านตัวเอกของเรื่องซึ่งเป็นแพทย์หนุ่ม(รับบทโดย Robert Downey Jr.)ที่ได้มีโอกาส
เข้าไปรับใช้ในราชสำนัก

คลิปตอนที่ 1/11 ครับ

         


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 13 ธ.ค. 12, 22:55

แม้จะมีพระโอรสและธิดาเรียกได้ว่ายั้วเยี้ยไปหมดจากเหล่าสนมทั้งหลาย แต่ไม่มีซักคนที่เกิดจากพระราชินี ดังนั้นปัญหาเรื่องรัชทายาทจึงเป็นปัญหาใหญ่ในช่วงสมัยของชาลส์
พระอนุชาของชาลส์ คือเจ้าชายเจมส์ คนที่สมัยครอมเวลล์เรืองอำนาจแล้วต้องตกกระป๋องตามไปด้วย ต้องไปเป็นทหารรับจ้างในฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าชาลส์กลับมาครองบัลลังก์อังกฤษ และยังไม่มีรัชทายาท  เจ้าชายเจมส์ก็ต้องเป็นรัชทายาทแทน


แต่เจ้าชายเจมส์ไม่เป็นที่นิยมของชาวอังกฤษเพราะเจ้าชายเป็นพวกโปรฝรั่งเศส เนื่องจากเคยไปลี้ภัยในฝรั่งเศส แถมเจมส์ยังเปลี่ยนมานับถือนิกายคาธอลิกอีกด้วยจึงยิ่งไม่เป็นที่ชื่นชอบของเหล่าชาวอังกฤษ โดยเฉพาะรัฐสภาและขุนนาง แต่เมื่อไม่มีตัวเลือกอื่น เจมส์จึงยังอยู่ในตำแหน่งรัชทายาท


พระเจ้าชาลส์ที่ 2 สิ้นพระชนเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1685 โดยไม่มีรัชทายาทที่เป็นโอรสหรือธิดาถูกต้องตามกฏหมาย เจ้าชายเจมส์ จึงได้ขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และเจมส์ที่ 7 แห่งสก๊อตแลนด์ ในปี 1685


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 13 ธ.ค. 12, 23:40

เจมส์ที่ 2 ประสูติเมื่อปี 1633 เป็นโอรสองค์ที่ 2 ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1  


ในช่วงต้นการฟื้นฟูราชวงศ์หลังจากครอมเวลล์ไปเยี่ยมยมพบาลแล้ว   เจมส์ได้พบรักกับเลดี้แอน ไฮด์ บุตรสาวของเอิร์ลแห่งคราเรนดอนและสัญญาว่าจะแต่งงานกับเธอถ้าแอนน์ยอม xxx ด้วย     ในปี 1660 เจมส์จึงสมรสกับเลดี้แอนน์ ไฮด์ ในขณะชาวบ้านซุบซิบกันว่าท้องก่อนแต่ง  เป็นการแต่งงานท่ามกลางเสียงคัดค้าน เพราะเป็นเรื่องแปลกในสมัยนั้นที่เจ้าชายเลือกจะสมรสกับหญิงสามัญชน แต่ก็พอเข้าใจได้เพราะแม้จะมีสถานะเป็นเจ้าชายรัชทายาทของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แต่ตอนนั้นชาลส์เองก็ยังหนุ่มแน่นอายุแค่ 30 โอกาสที่ชาลส์จะมีรัชทายาทสายตรงจึงมีสูง  เจ้าชายเจมส์จึงไม่ต้องคิดหน้าคิดหลังมากนัก   ทั้งคู่มีธิดาที่อยู่รอดมาจนโตด้วยกัน 2 องค์คือเจ้าหญิงแมรี่และเจ้าหญิงแอนน์ จนแอนตายไปในปี 1771 ด้วยมะเร็งเต้านม


เนื่องจากเจมส์เปลี่ยนไปเป็นคาธอลิก แม้จะพยายามเก็บเป็นความลับแต่ก็เป็นที่รับรู้กันในหมู่สาธารณะชนจนเกิดความขัดแย้งเรื่องศาสนาของเจ้าชายเจมส์จนกษัตริย์ชาลส์ที่ 2 ต้องลงมาจัดการ ชาลส์ที่ 2 อนุญาตให้เจมส์เป็นคาธอลิกต่อไปได้ และอนุญาตให้เจมส์แต่งงานกับเจ้าหญิงแมรี่แห่งโมดิน่าซึ่งเป็นคาธอลิกในปี 1673  แต่ธิดาทั้งสองของเจมส์คือเจ้าหญิงแมรี่และเจ้าหญิงแอนน์ต้องถูกเลี้ยงแบบโปรแตสแตนท์ ทำให้พ่อ แม่เลี้ยง และลูกครอบครัวนี้นับถือศาสนาต่างนิกายกัน


เมื่อครองราชย์แล้ว  รัชสมัยของเจมส์เป็นช่วงที่มีแต่ความวุ่นวาย เนื่องจากพระราชาและพระราชินีเป็นคาธอลิกในขณะที่คนส่วนใหญ่ในประเทศเป็นโปรแตสแตนท์ แถมเจมส์เองก็เป็นผู้ที่เชื่อในอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของกษัตริย์ และไม่ยืดหยุ่นเท่าพระเจ้าชาลส์พี่ชายทำให้เกิดความขัดแย้งกับรัฐสภาและคณะที่ปรึกษาที่พยายามจะจำกัดอำนาจของกษัตริย์

ภาพแอน ไฮน์และแมรี่แห่งโมดิน่า



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 14 ธ.ค. 12, 00:13

ในรัชสมัยของเจมส์ที่ 2 มีการกบฏเกิดขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรกโดยอาชิบาล แคมเบลล์แห่งสก๊อตแลนด์ก่อความไม่สงบขึ้น แต่ถูกปราบลงได้ ครั้งที่สอง ดุ๊กแห่งมอนมัธ โอรสนอกกฏหมายของชาลส์ที่ 2 เห็นโอกาสที่พระราชาเป็นคาธอลิกและไม่ได้รับความนิยมจึงอ้างสถานะบุตรของพระเจ้าชาลส์และเป็นโปรแตสแตนท์  หวังจะได้รับเสียงและกำลังสนับสนุนจากชาวอังกฤษ แต่ไม่สำเร็จ กองกำลังเล็กๆ ของมอนมัธจึงถูกปราบและตัวมอนมัธเองก็ถูกตัดหัวไปอย่างง่ายดาย


แต่ปัญหาหลักจริงๆ ของเจมส์ที่ 2 คือเรื่องศาสนาของพระองค์  เจมส์ตั้งพวกคาธอลิกหลายคนเป็นผู้บังคับการกรมทหารต่างๆ ซึ่งขัดกับกฏหมายในขณะนั้น แต่งตั้งพวกคาธอลิกให้ดำรงตำแหน่งสูงๆ หลายตำแหน่ง  เมื่อรัฐสภาพยายามขัดขวางเจมส์ก็ยุบสภาซะเลย   แถมเจมส์ยังมีองค์รัชทายาทกับแมรี่แห่งโมดิน่าอีกทำให้พวกโปรแตสแตนท์ยิ่งวิตกว่าประเทศจะกลับไปสู่การอยู่ภายใต้อำนาจของคาธอลิกอีกครั้ง เมื่อเห็นความพยายามปฏิรูปศาสนา และหวั่นเกรงว่าอังกฤษจะกลับไปเป็นคาธอลิก  เสียงเรียกร้องหาอัศวินม้าขาวมาแก้ปัญหาก็ดังกระหึ่ม


ในปี 1688 ขุนนางอังกฤษจำนวนหนึ่งทูลเชิญเจ้าชายวิลเลี่ยมแห่งออเรนจ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นทั้งลูกเขยและหลานแท้ๆ ของเจมส์มากำจัดคนพาล อภิบาลคนดี   เจ้าชายซึ่งขณะนั้นปกครองฮอลแลนด์อยู่เลยยกทัพจากฮอลแลนด์บุกอังกฤษในเดือนพฤศจิกายน และสามารถพิชิตอังกฤษได้อย่างไม่ยากเย็น  พระเจ้าเจมส์และพระราชินีต้องลี้ภัยไปฝรั่งเศสในเดือนธันวาคม 1688 นั่นเอง


อัศวันม้าขาว วิลเลี่ยมแห่งออเรนจ์


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 17 ธ.ค. 12, 01:33

วิลเลี่ยมส้มเป็นใครมาจากไหน หลายๆ คนอาจจะยังงงๆ หน่อย เพราะประวัติศาสตร์อังกฤษช่วงนี้ไม่ค่อยคุ้นกับคนไทยมากเหมือนที่เราได้ยิรชื่อเฉนรี่ที่ 8  ควีนอลิซาเบธที่ 1 หรือควีนวิคตอเรีย


ย้อนกลับไปสมัยชาลส์ที่ 1 ที่ถูกตัดหัวไป  อย่างที่เคยเล่าว่ากษัตริย์ชาลส์ที่ 1 มีโอรสธิดาที่มีพระชนม์จนเป็นผู้ใหญ่ 3 องค์ด้วยกัน


องค์โตคือชาลส์ที่ 2 ที่กลับมาเป็นกษัตริย์เจ้าสำราญ แต่สิ้นพระชนม์ไปโดยไม่มีองค์รัชทายาท
องค์ที่สองพระธิดา เจ้าหญิงแมรี่(1631 - 1660) ที่ต่อมาสมรสกับเจ้าชายวิลเลี่ยมที่ 2 แห่งออเรนจ์ (1626 - 1650) ผู้ปกครองฮอลแลนด์
องค์ที่ 3 เจ้าชายเจมส์ ที่ต่อมาครองราชย์ต่อจากชาลส์ที่ 2 เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และมีปัญหาเนื่องจากพระเจ้าเจมส์เป็นคาธอลิก จนโดนขับไล่ตกบัลลังก์


เจ้าหญิงแมรี่ไปสมรสกับเจ้าชายวิลเลี่ยมเมื่อปี 1641 ตั้งแต่อายุ 15 ปี โดยเจ้าสาวเพิ่งมีอายุ 10 ปีเท่านั้น แต่กว่าทั้งคู่จะมีบุตรก็เมื่อเจ้าหญิงมาอายุได้  19 แล้ว แต่เจ้าชายวิลเลี่ยมก็ด่วนสิ้นพระชนม์ไปก่อนในวัยแค่ 24 ปีด้วยโรคฝีดาษ  เพียง 8 วันก่อนที่โอรสจะเกิด  ดังนั้นโอรสชายองค์เดียวของทั้งคู่ที่ใช้ชื่อเดียวกับบิดาคือเจ้าชายวิลเลี่ยมจึงเป็นเจ้าชายแห่งออเรนจ์ตั้งแต่เกิดเลย


ต้องเข้าใจก่อนว่าในสมัยศตวรรษที่ 17 นั้น อาณาจักรหรือประเทศต่างๆ ไม่ได้เหมือนกับในปัจจุบัน เช่นประเทศเยอรมันก็ยังไม่มี อาณาจักรหรือประเทศต่างๆ ในยุโรปยังแบ่งเป็นแคว้นเล็กแคว้นใหญ่เต็มไปหมด แต่ละแห่งก็มีเจ้าปกครองของตัวเอง แคว้นออร์เรนจ์ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนเธอแลนด์กับบางส่วนในฝรั่งเศส แต่ในปี 1528 แคว้นต่างๆ ในฮอลแลนด์มีการรวมตัวกัน  และในปี 1572 ได้เลือกเจ้าชายวิลเลี่ยมที่ 1 แห่งออเรนจ์เป็นเหมือนผู้ปกครองแคว้นทั้งหมด  ดังนั้นพอจะเรียกได้ว่าตำแหน่งเจ้าชายแห่งออเรนจ์ก็เหมือนกับกษัตริย์ของฮอลแลนด์นั่นเอง


เจ้าชายวิลเลี่ยมที่ 2 แห่งออเรนจ์กับเจ้าหญิงแมรี่ มเหสี




บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 17 ธ.ค. 12, 01:54

เจ้าหญิงแมรี่นี่ว่าไปก็น่าสงสารมาก แต่งงานมาอยู่ต่างบ้านต่างเมืองตั้งแต่ยังเด็ก พอมีลูกคือเจ้าชายวิลเลี่ยมที่ 3 พระสวามีคือวิลเลี่ยมที่ 2 ก็ด่วนจากไปก่อนเสียอีก ตัวเองก็เพิ่งจะอายุ 18-19 ปี เขี้ยวเล็บอะไรก็ยังไม่มี แถมพระบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ก็เพิ่งถูกสำเร็จโทษไป  พี่ชายน้องชายก็ไปตกกระป๋องอยู่ในยุโรป  อำนาจวาสนา มือที่มองไม่เห็นหรือคนแดนไกลที่จะคอยช่วยเหลือก็ไม่มี ดังนั้นอำนาจการปกครองฮอลเลนด์จึงตกเป็นของแม่สามีคือพระมารดาของเจ้าชายวิลเลี่ยมที่ 2 แห่งออเรนจ์  


ตัวเจ้าหญิงเองก็ไม่ได้รับความนิยมนักเพราะอำนาจของครอมเวลล์ล้นยุโรป ใครๆ ก็ซูฮกขอไปเป็นมิตรด้วยทั้งฮอลแลนด์เองหรือแม้แต่ฝรั่งเศส แถมเจ้าหญิงก็มีความเห็นอกเห็นใจเจ้าพี่เจ้าน้องที่ตกกระป๋องอยู่ในยุโรปมาก ทำให้ไม่เป็นที่สบอารมณ์ของใครต่อใคร เพราะคิดว่าช่วยเจ้าไร้บัลลังก์ไปก็แค่นั้น ทำให้เจ้าหญิงเองให้ความช่วยเหลือเจ้าพี่เจ้าน้องไม่ได้มากนัก


อนิจจา อนิจจา อนิจจา  ถ้าเรื่องนี้เป็นนิยายก็ต้องถึงฉากบีบน้ำตา   ในที่สุดอีตาครอมเวลล์ก็ม้วยมรณาไป พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ได้กลับมาครองราชย์เป็นกษัตริย์อังกฤษอีกครั้ง อำนาจของเจ้าหญิงก็จะเพิ่มขึ้นตาม แล้วฟ้าสีทองก็ผ่องอำไพ พี่น้องจะได้กลับมาพร้อมหน้ามีอำนาจวาสนากันอีกครั้ง


เจ้าหญิงเดินทางมาที่อังกฤษเมื่อเดือนกันยายน 1660 แต่แล้วเจ้าหญิงก็เป็นฝีดาษ และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 1660

เจ้าหญิงแมรี่


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 17 ธ.ค. 12, 02:32

เจ้าชายวิลเลี่ยมที่ 3 แห่งออเรนจ์เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 1650 เพียงสัปดาห์เดียวหลังพระบิดาสิ้นพระชนม์  ในวัยเด็กเจ้าชายเองไม่ได้ใกล้ชิดพระมารดาคือเจ้าหญิงแมรีนัก พระพระนางมักจะถอยห่างตัวเองออกจากแวดวงสังคมเจ้านายชาวดัชท์เพราะตัวเธอก็ไม่ได้รับความนิยมนัก แต่แม้จะห่างเหินกับพระมารดา เจ้าชายก็ได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอย่างดีและเข้มงวดตั้งแต่วัยเด็กเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นผู้ปกครองประเทศในอนาคต


เจ้าชายวิลเลี่ยมเองก็ได้ประสบการณ์เผชิญบททดสอบความสามารถทางการเมืองตั้งแต่วัยหนุ่ม เพราะความขัดแย้งระหว่างราชสำนักในฮอลแลนด์เองก็มีไม่น้อย  ดังนั้นเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับสถานะของตน ทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสของตนในการที่อาจจะได้สืบทอดบัลลังก์อังกฤษเองด้วย  เจ้าชายวิลเลี่ยมจึงเลือกที่จะสมรสกับเจ้าหญิงแมรี่ พระธิดาของเจ้าชายเจมส์ ดุ๊คแห่งยอร์ค คนที่ต่อมาจะขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2 นั่นเอง


เจ้าชายเจมส์ไม่ต้องการให้ธิดาของตนแต่งงานกับเจ้าชายวิลเลี่ยม แต่ไม่สามารถขัดพระเจ้าชาลส์ที่มองเห็นผลประโยชน์หลายๆ อย่างจากการสมรสครั้งนี้เช่นกัน  เจ้าชายวิลเลี่ยมจึงสมรสกับเจ้าหญิงแมรี่ ที่มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องของตนเมื่อปี 1677  เจ้าหญิงแมรี่ตั้งครรภ์ไม่นานหลังแต่ง แต่เด็กแท้ง และเจ้าหญิงไม่มีพระครรภ์อีกเลยหลังจากนั้น


เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์ ในระยะแรกวิลเลี่ยมยังมีแนวโน้มสนับสนุนพระเจ้าอาและพ่อตาของตนอยู่ แม้แต่ชวนมาร่วมมือกันเพื่อต่อต้านเพื่อลดอำนาจฝรั่งเศส แต่พระเจ้าเจมส์ไม่สนใจ ไม่ร่วมมือด้วย ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อตา-อา กับ ลูกเขย-หลาน คู่นี้ยิ่งแย่ลง แถมเจ้าหญิงแมรี่แห่งโมดินา มหสีชาวคาธอลิกของเจมส์เพิ่งให้กำเนิดพระโอรส  ยิ่งทำให้วิลเลี่ยมเองที่จ้องบัลลังก์อังกฤษตาเป็นมันอยู่เชนกันยิ่งไม่พอใจมากขึ้น   


เช่นเดียวกับขุนนางโปรแตสแตนท์ในอังกฤษเองที่ไม่พอใจกษัตริย์และรัชทายาทคาธอลิกของตน  หันไปมองเพื่อนบ้านเห็นเจ้าชายวิลเลี่ยม ทั้งเป็นโปรแตสแตนท์ มีสายเลือดสายตรงที่สามารถอ้างราชบัลลังก์อังกฤษได้ แถมสมรสกับเจ้าหญิงแมรี่ที่มีสิทธิลำดับต้นๆ ในบัลลังก์อังกฤษเช่นกัน    มองไปทางไหนไม่มีใครเหมาะสมกว่ายิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว เสียงเรียกร้องให่วิลเลี่ยมบุกอังกฤษ ขับไล่เจมส์ออกไปเลยดังกระหึ่ม


หล่อ รวย ชาติตระกูลสูงปรี๊ด แถมฉลาดอีกต่างหาก เจ้าชายวิลเลี่ยมนี่ครบเครื่องจริงๆ  ภาพตอนอายุ 27


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 18 ธ.ค. 12, 04:32

วิลเลี่ยมของเราไม่ใช่โง่ ไม่ใช่ดุ่มๆ พอมีคนอังกฤษติดต่อให้บุกอังกฤษก็บุกเลย แต่ได้พิจารณาผลได้ผลเสียก่อนหลายประการ


อย่างแรกคือ พระเจ้าเจมส์เพิ่งมีพระโอรสองค์ใหม่ ซึ่งมาเบียดลำดับการสืบราชสมบัติอังกฤษของเจ้าหญิงแมรี่ มเหสีของวิลเลี่ยมให้ตกไป
อย่างที่สอง ฝรั่งเศสซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับเจมส์  แถมมีกษัตริย์หลุยส์ที่ 14 เป็นคาธอลิกอีกต่างหาก กำลังติดพันสงครามกับสเปนและแถวเยอรมัน ทำให้ไม่อาจจัดกำลังมาตีตลบหลังฮอลแลนด์ช่วงที่วิลเลี่ยมกำลังบุกยึดอังกฤษ
อย่างที่สาม นโยบายทางศาสนาของเจมส์ กำลังสร้างความขัดแย้งกับศาสนจักรโปรแตสแตนท์ในอังกฤษอย่างมาก มีการจับกุมนักบวชโปรแตสแตนท์ที่ต่อต้านเจมส์ สร้างความไม่พอใจกษัตริย์ของตนในหมู่ชาวอังกฤษมาก


ดังนั้นวิลเลี่ยมจึงเริ่มตระเตรียมกองทัพของตน ซึ่งข่าวการตระเตรียมทัพของวิลเลี่ยมก็เป็นที่รับรู้ของทางอังกฤษด้วย  วิลเลี่ยมเคลื่อนพลประกอบด้วยทหารราบราว 11000 คน ทหารม้าอีก 4000 คนข้ามช่องแคบอังกฤษยกพลขึ้นบอกเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 1588  เจมส์เองก็ไม่ต้องการให้วิลเลี่ยมบุก จัดกองทัพไปรอถล่มวิลเลี่ยมเช่นกัน แต่ทหารของเจมส์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรแตสแตนท์กลับไปเข้ากับทางฝ่ายวิลเลี่ยมเสียอีก


พระเจ้าเจมส์เห็นแล้วว่าไม่มีทางสู้ก็เลยต้องหนี  แต่ก็หนีไม่พ้นถูกฝ่ายวิลเลี่ยมจับตัวได้ โดนบังคับให้สละราชสมบัติและไปฝรั่งเศสได้ รอดพ้นคมขวานไปได้  ที่วิลเลี่ยมไม่ตัดหัวพ่อตาและอาของตัวเองที่อาจจะเป็นหอกข้างแคร่ในอนาคต ไม่ใช่เพราะความปราณีแต่อย่างใด แต่เนื่องจากไม่อยากให้ทางคาธอลิกไปยกเจมส์ให้เป็นนักบุญ หรือผู้ที่สละชีพของตัวเพื่อพระเจ้าอะไรทำนองนั้น


ภาพการยกพลขึ้นบกของวิลเลี่ยมแห่งออเรนจ์  คนนี้ส้มไม่หล่นแต่มาด้วยฝีมือล้วนๆ


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 18 ธ.ค. 12, 04:50

เมื่อขับไล่กษัตริย์องค์เก่าออกไปแล้วบัลลังก์ก็ว่างลง  ทีนี้ปัญหาคือใครจะมานั่งเป็นกษัตริย์กันบ้าง


ตัววิลเลี่ยมเองตั้งใจจะนั่งบัลลังก์เอง ปกครองประเทศอังกฤษเอง ไม่ต้องการเป็นแค่คิงคอนสอร์ท หรือกษัตริย์ที่ได้ตำแหน่งมาจากการแต่งงาน ที่จะตกบังลังก์ทันทีเมื่อราชินีของตนที่มีสถานะเป็นควีนรีเจนท์ หรือราชินีที่มีสิทธิปกครองสิ้นพระชนม์ลง แบบเดียวกับที่กษัตริย์ฟิลิปแห่งสเปนที่เคยแต่งงานกับราชินีแมรี่ที่ 1 แห่งอังกฤษเคยประสบ แต่ถ้าให้วิลเลี่ยมเป็นกษัตริย์มีอำนาจเต็มแบบนั้นก็จะขัดต่อแบบแผนประเพณีนิยม เพราะองค์รัชทายาทตัวจริงคือเจ้าหญิงแมรี่ก็ยังอยู่  มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับแผนการนี้


เพื่อเป็นการประสานผลประโยชน์ เลยตกลงกันได้ว่าจะให้วิลเลี่ยมและแมรี่เป็นกษัตริย์และราชินีปกครองร่วมกัน  และถ้าองค์ราชินีสิ้นพระชนม์ไปก่อนก็ให้วิลเลี่ยมอยู่ในสถานะกษัตริย์ต่อไปได้  รัชสมัยนี้จึงถูกเรียกว่ารัชสมัยของวิลเลี่ยมและแมรี่   วิลเลี่ยมก็เป็นกษัตริย์วิลเลี่ยมที่ 3 แห่งอังกฤษ วิลเลี่ยมที่ 2 แห่งสกอตแลนด์ ราชินีแมรี่ก็เป็นแมรี่ที่ 2 แห่งอังกฤษและสกอตแลนด์


งานแรกๆ ในรัชสมัยวิลเลี่ยมและแมรี่คือการออกกฏหมายการสืบสันตติวงศ์อังกฤษ กฏหมายนี้ห้ามไม่ให้ผู้ที่เป็นคาธอลิก หรือแม้แต่สมรสกับคาธอลิก รวมถึงผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ ที่ไม่ใช่คริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ มีสิทธิในบัลลังก์อังกฤษไม่ว่าในกรณีใดๆ  ต่อให้อยู่ในลำดับการสืบสันตติวงศ์ที่สูงก็ให้ข้ามไปให้หมด นั่นทำให้กษัตริย์เจมส์ที่ 2 และเชื้อสาย รวมทั้งผู้มีเชื้อสายที่สามารถอ้างการสืบสันตติวงศ์อังกฤษได้ที่เป็นคาธอลิก หมดสิทธิ์โดยทันที ยกเว้นแต่จะยอมเปลี่ยนนิกาย


วิลเลี่ยมและแมรี่


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 19 ธ.ค. 12, 20:06

พระเจ้าเจมส์ที่ 2 เองก็พยายามที่จะกลับมาทวงบัลลังก์คืนเช่นกัน ในปี 1690 ได้ยกทัพที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส ขึ้นบกที่ไอร์แลนด์ซึ่งยังมีชาวคาธอลิกที่สนับสนุนเจมส์อยู่เป็นจำนวนมาก วิลเลี่ยมก็ส่งกองทัพไปรับมือ และเอาชนะกองทักของเจมส์ได้ที่สมรภูมิบอยน์ในไอร์แลนด์(Battle of the Boyne)  และหลังจากนั้นเจมส์ที่ 2 ไม่สามารถฟื้นฟูอำนาจได้อีกเลย


งานหลักในรัชสมัยของวิลเลี่ยมและแมรี่คือการพยายามหยุดยั้งการขยายอำนาจของฝรั่งเศสในพื้นทวีปยุโรป ทำให้วิลเลี่ยมไม่ค่อยจะว่างอยู่ในอังกฤษนักเพราะต้องเดินทางไปทำสงคราม ระหว่างที่วิลเลี่ยมไม่อยู่ ราชินีแมรี่ก็จะเป็นราชินีผู้ปกครองอังกฤษแทน  แต่การตัดสินใจต่างๆ ของพระนางจะอยู่ภายใต้การแนะนำของวิลเลี่ยมเสมอ  แมรี่รักภัคดีและยิมยอมเป็นช้างเท้าหลังวิลเลี่ยมเสมอ


วันที่ 28 ธันวาคม 1698 ราชินีแมรี่สิ้นพระชนม์ด้วยโรคฝีดาษ  สร้างความเศร้าโศกให้กับวิลเลี่ยมยิ่งนัก แต่ก็ทำให้วิลเลี่ยมได้ปกครองอังกฤษตามลำพังในสถานะพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 3 แห่งอังกฤษ วิลเลี่ยมไม่แต่งงานใหม่หลังจากการไปของราชินีคู่ชีวิต


เรื่องการไม่แต่งงานใหม่ของวิลเลี่ยมนี่ เจ้ากรมข่าวลือให้ความเห็นว่าวิลเลี่ยมอาจจะเป็นยอดชาย  คือชายเหนือชายหรือเกย์ก็ได้  เพราะตลอดรัชสมัยวิลเลี่ยมเองมีนางสนมแค่คนเดียว  แถมเมื่อราชินีแมรี่สิ้นพระชนม์แล้ว วิลเลี่ยมมีพฤติกรรมใกล้ชิดคนสนิทที่เป็นชาย มีการแต่งตั้งคนใกล้ชิดที่เป็นไอ้หนุ่มหน้าละอ่อนให้ดำรงตำแหน่งสำคัญอย่างรวดเร็ว  ศัตรูของวิลเลี่ยมเลยประโคมข่าวเรื่องนี้กันใหญ่ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ในยุคหลังก็ยังไม่อาจสรุปได้ ว่าตกลงใช่เกย์หรือไม่ใช่


ปัญหาตอนนี้ของวิลเลี่ยมที่กลับมาให้วิตกอีกคือเรื่องที่ว่าใครจะสืบราชสมบัติ เพราะวิลเลี่ยมกับแมรี่เองก็ไม่มีพระโอรสหรือธิดา  พระน้องนางของราชินีแมรี่คือเจ้าหญิงแอนน์แม้จะตั้งครรภ์และคลอดบุตรหลายหน แต่ไม่มีใครรอดชีวิตจนโตเลย  วิลเลี่ยมเองก็ไม่แต่งงานใหม่ จะมีทายาทสายตรงก็คงเป็นไปไม่ได้อีก ดังนั้นในปี 1701 รัฐสภาจึงออกกฏหมายมาหนึ่งฉบับชื่อว่า Act of Settlement 1701  เกี่ยวกับการสืบสันตติวงศ์ในกรณีที่วิลเลี่ยมไม่มีทายาทสายตรง และเจ้าหญิงแอนน์ก็ไม่มีทายาทสายตรงเช่นกัน โดยจะให้บัลลังก์ตกเป็นของเจ้าหญิงโซเฟียแห่งฮันโนเวอร์ ซึ่งเป็นญาติสายตรงที่สุดแล้วที่เป็นโปรแตสแตนท์  ข้ามพระญาติพระวงศ์สายตรงกว่าจำนวนมากมายที่ดันเป็นคาธอลิกหรือแต่งงานกับใครที่เป็นคาธอลิก


วิลเลี่ยมที่ 3 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 1702 หลังการบาดเจ็บจากการตกม้า  เจ้าหญิงแอนน์  พระขนิษฐาหรือน้องสาวของราชินีแมรี่ที่ 2 แห่งอังกฤษขึ้นครองราชย์ต่อเป็นราชินีแอนน์แห่งอังกฤษ



ภาพเจ้าหญิงโซเฟียแห่งฮันโนเวอร์ ตัวเต็งอันดับต่อไปที่จะครองบังลังก์อังกฤษ


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 20 ธ.ค. 12, 19:13

ที่จริงกระทู้นี้ว่าจะพูดถึงเพราะเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งอังกฤษ  เลยต้องเกริ่นไปถึงที่มาที่ไปว่าทำไมจอร์จที่นั่งอ้วนอยู่ในเยอรมัน จู่ๆ ราชรถมาเกย ข้ามห้วยมาเป็นกษัตริย์อังกฤษได้
กะว่าจะเกริ่นสั้นๆ   แต่นี่เล่นเกริ่นมา 50 กว่าความเห็นไปแล้ว กระทู้นี้เลยกลายพันธุ์เป็นการเล่าเรื่องย่อลำดับกษัตริย์อังกฤษไปซะฉิบ  ไปๆ มาๆ ท่าทางเรื่องที่ตั้งใจจะเล่า จะสั้นจุ๊ดจู๋กว่าตอนเกริ่นที่มาที่ไปซะอีก ราชาศัพท์ก็ใช้บ้างไม่ใช้บ้าง ไอ้ที่ใช้ก็ใช้ไม่ถูกต้อง   นี่ถ้าเขียนเป็นรายงานหรือหนังสือ ครูบาอาจารย์แถวนี้คงเปลืองไม้เรียวกันน่าดู  แถวนี้มีทั้งครูภาษาไทย ภาษาอังกฤษดุๆ ทั้งนั้น


พูดถึงครูภาษาไทยก็เลยเกิดสงสัยขึ้นมา ไม่ทราบว่าท่านอาจารย์เพ็ญชมพูนี่ ถือถุงพุงป่องน่องทู่แบบที่เด็กรุ่นเก่าเค้าชอบแซวครูภาษาไทยกันรึเปล่าครับ


นอกเรื่องอู้ไปแล้วก็กลับเข้าเรื่อง กันหน่อย ราชินีแอนน์เป็นใครมาจากไหน


อังกฤษที่มีราชินีที่เป็นควีนรีเจนท์หลายพระองค์ด้วยกัน  ที่คุ้นๆ หูคนไทยก็คงจะมีแต่ควีนอลิซาเบธทั้งที่ 1 ที่ 2 และควันวิคตอเรีย  ส่วนควีนแมรี่ ควันแอนน์นี่น้อยคนที่จะรู้จัก ถ้าใครเคยไปเที่ยวมหาวิหารเซนต์ปอลที่ลันดั้นอาจจเห็นอนุสาวรีย์ราชินีที่ยืนอยู่หน้าวิหาร  นั่นคืออนุสาวรีย์ของควีนแอนน์นี่เอง


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 20 ธ.ค. 12, 19:34

พูดถึงครูภาษาไทยก็เลยเกิดสงสัยขึ้นมา ไม่ทราบว่าท่านอาจารย์เพ็ญชมพูนี่ ถือถุงพุงป่องน่องทู่แบบที่เด็กรุ่นเก่าเค้าชอบแซวครูภาษาไทยกันรึเปล่าครับ

ถ้าจะโดนยิ่งกว่าหวดด้วยไม้เรียว  กลายเป็นระดับโบยด้วยหวาย ก็ตรงที่สงสัยเรื่องนี้แหละค่ะ ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 20 ธ.ค. 12, 19:42

พระราชินีแอนน์(1665 - 1714) เป็นพระธิดาองค์ที่ 2 ที่มีชีวิตรอดจนดป็นผู้ใหญ่ของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 กับเลดี้ไฮน์ มเหสี  ที่แม้พระบิดาและมารดาจะเป็นคาธอลิก แต่ด้วยเงื่อนไขทางการเมืองทำให้พระธิดาของเจ้าชายเจมส์(ในขณะนั้น)ถูกเลี้ยงดูให้เป็นโปรแตสแตนท์  ดังนั้นเมื่อพระเจ้าเจมส์พระบิดาถูกขับไล่ตกบัลลังก์ไป พระธิดาทั้งสองจึงสามารถขึ้นครองราชย์ต่อได้


ในรัชสมัยวิลเลี่ยม-แมรี่ นั้น ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหญิงแอนน์กับพี่เขยไม่ค่อยดีนัก แต่เมื่อไม่มีรัชทายาทสายตรงและต้องเพิ่มความนิยมหลังจากราชินีแมรี่พระชายาสิ้นพระชนม์ไปแล้ว วิลเลี่ยมจึงปรับปรุงความสัมพันธ์กับแอนน์โดยการมอบตำแหน่งมอบเกียรติต่างๆ ที่เคยริดรอนไปก่อนหน้านี้


เมื่อพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 3 พี่เขยซึ่งเป็นกษัตริย์อังกฤษต่อจากรัชสมัยวิลเลี่ยม-แมรี่ สิ้นพระชนม์ไปโดยไม่มีรัชทายาท ทำให้เจ้าหญิงแอนน์ได้ครองราชย์ต่อเป็นพระราชินีแอนน์แห่งอังกฤษ ในปี 1702
ควีนแอนน์อภิเษกสมรสกับเจ้าชายจอร์จแห่งเดนมาร์กเมื่อปี 1683 ในสมัยที่ยังไม่ขึ้นครองราชย์  เจ้าหญิงทรงพระครรภ์มากกว่า 10 ครั้งแต่ไม่มีพระโอรสหรือธิดาที่มีชีวิตรอดจนเป็นผู้ใหญ่เลย


แอนน์ขึ้นครองราชย์ในช่วงที่ประเทศยังประสบปัญหามากมายที่จะกระทบกระเทือนความมั่นคงในอนาคต เช่นปัญหาเรื่องการออกกฏหมาย Act of Settlement 1701 นั้นทางรัฐสภาสกอตแลนด์บอกว่าไม่เอาด้วย ทำให้ในอนาคตอาจจะมีปัญหาที่อังกฤษและสกอตอาจจะมีกษัตริย์ต่างประองค์กัน และยังมีความขัดแย้งอื่นๆ ระหว่างอังกฤษกบสกอตแลนด์อีก  แต่ในที่สุดปัญหาก็ได้รับการคลี่คลายในปี 1707 เมื่ออังกฤษและสกอตแลนด์ตกลงรวมตัวกันเป็นอาณาจักรเดียวกันชื่อว่า เกรทบริเทน


พระราชินีแอนน์สวรรคตเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1714 โดยไม่มีรัชทายาท เป็นการปิดฉากราชวงศ์สจ๊วตที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษไป



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 20 ธ.ค. 12, 19:45

พูดถึงครูภาษาไทยก็เลยเกิดสงสัยขึ้นมา ไม่ทราบว่าท่านอาจารย์เพ็ญชมพูนี่ ถือถุงพุงป่องน่องทู่แบบที่เด็กรุ่นเก่าเค้าชอบแซวครูภาษาไทยกันรึเปล่าครับ

เพิ่งเคยได้ยินนี่แหละ ทำไมครูต้อง "ถือถุง พุงป่อง น่องทู่" ด้วย

 ฮืม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 20 คำสั่ง