ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 04 ธ.ค. 12, 17:35
|
|
เมื่อราชินีแมรี่แห่งสก๊อตถูกประหารชีวิตไปแล้ว ลำดับผู้สืบราชสมบัติอังกฤษก็มีการเปลี่ยนแปลง เพราะเดิมแมรี่อยู่อันดับสอง ตอนนี้ กษัตริย์เจมส์ที่ 6 แห่งสก๊อตแลนด์ โอรสของแมรี่กับลอร์ดดาร์นเลย์ก็เลื่อนขึ้นมาอยู่ในลำดับถัดไปแทน
บางคนอาจจะสงสัยว่าเอ๊ะ ราชินีอลิซาเบธสั่งประหารราชินีแมรี่ พระมารดาของเจมส์ที่ 6 เจมส์ซึ่งตอนนั้นครองราชย์อยู่ในสก๊อตแลนด์จะไม่โกรธ ยกทัพมาบุกอังกฤษรึ
ต้องมาทำความรู้จักกับเจมส์กันซักนิด
กษัตริย์เจมส์ที่ 6 แห่งสก๊อตแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 1566 เป็นโอรสของพระราชินีแมรี่กับลอร์ดดาร์นเลย์ ซึ่งเมื่อเกิดปุ๊บ เจมส์ก็กลายเป็นหอกข้างแคร่ของพระมารดาที่ไม่ได้รับความนิยมปั๊บทันที แมรี่เองก็แทบจะไม่ได้เลี้ยงดูเจมส์เลย แม่ลูกมีโอกาสพบกันครั้งสุดท้ายเมื่อเจมส์มีพระชนม์แค่ 10 เดือนเท่านั้น ดังนั้นอาจจะพูดได้ว่าเจมส์ไม่มีความทรงจำ หรือความผูกพันกับพระมารดาฉันแม่กับลูกเหมือนคนทั่วไปเลย
ราชินีแมรี่ถูกบีบให้สละราชสมบัติ และเจมส์ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์เจมส์ที่ 6 แห่งสก๊อตแลนด์ เมื่อมีพระชนม์แค่ 13 เดือนเท่านั้น หลังความพยายามชิงอำนาจกลับคืนมาล้มเหลว แมรี่ก็หนีไปอังกฤษและถูกขังไว้ที่นั่น 18 ปีจนกระทั่งถูกประหารชีวิต ดังนั้นชีวิตในวัยเด็กของเจมส์จึงโตมาโดยไม่มีแม่ และแม้พระมารดาจะเป็นคาธอลิก แต่เจมส์ถูกเลี้ยงดูในแบบโปรแตสแตนท์ เจมส์จึงเป็นโปรแตสแตนท์ในขณะที่พระมารดาเป็นคาธอลิก
ในวัยเด็กเจมส์ถูกเลี้ยงดูอย่างเข้มงวดเพื่อให้พร้อมสำหรับการเป็นกษัตริย์ โดนแม้แต่การเฆี่ยนตีจากพระอาจารย์ที่เข้มงวด แต่การเล่าเรียนอย่างหนักได้ปลูกฝังเจมส์ให้เป็นกษัตริย์ที่มีความรู้ รักการอ่านและงานวรรณกรรมต่างๆ เป็นนักการเมืองที่ฉลาด เจมส์ได้รับอำนาจเต็มในการปกครองสก๊อตแลนด์ตั้งแต่ปี 1583
เมื่อตอนที่เจมส์รู้ข่าวว่าพระมารดาถูกประหารชีวิตเจมส์ไม่ได้มีความรู้สึกอาลัยแต่อย่างใด กลับมองว่าเป็นโอกาสที่ทำให้เจมส์กลายเป็นรัชทายาทของบัลลังก์อังกฤษเพราะพระราชินีอลิซาเบธไม่ได้แต่งงาน และอยู่พ้นวัยที่จะมีรัชทายาทได้อีกแล้ว ในปี 1588 เมื่อสเปนส่งกองเรือมาเตรียมโจมตีอังกฤษ เจมส์กลับเขียนจดหมายไปถึงอลิซาเบธแจ้งว่าเจมส์จะสนับสนุนอลิซาเบธ โดยลงท้ายในจดหมายว่า "your natural son and compatriot of your country"
ภาพเจมส์ที่ 6 แห่งสก๊อตแลนด์ เลือกภาพนี้มาเพราะเจมส์ทำหน้าเบื่อโลกได้ใจมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 04 ธ.ค. 12, 20:18
|
|
ในช่วงปี 1601 ซึ่งเป็นช่วงปลายรัชสมัยของอลิซาเบธที่ 1 เสนาบดีเซอร์โรเบิร์ต เซซิลลอบติดต่อกับเจมส์เพื่อตระเตรียมการสืบทอดตำแหน่งเมื่อสิ้นสมัยของอลิซาเบธ ในเดือนมีนาคม 1603 เมื่ออห็นว่าอาการของพระราชินีไม่ดีและคงไม่มีรอดแน่ๆ เซซิลส่งร่างการประกาศสืบราชสมบัติให้เจมส์ไปเตรียมตัวไว้ จนวันที่ 24 มีนาคม 1603 พระราชินีอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษก็สวรรคต เจมส์ที่ 6 แห่งสก๊อตแลนด์ก็อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษทันทีในวันเดียวกันนั้น
เจมส์อ้างสิทธิบัลลังก์อังกฤษโดยอ้างสายเลือดย้อนไปถึงสมัยกษัตริย์เฮนรี่ที่ 7 ของอังกฤษ พระบิดาของเฮนที่ที่ 8 โดยเจ้าหญิงมาร์กาเร็ต ทิวดอร์ บุตรสาวของเฮนรี่ที่ 7 อภิเษกกับกษัตริย์เจมส์ที่ 4 แห่งสก๊อตแลนด์ ต่อมาทั้งสองมีโอรสด้วยกัน ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชน์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 5 แห่งสก๊อตแลนด์ ซึ่งมีพระราชธิดาองค์เดียวซึ่งต่อมาคือพระนางแมรี่ที่ 1 แห่งสก๊อตแลนด์ ดังนั้นเจมส์จึงอยู่ในลำดับการสืบสันตติวงศ์อังกฤษด้วย
เจมส์ออกเดินทางจากสก๊อตแลนด์ในวันที่ 5 เมษายน 1603 เพื่อลงใต้ไปเป็นกษัตริย์อังกฤษ แทนที่จะรีบเร่งเดินทาง เจมส์กับค่อยๆ เดินทางช้าๆ เพื่อไม่ให้ชาวอังกฤษรู้สึกว่ากำลังถูกพวกสก๊อตแลนด์มายึดประเทศ และเพื่อประเมินสถานการณ์ไปในตัว ตลอดทางเจมส์ได้รับการต้อนรับขับสู้อย่างดีจากทั้งราษฎรและขุนนางอังกฤษ เจมส์เดินทางมาถึงลอนดอนในวันที่ 7 พฤษภาคม และทำพิธีสวมมงกุฏเป็นกษัตริย์เจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 1603 เป็นการเปิดฉากราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์สจ๊วตแห่งอังกฤษ และทำให้สก๊อตแลนด์และอังกฤษมีกษัตริย์องค์เดียวกัน แม้จะยังมีการบริหารและรัฐสภาที่เป็นอิสระกัน
เจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ หรืออีกพระนามคือเจมส์ที่ 6 แห่งสก๊อตแลนด์เป็นกษัตริย์โปรแตสเตนท์ ดังนั้นอำนาจของคาธอลิกจึงไม่ได้รับการฟื้นฟูและเป็นที่ต้อนรับในหมู่ขุนนางโปรแตสแตนท์ชาวอังกฤษ
ภาพสาแหรกของเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและ 6 แห่งสก๊อตแลนด์ ตัดมาจาก wikipedia ครับ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 05 ธ.ค. 12, 18:11
|
|
การปกครองในสมัยของเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษเป็นยุคสมัยที่ยังคงเฟื่องฟูต่อเนื่องจากสมัยของอลิซาเบธ เนื่องจากเจมส์เป็นผู้ที่รักงานวรรณกรรม งานเขียน กวีต่างๆ ได้รับการสนับสนุน นอกจากนี้เจมส์ยังให้แปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาอังกฤษอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นความรุ่งเรืองของอาณานิคมอเมริกาด้วย มีการสร้างเมืองใหม่ๆ ในอาณานิคมอเมริกาเช่นเจมส์ทาวน์ แต่การปกครองไม่ได้ราบลื่นเหมือนสมัยที่ปกครองสก๊อตแลนด์ ความขัดแย้งทางศาสนายังส่งผลรุนแรงต่อการปกครอง นอกจากนี้เจมส์ยังขัดแย้งกับรัฐสภาอังกฤษเองด้วย
มีแผนการลอบสังหารกษัตริย์เจมส์หลายครั้ง ครั้งที่โด่งดังที่สุดคือแผนการระเบิดรัฐสภาของกาย ฟอคส์ กับผู้สมรู้ร่วมคิดซึ่งเป็นคาธอลิกได้แอบเอาถังดินปืนจำนวนมากวางไว้ในห้องใต้ดินรัฐสภาอังกฤษเพื่อจะระเบิดรัฐสภาในวันที่ 5 พฤศจิกายน 1605 ซึ่งจะมีการประชุมสภาที่กษัตริย์เจมส์จะเข้าร่วมด้วย แต่แผนการรั่วไหลเสียก่อน กาย ฟอคส์และผู้สมรู้ร่วมคิดส่วนใหญ่ถูกจับได้ และถูกประหารชีวิตอย่างเหี้ยมโหดสุดๆ ด้วยวิธีที่เรียกว่า hanged, drawn and quartered ซึ่งผู้ถูกประหารจะถูกลากไปตามท้องถนน แล้วแขวนคอจนเกือบหมดสติ จากนั้นถูกตอนทั้งเป็น ถูกผ่าท้องควักเครื่องในออกมาทั้งเป็นๆ แล้วถึงค่อยถูกตัดหัว แค่นั้นยังไม่จบ ร่างกายส่วนที่เหลือจะถูกตัดออกเป็น 4 ส่วนด้วย สยองมากๆ
เมื่อแผนการวางระเบิดรัฐสภาล้มเหลว ผู้คนต่างยินดีปรีดาออกมาฉลองกัน มีการจุดพลุเป็นที่ละลึกถึงเหตุการณ์นี้ จนกลายเป็นประเพณี bonfire night ที่จะมีการจุดพลุกันในช่วงวันที่ 5 พฤศจิกายนของทุกปีในประเทศอังกฤษ ซึ่งยังคงมีมาจนถึงปัจจุบันที่ทุกเมืองมักจะจัดให้มีการจุดพลุ ลูกเด็กเล็กแดงได้ไปดูกันเป็นที่สนุกสนาน ปีนี้ผมก็เพิ่งไปมา แต่ดันไปถึงที่เค้าจุดกันตอนจุดเสร็จแล้ว อดดูเลยเซ็งจริงๆ
ในปี 2005 ได้มีการทดลองสร้างอาคารรัฐสภาจำลองและเอาถังดินปืนเท่าที่กาย ฟอคส์ใช้ไปวางไว้ใต้ถุนแล้วลองจุดระเบิดดู ปรากฏว่าอาคารทั้งหลังพังทลายเรียบวุธ ถ้าแผนการของกาย ฟอคส์สำเร็จ มีหวังว่ากษัตริย์เจมส์ได้ไปยมโลกก่อนวัยอันควรแน่ๆ
ภาพ hanged, drawn and quartered ครับ เอามาฝากขาโหดทั้งหลาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 05 ธ.ค. 12, 19:23
|
|
เพื่อให้เข้ากับกระแสชายเหนือชายในละครแรงเงาที่กำลังโด่งดังแต่ผมไม่เคยดู เห็นแต่ชาวบ้านพูดกัน มาดูเรื่องส่วนตัวของเจมส์ที่ 1 กันซักเล็กน้อย
เจมส์ที่ 1 สมรสกับเจ้าหญิงแอนน์แห่งเดนมาร์กเมื่อปี 1589 มีบุตรด้วยกัน 7 คน แต่มีที่โตรอดจนถึงวัยผู้ใหญ่แค่ 3 คือเจ้าชายเฮนรี่ เจ้าหญิงอลิซาเบธ และเจ้าชายชาลส์ซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ
มีลูกมาขนาดนี้ไม่น่าจะมีเรื่องซุบๆ ซิบๆ กันได้ แต่ก็มี เพราะพระเจ้าเจมส์ชอบแวดล้อมอยู่กับหนุ่มๆ มากกว่าสาวๆ คนโปรดของเจมส์คือจอร์จ วิลลิเออร์ ดุ๊คแห่งบักกิ้งแฮมซึ่งสร้างความร่ำรวยมหาศาลจากการเป็นคนสนิทของกษัตริย์ เจ้ากรมข่าวลือแจ้งว่าบักกิ้งแฮมเป็นคนรักอีกคนหนึ่งของเจมส์ที่ 1
พระเจ้าเจมส์ที่ 1 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 1625 เมื่อพระชนม์ได้ 58 ปีด้วยโรครุมเร้าหลายโรค ทั้งไขข้อ เกาท์ และไตอักเสบ เจ้าชายชาลส์สืบราชสมบัติอังกฤษ สก๊อตแลนด์ และไอร์แลนด์เป็นพระเจ้าชาลส์ที่ 1
ภาพแอนน์แห่งเดนมาร์กและบักกิ้งแฮม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 05 ธ.ค. 12, 21:59
|
|
เรื่องของพระเจ้าเจมส์กับดยุคแห่งบัคกิ้งแฮมดูจะเป็นความลับที่ซุบๆซิบๆกันพอสมควรในประวัติศาสตร์อังกฤษ ความจริง พระเจ้าเจมส์มี "พระสหายชาย" 3 คน ไม่ใช่ 1 แต่จะเป็นเพื่อนเกลอหรืออะไรกันนั้น ก็ยังเถียงกันอยู่ เพราะนักปวศ.บางคนก็ว่าเป็นการใส่ร้ายป้ายสี บางคนก็ว่าเป็นเรื่องจริง ที่แน่ๆคือในสมัยโน้นรักร่วมเพศถือเป็นบาปมหันตโทษ เปิดปากสารภาพไม่ได้เป็นอันขาด พระเจ้าเจมส์หลุดจากบัลลังก์แน่นอน ใครสนใจก็อ่านดูได้ในนี้ค่ะ http://www.freewebs.com/jupiter1024/james.htm
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 17:11
|
|
คลิปตอนประหาร William Wallace ด้วยวิธีสุดโหด - แขวน ลาก สับสี่ จากหนังดัง Braveheart
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 07 ธ.ค. 12, 00:54
|
|
ต่อจากยุคของเจมส์ที่ 1 ก็เป็นยุคของชาลส์บ้าง
พระเจ้าชาลส์ที่ 1 (1600 - 1649) เป็นโอรสองค์ที่ 2 ของเจมส์ที่มีอายุยืนยาวจนถึงวัยผู้ใหญ่ โอรสองค์แรกของเจมส์ที่ 1 คือเจ้าชายเฮนรี่ เฟรดเดอริค (1594 - 1612) เจ้าชายแห่งเวลล์และรัชทายาทบัลลังก์อังกฤษคนก่อนชาลส์นั้นเป็นคนเก่ง ฉลาด สนใจทั้งวิทยาการต่างๆ การเมืองการปกครองและการทหาร เป็นที่รักใคร่ของผสกนิกรทั่วไป คุณสมบัติต่างๆ เหมาะสมที่จะเป็นกษัตริย์ยิ่งนัก ความนิยมของผู้คนต่อเจ้าชายมีมากกว่าที่มีให้กษัตริย์เจมส์เสียอีก จนบางครั้งถูกมองว่าความนิยมของเจ้าชายเป็นภัยคุกคามต่อบัลลังก์ของเจมส์เอง
เจ้าชายเฮนรี่มักมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบ้านเมืองขัดแย้งกับเจมส์ผู้พ่อ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูกคู่นี้ตึงเครียดต่อกัน เจ้าชายเฮนรี่ด่วนสิ้นพระชนม์เมื่ออายุได้เพียง 18 ปีจากไข้รากสาดน้อย ซึ่งนำความเสียใจมาสู่พสกนิกรทั่วไปมาก ฝูงชนนับพันร่วมขบวนงานฝังพระศพเจ้าชายที่วิหารเวสมินสเตอร์ การด่วนสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายเฮนรี่ทำให้เจ้าชายชาลส์ที่วัยเด็กเป็นคนขี้โรค และไม่ได้ปราดเปรื่องเท่าพี่ชายได้กลายเป็นรัชทายาทแทน
เจ้าชายเฮนรี่ เฟรดเดอริค
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 07 ธ.ค. 12, 01:30
|
|
เจ้าชายชาลส์ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ในปี 1625 โดยบุคลิกของชาลส์เองเป็นคนที่ดื้อรั้นและไม่ประนีประนอม เชื่อในอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของกษัตริย์ ในขณะที่เขี้ยวเล็บหรือเหลี่ยมทางการเมืองและความฉลาดรู้จักโอนอ่อนผ่อนตามไม่เท่าพระบิดา ทำให้มีปัญหากับรัฐสภาเป็นประจำ
ชาลส์สมรสกับพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย พระราชธิดาองค์สุดท้องของพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และเป็นน้องสาวของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส พระนางเป็นคาธอลิกแบบเหนียวแน่น และมีส่วนชักจูงชาลส์ให้เอนเอียงไปทางคาธอลิกด้วย ซึ่งยิ่งทำให้ชาลส์ยิ่งมีปัญหากับรัฐสภาเพราะความไม่ไว้วางใจต่อนโยบายทางศาสนาของชาลส์
ความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างคาธอลิกกับโปรแตสแตนท์ก่อให้เกิดสงครามในยุโรป เรียกว่าสงครามสามสิบปี ฝ่ายอังกฤษต้องการสนับสนุนพวกโปรแตสแตนท์ในขณะที่สเปนเป็นผู้สนับสนุนหลักของฝ่ายคาธอลิก ชาลส์จึงต้องทำสงครามกับสเปน และด้วยนโยบายการทำสงครามแบบเผชิญหน้ากับสเปนของชาลส์ที่มีแนวคิดต่างจากรัฐสภาที่เน้นใช้การตัดกำลังสเปนโดยการโจมตีเมืองท่าในอาณานิคมและยึดกองเรือขนสมบัติสเปนแทน ทำให้การทำสงครามชองชาลส์ไม่ได้รับการสนับสนุนจากสภา ชาลส์จึงใช้มาตรการขึ้นภาษีเพื่อไปใช้ในสงคราม และเมื่อมีปัญหากับสภามากๆ ชาลส์ก็ยุบสภาซะเลยแล้วปกครองเองโดยไม่ต้องมีสภาคอยท้วงติงในปี 1629 สงครามครั้งนี้ยุติไปเองเมื่อดุ๊กแห่งบักกิ้งแฮม กิ๊กเก่าของพระบิดาและแม่ทัพที่ไม่ค่อยได้เรื่องของอังกฤษถูกลอบสังหาร
นอกจากนั้นชาลส์ยังพยายามเพิ่มอำนาจให้คริสตจักร มีการตั้งศาลศาสนาซึ่งทำให้องค์กรคริสตจักรอังกฤษเริ่มมีลักษณะคล้ายคาธอลิกมากไปทุกที และชาลส์ยังพยายามจะปรับใช้หลักการเดียวกันกับคริสตจักรสกอตแลนด์ด้วย จนทำให้เกิดความขัดแย้งกับพวกเพรสไบทีเรียนในสกอตแลนด์จนเกิดความไม่สงบไปทั่ว
หลัง 11 ปีของการปกครองโดยไม่มีรัฐสภา เศรษฐกิจและสังคมย่ำแย่อย่างหนัก ชนชั้นสูงและขุนนางต่างไม่พอใจกษัตริย์ และต้องการเงินเพื่อไปใช้จ้างทหารไปรักษาความสงบในสกอตแลนด์ ในที่สุดชาลส์ก็ต้องเรียกประชุมเปิดสภาอีกในปี 1640 คราวนี้สภาได้ป้องกันการยุบสภาโดยออกกฏหมายให้ต้องมีการประชุมสภา 3 ปีต่อ 1 ครั้ง และถ้ากษัตริย์ไม่เรียกประชุมสภา รัฐสภาสามารถเรียกประชุมกันเองได้
ชาลส์กับเฮนเรียตตา มาเรีย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 05:26
|
|
เมื่อมีสภาแล้ว ความขัดแย้งระหว่างพระเข้าชาลส์และสภาก็ดำเนินต่อไป โดยเฉพาะสภายกเลิกการเก็บภาษีบางอย่างที่ชาลส์เคยออกกฏหมายไว้ นอกจากนั้นสภายังแบ่งเป็นฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านชาลส์ รัฐสภาพยายามจำกัดการใช้อำนาจทางทหารของกษัตริย์ ชาลส์ได้รับเสียงสนับสนุนจากทางเหนือและสกอตแลนด์มากกว่าทางใต้จึงเดินทางขึ้นเหนือไปรวบรวมกำลังพลทางตอนเหนือของอังกฤษ ในที่สุดก็เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างกษัตริย์และรัฐสภาที่นำโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์
กองทหารฝ่ายกษัติย์นั้นไร้ระเบียบวินัยและขาดการฝึกฝนมากกว่าฝ่ายรัฐสภา หลังจากการทำสงครามระหว่างกันหลายครั้งระหว่างปี 1642 - 1648 ในที่สุดกองทัพของพระเจ้าชาลส์ก็พ่ายแพ้ต่อกองทัพรัฐสภา ชาลส์พยายามหาทางหนีแต่สุดท้ายก็ถูกรัฐสภาอังกฤษควบคุมตัวไว้
ทางรัฐสภาตั้งศาลขึ้นมาไต่สวนและสุดท้ายศาลตัดสินให้พระเจ้าชาลส์มีความผิดฐานกบฏต่อแผ่นดิน มีความผิดให้ประหารชีวิต และสุดท้ายพระเจ้าชาลส์จึงถูกบั่นพระเศียรที่พระราชวังไวท์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1649
ภาพฉากการประหารชีวิตพระเจ้าชาลส์ที่ 1
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 09:41
|
|
ฉากการประหารชีวิตพระเจ้าชาลส์ที่ 1 จากหนังเรื่อง Cromwell (1970)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 18:11
|
|
ชาลส์ที่ 1 มีโอรสธิดากับราชินีเฮนเรียตตา มาเรียที่มีชีวิตรอดจนเป็นผู้ใหญ่หลายคน
องค์โตได้แก่เจ้าชายชาลส์(1630 -1685) ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าชาลส์ที่ 2 องค์ที่ 2 พระธิดาเจ้าหญิงแมรี่(1631 - 1660) ต่อมาเสกสมรสกับเจ้าชายวิลเลียมแห่งออเรนจ์ ซึ่งปกครองเนเธอแลนด์ ต่อมาบุตรชายของเธอจะมีบทบาทมากต่ออังกฤษในอนาคต องค์ที่ 3 เจ้าชายเจมส์(1633 - 1701) ต่อมาได้ครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ องค์สุดท้าย เจ้าหญิงเฮนเรียตตา แอนนา(1644-1670)
ก่อนที่พระเจ้าชาลส์จะถูกบั่นพระเศียร ตั้งแต่ช่วงสงครามกลางเมือง ราชินีเฮนเรียตตา มาเรียได้เสด็จไปประทับในฝรั่งเศสก่อนแล้ว เมื่อพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกปลงพระชนม์แล้ว ในอังกฤษเองได้เข้าสู่ยุคสาธารณรัฐ มีแต่จอมเผด็จการครอมเวลล์เป็นผู้นำ ไม่มีกษัตริย์ รัฐสภาไม่รับรองเจ้าชายชาลส์เป็นกษัตริย์อีกต่อไป แต่ทางสกอตแลนด์ได้ประกาศยกเจ้าชายชาลส์เป็นกษัตริย์ชาลส์ที่ 2 แห่งสกอตแลนด์ ดังนั้นในปี 1651 กษัตริย์ชาลส์ที่ 2 แห่งสกอตแลนด์จึงยกทัพบุกอังกฤษ แต่กองทัพของพระองค์พ่ายแพ้ต่อกองทัพอังกฤษของสาธารณรัฐอีก พระเจ้าชาลส์ต้องหลบหนีตายไปภาคพื้นทวีปยุโรป
ชาลส์ที่ 2 กลายเป็นกษัตริย์ตกกระป๋อง บางช่วงชาลส์ไปเป็นทหารรับจ้างให้กับสเปนส่วนเจมส์น้องชายที่ต้องตกกระป๋องพอกันไปเป็นทหารรับจ้างให้ฝรั่งเศสในขณะที่สเปนและฝรั่งเศสทำสงครามกัน และเนื่องจากฝรั่งเศสและฮอลแลนด์ประกาศเป็นมิตรกับอังกฤษภายใต้ครอมเวลล์ขณะนั้น ชาลส์จะไปพึ่งฮอลแลนด์หรือฝรั่งเศสก็ไม่ได้อีก จึงต้องระหกระเหเร่ร่อนไปตามที่ต่างๆ เดินทางไปโน่นนี่ พักค้างตามโรงเตี๊ยมโดยมีผู้ติดตามไม่กี่คน ใช้ชีวิตอย่างยากจน
ภาพชาลส์ที่ 2 ช่วงที่ยังตกกระป๋องอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 21:35
|
|
อีตาโอลิเวอร์ ครอมเวลล์นี่ก็น่าสนใจว่าเป็นใครมาจากไหน ไหงถึงก้าวขึ้นมาเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
โอลิเวอร์ ครอมเวลล์เกิดเมื่อปี 1599 ในครองครัวที่มีเชื้อสายผู้ดีปลายๆ แถวหน่อยเลยไม่ได้มีฐานะดีนัก แต่อย่างไรก็ตาม ครอมเวลล์ได้รับการศึกษาที่ดี เป็นศิษย์เก่าเคมบริดส์ซะด้วย ซึ่งนอกจากจบเคมบริดส์แล้ว ครอมเวลล์ยังได้รับแนวคิดเป็นพวกพิวริตันซึ่งเป็นคริสต์แบบเคร่งครัดสุดขั้วมาจากที่นั่นด้วย ครอมเวลล์แต่งงานกับอลิซาเบธ บรูเชียร์ลูกสาวเศรษฐี ซึ่งทำให้ครอมเวลล์มีเส้นสายได้รู้จักคนใหญ่คนโต และต่อมาครอมเวลล์ได้รับมรดกจากลุง ทำให้มีเงินมีทองมากขึ้นเลยได้เข้าสู่วงการเมือง กลายเป็นสมาชิกรัฐสภา ซึ่งในช่วงแรกๆ ก็ไม่ได้มีความสามารถอะไรโดดเด่นนักจนกระทั่งชาลส์ที่ 1 ยกเลิกรัฐสภาไป 11 ปี
เมื่อสภาเปิดอีกครั้ง ครอมเวลล์ก็กลับมารับตำแหน่งสมาชิกสภาอีกและได้สร้างเส้นสายเชื่อมโยงกับพวกกลุ่มศรัทธาศาสนาในสภาให้แนบแน่นยิ่งขึ้น เมื่อกษัตริย์กับรัฐสภาเกิดความขัดแย้งกันอีกครั้งจนเกิดสงครามกลางเมือง ครอมเวลล์แม้จะแทบไม่มีประสบการณ์ทางทหารเลยก็ได้จัดตั้งกองทหารขึ้น และต่อมากองทหารของครอมเวลล์ประสบความสำเร็จหลายครั้งในสมรภูมิต่างๆ ซึ่งยิ่งทำให้ครอมเวลล์มีอิทธิพลมากยิ่งขึ้น ไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่งสูงขึ้นๆ จนกระทั่งในสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างกษัตริย์กับรัฐสภาที่เมืองเพรสตั้น ครอมเวลล์เป็นแม่ทัพของกองทหารประมาณ 9000 คนแต่สามารถเอาชนะกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ที่มีกำลังมากกว่า 2 เท่าได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
เมื่อสำเร็จโทษกษัตริย์ชาลส์ที่ 1 ไปแล้ว อำนาจของครอมเวลล์ก็ก้าวขึ้นถึงจุดสูงสุด ครอมเวลล์เปลี่ยนประเทศอังกฤษเป็นสาธารณรัฐไม่มีกษัตริย์แต่ตั้งตัวเองเป็นเจ้าผู้พิทักษ์(Lord Protector) มีอำนาจเด็ดขาดเอง อังกฤษเข้าสู่ยุคแห่งการเคร่งครัดทางศีลธรรมแบบพิวริตั้น งานรื่นเริง ความบันเทิงใจต่างๆ ถูกห้าม ต้องการแต่ให้ผู้คนสวดมนต์ภาวนาเท่านั้น ครอมเวลล์กำราบไอร์แลนด์และสกอตแลนด์ได้อย่างราบคาบจนแม้แต่มหาอำนาจอย่างฝรั่งเศสหรือฮอลแลนด์ยังต้องเป็นมิตรกับอังกฤษ
หลังจากเป็นท่านผู้นำอยู่เกือบสิบปี ครอมเวลล์ก็ตายเมื่อปี 1658 ส่งต่ออำนาจและตำแหน่งเจ้าผู้พิทักษ์ให้ลูกชายริชาร์ด ครอมเวลล์ วิธีการไม่ต่างจากผู้นำเผด็จการในยุคหลังๆ เลย แต่เพราะริชาร์ดเป็นคนไร้ความสามารถ เพียงเวลาไม่นานระบบกษัตริย์ก็ได้รับการฟื้นฟู พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ที่ตกกระป๋องไปแล้ว กลับเข้ามาเป็นกษัตริย์อังกฤษอีกครั้ง ประเทศเข้าสู่ยุคเบิกบานสนุกสนานรุ่งเรืองอีกครา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 21:53
|
|
เมื่อพระเจ้าชาลส์ที่ 2 กลับมาเป็นกษัตริย์อังกฤษอีกครั้ง ภารกิจแรกๆ คือจัดการล้างแค้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลงพระชนม์พระบิดาเช่นผู้พิพากษาที่ตัดสินคดี ใครที่โชคดีตายไปก่อน ก็แค่ถูกขุดศพขึ้นมาแขวนคอ ตอน ตัดหัวแล้วสับเป็นสี่ส่วน แต่ใครยังไม่ตายนี่โชคร้ายหนักเพราะจะได้รับสิทธิ์นี้แบบเป็นๆ มีคนโดนประหารทั้งแบบตายก่อนแล้วและแบบสดๆ ไปหลายคน
ร่างของครอมเวลล์ก็ไม่พ้นถูกขุดขึ้นมาจากวิหารเวสมินสเตอร์ เอามาแขวนคอ ตอน ตัดหัว สับ เช่นกัน หัวของครอมเวลล์ถูกแขวนประจานไว้ที่เวสมินสเตอร์ ฮอลล์ตั้งแต่ปี 1659 จนกระทั่งปี 1685 เกิดพายุพัดหัวของครอมเวลล์หล่นลงมา หัวของครอมเวลล์เลยกลายเป็นสมบัติของนักสะสมของที่ละลึกไป จนปัจจุบันฝังไว้ที่ Sidney Sussex College ที่ครอมเวลล์เคยเป็นศิษย์เก่า
หัวนี้ได้รับการตรวจสอบหลายครั้งด้วยเทคนิคต่างๆ คณะผู้ตรวจสอบเชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นหัวของครอมเวลล์จริงๆ
ภาพการประหารร่างของครอมเวลล์ deathmask และหัวที่น่าจะเป็นของจริง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 11 ธ.ค. 12, 21:14
|
|
เมื่อสำเร็จโทษกษัตริย์ชาลส์ที่ 1 ไปแล้ว อำนาจของครอมเวลล์ก็ก้าวขึ้นถึงจุดสูงสุด ครอมเวลล์เปลี่ยนประเทศอังกฤษเป็นสาธารณรัฐไม่มีกษัตริย์แต่ตั้งตัวเองเป็นเจ้าผู้พิทักษ์(Lord Protector) มีอำนาจเด็ดขาดเอง อังกฤษเข้าสู่ยุคแห่งการเคร่งครัดทางศีลธรรมแบบพิวริตั้น งานรื่นเริง ความบันเทิงใจต่างๆ ถูกห้าม ต้องการแต่ให้ผู้คนสวดมนต์ภาวนาเท่านั้น ครอมเวลล์กำราบไอร์แลนด์และสกอตแลนด์ได้อย่างราบคาบจนแม้แต่มหาอำนาจอย่างฝรั่งเศสหรือฮอลแลนด์ยังต้องเป็นมิตรกับอังกฤษ
จะให้ประชาชนทนไหวได้ไง ครอมเวลล์กับพวกพิวริตันเคร่งครัดศาสนาขนาดห้ามความบันเทิงทั้งหมด จะร้องเพลงสักแอะก็ยังไม่ได้ ต้องกลับเข้าบ้านสวดมนตร์กันยันเต บ้านเมืองเต็มไปด้วยความเงียบเหงา บรรยากาศเคร่งเครียดแม้แต่ในวันคริสต์มาส ก็เงียบเชียบมีแต่เสียงสวดมนตร์ ผู้คนจำต้องเก็บตัวเงียบในบ้าน ประชาชนทนอยู่ใต้เผด็จการเพราะไม่มีทางเลือก พอครอมเวลล์ตาย พระเจ้าชาร์ลส์จึงลอยลำกลับเข้ามาเป็นกษัตริย์อย่างที่ควรจะเป็น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 12 ธ.ค. 12, 01:46
|
|
แหะๆ มัวแต่ยุ่งๆ หายไปสองวันรู้สึกเหมือนท่านอาจารย์จะมาตามตัวแล้ว ต้องมาเพิ่มเติมซะหน่อย
เมื่อหมดยุคครอมเวลล์ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็กลับมาครองราชย์ที่อังกฤษต่อ คราวนี้ความรื่นเริงบันเทิงใจต่างๆ ก็หวนกลับมาอีกครั้ง ชาลส์ที่ 2 นับได้ว่าเป็นกษัตริย์นักรักพลังม้าตัวจริง เพราะมีอีหนูเพียบ ลูกๆ ก็ยั้วเยี้ย เพียงแต่ไม่มีลูกในสมรสกับมเหสี คือราชินีแคทเธอรีนแห่งบราแกนซาแห่งโปรตุเกส(1638 – 1705)เลยแม้แต่คนเดียว เพราะพระนางแท้งไป 2 ครั้ง ซึ่งนำความวุ่นวายมาในภายหลัง
นอกจากการไม่มีโอรสธิดาในสมรสแล้ว การที่ชาลส์แต่งงานกับราชินีแคทเธอรินซึ่งเป็นคาธอลิก สร้างความอิหลักอิเหลื่อให้กับชาวอังกฤษไม่น้อย แม้ความจริงราชินีแคทเธอรินออกจะน่าสงสารมาก ต้องหัวเดียวกระเทียมลีบเพราะเป็นคาธอลิก ที่แต่งงานได้เพราะสมัยนั้นโปรตุเกสรวย เมื่อแต่งแล้วพระสวามีก็มีกิ๊กเยอะ พระนางต้องสู้รบปรบมือกับสนมตัวร้ายอย่างเลดี้แคสเซิลแมน แต่ทั้งสองพระองค์ก็มีความเกรงใจซึ่งกันและกัน พระเจ้าชาลส์ไม่ได้ถึงกับทอดทิ้งพระนางเสียทีเดียว ที่จริงก็ออกจะเคารพพระนางอยู่มาก เพราะเมื่อมีผู้เสนอให้หย่ากับพระนางเพราะพระนางไม่สามารถมีบุตรได้อีก พระเจ้าชาลส์ก็ไม่ทรงทำตาม ทรงยืนกรานจะให้พระนางเป็นราชินีต่อไป เมื่อช่วงปลายรัชสมัย พระเจ้าชาลส์ก็กลับไปสนิทสนมกับพระนางที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นคู่ทุกข์คู่ยากตัวจริงของพระองค์
หลังรัชสมัยพระเจ้าชาลส์พระนางยังคงประทับอยู่ในอังกฤษจนถึงรัชสมัยของพระราชินีแมรี่และพระราชาวิลเลี่ยม แต่เนื่องจากในสมัยหลังๆ ความเป็นคาธอลิกของพระนางยิ่งทำให้ต้องเป็นปฏิปักษ์กับโปรแตสแตนท์มากขึ้น เพราะในสมัยต่อมามีกฏหมายบังคับให้พระราชวงศ์ต้องเป็นโปรแตสแตนท์เท่านั้นจึงจะมีสิทธิสืบราชสมบัติ ทำให้พระนางถูกบีบให้ต้องเสด็จกลับโปรตุเกสจนสิ้นพระชนม์ นางเอกของเราช่างน่าสงสารยิ่งนัก
ภาพพระนางแคทเธอริน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
|