เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 42999 ตามหาหนังสือเก่าที่ท่านพุทธทาสสนใจ
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 10:08

ผม ก็สงสัยว่า ใช่สุนทรภู่ จริงหรือไม่ ส่วนที่ว่า สุนทรภู่แต่ง มาจากฐานข้อมูล ห้องสมุดออนไลน์ ที่คุณเพ็ญชมพู ค้นมาบอกให้
ในหนังสือ สุนทรสุภาสิตนี้ ไม่มีประวัติที่อื่นอีกครับ
ส่วน ความร้อยกรอง มีเฉพาะเท่าที่ยกมา คำอธิบายที่ว่า พูดถึงการละสกายะทิฏฐิก็เป็นความเห็นของ บุตร ที่ชื่อ ว่ามะโน ร้องกลอนออกมา แล้ว อธิบาย ความหมายให้แม่ฟัง
บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 10:46

  มะโนหน้า ๒๙-๓๑
แม่ขา แม่บอกฉันวันนี้ ฉันมีความยินดีนัก ด้วยรู้จักดวงใจได้เสียแล้ว ฉันจะต้องเปนเหมือนลิงขาว ร้องเยาะเย้ยพระยามารเล่น ให้แม่ฟังสักบทหนึ่ง  ๚ะ
.....
แม่ขาฉันร้องเพราะฤาไม่ เมื่อตะกี้ฉันร้องบทลิง ที่นี้ฉันจะร้องบทยักษ ร้องไห้......
มารดาจึงว่า เจ้าร้องเพราะนัก แต่แม่ยังไม่เข้าใจ ซึ่งอุบายความเปรียบของเจ้า เจ้าอธิบายความให้แม่เข้าใจด้วย                                        ๚ะ
มโนผู้บุตร จึงอธิบายความว่า ที่ชูกล่องดวงใจขึ้นให้เห็น   จะเยาะคนหลงเล่นให้เห็นขัน
คำที่ว่า พระยามารชาญฉกรรจ์ จะเปรียบท่านทั้งหลายถือกายตน
ที่ว่าดวงจิตของเจ้าเราได้มา จะบอกว่าธรรมธาตุเปนเหตุผล ซึ่งว่ารูปอสุราจะวายชนม์
บอกกังวลรักรูปนั้นป่วยการ                                       ๚ะ
ข้อยักษว่าอนิจจาณะอกเอ๋ย     ไม่รู้เท่าสังขารเลยแต่สักนิด   มาหลงรักไม่รู้ว่างูพิศม์
พากันติดหลงเซอะเลอะป่วยการ   แม่ขานี้ว่าด้วยรู้สึกได้สติ   ๚ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 10:54

เชื่อว่าไม่ใช่สุนทรภู่เป็นคนแต่งค่ะ  สำนวนโวหารผิดกันไกล
สำนวนภาษาใหม่กว่ายุคของสุนทรภู่ อาจเป็นสมัยรัชกาลที่ ๕ หรือ ๖
บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 07 ธ.ค. 12, 06:13

หน้า ๔๙
       มารดาจึงบอกว่า ที่เรียก สะติปะฐาน๔   นั้น
คือ เปนที่ตั้งแห่งความระลึก ให้เห็นเนืองๆใน หมู่รูป ชื่อว่า กายานุปัศนาสะติปะฐาน ๑             ๚ะ
คือ เปนที่ตั้งแห่งความระลึก ให้เห็นเนืองๆใน ความรู้แจ้งให้เห็นซึ่ง ศุข  ทุกข์ อุเบกขานั้น
ชื่อว่า เวทนุปัศนาสะติปะฐาน ๑   ๚ะ
คือ เปนที่ตั้งแห่งความระลึก ให้เห็นเนืองๆ ใน ความนึกความคิด ชื่อว่า  จิตตานุปัศนาสะติปะฐาน ๑ ๚ะ
คือ เปนที่ตั้งแห่งความระลึก ให้เห็นเนืองๆ ใน ธรรมธาตุ ธรรมถี ธรรมนิยมนั้น
ชื่อว่า ธรรมานุปัศนาสะติปะฐาน ๑ ๚ะ
มะโน เอ๋ยเข้าใจฤาไม่  เข้ากันเปน สะติปะฐาน ๔ ฉะนี้
บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 07 ธ.ค. 12, 11:43

หน้า ๖๗-๖๙
       อะธิคัจเฉ ปะทังสันตัง  สังขารูปะสะมังสุขัง  สิญจะ ภิกขุ อิมังนาวัง   สิตาเลละหุ เมสสะติ   เฉตวา ราคัญจะโท  สัญจะ ตะโตนิพพานะเมหิสิ  ๚ะ
       อธิบายความว่า สมเด็จพระผู้มีพรสภาคย์  ตรัสเทศนา จำแนกธรรมาธิบาย แด่ภิกษุผู้ขอ
ในสาศนาว่า    ซึ่งมาทำเมตตากรรมฐาน ยังฌาน ที่๓ แลฌานที่๔ ให้บังเกิดขึ้นได้ ด้วยสามารถเมตตาวิหาร ก็จะพึงถึงได้ ความรำงับ คือพระนิพพาน อันธรรมธาตุเข้าไปรำงับประชุมแต่ง  ปะระมะสุขะตายะ ด้วยสภาวะศุขพิเสศ   พ้นพิไสยสามัญญะศุข   ทั้งปวง    ๚ะ
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุผู้ที่มาละเสียแล้ว ซึ่งนาวา คือร่างกาย  เทเสียแล้วซึ่งน้ำ
คือมิจฉาวิตก มิได้มีติดอยู่   เตละหุเมสสะติ  ก็จะถึงซึ่งทาง  คือ อนุปาทิเสสะนิพพาน
จะตัดเสียแล้วซึ่งเครื่องผูก คือ ความกำหนัด ความทุษร้าย เด็ดเสียแล้วซึ่ง สัญโยชน์เบื้องต่ำ ๕
ประการ   ประหนึ่งบุรุษอันแก้ออกซึ่งเชือกผูกอยู่ณะข้อเท้าฉะนั้น 
พึงเด็ดตัดซึ่งสัญโยชน์เบื้องบน ๕ ประการ  ประหนึ่งบุรุษอันแก้ออกซึ่งเชือก ผูกอยู่ ณะลำคอฉะนั้น  แล้วก็พึงเจริญ  อินทรีย์ ๕ ประการต่อไป
      พระโยคาวะจรเจ้า พึงมาละเสียซึ่งสงคราม ๕ ประการ คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ เหล่านี้เสียแล้ว ก็จะล่วงข้ามโอฆทั้ง ๔ ได้
     ก็ภิกษุผู้ขอณะพระสาศนานี้ พึงกระทำฌานเพ่งเผา กิเลศเครื่องเศร้าหมอง ๒ ประการ
คือ กายกรรม วจีกรรม เปนต้น   มาถะมัสสุ  จงอย่าหันไปในปัญจพิทธ์ กามคุณทั้ง ๕ ประการ
เตนะตังวะทามิ   เหตุดังนั้น พระตถาคต จึงกล่าวซึ่งภิกษุผู้ประมาทนั้น ว่ากลืนกินซึ่งก้อนเหล็กอันร้อน เพราะไม่มารู้ว่า สิ่งนี้เปนกองทุกข์  ด้วยปราศจากฌาน ความเพ่งเผา จึงมิได้เกิดปัญญา ความรู้ ความเหน ก็ลักษณปัญญาจะรู้เหนความเกิดขึ้นจริงอย่างไร  พึงตั้งความคิดลงให้มั่น ในความเพ่งแล้ว ก็จะเกิดวิชา ปัญญา  พระตถาคตกล่าวว่าใกล้  ความคิดที่ดับคือพระนิพพาน   นักปราชย่อมสรรเสริญ ว่าเหนซึ่งธรรมเพราะเหตุกระทำด้วย....
บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 08 ธ.ค. 12, 06:35

หน้า ๕๐-๕๒
         มะโนจึงว่า ที่แม่สอนมานี้ ฉันเข้าใจจำได้แล้ว แต่ที่ว่า ตั้งสะติให้เห็นเนืองๆ
ในหมู่รูปนั้น คือ แม่จะให้เห็นเปนอย่างไร
มารดาจึงบอกว่า ให้เจ้ารู้เจ้าเห็น เส้นประสาทรูป๕ ซึ่งเปนทางของธรรมธาตุ
ที่เปนตัวเกิดอาไศรย แล่นไปรู้ที่จักขุ๑ ที่โสตะ๑ ที่ฆานะ๑ ที่ชิวหา๑ ที่กายะ๑ เข้ากัน๕
        อนึ่งให้รู้ให้เห็น เส้นเจตนาวิญญัติ๑๐ ซึ่งเปนทางของธรรมธาตุ ที่เปนตัวเกิดอาไศรยเจตนาให้ จักขุไหวกลับกลอกขยิบได้อย่าง๑ ฯ
เจตนาให้นาสิกไหวแลสูดสั่งน้ำมูกได้อย่าง๑ ฯ
เจตนาให้ชิวหาไหว แลบเลีย หดยืดได้อย่าง๑ฯ
เจตนาให้ช่องคอไหว กลืนอาหารเข้าไปได้อย่าง๑ฯ
เจตนาให้ปากไหว เปิดปิด แลมิ้มได้อย่าง๑ฯ
เจตนาให้คางไหว อ้าบด เคี้ยวอาหารได้อย่าง๑ฯ
เจตนาให้แผ่นเนื้อที่ลูกกระเดือกไหว เจรจา ให้มีเสียงได้อย่าง๑ฯ
เจตนาให้คอไหว ก้มเงย เบือนผัน ได้อย่าง๑ ฯ
เจตนาให้มือ แลนิ้วไหว จับต้อง ทำการงานได้ อย่าง๑ฯ
เจตนาให้เท้าไหว งอเดิน ยืนนั่งได้ อย่าง๑ฯ
เข้ากันเปนเจตนาวิญญัติ๑๐ ฯ
      อนึ่งให้เห็นให้รุ้ เส้นรูปชีวิตรวิญญัติ๑๐ ซึ่งเปนทางของธรรมธาตุ ที่เปนตัวเกิดอาไศรย ให้รู้อยากอาหารต่างๆ
แลให้รู้ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะออกมา เปนขึ้นเองก่อนไม่มีเจตนานั้น 
คือหัวใจรู้ไหว สูบฉีดโลหิต ไปเลี้ยงทั่วรูปกาย เปนเอง ไม่มีเจตนาอย่าง๑ ฯ
ปอดรู้ไหว ให้วาโยธาตุ เข้าไปทำโลหิตให้แดงร้อน เปนเอง ไม่มีเจตนาอย่าง๑ ฯ
กระเพาะอาหารรู้ไหว ให้น้ำกรด ออกละลายอาหาร ที่แขงให้แหลกย่อยละเอียด
เปนเอง ไม่มีเจตนาอย่าง๑ ฯ
ไส้น้อย รู้ไหวรับอาหารเหล็ว ถ่ายกากอาหารที่สิ้นรศ เปนเอง ไม่มีเจตนาอย่าง ๑
ไส้ใหญ่ รู้ไหวรับกากอาหาร ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก
เปนเอง ไม่มีเจตนาอย่าง๑ ฯ
ตับรู้ไหว รับรัตะโลหิตแดง ทำให้น้ำดีสีเขียว เปนเอง ไม่มีเจตนาอยาง ๑   ฯ
ฝักดีรู้ไหว รับน้ำดีออกจากตับ ถ่ายน้ำดีออก เปนเอง ไม่มีเจตนาอย่าง๑     ฯ
ม้าม รู้ไหวให้น้ำกระสาย ออกละลายดีให้เหลว เปนเอง ไม่มีเจตนาอย่าง๑  ฯ
กระเพาะปัสสาวะ รู้ไหว รับรู้ไหวถ่ายน้ำปัสสาวะ ให้ออกทางทวารเบา เปนเอง ไม่มีเจตนาอย่าง๑ ฯ
เข้ากันเปนรูปชีวิตรวิญญัติ๑๐ ฯ
        มะโนเอ๋ย แม่บอกดังนี้ เจ้าเข้าใจ จำได้ฤาไม่ ที่สอนมาอย่างนี้
เขาเรียกว่า กายานุปัศนาสะติ ปะฐาน ๑ ฉนี้  ฯ
        มะโนจึงว่า แม่ขาฉันจำได้แล้ว คือเส้นประสาทรูป๕ เส้นเจตนาวิญญํติ๑๐
รูปชีวิตวิญญัติ๑๐ เข้ากันเปน ๒๕ สำหรับเปนที่อาไศรยธรรมธาตุ
เรียกว่า กายนุปัศนาสะติปะฐาน  แม่ขาฉันว่าดังนี้ถูกฤาไม่ ฯ
        มารดาจึงรับว่า  ถูกต้องแล้วลูก ฯ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 08 ธ.ค. 12, 09:49

ดูจากสำนวนและความรอบรู้  คนแต่งเรื่องนี้น่าจะเป็นมหาเปรียญไม่ต่ำกว่าเปรียญ  ๗    ถ้าท่านสึกออกมาแล้วอาจรับราชการอยู่ในกรมอาลักษณ์  จึงมีราชทินนามว่า สุนทร
แต่ถ้าไม่ใช่ มีแค่คำว่าสุนทรนำหน้าโคลง ก็อาจยังอยู่ในสมณเพศก็ได้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 08 ธ.ค. 12, 10:14

ดูเหมือนจะเปนหนังสือเล่มแรกในเมืองไทย  ที่เริ่มอธิบายหลักพุทธศาสนาโดยใช้วิทยาศาสตรเข้าช่วย  แม้จะมีบกพร่องบ้างก็ยังนับว่าน่าชมเชยมาก(หรือจะเปนเพราะมันตรงกับจริตของเกล้ากระผมฯ)

ดังตัวอย่างนี้กระมัง

คือหัวใจรู้ไหว สูบฉีดโลหิต ไปเลี้ยงทั่วรูปกาย เปนเอง ไม่มีเจตนาอย่าง๑ ฯ
ปอดรู้ไหว ให้วาโยธาตุ เข้าไปทำโลหิตให้แดงร้อน เปนเอง ไม่มีเจตนาอย่าง๑ ฯ
กระเพาะอาหารรู้ไหว ให้น้ำกรด ออกละลายอาหาร ที่แขงให้แหลกย่อยละเอียด
เปนเอง ไม่มีเจตนาอย่าง๑ ฯ
ไส้น้อย รู้ไหวรับอาหารเหล็ว ถ่ายกากอาหารที่สิ้นรศ เปนเอง ไม่มีเจตนาอย่าง ๑
ไส้ใหญ่ รู้ไหวรับกากอาหาร ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก
เปนเอง ไม่มีเจตนาอย่าง๑ ฯ
ตับรู้ไหว รับรัตะโลหิตแดง ทำให้น้ำดีสีเขียว เปนเอง ไม่มีเจตนาอยาง ๑   ฯ
ฝักดีรู้ไหว รับน้ำดีออกจากตับ ถ่ายน้ำดีออก เปนเอง ไม่มีเจตนาอย่าง๑     ฯ
ม้าม รู้ไหวให้น้ำกระสาย ออกละลายดีให้เหลว เปนเอง ไม่มีเจตนาอย่าง๑  ฯ
กระเพาะปัสสาวะ รู้ไหว รับรู้ไหวถ่ายน้ำปัสสาวะ ให้ออกทางทวารเบา เปนเอง ไม่มีเจตนาอย่าง๑ ฯ
เข้ากันเปนรูปชีวิตรวิญญัติ๑๐ ฯ

สาธุ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 08 ธ.ค. 12, 17:05

หน้า ๕๒-๕๓
มะโนจึงถามว่าแม่ขา ซึ่งว่าตั้งสะติให้เห็นเนืองๆ
ในความรู้แจ้ง ศุข ทุกข์ อุเบกขานั้น คือแม่จะให้ฉันเห็นเปนอย่างไร
มารดาจึงบอกว่า ให้เจ้ารู้  เจ้าเห็นว่า  เมื่อรูปมาสำผัศจักขุ ฤาเสียงมาสำผัศโสตร
กลิ่นมาสำผัสฆานะ รศมาสำผัศชิวหา สรรพสิ่งมาสำผัศกาย ธรรมธาตุรู้ชัดว่า
มีความโสมนัศ ก็เรียกว่าศุขเวทนา๑    ฯ
เมื่อธรรมธาตุรู้ชัดว่ามีความโทมนัศ ก็เรียกว่าทุกข์เวทนา๑   ฯ
เมื่อธรรมธาตุรู้ชัด ไม่โสมมัศ ไม่โทมนัศ เปนกลาง ก็เรียกว่าอุเบกขาเวทนา ๑  ฯ
เข้ากันเปนเวทนา๓ มะโนเอ๋ยแม่บอกดังนี้ เจ้าเข้าใจจำได้ฤาไม่
ที่สอนมาดังนี้เขาเรียกว่า  เวทนานุปัศนาสะติปะฐาน๑ ฉนี้ ฯ
บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 08 ธ.ค. 12, 17:40

หน้า ๕๓-๕๕
                     มะโนจึงว่าแม่ขาฉันจำได้แล้ว แต่ที่ซึ่งว่า  ที่ตั้งสะติให้เห็นเนืองๆ ในความนึกความคิดนั้น คือ แม่จะให้ฉันเห็นเปนอย่างไร
มารดาจึงบอกมะโนผู้บุตรว่า  ให้เจ้ารู้จักเห็นเมื่อ ธรรมธาตุนึกคิดว่า รูปกายเปนของเรา  ถือตัวตนว่า เปนเรา เปนเขา อย่างนี้ ชื่อว่า     สกายะทิฏฐิ ๑   ฯ
เมื่อธรรมธาตุนึกคิดสิ่งไร  ไม่เข้าใจเคลือบแคลง สงไสยอยู่ ชื่อว่า  วิจิกิจฉา ๑                                          ฯ
เมื่อธรรมธาตุนึกคิด นับถือเทวดา มนุษย์ ผีสาง เจ้านาย แลสิ่งใดๆ ที่ไม่จริง
ไปเคารพ นบนอบบูชา  สำคัญว่า เปนที่พึงช่วยทุกข์ ช่วยศุขได้ ชื่อว่า สีลัพพัตตะปะรามาศ ๑                          ฯ   
เมื่อธรรมธาตุนึกคิดปรารถนากำนัศยินดี ในรูปเสียงกลิ่นรศ แลเปนวัตถุสิ่งของต่างๆ ชื่อว่า กามราค ๑                  ฯ
เมื่อธรรมธาตุนึกคิดจะให้ผู้อื่นถึงซึ่งความฉิบหาย ชื่อว่า พยาบาท ๑                                                       ฯ
เมื่อธรรมธาตุนึกคิดมีกำนัศยินดี  ในรูปกิเลศักคิ ซึ่งเปนของทรุดโทรม ด้วยเพลิงเผาไหม้ให้เสร้าหมอง ชื่อ รูปราค ๑  ฯ
เมื่อธรรมธาตุนึกคิด มีความกำนัศยินดี ในสิ่งที่ไม่ใช่รูป เปนแต่ชื่อ คือ เวทนา ความรู้ชัด ศุข ทุกข์ อุเบกขา  สัญญา ความรู้ จำได้ จำไว้ ในลักษณมีสำคัญ
เปนที่หมายสังขารปรุงแต่งธรรมธาตุ ให้ฉลาด แลไม่ฉลาด วิญญาณความรู้แจ้ง ด้วยจักขุ โสตร ฆานะ ชิวหา กาย มนะ ชื่อว่า อรูปราค ๑                     ฯ       
เมื่อธรรมธาตุนึกคิด ถือดีว่ามีตัวมีตน ไม่รู้อวดรู้  ไม่เห็นอวดเห็น  ไม่มีที่พึ่งถือดีว่ามีที่พึ่ง  ผู้ใดเห็นผิดจะสั่งสอน ที่จริงที่ชอบ  ก็ไม่เชื่อถือดี ชื่อว่า มานะ ๑ ฯ
เมื่อธรรมธาตุนึกคิด เผลอจำไม่ได้ ฤาลืมไปบ้าง สะติเลื่อนลอย ระลึกไม่ได้ ชื่อว่า  อุทธัจจะ ๑                           ฯ
เมื่อธรรมธาตุนึกคิด ความจริง ความเที่ยงก็ไม่รู้จัก  ความไม่จริงไม่เที่ยงก็ไม่รู้จัก
ธรรมธาตุจึงได้ดิ้นรน  เปนตัณหา  เพราะความไม่รู้สังขตะประชุมแต่งรูป
อสังขตะไม่ประชุมแต่งรูป   ชื่อว่า     อวิชา๑                                                                                 ฯ
เข้ากันเปน สัญโยชน์ ผูกรัดไว้ ๑๐ ประการ มะโน เอ๋ย แม่บอกดังนี้ 
เจ้าเข้าใจได้ฤาไม่ ที่สอนมาดังนี้ เขาเรียกว่า จิตตานุปัศนาสะติปฐาน๑ ฉนี้ฯ


บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 10 ธ.ค. 12, 02:25

หน้า ๕๖-๕๙
    มะโนจึงว่า แม่ขาฉันเข้าใจ ไม่สงไสย จำได้แล้ว
แม่ขา ถ้าฉันจะละสัญโยชน์ ๑๐ประการ ซึ่งเปนเชือกผูกรัด มัดไว้นี้ ฉะนี้แล้ว ธรรมธาตุของฉันนี้จะเปนอย่างไร
    มารดาจึงว่า ถ้าเจ้าจะละได้ดังนั้น ธรรมธาตุของเจ้า เขาก็เรียกว่า ขีณาสวะบ้าง อรหันตะบ้าง
ด้วยธรรมธาตุของเจ้าเปน สอุปาทาปรินิพพาน          
   มะโนจึงถามมารดาว่า ที่ชื่อว่าขีณาสวะ แล อรหันต์ นั้นอย่างไร มารดาจึงบอกว่า ขีณาสวะนั้น แปลว่า มีเครื่องดองอันสิ้นไป เครื่องดองนั้น คือสัญโยชน์ ๑๐ ประการ ที่ว่ามาแล้วนี้แล ที่ชื่อว่าอรหันต์นั้น แปลว่าผู้ควร คือควรที่จะเคารพย์บูชา
เพราะว่าธรรมธาตุนั้น คิดตัดสัญโยชน์ ๑๐ ประการเสียได้ มะโนเอ๋ย เจ้าเข้าใจ ฤาไม่  ๚ะ
    มะโนจึงว่าแม่ขา ฉันเข้าใจแล้ว ก็แต่ที่แม่ว่าธรรมธาตุ เปนสอุปาทาปรินิพพานนั้นอย่างไร ๚ะ
มารดาจึงบอกว่า สอุปาทาปรินิพพานนั้น แปลว่าดับสัญโยชน์สนิทรอบ ยังประกอบด้วยเชื้อคือรูปซึ่งเปนของทรุดโทรม ด้วยทุกขักคิเปนเพลิงเผาให้ทนยาก เพราะเหตุต้องหาอาหารเลี้ยงชีพแต่ที่ชอบ จึงประกอบให้เกิดเวทนายังมีอยู่ เมื่อถึงอนุปาทาปรินิพพานนี้แล ดับสนิทรอบไม่มีเชื้อเรียกว่าโลกุตรธรรม คือทรงข้ามขึ้นจากโลกที่เกิดได้ มะโนเอ๋ยแม่สอนดังนี้เข้าใจฤาไม่          ๚ะ
   มะโนจึงรับว่า แม่ขาทีนี้ฉันเข้าใจดีทีเดียว ก็แต่ซึ่งแม่ว่า ที่ตั้งสะติให้เห็นเนืองๆ ในธรรมธาตุ
ธรรมถีดิ ธรรมนิยมนั้น คือแม่จะให้เห็นเปนอย่างไร                                                           ๚ะ
   มารดาจึงบอกว่า ให้เจ้ารู้เจ้าเห็นว่า ธรรมธาตุนั้นเมื่อปราศจากสัญโยชน์๑๐ ประการแล้ว ก็เปนธรรมถีดิ ทรงตั้งมั่นอยู่ ในฉฬังคุเบกขา๖ โดยความรู้ความเห็นธรรมดานิยม ที่กำหนดสังขตะอะสังขตะธาตุนั้นไว้
   ก็ที่เรียกว่าฉฬังคุเบกขา ๖นั้น ก็เมื่อจักขุได้เห็นรูป โสตรได้ฟังเสียง ฆานะได้ดมกลิ่น ลิ้นได้ชิมรศ กายได้ถูกต้อง มนะน้อมไปรู้สิ่งใด ก็ไม่มีความโสมนัศ โทมนัศ เปนอุเบกขา  มีสะติสัมปัชชัญ  ระลึกรอบคอบอยู่เสมอ ในธรรมดานิยม มะโนเอ๋ย แม่บอกดังนี้ เจ้าเข้าใจได้ฤาไม่
   ที่สอนมาดังนี้ เขาเรียกว่า ธรรมานุปัศนาสะติปฐาน ๑ ฉนี้                                                   ๚ะ
เข้ากันเปนสะติปฐาน๔ คือกายา คือเวทนา คือจิตตา คือธรรมานุปัศนา สะติปฐาน สิ้นความแต่เท่านี้ มะโนเอ๋ย เจ้าอุส่าห์จำไว้ แล้วปฏิบัติให้ได้ ดังแม่สอนไว้ณะลูก
   มะโนผู้บุตร จึงรับคำมารดาว่า แม่ขาฉันจะปฏิบัติตามคำแม่สอนไว้ทุกเวลา กว่า ธรรมธาตุของฉันจะเปน สะอุปาทาปรินิพพาน แล้วจะได้เปน
อนุปาทาปรินิพพานต่อไป  อยู่ในอายตนะอสังขตะธาตุเปนบรมสุข  
    มารดาจึงว่า ถ้าเจ้าประพฤติใจได้ดังนี้แล้ว ไม่ช้าประมาณเพียง ๗  ๑๕  วันเท่านั้น เจ้าก็จะได้สำเร็จผล ทั้งสองประการ  คืออรหัตผล คืออนาคามิผล ผลใดผลหนึ่ง คงถึงแก่เจ้าเปนแท้ ถึงมารถว่า ปัญญาเจ้ายังอ่อนอยู่ แต่อุส่าห์สู้พยายาม ตามคลองพระสะติปฐานทั้ง๔ นี้ มิได้หยุดหย่อน ใน๗เดือน ฤาเนิ่นออกไปเพียง ๗ปี เท่านั้น ผลใดผลหนึ่ง คงจะถึงได้แก่เจ้าเปนมั่นคง มะโนเอ๋ย เจ้าก็จะสำเร็จดังประสงค์ สิ้นทุกข์เที่ยงถาวร เจ้าจงฟังคำของแม่สอนไว้ฉนี้            ๚ะ

    จบเรื่องสุนทรภาสิต โดยปริยาย พิศดารแต่เท่านี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 11 ธ.ค. 12, 09:22

ขอบพระคุณคุณชัชชัยที่กรุณาแสดงธรรมะจากหนังสือให้ทราบ

สาธุ

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 15 เม.ย. 13, 01:19

ผู้แต่ง นางภวังค์สอนบุตร ผมสันนิษฐาน ว่า คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เนื่องจาก ในหนังสือ 50 ปี สวนโมกข์ มีข้อความว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯและ ท่านพุทธทาส เป็นคนแรกที่สอนธรรมะอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อาจเป็นไปได้สองทาง คือ งานนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ที่แพร่หลาย รู้จักกันดีอยู่แล้ว มีเนื้อหาสอดคล้อง กับหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ หรือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ฯ ท่านได้ตอบคำถามท่านพุทธทาสแล้ว ว่า ใครแต่งหนังสือนี้
(ท้าวความเดิมที่ท่านพุทธทาสมีจดหมายไปถาม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ว่า ใครกันแต่งหนังสือเล่มนี้ ซึ่งท่านพุทธทาสเห็นว่า"นางภวังค์สอนบุตร" เป็นหนังสือธรรมะอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เล่มแรก) และ ทราบกันในคณะ ผู้จัดทำหนังสือ 50 ปีสวนโมกข์
บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 29 พ.ย. 16, 12:40

            ผู้แต่งหนังสือนี้ อาจเป็นพระองค์เจ้าหญิง บีเอตริศภัทรายุวดี (๒๔๑๙-๕๖) นะครับ ใครสามารถตรวจสอบได้จากหนังสือบันทึกธรรมของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงบิเอตริศภัทรายุวดี แล้วกรุณา มาบอกกล่าวกันครับ


  ( ..."เป็นหนังสือธรรมะโดยสตรีเขียนคนแรก  เท่าที่เราทราบขณะนี้ ชื่อผู้ประพันธ์ไม่ปรากฏขณะตีพิมพ์  พิมพ์ครั้งแรกในปลายรัชกาลที่ ๕ ล่วงถึงตอนรัชกาลที่ ๖ จึงเปิดเผยโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ซึ่งจัดพิมพ์ในงานพระศพ ขององค์หญิงท่านเอง".....นริศ จรัสจรรยาวงศ์) 

คือไปเห็นงานของคุณนริศ  แล้วสังหรณ์ใจนะครับ

https://www.academia.edu/12042198/_The_Samm%C4%81c%C4%81ri%E1%B9%87%C4%AB_of_Wat_Thepsirin_during_the_time_of_Somdet_Phra_Buddhaghosajarn_Jaroen_%C3%91%C4%81%E1%B9%87avaro_the_Significance_of_Orality_and_Memory_for_the_Study_of_the_Dhamma_



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 2.04 วินาที กับ 19 คำสั่ง