เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 43036 ตามหาหนังสือเก่าที่ท่านพุทธทาสสนใจ
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


 เมื่อ 28 พ.ย. 12, 10:48

จากหนังสือ สาส์นสมเด็จ กับพุทธทาสและตุลยพากย์สุวมณฑ์ หน้า 117
มีจดหมายของท่านพุทธทาสลงวันที่ ๑๒ กย. ๒๔๘๒ ถึงสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ ณาญวโร)  ความว่า
“ และเกล้ากระผมอดนึกไม่ได้อยู่อีกเรื่องหนึ่ง  คือใครเปนคนแต่งหนังสือเรื่องนางภวังค สอนบุตรที่ให้ชื่อว่า มโน. หนังสือนั้นชื่อหนังสือสุนทรสุภาสิต. ดูเหมือนจะเปนหนังสือเล่มแรกในเมืองไทย  ที่เริ่มอธิบายหลักพุทธศาสนาโดยใช้วิทยาศาสตรเข้าช่วย  แม้จะมีบกพร่องบ้างก็ยังนับว่าน่าชมเชยมาก(หรือจะเปนเพราะมันตรงกับจริตของเกล้ากระผมฯ) .  เกล้ากระผมไปค้นมาได้เล่มหนึ่งปกไม่มี เลยไม่ทราบว่าพิมพ์ที่ไหนหรือใครแต่ง   และไม่ทราบว่าท่านผู้ใหญ่ ในนามของคณะสงฆ์ท่านมีความเห็นอย่างไรกันบ้างในหนังสือชนิดนี้.  และปลาดใจว่ามันแต่งนานมาแล้ว  และมีใครในเมืองไทยเราต้องการจะทำเช่นนั้นด้วยหรือ.  ทั้งยังเยาะเย้ยภิกษุสามเณรว่าเปนฤาษีหอบฟางด้วย  ถ้าเกล้ากระผมอยู่ทันในสมัยที่หนังสือนี้พิมพ์ออกใหม่ๆ  จะต้องไปหาตัวผู้แต่งถึงที่บ้านเปนแน่.  ถ้าใต้เท้ากรุณาทราบเรื่องนี้  ขอได้กรุณาโปรดเล่าให้เกล้ากระผมบ้างว่าสมัยนั้น  เขาเล่นกันท่าไหน.  และทำไมมาชงักไปเสีย. ”
ขอสอบถามท่านสมาชิกเรือนไทยทั้งหลายว่า หนังสือสุนทรสุภาษิตเล่มที่ว่านี้ ใครแต่งครับ จะหาอ่านได้ที่ไหนครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 พ.ย. 12, 10:59

ขอสอบถามท่านสมาชิกเรือนไทยทั้งหลายว่า หนังสือสุนทรสุภาษิตเล่มที่ว่านี้ ใครแต่งครับ จะหาอ่านได้ที่ไหนครับ

๑. ผู้แต่งคือ สุนทรภู่

๒. หาอ่านได้ที่ห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข้อมูลจาก เว็บของ ThaiLIS

ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 พ.ย. 12, 11:17

ข :Pอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 22:18

อ่านจบแล้วครับ เป็นธรรมะที่แม่สอนลูก ถึง ธรรมชาติของสรรพสิ่ง ธรรมชาติของชีวิต, อายตนะ ๖,  สัญโยชน์ ๑๐ ,  วิสุทธิ ๗ , สติปัฎฐาน ๔ และ ปฏิจจสมุปบาท เขียนแบบร้อยแก้ว มีร้อยกรอง นิดหน่อย    จบท้ายด้วย โคลงสี่สุภาพ
สุนทรศ พจนล้ำ          ควรสดับ
เรื่องสาศน ฦกลับ        กล่าวไว้
สงเคราะห์แต่ผู้จะรับ     โอวาท
เพื่อวิมุต หลุดพ้นได้     ดับสิ้นเบญจขันธ์   ฯาะ
บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 22:44

สุนทโรวาท ปริยาย โดยอุบาย อุปมา กล่าวความไว้.....
ชูกล่องดวงใจ  ขึ้นให้เห็น         ทำเปนหัวเราะแล้วเยาะหยัน
เหวยๆพระยามาร ชาญฉกรรจ์     วันนี้ชีวัน จะบันไลย
นี่ดวงจิตของเจ้าเราได้มา          อสุรารูปจะม้วย ตักไษย
ตั้งแต่นี้อย่าถนอมรูปไว้            เป็นห่วงใยณะเจ้าไม่เข้าการ....สุนทรภู่อธิบายถึง การละสักกายทิฎฐิ
บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 22:51

                         โอ้อนิจจา      ณะอกเอ๋ย                         ไม่รู้เท่าสังขารเลย แต่สักนิด
                         มาหลงรัก     ไม่รู้ว่างูพิศม์                        จนชีวิต เวียนม้วยวายปราณ
                         พระนักสิทธ์  ก็คิดว่า ฉลาดเล่า                   มิรู้ก็เขลาโฉดกว่าสังขาร
มาหลงเลี้ยงรูปไว้ด้วยใจพาล (เพราะสอนว่ารูปงามด้วยศีลทาน)       จึงก่อการชาติภพไม่จบเลย 
บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 22:54

สาธุสะ สะมาบาป  ถึงจะหยาบยิ่งกว่านี้ ก็ดีอีก  ...ไม่ได้หยาบอะไรหรอกครับ สุนทรภู่ท่านเปรียบ พระสงฆ์ เป็นบ้าหอบฟาง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 ธ.ค. 12, 15:50

อยากเห็นหน้าปกหนังสือ

ถ้าคุณชัชชัยสามารถถ่ายทอดเนื้อความในหนังสือได้ทั้งหมด น่าจะมีประโยชน์มาก

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 06:04

      หน้าปกเดิม ไม่มีหรอกครับ หอสมุดจุฬา ฯ เขาทำหน้าปกเอง เป็นปกแข็งตราพระเกี้ยว  
...หน้า ๖๕- ๖๖ เขียน ล้อข้อความ ใช้ตัวสะกดแบบโบราณ
     มะโนจึงว่า ซึ่งแม่สอนมา ฉันก็เห็นชอบด้วยแล้ว
นิมนต์ขรัวแม่ ให้ศีลวิรัติ  ความเว้น ๑๐ ประการ นั้นต่อไป                ฯะา
มารดาจึงว่า ลูกเอ๋ย เจ้าจงทำใจให้ปรกติ เว้น สกายะทิฏฐิ
ความเห็นว่า กายเป็นตัว ๑                                                   ฯะา
ลูกเอ๋ยเจ้าจงทำใจให้ปรกติ เว้น วิจิกิจฉา คือ ความเคลือบแคลงอยู่
ด้วยความเห็นว่ากายเปนตัว ๑                                               ฯะา
ลูกเอ๋ยเจ้าจงทำใจให้ปรกติ เว้น สีลัพพัตตะปะรามาศ คือ
ความนับถือปรกติ ลัทธิปฏิบัติ อันเปนภายนอก พระพุทธสาศนา ๑       ฯะา
ลูกเอ๋ยเจ้าจงทำใจให้ปรกติ เว้น กามราค คือ ความกำนัศปรารถนา ๑    ฯะา
ลูกเอ๋ยเจ้าจงทำใจให้ปรกติ เว้น พยาบาท คือ ความที่จะให้เขาฉิบหาย ๑          ฯะา
ลูกเอ๋ยเจ้าจงทำใจให้ปรกติ เว้น รูปราค คือความกำนัศในรูป ของทรุดโทรม ๑     ฯะา
ลูกเอ๋ยเจ้าจงทำใจให้ปรกติ เว้น อรูปราค คือ ความกำนัศในไม่ใช่รูป ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๑  ฯะา
ลูกเอ๋ยเจ้าจงทำใจให้ปรกติ เว้น มานะ คือความดื้อ ถือดี ๑               ฯะา
ลูกเอ๋ยเจ้าจงทำใจให้ปรกติ เว้น อุทถัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน ไม่มีสติตั้งมั่น ๑        ฯะา
ลูกเอ๋ยเจ้าจงทำใจให้ปรกติ เว้น อวิชา  คือความไม่รู้เท่าสังขาร ว่า เปนทุกข์ ๑     ฯะา

อิมานิ ทะสะสิกขาปะทานิ สีเลนะ นิวานังยันติ สีเลนะ สุขะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุตติงยันติ ตัสมา สีลังวิโส ธะเย

ดูก่อนท่านทั้งหลาย หนทางศึกษาทั้ง ๑๐ ประการนี้ ย่อมให้ถึงซึ่งออกจากเครื่องร้อยรัด คือสัญโยชน์เพราะความปรกติ
ถึงพร้อมด้วยความสุขเพราะความปรกติ    ย่อมให้ถึงซึ่งความดับสนิทเพราะความปรกติ
เหตุดังนั้น ท่านทั้งหลาย จงอุส่าห์ ชำระความปรกติ ให้บริสุทธิ์เถิด                   ฯะา

บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 06:07

" ฯะา "
เครื่องหมายนี้ เขาเรียก ว่าอะไรหรือครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 07:58

ธรรมะระดับที่คุณชัชชัยคัดมาแสดงไว้นี้  มิใช่ธรรมะพื้นๆที่สอนให้ละชั่ว ประพฤติดี ทำใจให้บริสุทธิ์ซึ่งพระท่านสอนชาวบ้านทั่วๆไป แต่เป็นระดับที่พระพุทธองค์ทรงสอนสังฆสาวกให้ปฏิบัติเพื่อข้ามภพข้ามชาติสู่นิพพาน อันเป็นหลักชัยทางพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว ผู้ที่เพียงแต่อ่านมา มิได้ปฏิบัติจนรู้แจ้งเห็นจริง แล้วนำมาถ่ายทอดต่อด้วยเนื้อหาสำนวนภาษาของตนเองนั้น อาจผิดเท่าๆกับถูก ท่านจึงมักจะไม่กระทำกัน

ผมรู้สึกทึ่งที่ผู้แต่งคือท่านสุนทรภู่ เพราะเท่าที่ทราบประวัติท่านนั้น ถ้าไม่ร่ำสุราก็รจนากวีนิพนธ์ไม่ลื่นไหล ไม่ทราบว่าท่านได้เขียนสุนทรสุภาสิตนี้แต่ครั้งไหนครับ เป็นช่วงชราที่เข้าใจสัจธรรมของโลกแล้วหรืออย่างไร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 08:58

" ฯะา "
เครื่องหมายนี้ เขาเรียก ว่าอะไรหรือครับ

เคยเห็นแต่ ฯะ เรียกว่า อังคั่นวิสรรชนีย์ ใช้เมื่อจบบทกวี

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 09:34

ขออภัย ผมพิมพ์ผิดเองครับ  ที่ถูกต้องเป็น "๚ะ"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 09:43

สุนทโรวาท ปริยาย โดยอุบาย อุปมา กล่าวความไว้.....
ชูกล่องดวงใจ  ขึ้นให้เห็น         ทำเปนหัวเราะแล้วเยาะหยัน
เหวยๆพระยามาร ชาญฉกรรจ์     วันนี้ชีวัน จะบันไลย
นี่ดวงจิตของเจ้าเราได้มา          อสุรารูปจะม้วย ตักไษย
ตั้งแต่นี้อย่าถนอมรูปไว้            เป็นห่วงใยณะเจ้าไม่เข้าการ....สุนทรภู่อธิบายถึง การละสักกายทิฎฐิ

ดิฉันไม่ได้อ่านจึงไม่ทราบว่าทำไมหนังสือจึงบอกว่าสุนทรภู่เป็นผู้แต่ง   แต่กลอนข้างบนนี้ไม่ใช่สำนวนสุนทรภู่แน่นอน
ถ้าอ้างจากโคลงข้างล่าง ก็เป็นเหตุผลที่เบามาก   กวีที่ได้รับตำแหน่งสุนทรโวหาร หรือศรีสุนทรโวหารมีอยู่หลายท่านด้วยกัน
โคลงนี้ก็ไม่ใช่สำนวนสุนทรภู่เช่นกัน
สุนทรศ พจนล้ำ          ควรสดับ
เรื่องสาศน ฦกลับ        กล่าวไว้
สงเคราะห์แต่ผู้จะรับ     โอวาท
เพื่อวิมุต หลุดพ้นได้     ดับสิ้นเบญจขันธ์ 

ช่วยลอกประวัติมาให้อ่านหน่อยได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
chutchai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 09:59

หน้า ๕๖
    มะโนจึงว่า แม่ขาฉันเข้าใจ ไม่สงไสย จำได้แล้ว
แม่ขา ถ้าฉันจะละสัญโยชน์ ๑๐ประการ ซึ่งเปนเชือกผูกรัด มัดไว้นี้ ฉะนี้แล้ว ธรรมธาตุของฉันนี้จะเปนอย่างไร
    มารดาจึงว่า ถ้าเจ้าจะละได้ดังนั้น ธรรมธาตุของเจ้า เขาก็เรียกว่า ขีณาสวะบ้าง อรหันตะบ้าง
ด้วยธรรมธาตุของเจ้าเปน สอุปาทาปรินิพพาน           
   มะโนจึงถามมารดาว่า ที่ชื่อว่าขีณาสวะ แล อรหันต์ นั้นอย่างไร มารดาจึงบอกว่า ขีณาสวะนั้น แปลว่า มีเครื่องดองอันสิ้นไป เครื่องดองนั้น คือสัญโยชน์ ๑๐ ประการ ที่ว่ามาแล้วนี้แล ที่ชื่อว่าอรหันต์นั้น แปลว่าผู้ควร คือควรที่จะเคารพย์บูชา
เพราะว่าธรรมธาตุนั้น คิดตัดสัญโยชน์ ๑๐ ประการเสียได้ มะโนเอ๋ย เจ้าเข้าใจ ฤาไม่  ๚ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง