เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7]
  พิมพ์  
อ่าน: 22633 ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 10 พ.ย. 22, 08:35

ความเห็นของอาจารย์วรณัย พงศาชลกร (ต่อ)

ถึงแม้ว่าจะปรากฏหลักฐานของรูปสลักนูนต่ำบนผนังกำแพงระเบียงชั้นนอกสุดฝั่งตะวันตก ของคูหาห้องมณฑปมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทบายน เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ที่แสดงภาพขบวนเรือในการเสด็จพยุหยาตราทางชลมารค ที่มีภาพพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ บนบัลลังก์ (ยังไม่ได้สลัก คงเห็นเพียงลายเส้นและหัวนาคประกอบพระแท่นที่ประทับ) กลางเรือพระที่นั่ง พระนางราเชนทรเทวี (ชยราชเทวี) พระนางอินทรเทวี และเชื้อพระวงศ์ ผู้คนชนชั้นสูงพร้อมข้าราชบริพาร รวมทั้ง ภาพของสตรีชั้นสูงสวมเทริดประดับศีรษะที่กำลังแสดงการนมัสการ/อัญชลี ในท่าทางแสดงการอธิษฐาน-ขอพร  ในมือถือเครื่องกระทงประดิษฐ์รูปดอกบัวตามแบบจีน มาใช้เป็นเครื่องบูชาในพิธีกรรมเพื่อการบูชาแม่น้ำและความอุดมสมบูรณ์ ในช่วงฤดูน้ำหลาก พร้อมกับการจัดขบวนพยุหยาตราเพื่อการลอยพระประทีปด้วยเรือเป็นประเพณีหลวงของราชสำนัก ประกอบภาพชาวประมงจับปลาที่มาร่วมแสดงความเคารพ  ตามภาพรวมของเรื่องราวจากภาพสลักบนผนังภาพขบวนเรือที่ต่อเนื่องกัน   

แต่กระนั้นก็มีความเห็นที่แตกต่างกันออกไป ที่มักจะเอามานำเสนอกัน แสดงความเห็นต่างมุมมองในช่วงของประเพณีลอยกระทงของทุกปี ที่บ้างก็ (มโน) สันนิษฐานว่า สิ่งที่สตรีสวมเทริดถืออยู่นั้น ไม่ใช่กระทงหรอกนะ แต่เป็นรูปศิลปะของ “ปลาย่างเสียบไม้” บ้างก็ว่าไม่มีรูปสลักกระทงลอยอยู่ในน้ำให้เห็น จึงไม่ใช่การลอยกระทงลงน้ำ บ้างก็ว่าเป็นการไหว้ต้นข้าว (แม่โพสพ) เพราะเห็นสัตว์มีหางตัวยาวตัวหนึ่งเกาะอยู่ที่ต้นไม้ จึงตีขลุมว่าเป็นหนู และยกต้นไม้ในภาพก็คือต้นข้าว โดยไม่ได้พิจารณาภาพของต้นไม้ที่สลักไว้ว่า “ไม่ได้เหมือนกันทุกต้น”

ทั้งยังมีภาพของต้นไม้แบบเดียวในผนังต่อเนื่องของกลุ่มภาพขบวนเรือ ที่มีสัตว์ชนิดอื่นประกอบ ทั้งกวาง กระต่าย ภาพเสือกำลังไล่คน (ที่ไม่น่าจะมาไล่กันนาข้าว) ภาพสลักส่วนเชิงของผนังทั้ง ๔ ในเรื่องขบวนเรือเดียวกัน จึงเป็นภาพของป่าชายน้ำและแม่น้ำ (ที่มีภาพสลักปลาและนกจำนวนมาก) มากกว่าจะเป็นจะเป็นภาพของทุ่งข้าว ให้มาไหว้แม่โพสพ ที่ก็ไม่ควรมีภาพคนหาปลาและสัตว์ป่ามาเกี่ยวข้องกัน (อีกนั่นแหละ) 

เมื่อได้เห็นภาพโดยรวมของภาพสลักเชิงผนังที่ต่อเนื่องกัน แล้วจะคิดมโนตีความว่าเป็นอะไร ก็คงเรื่องของ “ความเชื่อ” ของแต่ละบุคคล คงบังคับให้เชื่อกันไม่ได้

*** การไหว้แม่โพสพหรือต้นข้าวในทางมานุษยวิทยา  ไม่เคยปรากฏหลักฐานว่าเป็นประเพณีหลวง ไม่เคยใช้สตรีสูงศักดิ์จากราชสำนักลงมาทำพิธีด้วยกระทงดอกบัวประดิษฐ์อันงดงาม นอกจากการผูกตะกร้า ชะลอมสานและกระบะกาบไม้ ใส่อาหารคาวหวานเป็น “เครื่องบัตรพลี” วางทิ้งไว้ที่โคนต้นข้าวหรือวางทิ้งที่ทางสามแพร่งในการสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา ตามพิธีกรรมของประเพณีราษฎร์ ในระดับสังคมชาวไร่นาเท่านั้น

https://facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid026admTQCUL8BWBYjAZbTdePT1jy7cP7pQTCdAQQVVEafWHFghpgLhbAJsJ3FNM3Myl&id=100013641335044
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 10 พ.ย. 22, 09:35

เมื่อได้เห็นภาพโดยรวมของภาพสลักเชิงผนังที่ต่อเนื่องกัน แล้วจะคิดมโนตีความว่าเป็นอะไร ก็คงเรื่องของ “ความเชื่อ” ของแต่ละบุคคล คงบังคับให้เชื่อกันไม่ได้

ลายเส้นภาพแกะสลักหินกำแพงปราสาทบายน แสดงภาพต่อเนื่อง ฝีมือคุณหนุ่มสยาม

ดูเหมือนคุณหนุ่มจะมีความเห็นแย้งกับอาจารย์วรณัย มีรายละเอียดประการใด ขอเชิญเข้ามาเล่าแจ้งแถลงไขเทอญ ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 10 พ.ย. 22, 13:34

จาก FB  คุณ Thepmontri Limpaphayorm

พิธีกรรมของชาวเขมรโบราณทำขวัญข้าว ถวายเครื่องเซ่นในกระทงใบตอง บนแปลงนาข้าว ระเบียงคด ปราสาทบายน วงกลมสีแดงคือหนูที่มากินเมล็ดข้าว ไม่ใช่พิธีลอยกระทงอย่างที่ตีความภาพผิด


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 10 พ.ย. 22, 13:35

 ยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 10 พ.ย. 22, 13:35

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 10 พ.ย. 22, 13:57

เมื่อได้เห็นภาพโดยรวมของภาพสลักเชิงผนังที่ต่อเนื่องกัน แล้วจะคิดมโนตีความว่าเป็นอะไร ก็คงเรื่องของ “ความเชื่อ” ของแต่ละบุคคล คงบังคับให้เชื่อกันไม่ได้

ลายเส้นภาพแกะสลักหินกำแพงปราสาทบายน แสดงภาพต่อเนื่อง ฝีมือคุณหนุ่มสยาม

ดูเหมือนคุณหนุ่มจะมีความเห็นแย้งกับอาจารย์วรณัย มีรายละเอียดประการใด ขอเชิญเข้ามาเล่าแจ้งแถลงไขเทอญ ยิงฟันยิ้ม

ต้องตีความเนื้อหาภาพที่แบ่งส่วนบน และ ส่วนล่าง ว่า
.
1. ภาพทั้งหมดมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
.
2. ภาพแยกเนื้อหากันหรือไม่ ระหว่างภาพส่วนบน กับ ภาพส่วนล่าง
.
ทั้งนี้ในส่วนของภาพสลักในห้องอื่นๆ เป็นฉากยุทธนาวีฉากสู้รบเขมรกับจาม ส่วนเนื้อหาภาพล่างก็เป็นบรรยากาศชาวบ้านหุงหา เตรียมสำรับอาหาร ซึ่งมีแนวโน้มว่าภาพส่วนบนกับส่วนล่างไม่เกี่ยวข้องกันในเนื้อหา และทั้งนี้ภาพสลักบูชาต้นข้าว พรั่งพร้อมไปด้วยคนแปกปลาพวงใหญ่ย่อเข่าด้วยความเคารพ ทุกอย่างหันสู่ต้นข้าวซึ่งบรรยายและการขอบคุณถึงความอุดมสมบูรณ์แห่งทรัพยากร
.
ช่วยกันคิดนะครับว่าหากจะแกะสลักการลอยกระทง จะมีลักษณะภาพอย่างไร และจำเป็นอย่างไรที่จะต้องสลักการเล่นลอยไฟแบบนี้ที่ปราสาทบายนซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 คงไม่อินเท่าไหร่ ... อิอิ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 11 พ.ย. 22, 09:35

คุณเทพมนตรี ลิมปพยอม

"พิธีกรรมของชาวเขมรโบราณทำขวัญข้าว ถวายเครื่องเซ่นในกระทงใบตอง บนแปลงนาข้าว ระเบียงคด ปราสาทบายน วงกลมสีแดงคือหนูที่มากินเมล็ดข้าว ไม่ใช่พิธีลอยกระทงอย่างที่ตีความภาพผิด"

คุณหนุ่มสยาม

"ถัดมาเป็นกลุ่มคนแบบปลาขนาดใหญ่ มีหางแซงแซว กับ ปลาฉลาด ย่อตัวน้อมนอบต่อกอรวงข้าว ในขณะที่อีกฝั่งเป็นกลุ่มสตรีชั้นสูงแต่งตัวเต็มยศถือกระทงดอกบัวเป็นเครื่องบูชามาลาต่อรวงข้าว มีหนูอยู่ใต้ต้นข้าวเป็นสิ่งสำคัญ"



ขออนุญาตเห็นต่าง ที่เห็นตามกิ่งก้าน น่าจะเป็นใบไม้มากกว่ารวงข้าว สัตว์ที่ตะกายอยู่ใต้ต้นตัวใหญ่ แลรูปร่างกำยำไม่คล้ายหนูเลยหนอ ถ้าบอกว่าเป็นแมวจะน่าเชื่อมากกว่า ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 12 พ.ย. 22, 07:54


ในรูปแกะสลักต้นไหนบ้างที่เป็นต้นข้าว ?
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง