เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
อ่าน: 22635 ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 16 พ.ย. 19, 11:29

ควัน(ธูปเทียน)หลงคืนลอยกระทง ลอยมาตอบคำถามกระทู้ว่า    

                 ตกลง(แล้ว)ว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัย(หรือ)ครับ

จากนสพ.มติชนวันลอยกระทง 11 พฤศจิกายน 2562

         คืนลอยกระทงพักหลังมานี้ สุจิตต์ วงษ์เทศ อาจนอนหหบฝันดีเป็นพิเศษ(55) เพราะกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรมเผยแพร่หนังสือ "ลอยกระทง รักษ์น้ำ รักษ์วัฒนธรรม" ระบุโดยชัดเจน



บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 17 พ.ย. 19, 16:42


อีกทฤษฎีหนึ่ง  ยิงฟันยิ้ม

เมื่อนางนพมาศ เกิดในสมัยอยุธยา

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7013.0
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 21 ม.ค. 20, 15:52


การเห่เรือสมัยอยุธยาจากคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม

"อันพระราชบุตร พระราชธิดานั้นลงเรือศรีสักกลาดไปหลังพระธินั่ง อันเหล่าสนมพระกำนัลลงขี่เรือศรี ผ้าแดงตามเสด็จไปท้ายพระธินั่ง อันเจ้าพญาจักรีแลพญากลาโหมนั้นมีทานทองแลเจียดกระบี่ซ้ายขวา แลสัปะทนปักน่าเรือตามตำแหน่งแล้วขี่เรือคชสีห์แลราชสีห์มีกูปก้านแย่งแล้วพายซ้ายขวาแห่ไป อันพญายมมะราชาธิบดีสีโลกทันทาธรขี่เรือนรสิงห์มีพานทอง แลเจียดกระบี่สัปะทน ตามตำแหน่งบันดาจตุสดมทั้ง ๔ นำหน้าเสดจ์ดูน้ำฦกแลตื้นบันดาอำมาตย์ราชเสนาบดีทั้งปวงนั้น ขี่เรือดั้งแลเรือกันมีเครื่องอุปะโภคตามตำแหน่ง แล้วพายแห่ไปซ้ายขวาหน้าหลัง บันดาเหล่ามหาดเลกขอเฝ้าทั้งปวงนั้น ขี่เรือตามเสดจ์หลังกระบวนแห่ อันนายเพชฆาฏนั้น ขี่เรือเสือแล้วดาบแดงไปหน้าเรือตามเสดจ์ไปหลังพยุบาตตราตามตำแหน่ง อันเหล่าเกนฝีพายนั้น บ้างก็โห่ร้องพายแห่ไปฯ

บันดาเรือดั้งเรือกันนั้น ก็พายแห่แล้วร้องโยนยาวอื้ออึงไปในแม่น้ำ อันที่พายเรือพระที่นั่งเอกนั้น บ้างก็พายนกบินแลพายกราย แล้วทำเพลงร้องเห่เรือเปนลำๆ เสียงเพราะพร้อมกันต่างๆ บ้างโห่ร้องอื้ออึงแล้วพายไป ดังไปด้วยเสียงฆ้องกลอง แลปี่พาทย์ราดตะโพน แลเสียงดุริยางค์ดนตรีทั้งปวง บ้างก็ร้องรำทำเพลงพายไปเตมทั้งแม่น้ำเสียงอื้ออึงคนึง
ครั้นแห่ไปถึงวัดไชยธนารามแล้วจึ่งห่อพระอัษฐิทั้งสองพระองค์นั้น ลงถ่วงน้ำแล้วเรียกว่าจรดพระอังคารตามอย่างตามธรรมเนียมแต่ก่อนมา ครั้นแล้วจึ่งแห่เสดจกลับมาประทับเรือพระที่นั่งที่น่าฉนวนน้ำ แล้วเสดจขึ้นบนท้องฉนวน จึ่งเข้าประตูฉนวนในพระราชวัง"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 31 ต.ค. 20, 16:11

สุขสันต์วันลอยกระทง  สำหรับชาวเรือนไทยทุกท่านค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 31 ต.ค. 20, 16:14

ฉลองสองวันรวด ลอยกระทงกับฮัลโลวีน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 31 ต.ค. 20, 16:16

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 08 พ.ย. 22, 08:51

ลอยกระทงปีนี้

ชัชชาติขอ อย่าใส่เงินในกระทง แย่งกันเก็บ จมน้ำดับ บุญไม่ได้ เป็นบาป

ชัชชาติวอน อย่าใส่เหรียญในกระทง เด็กแย่งกันเก็บ บุญไม่ได้ เจอบาปแทน เพราะจมน้ำดับกันทุกปี อีกเรื่องอย่าเล่นประทัดพลุ รำลึกพระแม่คงคากันอย่างสวยงามเถอะ

วันที่ 7 พ.ย.2565 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วอนประชาชนอย่าลงเก็บเงินในกระทง แม้จะไม่มีกฎหมายห้าม แต่กทม.ได้จัดเจ้าหน้าที่ขอความร่วมมือแล้ว ถ้าอยากจะทำบุญปล่อยเคราะห์ปล่อยโศก ขอนำเงินไปบริจาค จะจัดหาตู้ให้ ได้บุญไม่น้อยกว่าลอยในกระทง

ทั้งนี้คนที่ลงน้ำไปเก็บเงินในกระทงส่วนใหญ่จะจมน้ำ ไม่มีใครได้ใช้ หากนำเงินไปบริจาคให้เด็ก 10-20 บาท ขออย่าไปใส่เลย เกิดบาปด้วยซ้ำ เพราะเด็กอาจไปแย่งกันเก็บ จนจมน้ำตายอย่างที่เกิดเหตุมาด้วย

สำหรับการเล่นดอกไม้ไฟ หรือจุดสู่อากาศต้องขออนุญาตจากสำนักงานเขต กทม.จะไม่ไปไล่จับ แต่จะต้องขอความร่วมมือ เพราะช่วงนี้อยู่ในช่วงที่เสี่ยงเกิดเหตุอัคคีภัยรุนแรง ขออย่าไปเล่น เพราะเราอยู่กันด้วยความสวยงาม รำลึกถึงบุญคุณของพระแม่คงคา ตอบแทนบุญคุณท่าน

นอกจากนี้คืนวันลอยกระทงระดับน้ำจะลดลง เพราะกทม.พร่องน้ำไว้ และน้ำฝนไม่ได้เพิ่ม ดังนั้นระหว่างลอยกระทง ขอให้ประชาชนระมัดระวัง อาจต้องมีอุปกรณ์เพิ่ม เช่น สไลเดอร์เพื่อปล่อยกระทง หรือกระบวยที่ใช้ยื่น พร้อมทั้งฝากดูแลเด็กและผู้ที่อ่อนแอ ระวังการพลัดหลง กทม.จะเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก

ขณะที่ปัญหาขยะจากกระทง จะเห็นว่าปีที่ผ่านมาโฟมน้อยลงมาก เป็นเลขตัวเดียว ที่เหลือเป็นขยะที่สามารถย่อยสลายได้ แต่ไม่สามารถปล่อยให้ย่อยสลายเองได้เพราะน้ำจะเน่า จึงต้องเร่งเก็บให้หมดในรุ่งเช้า กทม.จะดูแลเรื่องขยะเหมือนมีมือวิเศษมาเก็บให้ อย่างไรก็ตามขอประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนให้เลือกใช้กระทงที่ย่อยสลายได้ เพราะหากเป็นขยะจะสามารถทำเป็นปุ๋ยได้

เบื้องต้นได้ ตรวจโป๊ะ 404 แห่ง มีโป๊ะไม่ได้มาตรฐานและงดใช้งาน 28 แห่ง มีสวนสาธารณะที่จัดงานลอยกระทง 31 แห่ง ได้ขยายเวลาเปิด-ปิดจนถึง 00.00 น. อยากให้ประชาชนเฉลี่ยเวลาไปลอยกระทง ไม่อยากให้แออัด จึงได้มอบหมายให้รองปลัดกรุงเทพมหานครดูแล ควบคุมการเข้า-ออกแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 08 พ.ย. 22, 09:35

 ปีนี้ ลอยกระทงมีข่าวพิเศษ จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เตือนประชาชนว่า

 "....ได้มีเว็บไซต์ต่างๆ ใช้โอกาสนี้ในการจัดกิจกรรมลอยกระทงออนไลน์ โดยให้ผู้ที่มีความประสงค์จะร่วมกิจกรรมกรอกชื่อ นามสกุล ข้อมูลส่วนบุคคล และคำอธิฐานต่าง ๆ เพื่อลอยไปกับกระทงออนไลน์
       สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนให้ระมัดระวังในการกรอกข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่มีความอ่อนไหว เช่น วันเดือนปีเกิด ชื่อนามสกุลจริง หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน ที่อยู่ ฯลฯ และขอให้เลือกใช้บริการเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เนื่องจากอาจมีผู้ไม่หวังดี อาศัยโอกาสนี้ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อนำไปใช้โดยมิชอบ หรือนำไปใช้ในการกระทำผิดกฎหมาย และบางเว็บไซต์อาจให้พี่น้องประชาชนกรอก บัญชี และรหัสผ่าน ของสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งบางเว็บไซต์อาจสร้างหน้าเว็บขึ้นมาเพื่อหลอกเก็บข้อมูล บัญชี และรหัสผ่าน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในภายหลัง ซึ่งจะส่งผลให้พี่น้องประชาชนได้รับความเสียหาย
       ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฝากขอความร่วมมือมายังพี่น้องประชาชน หากพบเห็นเว็บไซต์ใดที่มีการขอข้อมูลส่วนบุคคลเกินกว่าความจำเป็น หรือน่าสงสัยว่าอาจหลอกเอาข้อมูลรหัสผ่าน สามารถแจ้งเบาะแสไปยังสายด่วน 191 และสายด่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1599 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 08 พ.ย. 22, 16:44

จาก Facebook คุณ Drama-addict

คืนนี้นอกจากเป็นวันลอยกระทงแล้ว ยังมีเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ คือมีจันทรุปราคาแบบเต็มดวง หรือ เงาของโลกไปบดบังดวงจันทร์ทั้งหมด แต่วันนี้จะพิเศษหน่อยตรงที่เป็น พระจันทร์สีเลือด คือ พอเงาของโลกบังแสงบนดวงจันทร์ แต่ยังมีแสงบางส่วนที่หักเหผ่านชั้นบรรยากาศไปถึงดวงจันทร์ได้ ทำให้มองเห็นเป็นสีแดง ดังนั้นคืนนี้จะมีทั้ง จันทรุปราคา และ พระจันทร์สีเลือด
ซึ่งก็ไม่มีผลกับดวงชะตาพ่อแม่พี่น้องที่เกิดตามจักรราศีต่างๆแต่ประการใด ก็ใครจะอยู่บ้านหรือออกจากบ้านก็ตามสะดวก แต่ขอให้ระวังภัยอันตรายจากประทัดกันให้ดีครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 08 พ.ย. 22, 16:51

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงลอยพระประทีป
จาก เลาะรั้ว​ ชมวัง
คุณDanny Karn 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 09 พ.ย. 22, 15:46

‘ลอยกระทง’ มีครั้งแรกสมัย ร.3 สระน้ำในเมืองเก่าสุโขทัย ไม่ขุดไว้ลอยกระทง | สุจิตต์ วงษ์เทศ

ลอยกระทงที่ทำสืบเนื่องถึงทุกวันนี้ เริ่มมีครั้งแรกสมัย ร.3 ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ น่าเชื่อว่าได้แบบจากจีน (เคยอธิบายแล้วก่อนหน้านี้)

แล้วสร้างคำอธิบายใหม่ให้ดูสมจริง โดยอ้างอิงย้อนยุคถึงสุโขทัย 3 เรื่อง ดังนี้

1. นางนพมาศ ริเริ่มประดิษฐ์กระทงทำจากใบตอง (กล้วย) ก่อนหน้านั้นไม่มี

2. พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย ทรงลอยกระทงครั้งแรก ก่อนหน้านั้นไม่มี

3. ลอยกระทง เนื่องในศาสนาพุทธ เพื่ออุทิศบูชาพระพุทธบาทซึ่งประดิษฐานยังนัมมทานที

สมุดไทยดำเรื่องนางนพมาศ ซึ่งกรมพระสมมตอมรพันธุ์ รับสั่งว่าเป็นลายพระหัตถ์ ร.3 (เจ้าพระยารัตนบดินทร์ มอบให้หอพระสมุดวชิรญาณ)

“หนังสือเรื่องนางนพมาศ ซึ่งฉันเข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์”

(สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีลายพระหัตถ์ จาก Cinnamon Hall ที่ Penang เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2479 ถึงพระยาอนุมานราชธน ในหนังสือ ให้พระยาอนุมาน : มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป จัดพิมพ์ เมื่อ 14 ธันวาคม 2521 หน้า 56)

หลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีไม่สนับสนุนคำอธิบายทั้ง 3 เรื่องนั้น [รายละเอียดมีในหนังสือ ไม่มีนางนพมาศ ไม่มีลอยกระทง สมัยสุโขทัย สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่สาม พ.ศ.2545] จะสรุปมาดังนี้

1. นางนพมาศเป็นหนังสือมีนิยายแต่งใหม่สมัย ร.3 เป็นคู่มือลูกสาวผู้ดีที่ถวายตัวเข้ารับราชการในวัง เป็นสนมนางบำเรอ

2. ลอยกระทง สมัยกรุงเทพฯ สืบจากลอยโคมในน้ำไหล สมัยอยุธยา ซึ่งมีพัฒนาการจากพิธีกรรมขอขมาน้ำและดิน ยุคดึกดำบรรพ์

3. ลอยกระทง มีรากเหง้าเนื่องในศาสนาผี ไม่พุทธ แต่สมัยหลังโยงให้เกี่ยวกับพุทธ

2  กระทงใบตองเก่าสุดในกัมพูชา
ภาชนะใส่เครื่องเซ่นผีของราชสำนักกัมพูชา พัฒนาเป็นกระทงใบตอง ราว พ.ศ.1750 จากเดิมใช้กาบกล้วยและวัสดุลอยน้ำอื่นๆ

กระทงใบตอง มีในภาพสลักบนระเบียงปราสาทบายน (นครธม) แบ่งภาพสลักเป็น 2 ส่วนบนพื้นที่เดียวกัน คือ ส่วนบนกับส่วนล่าง
ส่วนบน สลักเป็นรูปพระราชากับเจ้านาย อยู่บนเรือลอยน้ำ มีฝูงปลาและไม้น้ำ
ส่วนล่าง สลักเป็นรูปสตรีคล้ายนางสนมกำนัล 6 คน นั่งคุกเข่าราบกับพื้น บ้างพนมมือ บ้างประคองกระทง บ้างยกกระทงใบตองขึ้นจบหน้าผาก กระทงจีบเหมือนที่เรียกกันว่าบายสีปากชาม

เอกสารเก่าของกัมพูชาสมัยหลังๆ เรียกพิธีเดือน 12 ว่าลอยประทีป และไหว้พระแข (แข แปลว่า พระจันทร์)
สระน้ำในเมืองเก่าสุโขทัย ไม่ขุดไว้ลอยกระทง
สุโขทัย เมืองแล้งน้ำ ตั้งบนที่ดอนเชิงเขา จึงต้องขุดตระพังเก็บน้ำ
ตระพังในเมืองเก่าสุโขทัย เป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดกับวัง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ได้ขุดไว้ลอยกระทง หรือเผาเทียนเล่นไฟ
ลอยกระทง เป็นประเพณีของบริเวณที่ราบลุ่ม มีน้ำไหล

“การเสริมสร้างประเพณีใหม่ๆ ขึ้น ณ แหล่งโบราณสถาน เพื่อวัตถุประสงค์ทางการท่องเที่ยว เช่น การจัดลอยกระทงที่สุโขทัย มิใช่ความผิด——-
แต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรได้ตระหนักถึงความจริงทางประวัติศาสตร์ที่เราต้องรับผิดชอบส่งต่อให้สาธารณชน ว่าประเพณีนี้ที่สุโขทัยเป็นของปรุงแต่งขึ้นในปัจจุบันนี้เท่านั้น
ไม่เคยมีหลักฐานใดๆในประวัติศาสตร์สุโขทัย ว่าการลอยกระทงเป็นประเพณีรื่นเริงของชุมชนซึ่งตั้งหลักแหล่งอยู่ในที่แล้งน้ำโดยธรรมชาติ จนต้องจัดระบบหาทางนำน้ำมาใช้ ซึ่งเราได้เห็นประจักษ์พยานจากสิ่งก่อสร้างบนผิวดินอันปรากฏร่องรอยอยู่ชัดเจน”

(ธิดา สาระยา : การอนุรักษ์สุโขทัยฯ ในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2530 หน้า 22)

ขอขมาธรรมชาติ ในศาสนาผี
ลอยกระทง มีต้นทางจากประเพณีพิธีกรรมประจำฤดูน้ำหลากท่วมท้น เนื่องในศาสนาผี ราว 3,000 ปีมาแล้ว เพื่อขอขมาเจ้าแม่ที่สิงอยู่ในน้ำและดิน (ก็คือขอขมาธรรมชาติ) ปีละครั้ง

ยุคดั้งเดิม พิธีขอขมาเริ่มเมื่อน้ำหลากท่วมราวกลางเดือน 11 ต่อเนื่องถึงเดือน 12 แล้วสิ้นสุดพิธีเมื่อน้ำค่อยๆ ลดเมื่อเดือนอ้าย (เดือน 1)

ต่อมาเปลี่ยนไปเริ่มก่อนกลางเดือน 12 ไม่มีกำหนดเลิกเมื่อไร? แต่ปัจจุบันกำหนดตายตัววันเดียวคือกลางเดือน 12

เหตุที่ต้องขอขมาก็เพราะคนเราเชื่อว่าได้ล่วงเกินเจ้าแม่และดื่มกินข้าวปลาอาหารเลี้ยงชีวิตตลอดปีจากน้ำและดิน

เจ้าแม่ คือ ผีน้ำ ผีดิน ที่สิงอยู่ในน้ำและดิน บางทีเรียกว่าผีเชื้อ แต่คนบางกลุ่มออกเสียงเป็นผีเสื้อ (คำว่าเชื้อ ออกเสียงเป็น เสื้อ) มีร่องรอยอยู่ในคำสอนของพวกไทดำ (ในเวียดนาม) ว่า “กินข้าวอย่าลืมเสื้อนา กินปลาอย่าลืมเสือน้ำ”
“กินข้าว อย่าลืมเสื้อนา” หมายความว่าเมื่อกินข้าวอย่าลืมผีเจ้าแม่ที่สิงอยู่ในท้องนา ซึ่งปลูกข้าวเติบโตออกรวงมีเมล็ดให้คนกิน
“กินปลา อย่าลืมเสื้อน้ำ” หมายความว่าเมื่อกินปลาก็อย่าลืมผีเจ้าแม่ที่สิงอยู่ในน้ำ


https://www.matichonweekly.com/in-depth/article_14670

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 09 พ.ย. 22, 15:51

จาก Facebook คุณThepmontri Limpaphayorm

เห็นมีคนเอามาเผยแพร่อีกแล้ว ตีความภาพผิด กระทงเซ่นไหว้พระแม่โพสพทำขวัญข้าว ไม่ใช่ลอยกระทง
ต้นข้าว หนูมากินข้าว นั่นมันภาพนาข้าว
 เวลาดูภาพมันต้องดูทั้งผนังระเบียงคด ผมอดขำไม่ได้
กระทงที่เห็นในภาพขืนลอยก็จมน้ำ




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 09 พ.ย. 22, 16:54

รายละเอียดความเห็นของคุณเทพมนตรี ลิมปพยอม เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งขัดแย้งกับความเห็นหลักของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ และ อาจารย์วรณัย พงศาชลกร

https://facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02PdrrLQE9LeTYU5Ksxur5dkkpweEMvnvAeZSvZaVc9ALHjW3gM8ezAqcif4M3ASgwl&id=1690065094637302
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 09 พ.ย. 22, 17:25

ความเห็นของอาจารย์วรณัย พงศาชลกร

ภาพสลักหนึ่งบนผนังกำแพงฝั่งตะวันตกของห้องคูหามุขมณฑป มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ แสดงเป็นภาพของ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ บนบัลลังก์ กลางเรือพระที่นั่ง (ยังไม่ได้สลัก คงเห็นเพียงลายเส้นและหัวนาคประกอบพระแท่นที่ประทับ) พระมเหสีทั้งสองพระองค์ พระนางราเชนทรเทวี (ชยราชเทวี) และพระนางอินทรเทวี พร้อมข้าราชบริพาร ซึ่งมีนางกำนัลคนหนึ่งถือเครื่องบูชาคล้ายรูปกระทงดอกไม้ประดิษฐ์ บนเรือพระที่นั่งในขบวนเรือในการเสด็จพยุหยาตราทางชลมารค ที่มีภาพสลักของเรือลำอื่น ๆ อีกหลายลำ ต่อเนื่องไปบนผนังกำแพงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

ด้านล่างของภาพสลักเป็นภาพของ “ริมตลิ่ง”ที่มีเหล่าสตรีชั้นสูง ตัวแทนของกษัตริย์ในฐานะ “นางขวัญ” ผู้เป็นตัวแทนของแผ่นดิน (ข้าราชบริพารนางในตามปกติไม่สวมเทริดประดับศีรษะ) กำลังประกอบพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับภาพขบวนเรือด้านบน โดยมีภาพของนกกินปลาปากแหลม อย่าง นกกระสา นกกระยาง นกกาน้ำ เกาะอยู่บนต้นไม้พุ่มเตี้ย (ไม้ริมน้ำ) หลายตัว ภาพของฝูงปลานานาชนิด และภาพคนหาปลาที่ล้วนแต่แสดงความเป็นริมฝั่งน้ำ

นางขวัญหลายคนในภาพกำลังแสดงการนมัสการ/อัญชลีพร้อมเครื่องบูชาที่เป็น “กระทง”ดอกไม้ประดิษฐ์ เพื่อบูชาอำนาจเหนือธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับ “น้ำ” อย่างชัดเจน โดย นางขวัญคนแรกและคนที่สองได้ลอยกระทงบูชาออกไปแล้ว นางขวัญคนต่อมายังไม่ได้ลอยกระทงออกไป ซึ่งนางขวัญคนสุดท้ายด้านขวาสุดกำลังทำท่ายกกระทงขึ้นและก้มโค้งศีรษะลงมาใกล้กับกระทง แสดงให้เห็นพฤติกรรมของการอธิษฐาน ขอพรจากอำนาจเหนือธรรมชาติ

ข้ามมาทางซ้ายของภาพยังเป็นภาพของกลุ่มคนหาปลาที่อยู่ห่างออกไป (มีภาพพุ่มไม้และสัตว์เล็กที่อาศัยเขตชายน้ำคั่นไว้) คนหน้าสุดกำลังนั่งลงแสดงการกราบไหว้ความเคารพต่อพิธีกรรม “ลอยกระทงพระประทีป” คนด้านหลังกำลังหาปลาและคุกเข่าลง ที่บริเวณริมน้ำอยู่ใกล้เคียงกับการลอยกระทง 

*** ในภาพสลักตามแบบขนบแบบแผนโบราณ ยังไม่มีการพัฒนาเป็นรูปแบบเปอร์สเปคทีฟ (Perspective) จึงยังไม่มีการสลักภาพบุคคลแบบ ๓ มิติ ที่จะให้หันหลังมองขึ้นไปด้านบนหรือเห็นเฉพาะด้านหลังกำลังถือกระทงอย่างมีมิติ แต่สลักให้เห็นได้เห็นเพียงทางด้านข้างในแบบ ๒ มิติได้เพียงเท่านั้น รูปบุคคลทั้งหมดในภาพด้านล่าง จึงหมายถึงรูปของบุคคลที่กำลังนั่งอยู่ริมตลิ่งและหันหน้าลงไปทางแม่น้ำ รับกับขบวนเรือพยุหยาตรา

https://facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02zPDuBCU1ddpXe79MBeJLdixy3dKaoj1pyEDuwoq9Fqrt1UjhhuWcajqZm5j1j26Nl&id=100013641335044
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 09 พ.ย. 22, 17:35

ภาพบน : ภาพสลักนูนต่ำ ปราสาทบายน พระนางอินทรเทวีและข้าราชบริพาร บนเรือพระที่นั่งส่วนหัวเรือ ในงานเทศกาลน้ำหลากเดือน ๑๒

ภาพกลาง : การลอยกระทงดอกบัวพระประทีปที่ริมตลิ่ง (ตามแบบจีน) ในระหว่างเทศกาลฤดูน้ำหลากเดือน ๑๒

ภาพล่าง : พระนางราเชนทรเทวี (ชยราชเทวี)  และข้าราชบริพาร ที่ส่วนท้ายเรือของเรือพระที่นั่ง ตรงกลางยังไม่ได้สลัก เป็นภาพของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ด้านล่างเป็นภาพริมตลิ่ง ที่มีคนหาปลา (ชาวประมง) ร่วมแสดงความเคารพต่อพิธีลอยพระประทีปในฤดูน้ำหลาก




บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 20 คำสั่ง