เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 22632 ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 11 พ.ย. 19, 09:56

ต้องออกตัวว่า ตั้งใจจะนำเสนอข้อมูล(จากผู้อื่น) ที่เป็นประเด็นที่น่าสนใจเนื่องในเทศกาลนี้ ไม่ได้ยืนข้างใด

และ เห่เรือ ในที่นี้ หมายถึง
        
อ้างถึง
เห่เรือ ที่เข้าใจกันทุกวันนี้ หมายถึงขับลำนำเป็นทำนองอย่างหนึ่งในกระบวนเรือพระราชพิธีพยุหยาตรา ทางชลมารค

มีข้อมูลจาก สารานุกรมไทยฯ
 
http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=1&page=t30-1-infodetail06.html

ตัดมาบางส่วนว่า

           กาพย์เห่เรือบทพระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เมื่อศึกษาเนื้อหาของบทเห่เรือนั้นโดยละเอียดแล้ว
ไม่ปรากฏหลักฐานว่า เป็นบทที่แต่งสำหรับเห่เรือพระที่นั่งในพระราชพิธีใดๆ ทั้งสิ้น
          
           บทเห่เรือพระราชนิพนธ์ตามหลักฐานที่ปรากฏในวงวรรณกรรมของไทย ล้วนเป็นบทเห่เรือเล่นแทบทั้งสิ้น และ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ไม่ทรงพบข้อสันนิษฐานถึงสาเหตุที่นำมาใช้ในการเห่เรือพระที่นั่ง

           บทเห่เรือสมัยอยุธยาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เหลือตกทอดมาถึงปัจจุบันมีเพียง ๒ เรื่อง เป็นพระนิพนธ์ใน
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร คือ
           บทเห่เรือชมพยุหยาตราทางชลมารค  สำนวนในเรื่องแสดงให้เห็นว่า ทรงพระนิพนธ์สำหรับเห่เรือพระที่นั่งของพระองค์เอง

และ       บทเห่เรื่องกากี ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร สันนิษฐานว่า จะใช้บทเห่นี้เฉพาะเวลาทรงเรือประพาส
            เป็นการส่วนพระองค์

            บทเห่เรือชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ชั้นแรกสันนิษฐานว่า
ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับเห่เรือเสด็จประพาสเท่านั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้นำบทเห่เรือ
ครั้งกรุงศรีอยุธยา และบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาใช้เห่เรือในราชการเป็นแบบอย่างสืบมา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 11 พ.ย. 19, 10:16

อ๋อ เข้าใจแล้วค่ะ
ยกกาพย์เห่เรือมาให้อ่านกัน

ปางเสด็จประเวศด้าว      ชลาลัย
ทรงรัตนพิมานชัย      กิ่งแก้ว
พรั่งพร้อมพวกพลไกร      แหนแห่
เรือกระบวนต้นแพร้ว      เพริศพริ้งพายทอง

กาพย์
พระเสด็จโดยแดนชล      ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย      พายอ่อนหยับจับงามงอน
นาวาแน่นเป็นขนัด      ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือริ้วทิวธงสลอน      สาครลั่นครั่นครื้นฟอง
เรือครุฑยุดนาคหิ้ว      ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง      ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
สรมุขมุขสี่ด้าน      เพียงพิมานผ่านเมฆา
ม่านกรองทองรจนา      หลังคาแดงแย่งมังกร
สมรรถชัยไกรกราบแก้ว      แสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จร      ดั่งร่อนฟ้ามาแดนดิน
สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย      งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์      ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
เรือชัยไวว่องวิ่ง      รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดม      ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน
คชสีห์ทีผาดเผ่น      ดูดังเป็นเห็นขบขัน
ราชสีห์ที่ยืนยัน      คั่นสองคู่ดูยิ่งยง
เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ      แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
เพียงม้าอาชาทรง      องค์พระพายผายผันผยอง
เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน      โจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง
ดูยิ่งสิงห์ลำพอง      เป็นแถวท่องล่องตามกัน
นาคาหน้าดังเป็น      ดูเขม้นเห็นขบขัน
มังกรถอนพายพัน      ทันแข่งหน้าวาสุกรี
เลียงผาง่าเท้าโผน      เพียงโจนไปในวารี
นาวาหน้าอินทรี      มีปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม
ดนตรีมี่อึงอล              ก้องกาหลพลแห่โหม
โห่ฮึกครึกครื้นโครม      โสมนัสชื่นรื่นเริงพล
กรีธาหมู่นาเวศ      จากนคเรศโดยสาชล
เหิมหื่นชื่นกระมล      ยลมัจฉาสารพันมี

คือคงจะตีความว่าในบทพระนิพนธ์นี้ไม่ได้ระบุเลยว่าพยุหยาตราทางชลมารคที่ว่า ไปในงานพระราชพิธีอะไร   บอกแต่เพียงว่าเรือทั้งหลายที่ยกกันไปมีเรืออะไรบ้าง
เมื่อไม่ได้บอกว่าไปเนื่องในงานอะไร ก็เลยสันนิษฐานว่าไม่ได้ไปงาน  เป็นการไปเที่ยวทางน้ำเฉยๆ
ยิ่งบทต่อๆไปมีบทชมนกชมไม้ บทสังวาส ก็ยิ่งคิดว่าไม่ใช่งานพิธีการใดๆ

ส่วนดิฉันคิดว่าลักษณะเรือทั้งหลายที่ยกกันไปทางน้ำนี้  มีลักษณะอลังการเกินกว่าจะไปเที่ยวทางน้ำกันธรรมดา   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 11 พ.ย. 19, 12:10

สุขสันต์วันลอยกระทง ๒๕๖๒  ยิงฟันยิ้ม



ลอยกระทง วัฒนธรรมน้ำร่วมราก
http://arts.tu.ac.th/culture/Master%20Kratong4.pdf
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 11 พ.ย. 19, 13:00



ดนตรีมี่อึงอล              ก้องกาหลพลแห่โหม
โห่ฮึกครึกครื้นโครม      โสมนัสชื่นรื่นเริงพล


กระบวนเรือ ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
คือขบวนแห่ ที่ต้องการประกาศให้พลเมืองได้ทราบ
ไม่ว่าจะเป็น พิธีพระราชทานพระกฐิน พิธีฟันน้ำ หรือ พิธีรับแขกเมือง
มีวงดนตรี และการแห่ ร้องเพลงปลุกใจ เฉลิมพระเกียรติ ไปตลอดทาง

ถ้าไม่เชื่อหลักฐานไทย ก็ต้องอ้าง 1. วันวลิต 2. ตาชา 3. แชรแวส 4. ลาลูแบร์
ต่างกล่าวถึงการเห่เรือในขบวนพยุหยาตราทางชลมารคสอดคล้องกันหมดครับ

บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 11 พ.ย. 19, 16:56

ผมมีข้อสังเกตดังนี้ครับ
1. การเห่เรือในขบวนเสด็จทางชลมารคไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระราชพิธี 12 เดือนโดยตรง ไม่มีการเห่เรือในพระราชพิธี 12 เดือนไม่ได้แปลว่าไม่มีการเห่เรือในสมัยอยุธยาหรือต้นรัตนโกสินทร์นะครับ
2. การโห่ร้องกับประโคมดนตรีในขบวนเสด็จทางชลมารคเป็นคนละอย่างกับการเห่เรือครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 11 พ.ย. 19, 17:20

อ่านเรื่องการเห่เรือ ที่ สารานุกรมไทย(ฉบับเยาวชน)
เริ่มจาก วัตถุประสงค์ของการเห่เรือ

http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=1&page=t30-1-infodetail01.html
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 11 พ.ย. 19, 17:45

ตามสารานุกรมนี้คือเห่เรือเพื่อให้จังหวะฝีพายในพระราชพิธี แต่โบราณไม่เกี่ยวกับพระราชพิธี หากใช้ระหว่างเดินทาง

เรื่องปัจจุบัน อันนี้ชัดเจนครับ คงไม่มีประเด็นอะไร
แต่เรื่องสมัยโบราณที่ว่า อาจจะต้องเจาะจงว่าเป็นสมัยไหน

ที่น่าสงสัยคือข้อความส่วนนี้ครับ

นอกจากนั้น ยังปรากฏหลักฐานว่า มีการเห่เรือในกระบวนทางชลมารค เพื่อความสำราญส่วนพระองค์ของเชื้อพระวงศ์ ตั้งแต่ชั้นเจ้าฟ้าขึ้นไป ดังบทเห่เรือที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงพระนิพนธ์ขึ้น สำหรับเห่เรือพระที่นั่งของพระองค์ เมื่อตามเสด็จไปยังพระพุทธบาท สระบุรี บทเห่เรือบรรยายการโดยเสด็จออกจากกรุงศรีอยุธยาในตอนเช้า ถึงท่าเจ้าสนุก ในตอนเย็นพอดี

ถ้าใช้เห่เรือระหว่างเสด็จไปพระพุทธบาทจริง จะเห่อย่างไร ระยะทางกับความยาวของกาพย์เห่เรือไม่สัมพันธ์กันเลย นานๆเห่สักบทสองบท หรือเห่ซ้ำๆวนไป แปลกอยู่นะครับ

ถ้าจะตั้งประเด็นให้เจาะจงลงไปคือ เคยมีการเห่เรือในสมัยอยุธยาหรือไม่ เคยมีการเห่เรือสมัยต้นรัตนโกสินทร์หรือไม่ หรือเจาะจงลงไปคือกาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง หรือพระราชนิพนธ์ ร.2 มีไว้เพื่อเห่เรือ หรือเคยใช้เห่เรือจริงๆหรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 11 พ.ย. 19, 18:51

วันเพ็ญเดือนสิบสองของคนภาคกลางเป็นวันลอยกระทง เป็นกิจกรรมที่ทำกันตอนเย็น  แต่ก่อนโน้นก็จะทำการลอยกันในเวลาโพล้เพล้ช่วงใกล้จะหมดแสงเต็มทื  ความสว่าง ณ บริเวณที่นำกระทงลงลอยน้ำจะได้มาจากแสงรำไรของเทียนตะไลที่จุดวางประดับประดากันไว้  เป็นกิจกรรมที่มักจะกระทำกันเป็นครอบครัว พ่อแม่จะมีไฟฉายตราเสือช่วยส่องทางเดินให้กับเด็กๆ   คนที่มีเงินหน่อยก็จะเช่าเรือแท๊กซี่ลอยลำออกไปห่างจากฝั่ง เพื่อจะได้ไปปล่อยกระทงลงน้ำในบริเวณที่ใม่มีเด็กๆลอยคออยู่ในน้ำคอยเก็บเงินเหรียญที่ใส่อยู่ในกระทง เป็นการกระทำที่เป็นที่ไม่พอใจของคนที่นำกระทงมาลอยซึ่งอยากจะเห็นกระทงของตนล่องลอยตามสายน้ำออกไปไกลๆ    ผมได้มีโอกาสสัมผัสกับภาพนี้สองสามครั้งเมื่อครั้งยังเป็นเด็กวัยกระเตาะเข้ามาเรียนอยู่ในกรุงเทพฯ    เรือแท๊กซี่ที่ว่าในสมัยนั้นใช้เครื่องยนต์เรือแบบต้องเผาหัวก่อนจะติดเครื่อง ติดเครื่องแล้วก็ติดเลย ไม่ดับเครื่องกันจนกระทั่งจบการใช้งานในแต่ละวัน กินน้ำมันน้อย เสียงไม่ดัง (แล้วค่อยขยายความเมื่อมีโอกาส)

วันเพ็ญเดือนสิบสองของคนในภาคเหนือเป็นประเพณีการทำบุญเนื่องในวันยี่เป็ง ซึ่งก็เป็นวันเดียวกัน (ผมจำผิดหรือเปล่า ??) เพียงแต่จะมีกิจกรรมที่ทำต่างกันและจะกระทำกันสองสามวันล่วงหน้า  มีการทำกระทงเหมือนกัน แต่เป็นกระทงรวมของผู้คนซึ่งทำกันที่วัด ซึ่งก็จะช่วยกันนำมาลอยในแม่น้ำ บ้างก็มีกระทงของตนเองที่ทำมาร่วมลอยด้วย ต่างกับภาคกลางที่เป็นกิจกรรมในช่วงเวลาบ่าย  ส่วนในช่วงเวลาหมดแสงอาทิตย์แล้วก็จะเป็นการลอยโคม   ผมเองไม่คุ้นนัก นานมาแล้วและก็ยังเป็นเด็กอยู่มากๆ (ช่วงต้น teen+/- ) เลยลงไปลึกไม่ได้
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 11 พ.ย. 19, 22:09

ผมมีข้อสังเกตดังนี้ครับ
1. การเห่เรือในขบวนเสด็จทางชลมารคไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระราชพิธี 12 เดือนโดยตรง ไม่มีการเห่เรือในพระราชพิธี 12 เดือนไม่ได้แปลว่าไม่มีการเห่เรือในสมัยอยุธยาหรือต้นรัตนโกสินทร์นะครับ
2. การโห่ร้องกับประโคมดนตรีในขบวนเสด็จทางชลมารคเป็นคนละอย่างกับการเห่เรือครับ

กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง​ นี่บรรยายกิจกรรมเห่เรือสมัยอยุธยาหรือเปล่าครับ​ หรือว่ามีเห่เรืออีกแบบ​?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 12 พ.ย. 19, 06:51

http://www.openbase.in.th/files/satienbook057.pdf


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 12 พ.ย. 19, 10:29

             นอกจากเพลงไทย ลอยกระทง บรรเลงโดยวงดนตรีตะวันตก ในคลิปก่อนหน้านี้แล้ว
ขอนำเสนอคลิปเพลงคลาสสิคบรรเลงประกอบการเสด็จประพาสทางชลมารค มาลงไว้ให้ฟังประกอบการอ่านกระทู้ด้วย



                ผลงานของ George Frideric Handel ประพันธ์ถวายพระเจ้าจอร์จที่ 1 ตามพระประสงค์เพื่อใช้
บรรเลงในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ.1717 เมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินประพาสทางชลมารคโดยเรือพระที่นั่ง
จากพระตำหนักไวท์ฮอลล์ (Whitehall) ไปยังเชลซี (Chelsea) ระยะทางประมาณ 3 ไมล์เศษ เป็นบทเพลง
ชุดเต้นรำ (French Suite) จำนวน 3 บท เป็นที่รู้จักกันในเวลาต่อมาว่า The Water Music Suite
โดยเขาลงมาเป็นผู้ควบคุมวงดนตรีมโหรีหลวงเล่นประกอบตลอดการล่องเรือในครั้งนี้ด้วยตนเอง
                พระเจ้าจอร์จที่ 1 ทรงพอพระทัยบทเพลงที่มีความยาวประมาณหนึ่งชั่วโมงนี้ยิ่งนัก โปรดให้เล่นซ้ำ
แล้วซ้ำอีกทั้งขาไปและกลับ จนกว่าจะสิ้นสุดเสียงลงก็เมื่อดึกดื่นหลังเที่ยงคืนจนนักดนตรีต่างอ่อนระโหยโรยแรง


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 12 พ.ย. 19, 15:42

ผมมีข้อสังเกตดังนี้ครับ
1. การเห่เรือในขบวนเสด็จทางชลมารคไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระราชพิธี 12 เดือนโดยตรง ไม่มีการเห่เรือในพระราชพิธี 12 เดือนไม่ได้แปลว่าไม่มีการเห่เรือในสมัยอยุธยาหรือต้นรัตนโกสินทร์นะครับ
2. การโห่ร้องกับประโคมดนตรีในขบวนเสด็จทางชลมารคเป็นคนละอย่างกับการเห่เรือครับ

กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง​ นี่บรรยายกิจกรรมเห่เรือสมัยอยุธยาหรือเปล่าครับ​ หรือว่ามีเห่เรืออีกแบบ​?

กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้งบรรยายขบวนพยุหยาตราทางชลมารค แต่ไม่ได้กล่าวถึงการเห่เลย มีแต่บอกการประโคมดนตรีและโห่ครับ

ดนตรีมี่อึงอล   ก้องกาหลพลแห่โหม
โห่ฮึกครึกครื้นโครม   โสมนัศชื่นรื่นเริงพล


น่าสังเกตว่าต่างจากขบวนพิธีพยุหยาตราทางชลมารคในปัจจุบันที่มีการเห่อยู่ด้วยกันเสมอ และบ่อยครั้งขบวนพยุหยาตราทางชลมารคจะถูกเรียกอย่างลำลองว่าขบวนเห่เรือนะครับ


บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 12 พ.ย. 19, 16:19

บทเห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

๏ ปางเสด็จประเวศด้าว   ชลาลัย
ทรงรัตนพิมานไชย   กิ่งแก้ว
พรั่งพร้อมพวกพลไกร   แหนแห่
เรือกระบวนต้นแพร้ว   เพริศพริ้งพายทอง ๚
กาพย์
๏ พระเสด็จโดยแดนชล   ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย   พายอ่อนหยับจับงามงอน
๏ นาวาแน่นเปนขนัด   ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือริ้วทิวธงสลอน   สาครลั่นครั่นครื้นฟอง
๏ เรือครุธยุดนาคหิ้ว   ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง   ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
สรมุขมุขสี่ด้าน   เพียงพิมานผ่านเมฆา
ม่านกรองทองรจนา   หลังคาแดงแย่งมังกร
สมรรถไชยไกรกาบแก้ว   แสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จร   ดั่งร่อนฟ้ามาแดนดิน
๏ สุวรรณหงษ์ทรงภู่ห้อย   งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงษ์ทรงพรหมินทร์   ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
๏ เรือไชยไวว่องวิ่ง   รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดม   ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน

ช้าลวะเห่
๏ คชสีห์ทีผาดเผ่น   ดูดังเปนเห็นขบขัน
ราชสีห์ทียืนยัน   คั่นสองคู่ดูยิ่งยง
๏ เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ   แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
เพียงม้าอาชาทรง   องค์พระพายผายผันผยอง
๏ เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน   โจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง
ดูยิ่งสิงห์ลำพอง   เปนแถวท่องล่องตามกัน
๏ นาคาหน้าดังเปน   ดูขะเม่นเห็นขบขัน
มังกรถอนพายพัน   ทันแข่งหน้าวาสุกรี
๏ เลียงผาง่าเท้าโผน   เพียงโจนไปในวารี
นาวาหน้าอินทรี   ทีปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม
๏ ดนตรีมี่อึงอล   ก้องกาหล พลแห่โหม
โห่ฮึกครึกครื้นโครม   โสมนัศชื่นรื่นเริงพล

๏ กรีฑาหมู่นาเวศ   จากนคเรศโดยสาชล
เหิมหื่นชื่นกระมล   ยลมัจฉาสารพันมี ฯ มูละเห่ ฯ

สวะเห่
๏ เห่แลเรือ เห่ละเห่เห เห่โหวเห่โห เหโหวเห่เห้ เห่เหเห่เหเห่ โอละเห่
๏ สาละวะเห่ โหเห่เห เหเห่ เหเห่เห โอละเห่
๏ ช้าละวะเห่ เหเห่ เห่เหเห่ โอละเห่ เจ้าเอยก็พาย พี่ก็พาย พายเอยลง
   พายลงให้เต็มพาย โอวโอวเห่
๏ ช้าละวะเห่ โหเห่เห เหเห เหเห่เห โอละเห่ มูละเห่ มูละเหเห่เห้
  โอเห้มารา โอเห้เจ้าข้า โอเห้เจ้าข้า มาราไชโย สีเอยไชย
  สีไชยแก้วเอย ไชยเอยแก้ว ไชยแก้วพ่อเอย โอวโอว ๚
สมุทรโฆษคำฉันท์

๏ ดลเดือนอาสยุชพิธี   เปนอุสภศรี
สรนุกนิเรียบเรือชา   
๏ ซ้ายไกรสรมุขมหิมา   ฝ่ายเบื้องข้างขวา
สมรรถไชยเจียรไกร   
๏ เพียบพลพายนั่งศรีไสว   ฆ้องกลองเอาไชย
แลพาทย์ดุริยดนตรี
   
๏ ไชยไชยสรมุขมหิษี   ไชยไชยจักรี
สมรรถไชยราชา
 ๏ พายแอ่นเอาไชยไปมา   พลพวงซ้ายขวา
ประเบียดแลเสียดตาตอม   
๏ หัวท้ายธงฉัตรปักจอม   นายกลางกรถนอม
กรลดกั้งกึ่งกลาง   
๏ พายขึ้นถึงกลางที่วาง   ทอดพวนขันขวาง
นทีแลเทียบเทียมหัว   
๏ สองฟากนํ้าพลชมชัว   บดห้องหาวมัว
แลมืดด้วยตัวพลพวง   
เสียงฆ้องไชยศัพท์รลวง   จึงวางเรือหลวง
ทั้งคู่แลควรคนชม   
พลพายทองพายสระสม   เสียงดุริยระงม
แลสังขก้องกาหล
   
ดุจเสียงฟ้าฟาดภูวดล   เสียงชลก้องกล
สมุทรดาลดำบรรพ์   

๏ สุดช้าชุกครแขงขัน   สรมุขแลสมรร -
ถไชยชิงไชยศรี
   
ถ้อยขึ้นถ้อยแขงมี่มี   ไชยเมื่อถึงที
จะใกล้ที่แดนยอพาย
   
๏ เพื่อท้าวเธอจะมีไชยพราย   พระยศฦๅสาย
สมรรถไชยมีไชย   
๏ ให้โลกทั้งภูวนัตไตร   รู้ว่าท้าวไท
จะมาล้างนิกรศัตรู   
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 12 พ.ย. 19, 17:03

ตำหรับนางนพมาศซึ่งเปนท้าวศรีจุฬาลักษณ์

     ครั้นระดูเดือนสิบเอ็ดชลาลดชายฝั่งถึงการพระราชพิธีอาศะยุชนักขัตฤกษ์ ชีพ่อพราหมณ์ก็สังเวยพระนารายน์ปางเกษียรสมุทรแลพระลักษมีพระมเหศวะดีโดยตำหรับ ชนประชาชาวพระนครต่างบอกกล่าวป่าวกัน พาบุตรนัดดาลงนาวาเปนพวกเปนเหล่า ตกแต่งกะรัชกายงามตามชาติตามตระกูล พายเนื่องแน่นกันมาจอดเรียงลอย คอยดูแข่งเรือพระที่นั่งเอกไชยทั้งสองฟากฝั่งตลอดเฉียบ จึ่งออกพระณรงค์ฤทธิรำบานชาญชลสินธุ ผู้ได้บังคับบัญชาเหล่าจำนำทหารเรือ ก็เบิกบายศรีสมโภชเชิญขวัญเรือพระที่นั่งเอกไชยอันงามงอนระหงทั้งสองลำสรรพเสร็จ พร้อมด้วยพลพายและเครื่องดนตรีสังคีตพระกันภิรมชุมสายตั้งรายตลอดลำ มีหมู่สิทธิไชยถือธงทองประจำหน้าท้ายเรือรูปตราตำแหน่งนายทหาร แห่ห้อมล้อมพายเห่ช้ามาสู่มณฑลทุ่นทอดท้องสนาม
     พระครูพราหมณ์พิธีศรีบรมหงษ์ก็อัญเชิญพระนารายน์ปางเกษียรสมุทร ลงทรงสถิตย์บุษบกเรือพระที่นั่งไชยเฉลิมธรณิน อันโลกสมมุติว่าเปนเรือพระยามีมาแต่โบราณ จึ่งพระครูเพทางคสาตรราชไตรเพทก็อัญเชิญพระลักษมีพระมเหศวะดี ลงทรงสถิตบุษบกเรือพระที่นั่งไชยสินธุพิมาน อันสมมุติว่าเปนเรือพระอรรคชายาราชมเหษีและคำกล่าวโดยตำหรับพระราชพิธีอาศะยุชว่า เรือพระที่นั่งไชยเฉลิมธรณินไชยสินธุพิมานทั้งสองลำนี้ เปนที่เสี่ยงทายแสดงความจำเริญและมิจำเริญแก่บ้านเมืองพลทหารชำนาญพาย ๆ แข่งกันมิได้ละลด ถ้าเรือทรงพระนารายน์คือเรือพระยามีไชยชำนะ ก็ทำนายว่าสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้าจะแผ่ผ้านพระเดชเดชานุภาพไปทั่วทิศานุทิศ ลูกค้าพานิชนานาประเทศ จะแตกตื่นกันมาเชยชมบรมโพธิสมภารพระเจ้าแผ่นดิน บ้านเมืองจะบริบูรณ์ด้วยสรรพสิ่งของต่างประเทศ ราคาซื้อขายจะย่อมเยาว์เบาค่าทุกสิ่งสินค้า ธัญญาหารมัจฉมังษาหารผะลาหารพานจะเสื่อมทรามฝืดเคืองไม่สู้อุดม เศษทำนายว่าสัตรีจะมีบุตรเปนชายโดยมาก หนึ่งโสดแม้ว่าเรือทรงพระลักษมี คือเรือพระอรรคชายามีไชยชำนะ ในตำหรับทำนายทายว่าบ้านเมืองจะบริบูรณ์ด้วยธัญญาหารมัจฉมังษาหารผะลาหาร น้ำอ้อยน้ำตาลสาระพัดของบริโภค อันลูกค้าพานิชซึ่งจะมาค้าขายชายจะเบาบาง สิ่งของต่างประเทศมิได้อุดมมัธยม เศษทำนายว่าสัตรีจะมีบุตรเปนธิดาโดยมาก ผิว่าเรือพระที่นั่งทั้งสองแข่งเสมอลำกันก็ทำนายว่า บ้านเมืองจะมิได้บริบูรณ์ทุกสิ่ง มีอาหารการกินเปนต้นในขวบปีนั้น แลธรรมเนียมทหารจำนำประจำพายนาวาคู่แข่ง ถ้าเรือพระที่นั่งลำใดได้ไชยชนะ ทหารพลพายประจำลำก็ได้รับพระราชทานขนอนในกรุงเช้าชั่วค่ำในวันนั้นเปนรางวัล ไปแบ่งปันกันตามบานพะแนกนายและไพร่
     ครั้นเพลาตระวันชายแสง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกณะพระที่นั่งชลพิมานชานชลา พระอรรคชายาแลราชประยูรวงษานุวงษ์พระสนมกำนัล โดยเสร็จสพรั่งพร้อม หมู่มุขมาตยาขี่เรือตาริ้วล้อมวงจอดลอยคอยรับราชบริหารอยู่รายเรียง เรือเที่ยวข่าวก็พายขยุมสุม บอกให้ยกธงเรือทุ่นทุก ๆ ลำเปนสำคัญสัญญา ให้วางเรือพระที่นั่งคู่แข่งลงมาถวายทอดพระเนตร์ พระครูพรหมพรตพิธีบรมหงษ์ และพระครูเพทางคสาตรราชไตรเพทก็อ่านวิษณุมนต์บันฦๅเสียงสังข์ปรายเข้าตอกดอกไม้ ทหารเรือแห่ก็โห่เอาไชยขึ้นสามลา ชาวดุริยางค์ในพระที่นั่งลำแข่ง ก็ประโคมสังคีตประสานเสียงเสนาะเพราะบันเลงเพลงล่องเรือ
     โหราลั่นฆ้องฤกษ์สิทธิไชยก็โบกธงหน้าท้าย พลพายออกเรือพระที่นั่งทั้งคู่พร้อมกัน เสียงคนแห่คนดูโห่ร้องอวยไชยให้พรเอิกเกริกก้องโกลาหลทั้งสองฟากฝั่ง เรือพระที่นั่งเอกไชยคู่แข่งงอนระหงงามอร่ามด้วยแสงสุวรรณวิไลยเลขา บุษบกบัลลังก์แลระยับจับสายน้ำไหล เครื่องสูงสล้างรายเรียงหน้าท้ายธงทองธวัช พลพายใส่เสื้อแดงหมวกแดงดูงามสง่ากรายพรายทองดังจะบินฟ้าพาเรือแล่น ดูผาดโผนมากลางสายชลชะลาทั้งคู่แข่งกันขึ้นกันลดล่วงลงมาถึงหน้าฉาน เรือพระที่นั่งเอกไชยเฉลิมธรณิน ก็เหลื่อมลำแล่นเลยพระที่นั่งไชยสินธุพิมาน บรรดาคหบดีเศรษฐีพวกพ่อค้าก็ยินดีต่างตบมือโห่ร้องรำฟ้อนไปทั้งท้องน้ำ พลพายลำข่มมีน้ำใจพายหนีมาถึงเฉียบขาดพระที่นั่งเอกไชยเฉลิมธรณินมีไชยชำนะ ทหารแห่และพลพายก็เฮฮาบ่ายหน้าเรือพายกรายเห่ช้ามาลอยถวายลำอยู่ตรงหน้าฉาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระโสมนัศเบิกบานสำราญราชหฤไทยตรัสประภาษเชยชม แล้วโปรดให้พระราชทานรางวัลอย่างแต่หลัง ฯ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 12 พ.ย. 19, 17:13


“I confess that when the King's Ambassadors entered in the River, the Beauty of the Show surprised me.  The River is of an agreeable breadth, and notwithstanding its Meanders, there is always discovered a very great extent of its Chanel, the Banks where of are two Hedge-tows continually green. This would be the best Theater in the World for the most sumptuous and magnificent Feasts but no Magnificence appears like a great number of men devoted to serve you. There were near three Thousand embarks in seventy or eighty Balons, which made the Train of the Ambassador. They rowed in two ranks, and left the Balons with the King's Ambassadors in the middle. Everyone was animated and in motion : All eyes were taken up with the diversity and number of the Balons, and with the pleasantness of the River's Channel ; and yet the ears were diverted by a barbarous, but agreeable noise of Songs, Acclamations and Instruments ; in the intervals of which the Imagination ceased not to have a sensible taste of  the natural silence of the River. In the night there was another
sort of Beauty, by reason that every Balon had its Lanthorn ; and that a noise which pleases, is much more pleasant in the night.”

De la Loubere (1689)

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.123 วินาที กับ 20 คำสั่ง