เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 22628 ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 08 พ.ย. 19, 11:57

สระน้ำในเมืองเก่าสุโขทัย
ไม่ขุดไว้ใช้ลอยกระทง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 08 พ.ย. 19, 11:59

ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ไม่ใช่วงศ์สุโขทัย
แต่เป็นเชื้อวงศ์สุพรรณภูมิ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 08 พ.ย. 19, 12:01

ท้าวศรีจุฬาลักษณ์
(ต่อ)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 08 พ.ย. 19, 12:02

หนังสือนางนพมาศ เจ้าฟ้ากุ้ง
ไม่มีเห่เรือ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 08 พ.ย. 19, 12:07

เห่เรือ และ เรือพระราชพิธี
มาจากไหน?


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 08 พ.ย. 19, 18:20

ลอยกระทง - สารทจีน - เทวทีปาวลี

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=844.msg158584#msg158584
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 09 พ.ย. 19, 19:05

หนังสือนางนพมาศ เจ้าฟ้ากุ้ง
ไม่มีเห่เรือ

สมัยอยุธยามีบันทึกถึงเห่เรือพระที่นั่ง​ และพิธีลอยกระทงแน่นอน​
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 09 พ.ย. 19, 19:20

หนังสือนางนพมาศ เจ้าฟ้ากุ้ง
ไม่มีเห่เรือ
เอ   แล้วถ้างั้นในกาพย์เห่เรือ ของเจ้าฟ้ากุ้งตอนนี้  พลพายเขาร้องอะไรกันคะ  จะว่าร้องเพลงก็ไม่น่าจะใช่นะคะ

เรือครุธยุดนาคหิ้ว            ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง   ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 09 พ.ย. 19, 21:26

ในสมัยกรุงศรีอยุทธยา ลอยโคมประทีปทำด้วยกระกาษครับ


จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์บันทึกการชักโคมและลอยประทีปของชาวสยามไว้ว่า

        "อนึ่ง  ชาวสยามมีมหรสพเนื่องในการพระศาสนาด้วย ลุฤดูน้ำเริ่มลด ประชาชนพลเมืองจะแสดงความขอบคุณแม่คงคาด้วยการตามประทีปโคมไฟขนาดใหญ่ (ในแม่น้ำ) อยู่หลายคืน มิชั่วแต่แม่คงคาจะลดราถอยไปเท่านั้น ยังอำนวยให้พื้นดินที่จะทำการเพาะปลูกอุดมดีด้วย เราจะได้เห็นทั้งลำแม่น้ำเต็มไปด้วยดวงประทีปลอยน้ำ (กระทง) ไปตามกระแสธาร มีขนาดใหญ่ย่อมต่างกันตามประสาทะของแต่ละคน และมีกระดาษสีต่างๆ ซึ่งประดิษฐ์คิดทำกันขึ้นประดับประดาเครื่องลอบประทีปนั้น เพิ่มให้แสงสีงดงามขึ้นอีก. โดยนัยเดียวกัน เพื่อแสดงความขอบคุณต่อแม่พระธรณีที่อนุเคราะห์ให้เก็บเกี่ยวพืชพรรณธัญญาหารได้อย่างอุดมสมบูรณ์ในวันต้นๆ ของปีใหม่ ชาวสยามก็จะตามประทีปโคมไฟขึ้นอย่างมโหฬารอีกครั้งหนึ่ง"



ในจดหมายเหตุราชทูตลังกาเข้ามาขอพระสงฆ์สยามสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ระบุว่าในพระราชพิธีจองเปรียงมีการลอย "โคมกระดาษทำเป็นรูปดอกบัว" กับ "ดอกไม้น้ำ" ลงในแม่น้ำด้วย

       "ตามบรรดาวัดริมฝั่งน้ำทั้ง ๒ ฟาก ทุกวัดต่างปักไม้ไผ่ลำยาวขึ้นเป็นเสา โน้มปลายลงมาผูกเชือกชักโคมต่างๆ (ครั้นได้เวลา) พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาเสด็จโดยกระบวนเรือพร้อมด้วยกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ แลเจ้าพระยามหาอุปราช เรือที่เสด็จล้วนปิดทองมีกันยาดาดสีแลผูกม่าน ในลำเรือปักเชิงทองแลเงิน มีเทียนจุดตลอดลำ มีเรือข้าราชการล้วนแต่งประทีปแห่นำตามเสด็จด้วยเป็นอันมาก แลในการพิธีนี้ ยังมีโคมกระดาษทำเป็นรูปดอกบัวสีแดงบ้าง สีขาวบ้าง มีเทียนจุดอยู่ในนั้น ปล่อยลงน้ำลงมาเป็นอันมาก จะนับจะประมาณมิได้ นอกจากลอยโคม ยังมีการจุดดอกไม้น้ำกันอีกเป็นอันมาก และมีระบำดนตรีมาในเรือด้วย ต่อกระบวนเสด็จถึงเรือกระบวนผ้าแห่ไตรแลเครื่องบริขารเป็นของทรงพระราชอุทิศแก่พระสงฆ์ตามพระอารามในพระนคร แลพระอารามที่อยู่ตามริมแม่น้ำในการพระราชพิธีนี้

       การพระราชพิธีที่พรรณนามานี้ ข้าราชการไทยอธิบายแก่ทูตานุทูตว่า เป็นราชประเพณีเคยทำมาในกรุงศรีอยุธยาแต่ดึกดำบรรพ์ ทำวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนพินระวัน ๑ วันกลางเดือนนั้นวัน ๑ วันแรมค่ำ ๑ วันแรม ๗ ค่ำ วันแรม ๘ ค่ำ แลวันต้นเดือนเมื่อพ้นแต่วสาแล้ว พระราชพิธีอันนี้ ทำเพื่อการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (ซึ่งบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์) ในดาวดึงสพิภพ แลบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งพระยานาคได้กราบทูลอัญเชิญสมเด็จพระพุทธองค์ให้ทรงประดิษฐานไว้เหนือหาดทรายฝั่งแม่น้ำนัมมานที

        รุ่งขึ้น ณ วันพุธ ข้าราชการไทย ๒ คน นำทั้งโคมบัวแลดอกไม้น้ำมายังที่พักทูตานุทูต บอกว่าเป็นของพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาพระราชทานมาเพื่อให้ทูตานุทูตได้บำเพ็ญการกุศลในพระราชพิธีนั้นด้วย พวกทูตานุทูตจึงลงเรือไปกับข้าราชการไทย ได้จุดโคมบัวลอยน้ำแลจุดดอกไม้น้ำซึ่งพระราชทานมา ทั้งเมื่อวันพุธแลต่อไปในวันพฤหัสบดีแลวันศุกร์ รวม ๓ วัน"



จะเห็นได้ว่าในสมัยอยุทธยามีการลอยประทีปแล้ว  เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีช่วงปลายปีและลอยกันหลายวัน ไม่ได้ลอยวันเดียวเหมือนปัจจุบัน โดยในสมัยอยุทธยาตอนปลายประทีปมีลักษณะเป็นโคมกระดาษ จึงปรากฏในกฎมณเฑียรบาลเรียกว่า "ลอยโคม"  เข้าใจว่าได้อิทธิพลมาจากจีนที่มีการทำโคมรูปดอกบัวเหมือนกัน

ส่วนดอกไม้น้ำอาจจะลักษณะคล้ายกระทงดอกไม้ในสมัยหลัง   พอถึงสมัยรัตนโกสินทร์เข้าใจว่าเปลี่ยนมาใช้ดอกบัวสด ปักเทียนบ้าง เย็บใบตอง ใบพลับพลึง ทำเป็นกระทงเจิมปักทูปเทียนดอกไม้ หรือทำเป็นเรือหยวกปักธูปเทียนดอกไม้  จึงปรากฏเรียกว่า "ลอยกระทง" สืบมาครับ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 10 พ.ย. 19, 10:57

สุจิตต์ วงษ์เทศ : เห่เรือ มีครั้งแรก สมัย ร.4 กรุงรัตนโกสินทร์ กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง ยุคอยุธยา ไม่ใช้เห่เรือ

นสพ.มติชน วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559

         เห่เรือ ที่เข้าใจกันทุกวันนี้ หมายถึงขับลำนำเป็นทำนองอย่างหนึ่งในกระบวนเรือพระราชพิธีพยุหยาตรา
ทางชลมารค


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 10 พ.ย. 19, 10:59

กาพย์เห่เรือ
ไม่ใช้เห่เรือ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 10 พ.ย. 19, 11:00

ยุคอยุธยา ไม่พบเห่เรือพระที่นั่ง
เห่เรือ เมื่อจอดกลางน้ำ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 10 พ.ย. 19, 11:08

โคลงทวาทศมาส
เห่ กล่อม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 10 พ.ย. 19, 16:06

ยุคอยุธยา ไม่พบเห่เรือพระที่นั่ง
เห่เรือ เมื่อจอดกลางน้ำ
ข้อความนี้ไม่ถูกต้องแน่ๆ​ ครับ
ในสมัยพระเจ้าปราสาททองมีเห่เรือพระที่นั่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 10 พ.ย. 19, 17:10

รู้สึกมั่วๆนะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 20 คำสั่ง