เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 9997 คนสมัยก่อนนั้นสามารถเข้าไปสักการะพระแก้วมรกตได้เหมือนสมัยนี้ไหมคะ
วารุวิชญ
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


 เมื่อ 18 พ.ย. 12, 21:33

เรียนถามท่านผู้รู้ค่ะ  ว่าในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ในช่วงรัชกาลที่ ๑-๓ ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าสักการะหรือฟังเทศน์ฟังธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้เหมือนปัจจุบันหรือไม่คะ  คิดเองว่า ถ้าไม่ให้เข้าไปผู้คนจะได้ชมบารมีองค์พระแก้วหรือจะทราบได้อย่างไรว่ามีพระแก้วเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของสยาม  สงสัยมานานแล้ว พยายามค้นก็ยังไม่พบ พบแต่ว่ามีการสร้างศาลารายเพื่อให้คนมาฟังธรรมในวันพระ แต่ก็ยังสงสัยอยู่ดีค่ะ  ขอบคุณมากค่ะ
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 พ.ย. 12, 09:34

ผมว่าประชาชนธรรมดาท่าจะเข้าไปได้ยากมากถึงมากที่สุดเพราะอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส และใช้ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 พ.ย. 12, 09:51

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จะมีการเปิดให้ประชาชนเข้านมัสการพระแก้วมรกตและฟ้งเทศน์ได้ในวันพระ ๘ ค่ำและ ๑๕ ค่ำ โดยมีประกาศออกจากวัง ประกาศให้ประชาชนได้รับทราบให้เข้ามาฟังเทศน์ได้
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 พ.ย. 12, 13:43

ภาพวัดพระแก้วของ ทอมสัน 


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 พ.ย. 12, 13:44

ดูแล้วไม่เห็นคนเลย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 19 พ.ย. 12, 14:38

นิราศพระยาโสภณพัทลุงกุล พ.ศ.2422 กล่าวไว้ว่าเมื่อทำธุระราชการเสร็จแล้วจึงเข้าไปเที่ยวที่วัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง
ต้องรอช้าอยู่ในกรุงเทพฯ    กำสรวลเสพแต่ทุกข์ไม่สุขศรี
ไม่รู้แน่จะได้ไปวันใดดี   ทุกราตรีอ่วนอักพะวักพะวง
ชวนคุณโตไปในพระราชฐาน      นมัสการพระแก้วตามประสงค์
โดยยินดีมีจิตคิดจำนง    ตามเจตน์จงเลื่อมใสใจศรัทธา
เข้าในโบสถ์โชติช่วงด้วยดวงแก้ว   งามเพริศแพร้วพรรณรายลายเลขา
พื้นปูเสื่อเงินแทนแผ่นศิลา   โคมระย้าแขวนห้อยลอยตระการ
..
พี่จุดธูปเทียนแจ้งแสงสว่าง   น้อมเบญจางคประดิษฐ์ปูชิตถวาย
ครบสามครั้งตั้งอารมณ์ลมสบาย   พร้อมทั้งกายวาจาจิตอุทิศพลัน
...
เที่ยวเดินวนจนรอบอุโบสถ   ดูทั่วหมดภาพเขียนไม่เพื้ยนผิด
แล้วออกนอกวัดพลันชวนกันคิด   ก็พร้อมจิตถ้วนหน้าพากันไป   
เที่ยวเดินชมพระบรมราชนิเวศน์   ของทรงเดชธิบดินทร์ปิ่นมไห
...
เสร็จประกาศปรารถนาพากันกลับ   อาทิตย์ดับจันทร์ช่วงดวงเด่นเปลี่ยน
รีบเร็วเดินตัดตรงไม่วงเวียน   ถึงท่าเตียนสู่บ้านสำราญใจ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 19 พ.ย. 12, 15:55

อ้างถึงการขนย้ายปราสาทหิน สมัยรัชกาลที่ ๔ จนทำให้พระองค์ต้องจำลองปราสาทหินนครวัด จำลองเข้ามาในวัดพระศรีรัตนศาสาดาราม "เพื่อให้ประชาชนได้มาดูของปลาด"

ย่อมแสดงว่าผู้คนย่อมเข้ามาดู เข้ามาในบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้

บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 19 พ.ย. 12, 19:39

นิราศพระยาโสภณพัทลุงกุล พ.ศ.2422 กล่าวไว้ว่าเมื่อทำธุระราชการเสร็จแล้วจึงเข้าไปเที่ยวที่วัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง
...


นิราศเมืองปะเหลียน หรือไม่  ฮืม

บันทึกการเข้า
วารุวิชญ
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 พ.ย. 12, 09:41

ขอบคุณมากค่ะทุกท่าน
คงต้องค้นคว้ากันต่อไป  สงสัยอยู่ว่า ถ้าผู้คนทั้งหลายไม่ได้เข้าไปสักการะหรือได้เห็นวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  พวกเขาจะเข้าใจได้อย่างไรว่าพระแก้วมรกตนั้นเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของเรา
ในนิราศที่ท่านนำมาเล่าให้ฟังนั้น ดูเหมือนเป็นขุนนางหรือเปล่าค่ะจึงเข้าไปสักการะได้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 พ.ย. 12, 11:00

ความรู้เรื่องราวความรับรู้เกี่ยวกับพระแก้วมรกตเข้ามามีบทบาทในเรื่องการพิมพ์เอกสารเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มาแล้ว โดยทรงพระราชนิพนธ์ "ตำนานพระแก้วมรกฎ" ทรงไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๗ ตีพิมพ์ด้วยระบบพิมพ์หิน พร้อมกับให้ช่างถ่ายแบบรูปพระแก้วมรกต ตีพิมพ์หลายภาษา เช่น ภาษาลาติน, ภาษาอังกฤษ, ภาษาจุลณีบทคาถา, ภาษามคธ, ภาษาสยาม ตีพิมพ์ออกให้ชาวต่างประเทศได้รับรู้รับทราบมาโดยตลอด ดังนี้แล้วสังคมไทยสมัยก่อน ก็รู้และรับทราบมาโดยตลอดถึงความมีและศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์พระแก้วมรกต

แนบภาพพิมพ์ตัวอย่างแผ่นหนึ่งที่พระราชทานแด่ เซอร์ จอห์น บาวริ่ง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 พ.ย. 12, 11:26

แนบภาพพิมพ์ตัวอย่างแผ่นหนึ่งที่พระราชทานแด่ เซอร์ จอห์น บาวริ่ง

ปรากฏอยู่ในหนังสือ The kingdom and People of Siam เล่ม ๑ ของ เซอร์จอห์น เบาริ่ง พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 พ.ย. 12, 11:39

พระแก้วมรกต ในหนังสือ  The Land of The White Elephant ของ Frank Vincent พิมพ์ครั้งแรกที่ลอนดอนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 21 พ.ย. 12, 11:39

แนบภาพพิมพ์ตัวอย่างแผ่นหนึ่งที่พระราชทานแด่ เซอร์ จอห์น บาวริ่ง

ปรากฏอยู่ในหนังสือ The kingdom and People of Siam เล่ม ๑ ของ เซอร์จอห์น เบาริ่ง พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐

 ยิงฟันยิ้ม

ใช่แล้วครับคุณเพ็ญฯ ซึ่งท่านเซอร์ จอห์น บาวริ่ง นำไปตีพิมพ์ในเวลาต่อมา ด้วยสีสันอันสวยงาม และยังมีภาพลายเส้น (Engraving) อีกด้วยครับ ทั้งนี้จะเห็นอย่างหนึ่งว่า ภาพองค์พระแก้วมรกตในหนังสือจะขาดคำบรรยายสำหรับแต่ละฤดูนะครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 21 พ.ย. 12, 11:51

ภาพวาดบนผืนผ้าที่คุณหนุ่มนำมาแสดงนี้ รัชกาลที่ ๔ ยังโปรดให้คณะราชทูตสยามเชิญไปถวายพระจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ แห่งฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๔ ปัจจุบันเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ในห้องพิพิธภัณฑ์จีน ในพระราชวังฟงแตนโบล (Château de Fontainebleau) ประเทศฝรั่งเศส

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
วารุวิชญ
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 22 พ.ย. 12, 23:59

ขอขอบพระคุณในข้อมูล ที่ท่านๆ นำมาเล่าให้ฟังนะคะ
ไม่เคยเห็นมากก่อนเลย เป็นบุญตายิ่งนัก 
แสดงว่า  อย่างน้อย ในสมัย ร.๔ ผู้คนส่วนหนึ่งก็คงได้เห็นพระแก้วมรกตผ่านทางภาพพิมพ์แล้ว 

ดูในโคลงสรรเสริญพระเกียรติ รัชกาลที่ ๑ (ของพระชำนิโวหาร) ก็กล่าวแต่การสมโภชวัดพระแก้ว ว่ามีหมู่มนตรีเข้าไปฟังเทศน์ คงมีเพียงขุนนางเท่านั้นกระมังคะที่เข้าไปได้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง