เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 13599 ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
sigree
อสุรผัด
*
ตอบ: 54


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 11:08

อ้างถึง
ผมมองว่าการเลือกคำนี้ทำให้เกิดความจำกัดในการศึกษาพอสมควร  อาคารที่เกิดจากผลพวกของอาคารแนว เนียงยา ในไทยไม่ค่อยได้รับการศึกษานักเพราะไม่จัดในกลุ่มเดียวกัน  ทั้งๆที่มีวัฒนธรรมร่วมกัน

อาคารแนวเนียงยาคืออะไรคะ

เนียงยา Nyonya บางสำเนียงเรียก ยอนยา  บางครั้งเรียกกลุ่มนี้ว่า Peranakan"เปอรานากัน" ซึ่งเป็นกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยนที่อาศัยอยู่ทั่วแหลมมลายู(ผมหมายถึงภาคใต้ไทยด้วยนะ) แล้วแต่งานกับคนท้องถิ่นซึ่งโดยมากเป็นมลายู

ส่วนใหญ่จะอาศัยที่ SOM หรือ Strait of Malacca ช่องแคบมะละกา บางครั้งเรียกตัวเองว่า Cino Melaka หรือ จีนช่องแคบ

เป็นกลุ่มวัฒนธรรมที่อยู่ในบ้านแบบที่คนไทยเรียก ชิโนโปรตุกิส  นั้นแหละครับ  มีวัฒนธรรมผสมจีนและมลายู  หากสนใจลองหาหนังสิงคโปร Little Nyonya มาชม

ลองดูอาหาร การแต่งตัว การกินอาหารกับมือ(พวกนี้เดิมไม่ใช่ตะเกียบ)  จะว่าไปเคยมีสำรวจว่าคนกลุ่มนี้พูดจีนหรืออ่านจีนไม่ได้ด้วย และพูดมลายูและเขียนยาวีได้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 11:15

ขอทราบความแตกต่างระหว่าง "เนียงยา" กับ "บาบ๋า" หน่อยครับ

หย่าหย๋า หรือ บาบ๋า เป็นคำเรียกถึงชาวจีนฮกเกี้ยนที่แต่งกับชาวมาเลย์พื้นเมือง หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นพันธุ์ทาง มีลักษณะการแต่งกายผสมผสานกันระหว่างจีนและมาเลย์..ที่มา สยามประเภท
บันทึกการเข้า
sigree
อสุรผัด
*
ตอบ: 54


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 11:38

ขอทราบความแตกต่างระหว่าง "เนียงยา" กับ "บาบ๋า" หน่อยครับ


หย่าหย๋า หรือ บาบ๋า เป็นคำเรียกถึงชาวจีนฮกเกี้ยนที่แต่งกับชาวมาเลย์พื้นเมือง หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นพันธุ์ทาง มีลักษณะการแต่งกายผสมผสานกันระหว่างจีนและมาเลย์..ที่มา สยามประเภท
บาบ๋า เป็นคำเรียกผู้ชายของ เนียงยา

คนมลายูท้องถิ่นบางครั้งเรียกกลุ่มนี้ว่า พวก บาบ๋า
ส่วน หย่าหย๋า ไม่แน่ใจจริงว่าเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า ยอนยา ที่หมายถึง ชาวเนียงยาอีกคำไหม?

หลายคนสงสัยทำไมมีหลายคำ  ต้องบอกแล้วแต่พื้นที่และสำเนียงของภาษาครับ

ในสำเนียงมลายู บางท้องถิ่น สระ า  จะออกเสียงเป็น ออ และ อัง แล้วแต่พื้นที่ไป

เท่าที่เคยสัมผัส กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ลูกผสมหรือไม่งั้นก็อยู่ในพื้นที่นานมาก มากกว่า 3 รุ่น และมีทั้งลูกครึ่งและไม่ใช่ลูกครึ่  แต่โดยความคืออยู่มานาน นานจนส่วนใหญ่พูดหรือเขียนจีนไม่ได้อย่างที่บอก
ใช่วัฒนธรรมผสม
สังเกตจากชุด เสื้อแบบมาเลย์ ผ้าถุงปาเต๊(บาติกในสำเนียง อินโด)

แต่ดัดแปลงให้กระชับ แขนสั้นขึ้นเพื่อสะดวกในการทำงาน
ชุดมาเลย์ บายู กุหรง


ส่วนคนจีนที่เป็นจีนแบบจีนเลยนั้นแยกไปอีกกลุ่มเลยครับ  เหมือนพ่อค้าสำเภามากกว่า มาแล้วก็ไปมีบ้างที่อยู่ในพื้นที่แต่ก็ถือเป็นอีกกลุ่มไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 14:12

เคยได้ยินคำว่า "บ้าบ๋า" และ "ย่าหยา" สมัยยังเด็ก    ผู้ใหญ่ออกเสียงอย่างนี้ค่ะ   ถามว่าเป็นพวกไหน แม่บอกว่าเป็นคนจีนผสมมลายู (สมัยนั้นยังไม่มีคำว่ามาเลย์)  เขามีวัฒนธรรมหลายอย่างของเขาเอง รวมทั้งการแต่งกายด้วย 
ผู้หญิงมีคำเรียกว่า ย่าหยา  ผู้ชายเรียกว่า บ้าบ๋า

ต่อมาเคยไปประชุมเรื่องวรรณกรรมที่บาหลี   ผู้ร่วมประชุมเป็นคนจีนจากสิงคโปร์  เธอออกเสียงว่า บาบา กับ ยายา   ไม่ได้ออกเสียงสูงอย่างคนไทย      ฟังอยู่หลายครั้งกว่าจะนึกขึ้นมาได้ว่าน่าจะหมายถึงบ้าบ๋ากับย่าหยาน่ะเอง


บันทึกการเข้า
sigree
อสุรผัด
*
ตอบ: 54


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 15:14

เรือนแถวแบบมลายู

เกิดหลังเรือนแถวแบบ ชิโนฯ ชาวมลายูเลยเอาอย่าง



อย่างไรก็ดี เรื่องแถวแบบนี้มีไม่มาก  เพราะมลายูทำกันเองไม่เหมือนในเขตของชาวเนียงยา ที่มีกฏหมายควบคุมจากอังกฤษ เลยมีเป็นหลังๆกระจายไป ไม่ได้มีเป็นย่านแบบ อาคารตระกูลชิโนฯ

อย่างที่บอกนั้นแหละครับ ผังเหมือนกัน ด้านหน้า 2 ชั้น ตรงกลางเปิดโล่งมีบ่อ ด้านหลังเป็นครัว
บันทึกการเข้า
sigree
อสุรผัด
*
ตอบ: 54


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 15:22

แต่ปูนเป็นของแพง  เลยทำให้เกิดห้องแถวไม้แทน

ซุึ่งถือว่าผิดความตั้งใจเดิมมาก  เพราะการสร้างอาคารปูนเนื่องจากอังกฤษกลัวไฟไหม้  เลยสั่งให้สร้างอาคารเป็นปูน และมีทางเดินหลบฝน(ระบุเป็นกฏหมาย) เลยเกิดอาคารแนวชิโนฯ

เรือนแถวไม้ที่เกิดขึ้นถือว่าผิดจุดประสงค์เดิม  และมีแต่นอกเขตปกครองพิเศษอังกฤษ

แต่เหมือนเดิมคือ 2 ชั้น ตรงกลางเปิดโล่งมีบ่อ

ยังคงระบบเสา ทางเดินลอดเช่นเดิม



อีกหลังของสายบุรี ทรงกลันตัน



สิ่งที่เปลี่ยนไปคือซุ้มทางเดินหายไป เพราะอาคารแบบไม้ไม่ต้องมีเสามารับแบบอาคารปูน  แค่ยื่นหลังคาออกไปและอาคารที่ยื่นแบบนี้ถือเป็นยุคสุดท้ายของบ้านแบบห้องแถว
บันทึกการเข้า
sigree
อสุรผัด
*
ตอบ: 54


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 15:34

เทียบให้ดู ไม้กับปูน



บันทึกการเข้า
sigree
อสุรผัด
*
ตอบ: 54


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 15:38

แบบสุดท้าย บ้านแถวชนบท

คือเห็นในเมืองแล้วเอากลับไปทำในเขตชนบท


จริงๆค่อนข้างตลก  เพราะที่ตามชนบทเยอะแต่มีบ่อในบ้านเหมือนกัน  ที่พิเศษอีกอย่างคือ บางหลังอาคารด้านหน้าชั้นเดียว ผิดจุดประสงค์ที่สร้างเพื่อค้าขาย  อันนี้สร้างเพื่ออยู่เลียนแบบคนเมือง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 17:34

อาคารแบบที่ยังเรียกกันว่าชิโน-โปรตุกีส ในภูเก็ต


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 18:15

ที่ประเทศโปรตุเกส มีพิพิธภัณฑ์ของโลกตะวันออกที่ได้เก็บรวบรวมสิ่งชองที่โปรกุเกสเป็นเจ้าอาณานิคม และถ่ายทอดศิลปะต่าง ๆ โดยเรียกศิลปด้านสถาปัตยกรรมเหล่านี้ว่า "Indo-Potugese" โดยลักษณะเป็นห้องแถวมีทางเดินด้านหน้า ซึ่งกว้าง 5 ฟุต จีนเรียกว่า "หง่อพาขี่" เป็นทางเดินเท้าที่ให้คนเดินหน้าร้าน ด้านบนก็เป็นพื้นที่ระเบียง ซึ่งสถาปัตยกรรมแบบนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งพระองค์ได้โปรดเกล้าฯให้ถ่ายแบบลักษณะโครงสร้างดังกล่าวมาทำการสร้างตึกแถวในถนนบำรุงเมือง และอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๕ หลังจากเสด็จประพาสสิงคโปร์เมื่อต้นรัชกาล ก็โปรดให้ถ่ายแบบอาคารห้องแถวเหล่านี้มาปลูกสร้างเพิ่มเติมตามถนนสายต่าง ๆ ในพระนคร
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 21:15

อันนี้ขอเรียนถามหน่อยครับ คำว่า Nyonya คนมาเลเซียกับอินโดนิเซียออกเสียงว่า น่อนหยา

คำว่า เหนียงยา ผมไม่เคยได้ยินมาก่อน เลยไม่แน่ใจว่าเป็นสำเนียงแบบไหน แต่ถ้าออกเป็นภาษาจีน แบบจีนกลาง ออกเสียง เหนียงเร่อ (娘惹:niang re)

ถ้าแบบภาษาฮกเกี้ยนออกเสียงอย่างไรไปตามฟังได้จากเว็ปนี้ http://cn.voicedic.com/ แล้วก็กด ที่ปุ่มว่า 闽南话

คำว่า น่อนหยา ใช้เรียกผู้หญิง ส่วนผู้ชาย เรียกว่า บ้าบ๋า (峇峇)

คนกลุ่มนี้เรียกโดยรวมว่า เพอรานากัน แปลว่าเกิดในท้องถิ่น

คนกลุ่มนี้เป็นลูกผสมจีนฮกเกี้ยนกับชาวมลายูท้องถิ่น แต่ภายหลังไม่ใช้ฮกเกี๊ยนก็พอนับผ่านไปได้ แต่โดยมาถือเอาลูกผสมมลายูกับฮกเกี้ยนเป็นหลัก

พวกนี้พูดภาษาจีนฮกเกี้ยนได้บางพอเป็นพิธี แต่เลือนหายไปเยอะแล้ว โดยมาพูดเป็นภาษามลายูพื้นถิ่น

อย่างไรก็ตาม ชาวภูเก็ตที่เราถือว่าเป็นพวกบ้าบ๋า ไม่เหมือนใครอื่น กล่าวคือ เราไม่นับเฉพาะลูกจีนที่เกิดจากชาวฮกเกี้ยนเท่านั้น ลูกจีนใดๆนับหมด ขอให้เกิดในไทยก็พอ และเราจะไม่เรียกว่า ย่าหยา บ้าบ๋า แต่เรียกรวมๆว่าบ้าบ๋าไปเลย

อนึ่ง บ้านตึกแถวไม้แบบนั้น มีที่โล่งตรงกลางน่าอยู่มาก เพราะมันเย็น - เป็นผู้มีประสบการณ์ตรง เพราะบ้านตัวเองเป็นเช่นนั้นแล คุณตาเป็นจีนไหหลำมาจากทางใต้ ก่อนมาอยู่ชัยภูมิ ไม่รู้ไปลอกแบบมาหรือเปล่า แต่เหมือนกันทุกประการ

ทุกวันนี้ตึกแถวไม้แบบมีทางเดินคุมแดดคุมฝนยังมีอยู่ในชัยภูมิ แต่ควรรีบไปดูโดยไว เพราะหายไปเยอะแล้ว

บันทึกการเข้า
sigree
อสุรผัด
*
ตอบ: 54


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 23:02

ที่ประเทศโปรตุเกส มีพิพิธภัณฑ์ของโลกตะวันออกที่ได้เก็บรวบรวมสิ่งชองที่โปรกุเกสเป็นเจ้าอาณานิคม และถ่ายทอดศิลปะต่าง ๆ โดยเรียกศิลปด้านสถาปัตยกรรมเหล่านี้ว่า "Indo-Potugese" โดยลักษณะเป็นห้องแถวมีทางเดินด้านหน้า ซึ่งกว้าง 5 ฟุต จีนเรียกว่า "หง่อพาขี่" เป็นทางเดินเท้าที่ให้คนเดินหน้าร้าน ด้านบนก็เป็นพื้นที่ระเบียง ซึ่งสถาปัตยกรรมแบบนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งพระองค์ได้โปรดเกล้าฯให้ถ่ายแบบลักษณะโครงสร้างดังกล่าวมาทำการสร้างตึกแถวในถนนบำรุงเมือง และอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๕ หลังจากเสด็จประพาสสิงคโปร์เมื่อต้นรัชกาล ก็โปรดให้ถ่ายแบบอาคารห้องแถวเหล่านี้มาปลูกสร้างเพิ่มเติมตามถนนสายต่าง ๆ ในพระนคร

ผมไม่เข้าใจนะ

คนไทยส่วนใหญ่ ผมใช่คำว่าส่วนใหญ่พยามเรียกคำว่า หงอกากี เป็นคำอื่น  หง่อพาขี่  หงอคากี่ หงอพาชี ฯลฯ ส่วนใหญ่เข้าใจด้วยว่าคำนี้มาจากภาษาจีน 100 % ทั้งๆที่คำนี้ลูกผสม

มีระบุอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติถลาง และพิพิธภัณฑ์ในมะละกา และ ปีนัง ว่าซุ้มโค้งทางเดินเรียก

หงอคากี Goh kha ki

หงอ = 5 (เป็นภาษาจีน) สะกด Goh
คากี=เท้า ก้าว (ภาษามาเลย์) สะกด  kha ki เพี้ยนเสียงจากคำว่า กากี Kaki-เท้า

มีระบุอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติถลาง และพิพิธภัณฑ์ในมะละกา และ ปีนัง

ในบางท้องถิ่นเรียก กากีลีมา Kaki Lima หรือ Kaki-เท้า Lima-ห้า

Nyonya หยอนยา ครับ

ขออภัย ตัว NY นานๆเจอที  ติดวิธีการอ่านแบบภาษาอังกฤษ ในอักษรมาเลย์แบบไม่ควรให้อภัย
ขออภัย
 
เทียบกับอักษร ยาวี


NY = หย

ไม่น่าจะออกเสียง น
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง