เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 13601 ขอสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต ค่ะ
nt.nat
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


 เมื่อ 18 พ.ย. 12, 16:45

สวัสดีค่ะ ตอนนี้กำลังทำวิทยานิพนธ์ เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต โดยนำสถาปัตยกรรมนี้มาออกแบบเป็นเครื่องแต่งกายค่ะ
ในบทที่ 4 จะต้องนำมาวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้างและลักษณะ การตกแต่งโครงสร้าง การตกแต่งลวดลาย และสีของตึกแถว ปัญหาที่ตอนนี้เจอคือ ทางอาจารย์ อยากให้วิเคราะห์โครงสร้าง
ในแต่ละช่วงๆ ของสถาปัตฯ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา  จำนวน 5 ภาพ ซึ่งจะต้องระบุปี พ.ศ แหล่งที่มา เพื่อนำที่วิเคราะห์นี้มาออกแบบเครื่องแต่งกายค่ะ


รบกวนสอบถามผู้ที่รู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมนี้ค่ะ ว่าจะต้องหารูปและเนื้อหาอย่างไร (ในตอนแรกอาจารย์ให้ลงไปสำรวจพื้นที่ แต่มีปัญหาทางด้านการเงินจึงไม่สะดวกที่จะลงไป)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 18:34

มานึกขึ้นได้ ในวงการสถาปัตยกรรมบ้านเรา มีศัพท์หนึ่งใช้เรียกตึกแถวในเมืองที่เป็นถิ่นเหมืองดีบุก เช่นภูเก็ตและพังงา ว่าเป็นแบบ ชิโนโปรตุกีส ( Sino-Portuguese Architecture) ซึ่งมีผู้ไปนิยามไว้ในวิกี้ว่า คือรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตก ในแหลมมลายูในยุคสมัยแห่งจักรวรรดินิยมของตะวันตก ราวปี พ.ศ. 2054 สามารถพบเห็นได้ในเมืองมะละกา เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ หรือมาเก๊า รวมไปถึงประเทศไทย

กระทู้นี้ชื่อ “โปรตุเกสเข้าเมือง” โดยไม่ระบุว่าเมืองไหน ผมจึงตัดสินใจเล่นเรื่องนี้ แม้จะเป็นห่วงอยู่นิดๆ กลัวจะเป็นวิชาการเกินไป แขนงนี้เขาก็ไม่ค่อยจะสนใจกันอยู่แล้ว แต่ที่ไหนได้ พอค้นในเวปเข้าจริงๆ ก็เจออะไรคล้ายตะปิ้งเข้าอีก สงสัยจะสนุก

โปรดติดตาม อย่าหยุดกระพริบตานะครับ
.
.
.
.

.

เดี๋ยวตาจะบอด

(หน้าโฆษณา)

คุณณัฐลองติดตามอ่านความเห็นของคุณนวรัตนในเรื่องนี้ดู

อาจได้ข้อมูลใหม่ที่ยังนึกไม่ถึง

  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 20:33

ขอแทรกละกันนะครับ

สถาปัตยกรรมแบบนี้มีอยู่ทั่วไปแถบมะละกา เรื่องราวแบบฝรั่งเป็นฉันใดผมไม่ค่อยจะทราบ แต่ว่ารายละเอียดการประดับตบแต่งอาคารด้วยศิลปะแบบจีนจะเป็นแบบสถาปัตยกรรมตระกูลหมินหนาน ที่มีการใช้กระเบื้องตัดเป็นชิ้นมาประดับเป็นลาย นอกจากการใช้ลายปูนปั้นเดี่ยวๆ หมินหนานในที่นี้คือคำเรียกเขตวัฒนธรรมของฟูเจี้ยน หรือที่เราเรียกว่าฮกเกี้ยน และแถบเฉาซาน หรือที่เราเรียกว่าแต้จิ๋ว ทั้งนี้ถ้าเป็นการใช้กระเบื้องหล่อเป็นรูปมาประดับจะเป็นแบบกวางตุ้ง ไม่เคยเห็น แต่น่าจะหลงๆมีมาบ้าง แบบนี้เรียกว่าแบบหลิงหนาน หลิงหนานนี้คือเขตวัฒนธรรมแถบกว่างตง หรือที่เราเรียกว่ากวางตุ้ง

ผมเขียนลงไว้ ลองอ่านเล่นๆได้ เผื่อช่วยอะไรได้บ้างครับ

อันนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบหมินหนาน

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4984.0

สถาปัตยกรรมแบบหลิงหนาน

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5040.0
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 20:46

ภูเก็ต พ.ศ. ๒๔๗๙


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 20:48

ชาวบ่าบ๋า อำเภอถลาง
เครดิตภาพ คุณไข่


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 20:54

บ้านชาวจีน ที่ภูเก็ต 2479
เครดิตภาพ คุณไข่


บันทึกการเข้า
nt.nat
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 23:21

ขอบคุณมากๆนะคะ สำหรับข้อมูลดีๆ ของพี่ๆทุกคน ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
sigree
อสุรผัด
*
ตอบ: 54


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 พ.ย. 12, 10:48

ทางปีนังทำไว้ครับ

https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.349225265121032&type=1

จริงๆส่วนตัวไม่ค่อยชอบใจคำว่า ชิโน โปตุกิส นัก  คนทำงานศึกษาด้านนี้เรียนว่า บ้านแถว Shop House มากกว่า ขอบเขตคำครอบคลุมกว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 พ.ย. 12, 12:40

จากกระทู้ "โปรตุเกสเข้าเมือง "

ตกลง สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส ในโลกนี้มีแต่ในภูเก็ตเท่านั้นเองคะรับท่านผู้อ่าน

แต่ก็เออ ดีไปอย่างนะครับ ออกเสียงให้นักท่องเที่ยวฟังง่ายดี
แล้วก็ออกจะดูโก้กว่าที่จะบอกว่าเป็นแบบ“Straits” Eclectic Style

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 พ.ย. 12, 20:34

ผมไปต่างประเทศมาหลายวัน เพิ่งจะกลับบ้านและเข้าเรือนไทยมาเห็นคำถามของหลานคนนี้ทางหลังไมค์ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะตอบในกระทู้เลยจะดีกว่า

ก่อนอื่นต้องขอปรารภว่าอาจารย์สั่งงานให้ศิษย์อย่างนี้โหดมาก เพราะเนื้อหาของวิทยานิพนธ์เป็นการออกแบบเครื่องแต่งกาย ที่ต้องการแค่รูปลักษณ์งานสถาปัตยกรรม เพื่อเอาไปเป็นแนวทางการออกแบบลวดลายบนผืนผ้า แต่ท่านเล่นให้ไปค้นคว้าถึงโครงสร้าง คุณลูกศิษย์ก็จริงจังมาก ถึงกับอยากจะเดินทางไปภูเก็ตเพื่อค้นคว้าแบบเจาะลึกเลยทีเดียว ดีแล้วครับที่ไม่ได้ไป ผมเองเป็นสถาปนิกที่มีพื้นฐานทางงานอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม เคยไปภูเก็ตและเห็นสถาปัตยกรรมที่เขาอ้างว่าเป็นชิโนโปรตุกีสมานับครั้งไม่ถ้วน ผมยังไม่อาจแยกแยะตามโจทย์ที่อาจารย์ให้มาได้เลย ถ้าไม่เข้าไปพบเว็ปของทางปินังเขา
 
ก่อนอื่น เมื่อพูดถึงสถาปัตยกรรมแบบ “ชิโนโปรตุกีส” ผมอยากให้เข้าไปดูความเห็นของผมก่อนในเรื่องที่คุณเพ็ญชมพูกรุณาแนะนำไว้ในคคห.ต้นๆ เพื่ออำนวยความสะดวก ผมขอโยงให้อีกที

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4376.75  

จากคคห.๘๐ เป็นต้นไป
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 พ.ย. 12, 20:40

ดังที่ผมแสดงความเห็นไว้โดยชัดเจนว่า สถาปัตยกรรมแบบ“ชิโนโปรตุกีส”ไม่มีในโลก ใครก็ไม่ทราบประดิษฐ์คำนี้ขึ้นมาเรียกสถาปัตยกรรมในยุคทองของภูเก็ตให้ฟังดูโก้เก๋ เรียกร้องความสนใจจากนักท่องเที่ยว เพราะไม่อยากยอมรับว่านายหัวคนจีนในภูเก็ตไปเอาแบบฉบับมาจากปีนัง รวมทั้งนำเข้าช่างฝีมือจากที่โน่นมาด้วย สมัยโบราณที่ถนนหนทางสำหรับรถจะวิ่งยังไม่มี การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างภูเก็ตกับปีนัง สะดวกสบายกว่ากรุงเทพมาก คนจีนนั่งเรือข้ามไปข้ามมาแบบบ้านพี่เมืองน้อง ที่โน่นเจริญกว่าก็รับอารยธรรมของเขามา สถาปัตยกรรมที่ภูเก็ตจึงเป็นสถาปัตยกรรมแบบปินัง
ดังนั้น ถ้าคุณอยากจะทราบว่าเขาแบ่งสถาปัตยกรรมแบบนี้กันเป็นกี่ยุคกี่สมัย ก็ตามรอยที่คนปินังเขาค้นคว้าไว้แล้วเอามาใช้ได้เลย โครงสร้างอะไรๆก็มีวิเคราะห์ไว้ ไม่ผิดกันเท่าไหร่กับของภูเก็ต

ผมโยงเอาไว้ให้แล้วครับ

http://penangshophouse.blogspot.com/2010/04/penang-shophouse-styles.html
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 พ.ย. 12, 20:45

เอารูปแบบสถาปัตยกรรมที่เขาแบ่งยุคสมัยนั้น มาเทียบกับอาคารเก่าของภูเก็ตที่คุณจะโหลดมาได้ตามใจชอบตามโยงนี้ ก็พอจะมีผลงานส่งอาจารย์ได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องลงทุนลงแรงเดินทางไปถึงที่นั่น ซึ่งคงอาจจะได้แค่ภาพถ่ายในมุมที่ต้องการ นอกนั้นก็ไม่น่าจะได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันตามโจทย์ที่อาจารย์ท่านต้องการ


https://www.google.co.th/search?hl=th&q=phuket%20heritage%20shophouse&psj=1&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_qf.&bpcl=38897761&biw=1280&bih=589&wrapid=tlif135384931091710&um=1&ie=UTF-8&tbm=isch&source=og&sa=N&tab=wi&ei=DxqyULGWAsTKsgad4IGoCQ#um=1&hl=th&tbo=d&tbm=isch&sa=1&q=%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%95+%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2&oq=%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%95+%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2&gs_l=img.12...28067.51618.2.53612.24.21.1.2.2.0.694.4748.0j18j1j5-2.21.0...0.0...1c.1.d3GNKJVDqxo&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_qf.&fp=180d0dd321a28e44&bpcl=38897761&biw=1280&bih=589

ขอให้สำเร็จการศึกษาด้วยดีตามที่ปรารถนานะครับ


บันทึกการเข้า
sigree
อสุรผัด
*
ตอบ: 54


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 08:01

เคยคุยกับผู้รู้ท่านหนึ่ง  ซึ่งท่านร่วมในคณะที่เลือกใช่คำว่า ชิโนโปรตุกิส

ความประมาณว่าในขณะที่เลือกถกเถียงกันมาก  ในที่สุดมองว่าโปรตุเกสเป็นชาติแรกๆที่เข้ามาในไทย และภูเก็ตจึงเลือกคำนี้

ทั้งๆที่ว่าตามสถาปัตยกรรม โปรตุเกสแทบไม่มีส่วนอะไรใดๆกับรูปแบบทางสถาปัตยกรรมนี้เลย

ผลคือ  ภายหลังสงขลาทำผังเมืองเก่าที่ถนน นครนอก นครใน ก็มองว่าคำว่า ชิโนโปรตุกิส เพราะมันไม่ใช่  เขาเลยเลือกใช่คำว่า ชิโน ยูโรเปี้ยน Sino European



สำหรับ มาเลย์  หลังจากมีการศึกษาจำนวนมาก  ก็ได้ใช่คำว่า Shop House เนื่องจากการค้นคว้าพบว่าเรือนแบบนี้หลายหลายกว่ารูปแบบ จีนผสมฝรั่ง


จุดร่วมสำคัญที่พบคือผัง  ด้านหน้า 2 ชั้นชั้นล่างขายของ ชั้นบนนอน ตรงการเปิดโล่งมีบ่อ ด้านหลังเป็นเรือนครัว


หลังจากเรือนพวกนี้เกิดขึ้น  ทำให้มีเือนรูปแบบอื่นๆที่เกิดตามเช่น
เรือนจีนผสมงานไม่แบบมลายู Cino Kampung

สังเกตหลังคาโค้งแบบจีน งานผนังไม้เครื่องสับแบบมลายู

เรือนแถวไม้แบบมลายู



สังเกตว่าผังแบบเดียวกัน  ส่วนเรือนครังทำหลังคา 2 ชั้นระบายควัน

ภาพด้านหน้า  จาก ซุ้มโค้งปูนหน้าบ้าน เป็นใต้ถุนไม้



ฯลฯ

ผมมองว่าการเลือกคำนี้ทำให้เกิดความจำกัดในการศึกษาพอสมควร  อาคารที่เกิดจากผลพวกของอาคารแนว เนียงยา ในไทยไม่ค่อยได้รับการศึกษานักเพราะไม่จัดในกลุ่มเดียวกัน  ทั้งๆที่มีวัฒนธรรมร่วมกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 08:23

ขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับคำอธิบายและภาพประกอบค่ะ
เป็นห่วงอย่างเดียวว่า รูปที่โพสต์จากลิ้งค์   วันร้ายคืนร้ายจะถูกลิขสิทธิ์ดึงกลับไป กลายเป็นรูปกบอยู่ในกล่อง อย่างที่เคยเจอมาก่อน
ขอความกรุณาว่า ถ้าจะโพสรูปอีก  ขอให้เซฟรูปแล้วนำลงค.ห.ละ 1 รูปได้ไหมคะ  มันจะได้อยู่ถาวร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 08:24

อ้างถึง
ผมมองว่าการเลือกคำนี้ทำให้เกิดความจำกัดในการศึกษาพอสมควร  อาคารที่เกิดจากผลพวกของอาคารแนว เนียงยา ในไทยไม่ค่อยได้รับการศึกษานักเพราะไม่จัดในกลุ่มเดียวกัน  ทั้งๆที่มีวัฒนธรรมร่วมกัน

อาคารแนวเนียงยาคืออะไรคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง