เคยคุยกับผู้รู้ท่านหนึ่ง ซึ่งท่านร่วมในคณะที่เลือกใช่คำว่า ชิโนโปรตุกิส
ความประมาณว่าในขณะที่เลือกถกเถียงกันมาก ในที่สุดมองว่าโปรตุเกสเป็นชาติแรกๆที่เข้ามาในไทย และภูเก็ตจึงเลือกคำนี้
ทั้งๆที่ว่าตามสถาปัตยกรรม โปรตุเกสแทบไม่มีส่วนอะไรใดๆกับรูปแบบทางสถาปัตยกรรมนี้เลย
ผลคือ ภายหลังสงขลาทำผังเมืองเก่าที่ถนน นครนอก นครใน ก็มองว่าคำว่า ชิโนโปรตุกิส เพราะมันไม่ใช่ เขาเลยเลือกใช่คำว่า ชิโน ยูโรเปี้ยน Sino European

สำหรับ มาเลย์ หลังจากมีการศึกษาจำนวนมาก ก็ได้ใช่คำว่า Shop House เนื่องจากการค้นคว้าพบว่าเรือนแบบนี้หลายหลายกว่ารูปแบบ จีนผสมฝรั่ง

จุดร่วมสำคัญที่พบคือผัง ด้านหน้า 2 ชั้นชั้นล่างขายของ ชั้นบนนอน ตรงการเปิดโล่งมีบ่อ ด้านหลังเป็นเรือนครัว

หลังจากเรือนพวกนี้เกิดขึ้น ทำให้มีเือนรูปแบบอื่นๆที่เกิดตามเช่น
เรือนจีนผสมงานไม่แบบมลายู Cino Kampung
สังเกตหลังคาโค้งแบบจีน งานผนังไม้เครื่องสับแบบมลายู
เรือนแถวไม้แบบมลายู

สังเกตว่าผังแบบเดียวกัน ส่วนเรือนครังทำหลังคา 2 ชั้นระบายควัน
ภาพด้านหน้า จาก ซุ้มโค้งปูนหน้าบ้าน เป็นใต้ถุนไม้

ฯลฯ
ผมมองว่าการเลือกคำนี้ทำให้เกิดความจำกัดในการศึกษาพอสมควร อาคารที่เกิดจากผลพวกของอาคารแนว เนียงยา ในไทยไม่ค่อยได้รับการศึกษานักเพราะไม่จัดในกลุ่มเดียวกัน ทั้งๆที่มีวัฒนธรรมร่วมกัน