ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
ศิลปะวัฒนธรรม
>
สมบัติของผู้ดี
หน้า:
1
...
6
7
[
8
]
พิมพ์
อ่าน: 36705
สมบัติของผู้ดี
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
ความคิดเห็นที่ 105
เมื่อ 11 ธ.ค. 12, 11:22
คำว่า "ผู้ดี" กลายเป็นคำเซนซิทีฟ ใครถูกเรียกด้วยคำนี้มักจะหนาวๆร้อนๆ ว่าโดนกระทบกระแทกแดกดันหรือเปล่า นับว่าน่าเสียดายมาก
เพราะฉะนั้น สมบัติผู้ดี อาจต้องเปลี่ยนชื่อเป็น
- มรรยาทคนดี
- มรรยาทคนไทย
- สมบัติคนไทย
- สมบัติของสุภาพชน
- มรรยาทของวิญญูชน
- มรรยาทของสุภาพชน
ฯลฯ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
ตอบ: 326
ความคิดเห็นที่ 106
เมื่อ 12 ธ.ค. 12, 15:26
(๕) ผู้ดีในการเลี้ยงดูย่อมแผ่เผื่อเชื้อเชิญแก่คนข้างเคียงก่อนตน หมายความว่า ในการเลี้ยง อาหารควรช่วยเหลือให้คนข้างเคียงตนได้อาหารก่อนและในขณะที่กาลังรับประทานอยู่ควรดูแลเพื่อ ช่วยเหลือเพิ่มเติมเมื่อเขาบกพร่องบ้าง อย่างนี้จึงเป็นการควร ทั้งนี้นอกจากระเบียบในโต๊ะอาหารที่มีอยู่อย่างเคร่งครัด เช่น เมื่อเขานำมาให้โดยเฉพาะก็หาควรที่จะหยิบไปให้คนอื่นก่อนไม่ และในที่นี้ จำต้องช่วยแต่ตนเอง
(๖) ผู้ดีในที่บริโภค ย่อมหยิบยกยื่นส่งสิ่งของแก่ผู้อื่นต่อ ๆ ไปไม่มุ่งแต่กระทำกิจส่วนตัว หมายความว่าในขณะที่กาลังรับประทานร่วมกันอยู่ถ้าเป็นวงใหญ่ อาหารย่อมอยู่ห่างจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในการนี้ผู้ซึ่งอยู่ใกล้ต้องยื่นส่งอาหารให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งยังไม่ได้ ถ้าเป็นของที่ต้องเฉลี่ยกันก็ต้องส่ง ต่อ ๆ กันไปจนทั่วถึง ไม่ควรมุ่งแต่เฉพาะตนท่าเดียวต้องคอยช่วยเหลือกันตามโอกาส อย่างนี้จึงเป็นการควร
(๗) ผู้ดีย่อมไม่รวบสามตะกรามสี่กวาดฉวยเอาของที่ตั้งไว้เป็นกลางจนเกินส่วนที่ตัวจะได้ หมายความว่า ในการเลี้ยงร่วมโต๊ะนั้น ย่อมมีอาหารที่เขาจัดไว้เป็นส่วนกลาง ซึ่งคะเนว่าพอแก่จำนวนคนในวงนั้น ในการนี้ผู้ที่มีโอกาสได้แบ่งก่อนก็ไม่ควรแบ่งเอาเสียมากจนเกินไป จนทำให้ผู้ได้โอกาสแบ่งภายหลังไม่ได้ตามควร หรืออาจไม่ได้เลย หรือแม้ในการนั่งในที่รับแขกตามปรกติ เขามัก ตั้งพานหมากบุหรี่ไว้ ซึ่งตามปรกติก็พอแก่จานวนคนในชุมนุมนั้น ในการนี้ก็ต้องไม่ฉวยเอาเสีย มากมายจนเกินส่วนที่ตนควรจะได้เช่น ล้วงเอามาตั้งกำมือหรือหลายมวนเป็นต้นอย่างนี้ไม่เป็นอันควร ต้องหยิบเอาแต่เล็กน้อยพอเป็นกิริยาจึงเป็นการควรแท้
(๘) ผู้ดีย่อมไม่แสดงความไม่เพียงพอในสิ่งของที่เขาหยิบยกให้ หมายความว่า ในยามปรกติก็ตาม ในคราวร่วมรับประทานอาหารก็ตามเมื่อมีผู้ให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแก่เรา เราต้องรู้จักเพียงพอ หรือต้องรู้จักเกรงอกเกรงใจเขาบ้างมิใช่ว่าเขาให้แล้วก็เอาเสียหมดเท่าไรไม่รู้จักพอ เช่นนี้ก็เกินไป อาจทำให้ผู้พบเห็นเสื่อมความนิยมได้ เพราะฉะนั้นจำต้องรู้ความพอเหมาะพอควรคือต้องรู้จักเพียงพอบ้าง ถ้าเป็นของรับประทานก็เอาแต่พอเท่านั้น ไม่ควรเอาจนเหลือซึ่งจะต้องทิ้งเสีย ต้องรู้ความพอเหมาะพอควร อย่างนี้จึงเป็นการควร
(๙) ผู้ดีย่อมไม่นิ่งนอนใจให้เขาออกทรัพย์แทนส่วนตัวเสมอไป เช่น ในการเลี้ยงดูหรือ ใช้ค่าเดินทางเป็นต้น หมายความว่า ในการเดินทางร่วมกัน เมื่อมีผู้ใดจัดค่าเดินทางให้ จัดค่าอาหารให้ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจให้เขาต้องออกไปฝ่ายเดียว ทางที่ดีที่สุดนั้นควรเฉลี่ยตามส่วนเท่าๆกันเป็น เหมาะแท้ แต่ถ้าเขาไม่ยอมให้เฉลี่ยก็ต้องหาโอกาสตอบแทนเขาบ้างตามควรไม่ใช่ทำเฉยเมยเอาเขา ข้างเดียว ต้องแสดงมิตรจิตมิตรใจตามควรแก่โอกาส
(๑๐) ผู้ดีย่อมไม่ลืมที่จะส่งของซึ่งคนอื่นได้สงเคราะห์ให้ตนยืม หมายความว่า เมื่อยืมของเขามาใช้ ควรรีบส่งคืนเขาทันทีเมื่อเสร็จธุระแล้ว นอกจากนั้นแล้ว ยังต้องรักษาให้คงสภาพอยู่เช่นเดิม ถ้าขาดจานวนหรือเสื่อมเสียด้วยประการใด ต้องจัดการให้คงสภาพตามเดิมไม่ใช่ทำลืมถ้าไม่ส่งคืน ย่อมเป็นการเสียแท้ หรือไม่ส่งจนเขาต้องทวงคืนก็ไม่ควร ต่อไปจะยืมเขาไม่ได้อีก หรือไม่กล้าไปยืมเขา เป็นการตัดทางตนเอง ในทางตรงกันข้ามถ้าเขายืมเราไม่ส่งคืน เมื่อมายืมอีก เราก็ไม่ให้อีกเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเมือยืมของต้องรักษาให้คงสภาพและต้องส่งคืนทันทีเมอื่ เสร็จธุระแล้ว หรือตามสัญญาที่ให้ไว้ ดังนี้จึงเป็นการสมควร
(๑๑) ผู้ดีเมื่อได้รับสิ่งของหรือเลี้ยงดู ซึ่งเขาได้กระทา
ำแก่ตนย่อมต้องตอบแทนเขา หมายความว่า เมื่อได้รับอุปการะจากผู้ใดก็ไม่ลืมบุญคุณของท่านผู้นั้น และหาโอกาสตอบแทนบุญคุณท่านตามกำลังความสามารถของตน เช่นพ่อแม่เลี้ยงเรามา ต้องเลี้ยงท่านตอบ ครูอาจารย์สอนวิชาความรู้เรามา ต้องสนองคุณท่าน เพื่อนบ้านหรือเพื่อนฝูงสงเคราะห์เราเราต้องสงเคราะห์ตอบดังนี้จึงเป็นการสมควร
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
ตอบ: 326
ความคิดเห็นที่ 107
เมื่อ 25 ธ.ค. 12, 17:15
ต้องขออภัยที่หายไปนานพอสมควรครับเพราะติดภารกิจ
ผมขอต่อเรื่อง "สมบัติของผู้ดี" หรือ "มรรยาทในสังคม"(ดังที่หลายท่านเสนอ) นะครับ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
ตอบ: 326
ความคิดเห็นที่ 108
เมื่อ 25 ธ.ค. 12, 17:20
วจีจริยา หมายความว่า การแสดงความไม่เห็นแก่ตัวให้ปรากฏทางวาจา
(๑) ผู้ดีย่อมไม่ขอแยกผู้หนึ่งมาจากผู้ใดเพื่อจะพาไปพูดจาความลับกัน หมายความว่า ในขณะที่ เขากำลังร่วมชุมนุมกันอยู่ เราไม่ควรจะแยกผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งอยู่ในชุมนุมนั้นออกไปจากหมู่เพื่อจะไปพูดความลับอย่างใดอย่างหนึ่งเลยเป็นอันขาด หากมีความจำเป็นรีบด่วน ก็ควรจะแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าใจเอง และปลีกตัวออกไปเอง แล้วเราก็หาโอกาสพูดในเวลานั้น หากไม่ได้โอกาส ก็จำต้องปล่อยไปก่อน ไม่ควรแยกออกมาเช่นนั้น ซึ่งอาจเป็นที่ระแวงสงสัยของบุคคลผู้อื่นได้
(๒) ผู้ดีย่อมไม่สนทนาแต่เรื่องของตนถ่ายเดียว จนคนอื่นไม่มีช่องจะสนทนาเรื่องอื่นได้
หมายความว่า ในการสนทนาปราศรัยกันนั้น ไม่ควรยกเอาแต่เรื่องของตนเองมาพูด จนกลายเป็นว่า สนใจแต่เรื่องของตนคนเดียวซึ่งอาจจะทำให้ผู้อื่นเบื่อหน่ายหรือราคาญ เพราะไม่มีโอกาสฟังหรือ พูดเรื่องอื่นและในชุมนุมเช่นนั้น ควรเป็นผู้ฟังมากกว่าเป็นคนพูดควรให้โอกาสคนอื่นพูดมากกว่าตน เราจะได้ยินได้ฟังเรื่องแปลก ๆ เพิ่มขึ้นดังนี้
(๓) ผู้ดีย่อมไม่นำธุระของตนเข้ากล่าวแทรกในเวลาธุระอื่นของเขาชุลมุน หมายความว่า เมื่อคนทั้งหลายกำลังทำธุระชุลมุนวุ่นวายอยู่เช่นนั้น ไม่ควรนำธุระของเราเข้าไปแทรกแซงขึ้นในขณะนั้น ต้องรอจนกว่าผู้อื่นจะหมดธุระก่อน จึงพูดธุระของเราต่อไป
(๔) ผู้ดีย่อมไม่กล่าววาจาติเตียนของที่เขาหยิบยกให้ว่าไม่ดีหรือไม่พอ หมายความว่า เมื่อใครให้อะไรแก่เรา ไม่ว่าของนั้นจะเป็นของรับประทานหรือของใช้ก็ตาม เราไม่ควรติเตียนสิ่งนั้นโดย ประการใดประการหนึ่ง เช่นว่าไม่ดีหรือไม่พอเป็นต้น ถึงแม้จะรู้สึกเช่นนั้นก็ต้องเก็บไว้ในใจจึงจะควร
(๕) ผู้ดีย่อมไม่ไต่ถามราคาของที่เขาหยิบยกให้ตน หมายความว่า เมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งนำสิ่งของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาให้เรา เราไม่ควรถามราคาของนั้นในขณะนั้นเป็นอันขาด แม้มีความปรารถนาจะรู้ก็ควร หาทางอื่นที่จะสืบถามไม่ใช่ถามกับตัวผู้ให้เอง
(๖)ผู้ดีย่อมไม่แสดงราคาของที่จะหยิบยกให้แก่ผู้ใดให้ปรากฏ หมายความว่าเมื่อจะให้อะไรแก่ใคร ไม่จำเป็นต้องแสดงราคาสิ่งนั้นให้ปรากฏแก่เขา เพราะถึงอย่างไรก็ตามเขาอาจรู้ได้เอง ที่เป็นอย่างนั้น ก็เพราะสิ่งของนั้นย่อมแสดงถึงน้ำใจของผู้ให้เท่านั้นว่ามีน้ำใจเพียงใด บางทีของอาจน้อยแต่น้ำใจมาก ก็ย่อมเป็นที่ชื่นใจของผู้รับได้เหมือนกันดังนี้
(๗) ผู้ดีย่อมไม่ใช้วาจาอันโอ้อวดตนและลบหลู่ผู้อื่น หมายความว่า การพูดโอ้อวดย่อมทำให้ผู้ฟังหมดความเมตตาปรานี และยิ่งเป็นการลบหลู่คนอื่นด้วยแล้วยิ่งไม่สมควรอย่างแท้จริงเช่นพูดว่า ตนดีอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นการยกยออวดตน ถ้าพูดว่าตนดีกว่าคนนั้นคนนี้ นี้เป็นการลบหลู่คนอื่น ถ้า พูดทั้งโอ้อวดตนและลบหลู่คนอื่นย่อมเป็นการไม่สมควรแท้ ต้องถ่อมตนและยกย่องคนอื่นจะดีกว่า
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
ตอบ: 166
ความคิดเห็นที่ 109
เมื่อ 29 เม.ย. 17, 07:07
ผมค้นพบของดีที่มีอยู่บน
เรือนไทย
มานานแล้วครับ ดีใจมากที่หาเจอ
บันทึกการเข้า
หน้า:
1
...
6
7
[
8
]
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.032 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...