เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 8
  พิมพ์  
อ่าน: 37139 สมบัติของผู้ดี
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 29 พ.ย. 12, 21:17

มิได้มีเจตนาจะเขียนตำหนิในเรื่องใดๆเลยครับ เพียงแต่อยากจะบอกว่า มันเป็นภาพที่เราสามารถนำมาศึกษา วิเคราะห์ แล้วสามารถสังเคราะห์ใช้ให้เกิดประโยชน์สำหรับการสอนเยาวชนของเราได้ครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 29 พ.ย. 12, 21:19

ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ  ต่อให้มีอยู่จริงแต่ถ้าขาดผู้รักษาระเบียบ  มันก็เท่ากับไม่มีน่ะแหละค่ะ

อยากให้ท่านเทาชมพูมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจริงๆ (ทั้งที่รู้ว่าเป็นไปไม่ได้)
ผมเชื่อว่าสิ่งต่างๆจะดีขึ้น

จริงค่ะ   เป็นไปไม่ได้  
อยู่อย่างนี้เป็นสุขดีแล้วค่ะ

กำลังจะส่ง พอดีชนกลางอากาศกับค.ห.คุณตั้ง   กรุณาขยายความหน่อยได้ไหมคะ   ดิฉันอาจตีความคำตอบคุณตั้งผิดไปคนละโยชน์ก็เป็นได้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 29 พ.ย. 12, 21:43

คือ หากจะต้องการวิเคราะห์สภาพของการมีคุณสมบัติของผู้ดีในสังคมไทยในปัจจุบัน ก็คงจะไม่ต้องเที่ยวตามไปศึกษาแยกเป็นอาชีพ เป็นวัย เป็นระดับความรู้ เป็นระดับตำแหน่ง ฯลฯ เนื่องจากมีแหล่งที่รวมกันอยู่และก็เป็นแหล่งที่แสดงออกมาให้เห็นโดยปราศจากการจัดฉากครับ ทุกคนได้เห็นภาพเหมือนกัน เพียงแต่จะมีความเห็นแตกต่างกัน    การศึกษาวิเคราะห์จากความเห็นของฝ่ายผู้ชม จะทำให้พอจับทิศทางในความคิดและการยอมรับของคนไทย (ของกลุ่มใดๆ) ว่า อะไรที่ยอมรับกันแต่เดิมนั้นได้เปลี่ยนไปเป็นอย่างไร อะไรที่เป็นของใหม่ที่กำลังกลายเป็นปรกตินิยมในยุคสมัยนี้ ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น   เพื่อจะได้ทำการแก้ไขได้ถูกจุดโดยผ่านระบบการสอนและการศึกษาต่างๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 29 พ.ย. 12, 21:49

ขออภัยครับ  อายจัง

วันนี้ดูสมองจะเรียงเนื้อความไม่ค่อยจะได้เรื่อง
 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 29 พ.ย. 12, 23:41

คือ หากจะต้องการวิเคราะห์สภาพของการมีคุณสมบัติของผู้ดีในสังคมไทยในปัจจุบัน ก็คงจะไม่ต้องเที่ยวตามไปศึกษาแยกเป็นอาชีพ เป็นวัย เป็นระดับความรู้ เป็นระดับตำแหน่ง ฯลฯ เนื่องจากมีแหล่งที่รวมกันอยู่และก็เป็นแหล่งที่แสดงออกมาให้เห็นโดยปราศจากการจัดฉากครับ ทุกคนได้เห็นภาพเหมือนกัน เพียงแต่จะมีความเห็นแตกต่างกัน    การศึกษาวิเคราะห์จากความเห็นของฝ่ายผู้ชม จะทำให้พอจับทิศทางในความคิดและการยอมรับของคนไทย (ของกลุ่มใดๆ) ว่า อะไรที่ยอมรับกันแต่เดิมนั้นได้เปลี่ยนไปเป็นอย่างไร อะไรที่เป็นของใหม่ที่กำลังกลายเป็นปรกตินิยมในยุคสมัยนี้ ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น   เพื่อจะได้ทำการแก้ไขได้ถูกจุดโดยผ่านระบบการสอนและการศึกษาต่างๆ

เป็นมุมมองที่น่าสนใจมากครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 29 พ.ย. 12, 23:52

เป็นสิ่งที่ดีมากครับที่ได้เห็นมุมมองได้เห็นวิธีคิดของแต่ละท่าน ยิ่งทำให้ผมรู้สึกว่าผู้คนในเรือนไทยนี้ล้วนเป็นคนที่น่าคบหาทั้งสิ้น

ขออนุญาตไปต่อนะครับ

ผนวก ๖ ผู้ดีย่อมปฏิบัติการงานดี
หมายความว่า การปฏิบัติการงานดีคือการทำการงานทุกอย่างอันเป็นหน้าที่ของตนไม่บกพร่อง ไม่คั่งค้าง ทำเสร็จเรียบร้อยด้วยดีตามส่วนของงาน

กายจริยา หมายความว่า การปฏิบัติการงาน ซึ่งต้องใช้กายเป็นสาคัญ

(๑) ผู้ดีย่อมทำการอยู่ในระเบียบแบบแผน หมายความว่าในการกระทำต่างๆ ผู้ดีย่อมรักษา ระเบียบแบบแผนถือเอาหลักของเหตุผลเป็นสาคัญ ไม่ทำตามอาเภอใจโดยไม่มีหลักอันจะเป็นช่องทางให้เกิดความผิดหรือถูกตำหนิได้
(๒) ผู้ดีย่อมไม่ถ่วงเวลาให้ผู้อื่นคอย หมายความว่า ในการนัดหมายเพื่อทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องทำตนให้เป็นคนตรงต่อเวลา ถ้าทำตนให้เป็นคนผิดเวลาแล้ว ย่อมทำให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อน ราคาญด้วย และอาจเสียงานนั้น ๆ ได้ในบางกรณี พลาดเวลาเพียงนาทีเดียว ก็อาจต้องเสียงานหรือ เสียเวลาไปหลายวันก็ได้ ดังนั้นจึงควรเป็นคนตรงเวลาเสมอ
(๓) ผู้ดีย่อมไม่ละเลยที่จะตอบจดหมาย หมายความว่าการตอบจดหมายนั้นเป็นมรรยาทอันดีงาม เพราะถ้าเป็นธุระก็ควรตอบไปให้เสร็จได้ไม่ลืม ถ้าเป็นจดหมายเยี่ยมเยือนแสดงมิตรภาพก็ควร รีบตอบแสดงน้าใจอันดีไป เพื่อให้เขาเห็นว่าเรามิได้ละเลยที่จะรักษามิตรภาพนั้น
(๔) ผู้ดีย่อมไม่ทำการแต่ต่อหน้า หมายความว่า การงานอันใดที่เป็นของหมู่คณะ ผู้รับทำงานต้องทำงานนั้นให้สาเร็จลุล่วงไปตามที่ได้รับมอบหมายและการทำงานนั้นต้องไม่ทำเฉพาะต่อหน้าคน เท่านั้น ต้องทำทั้งต่อหน้าและลับหลัง หรือการอย่างอื่น เช่น ไปช่วยงานเขา เมื่อมีความรู้ ความสามารถจะทำงานอย่างใดได้ก็ต้องทำงานนั้นทีเดียว เจ้าของจะเห็นหรือไม่ก็ตาม ควรทำจนสุด ความสามารถของเราจึงเป็นการชอบแท้

วจีจริยา หมายความว่า การปฏิบัติการงานด้วยคาพูดเป็นสาคัญ

(๑) ผู้ดีพูดสิ่งใดย่อมให้เป็นที่เชื่อถือได้ หมายความว่า เมื่อจะพูดคำใดคำนั้นต้องเป็นคำที่ออกจากหัวใจจริง คือ พูดตามที่ได้เห็นได้ฟังได้ทำหรือได้รู้สึกมิใช่เสแสร้งแกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง พูดอย่างใดต้องเป็นอย่างนั้นเช่นนี้ คำพูดคำนั้นจึงเป็นที่เชื่อถือได้
(๒) ผู้ดีต้องไม่รับวาจาคล่อง ๆ โดยมิได้เห็นว่าควรจะเป็นได้หรือไม่ หมายความว่า เมื่อจะรับคำ เพื่อทำการใดการหนึ่งหรือจะสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเมื่อจะปฏิญาณอย่างใดอย่างหนึ่งกับ บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งใดแห่งหนึ่ง ต้องใครครวญให้แน่แก่ใจก่อนจึงรับคำ หรือ จึงปฏิญาณ มิใช่ทำแต่สักว่าทำ พูดโพล่ง ๆ ไปโดยไม่ได้คำนึงให้แน่ชัดว่าจะทำได้หรือไม่ เมื่อรับคำแล้ว แม้ว่าจะต้องเสียอย่างใดก็ต้องยอมเสีย ต้องถือหลักว่าเสียชีพอย่างเสียสัตย์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 30 พ.ย. 12, 09:55

(๑) ผู้ดีพูดสิ่งใดย่อมให้เป็นที่เชื่อถือได้ หมายความว่า เมื่อจะพูดคำใดคำนั้นต้องเป็นคำที่ออกจากหัวใจจริง คือ พูดตามที่ได้เห็นได้ฟังได้ทำหรือได้รู้สึกมิใช่เสแสร้งแกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง พูดอย่างใดต้องเป็นอย่างนั้นเช่นนี้ คำพูดคำนั้นจึงเป็นที่เชื่อถือได้

‘เจ๊เบียบ’ปลื้ม‘จ่าประสิทธิ์’ น่ารักดี!ฝันนอนกับ‘รังสิมา’

นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช นายกสมาคมเสริมสร้างครัวครอบครัวให้อบอุ่นและเป็นสุข ซึ่งมักออกมาแสดงความคิดเห็นในการปกป้องเพศหญิง กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า มันเป็นสีสัน ไม่ถึงกับต้องไปฟ้องร้องกัน กรณีดังกล่าวน่ารักดี ถือเป็นคู่กัดที่เป็นสีสัน เป็นโจ๊กการเมือง คลายเครียดเวลาอภิปรายเรื่องซีเรียสในสภา อย่าไปซีเรียส ยังไงในสภาก็เพื่อนกันทั้งนั้น ถ้าเป็นตนเองก็คงไม่ซีเรียส เพราะเป็นการแหย่กันเล่น ๆ สนุกดี.

สมบัติของผู้ดี หรือ สัปปุริสธรรม นอกจากจะมีได้ในเยาวชนโดยการสอนในโรงเรียนแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งพ่อแม่ และคนที่มีบทบาทนำในสังคมต้องกระทำเป็นตัวอย่างให้เด็กดูด้วย มิฉะนั้นจะเข้าทำนองนิทานเรื่อง "แม่ปูสอนลูกปู"

เอาเพลงของคุณคัทลียา มารศรี มาให้ฟังเพลิน ๆ แก้เครียด


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 30 พ.ย. 12, 15:33

ผู้ดี-ไพร่

ขอให้สังเกตนะครับว่า คู่ตรงข้ามของ "ไพร่" ในกฏหมายตราสามดวงที่ใช้กันมาตั้งแต่อยุธยาจนถึง ร.๕ นั้น คือ "มูลนาย" ทั้งสองฝ่ายนี้ถึงจะร่วมวัฒนธรรมใหญ่กันก็จริง แต่ในรายละเอียดแล้ว ต่างฝ่ายต่างไม่รู้จักความละเอียดซับซ้อนของวัฒนธรรมอีกฝ่ายหนึ่ง ดูละครกันคนละเรื่องและคนละแบบ, ผลิตและใช้วรรณกรรมกันคนละชนิด, ฟังเพลงก็คนละประเภทกัน, แม้แต่เนื้อหาของพระพุทธศาสนาที่ต่างฝ่ายต่างนับถือก็ไม่สู้จะเหมือนกันนัก ฯลฯ

ผมไม่แน่ใจว่า ต่างมีสำนึกเหยียดหยามวัฒนธรรมของกันและกันหรือไม่ เพราะในชีวิตจริงแล้ว ต่างอยู่ในโลกของตน มีความจำเป็นล่วงเข้ามาในโลกของอีกฝ่ายไม่มากนัก แต่แน่นอนว่ามีหลักฐานมากมายที่ชี้ให้เห็นว่า เมื่อไพร่ล่วงเข้ามาในโลกของมูลนาย วัฒนธรรมของไพร่ก็เป็นสิ่งน่าหัวร่อเยาะ หรือน่าเหยียดหยาม นับตั้งแต่อาหารการกิน, การแต่งเนื้อแต่งตัว, มารยาท, ไปจนถึงคุณค่าที่ยึดถือ

แต่ชีวิตที่ถูกแยกออกเป็นสองโลกนี้เริ่มอันตรธานไปในการปฏิรูปของ ร.๕ ซึ่งยังสืบทอดอำนาจทางการเมือง, เศรษฐกิจและวัฒนธรรมไว้ในหมู่พวก "มูลนาย" (หรือกลุ่มหนึ่งของพวก "มูลนาย") เหมือนเดิม แต่บัดนี้เปลี่ยนคำที่ใช้เรียกจาก "มูลนาย" ให้กลายเป็น "ผู้ดี" แทน

คู่ตรงข้ามของไพร่ในภาษาไทยจึงกลายเป็น "ผู้ดี" ไป

ผมขอยกตัวอย่างการใช้คำว่า "ไพร่" ในพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นตัวอย่าง

สำนวนว่า "ทรงพระราชสมภพภายใต้พระมหาเศวตรฉัตร" นั้นมีความหมายอย่างไร ก.ศ.ร. กุหลาบไปเข้าใจว่า เมื่อพระอัครมเหสีจะประสูติพระราชโอรส-ธิดา ก็โปรดให้ตั้งพระมหาเศวตรฉัตรไว้เหนือที่ซึ่งจะมีพระประสูติกาล ฉะนั้น เมื่อสมเด็จฯ พระองค์นั้นทรงพระนิพนธ์พงศาวดารรัชกาลที่ ๕ จึงได้ทรงอธิบายว่า ที่เข้าใจเช่นนั้นเป็นเพราะ ก.ศ.ร. กุหลาบ (ในพระนิพนธ์ไม่ได้ออกชื่อ) เป็น "ไพร่" ไม่รู้ธรรมเนียมเจ้า เพราะความหมายของสำนวนนี้ก็คือ ทรงพระราชสมภพเมื่อพระราชบิดาได้เสวยราชสมบัติแล้วเท่านั้น

(เช่น ร.๒ ไม่ได้ทรงพระราชสมภพภายใต้พระมหาเศวตรฉัตร เพราะขณะนั้นพระราชบิดายังมิได้ครองราชย์ แต่ ร.๕ ใช่ เพราะพระราชบิดาได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว)

อย่างที่รู้กันอยู่แล้วนะครับว่า ก.ศ.ร. กุหลาบ ซึ่งเป็นสามัญชน ล่วงเข้ามาในพื้นที่ของ "ผู้ดี" คือพื้นที่ "วิชาการ" ซึ่ง "ผู้ดี" ในสมัยนั้นถือว่าเป็นพื้นที่อันคนซึ่งปราศจากคุณสมบัติของ "ผู้ดี" จะเข้ามาไม่ได้

คุณสมบัตินั้นคือการศึกษา (ในความหมายกว้าง ไม่จำกัดเฉพาะประกาศนียบัตร) อย่างหนึ่ง และความรอบรู้เจนจัดในขนบธรรมเนียมประเพณีของ "ผู้ดี" อีกอย่างหนึ่ง

ความหมายของ "ไพร่" จึงเคลื่อนไปจากประเภทของบุคคลที่ไม่ใช่ "มูลนาย" มาเป็นคนที่ไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนมารยาทที่ถือกันว่าเป็นมารยาท "ผู้ดี"

ความหมายนี้ยิ่งมีพลังมากขึ้น เมื่อความหมายของคำว่า "ผู้ดี" เองก็เริ่มเคลื่อนจากกำเนิด มาสู่คุณสมบัติอื่นซึ่งมนุษย์สามารถแสวงหาไขว่คว้ามาเป็นของตนได้ เช่นมารยาท

หนังสือ "สมบัติผู้ดี" พูดชัดเจนไปเลยว่า กำเนิดไม่ใช่เงื่อนไขที่ขาดไม่ได้ของ "ผู้ดี" แต่มารยาทและความประพฤติซึ่งอาจได้มาจากการอบรมสั่งสอนต่างหากที่จะแยก "ผู้ดี" ให้ออกจาก "ไพร่"

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความทันสมัยของไทย เป็นกระบวนการที่พยายามจะสืบทอดอำนาจของ "มูลนาย" ไว้ให้คงอยู่ในระบบใหม่ด้วย คำว่า "ผู้ดี" ซึ่งแม้จะไม่เน้นในเรื่องกำเนิด แต่ความหมายถึงอภิสิทธิชนอันมาแต่กำเนิดก็ยังแฝงอยู่ในคำนี้ เพราะคนที่จะเป็น "ผู้ดี" ได้ ก็ต้องเติบโตมาในวัฒนธรรมมูลนาย, ได้รับการศึกษาแผนใหม่ซึ่งมีต้นทุนไม่น้อย อีกทั้งต้องมีอิทธิพลที่จะดำรงตำแหน่งหน้าที่การงานอันเป็นที่นับหน้าถือตาด้วย

"ผู้ดี"จึงหมายถึงคนมีมารยาทอันงามและเป็นอภิสิทธิชน ในขณะที่ "ไพร่" ซึ่งเป็นตรงกันข้าม คือคนที่หยาบคาย, เป็นสามัญชนคนธรรมดา, ไม่มีอภิสิทธิ์ หรือว่ากันที่จริงแม้แต่สิทธิอันพึงมีพึงได้ในฐานะพลเมืองก็มีไม่เต็ม

บางส่วนจาก บทความเรื่อง "ไพร่" โดยอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์

นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๒-๘ เมษายน ๒๕๕๓

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 30 พ.ย. 12, 18:56

^
คงจะน่ารับฟังครับถ้ามาจากนักวิชาการที่แท้จริง
เผอิญ นิธิ ที่ผมเคยนับถือนั้น ไม่มีอีกแล้ว
โดยธรรมดาปุถุชนก็ไม่มีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอในการกลั่นกรอง โดยเฉพาะเรื่องไกลตัว และโดยเฉพาะที่มาจากคนที่เรียกตัวเองว่า นักวิชาการ
ดังนั้นเรื่องราวทมาจากนักวิชาการที่มี conflict of interest นั้นผมจึงไม่ปฏิเสธ แต่ก็ไม่เชื่อ

ขอโทษครับที่เห็นชื่อแล้วออกอาการของขึ้นไปนิด
 โกรธ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 30 พ.ย. 12, 20:50

การเขียนหนังสือ ถ้าเขียนโดยมีคำตอบไว้ในใจแล้ว  จากนั้นค่อยลากเหตุผลอะไรมาอ้างก็ได้เพื่อให้เข้ากับคำตอบ  ก็ไม่ต่างกับตั้งคำถามให้เข้ากับคำตอบ  ไม่ใช่หาคำตอบมาตอบคำถามค่ะ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 30 พ.ย. 12, 23:09

รอยอินท่านให้ความหมายของคำ "ผู้ดี" ดังนี้

ผู้ดี น. คนที่เกิดในตระกูลดี, คนที่มีมารยาทดีงาม.

แต่ถ้าหากไปถามชาวบ้านร้านตลาด หรือคนในชนบททั่วไปอาจได้คำตอบที่ต่างออกไป

คำว่า "ผู้ดี" ที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่งหลายเพลง จะมีสร้อยคำว่า "มีเงิน" ต่อท้ายไปทุกที ลองฟังเพลงนี้



ใช่แล้วสิ

คำร้อง :  แผน   พันธ์สาลี        ทำนอง :  แผน   พันธ์สาลี

ใช่แล้วสิ ก็พี่มันจน น้องจึงไม่แล
ไม่มีรถเก๋งให้นั่ง น้องนางเจ้าจึงไม่แคร์ แม้ว่าเราจะเคยรักกัน

บอกแล้วไง พี่มีแต่ใจรักจริงเท่านั้น  
แหวนเพชร แหวนทองของพี่  ไม่มีเป็นของกำนัล  หากรักกันจริง ๆ

พี่เลวแค่ไหน ไยน้องจึงชัง เพราะจนกระมัง ยอดหญิง  
ผู้ดีมีเงิน คงหวังพึ่งพิง  พี่รักจริง จึงไม่สนใจ

ใช่แล้วสิ เศรษฐีมีเงิน เขาซื้อรักได้  
พี่หลงรักแทบเป็นบ้า  น้ำตาหรือแทนน้ำใจ  จะจำจนตาย ใจดำ

ผู้ดีในความคิดของชาวบ้านต้องมีเงิน  เรื่องนี้อาจารย์นิธิพลาดไปที่ไม่ได้พูดถึง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 30 พ.ย. 12, 23:19

เรื่อง ผู้ดี-ไพร่ ใน #๖๗ ต้องการให้วิจารณ์เฉพาะที่คัดมา ส่วนที่เหลือในบทความโดยเฉพาะตอนท้าย ๆ อย่าไปสนใจเลย

ลองลบชื่อ "นิธิ" ออกจากชื่อคนเขียนบทความ แล้วลองวิจารณ์เนื้อความดูว่ามีข้อความตอนไหนถูกผิดอย่างไร

อย่างน้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับ "ผู้ดี" คือ "ไพร่" น่าจะถูกต้อง

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 08:28

อยากฟังคำวิจารณ์ของคุณเพ็ญชมพู ที่ไม่ใช่คำตอบยกมาจากคำวิจารณ์ของนักวิชาการอื่นๆ  และแถมท้ายสั้นๆว่าเห็นด้วยกับคำวิจารณ์นั้น
ถ้าคุณเพ็ญชมพูประเดิมเมื่อไร   ดิฉันจะมาวิจารณ์บทความของดร.นิธิ บ้าง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 10:25

อยากฟังคำวิจารณ์ของคุณเพ็ญชมพู ที่ไม่ใช่คำตอบยกมาจากคำวิจารณ์ของนักวิชาการอื่นๆ  และแถมท้ายสั้นๆว่าเห็นด้วยกับคำวิจารณ์นั้น

โดยรวมแล้วเจ้าของบทความเรียบเรียงที่มาที่ไปและความหมายของคำว่า "ผู้ดี" ได้ดี แม้จะแฝงนัยทางการเมืองอยู่บ้างในประโยคสุดท้าย  "ผู้ดี"จึงหมายถึงคนมีมารยาทอันงามและเป็นอภิสิทธิชน ในขณะที่ "ไพร่" ซึ่งเป็นตรงกันข้าม คือคนที่หยาบคาย, เป็นสามัญชนคนธรรมดา, ไม่มีอภิสิทธิ์ หรือว่ากันที่จริงแม้แต่สิทธิอันพึงมีพึงได้ในฐานะพลเมืองก็มีไม่เต็ม

ข้อความนี้อาจจะขัดใจใครหลายคน แต่ถ้าหมายถึง "ผู้ดีมีเงิน" ความเป็นอภิสิทธิชนก็เป็นความจริงในสังคมไทย

 ขยิบตา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 10:32

คำเหล่านี้เขาเรียกว่า "สำนวน"
ไม่ได้มีคำว่า "ผู้ดีมีเงิน" อย่างเดียว     เรามีสำนวน "ผู้ดีตกยาก" ด้วย   นอกจากนี้ก็มี "ผู้ดีแปดสาแหรก"  "ผู้ดีตีนแดง" เป็นสำนวนที่ใช้ในความหมายแตกต่างกันไปตามความคิดเห็นของผู้พูด
คำว่า "ผู้ดี" ทั้งหมดนี้เกี่ยวกับอภิสิทธิ์ในสังคมตรงไหน  โปรดอธิบาย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.103 วินาที กับ 20 คำสั่ง