เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 37138 สมบัติของผู้ดี
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 28 พ.ย. 12, 13:38

วจีจริยา คือกล่าวถ้อยคาอันเป็นที่ตั้งแห่งความรักใคร่นับถือ

(๑) ผู้ดีย่อมไม่เที่ยวติเตียนสิ่งของที่เขาแต่งตั้งไว้ในบ้านที่ตนไปสู่ หมายความว่า เมื่อไปถึงบ้านใด ได้เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งเขาตั้งแต่งไว้ในที่นั้น ไม่ควรเที่ยวตำหนิติเตียนให้เป็นที่กระเทือนใจเจ้าของบ้าน ถ้าเห็นทำไว้ไม่เหมาะไม่ควร ก็น่าจะหาทางช่วยเหลือโดยปรึกษาหารือหรือถามเหตุผลดูก่อน ควรแก้ ก็ช่วยแก้ ควรเปลี่ยนแปลงก็ควรเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ขยายความกว้างออกไป ในเวลาไปช่วยงานเขา หรือไปในงานเขา เมื่อเห็นอะไรที่เขาทำไว้ขัดหูขัดตาหรือไม่เหมาะไม่ถูกต้องก็ต้องหาทางช่วยจัด ช่วยทำ ช่วยแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น ไม่ใช่นั่งตาหนิติเตียน ซึ่งไม่เป็นการสมควรเลย
(๒) ผู้ดีย่อมไม่กล่าวสรรเสริญรูปกายบุคคลแก่ตัวเขาเอง หมายความว่า การกล่าวสรรเสริญรูปกายกันโดยตรงนั้น ผู้ฟังจะเกิดความอายกระดากไม่สมควรเลย
(๓)ผู้ดีย่อมไม่พูดให้เพื่อนเก้อกระดาก หมายความว่าเมื่อพบเพื่อน แม้รู้ว่าเรื่องของเพื่อนเป็นอย่างไรหรือผู้นั้นเกิดพลาดพลั้งอย่างใดขึ้น ก็ไม่ควรพูดให้เพื่อนต้องเก้อหรือกระดาก พึงพูดจาด้วย อาการอันยิ้มแย้มแจ่มใสผูกใจกันอันเป็นที่ตั้งแห่งความรักใคร่อันสนิทสนม จึงเป็นการสมควร
(๔) ผู้ดีย่อมไม่พูดเปรียบเปรยเกาะแกะสตรีกลางที่ประชุม หมายความว่า เมื่ออยู่ในที่ประชุมชน มากด้วยกันมีทั้งชายทั้งหญิง ในที่เช่นนั้นไม่ควรพูดจาเกาะแกะสตรีให้ได้อายหรือให้มีความกระดากอาย ด้วยประการใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะล้อเล่นเพื่อสนุกสนานหรือเพื่ออะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องยกย่อง ให้เกียรติสตรีในที่เช่นนั้น จึงเป็นการสมควร
(๕) ผู้ดีย่อมไม่ค่อนแคะติรูปกายบุคคล หมายความว่าเมื่อเห็นใครๆ มีร่างกายบกพร่องหรือ ผิดแปลก หรือไม่สมส่วน ก็ไม่ควรตาหนิติเตียนค่อนแคะเขา ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ถ้าจำเป็น ต้องขอโทษเขาก่อนจึงควรกล่าวเช่นนั้น ดังนั้นจึงเป็นการควร
(๖) ผู้ดีย่อมไม่ทักถึงการร้ายโดยพลุ่งโพล่งให้เขาตกใจ หมายความว่าเมื่อได้พบผู้หนึ่งผู้ใด จะเป็นเพื่อนสนิทก็ตามไม่สนิทก็ตาม เป็นผู้ใหญ่ก็ตามเป็นเด็กก็ตาม แม้รู้ว่าเขามีความร้ายหรือเรื่องไม่ดี หรือเคราะห์ไม่ดี หรือโชคไม่ดีอยู่ ก็ไม่ควรกล่าวถึงการร้ายเช่นนั้นโดยพลุ่งโพล่งออกมาให้เขาตกใจ เมื่อรู้อยู่เช่นนั้นควรพูดเอาใจ หรือพูดหาทางแก้ไขให้เบาใจ จึงเป็นการควร
(๗) ผู้ดีย่อมไม่ทักถึงสิ่งอันน่าอายน่ากระดากโดยเปิดเผย หมายความว่า เมื่อได้พบปะใครคนใดคน หนึ่งซึ่งรู้จักคุ้นเคยกันหรือไม่ก็ตาม เมื่อเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งเป็นที่น่าอายน่ากระดาก เช่นเขาเป็นแผลเป็นที่หน้า หรือเห็นเขาแต่งกายไม่เรียบร้อย หรือเห็นเครื่องนุ่งห่มของเขาขาดหรือเปรอะเปื้อน หรืออย่างอื่นใดก็ไม่ควรที่จะทักให้เป็นที่น่าอายน่ากระดาก หากมีความจำเป็นจะต้องบอกก็ควรหาทางกระซิบกระซาบให้รู้โดยเฉพาะ เพื่อเขาได้โอกาสแก้ไขเสียได้ทันท่วงที อย่างนี้จึงเป็นการสมควร
(๘) ผู้ดีย่อมไม่เอาสิ่งที่น่าจะอายจะกระดากมาเล่าให้แขกฟัง หมายความว่า เมื่อแขกมาถึงเรือนตนหรือถิ่นตน ไม่ควรนำเรื่องที่น่าอายน่ากระดากเล่าให้เขาฟัง เช่น เล่าเรื่องอันพาดพิงถึงตัวเขาหรือ เรื่องเล่าอันเขามีส่วนเกี่ยวข้อง และเรื่องนั้นก็น่าจะทำให้เขาได้อายหรือมีความกระดากเป็นต้น นี้ไม่เป็นการสมควรแท้
(๙) ผู้ดีย่อมไม่เอาเรื่องที่เขาพึงซ่อนเร้นมากล่าวให้อับอายหรือเจ็บใจ หมายความว่า เมื่ออยู่ในวงสนทนากันไม่ว่าจะมากคนหรือน้อยไม่ว่าจะคุ้นเคยกันหรือไม่ก็ตาม ไม่ควรนำเอาเรื่องใดๆของใครๆ ที่อยู่ ณ ที่นั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เขาปิดบังซ่อนเร้นมาพูดให้เขาได้อายหรือเจ็บใจ เช่น เรื่องความผิดหวังของคน เรื่องการสอบไล่ตก หรือเรื่องมิดีมิร้าย หรือเรื่องที่เขาพลาดพลั้งที่ตนรู้อยู่ เพราะการเล่าเรื่องเช่นนี้ไม่สมควรแท้ ควรหาเรื่องอย่างอื่นซึ่งเมื่อเล่าแล้วทำให้เขาเกิดความสนใจหรือมีความยินดี ปรีดา จึงเป็นการสมควร
(๑๐) ผู้ดีย่อมไม่กล่าวถึงอัปมงคลในการมงคล เช่น งานแต่งงานก็ไม่ควรเล่าถึงเรื่องผัวเมียแตกกัน ทะเลาะวิวาทกันจนถึงหย่าร้างกัน หรือไปในงานทำบุญวันเกิด ก็ไม่ควรเล่าถึงเรื่องตาย หรือเรื่องของ ความพินาศต่าง ๆ ต้องหาเรื่องที่เป็นมงคลมาเล่าสู่กันฟัง จึงเป็นการสมควร

มโนจริยา หมายถึงการแสดงน้ำใจที่น่ารัก

(๑) ผู้ดีย่อมรู้จักเกรงใจคน หมายความว่า ตามปรกติคนเราไม่ควรรบกวนคนอื่นเขาไม่ว่าผู้นั้นจะ เป็นใคร ๆ ก็ตาม หากมีความจาเป็นจะต้องรบกวน ก็ให้รู้ความพอเหมาะพอควร ถึงเขาให้โอกาสก็ไม่ควรให้เกินความพอดี เช่น จะขอสิ่งของเขาก็ไม่ควรขอสิ่งที่เขารัก จะขอสิ่งใดต้องให้เจ้าของยินดีให้ และเมื่อเขาให้แล้วจะต้องไม่ทำให้เขาเดือดร้อนในสิ่งนั้น คือไม่ทำให้เขาขาดแคลนยากจนลงดังนี้ เป็นต้น จึงเป็นการสมควรแท้
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 28 พ.ย. 12, 14:17

ผนวก ๕ ผู้ดีย่อมเป็นผู้มีสง่า
ข้อนี้หมายความว่า ผู้ดีจะต้องรู้จักภาวะของตัว จะเดินเหินนั่งลุก ก็ควรให้มีท่าทางสง่าผ่าเผย เช่น ไม่นั่งหลังงอหรือทาซอมซ่ออย่านี้ไม่ควรแท้ แต่ก็ต้องระมัดระวังอย่าให้กลายเป็นข่มเพื่อนหรือ แสดงความยิ่งใหญ่ของตนเกินไป

กายจริยา หมายความว่า การแสดงกิริยาท่าทางให้สง่าผ่าเผยสมภูมิสมฐานะ

(๑) ผู้ดีย่อมมีกิริยาอันผึ่งผายองอาจ หมายความว่าต้องยืนเดินนั่งนอนให้เหมาะสมเช่น ต้องยืนตัวตรง เดินตัวตรง นั่งตัวตรง ไม่ยืนชิดผู้ใหญ่จนเกินไป ไม่เดินเร็วหรือช้าเกินไป ไม่นั่งหลังขด หลังงอ ทั้งนี้เป็นการช่วยให้ส่วนของร่างกายทุกส่วนทำงานได้ตามสภาพของมันด้วย แต่ต้องระวังมิให้เกิดท่าทางที่จะกลายเป็นหยิ่งหรือจองหอง จึงควรให้สุภาพเรียบร้อยเท่าที่ควร
(๒) ผู้ดีจะยืนนั่ง ย่อมอยู่ในระดับอันควรไม่เป็นผู้แอบอยู่หลังคนหรือหลีกเข้ามุม หมายความว่า เมื่อจะยืนจะนั่งในชุมนุมชน ในหมู่ในพวก ต้องยืนนั่งตามลำดับอันสมควรแก่ตน คือควรอยู่หน้า ต้องอยู่หน้า ควรอยู่หลังต้องอยู่หลัง ถ้าเป็นผู้ใหญ่ไปอยู่ข้างหลังเท่ากับเป็นการกีดกันที่ยืนที่นั่งของผู้น้อย ในเวลาเข้าแถวปรกติต้องไปตามลำดับผู้ใหญ่ผู้น้อย แต่ถ้าในแถวคอยต้องไปตามลำดับ ก่อนหลังอย่างนี้จึงสมควร
(๓) ผู้ดีย่อมไม่เป็นผู้สะทกสะท้านงกเงิ่นหยุด ๆ ยั้ง ๆ ความหมายว่า ในชุมนุมชนต้องมีความองอาจ ความแกล้วกล้าจะมีคนมากก็ตามคนน้อยก็ตาม ต้องทำประหนึ่งว่าเหมือนไม่มีคนแสดงอาการ ทุกอย่างให้เป็นปรกติ การที่จะให้มีความกล้าหาญได้นั้นต้องเป็นผู้สนใจในวิชาความรู้ ต้องเป็นผู้สนใจในขนบธรรมเนียมประเพณี ต้องเป็นผู้สนใจในระเบียบแบบแผน และต้องหมั่นเข้าร่วมชุมนุม ในที่ซึ่งตนจะเข้าร่วมได้ตามกาลเทศะ มิฉะนั้นแล้ว ก็อดจะสะทกสะท้านบ้างไม่ได้ ไม่มากก็น้อย เมื่อมีอาการอย่างนั้น จำต้องข่มใจหรือนึกถึงความรู้ความสามารถของตัวที่มีอยู่แล้วนำออกใช้ในเวลา เท่านั้น ก็อาจทาให้หายสะทกสะท้าน แสดงกิริยาอาการให้เป็นปรกติ

วจีจริยา หมายความว่า การใช้วาจาให้เหมาะสมเป็นสง่า

(๑) ผู้ดีย่อมพูดจาฉะฉานชัดถ้อยความ พูดชัดให้ได้เรื่อง ไม่อุบอิบอ้อมแอ้ม หมายความว่า ต้องพูดให้เสียงดังพอควรแก่ผู้ฟังพูดชัดเจนให้ได้เรื่อง ไม่อุบอิบอ้อมแอ้มให้ผู้ฟังต้องฉงนสนเท่ห์หรือ ซักถาม

มโนจริยา หมายความว่า การแสดงน้ำใจอันงามให้ปรากฏ

(๑) ผู้ดีย่อมมีความรู้จักงามรู้จักดี หมายความว่าต้องฝึกตาให้รู้จักดู ต้องฝึกหูให้รู้จักฟัง ต้องฝึกจมูกให้รู้จักดม ต้องฝึกลิ้นให้รู้จักลิ้ม ต้องฝึกกายให้รู้จักจับต้อง ต้องฝึกใจให้รู้จักงามอย่างไรดีอย่างไร แล้วฝังจิตใจในความดีความงามนั้นให้แน่นแฟ้น เมื่อได้เห็นสิ่งต่างๆก็สามารถเปรียบเทียบให้รู้ได้ เลือกเอาแต่สิ่งที่ดีที่งาม ดั่งนี้จึงควร
(๒) ผู้ดีย่อมมีอัชฌาสัยอันกว้างขวางเข้าไหนเข้าได้ หมายความว่าต้องรู้จักเข้าสังคม คบกับบุคคลได้ทุกชนิดโดยการสังเกตและรอบรู้ เช่น รู้ว่าบุคคลนั้น ๆ มีฐานะอย่างไร ตนมีฐานะอย่างไร รู้จักกาลว่าขณะใดควรพูดเป็นเรื่องราว หรือพูดเล่นเพื่อสนุกไม่ถือตัวและแสดงความเมตตากรุณา รู้จักอดทน และให้อภัย และรู้จักรับผิดเมื่อผิดพลาด
(๓) ผู้ดีย่อมมีอัชฌาสัยเป็นนักเลง ใครจะพูดหรือเล่นอันใดก็เข้าใจและต่อติด หมายความว่า ต้องวางใจเป็นนักกีฬา คือรู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักผิด รู้จักถูก รู้จักยกโทษให้ผู้อื่น มองคนทั้งหลาย แต่ในทางที่ดีที่ชอบ มีความอดทน ฟังคนอื่นให้เข้าใจ และรู้จักพูดเล่นติดต่อกับเขาได้ไม่นิ่งเฉยเสีย
(๔) ผู้ดีย่อมมีความเข้าใจไหวพริบ รู้เท่าถึงการณ์ หมายความว่า ต้องเป็นพหูสูตร คือเรียนรู้ดี ผู้ที เรียนรู้ดีนั้นต้องประกอบด้วยลักษณะดังนี้
๑. จำได้
๒. คล่องปาก
๓. ขึ้นใจ
๔. เข้าใจ
คนที่มีลักษณะเช่นนี้เรียกว่ารู้ดี คนที่มีความรู้ดีนั้นเมื่อได้พบได้เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมรู้เท่าถึงการณ์นั้น นี้กล่าวเฉพาะในส่วนที่เรียนรู้เอาได้ ส่วนไหวพริบอันแท้จริงนั้น เกิดจากธรรมชาติเดิม คือปัญญาเดิมตั้งแต่เกิด มีมาอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น ปัญญาใหม่ คือวิชาความรู้ที่เล่าเรียนนั้นใครเรียนอย่างใดก็ รู้อย่างนั้น เรียนดีรู้ดี ความรู้ดีย่อมทำให้รู้เท่าถึงการณ์ได้
(๕) ผู้ดีย่อมมีใจองอาจกล้าหาญ หมายความว่าต้องมีใจแกล้วกล้าอดทน ไม่ย่อท้อในภัยอันตราย อันจะมีมาซึ่งหน้าเช่นเป็นนักรบก็จะไม่กลัวตาย หาญสู้ศัตรูเพื่อประเทศชาติของตนเพื่อรักษา เกียรติประวัติที่ดีไว้ เช่น เป็นนักเรียน เป็นครู เป็นแพทย์ ก็ต้องอดทนกล้าหาญที่จะทำกิจของตน ๆ ไม่ทำใจฝ่อหรือไม่ขลาดกลัวโดยไม่สมควร
 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 28 พ.ย. 12, 15:23

(๔) ผู้ดีย่อมไม่พูดเปรียบเปรยเกาะแกะสตรีกลางที่ประชุม หมายความว่า เมื่ออยู่ในที่ประชุมชน มากด้วยกันมีทั้งชายทั้งหญิง ในที่เช่นนั้นไม่ควรพูดจาเกาะแกะสตรีให้ได้อายหรือให้มีความกระดากอาย ด้วยประการใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะล้อเล่นเพื่อสนุกสนานหรือเพื่ออะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องยกย่อง ให้เกียรติสตรีในที่เช่นนั้น จึงเป็นการสมควร

ประท้วงยับ "จ่าประสิทธิ์" พูดกลางสภา ฝันว่าได้นอนกับ ส.ส.รังสิมา

ระหว่างการอภิปราย น.ส.รังสิมา ได้ดำเนินการอภิปรายโดยเล่าข้อมูลสลับกับการเล่าความฝัน ทำให้ จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.เพื่อไทย ได้ลุกขึ้นมาประท้วง  ว่านำความฝันมาอภิปรายถอดถอนไม่ได้ และบอกว่า ถ้าผมฝันว่า ได้นอนกับคุณรังสิมาบ้างจะว่าอย่างไร  ทำให้เกิดการประท้วง ประธานจึงสั่งให้ จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ ถอนคำพูด แต่ส.ส. ฝ่ายค้าน ได้ยืนยันให้มีการกล่าวขอโทษด้วย เนื่องจากเป็นการคุกคามทางเพศ และมีการถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ

เนสา สภา ยตฺถ น สนฺติ สนฺโต   สนฺโต น เต เย น วทนฺติ ธมฺมํ  

ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นไม่เป็นสภา ผู้พูดไม่เป็นธรรม ก็ไม่ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ

พุทธภาษิต

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 28 พ.ย. 12, 16:14

^
สาธุ

กำลังรอฟังความเห็นหรือมุมมองของท่านเพ็ญชมพูในเรื่องนี้อยู่ครับ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 28 พ.ย. 12, 19:16

เข้ามาส่งเสียงว่า ตามอ่านอยู่ครับ  รออยู่ว่าจะเข้ามาช่วงใหนดี  เพราะว่ากำลังจะสื่อสารในเรื่องเดียวกัน ในอีกรูปของการนำเสนอ ในกระทู้เรื่อง เก็บตกมาจากการเดินทาง ครับ

ผมเห็นว่า ลักษณะของความเป็นผู้ดีนั้น เป็นภาพที่แสดงออกมาในองค์รวมของกาย วาจา ใจ ที่สะท้อนออกมาจากจิตใจของคนที่มีความคำนึงถึงความรู้สึกของบุคคลอื่น  ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นพื้นฐานในจิตใจของมนุษย์ตามปรกติ  เมื่อคำว่า ผู้ดี ได้ถูกนำไปใช้ในเชิงของการเสียดสี กระแนะกระแหน การจับแยกคนหรือกลุ่มคนนั้นๆออกไป การจับแยกสถานะทางสังคม ความร่ำรวย ฯลฯ มากกว่าที่จะใช้ไปในทางการชมเชยความเป็นคนดีมีคุณธรรมและจริยธรรม    แถมเมื่อจับแยกแล้วยังอดใจไม่ได้ที่จะลงสนามไปพยายามแข่งขันด้วยการกำหนดสภาพและลักษณะของของความเป็นผู้ดี (ให้ความมีทัดเทียมหรือเท่าเทียมกับเขา) โดยใช้ทางด้านวัตถุมากกว่าทางด้านจิตใจ  ผลส่วนหนึ่งที่เห็นๆกัน คือ ทำให้คำว่า ผู้ดี กลายเป็นเรื่องของการอวด การวัด การจัดจำแนกกันที่วัตถุ ทั้งในเชิงของปริมาณ ราคา ความสวยงาม ฯลฯ   ในปัจจุบันนี้ผู้ดีกำมะลอจึงมีมากเหลือเกิน ผู้ใดมีเงินมากๆ สามารถหาเงินได้มากๆ สามารถใช้จ่ายได้อย่างฟุ่มเฟือย ก็มักจะหลงตนเอง จัดระดับของตนเองว่าตนนั้นเป็นพวกผู้ดี ผู้อื่นที่ไม่มีเหมือนตนก็กลายเป็นว่าเป็นคนระดับที่ต่ำกว่า (ซึ่งคนในกลุ่มหลังนี้กลับเรียกคนในกลุ่มแรกว่าพวกไฮโซ)

ผมเิกิดและโตในต่างจังหวัดห่างไกลจากกรุงเทพฯเกือบ 1,000 กม. เติบโตที่นั่นช่วงหนึ่ง ในกรุงเทพฯช่วงหนึ่ง เรียนจบก็กลับไปทำงานคลุกคลีกับชาวบ้านร่วม 30 ปี เกษียณแล้วก็ยังกลับไปใช้ชีวิตคลุกคลีกับชาวบ้านอีก   เห็นว่า คุณสมบัติของผู้ดีพื้นฐานอันพึงมีในตัวของคนที่เราเรียกว่าชาวบ้านนั้นก็ยังคงมีอยู่ แน่นอนครับว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่น้อยมาก    ต่างกันลิบลับกับในเมืองหลวงของเราและในจังหวัดใหญ่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทั้งของคนไทยและต่างชาติ  เพียงช่วงประมาณ 10 ปีที่ไปประจำการอยู่ในต่างประเทศ ก็กลับมาเห็นอะไรต่อมิอะไรเปลี่ยนไปหมดจนแทบจะไม่เหลือสิ่งที่เคยเห็นเลย    การนั่งขัดสมาธิบนเก้าอี้ การนั่งไขว่ห้าง การใช้ภาษา การให้เกียรติกับสถานที่  และ Body language ที่เล่าเรื่องของตัวมันเองได้ ฯลฯ

บางที เราอาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้คำอื่นแทนคำว่า สมบัติผู้ดี  เพราะคำว่า ผู้ดี ดูจะกลายเป็นคำที่แสลงใจ และใช้ไปในเชิงของการแบ่งชนชั้นไปเสียแล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 28 พ.ย. 12, 21:36

บางที เราอาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้คำอื่นแทนคำว่า สมบัติผู้ดี  เพราะคำว่า ผู้ดี ดูจะกลายเป็นคำที่แสลงใจ และใช้ไปในเชิงของการแบ่งชนชั้นไปเสียแล้ว

ผู้ดีน่าจะมีความหมายตรงกับคำว่า "สัตบุรษ"  สมบัติของสัตบุรุษคือ สัปปุริสธรรม

สมบัติของผู้ดี หรือ สัปปุริสธรรม นอกจากจะมีได้ในเยาวชนโดยการสอนในโรงเรียนแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งพ่อแม่ และคนที่มีบทบาทนำในสังคมต้องกระทำเป็นตัวอย่างให้เด็กดูด้วย มิฉะนั้นจะเข้าทำนองนิทานเรื่อง "แม่ปูสอนลูกปู"

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 28 พ.ย. 12, 23:54

บางที เราอาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้คำอื่นแทนคำว่า สมบัติผู้ดี  เพราะคำว่า ผู้ดี ดูจะกลายเป็นคำที่แสลงใจ และใช้ไปในเชิงของการแบ่งชนชั้นไปเสียแล้ว

เห็นด้วยครับ เช่นอาจใช้คำว่า "มรรยาทในสังคม" สำหรับกายกริยา (ส่วนวจีกริยาและมโนจริยาก็คืิอสัปปุริสธรรมอย่างที่ท่านเทาชมพูว่าไว้)
บันทึกการเข้า
sirinawadee
ชมพูพาน
***
ตอบ: 101


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 29 พ.ย. 12, 14:49

กระทู้นี้ทำให้นึกขึ้นได้ว่า "ผู้ดี" ของดอกไม้สดแต่งได้ดีจริงๆ ค่ะ ตอนเด็กอ่านแล้วก็ไม่รู้สึกอะไรมาก แต่พอแก่ขึ้นเอามาอ่านใหม่ ชอบมากๆค่ะ สอนทั้งตัวอย่างที่ดีและไม่ดี นำมาทบทวนตัวเองได้เยอะเลยค่ะ

ชอบมากที่พระยาพลวัตสอนมานพว่า การกระทำของสุภาพบุรุษย่อมสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง  ยิ้มกว้างๆ :
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 29 พ.ย. 12, 19:12


เห็นด้วยครับ เช่นอาจใช้คำว่า "มรรยาทในสังคม" สำหรับกายกริยา (ส่วนวจีกริยาและมโนจริยาก็คืิอสัปปุริสธรรมอย่างที่ท่านเทาชมพูว่าไว้)

คุณเพ็ญชมพูว่าไว้ค่ะ   ดิฉันไม่ได้ว่า  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 29 พ.ย. 12, 19:21

คำที่ใกล้เคียงคำว่า "ผู้ดี" อีกคำหนึ่ง คือ บัณฑิต  ค่ะ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 29 พ.ย. 12, 19:23

ผมเห็นว่า น่าจะถึงเวลาที่บุคลากรที่เป็นนักวิจัยในวงการศึกษา หรือนักศึกษาระดับ post grad. จะได้ทำการวิจัย ทำวิทยานิพนธ์ หรือทำการประเมินระดับของความมีความเป็นผู้ดีของคนไทย ซึ่งก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้คำว่าสมบัติของผู้ดีเป็นหัวข้อ จะใช้คำอื่นๆ เช่น มารยาททางสังคม สัมมาคารวะ จริยธรรม กริยามารยาท วจีจริยา มโนจริยา ฯลฯ ก็ได้   จะใช้มาตรฐานใด ของใคร ของประเทศใด หรือของหนังสือสมบัติของผู้ดีของเราที่เป็นแบบเรียนสอนเด็กในระดับประถม เป็นเกณฑ์ก็ได้

สิ่งที่ปรากฎในการถ่ายทอดการประชุมสภาฯ เช่น กรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อสองสามวันมานี้ น่าจะใช้เป็นภาพของการแสดงออกต่อบุคคล ต่อสถานที่ ต่อเหตุการณ์ ต่อกฏ กติกา ระเบียบ ข้อบังคับ และต่อสาธารณชน ที่เป็นไปอย่างเปิดเผย ในทุกแง่ทุกมุมของสภาพอารมภ์ จิตใจ และการกระทำ ของคณะบุคคลที่อยู่ในทุกระดับการศึกษา แทบจะทุกอาชีพ แทบจะทุกระดับชั้นยศ แทบจะทุกตำแหน่งเหล่านี้ อาจจะนำมาใช้ในการประเมินได้    
ในแหล่งที่ชุมนุมของคณะบุคคลที่มีการถ่ายทอดและเผยแพร่ออกไปยังสาธารณชนดังกล่าวนี้ มีทั้งผู้นำในระดับสูงสุดของประเทศทั้งในอดีตและปัจจุบัน (อย่างน้อยก็จากสองเสาหลักของระบบการปกครอง) ผู้นำสูงสุดขององค์กรของรัฐทั้งในอดีตและปัจจุบัน อดีตข้าราชการทั้งฝ่ายทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่มีชั้นยศและตำแหน่งสูงในส่วนราชการต่างๆก็มี   ภาพที่ปรากฏออกมาจากแหล่งชุมนุมหรือแหล่งสมาคมของคณะบุคคลที่เรียกว่า ผู้ทรงเกียรติ เหล่านี้ อย่างน้อยก็เป็นภาพที่พอจะแสดงออกเสมือนเป็นตัวแทนของระดับความมีสมบัติของผู้ดีของไทยได้พอสมควรเลยทีเดียว   แทบจะแยกลงไปเสียดวยซ้ำว่า สายใดเป็นเช่นใดอีกด้วย เนื่องจากคณะบุคคลเหล่านี้ หากไม่ดีก็คงจะไม่ได้รับการส่งเสริมจนเติบโตไปอยู่ในระดับผู้นำขององค์กรหรือชุมชน

ภาพเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดลงไปสู่เยาวชนอย่างต่อเนื่อง หล่อหลอมและปลูกฝังให้เกิดกลายเป็นมาตรฐานที่พึงกระทำในสังคมไทย ความเป็นลูกผู้ชายและความเป็นกุลสตรีเปลี่ยนไป  
จะว่าไปแล้ว คล้ายกับเรากำลังหล่อหลอม สร้างจิตใจ สร้างเอกลักษณ์ใหม่ที่ก้าวห่างออกไปจากที่สากลโลกเขายังคงยึดถือ ยอมรับ และใช้กัน  
  
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 29 พ.ย. 12, 19:44


เห็นด้วยครับ เช่นอาจใช้คำว่า "มรรยาทในสังคม" สำหรับกายกริยา (ส่วนวจีกริยาและมโนจริยาก็คืิอสัปปุริสธรรมอย่างที่ท่านเทาชมพูว่าไว้)

คุณเพ็ญชมพูว่าไว้ค่ะ   ดิฉันไม่ได้ว่า  ยิ้ม


ชออภัยทั้งสองท่านด้วยครับ
 ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 29 พ.ย. 12, 20:22

อ้างถึง
ภาพเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดลงไปสู่เยาวชนอย่างต่อเนื่อง หล่อหลอมและปลูกฝังให้เกิดกลายเป็นมาตรฐานที่พึงกระทำในสังคมไทย ความเป็นลูกผู้ชายและความเป็นกุลสตรีเปลี่ยนไป 
จะว่าไปแล้ว คล้ายกับเรากำลังหล่อหลอม สร้างจิตใจ สร้างเอกลักษณ์ใหม่ที่ก้าวห่างออกไปจากที่สากลโลกเขายังคงยึดถือ ยอมรับ และใช้กัน 

น่าเห็นใจที่คุณตั้งต้องกล่าวอ้อมไปอ้อมมา เพื่อรักษามารยาทและไม่ตำหนิใครอย่างโจ่งแจ้ง  จนจุดชนวนวิวาทกันขึ้นมาในกระทู้   ยิ้มเท่ห์

ก็คงต้องทำให้เยาวชนเข้าใจว่า ด้วยการย่อหย่อนทางด้านการวางระเบียบและวินัยในสังคม   เราปล่อยปละละเลยให้บุคคลบางคนที่ทำตรงกันข้ามกับสมบัติผู้ดีกลายเป็นคนสำคัญในสังคม    เยาวชนควรเข้าใจความสำเร็จกับความถูกต้องมันเป็นคนละเรื่องกัน   เป็นหน้าที่ของคนรุ่นเขาจะเบนให้สองอย่างนี้ไปด้วยกันในทิศทางเดียวกัน  เพราะคนรุ่นผู้ใหญ่กว่าเขาทำพลาดไปแล้ว
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 29 พ.ย. 12, 20:43

อยากให้ท่านเทาชมพูมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจริงๆ (ทั้งที่รู้ว่าเป็นไปไม่ได้)
ผมเชื่อว่าสิ่งต่างๆจะดีขึ้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 29 พ.ย. 12, 21:04

ระเบียบสำหรับควบคุมจริยธรรมของนักการเมือง มีอยู่แล้ว 

หากผู้รับผิดชอบตามระเบียบนี้เอาจริงเอาจัง ไม่ละเลย

เรื่องน่าอับอายเหล่านี้คงไม่เกิดขึ้นในสภา

 เศร้า


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.09 วินาที กับ 20 คำสั่ง