เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 37206 สมบัติของผู้ดี
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 25 พ.ย. 12, 22:17

จะรอฟังด้วยความสนใจค่ะ   เรื่องนี้คงไม่เห็นผลในหนึ่งหรือสองปี   แต่ก็ดีกว่าไม่ทำ

มีข้อเสนอให้พิจารณาว่า มารยาทในสมบัติผู้ดีเกิดในสังคมยุคเก่าที่"ส่วนรวม"เป็นใหญ่  พึ่งพาอาศัยกัน จึงสร้างวิธีปฏิบัติตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ถ้อยทีถ้อยอาศัย  อดออมถนอมใจกัน   และระมัดระวังไม่บาดหมางกัน     คนสมัยก่อนถึงอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขมากกว่าเดี๋ยวนี้   หัวบ้านท้ายบ้านรู้จักกันหมด   มีอะไรเล็กๆน้อยๆพอแบ่งปันกันได้ก็แบ่งกัน   ผู้น้อยก็เคารพผู้ใหญ่  เพราะหวังว่าทำตัวให้ผู้ใหญ่เมตตาแล้วชีวิตจะไปได้ดีงาม     นี่คือสมบัติผู้ดีที่ไม่จำเป็นต้องเกิดมาใหญ่โตสูงส่ง เป็นชาวบ้านธรรมดาก็เป็นกันได้

แต่ปัจจุบัน วิถีชีวิตเปลี่ยนไปแล้ว  "ปัจเจกบุคคล" ใหญ่กว่าส่วนรวม   อัตตาของแต่ละคนกลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด     ทุกคนต่างคนต่างอยู่  พึ่งตัวเองเป็นหลัก  ไม่มีใครพึ่งใคร  ไม่มีใครรู้สึกไว้ใจใครได้  ทุกคนกลัวคนอื่นเอาเปรียบ   จึงกลายเป็นว่าต่างคนต่างไม่แยแสกัน   ขอเอาตัวเองรอดไว้ก่อน   จะคิดอะไรก็คำนึงถึงตัวเองเป็นหลัก  คนอื่นๆไม่มีความหมาย    พอคิดอย่างนี้การเหยียบย่ำคนอื่นเพื่อส่งตัวเองให้สูงขึ้นก็ตามมา   ความก้าวร้าวกลายเป็นชัยชนะเหนือคนที่ปกป้องตัวเองไม่ได้     สมบัติผู้ดีอาจกลายเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใจกันว่าจะทำไปทำไม ในเมื่อไม่ทำให้ตัวเองได้อะไรมากกว่าคนอื่น

ในเมื่อสังคมแวดล้อมเป็นแบบนี้ ก็ฝากคุณสุจิตราช่วยคิดด้วยค่ะ   ว่าจะสอนเยาวชนให้เห็นประโยชน์ของสมบัติผู้ดีได้อย่างไร   ในเมื่อเขาอาจจะย้อนถามว่า ทำไปแล้วมันช่วยให้เขา "ได้" อะไรมากกว่าคนอื่นตรงไหน
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 26 พ.ย. 12, 00:05

^
เห็นด้วยอย่างยิ่งในทุกประโยคที่ท่านเทาชมพูกล่าวมาทั้งหมดเลยครับ
 
คนที่เห็นภาพอย่างนี้ได้ ผมคิดว่าจะต้องเป็นผู้ใหญ่(ไม่ใช่คนสูงอายุ)ที่สนใจ "สังคม" อย่างมาก จึงสามารถเห็นพลวัตรดังกล่าวได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

แล้วทางออกสังคมจะเป็นอย่างไร?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 26 พ.ย. 12, 18:57

คำถามของคุณสุจิตรากว้างมากค่ะ  ขอเชิญท่านอื่นออกความเห็นด้วย
ดิฉันคิดว่าสังคมทุกสังคมก็ขับเคลื่อนไปด้วยตัวของมันเอง     ถ้าหาทางออกไม่พบ  ทางออกก็จะมาหาเองในวันหนึ่ง เพราะทุกอย่างไม่หยุดนิ่งอยู่แล้ว    เพียงแต่ว่าทางออกนั้นจะทำให้สังคมดีขึ้นหรือแย่ลงเท่านั้น เมื่อชั่งน้ำหนักส่วนดีส่วนเสียกันแล้ว
ถ้าจะฟื้นฟูสมบัติผู้ดีขึ้นมาใหม่      อย่างหนึ่งที่ควรเตรียมคำตอบไว้ - ก็อย่างที่บอกข้างบนนี้ละค่ะ -คือผู้ใหญ่ต้องตอบเด็กให้ได้ว่า เขาปฏิบัติตัวตามสมบัติผู้ดีแล้ว เขา"ได้" อะไรขึ้นมา  มากกว่าไม่ปฏิบัติตัว
เพราะสังคมทุนนิยม ที่เรากำลังก้าวเข้าไปเต็มตัว  เป็นสังคมที่ขึ้นกับคำว่า "ได้"  มากกว่าคำว่า "ดี"  เฉยๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 26 พ.ย. 12, 20:44

เหตุเกิดบนรถรางชั้นหนึ่ง

“ขอประทานโทษขอรับใต้เท้า กระผมซุ่มซ่ามแท้ที่เดินไปโดนเท้าของท่าน”
“มิเป็นไรมิได้ขอรับ กระผมก็ต้องขอประทานโทษใต้เท้าด้วย ที่เผลอเอาขาไปเกะกะทาง”

เหตุเกิดบนรถรางชั้นสอง

“อุวะ ไม่มีตาหรืออย่างไร จึงได้เดินมาเหยียบตีนข้า”
“แล้วกัน ก็ตาข้าไม่ได้อยู่ที่ตีน จะได้เห็นทุกอย่างที่ขวางทาง”


จากดุสิตสมิต ตีพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่๖
เอามาให้อ่านแก้เครียดครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 26 พ.ย. 12, 20:57

อ่านแล้วเครียดเลย


บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 26 พ.ย. 12, 21:18

เมื่อเป็นเด็กไปไหนมาไหนกับพ่อ แม่ จะถูกกำชับเรื่องมารยาทที่ต้องระวัง...
เช่น  เป็นเด็กต้องเคารพผู้ใหญ่ ต้องสุภาพอ่อนน้อม ไปลามาไหว้ รู้จักเกรงใจผู้อื่น
      
      รู้จักเอิ้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี  เมตตาสงสารต่อผู้ด้อยโอกาส รู้จักแบ่งปัน...

      สิ่งเหล่านี้เป็นมารยาทพื้นฐานที่ผู้ใหญ่ในยุคนั้นจะเน้นย้ำ ให้เด็กๆปฏิบัติ จนฝังใจ

บัดนี้เวลาล่วงเลยไปหลายสิบปี ค่านิยมเหล่านี้ไม่เหลือให้เห็นสักเท่าไหร่

      เมื่อลูกยังเล็ก พาไปโรงเรียนก็จะเห็นพ่อแม่ที่เอาใจใส่ลูกเรื่องการเรียน ๆๆๆๆๆ
มีทางไหนจะทำคะแนนได้สูงที่สุด...ไม่ต้องสนใจคนอื่นเอาตัวเองให้รอดก่อน การแข่ง
ขัน เริ่มเข้ามาสู่ชีวิตเด็กๆตั้งแต่ชั้นประถม  แม้วัยอันอ่อนเยาว์จะทำให้เด็กๆไม่คิดอะไรมาก
แต่พ่อ แม่ ก็เร่งเด็กๆเพราะกลัวจะไม่ทันเพื่อน หรือล้าหลังกว่าเพื่อนๆ

      พอเข้าชั้นมัธยม เด็กเริ่มเบื่อ และอยากเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น แต่ก็ยังไม่พ้นการแข่งขัน
ชีวิตเริ่มเร่งรัด เรียนกวดวิชาเอย แข่งกันทำคะแนนสูงๆ เข้าไว้ ไม่มีอะไรสำคัญกว่าความเจริญก้าวหน้าของตนเอง
ส่วนเพื่อนนั้นก็คบเฉพาะคนที่มีทุกสิ่งใกล้เคียงกับตัวเอง แบ่งกลุ่ม แบ่งชนชั้น

      พอเข้ามหาวิทยาลัยก็เรียน และทำกิจกรรมตามที่ชอบ ...พอทำงานก็แข่งกันว่าใครจะเจริญก้าวหน้าได้มากและเร็วกว่ากัน
พอแต่งงาน มีครอบครัวก็แข่งกันว่าใครจะมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจมากกว่ากัน แบ่งแยกสังคม แต่ไม่จริงใจ ไม่เชื่อใจ ไม่ไว้ใจ
มีลูกก็แข่งกันว่าลูกใครจะได้เข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมากกว่ากัน

      นี่เป็นชีวิตของคนชั้นกลางขึ้นไป ในกรุงเทพและเมืองใหญ่ๆ  การแข่งขันคือตัวกำหนดชีวิต ....

แล้วจะเอามิตรภาพ ความเกรงใจ ความเอื้อเฟื้อมาใส่ตรงไหน ....มันแทบไม่มีช่องว่างให้เติมสิ่งนี้ลงไป
เพราะทุกคนต้องทำเพื่อความเจริญก้าวหน้าของตนเอง  พึ่งใครไม่ได้ ...

      ความเปลี่ยนแปลงในสังคมทำให้ระเบียบชีวิตในอดีตมลายหายไป

      เมื่อก่อนจำได้ว่าประตูรั้วบ้านปิดไว้เฉยๆ ไม่เคยต้องใส่กลอน ใครมาก็กดกริ่งเรียกไม่ผลีผลามเข้ามาในบ้าน
ทั้งที่จะเข้ามาก็ง่ายนิดเดียว แต่ไม่เคยมีใครเข้ามาเลย.... แต่เดี๋ยวนี้แม้กลางวัน สว่างๆ ก็ต้องปิดประตูใส่กลอน
จะออกไปพบใครก็ต้องดูให้เห็นก่อนว่ารู้จักไหม ไม่งั้นอาจไม่รอด...

      การแสดงตัวด้วยคุณสมบัติผู้ดีอย่างสมัยก่อน อาจทำให้เรากลายเป็นคนอ่อนต่อโลกยุคนี้ไปเลย เผลอๆ หมดตัว....
เห็นผู้ใหญ่หลายท่าน พลาดเพราะเหตุนี้มาแล้ว รวมทั้งดิฉันด้วย เมตตาและหยิบยื่นความช่วยเหลือให้เด็กสมัยนี้
หวังว่าจะช่วยให้เขาตั้งตัวได้เร็วขึ้น เป็นการให้อย่างบริสุทธิ์ใจโดยแท้ แต่การกลับเป็นว่า เธอหวังจะได้มากกว่าที่เธอควรได้

       สุดท้ายต้องเชิญออกไปจากชีวิต แล้วอวยพรให้เธอไปมีชีวิตที่ดีกว่านี้....แล้วก็ต้องบอกตัวเองว่า อย่าคิดช่วยใครอีกเลย
เจ็บตัวเปล่าๆ เฮ้อ...  

 


    
  
    
    
  
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 26 พ.ย. 12, 23:38

คำถามของคุณสุจิตรากว้างมากค่ะ  ขอเชิญท่านอื่นออกความเห็นด้วย
ดิฉันคิดว่าสังคมทุกสังคมก็ขับเคลื่อนไปด้วยตัวของมันเอง     ถ้าหาทางออกไม่พบ  ทางออกก็จะมาหาเองในวันหนึ่ง เพราะทุกอย่างไม่หยุดนิ่งอยู่แล้ว    เพียงแต่ว่าทางออกนั้นจะทำให้สังคมดีขึ้นหรือแย่ลงเท่านั้น เมื่อชั่งน้ำหนักส่วนดีส่วนเสียกันแล้ว
ถ้าจะฟื้นฟูสมบัติผู้ดีขึ้นมาใหม่      อย่างหนึ่งที่ควรเตรียมคำตอบไว้ - ก็อย่างที่บอกข้างบนนี้ละค่ะ -คือผู้ใหญ่ต้องตอบเด็กให้ได้ว่า เขาปฏิบัติตัวตามสมบัติผู้ดีแล้ว เขา"ได้" อะไรขึ้นมา  มากกว่าไม่ปฏิบัติตัว
เพราะสังคมทุนนิยม ที่เรากำลังก้าวเข้าไปเต็มตัว  เป็นสังคมที่ขึ้นกับคำว่า "ได้"  มากกว่าคำว่า "ดี"  เฉยๆ

คำถามที่อาจารย์ถามขึ้นผมคิดว่าสนใจ. ผมจะขออนุญาตลองตอบคำถามของอาจารย์นะครับ

1. ถ้าสังคมนั้นเป็นสังคมที่ให้ความนับถือ "สมบัติของผู้ดี" ถ้าเขาปฏิบัติตามสมบัติผู้ดีแล้ว สิ่งที่เขาจะได้คือ การไม่ถูกรังเกียจหรือไม่ถูกดูแคลนหรือไม่ถูกตำหนิจากคนรอบข้าง รวมทั้งหน้าที่การเงินก็ย่อมที่จะเจริญ เพราะสังคมนั้นคงไม่อยากให้ผู้ที่ไม่มีสมบัติของผู้ดีเป็นผู้นำองค์กรหรือหน่วยงานถ้ามีคนที่มีความสามรถใกล้เคียงกันแต่มีสมบัติของผู้ดีมากกว่า ลองคิดง่ายๆดูก็ได้นะครับว่าเราอยากให้ลูกของเราปฏิบัติอย่างไรในบ้านของเรา อย่างมีหรือไม่มีสมบัติผู้ดี? ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้นำองค์กรก็อยากที่จะให้ผู้ที่ตนจะแต่งตั้งมีสมบัติของผู้ดี เพราะถ้าได้คนที่ไม่มีสมบัติของผู้ดี สุดท้ายแล้วคนที่แต่งตังอาจถูกผู้ที่ตนแต่งตั้งถอนหงอกเอาได้
2. ถ้าสังคมนั้นเสื่อมถอยในการให้ความนับถือต่อ "สมบัติของผู้ดี" การที่เราปฏิบัติตามสมบัติของผู้ดีก็ยิ่งเป็นโอกาสทองเพราะจะทำให้ยิ่งเกิดความแตกต่างอย่างเห็นชัดเจนระหว่างคนสองกลุ่มนี้ เพียงแต่ว่าเราต้องอดทนอดกลั้นต่อเรื่องเล็กน้อยท่ี่อยากจะได้เพราะนั่นคือการ "ให้" แก่ผู้อื่น แต่มิได้หมายความว่าเราจะต้องประพฤติตนแบบพระเวสสันดร (ซึ่งผมไม่เคยเห็นด้วยตั้งแต่เล็ก)
ที่จริงแล้วยังประเด็นและแง่มุมปลีกย่อยอีกมากที่จะต้องถกเพิ่มเติม
แต่ตอนนี้มึนศีรษะมากเพราะใกล้จะเที่ยงคืนแล้ว
ส่วนประเด็นเรื่องพลวัตรของสังคมที่อาจารย์ได้ล่าวถึงนั้นผมขออนุญาตแสดงความเห็นเพิ่มเติมในวันพรุ่งนี้ครับเพราะน่าสนใจ
ราตรีสวัสดิ์ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 27 พ.ย. 12, 07:42

เรื่องชวนหัวในรถราง ผมไม่ได้ต้องการจะให้คิดไปว่าสมบัติผู้ดีจะมีเฉพาะคนที่มีฐานะทางสังคม  คนจนคือไพร่ แม้แต่มารยาทก็ยังหามิได้

คนญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลระดับชั้นหนึ่งหรือชั้นสอง จะมีกิริยามารยาทไม่แตกต่าง ไม่ว่าจะแสดงออกต่อคนชาติเดียวกันเองหรือคนต่างชาติ
ญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่มีวัฒนธรรมสูง เป็นผู้ดี ทั้งที่เศรษฐกิจบีบรัดตัว ต้องแข่งขันแบบเอาเป็นเอาตายเหมือนๆกัน แต่ การหล่อหลอมจากระบบศึกษาแต่แรกไปโรงเรียน ทำให้คนญี่ปุ่นเป็นคนที่มีคุณภาพเช่นนั้นทั้งประเทศ

การศึกษาของชาติ ไม่ว่าจะชาติใดก็ตาม จะต้องทำให้เยาวชนของชาติเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่มีความรู้สึกนึกคิด มีวัฒนธรรมที่ดีร่วมกัน
การศึกษาของไทยที่ผ่านมา ทำให้คนไทยผิดแผกแตกต่าง เพราะความไร้โอกาสทางการศึกษา หรือ เพราะเหตุอันเกิดจากคุณภาพของระบบการศึกษา

ผมไม่เข้าใจว่าทำไมกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ตัดหลักสูตรพวกหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ซึ่งมีเรื่องสมบัติผู้ดีนี้ออกไป ทั้งที่ควรจะพัฒนาอยู่เสมอให้สอดคล้องกับกาลสมัย เพื่อบ่มเพาะให้เด็กตั้งแต่ในวัยอนุบาลและประถมอย่างเป็นสาระสำคัญ และทั่วถึงทั้งประเทศด้วยซ้ำ
เมือตัดออกไป ความรู้สึกนึกคิดของเด็กก็เติบโตขึ้นโดยอิทธิพลฝ่ายเดียวจากวัฒนธรรมของพ่อแม่ ที่ไม่ค่อยจะมีเวลาให้ลูก และพื้นฐานหลากหลายตามเชื้อชาติ ท้องถิ่น ศาสนาและสิ่งแวดล้อม กลายเป็นไทยพันธุ์ใหม่ทุกวันนี้ที่คนรุ่นผมได้แต่ปลง

วิธีแก้ ก็ต้องกลับไปให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่องนี้แก่เด็กดังที่เคยทำในอดีต ซึ่งผมคิดว่าเป็นวิธีเดียวที่จะหล่อหลอมให้เยาวชน เติบโตขึ้นเป็นคนดีที่มีคุณภาพ และมีสำนึกของความเป็นไทยร่วมกันทั้งชาติได้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 27 พ.ย. 12, 09:40

"สมบัติผู้ดี" ถูกลบออกจากตำราเรียนสมัยไหนก็จำไม่ได้แล้ว    ไม่ทราบเหตุผล แต่พอจะตอบตามหลักเกณฑ์การร่างหลักสูตรได้ว่า อะไรก็ตามในหลักสูตรเก่าที่ถูกตัดออกในหลักสูตรใหม่   คือสิ่งที่ถูกตัดสินว่าไม่สำคัญ   เหตุผลของความไม่สำคัญมีได้หลากหลายเช่นไม่จำเป็น  ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคม หรือซ้ำกับวิชาอื่นๆ  ฯลฯ

ความไม่สำคัญ มี 2 ระดับ  คือ
1  ระดับไม่สำคัญเอามากๆ ก็ถูกตัดให้หายวับไปเลย เหมือนไม่เคยมีอยู่  
2  ระดับสำคัญน้อยคือคณะกรรมการร่างฯยังมีเยื่อใยอยู่บ้าง  ก็ถูก "ยุบ" รวมไปอยู่ในเนื้อหาของวิชาอื่นๆที่คิดว่าพอจะรวมกันเข้ามาได้   อย่างหลังนี้ก็เช่นวิชาวรรณคดี   และประวัติศาสตร์     มีมากบ้างน้อยบ้างตามเนื้อหาหลักสูตรในแต่ละยุค  
เรื่องวิชาประวัติศาสตร์นี่ก็เหมือนกันค่ะ  เคยสอนนศ.ปริญญาโท  ขอให้ช่วยกันลำดับพระนามพระมหากษัตริย์ 9 รัชกาล และถามว่าแต่ละพระองค์ทรงเกี่ยวข้องกันทางสายพระโลหิตอย่างไร    99% ในห้องนั่งงง ตอบไม่ถูก  ช่วยกันลุ้นกันไปมาอยู่ประมาณ 20 นาที ถึงช่วยกันปะติดปะต่อออกมาได้    สังเกตว่าคนที่พอนึกออกคือจบด้านสังคมศาสตร์  แต่ถ้าจบสายวิทย์มาจะนึกไม่ออกเลย

เข้าใจว่าปัจจุบันจะเน้นวิชาทางสายวิทยาศาสตร์มากกว่าสายสังคมศาสตร์    เพื่อหาชั่วโมงให้ลงตัว  จึงมีการหั่นวิชาที่คิดว่าไม่จำเป็นลงไปเรื่อยๆ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 27 พ.ย. 12, 22:33

เรื่องชวนหัวในรถราง ผมไม่ได้ต้องการจะให้คิดไปว่าสมบัติผู้ดีจะมีเฉพาะคนที่มีฐานะทางสังคม  คนจนคือไพร่ แม้แต่มารยาทก็ยังหามิได้

คนญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลระดับชั้นหนึ่งหรือชั้นสอง จะมีกิริยามารยาทไม่แตกต่าง ไม่ว่าจะแสดงออกต่อคนชาติเดียวกันเองหรือคนต่างชาติ
ญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่มีวัฒนธรรมสูง เป็นผู้ดี ทั้งที่เศรษฐกิจบีบรัดตัว ต้องแข่งขันแบบเอาเป็นเอาตายเหมือนๆกัน แต่ การหล่อหลอมจากระบบศึกษาแต่แรกไปโรงเรียน ทำให้คนญี่ปุ่นเป็นคนที่มีคุณภาพเช่นนั้นทั้งประเทศ

การศึกษาของชาติ ไม่ว่าจะชาติใดก็ตาม จะต้องทำให้เยาวชนของชาติเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่มีความรู้สึกนึกคิด มีวัฒนธรรมที่ดีร่วมกัน
การศึกษาของไทยที่ผ่านมา ทำให้คนไทยผิดแผกแตกต่าง เพราะความไร้โอกาสทางการศึกษา หรือ เพราะเหตุอันเกิดจากคุณภาพของระบบการศึกษา

ผมไม่เข้าใจว่าทำไมกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ตัดหลักสูตรพวกหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ซึ่งมีเรื่องสมบัติผู้ดีนี้ออกไป ทั้งที่ควรจะพัฒนาอยู่เสมอให้สอดคล้องกับกาลสมัย เพื่อบ่มเพาะให้เด็กตั้งแต่ในวัยอนุบาลและประถมอย่างเป็นสาระสำคัญ และทั่วถึงทั้งประเทศด้วยซ้ำ
เมือตัดออกไป ความรู้สึกนึกคิดของเด็กก็เติบโตขึ้นโดยอิทธิพลฝ่ายเดียวจากวัฒนธรรมของพ่อแม่ ที่ไม่ค่อยจะมีเวลาให้ลูก และพื้นฐานหลากหลายตามเชื้อชาติ ท้องถิ่น ศาสนาและสิ่งแวดล้อม กลายเป็นไทยพันธุ์ใหม่ทุกวันนี้ที่คนรุ่นผมได้แต่ปลง

วิธีแก้ ก็ต้องกลับไปให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่องนี้แก่เด็กดังที่เคยทำในอดีต ซึ่งผมคิดว่าเป็นวิธีเดียวที่จะหล่อหลอมให้เยาวชน เติบโตขึ้นเป็นคนดีที่มีคุณภาพ และมีสำนึกของความเป็นไทยร่วมกันทั้งชาติได้



เห็นด้วยคุณลุงเนาวรัตน์อย่างยิ่งยิ่ง

สมบัติของผู้ดี มิใช่สมบัติของคนรวย ดังนั้นคนจนก็มีสมบัติผู้ดีได้ ถ้ารู้จักกาละเทศะ ให้เกียรติแก่คน สถานที่และโอกาส เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้ที่อ่อนแอกว่า ไม่รุกรานหรือรบกวนผู้อื่น
และอยากจะบอกเพิ่มเติมว่า (ทั้งที่ไม่ค่ยกล้าเพราะคงมีคนจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วย) สมบัติของผู้ดี มิใช่สมบัติของคนดี นั่นคือ ผู้ที่มีสมบัติผู้ดี(ซึ่งคงไม่ครบทั้งหมด)มิใช่ว่าจะต้องเป็นคนดี ขณะเดียวกันคนดีอาจไม่มีสมบัติผู้ดีครบถ้วนก็ได้
ผมเพียงพยายามที่จะตอบคำถามของท่านเทาชมพูว่า ในโลกปัจจุบันที่มีความเป็นส่วนตัวหรือส่วนตัวเป็นใหญ่ รวมทั้งเป็นแห่งทุนนิยมนั้น สมบัติของผู้ดีก็ยังคงมีความจำเป็นอยู่เสมอมาและตลอดไป นี่คือเหตุผลที่เด็กรุ่นใหม่ต้องได้รับการฉุกให้คิด
พระท่านว่า อกาลิโก
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 27 พ.ย. 12, 23:23

ลองดูตัวอย่างของความไม่รู้จักกาละเทศะของดาราดัง

http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9550000144632
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 27 พ.ย. 12, 23:36

ก่อนนอนขอทำการบ้านต่อนะครับ ภาคผนวกที่ ๔

ผนวก ๔ ผู้ดีย่อมมีกิริยาเป็นที่รัก
ข้อนี้หมายความว่า การแสดงกิริยาอาการต่าง ๆ เช่น การยืน เดิน นั่งนอน หรือพูดจาปราศรัย หรือ การแสดงน้าใจ ต้องแสดงในทางที่ส่อให้เห็นว่าน่ารักน่าเคารพน่านับถือบูชา จึงเป็นการสมควร

กายจริยา คือการแสดงออกทางกาย เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน ที่น่ารักใคร่น่าพอใจ
(๑) ผู้ดีย่อมไม่ฝ่าฝืนเวลานิยม คือ ไม่ไปใช้กิริยายืนเมื่อเขานั่งกับพื้น และไม่ไปนั่งกับพื้นเมื่อเวลา เขายืนเดินกัน หมายความว่าเมื่อเราอยู่รวมในหมู่คนหรือในชุมนุมชน ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะเป็นเช่นไร เมื่อคนทั้งหลายนั่งอยู่บนพื้นราบ เราเข้าไปยังที่นั่น ต้องนั่งเช่นเดียวกับเขา เมื่อจะผ่านไปต้องเดินเขาหรือคลานไป ไม่ควรเดินเทิ่ง ๆ ผ่านไป เมื่อคนทั้งหลายนั่งอยู่บนเก้าอี้เราเข้าไปยังที่นั้น ต้องนั่งเก้าอี้เช่นเดียวกับเขา เมื่อจะผ่านไปต้องเดินก้มหลังผ่านไป เมื่อคนทั้งหลายยืนอยู่เราเข้าไป ณ ที่นั้นต้องยืนเช่นเดียวกับเขา เมื่อจะผ่านไป ต้องเดินหลีกไป ถ้าเข้าในที่ปูชนียสถาน เช่น ในโบสถ์ พึงกราบพระด้วยเบญจางคประดิษฐ์อย่างนี้จึงสมควร
(๒) ผู้ดีย่อมไม่ไปนั่งนานเกินสมควรในบ้านของผู้อื่น หมายความว่า เมื่อไปหาท่านผู้ใดด้วยธุระอย่างไร เมื่อเสร็จธุระแล้วต้องรีบลากลับ ไม่ควรนั่งอยู่นานเกินไป นอกจากผู้ที่คุ้นเคยใกล้ชิด สนิทสนมกัน
(๓) ผู้ดีย่อมไม่ทำกิริยารื่นเริงเมื่อเขามีทุกข์ หมายความว่า เมื่อไปในการศพ ไม่ควรแสดงกิริยา รื่นเริงหรือตลกคะนองสรวลเสเฮฮา พึงแสดงอาการสงบ ปลงธรรมสังเวชตามควร
(๔) ผู้ดีย่อมไม่ทำกิริยาโศกเศร้าเหี่ยวแห้งในที่ประชุมรื่นเริง หมายความว่า เมื่อไปในงานรื่นเริง เช่น งานแต่งงาน หรืองานฉลองอื่น ๆ ไม่พึงแสดงอาการโศกเศร้าหงอยเหงาเจ่าจุกให้ปรากฏ แต่ควรแสดงอาการรื่นเริง ยิ้มแย้มแจ่มใสโดยควรแก่ภาวะของตนจึงเป็นการสมควร
(๕) ผู้ดีเมื่อไปสู่ที่ประชุมการรื่นเริงย่อมช่วยสนุกชื่นบานให้สมเรื่อง หมายความว่า เมื่อไปในงาน รื่นเริง เช่น งานวันเกิดหรืองานปีใหม่ หรืองานฉลองใด ต้องสนุกสนานในที่ควรสนุกสนานตาม สมควร
(๖) ผู้ดีเมื่อเป็นเพื่อนเที่ยวย่อมต้องกลมเกลียวและร่วมลำบากร่วมสนุก หมายความว่า ถ้าไปกันหลายคนก็พึงมีความกลมเกลียวกันลำบากก็ลำบากด้วยกันสนุกก็สนุกด้วยกัน ต่างคนต่างช่วยกันทำกิจที่ควรทำตามความสามารถของตน แสดงความร่วมสุขร่วมทุกข์กันตลอดไป ดังนี้ การเที่ยวเตร่ จึงจะสนุกสนานตามควร
(๗) ผู้ดีเมื่อตนเป็นเจ้าของบ้าน ย่อมต้องต้อนรับแขกและเชื้อเชิญแขกไม่เพิกเฉย หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของบ้านหรือเจ้าถิ่น ต้องต้อนรับแขกผู้มาถึงบ้านหรือถิ่นของตนด้วยความยินดี ไม่ว่า แขกนั้นจะเป็นอย่างไร การต้อนรับนี้แยกออกได้เป็น ๒ วิธี
วิธีที่ ๑ ต้อนรับด้วยเครื่องต้อนรับต่าง ๆ เช่น น้าร้อน น้าเย็น หรือด้วยข้าวปลาอาหาร หรือด้วย สิ่งอื่น ตามความสามารถของเจ้าถิ่น
วิธีที่๒ ต้อนรับด้วยน้าใสใจจริงแขกมีภาวะอย่างไร ก็รับรองให้เหมาะแก่ภาวะของแขกและ ด้วยน้ำใจอันงานของเจ้าถิ่น ดังนี้จึงเป็นการสมควร
(๘)ผู้ดีย่อมไม่ทำกิริยามึนตึงต่อแขก หมายความว่า เมื่อแขกมาถึงบ้านตนไม่ว่าจะเป็นบุคคลเช่นไร ตั้งต้นแต่พระสงฆ์องค์เจ้า โดยที่สุดแม้คนขอทาน มาถึงบ้านตนแล้ว ต้องต้อนรับด้วยอาการยิ้มแย้ม แจ่มใส ต้องถือหลักว่า แขกผู้มาถึงเรือนตนนั้นเป็นผู้นามงคลมาให้ จึงควรต้อนรับมงคลนั้น ดังนี้จึงเป็นการสมควร
(๙) ผู้ดีย่อมไม่ให้แขกคอยนานเมื่อเขามาหา หมายความว่า เมื่อแขกมาหาต้องรีบให้ได้พบโดยเร็ว ตื่นอยู่ก็ดี หลับอยู่ก็ดีหรือกาลังทากิจอยู่ก็ดีควรให้โอกาสแก่แขกได้ทุกเวลา และพยายามให้ได้พบ โดยเร็วที่สุด ไม่ควรให้แขกต้องคอยยอยู่นาน และไม่ควรแสดงให้แขกทราบว่า มีกิจธุระอันจาต้องทา เป็นอันขาด
(๑๐) ผู้ดีย่อมไม่จ้องดูนาฬิกาในเวลาที่แขกยังนั่งอยู่ หมายความว่า ขณะที่แขกกำลังนั่งอยู่ในบ้าน ไม่ควรจ้องดูนาฬิกาเพราะการทำเช่นนั้น เท่ากับเป็นการไล่แขกให้กลับโดยทางอ้อมจึงไม่ควรทำ หากมีธุระจำเป็น เช่น นัดไว้กับผู้อื่น ก็ควรแจ้งให้แขกทราบ และขอโทษแขก ถึงอย่างไรก็ตาม แขกก็คงไม่ปรารถนาให้เราต้องเสียเวลาเช่นนั้น ต้องแสดงให้ปรากฏเสมอว่า ยินดีต้อนรับตลอดเวลา และควรขอบคุณแขกผู้มาเยี่ยมเยียนตนด้วย
(๑๑) ผู้ดีย่อมไม่ใช้กิริยาบุ้ยใบ้หรือกระซิบกระซาบกับผู้ใดในเวลาเมื่ออยู่เฉพาะหน้าผู้หนึ่ง หมายความว่าขณะกาลังสนทนาปราศรัยอยู่กับผู้ใดหรืออยู่ในกลุ่มใดไม่ควรทำบุ้ยใบ้ หรือกระซิบกระซาบกับใคร เป็นการเฉพาะตัว ซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งหรือคนหนึ่งที่รวมอยู่นั้นไม่รู้ เพราะการทำเช่นนี้ อาจทำให้ผู้ที่ไม่รู้เรื่องนั้นมีความระแวงสงสัยไปต่าง ๆ นานาได้ หากมีความจำเป็นจะต้องทำเช่นนั้น ก็ควรงดไว้จนกว่าจะได้โอกาสจึงทำ เพื่อมิให้เกิดความระแวงสงสัยในใจกันและกัน
(๑๒) ผู้ดีย่อมไม่ใช้กิริยาอันโกรธเคืองหรือดุดันผู้คนบ่าวไพร่ต่อหน้าแขก ในขณะที่อยู่ต่อหน้าแขก หรืออยู่รวมกับคนต่างถิ่นหรืออยู่ในที่ชุมนุมชน ไม่ควรแสดงกิริยาอาการอันโกรธเคืองผู้ใดผู้หนึ่ง หรือดุด่าว่ากล่าวคนรับใช้ของตนต่อหน้าคนทั้งหลายเหล่านั้น โดยเฉพาะต่อหน้าแขกที่มาถึงบ้านตนแล้ว ไม่ควรจะทำโกรธเคืองหรือดุดันคนรับใช้ของตนเลย
(๑๓) ผู้ดีย่อมไม่จ้องดูบุคคลโดยเพ่งพิศเหลือเกิน หมายความว่า เมื่อพบปะบุคคลใด ๆ ก็ตาม ไม่ ควรจ้องดูบุคคลนั้นจนผิดปรกติ ซึ่งอาจทำให้ผู้ถูกจ้องดูนั้นเห็นเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งไปก็ได้ แม้ จำเป็นต้องดู ก็เพียงเพื่อกำหนดหมายจาหน้าจาตากันไว้เท่านั้น
(๑๔) ผู้ดีย่อมต้องรับต้องส่งแขกเมื่อไปมาในระยะอันสมควร หมายความว่า เมื่อแขกมาถึง บ้านเรือนตนต้องออกต้อนรับด้วยความยินดี เมื่อแขกกลับต้องส่งแขกในระยะทางพอควร แสดงให้ เห็นความยินดีต้อนรับขับสู้ของเจ้าถิ่น ทั้งนี้เป็นการผูกใจกันได้เป็นอย่างดี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 28 พ.ย. 12, 09:39

และอยากจะบอกเพิ่มเติมว่า (ทั้งที่ไม่ค่อยกล้าเพราะคงมีคนจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วย) สมบัติของผู้ดี มิใช่สมบัติของคนดี นั่นคือ ผู้ที่มีสมบัติผู้ดี(ซึ่งคงไม่ครบทั้งหมด)มิใช่ว่าจะต้องเป็นคนดี ขณะเดียวกันคนดีอาจไม่มีสมบัติผู้ดีครบถ้วนก็ได้
ก็จริงค่ะ  ไม่มีวิชาอะไรในโลกที่สอนแล้วก่อให้เกิดผล 100 %   คนหน้าไหว้หลังหลอกก็สามารถปฏิบัติตัวให้มีมารยาทสุภาพเรียบร้อยต่อหน้าสาธารณชนได้   
สมบัติผู้ดีเป็นวิชาช่วยให้อยู่ร่วมกันได้ในสังคมอย่างราบรื่นกว่าสังคมที่ไม่มีสมบัติผู้ดี    แต่วิชาที่ช่วยให้คนเป็นคนดีในสังคมคือวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม   ด้วยเหตุนี้นักการศึกษาในยุคก่อนจึงมีวิชาทั้งหมดนี้เต็มๆคอร์สให้เด็กเรียน     ทั้งหมดนี้ก็หายไปอีกตามหลักอนิจจังของโลก
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 28 พ.ย. 12, 11:25

ถ้าลองพิจารณาเนื้อหาของ "สมบัติของผู้ดี" จะเห็นว่ามีเนื้อหาในหลายระดับ และหลายมิติ ได้แก่ กายจริยา วจีจริยา มโนจริยา
มโนจริยาเป็นเรื่องภายในใจ เป็นเรื่องของ "คนดี" "คนที่มีคุณธรรม" เสียโดยมาก
ในขณะที่กายจริยาหรือวจีจริยาเปรียบเสมือนเชิงกายภาพ คือ สิ่งที่คนอื่นเห็นหรือสัมผัสได้ ซึ่งส่วนใหญ่ของกายจริยาหรือวจีจริยามิใช่เรื่อง "คนดี" หรือ "คนไม่ดี, คนไม่มีศีลธรรม"
การที่เราจะสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ในทุกเรื่องคงเป็นไปไม่ได้ แม้แต่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงถูกติฉินนินทา(ในสมัยพุทธกาล)
เช่นกันในเรื่องของ "สมบัติของผู้ดี" ซึ่งกว้างมากและคงเป็นไปไม่ได้ที่จะประพฤติได้เต็มร้อย

สิ่งที่ผมคิดคือ minimal requirement ของคนในสังคม คือในมิติของ กายกริยา เพื่อให้ไม่เกิดการรบกวนผู้อื่น หรือถ้าดีกว่านั้นก็รวมทั้ง วจีกริยา
ส่วนมโนจริยานั้น ผมเองก็เห็นด้วยกับท่านเทาชมพูว่า คงต้องอาศัยวิชาหน้าที่พลเมืองและวิชาศีลธรรม แต่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนจากในอดีต
จำได้ว่าในอดีตสมัยที่เป็นนักเรียน เมื่อเวลาจะสอบวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ผมจะเข้าไปนั่ง "ท่อง" เนื้อหาวิชาดังกล่าวในโบสถ์ (โบสถ์คริสต์) แต่ก็ได้แต่ท่องและจำ
ผมคิดว่าต้องใช้วิธีการเรียนการสอนที่ต้องทำให้เด็กคิด ดังเช่นแนวทางการสอนโรงเรียนที่ดังๆเขาสอนวิชาอื่นๆ เช่น การสอนของโรงเรียนสัตยาใส การสอนของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เป็นต้น
 ยิ้ม
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 28 พ.ย. 12, 12:26

เผื่อท่านใดจะสนใจครับ

"โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ที่อยู่
บ้านเลขที่ 162 หมู่ 13 บ้านกวางงอย ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ 31130
ข้อมูล
ชื่ออังกฤษ   Lamplaimat Pattana School
อักษรย่อ   LPMP
ประเภท   โรงเรียนเอกชน
ก่อตั้ง   16 พฤษภาคม 2546
สังกัดการศึกษา   กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 1
เว็บไซต์   www.lpmp.org
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา หรือ "โรงเรียนนอกกะลา" เป็นโรงเรียนเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร ในสังกัดของ กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์
ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา โดยการ ได้เปิดทำการเรียนการ สอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 จำนวน 3 ชั้นเรียน ได้แก่ ชั้นอนุบาล 1 ชั้นอนุบาล 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้คัดเลือกเด็กจากเด็กทั่วไปโดยวิธีจับฉลาก นักเรียนที่เข้าเรียนไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ข้อพิจารณาที่สำคัญคือ ผู้ปกครองต้องพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับโรงเรียนฯ ในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ ปัจจุบันมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา เป็นผู้ถือใบอนุญาตโรงเรียนฯ และเปิดทำการเรียนการสอนครบ 11 ชั้นเรียน คือ ชั้นอนุบาล 1–2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาโดยมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา เป็นโรงเรียนเอกชนที่ไม่เก็บค่าเล่าเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่าง เริ่มดำเนินการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 ถึงปัจจุบัน ในระดับชั้นอนุบาลประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนทั้งหมด 240 คน มีครู 30 คน รับนักเรียนโดยการจับฉลาก โรงเรียนฯ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 50.2 ไร่ ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเงินของมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา สร้างเสร็จและเปิดทำการเรียนการสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546
ตั้งแต่เริ่มต้น นายเจมส์ คลาร์ก เป็นผู้สนับสนุนในเรื่องการลงทุนก่อสร้างโรงเรียน และสิ่งสนับสนุนทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว เป็นจำนวนเงินประมาณ 52.5 ล้านบาท นอกจากนั้น นายเจมส์ คลาร์ก ยังสนับสนุนในเรื่องค่าใช้จ่ายดำเนินการของโรงเรียนทั้งหมด ตั้งแต่ ปี 2546 - 2553 เป็นเงิน 52.5 ล้านบาท รวมเป็นเงินที่ นายเจมส์ คลาร์ก สนับสนุนโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาถึงปัจจุบันเป็นเงินทั้งสิ้น 105 ล้านบาท

ปรัชญาของโรงเรียน
"การศึกษาพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ " ( Education for complete human development)

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน
“ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข เต็มศักยภาพ เป็นคนดีและคนเก่ง สอดคล้องกับวิถีชีวิตและกลมกลืนกับวิทยาการสมัยใหม่ สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พร้อมด้วยคุณธรรม ภูมิปัญญา และสำนึกในความเป็นพลเมืองดี (A school where the pupils are happy and fulfill their potential, which is adapted to it's local environment and current technology, and which develops the complete individual, instilling individual morality, preserving community traditions and promoting good citizenship)”

ผู้บริหารโรงเรียน
พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน วิเชียร ไชยบัง (ผู้อำนวยการโรงเรียน)

สิ่งที่แตกต่างจากโรงเรียนทั่วๆไป
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการสอบ
เป็นโรงเรียนที่ไม่เสียงระฆัง
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีดาวให้ผู้เรียน
เป็นโรงเรียนที่ไม่ต้องใช้แบบเรียน
เป็นโรงเรียนที่ไมีมีครูอบรมหน้าเสาธง
เป็นโรงเรียนที่ได้ได้จัดลำดับความสามารถของผู้เรียน
เป็นโรงเรียนที่ครูสอนด้วยเสียงเบาที่สุด
เป็นโรงเรียนที่พ่อแม่ต้องมาเรียนรู้ร่วมกับลูก
เป็นโรงเรียนที่ทุกคนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

หลักสูตร
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดย PBL (Problem based Learning) ซึ่งเป็นนวัตกรรมหนึ่งในการพัฒนาความฉลาดภายนอก(ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์)ให้กับผู้เรียนของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เป็นหน่วยการเรียนแบบบูรณาการที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากปมปัญหาสู่ปัญญา เพราะสังคมโลกนับวันจะยิ่งซับซ้อนขึ้น จำนวนปัญหาจะมากขึ้น ซับซ้อนขึ้น ยุ่งเหยิงขึ้น. กระบวนการเรียนรู้โดย PBL จะทำให้ผู้เรียนไม่ตื่นกลัวกับปัญหา มองปัญหาเป็นเรื่องท้าทายซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจต่อปัญหา และหาวิธีการแก้ปัญหา
กระบวนการทำความเข้าใจต่อปัญหา และกระบวนการหาวิธีการหรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนจะต้องใช้ความรู้อันหลากหลาย (Multi Knowledge)และ ทักษะที่หลากหลาย (Multi skills)ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าถึงความเข้าใจหลักของเนื้อหาชุดนั้น จนเกิดทักษะอันหลากหลายที่จำเป็นสำหรับศตวรรษใหม่ (21st Century Skills)ได้แก่ - ทักษะการเรียนรู้และการเรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทักษะการสังเคราะห์ข้อมูลและการจัดการความรู้ - ทักษะชีวิต(ทำกินเป็น อยู่ได้ ใช้เป็น) เช่น ทักษะ ICT การทำงานร่วมกัน การจัดการความขัดแย้ง การสื่อสาร การคิดหลายระดับ การสร้างปัจจัยการดำเนินชีวิต. การดูแลสุขภาพ. การแสวงหาข้อมูล. การปรับตัว การออกแบบวิถีชีวิต. อุปนิสัย. การชี้นำตนเอง. จิตสำนึกต่อคนอื่น วัฒนธรรมอื่นและต่อโลก"

แล้วนายเจมส์ คลาร์ก เป็นใคร?

"ผู้ปิดทองหลังพระ

1.  ประวัติส่วนตัว

  นายเจมส์ คลาร์ก  เกิดที่กรุงลอนดอน  ประเทศอังกฤษ  เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2507

 จบการศึกษาทางด้าน  Mathematics  and  Philosophy ที่ วิทยาลัยเมอร์ตัน  มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด  โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1

 มาประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2536 หลังจากนั้น นายเจมส์ คลาร์ก ก็ได้มาพักอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร

2.  การให้ทุนการศึกษากับเด็กที่ยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                นายเจมส์ คลาร์ก ได้บริจาคเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้แก่เด็กที่ยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา  ตั้งแต่ปีการศึกษา 2541- 2549 รวมเป็นเวลา   8 ปี เป็นเงินทั้งหมด 20 ล้านบาท  เป็นจำนวน  2,560 ทุน   โดยทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมต้นจะเป็นเงินปีละ 6,000 บาท และสำหรับชั้นมัธยมปลายเป็นเงินปีละ 8,000 บาท

                ในช่วงที่ให้ทุนการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2541-2545 นายเจมส์ คลาร์ก ได้ให้ความสนใจไปคัดเลือกนักเรียนทุนด้วยตัวเองทุกปี โดยไปสัมภาษณ์เด็กที่ขอรับทุนตลอดจนสัมภาษณ์ผู้ปกครองของเด็กในจังหวัดต่างๆ            

3. โครงการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอดส์ที่จังหวัดแพร่

                เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2543-2548 นายเจมส์ คลาร์ก ได้ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กที่พ่อ-แม่ ติดเชื้อเอดส์ รวมทั้งทุนการประกอบอาชีพแก่ผู้ติดเชื้อในจังหวัดแพร่ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 4.9 ล้านบาท มีผู้ติดเชื้อที่ได้รับการสนับสนุนในเรื่องประกอบอาชีพจำนวน 38 ครอบครัว และเด็กที่ผู้ปกครองได้เสียชีวิตไปแล้วจากโรคเอดส์ได้รับทุนการศึกษาจำนวนทั้งหมด 508 ทุน

4.  โครงการโรงเรียนตัวอย่าง

                ปี 2543  นายเจมส์ คลาร์ก  อยากให้มีโรงเรียนตัวอย่างในชนบท  เป็นโรงเรียนที่สอนให้เด็กใช้ความคิดและเหตุผลมากกว่าการท่องจำ สามารถเป็นแบบอย่างของการเรียนการสอนในโรงเรียนอื่นได้  จากประสบการณ์ที่ได้จากการไปสัมภาษณ์นักเรียนทุนในจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำให้นายเจมส์  คลาร์กได้รับทราบว่า ระบบการศึกษาไทยในชนบทยังจะต้องได้รับการปรับปรุงอีกมาก

                ในที่สุดแนวความคิดดังกล่าวเป็นความจริง “โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา” ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ 50.2 ไร่ ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเงินของมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา   สร้างเสร็จและเปิดทำการเรียนการสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546  โดยมีนักเรียน 3 ระดับชั้น คือ ชั้นอนุบาล 1 , ชั้นอนุบาล 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระดับชั้นละ 1 ห้อง รวมเป็น 3 ห้อง ๆ ละ 30 คน

                ตั้งแต่เริ่มต้น นายเจมส์ คลาร์ก เป็นผู้สนับสนุนในเรื่องการลงทุนก่อสร้างโรงเรียน และสิ่งสนับสนุนทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว เป็นจำนวนเงินประมาณ 52.5 ล้านบาท  นอกจากนั้นนายเจมส์ คลาร์ก ยังสนับสนุนในเรื่องค่าใช้จ่ายดำเนินการของโรงเรียนทั้งหมด  ตั้งแต่ ปี 2546 - 2553  เป็นเงิน 52.5 ล้านบาท   รวมเป็นเงินที่นายเจมส์ คลาร์ก สนับสนุนโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาถึงปัจจุบันเป็นเงินทั้งสิ้น 105 ล้านบาท  

ตั้งแต่ปี  2553  เป็นต้นไป   ค่าดำเนินการของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษา  ประกอบด้วยที่มาของงบประมาณ  3  ส่วน  คือ

1.              เงินบริจาคจากมูลนิธิเจมส์คลาร์ก  

2.              เงินอุดหนุนจากรัฐบาล

3.              รายได้ของโรงเรียนฯ"

ข้อมูลจาก http://www.lpmp.org/index.php?option=com_content&task=view&id=178&Itemid=125
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.09 วินาที กับ 20 คำสั่ง