เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
อ่าน: 37133 สมบัติของผู้ดี
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 02 ธ.ค. 12, 19:55

มโนจริยา หมายความว่า ตั้งจิตใจมั่นในการปฏิบัติงานทุกอย่างซึ่งเป็นหน้าที่ของตน ปักใจลงในการงานนั้น เห็นว่าการงานดีทั้งหลายรู้ได้เมื่อทำเสร็จ มิใช่รู้ได้เมื่อกำลังทำหรือก่อนทำปักใจลงในการทำงานอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติทางใจด้วยดี

(๑) ผู้ดีย่อมเป็นผู้รักษาความสัตย์ในเวลา หมายความว่า ความสัตย์คือความตรงหรือซื่อตรง ความ ซื่อตรงเป็นชีวิตจิตใจอันแท้จริงหาไม่ได้ง่ายนัก โบราณท่านว่าร้อยคนยังหาคนกล้าได้คนหนึ่ง แต่หมื่นคนแสนคนจะหาคนซื่อตรงได้สักหนึ่งคนยังไม่ได้ ซื่อตรงต่อตัว คือไม่ทำชั่ว ซื่อตรงต่อคนอื่น คือ ไม่ทำความเดือดร้อนให้ใคร ๆ ซื่อตรงต่อเวลาคือตรงเวลาในระยะแรก ระยะกลาง คือเวลาทำงาน ระยะสุดท้ายคือเวลาเลิก ชื่อว่าเป็นคนมีความสัตย์ในเวลา
(๒) ผู้ดีย่อมไม่เป็นผู้เกียจคร้าน หมายความว่าเมื่อลงมือประกอบการงานแล้วไม่ยอมให้การงานนั้น ๆ คั่งค้างต้องทำให้สาเร็จจนสุดความสามารถ
(๓) ผู้ดีย่อมไม่เข้าใจว่า ผู้ดีทำอะไรด้วยตนเองไม่ได้ หมายความว่า การประกอบการงานทุกอย่าง ตามปรกติเราต้องอาศัยกันและกัน การงานจึงสาเร็จไปได้ด้วยดี แต่การงานนั้น ๆ จะมัวพึ่งคนอื่นร่ำไปนั้นไม่สมควร ตัวเองต้องทำได้เองด้วย
(๔) ผู้ดีต้องไม่เพลิดเพลินจนละเลยให้การเสีย หมายความว่า ตามปรกติคนเรานั้นวันหนึ่ง ๆ จะทำอะไรไปอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องแบ่งเป็นเวลากิน เวลานอน เวลาพัก เวลาเล่น เวลาทำงาน ตามควร เวลาเหล่านี้จึงต้องแบ่งให้ถูกส่วน อย่าให้เสียส่วนใดส่วนหนึ่งได้ ถึงเวลาทำงานก็ต้องทำงาน ถึงเวลาพักเล่นก็ต้องพักเล่น แต่จะเล่นเพลิดเพลินจนลืมตัวเสียการงานก็ไม่เป็นการสมควร
(๕) ผู้ดีย่อมเป็นผู้รักษาความเป็นระเบียบ หมายความว่า ระเบียบแบบแผนข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณีอันใดที่ได้ตั้งไว้บัญญัติไว้ หรือเคยประพฤติกันมาเป็นธรรมเนียมแล้ว ต้องเป็นผู้รักษาระเบียบนั้นไว้ ความเป็นกลุ่มเป็นก้อนของคนทั้งหลายย่อมคุ้มกันไว้ด้วยระเบียบ ไม่มีระเบียบย่อมระส่าระสายทันที และไม่ว่าจะทำงานการใด หากจัดระเบียบให้ดีแล้วก็จะสะดวกและ
รวดเร็วเป็นอันมาก ควรจำไว้ว่า ความเป็นระเบียบย่อมงามตาสบายใจให้ความสะดวก ตรงข้ามกับ ความสับสนย่อมรกตารำคาญใจและให้ความขัดข้อง ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยไว้
(๖) ผู้ดีย่อมเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชาเมื่ออยู่ในหน้าที่ หมายความว่า ในกลุ่มคนที่ร่วมงานกันมีหน้าที่อยู่สองอย่าง คือหน้าที่บังคับอย่างหนึ่ง หน้าที่ทำตามอย่างหนึ่ง เราต้องรู้ตัวเราว่า เรามีหน้าที่เช่นไร เมื่อรู้แล้วต้องทำตามหน้าที่นั้น เช่น มีหน้าที่บังคับก็ต้องบังคับ มีหน้าที่ทำตามก็ต้องทำตาม เรามีหน้าที่อย่างไรต้องรักษาหน้าที่นั้นให้บริบูรณ์ไม่บกพร่อง จึงสมควร
(๗) ผู้ดีย่อมมีมานะในการทำงาน ไม่ย่อท้อต่อความยากลาบาก หมายความว่า ตามปรกติการงานที่เราทำต้องมีอุปสรรค์ความขัดข้องทั้งนั้น การงานเล็กมีอุปสรรคเล็ก การงานใหญ่มีอุปสรรคใหญ่ การงานดีมีความขัดข้องมากตามส่วนของการงานนั้น ๆ ในการทำงานถ้าปล่อยให้ความเกียจคร้าน เข้าครอบงำแล้ว ย่อมมีความย่อท้อเกิดขึ้น ระงับความย่อท้อไม่ได้การงานก็ไม่สาเร็จ ถ้าไม่มีความย่อท้อ การงานก็สาเร็จได้ด้วยดี เพื่อความสาเร็จของงานต้องตัดความย่อท้อเสีย ต้องไม่คิดถึงความลำบาก ยากเย็น ต้องถือหลักโบราณว่า ต้องอดเปรี้ยวกินหวาน เมื่อได้ทำการงานสาเร็จแล้วก็จะมี ความสบายภายหลัง
(๘) ผู้ดีย่อมเป็นผู้ทำอะไรทำจริง หมายความว่า เมื่อได้ลงมือทำอะไรแล้ว ต้องทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ เช่น เรียนหนังสือ ก็ต้องเรียนให้ถึงที่สุดของวิชาตามชั้นนั้น ๆ ต้องไม่หยุดเสียกลางคัน เป็นต้น เมื่อเป็นกิจการใหญ่ ๆ ต้องทำเรื่อยไปให้สาเร็จ
(๙) ผู้ดีย่อมไม่เป็นผู้ดึงดันในที่ผิด หมายความว่า ตามปรกติการทำ คำพูด ความคิดของคนเรา ย่อมมีได้ทั้งผิดทั้งถูก เราเองก็มีทั้งผิดทั้งถูกเพราะเราเองเมื่อสาคัญผิดก็เห็นผิดได้ เมื่อเห็นผิดได้ก็ทำผิดได้ พูดผิดได้คิดผิดได้ แต่เมื่อรู้ว่าผิดแล้วเลิกเสียก็ใช้ได้ แต่ถ้ารู้ว่าผิดแล้ว ยังขืนดึงดันก็เสียหาย เพราะฉะนั้นเพื่อมิให้เกิดความเสียหาย เมื่อรวู้ ่าผิดแล้วก็อย่าดึงดันหรือขืนทาลงไปจึงจะเป็นผลดี
(๑๐) ผู้ดีย่อมปรารถนาความดี ต่อการงานที่ทำอยู่เสมอ หมายความว่า เมื่อทำการงานใดอย่างหนึ่ง ต้องหวังความเจริญในการงานนั้น ต้องคอยหมั่นตรวจตราพินิจพิจารณาให้รอบคอบอย่าทำสักแต่ว่า ให้พ้นไปวันหนึ่งๆ และต้องหมั่นดูว่างานนั้นๆ เป็นไปตามความหวังของตนหรือไม่เมื่อเห็นว่า ไม่เป็นไปตามความหวัง ต้องหาทางแก้ไข เมื่อแก้ไม่ได้ต้องเปลี่ยนแปลง หรือหาบุคคลที่สามารถทำให้เป็นไปตามความหวัง ไม่กักงานนั้นไว้เสียคนเดียวแล้วตนไม่สามารถทำได้ การงานนั้นก็เสียหายๆไป อย่างนี้จึงจะชอบ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 14:38

กลอนสักวาที่นำมาแสดงเพื่อให้เห็นว่าความคิดเรื่อง "ผู้ดี" และ "ไพร่" เป็นของคู่กันมาอย่างน้อยมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔-๕ แล้ว

ที่ท่านสุจิตราว่ามีทางเลือกอยู่ ๒ ทางคือไม่เป็นผู้ดีก็เป็นไพร่ ก็ไม่น่าจะเข้มงวดขนาดนั้น

คนดีที่ไม่มีส่วนเลว และคนเลวที่ไม่มีส่วนดี มีแต่ในนิยายเท่านั้นดอก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 14:52

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 15:14

เริ่ม               มูลนาย   vs   ไพร่
ต่อมา             มูลนาย = ผู้ดี   --->    ผู้ดี  vs ไพร่
บัดนี้              ผู้ดี  vs  ผู้เลว

ซ.ต.พ.          ไพร่  = ผู้เลว   ฮืม  ฮืม  ฮืม
                   ผู้ดี  = ผู้ดี
แต่ในเมื่อท่านเพ็ญชมพูบอกว่า
คนดีที่ไม่มีส่วนเลว และคนเลวที่ไม่มีส่วนดี มีแต่ในนิยายเท่านั้นดอก
แปลว่า ไพร่ก็มีส่วนเป็นผู้ดี   ผู้ดีก็มีส่วนเป็นไพร่   ไม่ได้แบ่งเส้นขีดคั่นกันได้เด็ดขาดว่าอยู่กันคนละวัฒนธรรมอย่างในบทความดร.นิธิ ใช่ไหม





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 15:30

ขยิบตา
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 19:55

เริ่ม               มูลนาย   vs   ไพร่
ต่อมา             มูลนาย = ผู้ดี   --->    ผู้ดี  vs ไพร่
บัดนี้              ผู้ดี  vs  ผู้เลว

ซ.ต.พ.          ไพร่  = ผู้เลว   ฮืม  ฮืม  ฮืม
                   ผู้ดี  = ผู้ดี
แต่ในเมื่อท่านเพ็ญชมพูบอกว่า
คนดีที่ไม่มีส่วนเลว และคนเลวที่ไม่มีส่วนดี มีแต่ในนิยายเท่านั้นดอก
แปลว่า ไพร่ก็มีส่วนเป็นผู้ดี   ผู้ดีก็มีส่วนเป็นไพร่   ไม่ได้แบ่งเส้นขีดคั่นกันได้เด็ดขาดว่าอยู่กันคนละวัฒนธรรมอย่างในบทความดร.นิธิ ใช่ไหม


ตำตอบของท่านเจ้าเรือนทำให้ผมฉุกคิดอะไรได้บางประการ

ผมมีความรู้สึกว่า จะดีไม่น้อยถ้่าเราสามารถนำปัญหาทางสังคมมาพูดคุยมาถกเถียงโดยการใช้พจน์หรือสมการทางคณิตศาสตร์มาทำความเข้าใจไขปริศนา

ช่วงที่ผมเรียนเกี่ยวกับการปกครองที่สถาบันแห่งหนึ่ง (ขออนุญาตที่ไม่เอ่ยนามสถาบันเพราะแม้นว่าผมจะพูดในเรื่องที่ดีต่อสถาบัน แต่เมื่อยังไม่ได้รับอนุญาตเราก็ไม่ควรนำไปอ้าง เชื่อว่าคงต้องมีใน "สมบัติของผู้ดี"  ยิงฟันยิ้ม) ผมศึกษาเรื่องรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยว่าในด้านฝ่ายนิติบัญญัตินั้นควรจะเป็นหนึ่งสภา(มีแต่สภาผู้แทนฯ) หรือสองสภา(มีวุฒิสภาด้วย) ซึ่งสุดท้ายแล้วผมก็สร้างสมการทางคณิตศาสตร์โดยมีตัวแปรอิสระคือ ขนาดประเทศ การเกิดใหม่ของประเทศ ความเป็นเผด็จการของฝ่ายบริหาร(คือรัฐบาล) และ จำนวนประชากร
ค่าของตัวแปรก็ใช้ข้อมูลจากประเทศทั่วโลก (177 ประเทศในขณะนั้น)
ผลของการคำนวณโดยสมการพบว่า ประเทศไทยควรเป็นระบบสองสภา

ในที่ประชุมนำเสนอผลงานไม่มีใครค้านแม้แต่คนเดียว แม้นว่าในห้องประชุมจะมี สส. ซึ่งมาจากพรรคการเมืองที่อยากให้มีสภาเดียว รวมทั้งนักวิชาการทั้งหลาย

มองเลยไป ผมมีความรู้สึกว่าที่เราวุ่นวายและสื่อสารกันไม่รู้ฟังเพราะเราใช้ภาษาเพราะพริ้ง (ทั้งภาษาการเมืองและภาษาการฑูต) ในการสื่อหรือให้เหตุผลในสิ่งที่ตนเองเชื่อและอยากให้เป็น ส่วนคนฟังก็ไม่รู้จะค้านอย่างไรเพราะฟังไม่รู้เรื่องแต่ไพเราะดีเพลินดี สุดท้ายประชาชนก็ตกเป็นเหยื่อและเป็นเบี้ยของนักการเมืิองอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้และจะเป็นตลอดไปเพราะคำสวยหรูเพราะภาษาสวยหรูเช่น "CHANGE" (ไม่ได้ว่า Obama นะครับ)
 ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 20:38

อ้างถึง
ผมมีความรู้สึกว่า จะดีไม่น้อยถ้่าเราสามารถนำปัญหาทางสังคมมาพูดคุยมาถกเถียงโดยการใช้พจน์หรือสมการทางคณิตศาสตร์มาทำความเข้าใจไขปริศนา

เห็นด้วยค่ะ   ถ้าเรื่องไหนทำได้ก็น่าทำ เพราะคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ตั้งอยู่บนเหตุผล  ไม่ใช้อารมณ์หรือค.ห.ส่วนตัว

 
อ้างถึง
ผมมีความรู้สึกว่าที่เราวุ่นวายและสื่อสารกันไม่รู้ฟังเพราะเราใช้ภาษาเพราะพริ้ง (ทั้งภาษาการเมืองและภาษาการฑูต) ในการสื่อหรือให้เหตุผลในสิ่งที่ตนเองเชื่อและอยากให้เป็น ส่วนคนฟังก็ไม่รู้จะค้านอย่างไรเพราะฟังไม่รู้เรื่องแต่ไพเราะดีเพลินดี สุดท้ายประชาชนก็ตกเป็นเหยื่อและเป็นเบี้ยของนักการเมืิองอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้และจะเป็นตลอดไปเพราะคำสวยหรูเพราะภาษาสวยหรูเช่น "CHANGE" (ไม่ได้ว่า Obama นะครับ)

บางทีภาษาเพราะพริ้งที่ฟังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ก็เกิดจากการจงใจใช้ เพื่อให้ได้เปรียบอย่างใดอย่างหนึ่งในการเจรจา      มีเหตุผลหลายอย่างที่คุณตั้งคงอธิบายได้ดีกว่าดิฉัน ในฐานะนักการทูต 
ส่วนดิฉัน  เคยเจอนักวิชาการบางคนชอบใช้ภาษายากๆ เพื่อให้คนอ่านหรือคนฟังงง จะได้เถียงได้ยากกว่าเวลาฟังภาษาง่ายๆ     เมื่อไม่มีใครเถียง ก็จะเกิดบรรยากาศการยอมรับแบบตกกระไดพลอยโจน เพราะไม่รู้จะค้านยังไง     ยิ่งถ้าเวลาจำกัดแล้วกว่าจะมาตีความทำความเข้าใจ ก็หมดเวลาไปก่อนเสียแล้ว

เคยถามนศ.ว่า ประโยคว่า "มันเกือบจะเป็นไปไม่ได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตชั้นสูงอย่างอื่นนอกจากมนุษย์ในจักรวาลอื่นๆรวมทั้งสุริยจักรวาล"  ข้อนี้ถือว่าคนพูดเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยว่ามีมนุษย์ต่างดาว ให้ตอบภายในครึ่งนาที    ปรากฏว่านศ.ปริญญาโทตอบกันไม่ทัน  มัวแต่ตีความว่า "เกือบจะเป็นไปไม่ได้"  เป็นคำรับหรือปฏิเสธ  และจักรวาลที่ว่ามันจักรวาลไหนกันแน่

บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 20:57

^
ต้องยอมรับว่าที่เว็บเรือนไทยเป็นเว็บวิชาการดีเด่นได้นั้น นอกจากเนื้อหาเรื่องราวที่หลากหลายครบครันแล้ว ปัจจัยสำคัญคือ "เจ้าเรือน" คือตัวท่านเทาชมพูที่เป็นนักวิชาการจริงๆ (มิใช่นักวิชาการทั่วไปอย่างที่เรียกว่า Literaturer) แต่เต็มไปด้วยมุมมองและเหตุผลที่น่าสนใจ รวมทั้ง "ความรอบรู้" และมีจุดยืนที่มั่นคงชัดเจน อย่างที่สำนวนเขาว่า "กล้ายืนต้านพายุฝุ่น และเมื่อฝุ่นจางหายไป ก็พบว่ายังคงายืนอยู่ที่จุดเดิม" (ประมาณนั้นครับ)
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 04 ธ.ค. 12, 10:21

โค๊ด:
อย่างที่สำนวนเขาว่า "กล้ายืนต้านพายุฝุ่น และเมื่อฝุ่นจางหายไป ก็พบว่ายังคงายืนอยู่ที่จุดเดิม" (ประมาณนั้นครับ)
 

รู้สึกตัวเองเหมือนจั่นเจาเลยค่ะ  ขอบคุณสำหรับคำชม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 04 ธ.ค. 12, 20:38

...บางทีภาษาเพราะพริ้งที่ฟังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ก็เกิดจากการจงใจใช้ เพื่อให้ได้เปรียบอย่างใดอย่างหนึ่งในการเจรจา      มีเหตุผลหลายอย่างที่คุณตั้งคงอธิบายได้ดีกว่าดิฉัน ในฐานะนักการทูต... 

ขอใช้สิทธิพาดพิงครับ
ผมมีช่วงเวลาทำงานอยู่ในฐานะนักการทูตเกือบ 10 ปี ทั้งในระบบพหุภาคีและทวิภาคื เกี่ยวข้องกับการเจรจาระหว่างประเทศก่อนหน้าอีกสัก 4-5 ปี ก็ยังไม่ถือว่าตนเองเป็นผู้รู้และมีความสันทัดกรณี  เรียนไม่รู้จบครับ   
ผมทำงานในสายการทำให้เกิดการปฏิบัติการจริง มากกว่าในสายการสานฝันความคิดทางนโยบาย   ยอมรับว่าที่ อ.เทาชมพูกล่าวมาเป็นความจริง  ซึ่งจะไปขึ้นอยู่ช่วงเวลาของการพูดคุย สถานะการณ์ภายใน สถานการณ์ของสังคมโลก สภาพและสถานะของการพูดคุยและการเจรจาต่างๆ ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่ทำให้เราเสียหรือต้องสละ sovereignty และสิทธิประโยชน์ในเรื่องใดๆ ไม่ว่าจะในมุมใดๆทั้งสิ้น และไม่ว่าจะน้อยนิดเพียงใด   กล่าวได้ว่าทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้เรา (ประเทศ) ยังสามารถทรงไว้ซึ่งอำนาจและสิทธิในการตัดสินใจ ยังคงมีความเป็นตัวเองที่ไม่ถูกครอบงำ ไม่ทำให้ไปอยู่ในอาณัติของการสั่งการหรือการบังคับของประเทศอื่นใด องค์กรอื่นใด หรือคณะบุคคลนานาชาติอื่นใด   ทั้งหมดจะต้องเป็นไปด้วยเป้าหมายหรือผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดผลกับประเทศและประชาชนเป็นหลัก มิใช่การป่าวประกาศความต้องการอย่างเปิดเผยและอย่างโจ่งแจ้งตั้งแต่ไก่โห่

โดยหลักการแล้ว  การพูด การเจรจา หรือการแสดงออกใดๆ จะต้องมี fall back position หลายๆระดับชั้นเลยทีเดียว  พูดง่ายๆก็คือต้องมีกึ๋นเยอะ       

พูดถึงตรงนี้แล้ว คำว่าสมบัติของผู้ดี นั้นจึงมิได้จำกัดวงอยู่เพียงเฉาะตัวหรือกลุ่มบุคคลเท่านั้น
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 05 ธ.ค. 12, 00:04

วันนี้วันดีที่สุดเพราะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ

_/ \_
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 05 ธ.ค. 12, 00:21

ขออนุญาตไปต่อภาคต่อไปนะครับ

ผนวก ๗ ผู้ดีย่อมเป็นผู้ใจดี
หมายความว่า ต้องทำใจของตนให้มีเมตตากรุณา คิดแต่ในทางที่ดีมองคนทั้งหลายในแง่ดี สะสมแต่ความดีต่อกันไว้ อย่างนี้จัดว่าเป็นผู้ใจดี

กายจริยา หมายความว่าแสดงออกให้ปรากฏว่า เป็นคนมีใจดีโดยการกระทำทางกาย

(๑) ผู้ดีเมื่อเห็นใครทำผิดพลาดอันน่าเก้อกระดากย่อมช่วยกลบเกลื่อนหรือทำไม่เห็น หมายความว่า เมื่อเห็นเขาทำผิดพลาดก็ไม่ซ้ำเติม ต้องช่วยแก้ไขหรือช่วยให้หายผิด หรือช่วยทำให้ร้ายกลายเป็นดี หรือความผิดพลาดนั้นเป็นความเดือดร้อนแก่ประชาชน เช่น ตำรวจเห็นผู้ร้ายกระทำผิด จะทำเป็นไม่เห็นไม่ควร ต้องจัดการตามหน้าที่ แต่ถ้าความผิดนั้นไม่เป็นการเสียหายกับใคร เช่น ผงติดศีรษะ ก็ทำไม่เห็นเสียเช่นนี้ย่อมไม่เสียหาย บางอย่างถ้าทักเข้าเขาจะมีความกระดากอาย ก็ควรทำไม่เห็น ย่อมเป็นการควร
(๒) ผู้ดีเมื่อเห็นสิ่งของของใครตกหรือจะเสื่อมเสีย ย่อมต้องหยิบยื่นให้ หรือบอกให้รู้ตัว
หมายความว่าเมื่อพบของตกไม่ว่าเป็นที่ใด ถ้าเจ้าของอยู่ต้องบอกเจ้าของให้รู้ ถ้าลับหลังเจ้าของต้องเก็บเอาไว้มอบเจ้าหน้าที่ ถ้าในบริเวณโรงเรียนต้องเก็บเอาไว้มอบให้ครูใหญ่ ในถนนหลวงหรือ สถานที่ของตนต้องเอาไปมอบแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อประกาศหาเจ้าของต่อไป
(๓) ผู้ดีเมื่อเห็นเหตุร้ายหรืออันตรายจะมีแก่ผู้ใด ย่อมต้องรีบช่วย หมายความว่า ไม่ว่าจะอยู่ในที่ใดกับผู้ใด เมื่อเห็นเหตุร้ายจะเกิดขึ้นแก่เขา ต้องรีบบอกทันที เช่น รู้ว่าทางเป็นหลุมเป็นบ่อ หรือรู้ว่าสะพานชารุด หรือมีสัตว์ร้ายอยู่ข้างหน้า หรือมีโจรร้ายคอยดักซุ่มหรือมีอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องรีบบอกให้เขารู้ทันที มิใช่ปล่อยให้เขามีอันตรายแล้วหัวเราะเล่นเห็นเป็นเรื่องสนุกสนาน ไม่เป็นการสมควร

วจีจริยา หมายความว่า แสดงความเป็นผู้มีใจดีให้ปรากฏด้วยการกล่าวทางวาจา

(๑) ผู้ดีต้องไม่เยาะเย้ยถากถางผู้กระทำผิดพลาด หมายความว่า เมื่อเห็นผู้ใดพลาดพลั้งด้วยเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมไม่เยาะเย้ยให้เขาได้อาย เช่น เขาพลาดล้มไม่หัวเราะเยาะเป็นต้น
(๒) ผู้ดีย่อมไม่ใช้วาจาอันข่มขี่ หมายความว่าเมื่อพูดกับใคร ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะเป็นผู้น้อยหรือผู้ต่ำต้อยด้วยสถานใดสถานหนึ่ง หรือจะเป็นเสมอกันก็ตาม ไม่พูดจาข่มขี่ด้วยประการต่าง ๆ ไม่ว่าในทางใดทั้งนั้น เช่น เห็นเขาสุภาพไม่พูดข่มด้วยท่าทางอันเป็นอันธพาล เห็นเขายากจนไม่พูดข่มเรื่องเงินทอง เป็นต้น

มโนจริยา หมายความว่า แสดงความเป็นผู้มีใจดีให้ปรากฏจากใจ

(๑) ผู้ดีย่อมไม่มีใจอันโหดเหี้ยมเกรี้ยวกราดแก่ผู้น้อย หมายความว่า ต้องแสดงความมีน้าใจร่วมสุขร่วมทุกข์ให้ปรากฏ แสดงความเมตตาปราณีให้ปรากฏ ควรยกย่องก็ยกย่องตามควรแก่กาลเทศะ
(๒) ผู้ดีย่อมเอาใจโอบอ้อมอารีแก่คนอื่น หมายความว่า เมื่อผู้อื่นตกทุกข์ได้ยากอย่างไร มีโอกาสช่วยเหลือก็ช่วยเหลือแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและเพื่อนบ้านเรือนเคียงกันด้วยให้ปันบ้างด้วย ช่วยเหลือกิจธุระต่าง ๆ บ้าง ช่วยเหลือในยามเจ็บไข้บ้าง แม้ตามปรกติก็ร่วมสุขร่วมทุกข์แสดงความ ปรารถนาดีอยู่เสมอ
(๓) ผู้ดีย่อมเอาใจใส่คนเคราะห์ร้าย หมายความว่า เมื่อเห็นผู้ใดผู้หนึ่งตกทุกข์ได้ยากด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นตกน้า ถูกไฟไหม้ถูกโจรผู้ร้ายปล้นหรือได้รับอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เข้าช่วยเหลือตามโอกาส ไม่ดูดายใจจืดใจดำ ช่วยเหลือตามกำลังความสามารถเท่าที่จะทำได้ นี้เป็นการควร
(๔) ผู้ดีย่อมไม่ซ้าเติมคนเสียที หมายความว่า ในการแข่งขันอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เล่นฟุตบอล เมื่อฝุายตนชนะก็ไม่ควรซ้ำเติมฝ่ายแพ้ไม่ควรทำดังคำพังเพยว่าได้ทีขี่แพะไล่ ต้องทำตนให้มีน้ำใจนักกีฬา คือรู้แพ้รู้ชนะถึงคราวแพ้ก็ยอมแพ้ด้วยดี ถึงคราวชนะก็ชนะด้วยดีไม่ทำร้ายคนที่ไม่มีทางสู้ ไม่ทาร้ายลับหลัง เมื่อเขาเสียทีอยู่แล้วก็ไม่ซ้ำเติม ดังคำว่าไม่เหยียบคนที่ล้มแล้ว
(๕)ผู้ดีย่อมไม่เป็นผู้อาฆาตจองเวร หมายความว่า เมื่อมีใครมาทำให้โกรธหรือให้เจ็บช้ำน้ำใจประการใดประการหนึ่งก็ตาม ก็ควรแต่เพียงว่าเจ็บแล้วจำก็พอแล้ว คือไม่ควรให้มีอย่างนั้นอีก ให้ เป็นการเลิกแล้วกันเสียไม่ควรผูกพยาบาทอาฆาตจองเวร คอยหาโอกาสแก้แค้นกันอยู่ตลอดไป เช่น ผูกใจว่าเขาด่าเรา เราต้องด่าเขาให้ได้ เขาตีเรา เราต้องตีเขาให้ได้ อย่างนี้ไม่เป็นการควรเลย ต้องคิด ว่า เขาด่าเรา เราต้องหาทางไม่ให้เขาด่าอีก หรือหลีกหนีไปเสียให้ไกล ถ้าหลีกไม่ได้ก็อย่าให้เขามาทำเราอีกก็แล้วกัน ดังนี้จึงเป็นการควรเพราะเวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวรแต่เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 18:37

เมื่อวานนี้ผมได้มีไปร่วมรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระ้จ้าอยู่หัวที่ลานพระบรมรูปทรงม้า คนแน่นเต็มทั้งลานฯเลยครับ
อย่างที่โพสต์กันในเน็ตว่า ไม่ได้ไปเพื่อไปชมพระองค์ท่าน แต่ไปเพื่อให้พระองค์ท่านทอดพระเนตรเห็นเรา ให้เห็นว่าคนที่รักและเชิดชูพระองค์มีมากมายมหาศาลเพียงใด
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 18:41

ไปภาคต่อไปเลยนะครับ

ผนวก ๘ ผู้ดีย่อมไม่เห็นแก่ตัวถ่ายเดียว
หมายความว่า ในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ต้องคำนึงถึงประโยชน์ตนประโยชน์ท่านเป็นสาคัญ จะเอาแต่ข้างตนเองอย่างเดียวไม่ได้ต้องนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมด้วย ถ้าเอาแต่ส่วนตัวคนอื่นเดือดร้อน ไม่ควรแท้ แต่ในทางตรงกันข้าม เอาแต่ประโยชน์คนอื่น ส่วนตัวเดือดร้อนก็ไม่ควรเหมือนกัน แต่ถ้ารับอาสาเขาทำประโยชน์ของหมู่คณะก็ต้องถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ ประโยชน์ส่วนตัว ต้องมาเป็นอันดับรอง อย่างนี้จึงเป็นการสมควรแท้

กายจริยา หมายความว่า การแสดงความไม่เห็นแก่ตัวให้ปรากฏโดยการกระทำทางกาย

(๑) ผู้ดีย่อมไม่พักหาความสบายก่อนผู้ใหญ่หรือผู้หญิง หมายความว่าในการอยู่ร่วมกันในหมู่ในคณะ ท่านที่เป็นผู้ใหญ่กว่าก็มี ท่านที่เป็นผู้หญิงก็มี ผู้น้อยหรือผู้ชายต้องไม่หาความสบายก่อนผู้ใหญ่หรือผู้หญิง เช่น ในการรับประทาน ต้องช่วยให้ผู้ใหญ่และผู้หญิงรับประทานก่อนจึงรับประทานภายหลัง ดังนี้เป็นต้น ย่อมเป็นการควร
(๒) ผู้ดีย่อมไม่เสือกสนแย่งชิงที่นั่งหรือที่ดูอันใด หมายความว่า ไม่คอยช่วงชิงหาโอกาสเพื่อตัวโดยถ่ายเดียว ต้องแลเหลียวถึงผู้อื่นบ้างตามควรเช่น ในการขึ้นรถไม่ควรแย่งกันขึ้นในการนั่งในที่ซึ่งเขาจัด ไม่ควรแย่งที่นั่งในการดูมหรสพหรือดูอย่างอื่น ไม่ควรแย่งกันดู ควรให้ไปตามลำดับแถว หรือเป็นไปตามปรกติ แต่ไม่ควรยืดยาดโอ้เอ้ล่าช้า ทำให้ผู้อื่นต้องเสียเวลาโดยใช่เหตุ ต้องทำให้เป็นไปตามควร แก่กาลเทศะ
(๓) ผู้ดีย่อมไม่เที่ยวแย่งผู้หนึ่งมาจากผู้หนึ่งในเมื่อเขาสนทนากัน หมายความว่า เมื่อผู้หนึ่งกำลังสนทนาอยู่กับอีกผู้หนึ่ง ไม่ควรไปแย่งคู่สนทนาเขา โดยที่ไปแย่งเอาเขามาคุยกับเรา หากมีความจำเป็นด้วยธุระจริง ๆ ก็ควรแจ้งให้เขาทราบก่อนและขอโอกาสเขา หากไม่มีความจำเป็นเช่นนั้นแล้ว ไม่ควรทำเป็นเด็ดขาด แม้ในการประกอบธุระอย่างอื่นก็เช่นเดียวกัน
(๔) ผู้ดีผู้ใหญ่ จะไปมาลุกนั่งย่อมไว้ช่องให้ผู้น้อยมีโอกาสบ้าง หมายความว่า ในการนั่งในที่ชุมชน ตามปรกติเขาจัดที่นั่งที่ยืนไว้ ในการยืนแถวผู้ใหญ่ต้องยืนหน้า ในการนั่งผู้ใหญ่ต้องนั่งหน้าเหมือนกัน ในการนี้ทุกคนต้องยืนหรือนั่งตามที่ซึ่งเหมาะสมแก่ตน ถ้าเป็นผู้ใหญ่ไปยืนข้างหลังหรือนั่งข้างหลังหรือยืนปิดช่อง ก็ทำให้ผู้น้อยไม่สามารถจะนั่งจะยืนหรือจะเดินไปได้ เป็นการไม่สมควรแท้ เพราะฉะนั้นต้องนั่งยืนตามที่ที่เหมาะสมแก่ตนจึงจะเป็นการควร
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 11 ธ.ค. 12, 10:53

กลับไปคิดใคร่ครวญดู ผมคิดว่าตัวชื่อ "สมบัติของผู้ดี" น่าจะมีคำอื่นที่เหมาะกว่า เพราะชื่อ้ดิมนั้นจะอาจทำให้บางท่านู้สึกว่าเป็นเรื่ิองไกลตัว เป็นเริื่องของ "ผู้ดี" ซึ่งเป็นคนรวยมีชาติสกุล ไม่ใช่เรื่องของชาวบ้านอย่างเรา เผลอๆก็ทำให้เกิดการต่อต้านเสียด้วยซ้ำไป (เหมือนที่ผมรู้สึกตั้งแต่เด็ก)
ผมก็เลยคิดว่า ถ้าเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็น "สมบัติของสุภาพชน" "มรรยาทในสังคม" "มรรยาทของสุภาพชน" หรือ สมาชิกท่านใดมีข้อเสนอแนะก็ลองช่วยกันดูครับ เผื่อจะได้ไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อจะได้ทำให้อะไรๆในสังคมได้ดีขึ้นบ้าง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง