เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 37110 สมบัติของผู้ดี
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 18:15

หนังสือสมบัติผู้ดีเล่มที่ผมมานำเสนอ มีสิ่งที่น่าสนใจเพราะมีคำอธิบายประกอบด้วยครับ
เสียดายที่ไม่มีปกประกอบ เลยไม่ทราบในรายละเอียดของผู้ที่จัดทำ



ภาคผนวก สมบัติของผู้ดี
คาว่า ผู้ดี หมายถึง "บุคคลผู้มีความประพฤติดี ทั้งทางกาย ทางวาจาและทางความคิด คือ ทาดี พูดดี คิดดี"
ผนวก ๑
ผู้ดี ย่อมรักษาความเรียบร้อย
กายจริยา คาว่า กายจริยา คือ ทาดี เช่น เดินดี ยืนดี นั่งดี นอนดี แยกออก ได้ดังนี้
(๑) ผู้ดีย่อมไม่ใช้กิริยาข้ามกรายบุคคล เช่น เมื่อเดินเข้าใกล้ใครก็หลีกไปในระยะที่พอเหมาะ ไม่ยกมือยกเท้าให้กระทบใคร ไม่ชี้มือหรือยกมือให้ผ่านใคร หรือข้ามศีรษะใคร ไม่ว่าเขาจะนั่ง นอน ยืน เดิน ไม่เหยียดเท้าใส่ใคร เมื่อท่านผู้ใหญ่นั่งอยู่ ไม่เดินเฉียดไป ต้องคลานไป หรือเดิน ก้มหลังไป
(๒) ผู้ดีย่อมไม่อาจเอื้อมในที่ต่ำสูง เช่น เมื่อผู้ใหญ่นั่งอยู่จะทำอะไรในที่สูง หรือจะหยิบอะไรในที่สูงกว่าท่าน ต้องขอประทานโทษท่านก่อนจึงทำและทั้งไม่ละลาบละล้วงอาจเอื้อมจับต้องของสูง เช่น ศีรษะ หรือหน้าตาใคร ๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของตน โดยผู้นั้นมิได้อนุญาตให้ทำเป็นอันขาด
(๓) ผู้ดีย่อมไม่ล่วงเกินถูกต้องผู้อื่นซึ่งไม่ใช่หยอกกันฐานเพื่อน หมายความว่า การที่จะถูกต้องตัวผู้อื่นนั้นต้องระมัดระวัง ถ้าเป็นผู้ใหญ่กว่าหรือคนที่ไม่ได้คุ้นเคยอย่างเพื่อนกัน
(๔) ผู้ดีย่อมไม่เสียดสีกระทบกระทั่งกายบุคคล หมายความว่า ตามปรกติร่างกายผู้อื่นนั้นไม่ควร ถูกต้องหากมีความจำเป็นจะต้องเสียดสีกระทบกระทั่ง เช่นในยวดยานพาหนะต้องขอประทาน โทษก่อนจึงเสียดสีไปได้เป็นต้น
(๕) ผู้ดีย่อมไม่ลุกนั่งเดินเหินให้พรวดพราดโดนผู้คนหรือสิ่งของแตกเสีย หมายความว่า ขณะที่เรา นั่งอยู่ ยืนอยู่ นอนอยู่ ก่อนที่จะเคลื่อนที่ไป เช่น จะลุกขึ้นเป็นต้น ต้องนึกก่อนว่าเราจะลุกไป จะไป ทางไหน ตรวจดูให้รอบตัวก่อนว่า มีอะไรกีดขวางอยู่บ้าง เมื่อดูรอบคอบแล้วจึงค่อยลุกขึ้นเคลื่อนที่ ไป เช่น นั่งอยู่ในโต๊ะเรียน เมื่อนึกก่อนได้เช่นนี้ ก็จะไม่มีเสียงโครมครามโดนโน่นโดนนี่
(๖) ผู้ดีย่อมไม่ส่งของให้ผู้อื่น ด้วยกิริยาอันเสือกไสผลักโยน หมายความว่า เมื่อจะส่งของให้ใคร ต้องถือของหงายมือ แล้วส่งให้ถึงมือผู้รับ เช่น ตักบาตรก็ต้องตักด้วยความสุภาพเรียบร้อย
(๗) ผู้ดีย่อมไม่ผ่านหน้าหรือบังตาผู้อื่น เมื่อเขาดูสิ่งใดอยู่ เว้นแต่เป็นที่เฉพาะไป หมายความว่า เมื่อผู้อื่นกำลังยืนหรือนั่งดูสิ่งใดอยู่ เมื่อมีความจาเป็นจะต้องผ่านไปควรผ่านไปทางหลังท่าน ถ้า จำเป็นต้องผ่านกลางไปก็ควรขอประทานโทษเสียก่อนจึงไป
(๘) ผู้ดีย่อมไม่เอ็ดอึง เมื่อผู้อื่นทำกิจ หมายความว่า เมื่อผู้อื่นกาลังทำกิจอยู่ เมื่อจะเดินต้องค่อย ๆ เดินเมื่อจะพูดต้องค่อยๆพูด เพื่อให้เขาได้ทำโดยปลอดโปร่ง 
(๙) ผู้ดีย่อมไม่อึกทึกในเวลาประชุมสดับตรับฟัง หมายความว่า ขณะที่ผู้อื่นกาลังฟังอะไรอยู่ เช่น กาลังฟังครูสอน ฟังปาฐกถา ฟังเทศน์ กาลังดูละคร ฟังดนตรี เป็นต้น ต้องไม่พูดไม่คุยกัน หรือไม่ทำเสียงตึงตัง หรือเคาะโต๊ะเคาะพื้นให้มีเสียงเป็นที่ราคาญแก่ผู้อื่น
(๑๐) ผู้ดีย่อมไม่แสดงกิริยาตึงตัง หรือพูดจาอึกทึกในบ้านแขก หมายความว่า เมื่อไปหาท่านถึงบ้านท่าน ไม่ควรทำให้มีเสียงตึงตัง หรือพูดจาส่งเสียงดังผิดปรกติ หรือดุดันขู่ตวาดผู้หนึ่งผู้ใดให้เป็นที่ สะเทือนใจ

วจีจริยา คาว่า วจีจริยา หมายความว่า การพูดจาให้เรียบร้อย แยกออกได้ดังนี้
(๑) ผู้ดีย่อมไม่สอดสวนวาจาหรือแย่งชิงพูด หมายความว่า ขณะที่ผู้อื่นกาลังพูดอยู่ ไม่ควรพูดสอดแทรกขึ้นในขณะนั้น ต้องรอให้ท่านพูดจบเสียก่อน หากจาเป็นจะต้องพูด ก็ต้องให้จบระยะหนึ่ง แล้วขอประทานโทษก่อนจึงพูด ไม่ชิงกันพูด ไม่แข่งกันพูด ไม่พูดพร้อมกัน
(๒) ผู้ดีย่อมไม่พูดด้วยเสียงอันดังเหลือเกิน หมายความว่า เมื่อจะสนทนาปราศรัยกัน ต้องพูดด้วย น้าเสียงตามปรกติ พอได้ยินชัดเจน อยู่ใกล้กันพูดค่อย ๆ ก็ได้ยิน
(๓) ผู้ดีย่อมไม่ใช้เสียงตวาดหรือพูดจากระโชกกระชาก หมายความว่า เมื่อจะพูดกับใคร ๆ ต้องใช้ เสียงตามปรกติ พอเหมาะพอควรแก่เรื่องและบุคคล ทำเสียงให้หนักแน่นและเยือกเย็น
(๔) ผู้ดีย่อมไม่ใช้วาจาอันหักหาญดึงดัน หมายความว่า เมื่อได้ฟังผู้อื่นพูดคลาดเคลื่อนปรารถนาจะคัดค้านก็ควรขอโทษก่อนจึงพูดคัดค้าน หรือเมื่อจะให้ผู้ใดกระทำสิ่งไรก็ไม่ควรพูดจาหักหาญดึงดัน เอาแต่ใจตนเป็นประมาณควรชี้แจงอย่างมีเหตุผลให้เขาเชื่อและกระทำตาม
(๕) ผู้ดีย่อมไม่ใช้ถ้อยคำอันหยาบคาย หมายความว่า ไม่ว่าจะพูดกับใคร ในเวลาใด ในสถานที่ใด ด้วยเรื่องอะไร ต้องพูดด้วยน้ำเสียงสุภาพ นุ่มนวล อ่อนหวาน จับใจ สบายหู

มโนจริยา
คาว่า มโนจริยา หมายความว่า การคิดนึกในทางที่ดี แยกออกได้ดังนี้
(๑) ผู้ดีย่อมไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านกาเริบหยิ่งโยโส หมายความว่า ต้องทำใจให้ติดอยู่ในการงาน ที่กำลังทำอยู่ มุ่งทำงานให้สาเร็จเสร็จสิ้นเป็นเรื่อง ๆ ไป ไม่ทำรวนเรจับจด คิดฟุูงซ่านไปตามอารมณ์ เห็นดีเห็นชอบเพียงชั่วขณะ หรือเมื่อได้ทางานอะไรทำสำเร็จแม้แต่เพียงเล็กน้อยก็ทำหยิ่งยโสนึกว่า ไม่มีใครสู้ได้ ต้องสะกดอกสะกดใจ มุ่งทำงานที่กาลังทำอยู่นั้นให้สาเร็จเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น เรียนอยู่ ในชั้นใดก็มุ่งให้ได้ความรู้สมชั้นที่เรียน เรียนอยู่ในชั่วโมงใดก็ตั้งใจเรียนให้ได้ความรู้ในชั่วโมงนั้น ไม่เอางานของชั่วโมงหนึ่งไปทำในชั่วโมงอื่น ไม่เอางานของวันหนึ่งไปทำในอีกวันหนึ่ง ทำงานให้เสร็จ เป็นระยะตามที่มีอยู่ ตั้งใจแน่วแน่ลงในการงานนั้น ๆ
(๒) ผู้ดีย่อมไม่บันดาลโทสะให้เสียกิริยา หมายความว่า ต้องไม่แสดงความเดือดดาล ฉุนเฉียวพลุ่ง พล่านด้วยอาำาจโทสะ ตามปรกติเราอยู่กันเป็นหมู่เป็นคณะ เป็นครอบครัว เป็นบ้าน เป็นเมือง คนที่อยู่รวมกันเช่นนี้ ก็ต้องมีกระทบกระทั่งกันบ้างเป็นธรรมดา ไม่มากก็น้อย เข้าทานองที่ว่า ลิ้นกับฟันย่อมกระทบกันบ้างเป็นธรรมดา เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็ต้องอดทน เมื่อได้ประสบอารมณ์ที่ไม่พอใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ถูกเขาด่าว่าเสียดสีก่อนที่จะตอบต้องคิดเสียก่อน โบราณท่านสอนว่าให้นับสิบเสียก่อนจึงค่อยตอบ นี้ก็เป็นเครื่องเตือนใจได้อย่างดี
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 18:18

ท่านใดมีข้อคิดเห็นหรือประสบการณ์ก็เชิญแนะนำได้นะครับ เพื่อประโยชน์แก่ลูกหลานที่จะได้มี "วัฒนธรรมที่ดี"  โดยเฉพาะท่านผู้ใหญ่เช่น คุณลุงเนาวรัตน์ ท่านเพ็ญชมพู ท่านเจ้าเรือน และท่านอื่นที่ผมมิได้เอ่ยนาม
บันทึกการเข้า
sirinawadee
ชมพูพาน
***
ตอบ: 101


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 20 พ.ย. 12, 12:11

ขอเล่าเรื่องที่บ้่านค่ะ

เป็นครอบครัวคนจีนค่ะ ตอนเด็กๆ เวลาออกไปนอกบ้าน พ่อจะไม่ให้สวมรองเท้าแตะค่ะ บอกว่าไม่สุภาพ

ไปร้านอาหารเมื่อได้รับบริการจะต้องกล่าวขอบคุณบริกรทุกครั้ง ต้องพูดเบาๆ กินไม่ให้เลอะเทอะ แม้เราจะไม่ได้เก็บจานชามเอง การวิ่งไล่กันในร้านหรือเล่นกันในโต๊ะอาหารเป็นเรื่องห้ามอย่างเด็ดขาด แม้กระทั่งไปพักโรงแรม เมื่อตื่นนอนก็ต้องจัดเตียงด้วย วันที่จะเช็คเอ้าท์ ข้าวของในห้องไม่ว่าจะเป็นแก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว หมอน ฯลฯต้องวางคืนที่เดิมให้เรียบร้อย พ่อบอกว่า เราจ่ายเงินมาก็จริง แต่ก็ต้องเห็นใจคนที่มาตามเก็บให้เราด้วย อะไรช่วยเขาได้ก็ต้องทำ

ทุกวันนี้เห็นทุกอย่างที่คุณ Sujitra ยกตัวอย่างมาค่ะ ที่เศร้าใจคือพบกิริยาแย่ๆ จากคนที่เป็นผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก ยิ่งเดี๋ยวนี้มีลูกกันบ้านละคนสองคน โอกาสจะตามใจก็มีสูงมาก ถ้าผู้ใหญ่ไม่เป็นตัวอย่าง เด็กก็ไม่รู้จักกาละเทศะแน่นอน

ในพันทิปไม่นานมานี้ก็มีกระทู้แนะนำบ่นว่า เห็นแม่ลูกในซุปเปอร์มาร์เก็ต คุณแม่แกะขนมให้ลูกกินทั้งที่ยังไม่จ่ายเงิน ไม่น่าเชื่อว่ามีแม่ๆ จำนวนมากค่ะ บอกว่าไม่เห็นจะเป็นไรเลย เดี๋ยวชั้นก็ไปจ่าย คนไม่มีลูกไม่เข้าใจหรอก...  ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 20 พ.ย. 12, 13:32

ในพันทิปไม่นานมานี้ก็มีกระทู้แนะนำบ่นว่า เห็นแม่ลูกในซุปเปอร์มาร์เก็ต คุณแม่แกะขนมให้ลูกกินทั้งที่ยังไม่จ่ายเงิน ไม่น่าเชื่อว่ามีแม่ๆ จำนวนมากค่ะ บอกว่าไม่เห็นจะเป็นไรเลย เดี๋ยวชั้นก็ไปจ่าย คนไม่มีลูกไม่เข้าใจหรอก...  ฮืม

ใครเคยแกะนมแกะขนมให้ลูกในห้างก่อนจ่ายเงินบ้าง

 ตกใจ


บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 20 พ.ย. 12, 18:31

ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวประเทศจีนเมื่อสองเดือนที่ผ่านมา ไปที่จางเจี๋ยเจี้ย (ที่ถ่ายทำหนังเรื่อง อวตาร) คนเข้าคิวขึ้นลิฟท์ใช้เวลาคอยประมาณ 3 ชั่วโมง และรอคอยขึ้นกระเช้าลอยฟ้าเพื่อลงจากยอดเขาใช้เวลารอคอย 2 ชั่วโมง ได้ไปพบกับประสบการณ์ที่คาดไม่ถึงครับ
นอกจากคนไทย(รวมทั้งกลุ่มผมแล้ว) คนที่เหลือแทบจะทั้งหมดคือคนจีน (สังเกตดูไม่มีฝรั่งเลยแม้แต่คนเดียว ส่วนญี่ปุ่นนั้นหายหน้าไปเพราะมีเรื่องเกาะที่ทะเลาะกันอยู่)

พวกเราก็เข้าคิวตามปกติ เป็นแถวกว้าง 2-4 คนแล้วแต่บางช่วง
แต่จู่ๆก็มีภาพที่คาดไม่ถึง คนจีนบางคนก็ปีนข้ามแนวกั้นเพื่อลัดคิว คนจีนบางคนก็เดินแทรกเพื่อจะแซงไปข้างหน้า คนจีนบางคนก็ให้คนสูงอายุมากๆในกลุ่มขอเดินแทรกไปก่อน(เราเห็นเป็นคนสูงอายุมาก เราก็ให้แทรก)แล้วที่เหลือในกลุ่มจึงเดินแทรกตามมาโดยอ้างว่ามากับคนสูงอายุ

พวกเราในทัวร์ต้องแก้เผ็ดโดยการจับมือกันกันตามแนวขวางเพื่อมิให้คนจีนเข้ามาแซงผ่าน และต้องต่อว่าบางคนที่เบียดแทรกเข้ามา

ผมว่าเป็นสิ่งที่เลวร้ายมาก และมีความรู้สึกว่าไม่อยากมาเที่ยวเมืองจีนอีกโดยเฉพาะที่หนาแน่นและต้องเข้าคิว จึงถึงบางอ้อว่าทำไมจึงไม่เห็นฝรั่งมาเที่ยวในที่นี้

เรื่องห้องน้ำสกปรกนั้นพอรับได้เพราะเป็นเรื่องศักยภาพ เรื่องเทคโนโลยี เรื่องเงินทุน เรื่องความเคยชินส่วนตัว แต่การเอาเปรียบคนิื่นเช่นนี้ผมรับไม่ได้จริงครับ

เทียบกับญี่ปุ่นแล้วต่างกันราวฟ้ากับดิน

สิ่งนี้ผมคิดว่ามีผลต่อการท่องเที่ยว แม้นว่าโดยธรรมชาตินั้นคน้ราชอบความแปลกใหม่ ชอบความแตกต่าง แต่คงไม่มีใครอยากไปเที่ยวที่ที่คนท้องถิ่นมีนิสัยเอาเปรียบคนอื่น

ผมอยากให้เมืองไทยเหมือนญี่ปุ่นในด้านการรักความสะอาด การมีวินัย ผมคิดว่านี่ก็เป็น"สมบัติของผู้ดี"เช่นกัน และผมเชื่อว่าเราสามารถสร้างได้โดยผู้นำของชาตที่มีสมบัติของผู้ดี

ทราบจากบางคนว่าคนจีนสอนให้ลูกเอาเปรียบคนอื่น แสดงว่าฉลาด ถ้าไม่เอาเปรียบแสดงว่าโง่

ผมเขียนว่าคนจีน แต่ที่จริงแล้วผมก็มีเชื้อจีน คุณพ่อคุณแม่ก็คนจีนจอพยพมาเมืองไทย

บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 20 พ.ย. 12, 18:45

ขออนุญาตมาต่อที่ภาคสองนะครับ

ผนวก ๒
ผู้ดี ย่อมไม่ทำอุจาดลามก
กายจริยา ในข้อนี้หมายถึงการแสดงอาการที่กระทำด้วยกายในทางที่เสียหายซึ่งผู้ดีไม่ควรทำ ไม่ว่าในที่ใด ๆ ทั้งสิ้น แยกออกได้ดังนี้
(๑) ผู้ดีย่อมใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวสะอาดและแต่งโดยเรียบร้อย หมายความว่า เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มนั้น จะเป็นชนิดใดก็ตาม ต้องระวังไม่ให้เหม็นสาบ จนเข้าใกล้ใครเป็นที่รำคาญของคนทั้งหลาย การแต่งตัวก็นุ่งห่มให้สมส่วน เป็นนักเรียนก็ต้องแต่งแบบนักเรียนเป็นเด็กก็ต้องแต่งอย่างเด็ก ไปงานอะไรก็ต้องแต่งให้เหมาะแก่งานนั้นไม่ปล่อยให้มีอะไรน่ารังเกียจเช่น เปรอะเปื้อนสกปรก โสมมหรือผิดระเบียบ ต้องแต่งตัวให้เรียบร้อยตามโอกาสนั้น ๆ
(๒) ผู้ดีย่อมไม่แต่งตัวในที่แจ้ง หมายความว่า การแต่งตัวนั้นมีความจำเป็นจะต้องเปลือยกายบางส่วน เช่น ก่อนสวมเสื้อต้องเปลือยกายส่วนนั้น แล้วผลัดของเก่าออกเอาของใหม่แทน ในเวลา เช่นนี้ควรทำในที่มิดชิดเพื่อมิให้เป็นที่อุจาดตา
(๓) ผู้ดีย่อมไม่จิ้มควักล้วงแคะแกะเการ่างกายในที่ชุมชน หมายความว่า ขณะที่อยู่ในที่ชุมชน ไม่จิ้มฟันในโต๊ะอาหาร ไม่แปรงฟันในโต๊ะอาหาร ไม่ควักล้วงภายในเครื่องแต่งตัวตามร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ไม่แคะแกะเการ่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง หากมีความจาเป็นต้องปลีกตัวออกจากที่ประชุม นั้นก่อนจึงทำ
(๔) ผู้ดีย่อมไม่กระทำการที่ควรจะทำในที่ลับในที่แจ้ง หมายความว่า กิริยาอาการบางอย่างซึ่งควรจะทำในที่ลับ ก็ต้องทำในที่ลับ อย่าไปทำในที่แจ้ง อาจกลายเป็นลามกอนาจารก็ได้ แม้มีความจาเป็น ก็ควรหาทางหลีกเลี่ยงเท่าที่สามารถจะทำได้ เช่น การถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ เป็นต้น ซึ่งเป็นการที่ควรต้องทำในที่ลับก็ควรทำในที่ลับ เมื่อมีความจำเป็นแต่หาห้องลับไม่ได้ก็ควรหาที่กำบังคน เพื่อมิให้เป็นการอุจาดตาของผู้พบเห็น ดังนี้เป็นต้น แม้การอย่างอื่นก็โดยทำนองนี้
(๕) ผู้ดีย่อมไม่หาวเรอให้ปรากฏในที่ชุมชน หมายความว่า อาการที่หาวเรอนั้นเป็นการแสดงออก ทางธรรมชาติ แต่เพราะเหตุที่การหาวเรอนั้นต้องอ้าปาก ปากเปิดมองเห็นอวัยวะภายในปาก ขณะที่ อยู่ในที่ประชุมแสดงอาการอย่างนั้น ก็ทำให้ผู้ที่เห็นเกิดความสะอิดสะเอียน เหตุนี้จึงควรระมัดระวังไว้เสมอ หากอาการเช่นนั้นจะมีขึ้น ก็ควรใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากไว้ก่อนหรือปลีกตัวออกจากหมู่ ชั่วขณะหนึ่ง ยิ่งในขณะที่กาลังรับประทานอาหารด้วยแล้วยิ่งจำเป็นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 21 พ.ย. 12, 10:27

ผนวก ๒ ยังไม่จบนะครับ
ขออนุญาตต่อครับ

(๖) ผู้ดีย่อมไม่จามด้วยเสียงอันดังและโดยไม่ป้องกำบัง หมายความว่า การไอจามเป็นอาการอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นแก่คนทั่วไป เมื่อจะไอหรือจามไม่ว่าจะอยู่ในที่ใด ๆ ต้องพยายามให้เสียงไอจามนั้นเบาที่สุดที่จะเบาได้ และต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าปูองปิดปากไว้ให้ทันท่วงที ถ้าสามารถจะเอาผ้านั้น ชุบน้ำระเหยอย่างใดอย่างหนึ่งได้ก็ยิ่งดีมาก ทั้งนี้เพื่อป้องกันการกระจายของโรคหรือป้องกันมิให้ฝอยน้าลายกระเซ็นออกไปถูกต้องใครหรือสิ่งใดได้
(๗) ผู้ดีย่อมไม่บ้วนขากด้วยเสียงอันดังหรือให้เปรอะเปื้อนเป็นที่รังเกียจ หมายความว่า ตามปรกติ น้าลายไม่ควรบ้วนไม่ว่าในที่ใด ๆ เว้นแต่เมื่อถึงคราวจำเป็น ก็ไม่ควรให้เสียงถ่มขากเลยเป็นอันขาด แม้ที่บ้วนเล่าก็ต้องดูว่าควรหรือไม่ควร ถ้าอยู่ในรถในเรือโดยสารไม่ควรบ้วนหรือถ่มทางหน้าต่าง หากไม่มีที่บ้วนโดยเฉพาะ ก็ต้องทำให้มิดชิดเพื่อมิให้เป็นการแพร่เชื้อน้ำลายเช่นนั้น
(๘) ผู้ดีย่อมไม่ลุกลนเลอะเทอะมูมมามในการบริโภค หมายความว่า ในการบริโภคอาหารนั้น ต้องการความสะอาดมาก หากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เห็นเป็นสิ่งสกปรกอยู่ก็ำาให้รับประทานอาหารไม่ได้ เป็นต้นว่าไม่ควรรีบตักแบ่งอย่างลุกลน ไม่ควรตักเลอะเทอะออกขอบจานของกลางหรือหกราด สิ่งในจานตนเองก็ไม่ควรตักมากเกินไปและไม่ควรตักสุมๆปนชนิดกัน จะรับประทานก็ไม่คำโตจนเกินไป และไม่ควรให้มีเสียง เช่น เคี้ยวดังหรือซดน้ำดัง ไม่ควรพูดคุยเวลาอาการอยู่ในปาก
(๙) ผู้ดีย่อมไม่ถูกต้องหรือหยิบยื่นสิ่งที่ผู้อื่นจะบริโภคด้วยมือตน หมายความว่า ขณะที่กำลังรับประทานอาหารอยู่นั้นเมื่อจะหยิบอาหารสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่นผลไม้หรือผักหรือของอื่นส่งให้ผู้อื่น ไม่ควรจับต้องสิ่งนั้นด้วยมือควรใช้ช้อนหรือส้อมกลางที่มีอยู่นั้นส่งให้ หรือหยิบทั้งภาชนะส่งให้ ทั้งนี้ เพื่อกันความสกปรกอันอาจมีได้
(๑๐) ผู้ดีย่อมไม่ล่วงล้าข้ามหยิบของบริโภคผ่านหน้าผู้อื่นซึ่งควรขอโทษและขอให้เขาส่งให้ได้ หมายความว่าขณะที่กาลังบริโภคร่วมกันอยู่นั้นจะต้องการของสิ่งใด ไม่ควรหยิบยกข้ามหรือผ่าน หน้าผู้อื่น หากมีความจาเป็นจะต้องหยิบยกจริง ๆ ก็ควรขอประทานโทษเขาแล้วขอให้เขาช่วยหยิบ ส่งให้ก็จะน่าดูขึ้น แต่ระเบียบในโต๊ะอาหารที่ถูกต้องนั้นควรบอกให้ผู้รับใช้หยิบส่งให้
(๑๑) ผู้ดีย่อมไม่ละลาบละล้วงเอาของผู้อื่นมาในการบริโภค เช่น ถ้วยน้ำและผ้าเช็ดมือ เป็นต้น หมายความว่า ในการรับประทานอาหารนั้นมีของที่ใช้ร่วมกันก็มี มีของที่ใช้เฉพาะคนก็มี เช่น
ภาชนะใส่อาหารกลางวันรวมกันแต่เครื่องใช้เฉพาะตนคือ ช้อนส้อมถ้วยน้ำผ้าเช็ดมือ ของที่ใช้ เฉพาะเช่นนี้ต้องระมัดระวังอย่างละลาบละล้วงไปใช้ของผู้อื่นเข้า เพราะของเหล่านี้เป็นของประจำ เฉพาะตัวของแต่ละคนจึงไม่ควรใช้ปะปนกัน
(๑๒) ผู้ดีย่อมไม่เอาเครื่องใช้ของตน เช่น ช้อนส้อมไปตักสิ่งบริโภคซึ่งเป็นของกลาง หมายความว่า ในการรับประทานอาหารร่วมกันหลาย ๆ คนนั้น เขาแยกของใช้ไว้เป็นของเฉพาะตัวก็มี เป็นของใช้ ร่วมกันก็มีถ้าว่าถึงช้อนส้อมแล้วเขามีเฉพาะตัวทีเดียว และเขามีช้อนกลางประจาไว้ตามภาชนะ อาหารนั้น ๆ ในการนั้นต้องใช้ช้อนกลางร่วมกันคือการใช้ช้อนกลางแบ่งอาหารจากชามกลางมา ไม่ ควรใช้ช้อนส้อมของตนไปตักอาหารแบ่งมาใส่ภาชนะของตน ทั้งนี้ก็เพื่อกันความสกปรกอันมีได้ เพราะทาเช่นนั้น
(๑๓) ผู้ดีย่อมระวัง ไม่พูดจาตรงหน้าผู้อื่นให้ใกล้ชิดเหลือเกิน หมายความว่า ในการพูดจาสนทนา ปราศรัยกันตามปรกตินั้นควรใช้เสียงพอเหมาะไม่ดังเกินไป ไม่เบาเกินไป และในการพูดนั้นก็ไม่ควรยื่นหน้ายื่นตาเข้าไปพูดจนใกล้ชิดนัก เพราะอาจจะได้กลิ่นลมปาก ซึ่งอาจเหม็นจนผู้อื่นเหลือทนก็ได้ หรือมิฉะนั้นฝอยน้ำลายอาจจะกระเซ็นเข้าหากันก็ได้ เพราะฉะนั้น จึงควรอยู่ในที่เหมาะและไม่ตรงหน้าใกล้ชิดจนเกินพอดี ทั้งนี้เพราะกันความเบื่อหน่ายของกันและกัน เพื่อกันความรังเกียจกันแลกันอาจมีได้ เพราะเหตุที่แสดงกิริยาเช่นนั้น

วจีจริยา ข้อนี้หมายถึงการไม่พูดคาลามกหรือพูดถึงสิ่งอันลามกในที่ประชุมชนหรือในขณะกาลัง รับประทานอาหาร แยกออกได้ดังนี้
(๑) ผู้ดีย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งโสโครกพึงรังเกียจในท่ามกลางประชุมชน หมายความว่าการกล่าว ถ้อยคำใด ๆ ซึ่งเป็นการพูดถึงสิ่งโสโครกต่าง ๆ เช่น ของเน่าของเหม็น หรือพูดถึงสิ่งสกปรกต่าง ๆ ในที่ประชุมชนไม่เป็นการสมควรแท้ ความจริงการพูดคำเช่นนั้นไม่ว่าในที่ใดๆในเวลาใดๆกับ บุคคลใด ๆ ย่อมไม่เป็นมงคลแก่ปากของตนเลยเพราะอย่างนี้จึงต้องพูดแต่สิ่งที่ดีงามในที่ทุกสถาน และในกาลทุกเมื่อ
(๒) ผู้ดีย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งที่ควรปิดบังในท่ามกลางประชุมชน หมายความว่าสิ่งที่ควรปิดบังนั้น ได้แก่สิ่งที่ควรละอาย หรือเรื่องที่เปิดเผยให้คนอื่นรู้จะเกิดความเสียหายแก่ตน แก่หมู่หรือแก่ชาติ บ้านเมือง จึงไม่นำมาพูดในท่ามกลางประชุมชน เพราะเป็นเรื่องที่ควรสงวนไว้พูดเฉพาะกับบุคลที่จะไม่เป็นภัยอันตรายแก่ตนและใคร

มโนจริยา ข้อนี้หมายถึงความคิดเห็นแต่ในความบริสุทธิ์สะอาดอันมีอยู่ในใจของเรา เราควรตั้งความคิดเห็นนั้นในทางที่ชอบที่ควรคือ
(๓) ผู้ดีย่อมพึงใจที่จะรักษาความสะอาด หมายความว่า
        ความสะอาดมีอยู่ ๓ ทาง คือ สะอาดกาย สะอาดวาจาและสะอาดใจ ถ้าแบ่งประเภทอย่างนี้หมายถึงความดีงามหรือความไม่ทุจริตทางกาย วาจา และใจ
        อีกอย่างหนึ่งความสะอาดแบ่งได้เป็น ๒ ทาง คือ
                 - สะอาดภายนอก ได้แก่ ความสะอาด ของร่างกาย เครื่องใช้บ้านเรือนและความเป็นอยู่ กับ
                 - สะอาดภายใน ได้แก่ความสะอาดในจิตใจ
        ที่ว่า ผู้ดีย่อมพึงใจจะรักษาความสะอาดนั้น แสดงว่าความสะอาดกายาจาและใจก็ตาม ความสะอาด ภายนอกและภายในก็ตาม จะมีขึ้นได้ก็ด้วยความรู้ความเข้าใจ และเจตนาหรือความพึงพอใจจะให้ มีขึ้น ผู้ดีจึงควรศึกษาให้รู้เรื่องความสะอาดและตั้งใจรักษาความสะอาดในทุกวิถีทาง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 21 พ.ย. 12, 12:51

ขอบคุณสำหรับกระทู้ดีๆอย่างกระทู้นี้ค่ะ
อยากจะให้กระทรวงศึกษาธิการรื้อฟื้นการสอนมารยาทขึ้นมาอีกครั้ง       จะเห็นได้ว่า หลักของหนังสือสมบัติผู้ดี คือสอนให้วางตัวงดงาม ทั้งกาย วาจา และใจ
การอบรมให้งามได้ทั้ง 3 อย่างต้องอาศัยความสำรวม  อดกลั้น  ยึดถือสิ่งที่ถูกต้องดีงาม  ไม่ว่าจะคิดอะไร พูดอะไร ลงมือทำอะไร ต้องกลั่นกรองเสียก่อนว่า ถูกไหม ควรไหม และดีไหม
ตัวอย่างที่คุณ sirinawadee เล่ามาข้างล่างนี้ แสดงว่ามารยาทในหนังสือเล่มนี้เป็นสิ่งที่ถูกลืมเลือนไปจากความเข้าใจของคนไทยมากแล้ว

ในพันทิปไม่นานมานี้ก็มีกระทู้แนะนำบ่นว่า เห็นแม่ลูกในซุปเปอร์มาร์เก็ต คุณแม่แกะขนมให้ลูกกินทั้งที่ยังไม่จ่ายเงิน ไม่น่าเชื่อว่ามีแม่ๆ จำนวนมากค่ะ บอกว่าไม่เห็นจะเป็นไรเลย เดี๋ยวชั้นก็ไปจ่าย คนไม่มีลูกไม่เข้าใจหรอก...  ฮืม

ใครเคยแกะนมแกะขนมให้ลูกในห้างก่อนจ่ายเงินบ้าง

บันทึกการเข้า
sirinawadee
ชมพูพาน
***
ตอบ: 101


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 พ.ย. 12, 13:50

เข้าบอร์ดพันทิปมาหลายปี เห็นกระทู้ทำนองนี้บ่อยค่ะ พวกที่เป็นกระทู้ในตำนานก็เช่น
- กระทู้ข้าวหน้าไก่ มาตั้งกระทู้ถามทางไปร้านข้าวหน้าไก่ ไปหาเองแล้วไม่เจอก็กลับมาต่อว่าคนที่แนะนำทาง บอกว่าบอกทางไม่เป็นทีหลังไม่ต้องมาบอก


คำว่าอดทน สำรวม อดกลั้น หาไม่ค่อยพบแล้วค่ะ และอย่าไปว่าเด็กๆ เลยนะคะ ที่เห็นแย่ๆ ส่วนใหญ่นี่ผู้ใหญ่ทั้งนั้นค่ะ
บันทึกการเข้า
sirinawadee
ชมพูพาน
***
ตอบ: 101


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 22 พ.ย. 12, 13:58

ปวดใจทุกครั้งที่เห็นคนเป็นพ่อแม่ไม่บอกไม่สอนลูกเล็กๆ ว่าอะไรผิดอะไรถูก พอถูกเตือนถูกว่าก็โกรธ บางคนโกรธคนเตือน บางคนโกรธคนเตือนไม่พอ กลับไปโมโหลูกตัวเองด้วยว่าทำให้พ่อแม่ถูกคนเขาว่า

เคยได้ยินตอนเด็กๆ ว่า วินัยเริ่มที่บ้าน สอนลูกหลานให้รู้ไว้.. เดี๋ยวนี้ไม่เคยได้ยินเลยค่ะ
จะรอกระทรวงศึกษาปรับหลักสูตร คงรอนาน โรงเรียนก็มีคุณครูน้อย นักเรียนจำนวนมาก หัดตั้งแต่ที่บ้่านน่าจะดีกว่านะคะ 
บันทึกการเข้า
sirinawadee
ชมพูพาน
***
ตอบ: 101


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 22 พ.ย. 12, 14:10

คุณ Sujitra คะ

ไปเมืองจีนมาหนเดียวก็ยังเข็ดกับทุกสิ่งทุกอย่างค่ะ เรื่องห้องน้ำ ไกด์เล่าว่า ตามหัวเมืองพัฒนายากค่ะ เพราะคนท้องถิ่นเห็นว่าไม่สำคัญ เข้าไปประเดี๋ยวเดียวก็ออกมาแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปทำให้ดูดีอะไรนัก ส่วนนักท่องเที่ยวมาๆ แล้วก็ไป ยิ่งไม่ต้องไปทำห้องน้ำดีๆ ให้  ร้องไห้ สภาพก็เลยน่าสยดสยอง ห้องน้ำตามปั๊มน้ำมันบ้านเราเป็นสวรรค์ไปเลยค่ะ

เรื่องเอาเปรียบนั้น เคยอ่านเจอว่าเป็นแนวคิดที่เพิ่งเกิดในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมค่ะ อะไรที่เป็นของเดิมให้ถือว่าไม่ดีไปเสียหมด เลิกเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ครูอาจารย์ เชื่อฟังแต่สิ่งที่ผู้นำบอก เอาเปรียบคนอื่นเสียก่อนเขาจะมาเอาเปรียบเรา..
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 25 พ.ย. 12, 19:40

ต้องขออภัยด้วยครับที่หายไปหลายวันเพราะไปเที่ยวเมืองจำปาศักดิ์ ประเทศลาว
แม้นว่าบ้านเมืองจะเศรษฐกิจดี ร่ำรวย (อย่างที่เราคนไทยและคนในโลกอีกมหาศาลจะพยายามเป็นกัน) แต่ถ้าคนในชาติไม่มีความเอื้ออาทรผู้อื่น ไม่คิดถึงผู้อื่น ไม่แบ่งปันผู้อื่น (ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นสมบัติของผู้ดี) สังคมนั้นอยู่ยากครับ สักวันก็ต้องระเบิด (อย่างที่เราเห็นกันทั่วโลก) สังคมที่มีปัญหามิใช่เพราะร่ำรวยหรือยากจน แต่เพราะความไม่เอื้ออาทรกัน
สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ นักการเงิน นักการเมือง และนักวิชาการอะไรต่อมิอะไรที่พยายามจะทำให้ GDP สูงขึ้นแล้วเชื่อว่าประเทศจะเป็นสุขนั้น ผมว่าถึงเวลาต้องทบทวนแล้วครับ เพราะ GDP มิใช่ของฟรี GDP ต้องมีต้นทุน ต้นทุนคือ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ต้นทุนคือความเอื้อาทร คือการไม่เอารัดเอาเปรียบประเทศที่อ่อนแอกว่า คือทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องสูญเสียไป ฯลฯ เพียงเพื่อตอบสนองต่อ GDP ต่อรถเฟอร์รารี่คันงาม ต่อนาฬิกา Patex Philips (Rolexนั้นเชยแล้วครับ) ต่อหญิงงามกลางเมืองและหญิงรักวัตถุนิยมที่จะมารายล้อม

ต้องขอโทษที่พร่ำพรรณามากไปเล็กน้อย ขอเข้าเรื่องต่อนะครับ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 25 พ.ย. 12, 19:47

ผนวก ๓ ผู้ดีย่อมมีสัมมาคารวะ
ข้อนี้หมายความว่า กิริยาอาการที่แสดงออกของบุคคลที่เป็นผู้ดีนั้นย่อมแสดงออกแต่ในทางสุภาพ เรียบร้อยน่าดูน่าชมเท่านั้น กิริยาอาการนี้ก็เป็นสำคัญอีกอย่างหนึ่ง โบราณท่านกล่าวไว้ กิริยาส่อชาติ มารยาทส่อสกุล เพราะฉะนั้นการแสดงกิริยาอาการที่สุภาพอ่อนโยนงดงาม จึงเป็นการสมควรที่ทุกคนควรทาอย่างยิ่ง ท่านแบ่งไว้ดังนี้

กายจริยา หมายถึงการแสดงสัมมาคารวะทางกาย
(๑) ผู้ดีย่อมนั่งด้วยกิริยาอันสุภาพเฉพาะหน้าผู้ใหญ่ หมายความว่า เมื่ออยู่กับผู้ใหญ่ต้องรู้ที่นั่งของตนว่าตนควรจะนั่ง ณ ที่แห่งใด และควรจะนั่งอย่างไร เช่น ผู้ใหญ่อยู่กับพื้นก็ควรนั่งกับพื้น และ ควรนั่งพับเพียบ ในระยะห่างพอควรแก่สถานที่และธุระที่ทำ ถ้าท่านนั่งเก้าอี้และท่านอนุญาตให้นั่ง เก้าอี้ด้วยก็ควรนั่ง แต่ไม่ควรนั่งไขว้ขาหรือกระดิกเท้าตามใจชอบ ควรนั่งด้วยท่าทางสุภาพเรียบร้อย ควรแก่สถานที่และภาวะของตน
(๒) ผู้ดีย่อมไม่ขึ้นหน้าผ่านตาผู้ใหญ่ หมายความว่า เมื่อเดินไปกับผู้ใหญ่ต้องเดินตามหลังท่าน และ ไปในระยะไม่ห่างนัก ไม่ชิดนัก เพราะถ้าเดินห่างนักพูดไม่ค่อยได้ยิน ถ้าเดินชิดนักจะสะดุดส้นท่าน ต้องเดินในระยะพอสมควรที่จะพูดถามได้ยินสะดวก ต้องไม่เดินแซงขึ้นหน้าผู้ใหญ่ หากไม่ได้เดินร่วม ไปกับท่าน เมื่อท่านเดินมา มีความจำเป็นต้องผ่าน ก็ไม่ควรเดินผ่านหน้าท่านควรหาทางที่จะผ่านไป ทางหลังท่าน จึงดูสุภาพ
(๓) ผู้ดีย่อมไม่หันหลังให้ผู้ใหญ่ หมายความว่าขณะที่อยู่ใกล้ผู้ใหญ่ไม่ว่าในที่เช่นใด ต้องไม่หันหลัง ให้ผู้ใหญ่ ต้องหันหน้าเข้าหาท่าน จึงดูเรียบร้อยดี
(๔) ผู้ดีแหวกที่หรือให้ที่นั่งอันสมควรแก่ผู้ใหญ่หรือผู้หญิง หมายความว่า ขณะที่เรานั่งหรือยืนอยู่ในที่ใด ๆ ก็ตาม เช่น ในที่ชุมชน หรือในรถโดยสาร เมื่อมีผู้ใหญ่คือผู้สูงอายุ คือ คนชรา หรือผู้หญิง ขึ้นมาภายหลังต้องให้ที่นั่งแก่คนเหล่านั้นตามสมควร แต่ถ้าเป็นผู้ที่อยู่ในวัยที่เสมอกัน ตามปรกติไม่ต้องให้ที่นั่ง แต่ถ้าคนเหล่านั้นอุ้มเด็กมาหรือมีครรภ์หรือมีของหนักติดมือมาก็ต้องลุกให้ตามควร อย่างนี้จึงดูสุภาพดี
(๕) ผู้ดีย่อมไม่ทัดหรือคาบบุหรี่ คาบกล้อง และสูบให้ควันไปรมผู้อื่น หมายความว่า เมื่อเราเข้าไปหาผู้ใหญ่หรือเดินทางไปกับผู้ใหญ่หรืออยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ เราไม่ควรเอาบุหรี่มาทัดหูแม้ของอื่นก็ไม่สมควร เมื่อจะสูบบุหรี่ก็ไม่ควรคาบกล้องต่อหน้าผู้ใหญ่ อีกอย่างหนึ่งในที่ชุมชน จะเป็นในที่ประชุมกันก็ตาม อยู่ในรถก็ตาม ไม่ควรสูบบุหรี่ทีเดียว ถ้ามีความจาเป็น ก็ควรอยู่ใต้ลมและเบื้องหลังท่าน อย่างนี้จึงสุภาพดี
(๖) ผู้ดีย่อมเปิดหมวกเมื่อเข้าชายคาบ้านผู้อื่น หมายความว่า เมื่อจะเข้าเขตของท่านผู้ใด ต้อง แสดงความเคารพต่อเจ้าของเขตนั้น ๆ จึงเป็นการสมควรทีเดียวที่จะต้องเปิดหมวกออก
(๗) ผู้ดีย่อมเปิดหมวกในที่เคารพเช่นโบสถ์วิหารไม่ว่าแห่งศาสนาใด หมายความว่า ตามธรรมดาคนเรานี้มีความเชื่อถือในลัทธินิยมต่าง ๆ กัน แล้วแต่ความสมัครใจของตน เป็นเสรีภาพอย่างหนึ่งในการนับถือศาสนา ในลัทธินิยมเหล่านั้นย่อมมีสิ่งที่เคารพนับถือของผู้เชื่อถือจะได้ยึดถือ เป็นหลักใจเป็นที่รวมของคนทั้งหลาย จึงมีสถานที่กลางขึ้น เรียกทั่วไปในภาษาไทยว่าวัดบ้าง ศาลเจ้าบ้างหรือเรียกอนุโลมเพื่อให้เข้าใจกันได้ว่า โบสถ์บ้าง วิหารบ้าง สุเหร่าบ้าง ตามที่หมายรู้กัน สถานที่เหล่านี้เราเรียกกันออกไปอีกเช่นปูชนียสถานบ้างเจดียสถานบ้าง ตามถนัดที่จะหมายรู้ กันได้ เมื่อรวมลงกันแล้วสถานที่เหล่านี้ก็เป็นที่เคารพอย่างสูงสุดของผู้นับถือลัทธินิยมนั้น ๆ การเข้าไปในเขตบริเวณสถานที่เหล่านั้นเช่นเดียวกับสถานที่ซึ่งตนเคารพนับถือ การแสดงความเคารพนั้น มีหลายวิธี ถ้าสวมรองเท้าเมื่อจะเข้าไปในเขตนั้นต้องถอดรองเท้า ถ้าสวมหมวกต้องเปิดหมวก ถ้ากางร่มต้องลดร่ม แต่เรื่องการถอดรองเท้านี้ ถ้าสวมตามเครื่องแบบมีข้อบังคับว่าถอดไม่ได้ ถอดเป็น การแสดงความไม่เคารพ เช่นนี้ไม่ต้องถอดรองเท้าก็ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อจะเข้าในสถานที่เคารพ ทุกแห่งควรแสดงความเคารพก่อนเข้าไป
(๘) ผู้น้อยย่อมเคารพผู้ใหญ่ก่อน หมายความว่าในการแสดงความเคารพต่อกันและกันนั้น ตามปรกติผู้น้อยต้องเคารพผู้ใหญ่ก่อนแล้วผู้ใหญ่จึงรับเคารพภายหลังเช่น เมื่อพบกันผู้น้อยต้อง แสดงความเคารพผู้ใหญ่เช่น ไหว้ก่อนแล้วผู้ใหญ่จึงรับไหว้ภายหลัง ข้อนี้หากอยู่ในเครื่องแบบ อย่างไรในที่เช่นใดต้องทำให้เหมาะแก่กาลเทศะ
(๙) ผู้ชายย่อมเคารพผู้หญิงก่อน หมายความว่าเมื่อชายหญิงได้พบกันในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตามปรกติผู้ชายต้องเคารพผู้หญิงก่อน จึงจะนับว่าเป็นมรรยาทที่ดี ทั้งนี้หมายถึงสุภาพสตรีและ สุภาพบุรุษโดยทั่วไป มิใช่แก่พ่อแม่พี่ปูาน้าอาปูุย่าตายายครูบาอาจารย์ซึ่งต้องเคารพกันฐานญาติอยู่แล้ว
(๑๐) ผู้ลาย่อมเป็นผู้เคารพก่อน หมายความว่าแขกผู้ไปถึงถิ่นของท่านผู้ใด ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นบุคคลประเภทใด เมื่อจะลากลับฝ่ายผู้เป็นแขกต้องแสดงคารวะต่อเจ้าถิ่นโดยสถานใดสถานหนึ่ง ตามควร แก่ภาวะของตนถ้าแขกเป็นผู้น้อยกว่าก็ทำตามภาวะของผู้น้อย ถ้าแขกเป็นผู้ใหญ่กว่าก็ทำตามภาวะของผู้ใหญ่
(๑๑) ผู้เห็นก่อนโดยมากย่อมเคารพก่อน หมายความว่าในการพบปะกันในสถานที่ต่างๆเช่น ในงานชุมชน ในการพบปะกันในที่เช่นนั้น ตามปรกติผู้ที่เห็นควรแสดงความเคารพก่อน โดยควรแก่ ภาวะของตน เช่น ทักก่อน หรือ แสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เห็นว่ามีไมตรีกัน
(๑๒) ผู้ใดเคารพตนก่อน ควรตอบเขาทุกคน ไม่เฉยเสีย หมายความว่าในการแสดงความเคารพต่อ กันและกันนั้น ตามปรกติย่อมถือหลักว่า ผู้ไหว้ย่อมได้ไหว้ตอบ ผู้เคารพย่อมได้เคารพตอบโดยหลักนี้ เมื่อมีผู้ใดมาแสดงความเคารพต่อเรา เราต้องแสดงเคารพตอบทันที ตามปรกติธรรมเนียมไทย ผู้น้อยต้องแสดงก่อน เช่น ไหว้ก่อน เป็นต้น เป็นผู้ใหญ่ควรยกมือขึ้นไหว้ตอบผู้น้อย แต่การรับไหว้นี้จะยกสูงต่ำเพียงไรย่อมแล้วแต่ภาวะอันควร แต่บางที่อาจก้มศีรษะน้อมรับก็ได้ ส่วนธรรมเนียมตะวันตก เช่น จับมือ ผู้ใหญ่ต้องให้มือก่อนแล้วผู้น้อยจึงจับ เป็นผู้น้อยจะยื่นมือให้ผู้ใหญ่เป็นการไม่สมควร
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 25 พ.ย. 12, 19:56

ภาคผนวก ๓ (ต่อ)

วจีจริยา การแสดงสัมมาคารวะทางวาจา
(๑) ผู้ดีย่อมไม่พูดจาล้อเลียนหลอกลวงผู้ใหญ่ หมายความว่า ตามปรกติผู้น้อยย่อมต้องเคารพ ผู้ใหญ่อยู่ทุกโอกาส แล้วพูดจาปราศรัยกับผู้ใหญ่ก็ต้องพูดเรียบร้อยเป็นสัมมาคารวะ ต้องไม่พูดจาล้อเลียนหรือหลอกลวงท่าน ดังนั้นจึงต้องพูดจาปราศรัยกับผู้ใหญ่ด้วยสัมมารวะเสมอ
(๒) ผู้ดีย่อมไม่กล่าวร้ายถึงญาติมิตรที่รักใคร่นับถือของผู้ฟัง หมายความว่า เราพูดกับใคร เราไม่ควรพูดถึงญาติมิตรที่ผู้พูดอยู่กับเรานั้นรักใคร่นับถือกันในทางเสียหาย คือไม่นินทาเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้องของผู้ที่พูดอยู่ด้วยให้ผู้นั้นฟัง เช่น เราพูดกับนายแดง เราไม่ควรว่าเพื่อนหรือญาติของนายแดง เป็นต้น โดยปรกติแล้วเราไม่ควรพูดถึงใคร ๆ ในทางที่เสื่อมเสีย ควรพูดถึงแต่ในทางที่ดีเท่านั้น
(๓) ผู้ดีย่อมไม่กล่าววาจาติเตียนสิ่งเคารพหรือที่เคารพของผู้อื่นแก่ตัวเขา หมายความว่าสิ่งเคารพได้แก่เจดียสถานหรือศาสนาที่เคารพได้แก่พ่อแม่ปูุย่า ตายายหรือครูบาอาจารย์ในการ สนทนาปราศรัยกันนั้น เมื่อรู้ว่าผู้นั้นถือลัทธิต่างกันเราไม่ควรพูดจาติเตียนสิ่งเคารพของเขาเช่น เราถือพุทธ เพื่อนเราถือคริสต์ เราไม่ควรติเตียนพระเยซูให้เพื่อนเราฟัง หรือพูดกับนายดาเราไม่ควร ติเตียนพ่อนายดาดังนี้เป็นต้น นี้เป็นเรื่องของจิตใจไม่ควรกระทบน้าใจกัน
(๔) ผู้ดีเมื่อจะขอทำล่วงเกินแก่ผู้ใด ย่อมต้องขออนุญาตตัวเขาก่อน เมื่อเรามีความจำเป็น จะล่วงเกินผู้อื่น เช่น เราเห็นผงหรือตัวแมลงติดอยู่บนศีรษะของผู้อื่น เรามีความปรารถนาดีจะช่วย หยิบผงหรือตัวแมลงนั้นออก ก่อนที่เราจะทำควรขอโทษเขาเสียก่อนแล้วจึงหยิบออก หรือเมื่อจะพูด ถึงเรื่องของเขาก็ต้องขอโทษเขาก่อนจึงพูด หรือแม้การอย่างอื่นก็ทำนองเดียวกัน โดยที่สุดแม้จะฟ้องใครยังต้องบอกให้ผู้ถูกฟ้องทราบก่อน ทำอย่างนี้จึงเป็นการสมควร
(๕)ผู้ดีเมื่อตนทำพลาดพลั้งแก่บุคคลใดควรออกวาจาขอโทษเสมอ หมายความว่าเมื่อเราอยู่ รวมกับคนหมู่มากเราอาจกระทบมือกระทบเท้ากันได้บ้าง เมื่อพลาดพลั้งไปเช่นนั้นก็ต้องกล่าวคา ขอโทษทุกครั้ง จึงจะเป็นการสมควร
(๖) ผู้ดีเมื่อผู้ใดได้แสดงคุณต่อตนอย่างไร ควรออกวาจาขอบคุณเขาเสมอ หมายความว่า เมื่อมี ผู้หนึ่งผู้ใดช่วยเหลือเราด้วยประการใด ๆ ก็ตามในทางที่ดีนั้น เราต้องกล่าวคำขอบคุณท่าน เช่น เขาให้ที่นั่งเรา เขาให้ทางเรา หรือเขาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เราอย่างไร เราต้องกล่าวคำขอบคุณเขา ทุกครั้ง จึงจะเป็นการสมควร

มโนจริยา หมายถึงการแสดงความมีน้าใจอันดีงามเป็นสัมมาคารวะ
(๑) ผู้ดีย่อมเคารพยาเกรงบิดามารดาและอาจารย์ หมายความว่าบุคคลผู้สร้างชีวิตของเรา เท่าที่เราเกิดขึ้นมานี้ก็มีเพียงสองคนเท่านั้น ท่านทั้งสองคือพ่อกับแม่นี้เป็นผู้มีความรักเราจริงเป็นผู้สร้างชีวิตและร่างกายเราโดยแท้ ถัดจากนั้น ก็มีบุคคลที่มีคุณควรเคารพ คือ ครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ เป็นผู้สร้างชีวิตเราในฝ่ายวิชาความรู้ วิชาความรู้ที่มีอยู่ในตัวเรานี้ตั้งต้นแต่อ่านเขียนได้คิดเลขได้ ตลอดถึงวิชาทามาหากินได้นี้ ก็เพราะครูบาอาจารย์ บุคคลเหล่านี้เราต้องเคารพยำเกรง ไม่ว่า ในที่ใด ๆ ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ไม่ว่าในเรื่องใด ๆ ทั้งสิ้น แม้ว่าท่านผู้นั้นจะอยู่ในภาวะอย่างไรก็ตามเรา มีทางเดียวที่จะพึงปฏิบัติต่อท่าน คือมีความเคารพยำเกรงในท่านเท่านั้น อย่างนี้จึงสมควร
(๒) ผู้ดีย่อมนับถือนอบน้อมต่อผู้ใหญ่ หมายความว่า ผู้ใหญ่คือบุคคลผู้มีความเจริญกว่าเรา กำหนดได้เป็น๓ คือ ๑.เจริญโดยชาติ หมายความว่าเกิดในสกุลที่ประชาชนยกย่องนับถือว่าสูงศักดิ์เช่น ตระกูลกษัตริย์ บุคคลที่เกิดในตระกูลเช่นนี้ เช่น เจ้าฟ้า หรือเจ้านายชั้นรองลงมาก็ดี แม้ทรงมีอายุน้อย มีอายุน้อยกว่าเรา เราก็ควรเคารพท่านเป็นต้น ๒.เจริญโดยวัย หมายความว่าเกิดก่อนเรา มีอายุมากกว่าเรา แม้มีศักดิ์ต่ากว่าเราก็ต้องเคารพท่าน ๓.เจริญโดยคุณ หมายเอาบุคคลผู้มีคุณธรรมสูง เป็นภิกษุสามเณรหรือบุคคลอื่น เช่น ครูบาอาจารย์ ท่านเหล่านี้ชื่อว่า ผู้ทรงคุณ เราควรเคารพท่าน หรือถือหลักง่าย ๆ ว่าเป็นผู้น้อยต้องแสดงความนอบน้อมต่อผู้ใหญ่
(๓) ผู้ดีย่อมมีความอ่อนหวานต่อผู้น้อย หมายความว่าคนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่นั้น คือผู้ที่มีคุณธรรม คือมีเมตตากรุณาเป็นหลักใจ เห็นผู้ที่น้อยกว่าตนไม่ว่าสถานใดสถานหนึ่งแล้วต้องไม่แสดงอาการ ข่มขู่ให้ตกใจกลัว หรือไม่แสดงอาการเอารัดเอาเปรียบ ต้องแสดงความสงสารเอ็นดูปรานี โดยถือ หลักว่าเป็นผู้ใหญ่ต้องแสดงความเมตตากรุณาต่อผู้น้อย จึงทำให้ผู้น้อยเคารพรักด้วยน้าใสใจจริง ไม่ใช่จำใจต้องเคารพไปตามหน้าที่เท่านั้น
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 25 พ.ย. 12, 19:59

ขอบคุณสำหรับกระทู้ดีๆอย่างกระทู้นี้ค่ะ
อยากจะให้กระทรวงศึกษาธิการรื้อฟื้นการสอนมารยาทขึ้นมาอีกครั้ง       จะเห็นได้ว่า หลักของหนังสือสมบัติผู้ดี คือสอนให้วางตัวงดงาม ทั้งกาย วาจา และใจ
การอบรมให้งามได้ทั้ง 3 อย่างต้องอาศัยความสำรวม  อดกลั้น  ยึดถือสิ่งที่ถูกต้องดีงาม  ไม่ว่าจะคิดอะไร พูดอะไร ลงมือทำอะไร ต้องกลั่นกรองเสียก่อนว่า ถูกไหม ควรไหม และดีไหม
ตัวอย่างที่คุณ sirinawadee เล่ามาข้างล่างนี้ แสดงว่ามารยาทในหนังสือเล่มนี้เป็นสิ่งที่ถูกลืมเลือนไปจากความเข้าใจของคนไทยมากแล้ว

ในพันทิปไม่นานมานี้ก็มีกระทู้แนะนำบ่นว่า เห็นแม่ลูกในซุปเปอร์มาร์เก็ต คุณแม่แกะขนมให้ลูกกินทั้งที่ยังไม่จ่ายเงิน ไม่น่าเชื่อว่ามีแม่ๆ จำนวนมากค่ะ บอกว่าไม่เห็นจะเป็นไรเลย เดี๋ยวชั้นก็ไปจ่าย คนไม่มีลูกไม่เข้าใจหรอก...  ฮืม


ใครเคยแกะนมแกะขนมให้ลูกในห้างก่อนจ่ายเงินบ้าง


ขอบคุณท่านเทาชมพูครับที่ชม ทำให้มีกำลังใจ
กำลังจะร่วมมือกับคณะผู้ใหญ่บางคณะเพื่อเร่งรื้อฟื้น้เรื่องที่ท่านเทาชมพูเสนอแนะ ถ้ามีความคืบหน้าจะมาเล่าให้ทราบครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.095 วินาที กับ 19 คำสั่ง