เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 13986 แผ่นดินไหว
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


 เมื่อ 13 พ.ย. 12, 22:22

แผ่นดินไหว
เป็นไปได้ไหมครับว่ามนุษย์เป็นตัวการให้เกิดแผ่นดินไหว โดยการก่อสร้างสิ่งใหญ่ๆ บนพื้นโลก
เช่นเขื่อนที่จุน้ำมากๆ  ตึกใหญ่ๆในเขตเมือง  การขยายตัวของเมือง การละลายของน้ำแข็งขั้วโลก  
ทำให้น้ำหนักที่กดลงบนเปลือกโลกเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ในขณะที่โลกกลม หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูง  จึงเกิดการปรับตัวให้เกิดสมดุล
มีผลให้เปลือกโลกเคลื่อนที่ตามแนวแยก
แผ่นดินจึงไหว  บ่อยขึ้น
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 14 พ.ย. 12, 07:13

นอกจากการที่เปลือกโลกสูญเสียภาวะสมดุลแล้ว การขุดน้ำมันซึ่งอยู่ในทะเลหรือใต้ดิน ทำให้เกิดความไม่สมดุลของเปลือกโลกหรือไม่ เพราะการดูดน้ำมันออกไปจะก่อให้เกิดหลุมว่างต่าง ๆ ทำให้เสียสมดุล และเคยได้ยินว่า การก่อสร้างตึก 101 ที่สูงที่สุดในไต้หวัน อาจจะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งขึ้นเนื่องจากกรุงไทเป ตั้งอยู่บนเปลือกโลกที่เคลื่อนตัวและมีน้ำหนักกดทับมากอาจจะก่อให้เกิดความเครียดสะสมกับชั้นหิน
+++

ทั้งหมดแล้วหากพิจารณาถึงความยิ่งใหญ่แห่งโลกเมื่อเทียบกับสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้น เทียบกันไม่เห็นฝุ่นเลยครับ เมื่อเทียบกันแล้วหากมองจากนอกโลกเข้ามาจะเห็นว่า มนุษย์และสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ ๆ นั้นเสมือนมีความหนาเพียงกระดาษ 1 - 2 แผ่นจากหนังสือพจนานุกรมเท่านั้นเอง ไม่อาจจะต้านทานพลังการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกได้

แกนกลางของโลกคือ ชั้นแกนโลกนั้นประกอบด้วย เหล็กร้อนละลายเป็นองค์ประกอบหลัก มีความร้อนสูงก่อเกิดพลังหมุนเวียนวนส่งผ่านไปยังชั้นแมนเทิลซึ่งอยู่ใต้เปลือกบาง ๆ ของโลกที่ประกอบไปด้วยมหาสมุทรและชั้นหินต่าง ๆ และเปลือกโลกจะมีการเคลื่อนตัวปรับสมดุลของมันเองตลอดเวลา ทั้งมุดหายลงไปใต้โลก หลอมเป็นลาวาดังเดิม ตลอดจนลาวาพุ่งออกมาแข็งเป็นหิน

ทั้งนี้ผมไม่ค่อยเชื่อว่า การที่เราสร้างสิ่งก่อสร้างลงไปที่ผิวโลกจะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวมากขึ้น แต่ผมคิดว่า การที่มนุษย์ทำลายระบบธรรมชาติโดยรวมมากกว่าที่ทำให้โลกต้องปรับสมดุลให้ตัวมันเอง เช่น การทำลายทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ ระบบทิศทางลม ระบบน้ำวนในมหาสมุทรเปลี่ยนแปลงไปเสียมากกว่า
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 14 พ.ย. 12, 09:45

มารายงานตัวครับ
กำลังรอฟังประเด็นของท่าน Puyum อยู่ว่าจะเสนออะไรครับ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 14 พ.ย. 12, 14:43

ระหว่างรอ คุณสุจิตราลองเข้าไปอ่านกระทู้นี้ดูก่อน

แผ่นดินไหวและซึนามิ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 14 พ.ย. 12, 15:43

รอนักธรณีวิทยา Naitang เข้ามาร่วมวงในกระทู้นี้อีกท่านหนึ่งค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 พ.ย. 12, 20:58

ย้อนกลับไปอ่านกระทู้เดิม   เห็นว่ายังขาดข้อสนเทศในเชิงวิชาการเกี่ยวกับเรื่องของแผ่นดินไหวอยู่อีกมากพอควร

เริ่มต้นจากคำถามของคุณ puyum   ซึ่งพอสรุปได้ว่า น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงบนผิวโลกที่มาจากการกระทำของมนุษย์นั้น ทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้หรือไม่

คำตอบตามความเห็นของคุณ siamese นั้น มีความถูกต้องเมื่อพิจารณาในองค์รวมครับ 
และความคิดที่คุณ  puyum สงสัยนั้นก็มีความถูกต้องเหมือนกัน แต่เป็นกรณีๆไป ขึ้นอยู่กับสภาพทางธรณีวิทยา ตำแหน่งของสถานที่และวิธีการที่มนุษย์กระทำ ณ สถานที่นั้นๆครับ


แผ่นดินไหว พอจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เกิดจากธรรมชาติเอง และเกิดจากฝีมือของมนุษย์   และจาก 3 ลักษณะสาเหตุ คือ เกิดมาจากปลดปล่อยพลังงานของบริเวณที่แรงที่มาจากสองหรือสามทิศทางมาชนกัน (ซึ่งทำให้เกิดการรอยแตกหักของวัสดุในเปลือกโลก เช่น การเกิดรอยเลื่อนต่างๆ)     เกิดจากการปลดปล่อยแรงดันหรือแรงอัด (ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการระเบิด เช่น การปะทุของภูเขาไฟ หรือการถล่มยุบลง เช่น ถ้ำถล่ม)     และเกิดจากการระเบิดด้วยฝีมือของมนุษย์ (เช่น การทดลองระเบิดปรมาณูใต้ดิน) 


แผ่นดินไหวเป็นผลมาจาก Seismic wave  ซึ่งคลื่นนี้เกิดได้ทั้งในธรรมชาติและโดยฝีมือมนุษย์  แต่ seismic wave ไม่จำเป็นต้องทำให้เกิดแผ่นดินไหว  คำว่าแผ่นดินไหว (Earthquake) จึงค่อนข้างจะใช้ในกรณีเฉพาะเมื่อมีผลกระทบต่อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นด้านกายภาพหรือด้านจิตใจ  ในขณะที่จะใช้คำว่า Seismicity หรือ Seismic activity ในด้านของความเป็นเรื่องปรกติของธรรมชาติ     

คงจะยังไม่ใช่คำตอบที่ต้องการนะครับ ค่อยๆเล่าไปครับ     


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 พ.ย. 12, 21:03

http://hilight.kapook.com/view/78490

สมิทธ จับตา พายุสุริยะ โคจรเข้าสู่โลก 21 ธันวาคมนี้ ชี้ หากกระทบผิวโลกจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ หากกระทบมหาสมุทรจะทำให้เกิดคลื่นสึนามิ

          หลังจากมีข่าวว่า ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555 นี้ จะเกิดพายุสุริยะโคจรมากระทบผิวโลก ทำให้เปลือกโลกเคลื่อนตัวอย่างรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก แม้แต่ประเทศไทยด้วย ทำให้คนไทยเริ่มให้ความสนใจกับเรื่องพายุสุริยะมากขึ้น รายการ Thailand Only ทางช่องสปริงนิวส์ จึงได้เชิญ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มาให้ข้อมูลถึงเรื่องดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน

          โดย ดร.สมิทธ ให้ข้อมูลว่า มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จากองค์การนาซ่าได้คาดการณ์ไว้ว่า ปรากฏการณ์พายุสุริยะจะเกิดขึ้น 1 ครั้งในทุก ๆ 11 ปี โดยเกิดจากการระเบิดของผิวดวงอาทิตย์ และผลจากการระเบิดนั้นจะส่งพลังงานลงมายังดาวเคราะห์ต่าง ๆ ที่โคจรอยู่รอบ ๆ ดวงอาทิตย์ รวมทั้งโลกด้วย โดยนาซ่าคาดไว้ว่า พายุสุริยะจะโคจรมายังโลกในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555 นี้ แต่ยังต้องติดตามว่าจะกระทบต่อภูมิภาคใดบ้าง

   ทั้งนี้ ดร.สมิทธ บอกว่า หากพายุสุริยะมากระทบกับผิวโลกจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้น เพราะจะทำให้เปลือกโลกเคลื่อนตัวอย่างฉับพลัน และหากพายุสุริยะมากระทบมหาสมุทร ก็จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวใต้ท้องทะเล เกิดเป็นคลื่นสึนามิซัดเข้าประเทศต่าง ๆ ได้

          นอกจากนี้ ดร.สมิทธ ยังยกตัวอย่างผลกระทบที่เคยเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์พายุสุริยะ เมื่อปี ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532) โดยระบุว่า ครั้งนั้นพายุสุริยะระดับธรรมดาได้ทำให้หม้อแปลงไฟฟ้าของโรงงานไฟฟ้าในเมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ระเบิด เป็นเหตุให้ไฟฟ้าดับทั้งเมืองนานกว่า 9 ชั่วโมง ขณะที่โรงงานปรมาณูก็ยังได้รับผลกระทบจากพายุสุริยะในครั้งนั้นด้วย จึงเชื่อว่า ทางสหรัฐอเมริกากำลังเตรียมการรับมือพายุสุริยะที่กำลังจะเกิดขึ้นในปลายปีนี้แน่นอน

          ได้เห็นผลกระทบของพายุสุริยะแล้ว มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจวิตกว่า แล้วพายุสุริยะจะสามารถทำอันตรายต่อร่างกายของเราหรือไม่ เรื่องนี้ ดร.สมิทธ ได้ชี้แจงว่า ยังไม่มีรายงานว่า พายุสุริยะ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อผิวหนัง ดวงตา หรือทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนใด ๆ ขึ้นในร่างกาย  
                                                       ******************
         ข่าวนี้น่าจะมีอะไรผิดพลาดสักอย่างนะคะ    พายุสุริยะมันทำให้แผ่นดินไหวได้ด้วยหรือ    เมื่อปี 32 แค่ทำให้ไฟฟ้าดับไปเมืองเดียว   ถ้าดับทั้งทวีปค่อยน่าเชื่อหน่อยว่ารุนแรงจริง


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 19 พ.ย. 12, 19:49

สรุปจากข่าวก็คือ พายุสุริยะระดับใหญ่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะมากระทบกับผิวโลก หากบริเวณที่กระทบเป็นแผ่นดินก็จะทำให้เปลือกโลกเคลื่อนตัวอย่างรุนแรง (แผ่นดินไหว) หากบริเวณที่เป็นมหาสมุทรก็จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวและซึนามิ

น่าสนใจมากครับ   ตกใจ

ความรู้เท่าที่ผมมีก็คือ เมื่อเกิด solar flare ในดวงอาทิตย์ มันจะปล่อยฝุ่นของอนุภาคเล็กๆที่มีประจุไฟฟ้าให้ฟุ้งกระจายออกไป ฝุ่นของอนุภาคเหล่านี้ เมื่อเดินทางมาถึงโลก ก็จะปะทะกับสนามแม่เหล็กโลกที่หุ้มห่อโลกอยู่ สนามแม่เหล็กโลกก็จะทำหน้าที่เสมือนโล่ช่วยผักดันอนุภาคที่มีประจุเหล่านี้ให้กระจายข้ามตัวโลกไป (เหมือนเรากางร่มกันผนที่กำลังตก) ด้วยความเร็วและปริมาณของฝุ่นนี้ ทำให้เส้นแรงสนามแม่เหล็กโลก (ที่วิ่งอยู่รอบโลกระหว่างขั้วเหนือกับขั้วใต้) ยุบตัวได้เหมือนกับแหนบของรถยนต์ (ในส่วนที่ปะทะ) หรือยืดตัวออกไป (ในส่วนท้าย)  คล้ายกับเราเอาลูกบอลล์ไปวางในสายน้ำในห้วยที่กำลังไหล   อนุภาคเหล่านี้จะมีโอกาสทะลุผ่านเข้าถึงพื้นผิวของโลกได้ในปริมาณน้อยมาก  ส่วนที่ทะลุผ่านเข้ามาถึงชั้นบรรยากาศของโลกก็จะปฏิสัมพันธ์กับประจุไฟฟ้าที่มีอยู่ในชั้นอากาศ ทำให้เกิดแสงเหนือสว่างไสวเป็นหลัก  อีกส่วนหนึ่งนั้น ประจุไฟฟ้า (electron) เหล่านี้ก็จะเข้าไปผนวกเพิ่มในระบบไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ทำให้มีกระแสไฟสูงขึ้น เมื่อปริมาณไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในสายส่งไฟฟ้ามากกว่าที่กำหนดไว้ ระบบรับไม่ได้ก็เกิดล่ม (เพราะฟิวส์ขาดหรือชุดควบคุมพัง)

ฝุ่นนี้มีผลต่อพวกดาวเทียม เพราะดาวเทียมนั้นลอยอยู่เหนือชั้นบรรยากาศของโลก อยู่ในอวกาศที่ไม่มีอะไรปกป้องเลย ทำให้วงโคจรมันโคจรอยู่นั้นเปลี่ยนไปบ้างเล็กน้อยมากๆ

ขนาดดาวเทียมน้ำหนักเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับน้ำหนักของโลก ซึ่งลอยอยู่เหนือชั้นบรรยากาศของโลกยังได้รับผลกระทบ (กระแทก) เพียงน้อยนิด แล้วพลังจากพายุสุริยะจะมีมากพอขนาดที่จะเข้ามากระทบถึงผิวโลกแล้วทำให้เปลือกโลกเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงได้อย่างไร แถมยังจะให้เป็นลักษณะของการจำกัดบริเวณ (แผ่นดินหรือมหาสมุทร)จะได้อย่างไร เสมือนหนึ่งสาดน้ำใส่ลูกบอลล์ มันก็ต้องเปียกครึ่งลูกพร้อมกัน   

บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 19 พ.ย. 12, 21:13

ดร. สมิทธแกไปเกาะกระแส ดร. ก้องภพคนทีทำงานเป็นวิศวกรที่ Nasa อยู่ เลยรับเอาไอ้แนวคิดเรื่องดาวเรียงตัวกันบ้าง พายุสุริยะบ้าง ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวอะไรพวกนี้

ถ้าไม่พูดเรื่องวิบัติภัย แกก็ไม่มีอะไรมาสร้างความสำคัญให้กับตัวแกได้ เรื่องพวกนี้มันหวือหวา น่าสนใจ สื่อชอบ แกเลยได้ออกสื่อได้เรื่อยๆ สื่อก็มีข่าวน่าสนใจไปขาย win-win
มันเหมือนคนที่โหยหาการยอมรับ โดยหาความสำเร็จ ความเชื่อถือ ที่ออกมาพูดอะไรไปเรื่อยๆ ได้ เพราะไม่เคยต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่พูด
ส่วนคนไทยที่ไม่ใช้หลักกาลามสูตร เอาแต่เชื่อเพราะเห็นคนพูดเป็น ดร. หรือมียี่ห้อนาซ่าแปะไว้  ก็ต้องตกอยู่ในความวิตกกันต่อไปเอง

ปล. พี่สาวกับพี่เขยผมก็พวกนึงหละที่เชื่อตาก้องภพเอามากๆ  ไม่สามารถเอาเหตุผลไปหักล้างได้เลย เพราะแกไม่ฟัง ก็ต้องปล่อยไปเลยตามเลย เป็นภาพสะท้อนคนไทยทั่วไป ไม่เกี่ยวกับระดับการศึกษาได้ดีเลย
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 26 พ.ย. 12, 20:03

รออ่านว่าจะมีอะไรต่อไปบ้าง เห็นกระทู้จะตกกรอบแล้ว เลยจะขอทำความกระจ่างเรื่องกลไกแห่งการเกิดแผ่นดินไหวที่ไม่ลึกทางวิชาการมากไปครับ

จากผิวโลกลึกถึงจุดแกนกลางโลกมีระยะประมาณ 6000 กม. ประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นผิวโลก (earth crust) มีความหนาโดยประมาณ 30 กม. ส่วนบางที่สุดอยู่ในท้องมหาสมุทรหนาประมาณ 8 กม. ใต้ส่วนที่เป็นผิวโลกนี้เป็นชั้นที่เรียกว่าชั้นแมนเติล (mantle) ซึ่งแบ่งออกเป็น upper mantle หนาประมาณ 700 กม. และ lower mantle หนาประมาณ 2,000 กม. จะไม่กล่าวถึงส่วนที่ลึกไปกว่านี้อีกนะครับ

ชั้นที่เกี่ยวข้องและเป็นแหล่งต้นพลังให้เกิดแผ่นดินไหวอยู่ในชั้น upper mantle   ชั้นนี้มีจุดที่เหมือนเตาไฟเป็นจุดๆ เรียกว่า hot spot   ซึ่งมีอยู่หลายจุด เช่น บริเวณหมู่เกาะฮาวาย 

สภาพที่เกิดขึ้น คือ ตรงจุดหรือแนวที่ร้อนนั้น จะทำให้ crust ขยายตัว พร้อมๆกับการเกิดสภาพ conveyor belt เหมือนกับการจุดเทียนใต้ขันใส่น้ำ แล้วทำให้น้ำเกิดการหมุนเวียนของน้ำในขัน ผลคือ ความร้อนทำให้แผ่นเปลือกโลกขายตัว ถูกดึงให้บางลง เคลื่อนที่ออกไปด้านทางราบ   ภาพต่อไปคงจะไม่เล่าต่อ เพราะเหมือนกับที่มีการเผยแพร่อยู่ทั่วไป

คราวนี้ก็ต่อไปถึงเรื่องของผลที่ตามมา คือ เกิดแรงอย่างมหันต์ในทางราบ  ดันให้เกิดการมุดตัวของแผ่นมหาสมุทรที่บริเวณแผ่นทวีป เกิดการชนกันของแผ่นดิน เคลื่อนที่ผ่านกัน     เื่มื่อสองสิ่งเคลื่อนเข้ามาหากัน มาชนกัน ก็จะเกิดการโก่งตัวขึ้นของแผ่นดิน ก็เกิดแรงอีกแรงหนึ่งในทางตั้ง  เกิดการเคลื่อนที่ผ่านกัน ง่ายๆคือแรง shear  บางส่วนก็เป็นแรงดึงให้ฉีกขาดจากกัน

สภาพของแรงและการเคลื่อนที่ผ่านกันของชั้นหินด้วยแรงเหล่านี้ และในลักษณะที่ต่างกันเหล่านี้ ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด (magnitude) ที่ไม่เหมือนกัน ด้วยความลึกของจุดกำเนิดก็ทำให้เกิดความถี่ (frequency) ของคลื่นแผ่นดินไหวไม่เหมือนกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดความรุนแรง (intensity) ไม่เหมือนกัน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 26 พ.ย. 12, 20:39

มานั่งฟังแถวหลังสุดค่ะ  แถวหน้ายกให้คุณประกอบ และท่านอื่นๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 27 พ.ย. 12, 19:51


ขนาดดาวเทียมน้ำหนักเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับน้ำหนักของโลก ซึ่งลอยอยู่เหนือชั้นบรรยากาศของโลกยังได้รับผลกระทบ (กระแทก) เพียงน้อยนิด แล้วพลังจากพายุสุริยะจะมีมากพอขนาดที่จะเข้ามากระทบถึงผิวโลกแล้วทำให้เปลือกโลกเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงได้อย่างไร แถมยังจะให้เป็นลักษณะของการจำกัดบริเวณ (แผ่นดินหรือมหาสมุทร)จะได้อย่างไร เสมือนหนึ่งสาดน้ำใส่ลูกบอลล์ มันก็ต้องเปียกครึ่งลูกพร้อมกัน   


ดร. สมิทธแกไปเกาะกระแส ดร. ก้องภพคนทีทำงานเป็นวิศวกรที่ Nasa อยู่ เลยรับเอาไอ้แนวคิดเรื่องดาวเรียงตัวกันบ้าง พายุสุริยะบ้าง ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวอะไรพวกนี้

สรุปว่าพายุสุริยะไม่ได้ทำให้เกิดแผ่นดินไหว  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 28 พ.ย. 12, 00:34

ถ้าเปลี่ยนจากแรงดึงดูดจากดวงจันทร์ มีผลให้เกิดแผ่นดินไหวได้ ผมว่ามันยังฟังดูน่าเชื่อถือกว่าเลยนะครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 06 พ.ค. 14, 09:05

เมื่อวานมี แผ่นดินไหวที่เชียงราย มีรายงานว่าสามารถรู้สึกสั่นไหวในหลายพื้นที่ นอกจากทางเหนือแล้ว ที่กรุงเทพฯ ในอาคารชั้นสูง ๆ ก็ยังสามารถรู้สึกได้



มีใครรู้สึกถึงแผ่นดินไหวครั้งนี้บ้างหนอ  ตกใจ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 06 พ.ค. 14, 09:16

 แผ่นดินไหว อ พาน จ เชียงราย ประเทศไทย
http://www.youtube.com/watch?v=vie6qNlFkJw&feature=youtu.be
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 20 คำสั่ง