เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 73507 อาหารการกินใน "บ้านเล็ก" (2)
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 08 พ.ย. 12, 17:30

ฟักทองนั้นมีหลากหลายพันธุ์มาก  บางพันธุ์ก็ปลูกเอาแต่เมล็ด บางพันธุ์ก็ปลูกเพื่อเก็บไว้ตุนกินนานๆ บางพันธุ์ก็ต้องกินผลผลิตใหม่ๆ

หากคนไทยกับฝรั่งไปซื้อฟักทองด้วยกัน สงสัยว่าจะต้องตีกัน  คนไทยจะเลือกฟักทองที่เนื้อหนาและเหนีียว (คงจะคิดอยู่บนฐานของการเอามานึ่ง หรือผัดกิน) ในขณะที่ฝรั่งจะจะเลือกแบบเนื้อนิ่มและค่อนข้างยุ่ย (คงจะนึกถึงการเอาไปทำซุป หรือพาย)

ฟักทองของฝรั่งนั้น ในรูปของอาหารคาว เห็นแต่จะนิยมเอามาทำซุปฟักทองเป็นหลัก ในรูปของของหวานก็พายฟักทอง   เห็นฝรั่งปลูกกันมากในช่วงฤดูของปี ก็ไม่ทราบว่านำไปทำอะไรกันบ้าง ที่นึกออกและเคยเห็นเคยกินก็คือ เมล็ดฟักทองอบ (แบบที่เอามาโรยในจานสลัด หรือกินเป็นของขบเคี้ยวเล่น)  น้ำมันจากเมล็ดฟักทอง ซึ่งออกสีดำ มีราคาค่อนข้างสูง (ใช้เป็นน้ำมันสลัดก็ได้ หรือกดินเป็นยาก็ได้)   ฟักทองมีคุณค่าทางอาหารมาก แต่กินมากๆก็ตัวเหลืองได้เหมือนกัน การวิจัยพบว่าสารสีเหลืองที่อยู่ในเนื้อและในเมล็ดฟักทองนั้น เป็นสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ  และเชื่อกันว่าน้ำมันจากเทล็ดฟักทองนั้นช่วยป้องกันการเป็นโรคต่อมลูกหมากโตของผู้ชายได้เป็นอย่างดี

ผมไม่เคยกินแบบเอาเนื้อในที่สุกแล้วมาทาขนมปังกิน ก็น่าจะอร่อยมากนะครับ เพราะมีกลิ่นหอมและออกรสหวาน แถมยัง creamy อีกด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 08 พ.ย. 12, 20:52

hulled corn นี่ จำได้ว่า "สุคนธรส" เรียกว่า ข้าวโพดลอกคราบ แม่จะไปที่ลำธาร แล้วกอบข้าวโพดขึ้นมาสีกันจนเปลือกหลุดออก เหลือแต่เนื้อนุ่ม ๆ ตอนอ่านรู้สึกว่าอยากทานมากเลยค่ะเลยต้องไปทานคอนเฟลคใส่นม แช่จนมันนุ่ม ๆ แล้วทำเป็นว่ากำลังอร่อยกับข้าวโพดลอกคราบของจริง
ใช่ค่ะ     กว่าจะได้กินก็ต้องผ่านกระบวนการถึง 2-3 วัน  ยากเย็นอะไรยังงั้นก็ไม่รู้   
วันแรก ต้องเผาไม้จนเป็นเถ้า  เอาขี้เถ้าใส่ถุงมาต้มกับข้าวโพด นานมากจนเม็ดข้าวโพดบาน เปลือกล่อนออกมา    วันต่อมาก็ต้องเอาข้าวโพดที่ต้มแล้วไปสีกันจนเปลือกหลุดอย่างคุณจริงใจเล่า    ถึงจะเหลือแต่เม็ดสีขาวนุ่มมากินได้
สมัยนี้รู้สึกว่าจะหาอย่างกระป๋อง ง่ายกว่ามาก  แต่ก็ไม่เคยกินนะคะ  ไม่ทราบว่ารสชาติข้าวโพดกินกับนมจะหวานๆจืดๆ เหมือนกิน porridge ที่เป็นข้าวโอ๊ตต้มกับนมหรือไม่     ข้าวโพดลอกคราบกับนม กินกันเป็นอาหารเย็น แสดงว่าเป็นของคาว

คุณตั้งพูดถึงซุปฟักทอง เลยไปหารูปมาให้ดูค่ะ 


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 09 พ.ย. 12, 18:11

ข้าวโพดลอกคราบไม่เคยทานเลยครับ    แต่ทำให้นึกถึงภาพข้าวโพดแขวนอยู่เป็นราวในพื้นที่ส่วนที่เป็นครัวของชาวบ้านป่าและชาวเขาทั้งหลายทุกชาติพันธุ์ ข้าวโพดเหล่านี้เอาไว้ทำพันธุ์ เขาปลูกข้าวโพดไว้เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์เป็นหลัก เอามาต้ม มาเผากินก็เฉพาะเมื่อตอนเก็บมาใหม่ๆ และเป็นเพียงของกินเล่นเท่านั้น ผมเรียกว่าข้าวโพดม้า เพราะเมล็ดแ็ข็งมาก 

จะเป็นข้าวโพดเหล่านี้หรือเปล่า (หรือที่ได้พัฒนาพันธุ์มาบ้างแล้ว) ที่นำมาทำข้าวโพดลอกคราบ   

คิดไปก็น่าสนใจอยู่เหมือนกันว่า แล้วข้าวโพดมันแพร่กระจายเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตของชาวบ้านป่าและชาวเขาในบ้านเรามาตั้งแต่เมื่อใด   ก็คงหนีไม่พ้นว่า ก็เพราะมีการเอาเมล็ดพันธุ์ติดตัวมาด้วยจากดินแดนจีนเมื่อเดินทางอพยพลงมาทางใต้

เลยพาลไปนึกว่า แล้วอาหารไทยโบราณที่ใช้ข้าวโพดนั้นมีอะไรบ้าง

ขออภัยครับ ที่แว็บเข้าซอย นอกเรื่องไปนิดนึง     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 12 พ.ย. 12, 15:21

คำถามของคุณตั้งที่ว่า อาหารไทยโบราณที่ใช้ข้าวโพดนั้นมีอะไรบ้าง ทำให้ต้องคิดอยู่พักใหญ่เพราะนึกไม่ออกว่า ของคาวที่ใช้ข้าวโพดเป็นหลักนั้นมีอะไรบ้าง
จำได้ที่เคยกินตอนเด็กๆ ก็กินข้าวโพดโดยตรงไม่ได้ปรุงเป็นกับข้าว   จำได้ 2 อย่างคือข้าวโพดปิ้ง ที่คนขายหาบผ่านหน้าบ้าน แล้วปิ้งกันให้กินสดๆร้อนๆ   ต้องแทะเพราะมันค่อนข้างแข็ง    อย่างที่สองคือข้าวโพดต้ม ซึ่งนุ่มกว่าอย่างแรก  เลยชอบมากกว่าค่ะ
ต่อมาจำได้อีกอย่างคือข้าวโพดคั่วใส่ถุงกระดาษ    กินเวลาเข้าไปดูหนัง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 12 พ.ย. 12, 15:36

ข้าวโพดมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกาใต้   แต่เดินทางเข้ามาถึงสยามยังไงยังไม่ได้ไปสืบหาดู  จะติดเรือฝรั่งเข้ามาหรือเปล่าก็ไม่ทราบนะคะ    แต่น่าจะมีเป็น 100 ปีแล้ว   เพราะมีเพลงกล่อมเด็กเก่าแก่ที่บอกว่า
วัดเอ๋ยวัดโบสถ์        ปลูกข้าวโพดสาลี
ลูกเขยตกยาก         แม่ยายก็พรากลูกสาวหนี
โอ้ข้าวโพดสาลี       ป่านฉะนี้จะโรยรา

ทีแรกก็ไม่เข้าใจว่าทำไมเรียกว่าข้าวโพดสาลีควบกันไป   ต่อมาจึงพบว่าข้าวโพดเป็นชื่อที่เรียกในภาคกลาง  ทางเหนือเรียกว่าสาลี
**************
กลับมาที่อาหารในบ้านเล็ก   เมื่อพ่อจ้างคนงานมาเกี่ยวข้าวและนวดข้าวด้วยเครื่องจักร    แม่ทำกับข้าวเลี้ยงคนงาน 

Then Ma put on the boiled potatoes and cabbage and meat ,the baked beans, the hot johnny-cake and the baked Hubbard squash, and she poured the tea.
มันฝรั่งต้ม เป็นอาหารจานหนึ่ง     เนื้อต้มกับกระหล่ำปลีก็เป็นอาหารอีกจานหนึ่ง     ไม่เคยกินอย่างหลังนี้เหมือนกันค่ะ  แต่เดาว่าเป็นต้มเนื้อกับผัก  คล้ายๆซุป หรือแกงจืดของไทย   
คุณตั้งและท่านอื่นๆ อาจจะเคยรับประทานมาบ้าง  มีรูปมาให้ดูค่ะ  ข้างบนคือมันฝรั่งต้ม  ข้างล่างคือเนื้อต้มกระหล่ำปลี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 12 พ.ย. 12, 16:07

จาก Little House in the Big Woods   ขอข้ามไปถึง By The Shore of Silver Lake  เมื่อครอบครัวของลอร่าย้ายไปอยู่ที่รัฐเซาท์ดาโกต้า   ตอนนี้เธอไม่ใช่เด็กเล็กๆอย่างเมื่ออยู่ในป่าใหญ่ของรัฐวิสคอนซิน แต่เป็นเด็กรุ่นสาว อายุ 13 แล้ว    
ในฤดูหนาว   ครอบครัวพักอยู่ที่บ้านของช่างสำรวจริมทะเลสาบสีเงิน  ด้วยเสบียงอาหารที่พวกช่างซื้อไว้ให้  ครอบครัวนี้ก็สามารถเตรียมอาหารพิเศษสำหรับฉลองคริสต์มาสกัน    
คืนก่อนคริสต์มาส   สามีภรรยาชื่อมิสเตอร์และมิสซิสโบ๊สต์เดินทางจากตะวันออกมายังที่ดินจับจองของตน แต่หลงทางกลางหิมะ มาพบบ้านของครอบครัวลอร่า    ก็เลยได้ฉลองคริสต์มาสด้วยกัน
แม่ต้อนรับแขกทั้งสองด้วยอาหารมื้อค่ำแบบง่ายๆ เพราะต้องทำอย่างรีบด่วนสำหรับแขกที่หิวโหยมา   คือขนมปังบิสกิ้ต หมูเค็ม และน้ำเกรวี่ทำจากน้ำนมวัว

Ma was stirring up biscuits. “How do you do, Mr. Boast,” she said. “You and Mrs. Boast must be starved. Supper will be ready in a jiffy.”
ขนมปังบิสกิ้ตในยุคนั้นต้องทำเอง จากแป้ง แล้วเอาเข้าอบในเตาอบ   ไม่มีขนมปังสำเร็จรูปอย่างสมัยนี้   บิสกิ้ตในเรื่องนี้ไม่เหมือนกับขนมปังบิสกิ้ตแข็งกรอบ รูปร่างกลมแบน ประกบไส้ครีมหรือช็อกโกแลตที่ใส่มาในกล่องหรือห่ออย่างที่เรารู้จักกันในซูเปอร์  
แต่หมายถึงขนมปังก้อนเล็กๆ เนื้อในนุ่ม แต่ด้านนอกกรอบร่วนหน่อยๆ   ทำจากแป้งสาลี ผสมเนย  ผงฟู นมสดหรือหางนม และไข่นวดเข้าด้วยกัน ใส่น้ำตาลลงไปด้วยนิดหน่อยให้ออกหวานอ่อนๆ  อบสุกแล้ว กินกับเนย หรือน้ำเกรวี่ก็ได้ค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 12 พ.ย. 12, 16:27

Laura put slices of salt pork in the frying pan to parboil, and Ma set the biscuits in the oven. Then Ma drained the pork, dipped the slices in flour and set them to fry, while Laura peeled and sliced potatoes.
“I’ll raw-fry them,” Ma said to her low, in the pantry, “and make milk gravy and a fresh pot of tea"

หมูเค็มที่แม่ทำเลี้ยงแขก  ไม่ได้เอาหมูแช่น้ำเกลือไปทอดเฉยๆ  อย่างแรกต้องเอาหมูปนมันจากถังมาต้มพอดิบๆสุกๆเสียก่อน   จากนั้นแม่ก็รินน้ำออกจากหมูให้แห้ง  เอาหมูเกลือกลงในแป้งแล้วทอดให้สุกพอดีอีกที     พูดอีกทีก็คือเป็นหมูชุบแป้งทอดนั่นเอง
ลอร่าปอกมันฝรั่งแล้วฝานเป็นชิ้นบางๆ  แต่ไม่ได้ต้ม  หากแต่นำไปทอดอีกทีหนึ่ง    หน้าตาคงเป็นมันฝรั่งทอดชิ้นบางๆ   ในเมื่อแม่บอกว่า ทำแบบ   "raw-fry" คือทอดแบบดิบๆสุกๆ  ไม่ใช่ทอดสุกให้กรอบทั้งแผ่นอย่างมันฝรั่งเลย์   
ดิฉันเคยกินมันฝรั่งทอดแบบนี้ค่ะ  คือตรงกลางยังนิ่มอยู่ แต่ขอบๆกรอบดีแล้ว   ถ้ากินเปล่าๆมันก็จืดๆเลี่ยนๆ กินไม่กี่คำก็กินไม่ลง     ต้องมีซอสเค็มๆถึงจะเข้ากัน   ในเรื่องนี้ มีน้ำเกรวี่ประกอบ ก็คงกินกับมันฝรั่ง

ภาพประกอบข้างล่างนี้ ซ้ายคือหมูเค็มชุบแป้งทอดจนกรอบ  คล้ายๆไก่ชุบแป้งทอดที่บ้านเราหากินง่ายไม่ว่าที่ไหน    ส่วนรูปขวาคือมันฝรั่งทอดแบบที่ว่าค่ะ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 12 พ.ย. 12, 16:33

ส่วน milk gravy  หรือน้ำเกรวี่ทำจากน้ำนม    วิธีคือทำจากน้ำมันที่ไหลออกจากหมูเค็มทอด เหลือติดก้นกระทะ   ใส่น้ำนมลงไป กวนไม่หยุดจนกว่าจะเข้ากันดี  ก็จะออกมาเป็นน้ำเกรวี่สีขาวข้นๆเป็นครีม คล้ายน้ำสลัด   ไม่ใช่น้ำเกรวี่สีน้ำตาลอย่างที่เรารู้จักกันมากกว่า
เวลากินก็ราดลงบนมันฝรั่ง หรือหมูไก่ชุบแป้งทอด อย่างในภาพ   


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 12 พ.ย. 12, 16:45

ข้าวโพดมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกาใต้   แต่เดินทางเข้ามาถึงสยามยังไงยังไม่ได้ไปสืบหาดู  จะติดเรือฝรั่งเข้ามาหรือเปล่าก็ไม่ทราบนะคะ    แต่น่าจะมีเป็น 100 ปีแล้ว   เพราะมีเพลงกล่อมเด็กเก่าแก่ที่บอกว่า
วัดเอ๋ยวัดโบสถ์        ปลูกข้าวโพดสาลี
ลูกเขยตกยาก         แม่ยายก็พรากลูกสาวหนี
โอ้ข้าวโพดสาลี       ป่านฉะนี้จะโรยรา

ทีแรกก็ไม่เข้าใจว่าทำไมเรียกว่าข้าวโพดสาลีควบกันไป   ต่อมาจึงพบว่าข้าวโพดเป็นชื่อที่เรียกในภาคกลาง  ทางเหนือเรียกว่าสาลี

ลาลูแบร์ว่า ข้าวโพดสาลีนี้คือข้าวสาลี

ข้าวสาลีนั้นมีขึ้นในประเทศสยามตามที่ดอนอันน้ำท่วมไม่ถึง เขาใช้วิธีรดน้ำให้ด้วยกระป๋องน้ำรดต้นไม้เช่นที่ทำกันในสวนของพวกเรา (ชาวยุโรป) หรือไม่ก็ไขน้ำฝนที่กักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำอันตั้งอยู่ในที่สูงกว่าไร่ข้าวให้ไหลมาเอิบอาบซาบไปตามไร่นั้น ๆ แต่จะเป็นด้วยต้องเอาใจใส่มาก หรือสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย หรือว่าข้าว (สาร) นั้นมีมากพอสำหรับราษฎรสามัญจะใช้บริโภคกันอย่างเหลือเฟือแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ในประเทศสยามนั้นจึงยังมีแต่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียวเท่านั้นที่มีไร่ข้าวสาลีอยู่ และลางทีก็อาจเป็นเพราะทรงเห็นว่าเป็นของแปลกมากกว่าจะทรงนิยมในรสชาติของมันก็เป็นได้. ชาวสยามเรียกข้าวชนิดนี้ว่า ข้าวโพดสาลี (Kaou possali) และคำว่า ข้าว หมายความถึง ข้าวเจ้า (Du ris) อย่างเดียว. โดยที่คำว่าข้าวโพดสาลีนี้มิใช่คำในภาษาอาหรับ, ตุรกีหรือเปอร์เซีย ข้าพเจ้าจึงออกสงสัยในคำบอกเล่าที่ว่าชาวมัวร์เป็นผู้นำพันธุ์ข้าวสาลีไปสู่ประเทศสยาม. ชาวฝรั่งเศสที่อยู่ในประเทศสยามสั่งแป้งสาลีมาจากเมืองสุรัต ทั้ง ๆ ที่ใกล้ ๆ กรุงสยาม (ศรีอยุธยา) ก็มีโรงสีลมสำหรับบดข้าวสาลีอยู่แห่งหนึ่งและที่ใกล้เมืองละโว้ ก็มีอีกแห่งหนึ่ง.

จาก จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม เขียนโดย มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 12 พ.ย. 12, 17:18

ทียังงี้ คุณเพ็ญชมพูไม่สงสัยว่าลาลูแบร์เล่าผิด แบบเดียวกับมะละกอบ้างหรือ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 12 พ.ย. 12, 17:24

คุณเทาชมพูลองอ่านที่คุณลาลูแบร์เขียนต่อไป

ในเมื่อฤดน้ำไม่ท่วมนองนานจนเกินไปนั้น ชาวสยามก็มี ข้าวสาลีตุรกี (bled de Turquie) แต่ชั่วปลูกกันในสวนเท่านั้นเอง ชาวสยามใช้ต้มหรือนึ่งข้าวสาลีตุรกีทั้งรวง โดยไม่แยกนวดออกมาเป็นเมล็ด ๆ เสียก่อน แล้วก็กัดกินแต่เมล็ดข้างในเท่านั้น.

คุณเทาชมพูว่า ข้าวสาลีตุรกีคือข้าวอะไร

 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 12 พ.ย. 12, 18:01

ผมเป็นงงกับข้าวโพดและข้าวสาลีมานาน จนกระทั่งโต  เพราะว่าเมื่อเด็กๆนั้น จำได้ว่าคนในภาคเหนือนั้นเรียกข้าวโพดว่าสาลี (ไร่สาลี) หรือข้าวสาลี (ปลูกข้าวสาลี)  ปัจจุบันนี้คนเฒ่าคนแก่ก็ยังเรียกดังนั้น

ต้นข้าวโพดกับต้นข้าวสาลี (และวิธีการปลูก ??) แตกต่างกันมาก  แล้วคำว่าสาลีนี้ คนภาคเหนือเอามาจากใหนกัน  อาหารทางภาคเหนือไม่มีการใช้ข้าวสาลี ยกเว้นเฉพาะขนมที่จะใช้แป้ง หรือว่าเป็นเพราะว่าขนมดั้งเดิมนั้นใช้แป้งที่เรียกว่าแป้งสาลี แต่ไม่เคยเห็นว่าแป้งนี้ทำมาจากต้นอะไร   เมื่อเอาเมล็ดข้าวโพดแห้งมาโม่มาบดก็ได้แป้งเหมือนกัน ก็เลยเรียกว่าแป้งสาลี (คือได้มาจากข้าวโพด) ก็เลยเรียกข้าวโพดว่าข้าวสาลี ฮืม

ก็เลยนำไปสู่เรื่องที่คิดอย่างเลยเถิดไปไกลว่า ขนมและของหวานในภาคเหนือนั้น จากของดั้งเดิมต้นตำหรับที่เขาใช้แป้งสาลี ก็จะมิถูกแทนที่ไปด้วยการใช้แป้งข้าวโพดแทนกระนั้นหรือ

ไม่รู้จริงๆครับ  ฮืม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 12 พ.ย. 12, 18:04

คุณเทาชมพูลองอ่านที่คุณลาลูแบร์เขียนต่อไป
ในเมื่อฤดน้ำไม่ท่วมนองนานจนเกินไปนั้น ชาวสยามก็มี ข้าวสาลีตุรกี (bled de Turquie) แต่ชั่วปลูกกันในสวนเท่านั้นเอง ชาวสยามใช้ต้มหรือนึ่งข้าวสาลีตุรกีทั้งรวง โดยไม่แยกนวดออกมาเป็นเมล็ด ๆ เสียก่อน แล้วก็กัดกินแต่เมล็ดข้างในเท่านั้น.
คุณเทาชมพูว่า ข้าวสาลีตุรกีคือข้าวอะไร
 ยิ้มเท่ห์

ฤา อำเภอไพสาลี จ.นครสวรรค์ จะำเป็นแหล่งปลูกและได้ชื่อมาจากการปลูกข้าวสาลีมาตั้งแต่โบราณโน่น   ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 12 พ.ย. 12, 18:34

VII. Of the Grain of Siam.

At Siam, in the Lands high enough to avoid the Inundation, there grows Wheat: they water them either with watering Pots like those in our Gardens, or by overflowing it with the Rain-water, which they keep in Cisterns much higher than these Lands. But either by reason of the Care or Expense, or that the Rice suffices for common use, the King of Siam only has Wheat; and perhaps more out of Curiosity than a real Gusto. They call it Kaou Possali, and the word Kaou simply signifieth Rice. Now these terms being neither Arabian, or Turkish, or Persian, I doubt of what was told me, that Wheat was brought to Siam by the Moors. The French which are settled there, do import Meal from Surrat; altho' near Siam there is a Windmill to grind Corn, and another near Louvo.

In a word, the Bread which the King of Siam gave us, was so dry that the Rice boil'd in pure water, how insipid soever, was more agreeable to me. I less wonder therefore at what the Relations of China report, that the Sovereign of this great Kingdom, altho' he has Bread, does rather prefer Rice: yet some Europeans assur'd me, that the wheaten Bread of Siam is good, and that the driness of ours must proceed from a little Rice-flower, which is doubtless mixt with the Wheat, for fear perhaps the Bread should fail.

At Siam I have seen Pease different from ours. The Siameses, like us, do make more than one Crop, but they make only one in a year upon the same Land: not that the Soil was not good enough, in my opinion, to yield two Crops in a year, as some have related concerning some other Cantons of India, if the Inundation did not last so long. They have Turky-Wheat only in their Gardens. They do boil or patch the whole Ear thereof, without unhusking or breaking off the Grains, and they eat the inside.

จาก A NEW HISTORICAL RELATION OF THE KINGDOM OF SIAM โดย Simone de La Loubère

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 12 พ.ย. 12, 19:11

ต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส หน้า ๔๙-๕๐

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง