เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
  พิมพ์  
อ่าน: 62022 ตำรวจของเราแต่เก่าก่อน
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 18:46

ตามจริงแล้ว ตำแหน่งผู้รักษาเท้าช้างพระที่นั่งคือ "จตุลังคบาท" ครับ ชื่อตำแหน่งนี้มักจะเรียกผิดกันบ่อย ๆ  ส่วนว่าต้องมีฝีมือสูงเป็นพิเศษ ส่วนตัวผมคิดว่าอาจจะไม่จำเป็น

ขอบพระคุณคุณ samun007 ที่กรุณาแก้ไข

จตุลังคบาท  โดย คุณปิยรัตน์  อินทร์อ่อน

ผู้ที่เคยดูภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช คงจะจำได้ว่า เวลามีการรบกันบนหลังช้าง ที่เท้าช้างทั้ง ๔ เท้า จะมีทหารถืออาวุธประจำอยู่ ทหารเหล่านี้เรียกว่า จตุลังคบาท  สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๒ อธิบายว่า จตุลังคบาท คือ ทหารสังกัดในกรมพระตำรวจ (เป็นหน่วยราชการทหาร ไม่ใช่ตำรวจเหมือนปัจจุบัน) ทำหน้าที่อยู่ประจำรักษาเท้าช้างทั้ง ๔ เท้าในเวลาสงคราม ส่วนในยามปรกติ ทำหน้าที่รักษาพระองค์ใกล้ชิด
 
ในการทำสงครามสมัยก่อน ช้างเป็นยุทธปัจจัยที่สำคัญ เพราะใช้เป็นพาหนะในการขนส่งเสบียงอาหาร อาวุธยุทธภัณฑ์ และเป็นพาหนะสำหรับทำการรบบนหลังช้าง ที่เรียกว่า ยุทธหัตถี  ในสมัยโบราณการขี่ช้างเพื่อทำการรบถือเป็นศาสตร์ชั้นสูง เรียกว่า ตำราพระคชศาสตร์ ผู้ที่จะร่ำเรียนตำรานี้ได้จะต้องอยู่ในตระกูลขัตติยะ หรือตระกูลขุนนางที่รับราชการในกรมช้างเท่านั้น
 
การรบกันด้วยกองทัพช้างนั้น ช้างทรงของจอมทัพจะต้องมีกลางช้าง ท้ายช้าง และจตุลังคบาทประจำเท้าช้าง ๔ คน ซึ่งผู้ที่จะเป็นจตุลังคบาทนี้ต้องเป็นคนที่มีความสามารถมากและเป็นนายทหารระดับสูง ตัวอย่างเช่น ช้างพระที่นั่งเจ้าพระยาไชยานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี มีจตุลังคบาท คือ พระมหามนตรี เจ้ากรมพระตำรวจในขวา ประจำเท้าหน้าขวา  พระมหาเทพ เจ้ากรมพระตำรวจในซ้าย ประจำเท้าหน้าซ้าย  หลวงอินทรเทพ เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ซ้าย ประจำเท้าหลังขวา และหลวงพิเรนทรเทพ เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ขวา ประจำเท้าหลังซ้าย  ต่อมา เมื่อเลิกทำสงครามด้วยช้างแล้ว เจ้ากรมพระตำรวจทั้ง ๔ ไม่ต้องเป็นจตุลังคบาท แต่ยังต้องตามเสด็จและทำหน้าที่รักษาพระองค์ใกล้ชิด ซึ่งในปัจจุบันก็คือตำรวจหลวงนั่นเอง.
 
จาก เว็บราชบัณฑิตยสถาน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 20:31

พระยาบริรักษ์ราชา พระยาอัษฎาเรืองเดช เป็นตำแหน่งจางวางกรมพระตำรวจของ "วังหน้า" มิใช่ "วังหลวง"
กรมพระตำรวจพลพัน หรือ "ตำรวจหลัง" แบ่งซ้าย ขวา เช่นกัน มีเจ้ากรมคือ พระหฤทัย พระอภัยสุรินทร์

ขอบพระคุณครับ

กองกำลังถวายอารักขาพระมหากษัตริย์นอกจาก ๔ เจ้ากรมพระตำรวจแล้ว  ไพร่พลในสังกัด ๔ เจ้ากรมนั้นก็คือกองกำลังพระตำรวจที่เดินเป็นริ้วแซงสองข้างพระที่นั่งหรือช้างพระที่นั่งนั่นแหละครับ


ตามจริงแล้ว ถ้าจะนับ "ราชองครักษ์" ทั้งหมด คงไม่ได้มีแค่ ๔ กรมนี้เท่านั้นครับ แต่ยังต้องรวมอาษาทุกกรมเข้าไปด้วย ซึ่งรวมทั้งหมดได้ ๑๔ กรม  เท่าที่เคยนับคร่าว ๆ ต้องใช้กำลังพลรวม ๆ ประมาณ ๗๐๐ กว่านาย ต่อการเสด็จพระราชดำเนินหนึ่งครั้งครับ

ขายหน้าจังเลย เขียนว่า จาตุรงคบาท มานาน ที่ถูกต้องเขียนว่า จตุลังคบาท
ขอบคุณครับ
คิดมานานอยู่พักหนึ่งแล้วเหมือนกันว่าจะตั้งกระทู้ ผมตกภาษาไทยครับ  เนื่องจากตนเองเขียนผิดบ้างถูกบ้างมานานแล้ว  


ขอบพระคุณคุณ samun007 ที่กรุณาแก้ไข

ผมก็เคยเข้าใจผิดมาเหมือนท่านอาจารย์ทั้งสองท่านครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 21 พ.ย. 12, 15:01

เข้ามาขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 30 พ.ย. 12, 21:17

ตามพระราชประวัติในรัชกาลที่ ๑   เมื่อทรงเข้ารับราชการกับสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ  ทรงได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระราชวรินทร์ กรมพระตำรวจหลวง
ส่วนกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ทรงได้เป็นพระมหามนตรี 
จากนั้น พระราชวรินทร์ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์ และพระมหามนตรี เป็นพระยาอนุชิตราชา จางวางตำรวจ

กรมพระตำรวจหลวง นี้คือกรมอะไรคะ   ถ้ามีคำตอบแล้วในค.ห.ก่อนๆช่วย copy มาให้หน่อยได้ไหม   ยังหาไม่เจอ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 01 ธ.ค. 12, 10:08

กรมพระตำรวจหลวงนั้น  เดิมคือ กรมพระตำรวจน่าแปดกรม มีกรมพระตพรวจใน  กรมพระตำรวจนอก  กรมพระตำรวจใหญ่  กรมพระตำรวจสนมทหาร  
ซึ่งแบ่งเป็นกรมซ้าย ขวา รวมได้ ๘ กรม  กรมพระตำรวจทั้ง ๘ กรมนี้  เป็นกรมอิสระไม่ขึ้นสังกัดในเสนาบดีจตุสดมภ์กรมใดมาแต่โบราณครั้งกรุงศรีอยุธยา  
เพราะเป็นกรมทหารรักษาพระองค์จึงขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์  มีพระยาอภิชิตชาญชาญยุทธ และพระยาอนุชิตชาญชัย เป็นจางวางกำกับราชการ
กรมพระตำรวจทั้งฝ่ายซ้ายและขวารับผิดชอบตรงต่อพระมหากษัตริย์  ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ โปรดให้ยุบรวมกรมพระตำรวจทั้ง ๘ นั้นเป็นกรมพระตำรวจหลวง
รักษาพระองค์ขึ้นสังกัดกระทรวงวัง  มีสมุหพระตำรวจหลวงเป็นผู้บังคับบัญชาในทำนองเดียวกับสมุหราชองครักษ์

ในพระราชดำรัสทรงแถลงพระบรมราชาธิบายในการแก้ไขการปกครองแผ่นดิน  ล้นเกรมพระตำรวจนี้นอกจากมีหน้าที่เป็นทหารรักษาพระองค์ต้องนอนประจำเวร
ในพระบรมมหาราชวัง  เมื่อมีเสด็จประพาสทางบกทางน้ำในการสงครามหรือประพาสก็เป็นพนักงายแห่ห้อมประจำการในที่ใกล้พระองค์  เวลาเสด็จออก
ท้องพระโรงพระตำรวจก็มีหน้าที่เข้าเฝ้าก่อนขุนนางอื่น  และเป็นพวกเดียวที่ถืออาวุธเข้าในท้องพระโรงได้  นอกจากนั้นพระตำรวจน่ายังมีหน้าที่เป็นตุลาการ
ชำระความเหมือนพระเจ้าแผ่นดินทรงชำระเอง  เป็นพนักงานทำพลับพลาหรือการใหญ่ที่จะต้องแล้วโดยเร็ว เช่นทำพระเมรุ  รวมทั้งมักจะโปรดให้เป็นข้าหลวง
ออกไปราชการในหัวเมืองอยู่เสมอๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 06:22

ผมได้ภาพเก่า ถ้าไม่ใช่สมัยปลายรัชกาลที่๕ก็ต้นรัชกาลที่๖ เกี่ยวกับกรมตำรวจไทยในอดีตมาสองรูป จึงอยากรวมไว้ในกระทู้นี้ครับ

อ้างถึง
โรงพักที่สมัยก่อนเรียกว่าโรงตำรวจพระนครบาล จัดตั้งขึ้นแห่งแรกในย่านคนจีนแถวตรอกโรงกระทะ(เดี๋ยวนี้เป็นสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์) ใช้แขกมลายูและอินเดียที่เคยเป็นลูกน้องเก่าของกัปตันเอมส์เป็นพลตระเวน เริ่มปฏิบัติงานในสำเพ็งและพาหุรัดเป็นย่านแรกเพราะเป็นท้องที่ทำมาหากินของพวกขโมยขโจรและนักฉกชิงวิ่งราว
กิจการโปลิศคอนสเตเบิ้ลในบังคับบัญชาของกัปตันเอมซ์ก้าวหน้าไปด้วยดีจนต้องขยายขนาดและย้ายโรงตำรวจพระนครบาลไปอยู่ที่สามแยกต้นประดู่ ชาวบ้านจะเรียก “โรงพักสามแยก”

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5425.0



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 06:24

และต่อมาได้ขยายกิจการไปตั้งโรงพักอีกแห่งหนึ่งขึ้นที่บางรัก

เพิ่งรู้เหมือนกันว่าสมัยก่อนเรียกบางรักษ์ คนละความหมายกับบางรักโดยสิ้นเชิง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 13 ต.ค. 13, 08:48

ผมได้ภาพเก่า ถ้าไม่ใช่สมัยปลายรัชกาลที่๕ก็ต้นรัชกาลที่๖ เกี่ยวกับกรมตำรวจไทยในอดีตมาสองรูป จึงอยากรวมไว้ในกระทู้นี้ครับ

อ้างถึง
โรงพักที่สมัยก่อนเรียกว่าโรงตำรวจพระนครบาล จัดตั้งขึ้นแห่งแรกในย่านคนจีนแถวตรอกโรงกระทะ(เดี๋ยวนี้เป็นสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์) ใช้แขกมลายูและอินเดียที่เคยเป็นลูกน้องเก่าของกัปตันเอมส์เป็นพลตระเวน เริ่มปฏิบัติงานในสำเพ็งและพาหุรัดเป็นย่านแรกเพราะเป็นท้องที่ทำมาหากินของพวกขโมยขโจรและนักฉกชิงวิ่งราว
กิจการโปลิศคอนสเตเบิ้ลในบังคับบัญชาของกัปตันเอมซ์ก้าวหน้าไปด้วยดีจนต้องขยายขนาดและย้ายโรงตำรวจพระนครบาลไปอยู่ที่สามแยกต้นประดู่ ชาวบ้านจะเรียก “โรงพักสามแยก”

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5425.0



โรงพักในยุคปรับปรุงกิจการตำรวจ ช่วง พ.ศ. ๒๔๓๕ นั้น รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดพลตระเวนยืนทั่วพระนคร และมีโรงพักตาม วัด เพื่อจะได้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าจะสร้างโรงเรือนก็ให้เป็นหลังคาจาก เพราะประหยัดหาง่าย

อุปกรณ์ที่อยู่ในโรงพักที่ต้องมีทุกโรงพักคือ โต๊ะ ตู้เอกสาร เก้าอี้ ตะเกียงตาวัว หมึก ปากกา ดินสอ สมุด ถัง (กะแป๋ง)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 20 คำสั่ง