เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
อ่าน: 62034 ตำรวจของเราแต่เก่าก่อน
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 06 พ.ย. 12, 18:26

คำถามที่คุณเทาชมพูถามในภาพ ค.ห.ที่ 114 นั้น

เดาเอาตามของใช้และวิธีการแบกขนที่เคยเห็นและจากเรื่องราวที่เคยสนทนากับตำรวจชั้นประทวนรุ่นลายคราม เป็นความจำครับ อาจจะผิดโดยสิ้นเชิงก็ได้  ดังนี้ครับ

สมัยก่อนนั้นมีป้อมตำรวจที่ตั้งอยู่ตามหมู่บ้าน เป็นเรือนไม้ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวคงจะประมาณ  2X2 หรือ 2.5x2.5 เมตร ยกพื้นสูงประมาณ 30 ซม. หลังคามุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ขอทรงว่าว ปรกติตอนกลางวันจะไม่มีตำรวจประจำอยู่ แต่จะมาใช้แวะพักนอนตอนกลางคืน เรือนนี้จึงเป็นที่พักของสายตรวจ ชาวบ้านใสมัยนั้นก็ใจดี ก็จะเอาเนื้อหมูหนือเนื้อวัวที่ชำแหละกันมาแขวนไว้ให้เพื่อจะได้ทำกิน    ภาพนี้น่าจะแสดงถึงกำลังจะเดินทางไปทำงานในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง ถุงยาวๆที่สะพายไว้บนบ่าขางขวา คิดว่าเป็นถุงข้าวสาร   ที่แขวนไว้บนใหล่ซ้าย คือผ้าขาวม้ามัดของใช้ส่วนตัวบางอย่างที่นำติดตัวไปด้วย กระเป๋าหนังนั้นใส่ลูกปืน อีกด้านหนึ่งคือดาบปลายปืน ส่วนของที่หิ้วอยู่นั้น ลักษณะคล้ายกับชุดไฟแกส 4-5 อันผูกรวมกันอยู่ครับ

ผมมีข้อสงสัยอยู่เรื่องหนึ่ง คือ ตามปรกติ กระดุมเสื้อของเครื่องแบบของข้าราชการไทยจะมี 5 เม็ด  ในภาพชุดเครื่องแบบตำรวจเก่าเหล่านี้มี 6 เม็ด (ยังกับของเขมร) ในปัจจุบันนี้ยังเป็น 6 เม็ด หรือ เปลี่ยนเป็น 5 เม็ดไปแล้ว (ไม่ได้สังเกตสักที)     เคยได้ยินว่า เครื่องแบบที่ใช้กระดุมแบบนี้ มีต้นตอมาจากเสื้อคลุมชุดทหารสมัยนโปเลียน ซึ่งนำมาตัดลงเหลือครึ่งท่อน เหลือกระดุม 6 เม็ด ชุดของฝรั่งก็มี 6 เม็ด   แต่ของไทยเรานั้นเห็นว่า ใช้เพียง 5 เม็ดก็พอ เพราะช่วงตัวเราสั้นกว่าฝรั่ง ชุดราชประแตนของเราจึงต่างไปจากเขมรที่คงรับกระดุม 6 เม็ดเต็มอัตราแบบฝรั่ง จริงเท็จอย่างไรก็ไม่ทราบครับ     
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 06 พ.ย. 12, 18:38

เครื่องแบบตำรวจในภาพนั้นใช้ดุม ๗ เม็ดครับ  เสื้อชนิดนี้รับมาจากยุโรป  มีชื่อเรียกว่า "ทูนิค" (Tunic) เป็นเสื้อคอปิดต้นแบบ
ของเสื้อราชปะแตน  ต่างจากเสื้อราชปะแตนตรงที่เสื้อทูนิคนี้จะมีการต่อตะเข็บตรงเอวตรงที่เข็มขัดคาดทับ  ในขณะที่เสื้อ
ราชปะแตนไม่มีการต่อตะเข็บที่เอวครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 06 พ.ย. 12, 18:54

^
อ้อ

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 07 พ.ย. 12, 18:44

ตำรวจอีกอย่างหนึ่ง คือตำรวจวัง
คุณ V_Mee คงจะอธิบายให้เข้าใจได้ค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 07 พ.ย. 12, 19:39

แล้วขอผนวกขอคำอธิบายด้วยว่า ทำไมในเวลานำเสด็จในพระราชพิธีจึงมีเพียง  4 คนพร้อมกระบี่ ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 16 พ.ย. 12, 22:13

มาดึงกระทู้ก่อนตกจอ  รอคำตอบเรื่องตำรวจวังจากคุณ V_Mee ค่ะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 17 พ.ย. 12, 08:38

ในภาพที่ท่านอาจารย์ยกมาข้างบนนั้นเป็นพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ครับ
พระตำรวจหลวงนี้เดิมเรียกกันว่า "พระตำรวจ" มีด้วยกัน ๘ กรม คือ กรมพระตำรวจใน ขวา ซ้าย
กรมพระตำรวจนอก ขวา ซ้าย  อีก ๔ กรมจำชื่อไม่ได้  แต่ก็แยกเป็นขวา ซ้าย เหมือนกัน
ทั้งหมดรวมขึ้นการบังคับบัญชาใน พระยาอภิชิตชาญยุทธ์ พระยาอนุชิตชาญชัย จางวางกรมพระตำรวจซ้าย ขวา

กรมพระตำรวจนี้ในอดีตก่อนที่จะมีการจัดทหารอย่างปัจจุบันนั้น  กรมพระตำรวจเป็นหน่วยราชการอิสระขึ้นตรงต่อ
พระมหากษัตริย์  มีหน้าที่ถวายความปลอดภัยทำนองเดียวกับทหารรักษาพระองค์ในปัจจุบัน  ในกระบวนราบซึ่งเป็น
การเสด็จพระราชดำเนินโดยพระราชยานคานหามในระยะทางสั้นๆ  พระตำรวจก็จะเข้ากระบวนถือหอกและขัดกระบี่
นำเสด็จ  แต่ถ้าเป็นกระบวนพระราชอิสริยยศในเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารคและชลมารค
รวมทั้งงานพระบรมศพหรือพระศพ  พระตำรวจหลวงก็จะต้องเข้าริ้วคู่กับมหาดเล็ก  เดินแซงสองข้างพระราชยาน

ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ เมื่อมีการจัดทหารแบบใหม่  มีกองพลที่ ๑ เป็นกองพลรักษาพระองค์แล้ว  ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖
จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมพระตำรวจทั้ง ๘ กรมนั้นเข้าเป็น กรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์  แบงเป็น ๔ หมวด
ขึ้นการบังคับบัญชาตรงต่อสมุหพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์  ซึ่งเป็นตำแหน่งเทียบเท่าสมุหราชองครักษ์  ส่วนกรม
พระตำรวจวังที่มีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยในพระราชสำนักก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเป็น กรมวัง 

กรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ถูกยุบเลิกไปภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง  และกลับฟื้นฟูขึ้นใหม่ในรัชกาลปัจจุบัน
เพื่อรักษาพระราชประเพณีเดิมไว้  โดยชั้นต้นจัดเป็นแผนกตำรวจหลวงสังกัดกรมกองวัง  สำนักพระราชวัง  ปัจจุบันยกขึ้น
เป็นฝ่ายตำรวจหลวงคงสังเดิม

ส่วนพระตำรวจ ๔ นายที่ถือกระบี่นำเสด็จนั้น  พระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง  สาคาริก) อดีตเจ้ากรมพระตำรวจในซ้าย
ท่านอธิบายว่า เป็นหน้าที่ของ ๔ เจ้ากรมพระตำรวจ คือ เริ่มจากคู่หน้า เจ้ากรมพระตำรวจนอกซ้าย ขวา  คู่ถัดมาก่อนถึง
ที่ประทับคือ เจ้ากรมพระตำรวจในขวา ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็น พระยามหาเทพกษัตรสมุห และพระยามหามนตรีศรีองครักษ์สมุห
แต่ถ้าเป็นการเสด็จเป็นกระบวนใหญ่เพิ่มพระตำรวจนำเสด็จเป็น ๘ เจ้ากรมพระตำรวจเต็มตามอัตรา  นอกจากนั้นก็จะมี
พระตำรวจชั้นประทวนถือหอกเงินเดินแซงเป็นริ้ว ๒ ข้างกระบวนเสด็จ

มีภาพกระบวนราบสมัยรัชกาลที่ ๖ มีพระตำรวจเข้ากระบวนแห่มาให้ชมครับ




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 17 พ.ย. 12, 10:54


ในภาพที่ท่านอาจารย์ยกมาข้างบนนั้นเป็นพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ครับ
พระตำรวจหลวงนี้เดิมเรียกกันว่า "พระตำรวจ" มีด้วยกัน ๘ กรม คือ กรมพระตำรวจใน ขวา ซ้าย
กรมพระตำรวจนอก ขวา ซ้าย  อีก ๔ กรมจำชื่อไม่ได้  แต่ก็แยกเป็นขวา ซ้าย เหมือนกัน
ทั้งหมดรวมขึ้นการบังคับบัญชาใน พระยาอภิชิตชาญยุทธ์ พระยาอนุชิตชาญชัย จางวางกรมพระตำรวจซ้าย ขวา


กรมพระตำรวจใน   ขวา-ซ้าย
กรมพระตำรวจนอก ขวา-ซ้าย
กรมพระตำรวจใหญ่ ขวา-ซ้าย
กรมพระตำรวจสนม ขวา-ซ้าย

จางวาง น่าจะเป็นที่ พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยาอนุชิตชาญชัย (ก่อนรัชกาลที่ ๔ พระยาอภัยโนฤทธิ์ พระยาอนุชิตราชา)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 17 พ.ย. 12, 12:37

ส่วนพระตำรวจ ๔ นายที่ถือกระบี่นำเสด็จนั้น  พระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง  สาคาริก) อดีตเจ้ากรมพระตำรวจในซ้าย
ท่านอธิบายว่า เป็นหน้าที่ของ ๔ เจ้ากรมพระตำรวจ คือ เริ่มจากคู่หน้า เจ้ากรมพระตำรวจนอกซ้าย ขวา  คู่ถัดมาก่อนถึง
ที่ประทับคือ เจ้ากรมพระตำรวจในขวา ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็น พระยามหาเทพกษัตรสมุห และพระยามหามนตรีศรีองครักษ์สมุห
แต่ถ้าเป็นการเสด็จเป็นกระบวนใหญ่เพิ่มพระตำรวจนำเสด็จเป็น ๘ เจ้ากรมพระตำรวจเต็มตามอัตรา  นอกจากนั้นก็จะมี
พระตำรวจชั้นประทวนถือหอกเงินเดินแซงเป็นริ้ว ๒ ข้างกระบวนเสด็จ

อาจารย์ระพี สาคริก เล่าไว้คอลัมน์ "เหตุแห่งการจับงานกล้วยไม้ของฉัน (๒)" ในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ตอนหนึ่งว่า

ส่วนพ่อนั้น ตำแหน่งในราชสำนักล่าสุด ได้แก่ ขุนตำรวจเอกพระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง สาคริก) ซึ่งอดีตคือตำแหน่งของนักรบที่ยืนอารักขาเท้าช้างศึกข้างซ้ายขององค์พระมหากษัตริย์ นอกจากนั้นยศขุนตำรวจเอกก็คือ นายพันตำรวจเอก ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจภายในราชสำนักตั้งแต่อายุ ๓๕ ปี

ฉันยังทราบอีกว่า สมัยโบราณนั้นขณะที่องค์พระมหากษัตริย์ออกศึกสงครามทำยุทธหัตถีจะประทับอยู่บนคอช้าง ส่วนตำแหน่งที่ยืนอารักขาเท้าช้างทั้ง ๔ ข้างนั้นเรียกกันว่าจตุรงคบาท จะมีทหารเอกคอยคุ้มกันอยู่ ๔ ตำแหน่งและเท้าช้างข้างซ็ายนับว่าสำคัญที่สุด เพราะข้าศึกมักปีนขึ้นมาทำร้ายองค์พระมหากษัตริย์ตรงจุดนั้น จึงต้องใช้ทหารที่มีฝีมือการรบสูงเป็นพิเศษ

ส่วนเท้าช้างอีก ๓ ข้าง ได้แก่ พระมหามนตรี พระอินทรเทพ และพระพิเรนทรเทพ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 17 พ.ย. 12, 21:52

ขอเสริมเรื่องจาตุรคบาท ครับ

หากสังเกตช้างที่เดินอยู่ กทม. ก็จะเห็นเป็นภาพปรกติที่จะมีคนเดินตามช้างอยู่ 2 เสมอ คนหนึ่งจะเดินอยู่ด้านข้างซ้าย อีกคนจะเดินตามหลัง

จากประสบการณ์การจ้างช้างบรรทุกสัมภาระในเวลาทำงานในพื้นที่ป่าเขาของผม   เมื่อจ้างช้างทำงาน นอกจากจะมีควาญช้างนั่งอยู่บนคอช้างแล้ว ก็จะต้องจ้างอีกสองสามคน คล้ายกับเป็นชุดของการจ้างช้าง 1 เชือก มิเช่นนั้น เจ้าของช้างก็จะไม่ยอมรับจ้าง หรือไม่ก็จะไม่ยอมให้เข้าป่าลึกๆต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ขึ้นไป คนที่เดินไปกับช้างเหล่านี้ ผมต้องจ้าง แต่มิใช่เพื่อให้เดินตามช้างเพียงอย่างเดียว ผมจ้างและให้ทำงานเป็นคนงานนำทาง แบกหาม และกรรมกร พร้อมกันไปด้วย

ช้างทั้งหลายถูกฝึกให้ใช้เท้าหน้าข้างซ้ายช่วยยกควาญขึ้นคอ ยังไม่เคยเห็นควาญช้างขึ้นทางด้านขวาเลย  เมื่อควาญช้างจะขึ้นขี่คอ เขาเอามีดออกจากฝักคาบไว้ที่ปาก จะเอาเท้าเหยียบที่บริเวณข้อเข่า เอามือซ้ายจับที่โคนหู พอช้างยกขาช่วยชูขึ้น เขาก็จะเอามือขวาคว้าที่หลังคอ ช่วยดึงตัวให้ขึ้นไปคร่อมอยู่บนคอช้างทันที  เหตุที่คาบมีดไว้ก็เพื่อจะให้สามารถจับได้ในทันทีเมื่อช้างเบี้ยว และกันช้างเหยียบเมื่อพลาดท่า  บริเวณที่ช้างเจ็บมากที่สุดมีอยู่สองที่ คือ บริเวณรอยต่อระหว่างเนื้อที่หุ้มเล็บเท้า กับบริเวณที่เนื้อหุ่มงา    ส่วนคนที่เดินคู่ไปกับช้างนั้นเรียกว่าตีนช้าง มักจะถือไม้เรียวอันเล็กๆ ดูเหมือนกับถือไม้เล่นๆ แต่แท้จริงแล้ว เพื่อใช้ตีที่รอยต่อเนื้อกับเล็บเมื่อเวลาช้างเบี้ยว คือช่วยควาญนั่นเอง คนที่เิดนตามหลังนั้น ก็คือพวกระวังหลัง หากไม่มีคนเชื่อใจระวังหลังให้ ช้างก็แทบจะไม่เป็นอันเดินไปข้างหน้า จะคอยหันหัวไปทางซ้ายบ้าง ขวาบ้าง คอยดูว่าจะมีอะไรมาทำมิดีมิร้ายให้      ช้างเป็นสัตว์ที่ขี้ตกใจเอามากๆ  งู กบ เขียด หรือเสียงที่ผิดธรรมชาติบางอย่าง อาจจะทำให้ช้างวิ่งกระเจิงได้ง่ายๆทีเดียว   ก็ทั้งควาญและตีนช้างทั้งสองสามคนนี้แหละครับที่จะช่วยระวังและช่วยกันกำราบความตื่นตระหนกตกใจของช้างหรือความดื้อของช้าง  ส่วนความเป็นห่วงของช้างและการระวังข้างหลังของช้างนั้น  รู้มาจากพวกคนเลี้ยงช้างว่า เป็นสัญชาติญาณของช้างที่กลัวเสือจะกระโดดขึ้นหลังครับ ทำให้ตัวเองหมดหนทางสู้ นอกจากจะใช้วิธีสะบัดให้ตกลงไปเท่านั้น การตกใจของช้างจากด้านบั้นท้ายนี้ ช้างจะวิ่งผ่ามุดเข้าไปในดงไม้เพื่อให้ไม้ช่วยครูดของที่อยู่บนหลังของมันออกไป   เรื่องของช้างและความน่ารักของเขานี้คงะต้องไปเล่าในกระทู้อื่นนะครับ

เล่ามาเพื่อจะช่วยขยายความและยืนยันว่า ช้างทรงของพระมหากษัตริย์นั้น จำเป็นที่จะต้องมีจาตุรงคบาท เป็นรั้วกรอบใน และก็น่าจะต้องมีอีกสักสี่คน ทำหน้าที่เป็นรั้วกรอบนอก  และคนที่ประจำเท้าหน้าซ้ายของช้าง ก็น่าจะเป็นคนที่สำคัญที่สุดครับ เพราะทำหน้าที่เหมือนนายทวารด่านสุดท้ายที่เข้าถึงตัวพระมหากษัตริย์ได้เลย
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 12:52

ส่วนพระตำรวจ ๔ นายที่ถือกระบี่นำเสด็จนั้น  พระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง  สาคาริก) อดีตเจ้ากรมพระตำรวจในซ้าย
ท่านอธิบายว่า เป็นหน้าที่ของ ๔ เจ้ากรมพระตำรวจ คือ เริ่มจากคู่หน้า เจ้ากรมพระตำรวจนอกซ้าย ขวา  คู่ถัดมาก่อนถึง
ที่ประทับคือ เจ้ากรมพระตำรวจในขวา ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็น พระยามหาเทพกษัตรสมุห และพระยามหามนตรีศรีองครักษ์สมุห
แต่ถ้าเป็นการเสด็จเป็นกระบวนใหญ่เพิ่มพระตำรวจนำเสด็จเป็น ๘ เจ้ากรมพระตำรวจเต็มตามอัตรา  นอกจากนั้นก็จะมี
พระตำรวจชั้นประทวนถือหอกเงินเดินแซงเป็นริ้ว ๒ ข้างกระบวนเสด็จ

ฉันยังทราบอีกว่า สมัยโบราณนั้นขณะที่องค์พระมหากษัตริย์ออกศึกสงครามทำยุทธหัตถีจะประทับอยู่บนคอช้าง ส่วนตำแหน่งที่ยืนอารักขาเท้าช้างทั้ง ๔ ข้างนั้นเรียกกันว่าจตุรงคบาท จะมีทหารเอกคอยคุ้มกันอยู่ ๔ ตำแหน่งและเท้าช้างข้างซ้ายนับว่าสำคัญที่สุด เพราะข้าศึกมักปีนขึ้นมาทำร้ายองค์พระมหากษัตริย์ตรงจุดนั้น จึงต้องใช้ทหารที่มีฝีมือการรบสูงเป็นพิเศษ

ส่วนเท้าช้างอีก ๓ ข้าง ได้แก่ พระมหามนตรี พระอินทรเทพ และพระพิเรนทรเทพ

 ยิงฟันยิ้ม

ตามจริงแล้ว ตำแหน่งผู้รักษาเท้าช้างพระที่นั่งคือ "จตุลังคบาท" ครับ ชื่อตำแหน่งนี้มักจะเรียกผิดกันบ่อย ๆ  ส่วนว่าต้องมีฝีมือสูงเป็นพิเศษ ส่วนตัวผมคิดว่าอาจจะไม่จำเป็น

เพราะตามแผนผังการจัดวางกำลังรายล้อมถวายการอารักขา โดยปกติ ก็จะมีทหารประจำอยู่เป็นร้อย ๆ นายอยู่แล้ว  และยิ่งตำแหน่งผู้รักษาเท้าช้างเป็นตำแหน่งสูง เป็นเจ้ากรม ก็ต้องมีไพร่ในสังกัดของตัวเองอีกไม่น้อย เพราะฉะนั้นกองกำลังรักษาช้างพระที่นั่งจริง ๆ จึงมีมากกว่า ๔ นายอยู่แล้วครับ


ถ้าจะว่ากันด้วยเรื่องสุดยอดฝีมือทางดาบ ทางมวย ในวังหลวง น่าจะต้องยกให้ "กรมทนายเลือกหอก" ทั้งซ้ายและขวาครับ  เพราะคัดมาแล้วจริง ๆ ว่า "มีฝีมือ"  

ซึ่งก็เห็นได้ชัดเจนจากการถวายความรู้เรื่อง มวยปล้ำ(ชื่อเรียกแต่เดิมของมวยไทย) และวิชาอาวุธแด่พระเจ้าลูกเธอทั้งหลาย ในสมัยรัชกาลที่ ๔  ซึ่งผู้ที่ถวายความรู้ก็คือ คุณหลวงไชยโชกชกชนะ(อ้น) เจ้ากรมทนายเลือกหอกขวา และอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยผู้ถวายความรู้ท่านเดิม ถ้าจำไม่ผิดท่านจะได้บรรดาศักดิ์สุดท้ายเป็น คุณพระไชยโชกชกชนะ ครับ

บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 13:44


ในภาพที่ท่านอาจารย์ยกมาข้างบนนั้นเป็นพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ครับ
พระตำรวจหลวงนี้เดิมเรียกกันว่า "พระตำรวจ" มีด้วยกัน ๘ กรม คือ กรมพระตำรวจใน ขวา ซ้าย
กรมพระตำรวจนอก ขวา ซ้าย  อีก ๔ กรมจำชื่อไม่ได้  แต่ก็แยกเป็นขวา ซ้าย เหมือนกัน
ทั้งหมดรวมขึ้นการบังคับบัญชาใน พระยาอภิชิตชาญยุทธ์ พระยาอนุชิตชาญชัย จางวางกรมพระตำรวจซ้าย ขวา


กรมพระตำรวจใน   ขวา-ซ้าย
กรมพระตำรวจนอก ขวา-ซ้าย
กรมพระตำรวจใหญ่ ขวา-ซ้าย
กรมพระตำรวจสนม ขวา-ซ้าย

จางวาง น่าจะเป็นที่ พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยาอนุชิตชาญชัย (ก่อนรัชกาลที่ ๔ พระยาอภัยโนฤทธิ์ พระยาอนุชิตราชา)

ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ  ราชทินนามของจางวางกรมพระตำรวจที่ตรวจสอบได้บางตำแหน่งก็เปลี่ยนไปนะครับ เช่น

จางวางกรมพระตำรวจใหญ่-ซ้าย มีราชทินนามว่า  พระยาบริรักษ์ราชา  และราชทินนามนี้ภายหลังก็ปรับมาใช้กับ จางวางกรมพระตำรวจซ้าย (ไม่มีคำว่าใหญ่) ด้วยเช่นกัน

ซึ่งในบางครั้ง จางวางกรมพระตำรวจซ้าย ก็มีราชทินนามว่า อภัยรณฤทธิ์ เช่นกันครับ

สำหรับจางวางกระพระตำรวจขวา มีราชทินนามว่า อัศฎาเรืองเดช ก่อนจะมาเขียนใหม่เป็น อัษฎาเรืองเดช

นอกจากนี้ ยังมีกรมพระตำรวจพลพัน อีกกรมหนึ่งด้วยนะครับ 

บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 13:56


ในภาพที่ท่านอาจารย์ยกมาข้างบนนั้นเป็นพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ครับ
พระตำรวจหลวงนี้เดิมเรียกกันว่า "พระตำรวจ" มีด้วยกัน ๘ กรม คือ กรมพระตำรวจใน ขวา ซ้าย
กรมพระตำรวจนอก ขวา ซ้าย  อีก ๔ กรมจำชื่อไม่ได้  แต่ก็แยกเป็นขวา ซ้าย เหมือนกัน
ทั้งหมดรวมขึ้นการบังคับบัญชาใน พระยาอภิชิตชาญยุทธ์ พระยาอนุชิตชาญชัย จางวางกรมพระตำรวจซ้าย ขวา


กรมพระตำรวจใน   ขวา-ซ้าย
กรมพระตำรวจนอก ขวา-ซ้าย
กรมพระตำรวจใหญ่ ขวา-ซ้าย
กรมพระตำรวจสนม ขวา-ซ้าย

จางวาง น่าจะเป็นที่ พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยาอนุชิตชาญชัย (ก่อนรัชกาลที่ ๔ พระยาอภัยโนฤทธิ์ พระยาอนุชิตราชา)

ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ  ราชทินนามของจางวางกรมพระตำรวจที่ตรวจสอบได้บางตำแหน่งก็เปลี่ยนไปนะครับ เช่น

จางวางกรมพระตำรวจใหญ่-ซ้าย มีราชทินนามว่า  พระยาบริรักษ์ราชา  และราชทินนามนี้ภายหลังก็ปรับมาใช้กับ จางวางกรมพระตำรวจซ้าย (ไม่มีคำว่าใหญ่) ด้วยเช่นกัน

ซึ่งในบางครั้ง จางวางกรมพระตำรวจซ้าย ก็มีราชทินนามว่า อภัยรณฤทธิ์ เช่นกันครับ

สำหรับจางวางกระพระตำรวจขวา มีราชทินนามว่า อัศฎาเรืองเดช ก่อนจะมาเขียนใหม่เป็น อัษฎาเรืองเดช

นอกจากนี้ ยังมีกรมพระตำรวจพลพัน อีกกรมหนึ่งด้วยนะครับ 




พระยาบริรักษ์ราชา พระยาอัษฎาเรืองเดช เป็นตำแหน่งจางวางกรมพระตำรวจของ "วังหน้า" มิใช่ "วังหลวง"

กรมพระตำรวจพลพัน หรือ "ตำรวจหลัง" แบ่งซ้าย ขวา เช่นกัน มีเจ้ากรมคือ พระหฤทัย พระอภัยสุรินทร์
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 16:15

ส่วนพระตำรวจ ๔ นายที่ถือกระบี่นำเสด็จนั้น  พระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง  สาคาริก) อดีตเจ้ากรมพระตำรวจในซ้าย
ท่านอธิบายว่า เป็นหน้าที่ของ ๔ เจ้ากรมพระตำรวจ คือ เริ่มจากคู่หน้า เจ้ากรมพระตำรวจนอกซ้าย ขวา  คู่ถัดมาก่อนถึง
ที่ประทับคือ เจ้ากรมพระตำรวจในขวา ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็น พระยามหาเทพกษัตรสมุห และพระยามหามนตรีศรีองครักษ์สมุห
แต่ถ้าเป็นการเสด็จเป็นกระบวนใหญ่เพิ่มพระตำรวจนำเสด็จเป็น ๘ เจ้ากรมพระตำรวจเต็มตามอัตรา  นอกจากนั้นก็จะมี
พระตำรวจชั้นประทวนถือหอกเงินเดินแซงเป็นริ้ว ๒ ข้างกระบวนเสด็จ

ฉันยังทราบอีกว่า สมัยโบราณนั้นขณะที่องค์พระมหากษัตริย์ออกศึกสงครามทำยุทธหัตถีจะประทับอยู่บนคอช้าง ส่วนตำแหน่งที่ยืนอารักขาเท้าช้างทั้ง ๔ ข้างนั้นเรียกกันว่าจตุรงคบาท จะมีทหารเอกคอยคุ้มกันอยู่ ๔ ตำแหน่งและเท้าช้างข้างซ้ายนับว่าสำคัญที่สุด เพราะข้าศึกมักปีนขึ้นมาทำร้ายองค์พระมหากษัตริย์ตรงจุดนั้น จึงต้องใช้ทหารที่มีฝีมือการรบสูงเป็นพิเศษ

ส่วนเท้าช้างอีก ๓ ข้าง ได้แก่ พระมหามนตรี พระอินทรเทพ และพระพิเรนทรเทพ

 ยิงฟันยิ้ม

ตามจริงแล้ว ตำแหน่งผู้รักษาเท้าช้างพระที่นั่งคือ "จตุลังคบาท" ครับ ชื่อตำแหน่งนี้มักจะเรียกผิดกันบ่อย ๆ  ส่วนว่าต้องมีฝีมือสูงเป็นพิเศษ ส่วนตัวผมคิดว่าอาจจะไม่จำเป็น

เพราะตามแผนผังการจัดวางกำลังรายล้อมถวายการอารักขา โดยปกติ ก็จะมีทหารประจำอยู่เป็นร้อย ๆ นายอยู่แล้ว  และยิ่งตำแหน่งผู้รักษาเท้าช้างเป็นตำแหน่งสูง เป็นเจ้ากรม ก็ต้องมีไพร่ในสังกัดของตัวเองอีกไม่น้อย เพราะฉะนั้นกองกำลังรักษาช้างพระที่นั่งจริง ๆ จึงมีมากกว่า ๔ นายอยู่แล้วครับ


กองกำลังถวายอารักขาพระมหากษัตริย์นอกจาก ๔ เจ้ากรมพระตำรวจแล้ว  ไพร่พลในสังกัด ๔ เจ้ากรมนั้นก็คือกองกำลังพระตำรวจที่เดินเป็นริ้วแซงสองข้างพระที่นั่งหรือช้างพระที่นั่งนั่นแหละครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 18:26

ขายหน้าจังเลย เขียนว่า จาตุรงคบาท มานาน ที่ถูกต้องเขียนว่า จตุลังคบาท

ขอบคุณครับ

คิดมานานอยู่พักหนึ่งแล้วเหมือนกันว่าจะตั้งกระทู้ ผมตกภาษาไทยครับ  เนื่องจากตนเองเขียนผิดบ้างถูกบ้างมานานแล้ว 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 20 คำสั่ง