เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 62187 ตำรวจของเราแต่เก่าก่อน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 02 พ.ย. 12, 18:11

ภาพนี้เคยลงในเรือนไทยมาแล้ว  ไปเจอในลุงกุ๊ก   มีคำอธิบายว่าเป็นบริเวณโรงพักพลตระเวนบางรักเดิม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 02 พ.ย. 12, 19:49

วกกลับมาเรื่องของเงี้ยว

ตำรวจไทยไปปราบเงี้ยวในยุคต้นๆของการเิ่ริ่มกิจการตำรวจ  ในยุคต่อมาตำรวจไทยก็ได้ไปทำอีกหน้าที่ที่กลับทางกัน คือ ช่วยบุคคลในราชวงค์ไทยใหญ่ให้รอดพ้นจากการถูกตามปองร้ายในช่วงต้นๆของพม่าเมื่อเริ่มได้รับเอกราช ไม่ขอต่อเรื่องแล้วนะครับ  รูดซิบปาก

ในยุคสมัยหลังๆ คำว่าคนเงี้ยวหายไปหมด เหลือแต่คำว่าคนไทยไหญ่ หรือคนจากรัฐฉาน ซึ่งชื่อและซึ่งเป็นเรื่องเหลือตกค้างที่ตำรวจไทยต้องเข้าไปยุ่งด้วย แต่ก็เฉพาะเพียงในเขตแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่เท่านั้น คงเคยได้ยินเรื่องกลุ่มคนที่เรียกว่า หนุ่มศึกหาญ ใช่ใหมครับ  

ผมเห็นว่า คำว่าไทยใหญ่นั้น คนไทยเราใช้เรียกในความหมายรวมๆถึงกลุ่มคนในรัฐฉาน เราใช้คำว่าเงี้ยวในความหมายถึงคนในลักษณะปัจเฉกบุคคลและในทางที่เรารู้สึกว่าเป็นกลุ่มคนที่ไม่รู้สึกสนิทใจจะคบด้วย     ที่ผมเคยสมผัสกับราชการของพม่าและคนพม่า  พม่าเรียกคนในรัฐฉานโดยรวมว่าพวกคนฉาน  คนที่คนไทยเราเรียกรวมๆว่าคนไทยใหญ่ในรัฐฉานนี้ พวกเขาเองในพม่ากลับเรียกตนเองในลักษณะไม่บอกว่าตนเองเป็นเชื้อชาติใด แต่จะบอกว่าอยู่ที่เมืองใด เช่น เป็นคนเชียงตุง พยาค ลาเสี้ยว ท่าขี้เหล็ก เป็นต้น    กลุ่มคนในรัฐฉานนี้มีหลายเชื้อชาติพอสมควร ซึ่งในปัจจุบันดูเหมือนจะใส่โสร่งลายน้ำไหลเหมือนๆกันทั้งหมด (ได้กล่าวมาแล้ว)  สภาพคล้ายกับว่าจะแปลงสภาพทางเชื้อชาติกลายเป็นคนไทยใหญ่เสียหมดแล้ว

ผมหมดเรื่องเงี้ยวและไทยใหญ่ที่พอจะเล่าสู่กันฟังได้แล้วครับ
 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 03 พ.ย. 12, 08:13

อ้างถึง
ในยุคต่อมาตำรวจไทยก็ได้ไปทำอีกหน้าที่ที่กลับทางกัน คือ ช่วยบุคคลในราชวงค์ไทยใหญ่ให้รอดพ้นจากการถูกตามปองร้ายในช่วงต้นๆของพม่าเมื่อเริ่มได้รับเอกราช ไม่ขอต่อเรื่องแล้วนะครับ 


บร๊ะ แหล่ว

เล่าเถิดครับ เล่าๆเลี่ยงๆ พอแก้กษัย เล่นเบรคอย่างนี้คนตามก็หัวทิ่มกันหมดน่ะซี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 03 พ.ย. 12, 08:21

อ้างถึง
อยากจะต่อความยาวเรื่องฟ้อนเงี้ยว และขนมไทยเงี้ยว ซึ่งคงออกนอกทางโปลิศไปมากโข    แต่เกรงใจเจ้าของกระทู้ท่าน   เดี๋ยวท่านจะสะกิดพลตระเวนให้เอาผ้าขาวม้ามัดมือไปสถานีกันเสียหรอก

ถ้าเรื่องฟ้อนเงี้ยวจะเกี่ยวกับแสดงของตำรวจหญิง และขนมไทยเงี้ยว ขนมจีนน้ำเงี้ยว ฯเงี้ยวฯ ที่ขายอยู่หน้าโรงพักอะไรสักแห่ง ก็คงเข้าเรื่องอยู่มั้งครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 03 พ.ย. 12, 08:33

อ้างถึง
อยากจะต่อความยาวเรื่องฟ้อนเงี้ยว และขนมไทยเงี้ยว ซึ่งคงออกนอกทางโปลิศไปมากโข    แต่เกรงใจเจ้าของกระทู้ท่าน   เดี๋ยวท่านจะสะกิดพลตระเวนให้เอาผ้าขาวม้ามัดมือไปสถานีกันเสียหรอก

ถ้าเรื่องฟ้อนเงี้ยวจะเกี่ยวกับแสดงของตำรวจหญิง และขนมไทยเงี้ยว ขนมจีนน้ำเงี้ยว ฯเงี้ยวฯ ที่ขายอยู่หน้าโรงพักอะไรสักแห่ง ก็คงเข้าเรื่องอยู่มั้งครับ

ขนมจีนน้ำเงี้ยว จะให้อร่อยถึงเครื่องต้องใส่ ถั่วเน่า และ ดอกงิ้ว ถึงจะหอม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 03 พ.ย. 12, 10:25

นายตำรวจมือปราบในอดีตของนครเชียงใหม่
พ.ต.อ.เจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร   ณ เชียงใหม่) นายตำรวจมือปราบในอดีตของนครเชียงใหม่ (ช่วงรับราชการประมาณ พ.ศ.2445 – 2460)
 
                การปราบปรามโจรผู้ร้ายในสมัยก่อนเป็นหน้าที่ของเจ้าเมืองโดยตรง ต่อมาเมื่อมีการตั้งนายอำเภอหรือนายแขวง หน้าที่นี้จึงตกเป็นของนายอำเภอ และหน้าที่การปราบปราม เริ่มเป็นภาระของตำรวจเมื่อมีการเกณฑ์คนเข้ามาเป็นตำรวจ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๒ เป็นต้นมา นายตำรวจในยุคก่อนจะมีทั้งการรับแต่งตั้งมาจากกรุงเทพฯส่วนหนึ่ง กับอีกส่วนหนึ่งแต่งตั้งโดยเจ้าครองนครเชียงใหม่ซึ่งมักเป็นเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือที่มีความรู้ความสามารถ นายตำรวจผู้หนึ่งของนครเชียงใหม่ในยุคแรกๆตรงกับรัชกาลที่ ๗ และตรงกับ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๘ (พ.ศ.๒๔๔๔ – ๒๔๕๒) คือ พ.ต.อ.เจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่) หรือที่เรียกกันว่า “เจ้าน้อย” เนื่องจากผ่านการบวชเณรมาแล้ว
                คราวหนึ่ง คนบ้าวัยกลางคนคนหนึ่ง ชื่อนายบุญตัน เป็นข้าบริพารรับใช้ภายในคุ้มหลวงของเจ้าอินทวโรรสซึ่งขณะนั้นอยู่ที่กลางเวียง อันเป็นโรงเรียนยุพราชในปัจจุบันนี้ และเจ้าอินทวโรรสกำลังพิงหมอนข้างอยู่ในคุ้ม คนบ้าถือมีดเหล่าขนาดใหญ่ในมือตรงเข้าจะฟัน ขณะนั้น พ.ต.อ.เจ้าไชยสงคราม อยู่ในคุ้มด้วย ได้กระโดดเข้าขวาง และผลักนายบุญตันล้มลง เข้าแย่งมีดได้สำเร็จ จับนายบุญตันคุมขังได้ ทำให้เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของเจ้าอินทวโรรสมาก
                คดีหนึ่ง ฝรั่งที่เข้ามาทำงานสัมปทานไม้สักถูกคนร้ายปล้นฆ่าตายในท้องที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคนใดกล้าจับกุม เนื่องจากคนร้าย คือ หนานปัญญา เป็นผู้มีอิทธิพลอยู่ในตำบลนั้น ราษฎรยำเกรงและเกรงกลัวกันมาก อีกทั้งการจับกุมแบบจู่โจมก็มิอาจทำได้เพราะมีชาวบ้านคอยเป็นหูเป็นตา รายงานความเคลื่อนไหวของตำรวจให้คนร้ายทราบเสมอ พ.ต.อ.เจ้าไชยสงคราม รู้จักตัวคนร้ายรายนี้ดี ซึ่งเขาก็เคารพนับถือท่านอยู่มาก ท่านจึงพร้อมด้วยตำรวจ ๖ นาย เดินทางรุดไปยัง อ.ฮอดในวันหนึ่ง พอไปถึงที่ตำบลที่อยู่ของหนานปัญญา ก็ให้ ส.ต.ต.คนหนึ่ง แต่งตัวปลอมเป็นชาวบ้านลูกหาบรับจ้างหาบสัมภาระให้ตัวท่าน ผู้ซึ่งปลอมเป็นพ่อค้า เดินทางจากต่างจังหวัดมาติดต่อค้าขายในหมู่บ้าน พวกชาวบ้านก็ปลงใจ เชื่อว่าเป็นพ่อค้าจริง เมื่อย่างเหยียบเข้าไปในลานบ้านของหนานปัญญา ก็ตะโกนเรียกเจ้าของบ้านว่า “หนาน ข้าทำงานก็ไม่พอเลี้ยงตัวเอง ลูกเมียจึงออกงานมาค้าขาย ถ้าทางนี้สนุก ข้าก็อยากมาอยู่ด้วยสักคน” หนานปัญญาก็นึกระแวงทีแรก ครั้นเห็นท่าทางของผู้มาเยือนไม่มีพิรุธ จึงออกมานั่งคุยด้วย พักใหญ่ต่อมาหนานปัญญา เหลียวหลังไปมองดูทางอื่นได้จังหวะ พ.ต.อ.เจ้าไชยสงคราม ขยิบตาให้ ส.ต.ต.ลูกน้องกระโดดเข้ารวบตัวหนานปัญญาได้โดยละม่อม หนานปัญญาถึงกับทรุดตัวลงยกมือไหว้ขอชีวิต และรับสารภาพว่า ตอนที่เห็นท่านกับคณะเดินเข้าในบริเวณบ้านได้ยกปืนเล็ง ๒ ครั้ง แต่สับไกไม่ลง ไม่เช่นนั้นคงเสียชีวิตแล้ว จากการตรวจค้นที่ตัวหนานปัญญา พบปืนเบรานิงประจำตัวถึง ๒ กระบอก การปล้นฆ่าชาวต่างชาติสมัยนั้นเป็นความผิดร้ายแรง หนานปัญญาถูกประหารชีวิตโดยตัดศรีษะที่ท่าวังตาล
                คดีหนึ่งที่บ้านแม่วาง ตำบลบ้านกาด อำเภอบ้านแม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสันป่าตอง) บ้านแม่วางนี้มีเงี้ยว (ไทยใหญ่) อาศัยอยู่มาก มีเงี้ยวพวกหนึ่งรวมกำลังกันได้ ๕ คน ออกปล้นสะดมราษฎรคนพื้นเมืองจนได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ความทราบไปถึงทางการมณฑลพายัพ ส่งให้ พ.ต.อเจ้าไชยสงครามออกไปปราบปรามจับกุม ได้นำกำลังเข้าล้อมและเกิดการยิงต่อสู้กันขึ้น ผลสุดท้ายพวกเงี้ยวถูกยิงตาย ๓ คน ที่เหลืออีก ๒ คนยอมให้จับกุม
                อีกรายที่อำเภอสันทราย มีพวกเงี้ยวในอำเภอสันทรายวางแผนจะเข้าปล้นตลาดสันทราย แต่สายลับคนหนึ่งมารายงานให้ พ.ต.อ.เจ้าไชยสงครามทราบ จึงนำกำลังตำรวจชุดหนึ่งซุ่มสกัดคนร้าย เกิดการยิงต่อสู้กัน พ.ต.อ.เจ้าไชยสงครามยิงคนร้ายเป็นเงี้ยวตาย ๑ คน แต่กระสุนนัดหนึ่งของคนร้ายเฉี่ยวขาตัวเองไปหวุดหวิด
                ด้วยวีรกรรมของ พ.ต.อ.เจ้าไชยสงครามนี้เอง ทำให้ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจและได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่องครักษ์ติดต่อตามอารักขาเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ถึง ๓ องค์ด้วยกัน คือ พ่อเจ้าอินทวโรรส, พ่อเจ้าแก้วนวรัฐและสมเด็จพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
                ปีพ.ศ.๒๔๖๙ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่มีการประชุมอย่างเคร่งเครียด เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี จะเด็จเยือนมณฑลพายัพจะต้องมีการเตรียมรับเสด็จให้สมพระเกียรติ หน้าที่สำคัญที่สุด คือ ควาญช้างพระที่นั่งจะต้องมีความชำนาญอย่างยิ่งในการควบคุมช้าง อีกทั้งต้องหาคนที่เฉลียวฉลาดรอบรู้พอที่จะตอบข้อซักถามจาก รัชกาลที่ ๗ ได้ ผลสุดท้าย ที่ประชุมเห็นชอบ และได้มอบหน้าที่นี้ ให้ พ.ต.อ. เจ้าไชยสงคราม ขณะนั้นเกษียณอายุราชการแล้ว อายุ ๖๐ ปีเศษ ซึ่งได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ เป็นที่โปรดของรัชกาลที่ ๗ ถึงกับรับอุปการะบุตรของ พ.ต.อ.เจ้าไชยสงคราม คือ เจ้าไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่, เจ้าไชยชนะ ณ เชียงใหม่ และเจ้าไชยมงคล ณ เชียงใหม่ ให้ศึกษาเล่าเรียนด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์
                เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ บุตรของเจ้าไชยสงครามเล่าว่า บิดารับราชการตำรวจก่อนที่เจ้าไชยสุริยวงศ์จะเกิดแล้ว คือ ก่อนปี พ.ศ.๒๔๖๓ เมื่อเจ้าไชยสุริยวงศ์อายุ ๗ – ๘ ขวบ ทางราชการกองปราบ ประมาณ พ.ศ.๒๔๖๓ ทางราชการมีคำสั่งให้เดินทางไปรับราชการเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย สมัยนั้นต้องเดินทางด้วยเท้า บิดาพาครอบครัวและลูกหาบประมาณ ๓๐ – ๔๐ คนเดินทางและต้องพักค้างคืนในป่าเขาร่วม ๗ คืนจึงจะถึงเชียงราย รับราชการอยู่เชียงรายประมาณ ๔ ปี จึงกลับมาประจำที่เชียงใหม่ ที่ทำงานอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของอาคารสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองเชียงใหม่  (หลังเก่าถูกรื้อสร้างใหม่ปี พ.ศ.๒๕๑๒) ทุกเช้า จะเห็นบิดาแต่งเครื่องแบบขี่จักรยานไปทำงาน บ้านพักเป็นบ้านส่วนตัวอยู่ถนนท่าแพ บริเวณโรงแรมสุภาวดี ต่อมาขายให้กับหลวงสงวน บิดารับผอดชอบด้านงานปราบปราม นายตำรวจรุ่นเดียวกันอีกคนหนึ่ง คือ พ.ต.อ.พระยาพิทักษ์ทวยหสญ (สือ โทณวนิก) เป็นผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดเชียงใหม่ ทำหน้าที่ด้านระเบียบวินัยการบังคับบัญชาตำรวจ ทั้งคู่เป็นเพื่อนสนิทกันและรุ่นลูกก็สนิทสนมกันมาก
                เจ้าไชยสุริยวงศ์ เล่าว่า บิดาเป็นคนใจถึง นักเลง มีของขลังเป็นเสื้อยันต์เคยเห็นบิดาใช้อยู่ อาวุธปืนในสมัยนั้น คือ เป็นอาวุธปืนที่เรียกว่า “เมาเซอร์” ต่อด้ามได้ หลังจากบิดาเสียชีวิตไป นำมอบคืนให้หลวงไป
                มีคู่ชีวิตอยู่ ๒ คน คือ เจ้าหญิงศรีนวล และ แม่นายคำใส ณ เชียงใหม่ เสียชีวิตเมื่ออายุ ๗๐ ปีเศษ ในปี พ.ศ.๒๔๗๓
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 04 พ.ย. 12, 21:09

พ.ต.อ.เจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร   ณ เชียงใหม่)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 04 พ.ย. 12, 21:16

การฝึกแถวของตำรวจสมัยรัชกาลที่ 5    ตำรวจพันแข้งสีดำ  แต่เท้าเปล่า  คงจะเดินถนัดกว่าสวมรองเท้ากระมัง?


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 04 พ.ย. 12, 21:16

ภาพวาดพลตระเวน เรียกว่าพวก "หงอนแดง แข้งดำ"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 04 พ.ย. 12, 22:18

ไปเจอข้อเขียนของนายตำรวจท่านหนึ่งในอินทรเนตร ชื่อพ.ต.ท. สุพจน์ มัจฉา   เล่าเรื่องตำรวจในอดีตไว้สนุกและน่าสนใจ  คือเรื่องการหลักเกณฑ์การลงโทษตำรวจในสมัยก่อน   ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนอย่างเราๆไม่รู้กัน ถ้าไม่เปิดราชกิจจาฯ อ่าน 
เลยขอคัดบางตอนมาลงให้อ่านกันค่ะ


วันนี้่ผมจะขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับตำรวจในอดีตที่หลายท่านอาจจะหาอ่านที่ไหนไม่ได้เพราะไม่มีใครเขียนถึงมาเล่าให้ฟัง โดยเรื่องนี้ิเป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงโทษของตำรวจไทยเมื่อครั้งก่อนครับว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง

ท่านที่รักครับ คนเราเมื่ออยู่รวมกันมากก็ต้องมีบ้างที่ใครซักคนสองคนสามคนอาจประพฤตินอกลู่นอกแนวไปจากคนอื่นๆ คนที่ประพฤติแบบนั้นถ้าจะให้หลาบจำก็ต้องมีการลงโทษลงทัณฑ์กันเป็นธรรมดา การลงโทษนั้นก็มีอยู่หลายอย่างหลายสถานด้วยกันตามที่จะมีการกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แล้วทีนี้ตำรวจของเราสมัยก่อนเขาทำการลงโทษกันอย่างไร

ขอบอกก่อนนะครับว่าข้อเขียนของผมนั้นทุกอย่างต้องมีหลักฐาน(ทางราชการ)อ้างอิงด้วยเพราะจะได้ไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ว่าเขียนขึ้นมาเอง คิดขึ้นมาเองหรือเปล่า แล้วหลักฐานที่จะนำมาอ้างอิงก็เหมือนเดิม "ราชกิจจานุเบกษา" นั่นแหละ การค้นหาเรื่องราวในราชกิจจาฯ สมัยก่อนค่อนข้างยุ่งยากลำบาก แต่เดี๋ยวนี้สบายมากเพราะเราสามารถ search ทาง Internet ได้ แป๊บเดียวเองเรื่องที่ต้องการถ้ามีก็เจอ นี่ก็เหมือนกันครับการลงโทษตำรวจสมัยก่อนนี่ผมก็หาจากที่นี่นั่นเอง แล้วการลงโทษเนี่ยะ  สมัยนั้นเขามีการโบยกันด้วยนะขอรับ เชื่อหรือไม่ ซึ่งก็คือที่มาของจั่วหัวเรื่องวันนี้ "ตำรวจโดนโบย" การโบยเขาโบยแบบไหนและเรื่องราวเป็นอย่างไรตามผมมาเลยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 04 พ.ย. 12, 22:21

ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๒๐ ซึ่งตีพิมพ์ (ประกาศ) เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ร.ศ.๑๒๒ เรื่อง "ข้อบังคับว่าด้วยอำนาจแลกำหนดสำหรับลงโทษตำรวจภูธร" กำหนดไว้ตอนหนึ่งว่า
"ข้อ ๒ ลักษณ (สะกดตามที่ประกาศ) ความผิดด้วยข้อบังคับของตำรวจภูธรนั้น ดังนี้
(๑) เกียจคร้านแลเลินเล่อต่อน่าที่ราชการ
(๒) เมาสุราแลเครื่องดองของเมาต่างๆ
(๓) ประพฤติกิริยาแลวาจาชั่ว
(๔) กระทำการทุราจาร
(๕) ดื้อต่อผู้ใหญ่"

ทีนี้ถ้าตำรวจคนไหนกระทำผิดวินัยจะมีการลงโทษกันอย่างไร เรื่องนี้มีประกาศไว้ในราชกิจจาฯฉบับเดียวกันข้อ ๔ ดังนี้
"ข้อ ๔ ตำรวจภูธรคนใดกระทำความผิดด้วยข้อบังคับของตำรวจภูธรดังกล่าวแล้วในข้อ ๒ จะมีโทษได้ตามประเภทดังกล่าวต่อไปนี้
(๑) โบย (คืิอโบยที่ขาด้วยไม้หรือหวาย)
(๒) จำขัง (คือจำตรวน ขังตราง)
(๓) ขังเดี่ยว (คือขังในที่ควบคุมแต่ฉเภาะตัวคนเดียว)
(๔) ขังรวม (คือขังในที่ควบคุมรวมมากคนด้วยกัน)
(๕) กักยาม (คือกักตัวไว้ไม่ให้ออกพ้นไปจากเขตร์ตามที่จะกำหนดให้)
(๖) ภาคทัณฑ์ (คือแสดงความผิดของผู้ที่ทำผิดแลภาคทัณฑ์โทษไว้)"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 04 พ.ย. 12, 22:25

ข้างบนนี้ไม่ได้บอกว่าโทษทั้งหมดเรียงจากหนักลงมาเบา หรือเบาไปหนัก  แต่อ่านแล้ว สงสัยว่าโทษโบยจะหนักที่สุด  เพราะข้อ 6 คือภาคทัณฑ์นั้นเบาสุด  เรียกว่าคาดโทษไว้เท่านั้นเอง ไม่ได้ลงโทษ

มาอ่านต่อนะคะ

นี่แหละครับจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าตำรวจสมัยก่อนน่ะมีการลงโทษทางวินัยโดยการโบยด้วยแหละแล้วคงจะโดนหลายคนและหลาบจำไปนานเลยทีเดียวซึ่งก็เป็นการลงโทษลงทัณฑ์ตามยุคตามสมัยน่ะครับแต่ตอนนี้ไม่มีแล้วแม้กระทั่งนักเรียนที่ครูจะโบยจะเฆี่ยนศิษย์ไม่ได้จนทำให้เด็กๆ หลายคนกลายเป็นแบบที่ท่านๆ ได้เห็นได้รู้กันในปัจจุบันนี้

เอ้อ แล้วการโบยตำรวจที่ว่าไม่มีแล้วน่ะเขายกเลิกมาตั้งแต่ตอนไหนผมจะเล่าให้ฟังต่อครับ

การยกเลิกโทษโบยตำรวจนี้มีขึ้นเมื่อสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ครับโดยมีัหลักฐานจากราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๓๗ เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๓ ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งดังนี้

"...บัดนี้ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าอาญาโบยเปนอาญาอันต่ำช้าซึ่งไม่ควรใช้ในการรักษาวินัยแก่ตำรวจพระนครบาลและตำรวจภูธรสืบไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกอาญาโบยแก่ตำรวจพระนครบาลและตำรวจภูธรตามความในกฏว่าด้วยอาญาฐา่นละเมิดวินัยตำรวจพระนครบาลและตำรวจภูธรมาตรา ๒ ข้อ ๑๒ , ๑๓ นั้นเสีย..."

ราชกิจจาฯ ฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๘ มกราคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๓ เป็นต้นไป


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 04 พ.ย. 12, 22:27

แล้วตั้งแต่นั้นจนถึงบัดนี้การลงโทษตำรวจที่กระทำผิดทางวินัยจึงไม่มีการโบยอีกเลย

ครับ นั่นก็คือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของตำรวจไทยที่ผมนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้ซึ่งหวังว่าคงจะเกิดประโยชน์ต่อท่านอยู่บ้างตามสมควร


http://supote2503.blogspot.com/2012/05/blog-post_3629.html
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 04 พ.ย. 12, 22:30

มีรูปตำรวจจากบล็อคของท่านด้วยค่ะ     ดูจากเครื่องแบบ  ก็ยังเห็นพันแข้งดำอยู่ แต่เครื่องแบบเปลี่ยนไปจากสมัยรัชกาลที่ ๕ แล้ว
ประมาณรัชกาลที่ ๖ และ ๗ ได้ไหม?


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 05 พ.ย. 12, 06:32

ภาพนายตำรวจข้างบนเป็นเครื่องแบบตำรวจยุครัชกาลที่ ๖ ต่อเนื่องรัชกาลที่ ๗ มาจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองครับ
วิธีสังเกตดูที่ครุฑเหนือบัั้งนายสิบ  เพราะคุฑนั้นเริ่มใช้เป็นตราแผ่นดินในรัชกาลที่ ๖ แล้วครับ  สมัยรัชกาลที่ ๕ ยังใช้ตราแผ่นดินที่เป็นโล่ห์อยู่
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.153 วินาที กับ 20 คำสั่ง