เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 62191 ตำรวจของเราแต่เก่าก่อน
ไตรวุธ
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 31 ต.ค. 12, 09:40

ขออนุญาตแทรกภาพตำรวจกับกบฎเงี้ยวครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 31 ต.ค. 12, 10:39

เสียดาย ภาพกลายเป็นกบไปแล้วค่ะ  ต้องขอให้เซฟภาพ แล้วนำลงเป็นภาพประกอบอีกที
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 31 ต.ค. 12, 19:16

คุณตั้งเล่าสั้นไปแล้วละครับ
ขยายความหน่อย

ผมทราบเรื่องอนุสาวรีย์ของฝรั่งที่มาตายในช่วงการปราบเงี้ยวที่พะเยามานานมากแล้ว ตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็ก ซึ่งจะต้องเดินทางจากเชียงรายมาขึ้นรถไฟที่สถานีนครเขลางค์ เพื่อเข้ามาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ รถไฟจะออกเวลาประมาณหกโมงเย็นกว่าๆ จำได้ว่าแรกๆนั้นพ่อจะตื่นตั้งแต่ประมาณเที่ยงคืน ออกเดินทางตั้งแต่ประมาณตีสาม มากินข้าวตอนสายๆที่พะเยา แล้วเดินทางต่อ กว่าจะถึงลำปางก็ประมาณสามสี่โมงเย็น ระหว่างทางก็ได้ยินเรื่องต่างๆที่ผู้ใหญ่เขาคุยกัน ส่วนใหญ่ก็จะคุยกันว่าถึงสถานที่ใหนแล้ว เพื่อประเมินว่าจะเดินทางถึงลำปางทันเวลาขึ้นรถไฟหรือไม่ หนึ่งในเรื่องนั้นก็คือปากทางแยกเล็กๆที่เข้าไปยังอนุสาวรีย์นี้

มารู้เอาตอนหลังๆนี้เองว่า อนุสาวรีย์นั้นเป็นของใคร   จนกระทั่งไม่นานมานี้ เมื่อเกษียณแล้วและกลับไปดูแลที่ทางที่มีอยู่ จึงได้เริ่มศึกษาและอ่านเรื่องเกี่ยวกับเชียงรายและคนเชียงรายหลากหลายมากขึ้น ได้เกิดข้อสงสัยติดใจในหลายๆเรื่อง เช่น จากข้อมูลบันทึกของฝรั่งชาวเยอรมันที่ ร.5 ได้ทรงพระกรุณาช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปสำรวจในภาคเหนือ ที่เขียนบันทึกใว้ว่าเมืองเชียงรายเป็นเมืองเล็กๆ มีประชากรอยู่อาศัยน้อยมาก และจากข้อเท็จจริงที่พบเองว่า มีคนเชียงรายเป็นจำนวนมากที่มีญาติอยู่ทาง จ.แพร่ และอพยบมาจากแพร่ และอีกหลายๆเรื่อง (เสื้อม่อฮ่อม ความต่างของการมื้อการกินข้าวเหนียวและข้าวจ้าว ฯลฯ)

แล้วก็ไปอ่านพบในหนังสือในวาระที่โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊คครบ 100 ปี การบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์บางเรื่องโดยคนไทยที่อยู่ในเหตุการณ์ร่วมกับหมอบริกส์ (ผู้สร้างโรงพยาบาลนี้) กรณีเงี้ยวจะเข้าปล้นเมืองเชียงรายในปี พ.ศ.2448  สรุปความได้ดังนี้ครับ
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 31 ต.ค. 12, 19:36

มีเงี้ยวประมาณ 200 คน มารวมตัวกันตั้งเป็นกองกำลังอยู่อีกฝั่งหนึ่งของลำน้ำกก เพื่อจะเข้าปล้นเมืองเชียงราย ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่แม่น้ำกกมีระดับน้ำสูง (ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงระหว่างประมาณเดือนสิงหาคม-ตุลาคม)  ที่บริเวณหน้าเมืองในตอนนั้น มีสพานไม้ไผ่ใช้สัญจรข้ามฝั่ง (บริเวณสถานีตำรวจภูธรในปัจจุบัน)  หมอบริกส์ ซึ่งเป็นชาวแคนาดาแต่ได้รับมอบหมายให้เป็นกงสุลของอังกฤษ ได้ส่งจดหมายไปขอความช่วยเหลือกำลังทหารจากเชียงใหม่ ในขณะเดียวกันก็ได้ร่วมกันวางแผนกับข้าหลวงเมืองเชียงราย
         - จับพวกเงี้ยวที่อยู่ในเมืองไปกักตัวไว้ที่วัดพระสิงห์ เพื่อป้องกันการเป็นสายลับ (สมัยนั้นเรียกว่าพวก Fifth column)
         - ปรับสะพานไม่ไผ่ที่ใช้ข้ามน้ำแม่กก ใ้ห้เป็นสะพานกล (พราง) ใช้การรับน้ำหนักไม่ได้ เพื่อพวกเงี้ยวจะได้ตกน้ำจมน้ำตาย  
         - เอาปืนครกมาตั้ง กำหนดใ้ห้วิถีกระสุนตกลงพอดีที่สะพาน ทำลายสะพานที่เงี้ยวจะใช้ข้าม  
         - หมอบริกส์ ชักธงชาติอังกฤษที่โรงพยาบาล เพื่อแสดงว่าตัวเมืองเชียงรายนี้ อยู่ในเขตอาณาในบังคับของอังกฤษ พวกเงี้ยวจะได้ไม่กล้ายิงถล่ม  

คนในเชียงรายได้อพยพหนีไปส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็เข้ามาอยู่ในอาคารของหมอบริกส์และพื้นที่รอบๆ    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 31 ต.ค. 12, 20:01

ถึงวันบุก เงี้ยวก็ตีเกราะเคาะไม่ตะโกนส่งเสียง หวังให้พวกของตนที่อยู่ในเมืองเริ่มดำเนินการภายใน แต่ไม่เป็นผลเพราะถูกเก็บตัวไปไว้ที่วัดพระสิงห์เสียหมดแล้ว เมื่อเงี้ยวเริ่มข้ามสะพานมา ข้าหลวงก็ยิงปืนทำลายสะพานเสีย พวกเงี้ยวที่เดินเลยเข้ามาแล้ว เดินข้ามสะพานต่อมาก็ตกสะพานเพราะสะพานพัง ล้มตายจมน้ำไปเป็นจำนวนมาก  ในที่สุด (ยังกับหนังฝรั่งเลย) กองทหารจากเชียงใหม่ก็มาถึงพอดี  ลุยเลย จนเงี้ยวต้องถอยหนีกระเจิงไม่เป็นกระบวนไป  เหตุการณ์ปล้นจึงจบลง (ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีเรื่องของเงี้ยวอีกจากนี้ในเวลาต่อมา)

จากนั้นเอง จึงได้มีกองทหารไปตั้งฐานอยู่ตามดอยต่างๆตั้งแต่นั้นมา ซึ่งหมอบริกส์ก็ได้รับพระราชทานยศและกลายเป็นหมอที่ต้องไปทำการตรวจเยี่ยมรักษาทหารต่างๆตามดอยต่างๆเป็นระยะๆต่อๆมา 

ผมคิดว่า กองทหารเหล่านี้คงจะตั้งอยู่ตามดอยตามริมน้ำแม่กก และน่าจะเป็นการเริ่มต้นของเส้นทางคมนาคม (ตามลำน้ำแม่กก) เชื่อมเชียงรายกับ อ.ฝาง ของเชียงใหม่ในเวลาต่อๆมา   
ที่ตั้งของคุกของ จ.เชียงรายในปัจจุบัน ก็คงจะเป็นสถานที่หนึ่งที่เป็นที่ตั้งของหน่วยทหารในอดีต โดยผมเดาเอาจากเรื่องที่ปรากฏที่ผมจำได้เรื่องหนึ่งว่า สถานที่ตั้งคุกนี้ แต่เิดิมนั้นใช้เป็นบริเวณสถานที่คุมขังแบบเปิด คุณพ่อของผมยังต้องไปเยี่ยมรักษาเป็นระยะๆ โดยต้องใช้เรือไม้ขุดถ่อทวนน้ำขึ้นไปจากตัวเมืองเชียงราย

อาจจะเป็นข้อมูลเรื่องเงี้ยวที่เชยไปแล้วนะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 31 ต.ค. 12, 21:04

ไม่เชยเลย น่าสนใจมาก

แต่อยากทราบอย่างหนึ่งว่าพวกเงี้ยวนี้ (ทราบว่าเป็นคนไทยใหญ่ หรือพวกฉาน) ทำไมมาระดมพลอะไรกันอยู่ในเมืองไทยได้มากมาย ขนาดบุกเข้าปล้นเมืองโน้นเมืองนี้ เหมือนพม่ายกทัพมาตีในสมัยก่อนเลย

เขาอยู่กันเป็นหมู่บ้านๆหรืออย่างไร คุณตั้งว่าต่อไปอีกหน่อย อย่าเพิ่งเลิก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 17:26

^

ขออนุญาตขยายขี้เท่อ เพื่อตอบสนองความกังขาของคุณนวรัตน์ โดยจะเล่าเป็นเรื่องแบบกระท่อนกระแท่นตามที่ได้เคนเห็นบ้าง ได้รู้บ้าง ได้อ่านบ้าง ประมวลเป็นข้อมูลได้ดังนี้ครับ

เมื่อสมัยเด็กวัยกะเตาะอยู่นั้น จำความได้จากการบอกเล่าและการสนทนาของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ว่า จ.เชียงรายนั้น มีชาวเขาเผ่าต่างๆอาศัยอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดมากที่สุดในประเทศไทย คือประมาณ 45 เผ่า เชียงใหม่เองมีประมาณ 40 เผ่า เมื่อตามคุณพ่อไปเยี่ยมเยียนชาวบ้าน ซึ่งจะพบชาวเขาเดินสวนทางตามเส้นทางรถหรือทางเดินคน แล้วคนที่ไปกับคุณพ่อบอกได้ว่าเป็นชาวเขาเผ่าใหน ผมก็มีความสนใจแบบเด็กๆว่า แล้วรู้ได้อย่างไร ซึ่งคำตอบก็คือ รู้ได้จากลักษณะการแต่งตัว ผมเองไม่เคยเห็นหมู่บ้านบนดอยที่เขาอยู่กันในตอนนั้น ที่นึกภาพออกและพอจะจำชื่อเผ่าต่างๆได้ ก็มีพวกที่พบบ่อยๆมากที่สุด อาทิ ขมุ มูเซอดำ มูเซอแดง  ยางขาว ยางแดง ลีซอ อีก้อ เย้า เงี้ยว ลื้อ กะเหรี่ยง ลั๊วะ   พวกทีีมีคำต่อท้ายว่าขาว ดำ แดง นั้น อยู่ที่ลายสีที่ปรากฏอยู่ในเสื้อผ้าหรือผ้าโพกหัวที่ใส่กัน
 
พวกมูเซอนั้นมีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือการถือหน้าไม้ขนาดคันยาวประมาณสอกครึ่งติดตัวอยู่เสมอ
พวกขมุ คือพวกที่มีการสักแบบลายแน่นตั้งแต่เข่าข้นไปถึงเอว
พวกอีก้อ คือพวกที่ผู้หญิงใส่สนับแข้ง โพกหัวและมีเหรียญเงินประดับ
พวกเย้า คือพวกที่ใส่เสื้อผ้าสีฟ้าสดใส
พวกยาง คือพวกที่ใส่เสื้อคล้ายถุงสวมหัว ผู้หญิงใส่เป็นชุดผ้าถุงคลุมทั้งตัว เช่นเดียวกับพวกกะเหรี่ยง
พวกลีซอ คือพวกที่ใส่เสื้อผ้าสีย้อมค่อนข้างดำมาก
พวกลื้อ อยู่ป็นกลุ่มก้อนแถบ อ.เทิง ทุกบ้านจะมีกองไม้ฟืนกองเรียงอยู่ใต้ถุนบ้าน
พวกลั๊วะ จำไม่ได้ครับ

เสื้อผ้าของผู้ชายเกือบทั้งหมดจะเป็นสีย้อมคราม เข้มมากน้อยต่างกันไปแล้วแต่เผ่า ยกเว้นเฉพาะพวกเย้าที่ใช้สีฟ้าทั้งชุด ฝ่ายผู้ชายของทุกเผ่าใส่กางเกงขาก๊วย (กางเกงจีนแบบขมวดผ้าที่เอว) ยาวเพียงเข่า บางเผ่าก็เป้ากางเกงยานเกือบลากดิน เครื่องประดับที่ใส่กันตามปรกติประจำวันของผู้หญิงเกือบทั้งหมดจะมีเงินทรงเหรียญประดับ สำหรับฝ่ายชายนั้น จะใส่เครื่องประดับเงินเฉพาะพวกที่เป็นหัวหน้าชุมชน และเฉพาะในพิธีการเท่านั้น เครื่องประดับของเย้าจะเป็นแผงห้อยไปทั้งด้านหน้าอกและหลัง ลองใส่ดูแล้วหนักเอาการอยู่เลยทีเดียว    เงินเหรียญที่ใช้ในการประดับของชาวเขาเผ่าต่างๆนั้น เป็นเงินเหรีญรูปีอยู่มากพอสมควร ซึ่งคนไทยทางภาคเหนือมักจะซื้อเอามาตีเป็นขันเงินและเครื่องเงินเครื่องใช้ต่างๆ

ในปัจจุบันนี้ ไม่เห็นชื่อชาวเขาเหล่านี้ปรากฏอีก ก็ไม่ทราบว่าหายไปใหน อย่างไร หรือแปลงร่างเป็นไทยไปหมดแล้ว หรืออาจจะเป็นเพราะสูญไป หรือไม่ก็มีการจัดกลุ่มเรียกชื่อเสียใหม่ตามหลักวิชาการ anthropology จึงเหลือแต่ชื่ออาข่า ผมมาได้ยินชื่ออาข่าก็เมื่อทำงานการเป็นเรื่องเป็นราวแล้วสักพัก 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 18:49

เล่ามาเพื่อจะปูทางเข้าเรื่องเงี้ยวครับ

คนเงี้ยวแต่ดั้งเดิมจริงๆนั้น เป็นอย่างไร แต่งตัวอย่างไรผมก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าในภาคเหนือแถบงาว แพร่ พะเยา มีการใช้หมวกที่เรียกว่า หมวกเงี้ยว ซึ่งมีลักษณะคล้ายหมวกกุยเล้ยของจีน แต่ขนาดเล็กกว่า แสดงว่า เงี้ยวคงจะทิ้งเอกลักษณ์บางอย่างไว้ให้เหมือนกัน และก็มีประเพณีบางอย่างที่ยังคงหลงเหลืออยู่ต่อมา คือ การฟ้อนเงี้ยว ซึ่งรู้จักและแพร่หลายอยู่แถวเขต จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และเชียงราย  ที่คิดว่าไม่เคยได้ยินเรื่องฟ้อนเงี้ยวเลย ก็ดูเหมือนจะเป็นในเขตแพร่ น่าน และลำปาง   และซึ่งดูเหมือนว่าจะมีชื่อเรียกขานคำว่า เงี้ยว หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเพียงเท่านี้

คำว่าเงี้ยว ถูกทดแทนด้วยคำว่าไทยใหญ่เมื่อใดก็ไม่ทราบ

ที่ตัวเมือง จ.เชียงราย มีประตูเชียงใหม่ ซึ่งเป็นประตูต้นทางของเส้นทางคมนาคมเดิมระหว่างเชียงรายกับเชียงใหม่ ปัจจุบันนี้เรียกชื่อถนนสายนี้ว่าถนนสายเด่นห้า-ดงมะดะ (เส้นทางนี้ สเด้จพระนเรศวรทรงใช้เป็นเส้นทางเดินทัพ) ซึ่งจะมุ่งไปหาแม่น้ำแม่ลาว เส้นทางจะทวนน้ำแม่ลาวขึ้นไป ผ่าน อ.แม่สรวย อ.เวียงป่า แยกไป อ.วังเหนือ สู่พะเยาและลำปางที่จุดนี้ หากทวนน้ำต่อไปก็จะเป็น อ.แม่ขะจาน ข้ามเขาไปลง อ.ดอยสะเก็ด อ.สันทราย แล้วก็เมืองเชียงใหม่   จากเชียงรายประมาณ 10 กิโลเมตร ก็จะมีบ้านท่าล้อ (ท่าเกวียน) ปัจจุบันเรียกว่าบ้านประตูล้อ ที่จุดนี้ คือจุดพักเกวียนที่เดินทางจากเชียงรายไปลำปางและเชียงใหม่ ชาวบ้านเล่าว่าเป็นจุดพักเกวียนของพวกไทยไหญ่ ซึ่งในปัจจุบันก็มีคนเชื้อสายไทยใหญ่ตั้งรกรากอยู่    เส้นทางนี้คือเส้นทางที่มีการเดินสายโทรเลขเชื่อมระหว่างเชียงใหม่กับเชียงราย ซึ่งคงจะดำเนินการไม่นานหลังกรณีเงี้ยวปล้นเมืองเชียงราย บางที่อาจจะเป็นระบบโทรเลขในท้องถิ่นห่างไกลแรกๆของไทยก็ได้

ข้อสังเกตคือ ชาวบ้านก็เรียกคนที่ใช้เส้นทางนี้ว่าเป็นคนไทยใหญ่   ผมก็เลยทึกทักเอาเองว่า คนไทยใหญ่กับเงี้ยวนั้น ก็น่าจะเป็นคนเชื้อสายไตเหมือนกัน แต่อาจจะต่างกันที่ขื่อที่ใช้เรียกสำหรับกลุ่มเชื้อสายคนไตที่เป็นคนธรรมดาหากินตามปรกติ แยกออกไปจากกลุ่มคนพวกที่เฮี้ยว

ตรงนี้อาจจะทำให้คงพอเห็นได้ว่า ในท้องที่ภาคเหนือตอนบนด้านตะวันตกบางส่วน (เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย และพะเยา) นั้น แท้จริงแล้วมีคนไทยใหญ่อยู่อาศัยและไปมาหาสู่กัน ทำการค้่าขายอยู่เป็นประจำกับคนเมืองอยู่นานแล้ว
 
คนไทยใหญ่บางส่วนก็อาจจะเดินข้ามเขาไปทางตะวันออกลงไปในแอ่งระหว่างหุบเขาแล้วเดินเลาะน้ำลงไปก็จะถึงบ้านบ่อแก้วของแพร่ เดินต่ำลงมาก็จะเป็น อ.วังชิ้น แล้วฮึกเหิมรวมพลปล้นเมืองแพร่เสียเลย ฮืม  ผมเคยเดินทำงานอยู่ในแถบนี้เมื่อสัก 40 ปีมาแล้วยังพอสัมผัสได้กับสภาพที่ตกค้างอยู่ แล้วก็เคยเจอบางเรื่องด้วยตนเองอีกด้วย     

อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่พอจะตอบคุณนวรัตน์ก็ได้ว่า เหตุใดจึงมีคนเงี้ยวอยู่กระจายและสามารถรวมพลได้

โรงเรียนป่าไม้ของไทยครั้งแรกๆก็ตั้งอยู่ที่บ้านบ่อแก้วนี้แหละครับ ก็คงจะมีเหตุผลอยู่พอสมควรเลยทีเดียว



           
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 18:57

ทียังผูกเรื่องไม่ได้ก็คือ คนไทยใหญ่ในรัฐฉานปัจจุบัน ใส่โสร่งสีดำลายน้ำไหล ไฉนเล่าจึงไม่ปรากฏว่ามีคนไทยใส่โสร่งแถบเชียงราย พะเยา งาว และแพร่บ้างเลย มีแต่ใส่ม่อฮ่อมกางเกงขาก๊วยเป็นพื้นมาตั้งแต่โบราณ คนไทยใหญ่หรือเงี้ยวที่อยู่ในไทยคงจะแปรสภาพไปหมดแล้ว  แน่นอนว่าน่าเป็นคนไตคนละพวกคนละกลุ่มแน่นอน 

เดี๋ยวเรื่องของตำรวจจะกลายเป็นเรื่องเงี้ยวไป ครับผม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 20:38

ยังอ่านตามคิดตามอยู่ครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 21:11

เล่ามาเพื่อจะปูทางเข้าเรื่องเงี้ยวครับ

คนเงี้ยวแต่ดั้งเดิมจริงๆนั้น เป็นอย่างไร แต่งตัวอย่างไรผมก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าในภาคเหนือแถบงาว แพร่ พะเยา มีการใช้หมวกที่เรียกว่า หมวกเงี้ยว ซึ่งมีลักษณะคล้ายหมวกกุยเล้ยของจีน แต่ขนาดเล็กกว่า แสดงว่า เงี้ยวคงจะทิ้งเอกลักษณ์บางอย่างไว้ให้เหมือนกัน และก็มีประเพณีบางอย่างที่ยังคงหลงเหลืออยู่ต่อมา คือ การฟ้อนเงี้ยว ซึ่งรู้จักและแพร่หลายอยู่แถวเขต จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และเชียงราย  ที่คิดว่าไม่เคยได้ยินเรื่องฟ้อนเงี้ยวเลย ก็ดูเหมือนจะเป็นในเขตแพร่ น่าน และลำปาง   และซึ่งดูเหมือนว่าจะมีชื่อเรียกขานคำว่า เงี้ยว หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเพียงเท่านี้

คำว่าเงี้ยว ถูกทดแทนด้วยคำว่าไทยใหญ่เมื่อใดก็ไม่ทราบ

           

คนเงี้ยว เป็นคำเรียกชาวไทยใหญ่ ครับ
ลิงค์ http://www.lannaworld.com/cgi/lannaboard/reply_topic.php?id=30442
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 21:12

กล่าวถึงพวกเงี้ยงนึกถึง

๑. เลือดเจิมฆ้อง

๒. พระเงี้ยวทิ้งปืน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 01 พ.ย. 12, 21:18

กล่าวถึงพวกเงี้ยวนึกถึง

๑. เลือดเจิมฆ้อง

๒. พระเงี้ยวทิ้งปืน

นึกถึงขนมจีนน้ำเงี้ยว ค่ะ ยิ้ม

ขอออกนอกเรื่องแค่นี้นะคะ   เลี้ยวกลับเข้าเรื่องชาวเงี้ยว(ไทใหญ่)และตำรวจ ตามเดิม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 02 พ.ย. 12, 17:50

มีขนมอยู่สองอย่าง ของไทยก็มีทำกัน คือ ขนมขี้หนู และอีกอย่างหนึ่งนึกชื่อไม่ออก  ผมสงสัยว่าอยู่่ว่าน่าจะเป็นขนมที่มีต้นตอมาจากพวกไทยใหญ่หรือเงี้ยว
 
ขนมขี้หนูนั้นมีขายในตลาดสดตอนเช้าของเชียงรายและชอบกินมาตั้งแต่เด็กๆเมื่อจำเรื่องราวต่างๆได้ จนกระทั่งทำงานแล้ว (ช่วง 2512-2516) ก็ยังเห็นมีขายอยู่เป็นประจำในตลาดสดเช้าของภาคเหนือ แถวแพร่ เชียงราย พะเยา เีชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน  จำได้ว่าไม่เคยเห็นแถวน่านและลำปาง หมายถึงมีขายเป็นประจำในตลาดสดตอนเช้านะครับ จนตลาดสด (กาดเช้า) ได้เปลี่ยนไปเป็นแบบอาคารพื้นปูนดังในปัจจุบัน พวกแม่ค้ารุ่นเก๋าที่ยังใส่ผ้าถุงเกล้ามวยผมก็หายไปจากตลาดพร้อมๆกับขนมขี้หนู

ขนมอีกอย่างหนึ่ง กลับทางกันกับขนมขี้หนู คือแทนที่จะเอาแป้งมายีให้เป็นเม็ดเล็กๆ กลับเอาแป้งที่เป็นเม็ดเล็กๆนี้โรยลงในกระทะ แป้งก็จะละลายจับตัวกันเป็นแผ่น แล้วใส่งาและน้ำตาลและบางทีก็มะพร้าว ม้วนทบกัน   อันนี้เห็นในตลาดสดที่ อ.แม่สะเรียง เรื่อยขึ้นไปจนในแม่ฮ่องสอน  กระทะทำจากทองเหลือง ค่อนข้างจะแบนเส้นผ่าศุนย์กลางประมาณศอกนึง ยกขอบขึ้นมารอบๆประมาณสัก 5 ซม. คือกระทะทรงฆ้องนั่นเอง   ขนมนี้ไม่เคยเห็นมีขายเป็นประจำอยู่ในกาดเช้าของที่อื่นๆนอกจากในพื้นที่ๆกล่าวมา

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 02 พ.ย. 12, 18:07

อ้างถึง
ขนมอีกอย่างหนึ่ง กลับทางกันกับขนมขี้หนู คือแทนที่จะเอาแป้งมายีให้เป็นเม็ดเล็กๆ กลับเอาแป้งที่เป็นเม็ดเล็กๆนี้โรยลงในกระทะ แป้งก็จะละลายจับตัวกันเป็นแผ่น แล้วใส่งาและน้ำตาลและบางทีก็มะพร้าว ม้วนทบกัน
คลับคล้ายคลับคลา    น่าจะอยู่ในกระทู้ขนมไทย  แต่ยังนึกชื่อไม่ออกเหมือนกันค่ะ

อยากจะต่อความยาวเรื่องฟ้อนเงี้ยว และขนมไทยเงี้ยว ซึ่งคงออกนอกทางโปลิศไปมากโข    แต่เกรงใจเจ้าของกระทู้ท่าน   เดี๋ยวท่านจะสะกิดพลตระเวนให้เอาผ้าขาวม้ามัดมือไปสถานีกันเสียหรอก
เลยเอารูปที่เข้ากับกระทู้มาลงให้ดู ขัดตาทัพไปก่อน    พวกนี้ไม่มีผ้าพันเท้า มีแต่ผ้าพันแข้ง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง