เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 27085 ผมได้ฟังเพลง อุทยานดอกไม้ มีชื่อต้นไม้เยอะมาก ก็เลยอยากเห็นรูป
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
 เมื่อ 29 ต.ค. 12, 10:27

ผมได้ฟังเพลง อุทยานดอกไม้ มีชื่อต้นไม้เยอะมาก ก็เลยอยากเห็นรูป
เนื้อเพลงมีดังนี้ครับ
    ชม ผกา จำปา จำปี
    กุหลาบ ราตรี พะยอม อังกาบ ทั้ง กรรณิการ์
    ลำดวน นมแมว ซ่อนกลิ่น ยี่โถ ชงโค มณฑา
    สายหยุด เฟื่องฟ้า ชบา และ สร้อยทอง

        บานบุรี ยี่สุ่น ขจร
        ประดู่ พุดซ้อน พลับพลึง หงอนไก่ พิกุล ควรปอง
        งาม ทานตะวัน รักเร่ กาหลง ประยงค์ พวงทอง
        บานชื่น สุขสอง พุทธชาด สะอาดแซม

    พิศ พวงชมพู กระดังงา เลื้อยเคียงคู่ ดูสุดสวย แฉล้ม
    รสสุคนธ์ บุญนาค นางแย้ม สารภี ที่ถูกใจ

        งาม อุบล ปน จันทน์กระพ้อ*
        ผีเสื้อ แตกกอ พร้อม เล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้
        ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์ แลวิไล
        ชูช่อไสว เร้าใจในอุทยาน

บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 11:04

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 11:07

ดอกไม้ที่ชอบมากคือ นางแย้ม ค่ะ  กลิ่นหอมอ่อนๆ หวานๆ ต้องเดินผ่านระยะใกล้จึงจะได้กลิ่น
ที่บ้านเอามาปลูกต้นหนึ่ง จากนั้นมันก็กระจายตัวของมันไปเองจนเป็นดงเล็กๆ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 11:14

จัดให้


    ชม ผกา จำปา จำปี
    กุหลาบ ราตรี พะยอม อังกาบ ทั้ง กรรณิการ์
    ลำดวน นมแมว ซ่อนกลิ่น ยี่โถ ชงโค มณฑา
    สายหยุด เฟื่องฟ้า ชบา และ สร้อยทอง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 11:23

เห็นจันทร์กะพ้อ แล้วนึกถึง ๒ เรื่อง

๑. เรื่องจันทร์กะพ้อ ของคุณสมัคร สุนทรเวช กับ คุณสุวัฒน์ ลิปตะพัลลภ นักการเมืองไทย ซึ่งคุณสมัครชอบต้นไม้มาก ได้ไปเที่ยวที่ไร่ของคุณสุวัฒน์ที่โชว์ดอกจันทร์กะพ้อส่งกลิ่นหอมไปทั่ว วันรุ่งขึ้นคุณสุวัฒน์ก็หอบเอาจันทน์กะพ้อทั้งต้นมาปลูกไว้ให้ที่บ้านคุณสมัคร ที่กรุงเทพฯ ต่อมาน้ำท่วมต้นจันทน์กะพ้อตายไป ก็เสียดายมาก ๆ แต่คุณสุวัฒน์ก็บอกว่า ไม่เป็นไรให้ท่านมาดูได้ที่ไร่ของเขาแทน

10-20 ปีผ่านไป คุณสมัคร สุนทรเวชได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และหลังจากที่ไม่ได้รับตำแหน่งทางการเมืองแล้ว ท่านก็เข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการมะเร็งตับ คุณสุวัฒน์ก็ยังหอบเอาดอกจันทร์กะพ้อใส่กระเช้าเข้ามาเยี่ยมคุณสมัคร ทำให้คุณสมัครจับมือคุณสุวัฒน์ไว้นาน น้ำตาซึม นึกถึงเรื่องความหลังครั้งเก่า ๆ ที่ไม่ลืมกัน

๒. เรื่องจันทร์กะพ้อ ในนวนิยายของแม่อนงค์ เรื่องแผ่นดินของเรา อ่านแล้วประทับใจมากของสตรีสามสาว และบ้านที่มีจันทร์กะพ้อสูงใหญ่ ส่งกลิ่นหอมอบอวล ทุกชีวิตล้วนโลดแล่นผ่านมรสุมต่าง ๆ ครูเอื้อ สุนทรสนานได้แต่งเพลงจันทร์กะพ้อร่วงไว้ไพเราะมาก ดังนี้

ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน       

ดอกจันทน์กะพ้อร่วงพรู
เจ้ามิใช่ร่วงสู่แผ่นดินแห่งไหนโดยง่าย
ลมพาเอากลีบกระจาย
ร่อนปลิวพร่างพลิ้วพราย
ไม่มีที่หมายใด


ดูดังฝูงฝึ้งแตกรัง
เมื่อไร้กำลัง...หล่นก็ลงฝังทั่วไป
ไร้ผู้จะเหลียวใส่ใจ
ไม่มีใครที่ไหน
เก็บเอาไปเพื่อไว้บูชา


บางกลีบเขาเหยียบลง
แหลกเป็นผลอย่างไร้เมตตา
กลีบจมแผ่นดินสิ้นสูญราคา
กลิ่นนั้นหนายังหอมเป็นค่าผูกพัน

จันทน์กะพ้อคือเหล่าสตรี
มีราคีเพราะชายขยี้พรหมจรรย์
ความสาวแหลกเหลวสิ้นกัน
ไร้ค่าผูกพันเหมือนจันทน์กะพ้อร่วงพรู



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 11:27

ผกา คำนี้ ควรจะหมายถึง "ผกากรอง" ได้ไหมคุณเพ็ญฯ  ฮืม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 11:37

ตอบคุณหนุ่ม  

ผกาคือดอกไม้       ที่งามหลายในสวนศรี
นานาพันธุ์ล้วนมี      รูปกลิ่นสีชวนชื่นชม

ต่อ

       บานบุรี ยี่สุ่น ขจร
        ประดู่ พุดซ้อน พลับพลึง หงอนไก่ พิกุล ควรปอง
        งาม ทานตะวัน รักเร่ กาหลง ประยงค์ พวงทอง
        บานชื่น สุขสอง พุทธชาด สะอาดแซม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 13:29

^
ใส่รูปพร้อมตัวหนังสือ ดั่งกับร้องคาราโอเกะ  ยิงฟันยิ้ม

ขอบคุณคุณเพ็ญฯ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 13:44

   พิศ พวงชมพู กระดังงา เลื้อยเคียงคู่ ดูสุดสวย แฉล้ม
    รสสุคนธ์ บุญนาค นางแย้ม สารภี ที่ถูกใจ

พบกับคาราโอเกะเวอร์ชั่นใหม่

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 14:06

          งาม อุบล ปน จันทน์กระพ้อ*
        ผีเสื้อ แตกกอ พร้อม เล็บมือนาง พุดตาน กล้วยไม้
        ดาวเรือง อัญชัน ยี่หุบ มะลิวัลย์ แลวิไล
        ชูช่อไสว เร้าใจในอุทยาน


บันทึกการเข้า
mrpzone
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 14:43

พอจะเรียกว่า ฟลาวเวอร์โอเกะ ได้ไม๊คร้าบบ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 14:46

ส่ง Pennosaurus จากกลีบดอกไม้มาร่วมวง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 15:40

^
น่าจะเป็น Pennodog จากดอกไม้นับร้อยดอก   ยิ้มเท่ห์

ชมดอกไม้ในอุทยาน


 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 29 ต.ค. 12, 16:18

อังกาบ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Barleria cristata L.; ชื่ออังกฤษ: Philippine violet) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพรรณไม้พุ่มเตี้ย มีลำต้นเป็นข้อ สูงประมาณ 3 ฟุต ใบเป็นรูปหอก โคนและปลายเรียวแหลม ขนาดกว้างประมาณ 4 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. ดอกออกเป็นกระจุก ดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกรวย หรือรูปแตร มีหลายสี เช่น สีม่วง สีม่วงอมชมพู สีม่วงอ่อนสลับม่วงแก่ สีขาว และสีเหลืองอังกาบเป็นไม้ที่ชอบแสงปานกลาง ควรปลูกในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ความชื้นปานกลางถึงสูง การขยายพันธุ์ใช้การปักชำกิ่ง
ดอกอังกาบสีเหลือง-ขาว ตากแห้ง นำมาต้มเป็นยาสมุนไพร ขับเสมหะ และเป็นยาบำรุงธาตุ รากเป็นยาขับปัสสาวะ ฟอกโลหิต รสหวาน แก้ระดูขัด


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 30 ต.ค. 12, 14:35

เมื่อลองนับชื่อดอกไม้จากเพลง "อุทยานดอกไม้" พบว่าเนื้อเพลงเพียงแค่สี่ท่อนนี้ร้อยเรียงชื่อเหล่ามวลพรรณไม้ดอกไว้มากถึง ๔๘ ชนิด ผู้ประพันธ์คำร้องใส่ในทำนองเพลงนี้ได้อย่างน่าอัศจรรย์

เพลงอุทยานดอกไม้ถือเป็นเพลงไทยลูกกรุงที่ได้สร้างชื่อให้นักร้องสาวเสียงใส "วงจันทร์ ไพโรจน์" เธอเป็นผู้ขับร้องเพลงนี้ได้ไพเราะจับใจผู้ฟังในยุคนั้น ความโดดเด่นของบทเพลงนี้อยู่ที่คำร้อง ช่างงดงามเหลือเกิน แทบไม่น่าเชื่อเป็นบทเพลงที่มีชื่อดอกไม้มากที่สุด จนทำให้เพลงนี้เข้ามานั่งอยู่ในใจคนหลายยุคหลายสมัย

ทว่า น่าเสียดายคนส่วนใหญ่มักจะรู้จักบทเพลงอันโด่งดังหรือนักร้อง น้อยคนที่รู้จักคนเขียนเพลงที่เป็นผู้ร้อยดอกไม้เกือบครึ่งร้อยไว้ในสร้อยตัวโน้ตจนเป็นเพลงอมตะ น้อยคนจะจดจำหรือรำลึกชื่อของ "สกนธ์ มิตรานนท์" หรือ มิตตรา ครูเพลงเจ้าของคำประพันธ์อุทยานดอกไม้ ชื่อของศิลปินท่านนี้อาจจะไม่เป็นที่คุ้นหูนักสำหรับนักฟังเพลงในปัจจุบัน แต่สำหรับมิตรรักนักเพลงที่ชื่นชอบเพลงลูกกรุงในอดีตย่อมรู้จักผลงานการประพันธ์คำของครูเพลงท่านนี้ เพราะได้ประพันธ์เพลงที่เป็นอมตะไว้มิใช่น้อย อาทิ เพลงวอลทซ์นาวี

หากเพลงอุทยานดอกไม้เป็นเพลงที่ประพันธ์ด้วยดวงใจและดวงตาของชายที่เห็นความงามของเหล่าดอกไม้ในสวนสวยแล้ว เพลงวอลทซ์นาวีก็เป็นเพลงที่มีภาษาอันอ่อนโยนราวสายน้ำไหลสายลมพลิ้ว หากแต่ทระนงห้าวหาญสร้างพลังแห่งความสามัคคีอย่างชนิด "เพื่อปกป้องเสรี ขอสละชีพพลี พร้อมกันได้ทุกคน" ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าเพลงนี้กลายมาเป็นเพลงแห่งพลังอุดมคติของเหล่าราชนาวีไทย หากแต่เพลงนี้กลับประพันธ์ขึ้นโดยพลเรือนคนสามัญธรรมดาที่ไม่ใช่ทหาร

พิพิธ มิตรานนท์ หรือลุงเปี๊ยก วัย ๗๗ ปี บุตรชายคนโตที่เกิดกับภรรยาคนแรก เขาเล่าว่า ภาคภูมิใจในบิดามาก ทุกวันนี้ยังคงเปิดเพลงที่พ่อแต่งคำร้องฟังอยู่ทุกวัน อาจเพราะเป็นความผูกพันที่ทำให้ตนรักเสียงเพลงเช่นกันกับพ่อ แม้ไม่อาจเป็นนักแต่งเพลงเหมือนพ่อ แต่เพลงก็เป็นเหมือนเสียงลมหายใจหนึ่งมาโดยตลอด

"จำได้ว่าสมัยก่อน พอพ่อจะแต่งเพลงเพลงหนึ่ง ท่านต้องค้นคว้าหาข้อมูลมาติดลงกระดาษแล้วก็อ่านอย่างตั้งใจ หลายเพลงท่านต้องหาเอกสารทางหนังสือพิมพ์บ้าง นิตยสารบ้าง หรือบางทีก็ไปตามสถานที่ที่เกี่ยวข้อง แต่บางทีท่านก็คิดแต่งเพลงขึ้นโดยฉับพลัน แบบที่เรียกว่าอารมณ์ศิลปิน เช่น เพลงอุทยานดอกไม้ พ่ออยากแต่งเพื่อแม่หญิงหนึ่งที่ท่านรัก เพราะแม่ชื่อ "อุบล" ที่แปลว่าดอกบัว สมัยนั้นผมยังได้มีส่วนร่วมคิดหาชื่อดอกไม้ให้พ่อตั้งหลายชื่อ" ลุงเปี๊ยกกล่าวแล้วยิ้มในที ราวว่าตนเป็นเด็กชายเปี๊ยกที่ได้มีส่วนกับการขุดดินปลูกไม้ดอกในอุทยานดอกไม้ของพ่อที่ยังสวยสดงดงามในอุทยานดนตรีตราบจนวันนี้

ครูสกนธ์ มิตรานนท์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๘ และลาจากโลกไปในวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ด้วยโรคมะเร็งในท่อน้ำดี เดือนมิถุนายน ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา จึงครบรอบปีที่ ๒๑ ของการจากไป แต่หากครูยังมีชีวิตอยู่ก็สิริรวมอายุได้ ๙๕ ปี

ส่วนหนึ่งจาก บทความเรื่อง 'สกนธ์ มิตรานนท์' บทเพลงในอุทยานชีวิต รำลึก ๙๕ ปี

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันอังคารที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 20 คำสั่ง