เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 23786 กิมฮวย กิมลั้ง ถึง กิมหงวน กิมเบ๊
กอประกาญจน์
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 28 ม.ค. 06, 22:57

 สมาชิกใหม่มาขอสนับสนุนว่าคนรุ่นเดียวกันใช้ชื่อคำแรกเหมือนกันด้วยอีกคนค่ะ เพื่อนร่วมงานเคยเล่าให้ฟังเรื่องนี้ค่ะ พี่น้องเขาสี่คนก็มีชื่อคำแรกเหมือนกัน เขาบอกด้วยว่าบอกชื่อบอกแซ่มาก็จะรู้เลยว่าใครเป็นคนรุ่นใดค่ะ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 14:59

 ใช่แล้ว กลับมายืนยัน (หลังจากหายไปหลายปี - กระทู้นี้ยังอยู่อีกแฮะ)

ที่คุณ Crazy Horse พูดนั้น ถูกเลย คือ บางตระกูลเขามีบทกวีประจำตระกูลที่บรรพบุรุษจะด้วยเหตุใดก็ตาม ชอบใจ เลือกเอาไว้ สมมติว่าบทกวีนั้นมีอยู่ 20 ตัวอักษร ก็จะใช้เป็นชื่อลูกหลานลงไปเรื่อยๆ ได้ถึง 20 รุ่น !

อันนี้ไม่เกี่ยวกับแซ่ เพราะแซ่ก็เหมือนกันหมดตลอดจะกี่รุ่นก็ตาม มีตัวเดียว คำที่ว่านี้ เป็นคำที่สองของชื่อ

เรื่องของเจ้าสัวกิมเบ๊ ลูกชื่อกิมหงวนนั้น ทั้งๆ ที่สองคนนี้แซ่อื่น (ไม่ใช่แซ่กิม) เป็นเพียงจินตนาการของท่านผู้แต่ง ซึ่งเป็นคนไทยครับ และท่านแต่งเล่นๆ เป็นเรื่องชวนหัว ไม่ได้ค้นคว้าอย่างซีเรียสมากมาย คนไทยที่อ่านก็ไม่ซีเรียสเหมือนกัน (แต่ผมได้ยินว่า มีคนอ่านพลนิกรกิมหงวนเคยตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ไว้จริงๆ ซึ่งก็สรุปตอบได้อย่างเดียวว่า คุณ ป. อินทรปาลิตท่านไม่ได้ค้นธรรมเนียมจีนก่อนแต่ง เท่านั้น)

ใช่แล้วเหมือนกันที่คุณภูมิว่า หลวงจีนวัดเส้าหลิน (อย่างน้อยในหนังสือจีนกำลังภายใน) ที่บวชรุ่นเดียวกัน จะมีฉายานามทางพระที่ขึ้นต้นด้วยอักษรเดียวกัน ลูกศิษย์ของหลวงจีนรุ่น x ก็จะเป็นรุ่นอีกรุ่นหนึ่ง อาจจะเป็นหลวงจีนรุ่น y
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 15:05

 อ้อ.. แซ่กิม มีแน่นอนครับ ทำไมจะไม่มีล่ะ อดีตแฟนผมยังแซ่นี้เลย แต่งกับคนอื่นไปแล้ว ฮือๆๆๆ...

จีนกลางเรียกแซ่นี้ว่า จิน แปลว่า ทองคำ เวลาแปลงเป็นนามสกุลไทย เห็นมีตั้งเป็น กาญจน... + คำอื่นๆ บ้าง ขึ้นต้นว่า จารุ ... บ้าง สุวรรณ ... บ้าง คือย้อนกลับไปหาคำแปลของแซ่เดิม

คุณภูมิมาบอกแล้วว่า ลูกกิมหงวนชื่อ สมนึก ผมขอเติมว่า และนามสกุลก็ไม่ใช่แซ่โค้วหรืออะไรทำนองนั้นแล้วด้วย เพราะคุณ ป. ท่านแต่งให้เปลี่ยนเป็นนามสกุลไทยว่า ไทยแท้ ตั้งแต่รุ่นพ่อแล้ว อาเสี่ยกิมหงวนของเราจึงชื่อว่า สงวน ไทยแท้ และสมนึกก็ชื่อ สมนึก ไทยแท้ เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 16:29

 สงวน ไทยเทียม ครับ

แต่ กิมหงวน ไทยแท้

เป็นอารมณ์ของป.อินทรปาลิตน่ะครับ

ส่วนแซ่ของกิมหงวนนั้นอย่าคิดมากเลย ยืนยันได้ว่า"มั่ว"ครับ คุณ ป. แกนึกอยากจะแซ่อะไรก็ใส่ไว้ มีจริงบ้างตลกบ้าง และที่มีจริงๆนั้นก็เคยใส่ไว้หลายแซ่ไม่ซ้ำกันครับ

สรุปได้ว่ากิมหงวนเป็นตัวละครที่เป็นลูกจีนในมุมมองของป. อินทรปาลิตครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 16:43

 ขอตั้งข้อสังเกตอีกอย่างว่า การตั้งชื่อลูกๆของสี่เกลอ เป็นแบบไทยนะคะ

คนไทยนิยมเอาตัวอักษรในชื่อพ่อและแม่ มาผสมตั้งเป็นชื่อลูก   เรื่องนี้อาจไม่ใช่ธรรมเนียมของคนไทยทั้งหมด  แต่ก็แพร่หลายในยุคหนึ่ง
อย่างใน สี่แผ่นดิน   เสด็จประทานชื่อลูกชายคนแรกของพลอย ว่า ประพนธ์
เอาชื่อ ป.จากคุณเปรม  และพ.จากแม่พลอย
ตาอั้นชื่อประพนธ์    ตาอ้นพี่ชายก็เลยมีชื่อว่าประพันธ์  ตาอ๊อดชื่อประพจน์
และลูกสาว พลอยเตรียมตั้งชื่อไว้ว่าประไพ

ตัวอย่างที่หาได้จากคนจริงๆ รุ่นเดียวกับคุณเปรมและแม่พลอย
คือพระยามไหศวรรย์ (กอ  สมบัติศิริ) ท่านทำตามธรรมเนียมนี้  
เอา ก.ไก่ จากชื่อเดิมของท่าน มาตั้งชื่อลูกๆ  ลูกท่านมีอักษร ก. นำในชื่อ

ลูกของกิมหงวน (สงวน) กับนวลลออ  เอาตัว ส.กับ น. มาตั้งเป็นชื่อสมนึก
พลกับนันทา  ตัว พ. กับ น.  ลูกชื่อพนัส
นิกรกับประไพ   ตัว น. กับ พ.  ลูกชื่อนพ
ส่วนดร.ดิเรก  เอาอักษรจากชื่อพ่อคนเดียว ไม่มีชื่อแม่(ประภา)  คือ ดำรง
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 18 ก.พ. 06, 15:02

นึกขึ้นมาได้อีกอย่างครับ

เรื่องสมญานามทางพระของหลวงจีนวัดเส้าหลิน และวัดจีนอื่นๆ

ในนิยายเรื่องไซอิ๋ว พระถังซัมจั๋งท่านมีศิษย์ 3 คน ตามที่เราก็รู้อยู่แล้ว ผมไม่ได้ตามไปดูต่อว่าลูกศิษย์ 3 คนนั้น ได้ไปรับศิษย์ต่อ ให้กลายเป็นหลานศิษย์ของพระถังหรือไม่ แต่เฉพาะในรุ่นลูกศิษย์อดีตปีศาจลิง หมู และเงือกน้ำ 3 ตัวนั้น เมื่อละพยศมาถือศีลบวชติดตามพระถังธุดงค์ไปเมืองอินเดีย ท่านตั้งชื่อให้ใหม่ พอจะเรียกได้ว่าเป็นรุ่น "หงอ" ไม่ได้แปลว่ากลัวหงอนะครับ

เห้งเจียพญาลิง ชื่อซึงหงอคง โป้ยก่ายปีศาจหมู ชื่อตือหงอเหนง ซัวเจ๋งปีศาจพรายน้ำหรือเงือก ชื่อซัวหงอเจ๋ง อันนี้ตามฉบับไทย ซึ่งคงจะยึดถือตามชื่อสำเนียงไม่แต้จิ๋วก็ฮกเกี้ยน มี "หงอ" อยู่ตรงกลางชื่อทุกคนเลย

แต่แต่ละคนก็มีชื่ออื่นๆ อีก เห้งจียมีชื่อเยอะสุด บทบาทก็เก่งสุดเป็นศิษย์พี่คนโต ทั้งชื่อหงอคง ซีเทียนไต้เซีย (ฉายาก่อนบวช) เห้งเจีย เป๊กเบ๊อุน (อย่าไปเรียกท่านชื่อนี่เข้านะครับอาจจะโดนกระบองได้ ท่านไม่ชอบชื่อนี้) โป้ยก่ายนั้น นอกจากชื่อตือหงอเหนงแล้ว พระอาจารย์ถังซัมจั๋งยังให้ฉายาว่าตือโป้ยก่าย แปลว่าตือศีล 8 หรือหมูศีลแปด (ซึ่งแปลว่าที่แกมา "บวช" น่ะ ที่จริงเพียงแค่รักษาอุโบสถศีลเท่านั้นแหละ แต่ก็ยังดี) มีซัวเจ๋งคนเดียวบทน้อยหน่อย ชื่อก็เลยน้อย ดูเหมือนผมนึกออกแค่ชื่อเดียว
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 18 ก.พ. 06, 15:08

ที่ว่า รุ่น หงอ ไม่ได้แปลว่าหงอ นั้น ที่จริงแล้วมีความหมายทางปรัชญาพุทธมหายาน หรือพุทธนิกายเซนที่ลึกซึ้ง

ผมไม่รู้ว่านอกจากศิษย์คนโตแล้ว อีก 2 ศิษย์ชื่อเรียกเป็นจีนกลางว่าอย่างไร แต่รู้ว่า ซึงหงอคง ในพากย์ไทย หรือโงกุน (พระเอกดราก้อนบอล)ในภาษาญี่ปุ่นนั้น จีนกลางเรียก ซุนอู๋คง

อู๋ เข้าใจว่าจะแปลว่า ไร้ ไม่มี ว่างเปล่า - -

อนัตตาไงล่ะครับ

พุทธศาสนาเถรวาทก็รับรอง ไม่ได้ขัดกันเลย มีคำกล่าวทางสายเถรวาทเราอยู่ว่า นิพพานัง ปรมัง สูญญัง นิพพานเป็นความว่างเปล่าอย่างสูงสุด (ปราศจากกิเลส)
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 18 ก.พ. 06, 15:41

 ต้องกดออดเตือนภัย ขอบังอาจแก้ไขท่านพี่ นกข ศิษย์ทั้งสามของพระถังซำจั๋ง (ถัง เจิง) ในชื่อนั้นไม่ได้ใช้คำว่า "อู๋" (ไม่มี ไร้ซึ่ง) ในความจริงแล้วเขาใช้คำว่า "อู้" (บรรลุ เข้าถึง)ครับ

ลิง ให้ชื่อว่า อู้คง (เข้าถึง(ความหมายของ)ความว่าง)
หมู ให้ชื่อว่า อู้เหนิง(เข้าถึง(ความหมายของ)ความสามารถ(ในการควบคุมตนเอง))
อมนุษย์ ให้ชื่อว่า อู้จิ้ง (เข้าถึง(ความหมายของ)ความบริสุทธิ์)

ซึ่งดั่งที่คุณ นกข ได้กล่าวไว้บ้างแล้ว ผมขอสรุปเรื่องนี้สั้น ๆ ว่า ไซอิ๋ว (การเดินทางอันยาวไกล(ไปทางทิศ)ตะวันตก(เพื่ออัญเชิญพระคัมภีร์กลับอณาจักรถัง)
เป็นเรื่องที่อธิบายถึงเรื่องการที่คน(พระถัง)ต้องการจะไปให้ถึงนิพพาน(การไปเอาคัมภีร์) ต้องใช้ทั้ง ปัญญา (ลิง) สมาธิ (อมนุษย์) ศีล (หมู) เมื่อทั้งสามสามารถที่จะทำงานร่วมกันได้อย่างดีแล้ว ไม่ว่าอุปสรรคใด ๆ ก็ไม่สามารถที่จะทำให้คน ๆ ล้มเหลว
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 18 ก.พ. 06, 17:24

แมร์ซี่... เมอสิเออร์ เลอลิงเดอปักกิ่ง

(วันนี้วันเสาร์ ผมมาแสตนด์บายที่ทำงาน ช่วยกันรับเมอซิเออร์เลอเปรสิดองท์เดอลาเรปุบลิคฟรองเซส ท่านประธานาธิบดีฝรั่งเศส ซึ่งตอนนี้มาเยี่ยมเมืองไทยครับ)

ถ้ายิ่งเป็น อู้ ก็ยิ่งมีความหมายลึกซึ้งทางปรัชญามหายานยิ่งขึ้นไปอีก

ที่จริงผมน่าจะรู้อยู่แล้ว เพราะ อู๋ ที่แปลว่าไม่มีน่ะ เวลาเป็นแต้จิ๋วมันไม่ใช่ หงอ มันออกเสียงอย่างอื่น เมื่อซึงหงอคงชื่อว่าหงอคง ก็น่าจะนึกออกว่ามันไม่ควรจะตรงกับจีนกลางว่าอู๋

อู๋ (ปราศ- ไร้ ไม่มี) ดูเหมือน (ไม่แน่ใจนักแต่คิดว่าใช่) ดูเหมือนแต้จิ๋วจะออกเสียงว่า บ๊อ บ้อ ซึ่งจะมาเกี่ยวกับคำไทยว่า บ่ หรือไม่อย่างไรก็เหลือจะเดา เช่นในคำว่า บ้อลัก อันแปลว่าแก่เลี้ยวไม่มีเรี่ยวแรง เป็นต้น (เป็นอาการของใครแถวนี้รึเปล่าก็ไม่ทราบนะครับ ผมยังกัดฟันบอกตัวเองว่า Young at heart อยู่นะเฟ้ย แม้ว่ากลัวๆ อยุ่ว่าจะ heart attack ก็เถอะ)
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 19 ก.พ. 06, 11:26

 ตัว หงอ หรือ อู้ จะพูดอีกอย่างหนึ่ง คือ การเข้าใจ การตรัสรู้
หรือภาษาวัยรุ่นที่เรียกว่า ปิ๊ง นะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง