เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 53637 ราชสกุล อิศรางกูร ณ อยุธยา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 02 พ.ย. 12, 17:03

ทางด้านบำเพ็ญพระกุศล  เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ทรงสร้างวัดรังษีสุทธาวาสไว้ที่บางลำพูบน   ต่อมาวัดนี้ยุบรวมกันเข้าเป็นวัดเดียวกับวัดบวรนิเวศฯ จัดเป็นคณะหนึ่งในนั้นเรียกว่าคณะวัดรังษี
อีกวัดหนึ่งที่ทรงปฏิสังขรณ์คือวัดกษัตราธิราชที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   เป็นวัดโบราณไม่ปรากฏหลักฐานผู้สร้างหรือสร้างสมัยใด  หลักฐานบางแห่งเรียกว่าวัดกษัตราราม    วัดนี้ถูกทำลายยับเยินเมื่อกรุงแตกครั้งที่ ๒   จนกลายเป็นวัดร้าง   เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ทรงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งอาราม   ประทานนามใหม่ว่าวัดกษัตราธิราช

ใครเป็นลูกหลานมีเชื้อสายอิศรางกูร ณ อยุธยา ถ้าประสงค์จะทำบุญ ก็ขอเสนอวัดทั้งสองคือคณะวัดรังษืในวัดบวรนิเวศ  และวัดกษัตราธิราชไว้พิจารณาด้วยนะคะ


บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 02 พ.ย. 12, 17:30

พระโอรสพระธิดา  สมเด็จ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์  เท่าที่หาได้ครับ
                                                                      ปีประสูติ        ปีสิ้นพระชนม์   พระชันษา
หม่อมเจ้าชอุ่ม อิศรางกูร (พระวงศ์เธอ กรมหมื่นเทวานุรักษ์)    ชาย    2337            2406            70
หม่อมเจ้าอำพัน อิศรางกูร    หญิง    กรมขุนอิศรานุรักษ์       2341      2401       60
หม่อมเจ้าประไภย อิศรางกูร    หญิง    กรมขุนอิศรานุรักษ์       2344            2420            77
หม่อมเจ้ามณฑา อิศรางกูร    หญิง    กรมขุนอิศรานุรักษ์       2346            2428         83
หม่อมเจ้ามุกดา อิศรางกูร    หญิง    กรมขุนอิศรานุรักษ์       2354            2434           81
หม่อมเจ้าหนูหมี อิศรางกูร    หญิง    กรมขุนอิศรานุรักษ์       2356            2430           75
หม่อมเจ้าประดับ อิศรางกูร    หญิง    กรมขุนอิศรานุรักษ์       2358            2421           64
หม่อมเจ้ากำพร้า อิศรางกูร    หญิง    กรมขุนอิศรานุรักษ์       หลัง 2358    2441            83
หม่อมเจ้าหนู อิศรางกูร    หญิง    กรมขุนอิศรานุรักษ์       2364             2438    75
หม่อมเจ้าหญิง อิศรางกูร    หญิง    กรมขุนอิศรานุรักษ์       2370        2461            91
หม่อมเจ้าสนิท อิศรางกูร    ชาย    กรมขุนอิศรานุรักษ์       2371          2462            91
หม่อมเจ้าลม่อม อิศรางกูร    หญิง    กรมขุนอิศรานุรักษ์       หลัง 2371    2444            73
หม่อมเจ้าปี่ อิศรางกูร    หญิง    กรมขุนอิศรานุรักษ์       หลัง 2371    2444    60
หม่อมเจ้าเขียน อิศรางกูร    หญิง    กรมขุนอิศรานุรักษ์       หลัง 2371    2445    
หม่อมเจ้ารัศมี อิศรางกูร    หญิง    กรมขุนอิศรานุรักษ์       หลัง 2371    2441    
หม่อมเจ้าถนอม อิศรางกูร    หญิง    กรมขุนอิศรานุรักษ์       หลัง 2371    2443    
หม่อมเจ้าสวาสดิ์ อิศรางกูร    หญิง    กรมขุนอิศรานุรักษ์       หลัง 2371    2450    
หม่อมเจ้าชุมสาย อิศรางกูร    ชาย    กรมขุนอิศรานุรักษ์       หลัง 2371    2441    
หม่อมเจ้าตุ้ม อิศรางกูร    ชาย    กรมขุนอิศรานุรักษ์       หลัง 2371    2440
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 02 พ.ย. 12, 20:34

ทั้งเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีและเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์สิ้นพระชนม์ไปก่อนสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี   ซึ่งสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓   ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสด็จขึ้นครองราชย์   จึงมิได้ทรงเหลือพระญาติผู้ใหญ่ฝ่ายพระบรมราชชนนีอีก    ด้วยเหตุนี้   เมื่อทรงรำลึกถึงในพระอุปการคุณของพระมาตุฉา(น้า)ทั้งสองพระองค์   จึงโปรดเกล้าฯสถาปนาหม่อมเจ้าพยอมและหม่อมเจ้าชอุ่มพระโอรสในเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ขึ้นเป็นเจ้าต่างกรม   
หม่อมเจ้าชอุ่ม จึงได้ทรงกรมเป็นกรมหมื่นเทวานุรักษ์      เมื่อพ.ศ. ๒๓๙๖   ทรงครอบครองวังสวนมังคุดต่อจากพระบิดา   หรือคนทั่วไปเรียกว่า "วังกรมเทวา"   กรมหมื่นเทวาฯประชวรเป็นพระโรคหืดมานาน จนสิ้นพระชนม์เมื่อพ.ศ. ๒๔๐๖

หม่อมเจ้าชอุ่มหรือกรมหมื่นเทวานุรักษ์ มีบุตรชาย ๒๕ คน  บุตรหญิง ๑๙ คน   หนึ่งในจำนวนนั้นคือหม่อมราโชทัย(ม.ร.ว. กระต่าย อิศรางกูร) ผู้แต่ง นิราศลอนดอน
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 03 พ.ย. 12, 09:11

หม่อมราชินิกูลของไทย ในกรุงรัตนโกสินทร์ ในราชตระกูล อิศรางกูร
หม่อมราโชทัย
  -หม่อมราชวงศ์กระต่าย  อิศรางกูร(2362-2410) บุตร พระวงศ์เธอ กรมหมื่นเทวานุรักษ์(หม่อมเจ้าชอุ่ม  อิศรางกูร*2337-2406)
  -หม่อมราชวงศ์เนตร  อิศรางกูร บุตรของหม่อมเจ้าโสภณ  อิศรางกูร...เป็นหม่อมราโชทัยเมื่อ 15 ต.ค.2429 เลื่อนเป็นพระศักดิเสนี ถึงแก่กรรมเมื่อ 23 ธ.ค.2442
  -หม่อมราชวงศ์โต๊ะ  อิศรางกูร(2409-2462) บุตรของหม่อมเจ้าโสภณ  อิศรางกูร...เป็นหม่อมราโชทัยเมื่อ 17 พ.ค.24452
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 05 พ.ย. 12, 10:28

หม่อมราโชทัยหรือหม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร (12 มิถุนายน พ.ศ. 2363 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2410) เ เป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งในราชสกุลอิศรางกูร    ประวัติท่านอย่างที่บอกข้างบนนี้คือเป็นบุตรของกรมหมื่นเทวานุรักษ์ (หม่อมเจ้าชอุ่ม อิศรางกูร)
ในรัชกาลที่ 2  เมื่อยังเยาว์ บิดาได้นำท่านไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎฯ  
ต่อมา เจ้าฟ้ามงกุฎผนวช หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็ได้ตามเสด็จไปรับใช้ในฐานะข้าหลวงเดิม   ต่อมาเมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎทรงสนพระราชหฤทัยในภาษาอังกฤษ หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็ได้ศึกษาตามพระราชนิยม โดยเรียนกับมิชชันนารีที่เข้ามาสอนศาสนา จนได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้ภาษาอังกฤษดี จนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงใช้ให้เป็นตัวแทนเชิญกระแสรับสั่งไปเจรจาติดต่อกับชาวต่างชาติ

เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็เข้ารับราชการ   ด้วยความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษเป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงได้รับพระราชทานเลื่อนอิสริยยศเป็น "หม่อมราโชทัย"
เมื่อ พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราโชทัยเป็นล่ามหลวงไปกับคณะราชทูตไทยที่เชิญพระราชสาสน์และเครื่องาชบรรณาการ เดินทางไปเจริญพระราชไมตรี ถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษ
การเดินทางไปในครั้งนั้น หม่อมราโชทัยได้แต่งหนังสือนิราศลอนดอนขึ้น เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในวงวรรณกรรม  

 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราโชทัยขึ้นเป็นอธิบดีพิพากษาศาลต่างประเทศเป็นคนแรกของไทย
น่าเสียดายที่หม่อมราโชทัยอายุไม่ยืนยาวนัก   ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2410 ขณะมีอายุ 47 ปี พิธีพระราชทานเพลิงศพจัดขึ้นที่เมรุวัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2410


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 07 พ.ย. 12, 11:10

บุคคลสำคัญอีกท่านหนึ่งในราชสกุลอิศรางกูรฯ  ที่คุณ werachaisubhong เกริ่นไว้ก่อนหน้านี้ คือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร)
ตามประวัติ  ท่านพ่อของท่านที่เรียกกันว่าหม่อมเจ้าถึกนั้น มีพระนามอีกชื่อหนึ่งว่าหม่อมเจ้าพรหเมศร     เป็นพระโอรสในเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์      หม่อมเจ้าองค์นี้คนทั้งหลายเรียกว่า "เจ้าบ้านนา" เพราะท่านไม่ได้อยู่ที่วัดสวนมังคุดกับเจ้าพี่เจ้าน้อง   แต่ว่าโยกย้ายไปประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่ที่หมู่บ้านหนองนางวัว  ต.ทองหลาง อ.บ้านนา จ.นครนายก ตั้งแต่รัชกาลที่ 4    แต่หลักฐานบางแห่งบอกว่าเป็นหมู่บ้านบางอ้อ ต.บางอ้อ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร)มีพี่น้องร่วมบิดาอีก 3 ท่่านคือ
1  ม.ร.ว.หญิง สาย  สมรสกับญาติในราชสกุลอิศรางกูรด้วยกัน  คือพระยาทัณฑกรคณารักษ์ (ม.ร.ว. เลื่อม อิศรางกูร บุตรม.จ.มณฑป)
2  ม.ร.ว. ชาย จรัส
3  ม.ร.ว. ชาย สินลา
ต่อมาหม่อมเจ้าถึกหรือพรหมเมศรย้ายจากนครนายก กลับมาอยู่ที่วังสวนมังคุดตามเดิม    บุตรชายจึงได้เรียนหนังสือในสำนักของท่านพ่อ    จนอายุ 7 ขวบ  หม่อมเจ้าถึกทรงพาไปฝากฝังให้เป็นศิษย์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ.ทัด เสนีวงศ์) เมื่อครั้งเป็นพระเปรียญอยู่ที่วัดระฆังฯ ใกล้วังสวนมังคุด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 07 พ.ย. 12, 11:20

ม.ร.ว. เจริญ ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมกับผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน  นอกจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ ก็ยังมีพระอมรเมธาจารย์ (เกษ) แต่เมื่อยังเป็นเปรียญ  ในหม่อมเจ้าชุมแสงผู้เป็นลุง และพระโหราธิบดี (ชุม) ทั้ง 4 ท่านนี้เป็นพื้น นอกจากนี้ยังได้เล่าเรียนจากสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) และสมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ฯ กับอาจารย์อื่น ๆ อีกหลายท่าน  ก็ไม่ต้องสงสัยว่าท่านมีอาจารย์เก่งๆหลายท่าน   ม.ร.ว.เจริญจึงมีโอกาสได้ฝึกฝนวิชามากกว่าเด็กอื่นๆในวัยเดียวกัน    ท่านก็เป็นเด็กที่เปรื่องปราดสมกับเป็นศิษย์มีครูจริงๆเสียด้วย

ถึงรัชกาลที่ 5 ม.ร.ว. เจริญบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.2413  เมื่ออายุเพียง 14 ปี  ก็เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่พระมหาปราสาท   การสอบในคราวนี้  ขึ้นชื่อว่าเข้มงวดกวดขันกว่าที่ผ่านๆมา เพราะในปลายรัชกาลที่ 4  ก่อนหน้านี้  มีเสียงครหาว่ามีพระภิกษุชั้นผู้ใหญ่ให้ความช่วยเหลือแนะนำพระภิกษุและสามเณรที่เป็นศิษย์หรือรู้จักคุ้นเคยกันให้สอบผ่านเป็นเปรียญกันโดยง่าย    มาครั้งนี้พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงกำชับให้เข้มงวดกวดขัน  กลั่นกรองเอาแต่ผู้ที่มีความรู้จริง
พระภิกษุสามเณรที่เข้ามาแปลในคราวนี้ เจอข้อสอบหนักๆเข้า พากันสอบตกกันเสียมาก   คนที่ผ่านเป็นเปรียญ 3 ประโยค ได้เพียง 12 รูป เป็นพระภิกษุ 9 รูป สามเณร 3 รูป ในจำนวนนี้ คือสามเณรเจริญ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) ซึ่งมีอายุเพียง 14 ปี น้อยกว่าทุกท่านที่สอบได้ในคราวนี้

ต่อมา ใน พ.ศ.2419 สามเณรม.ร.ส.เจริญได้เข้าแปลปริยัติธรรมที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เป็นครั้งที่ 2 แปลได้อีก 1 ประโยค รวมเป็น 4 ประโยค    จนถึง พ.ศ.2421 ท่านอายุครบอุปสมบท ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บวชในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หม่อมเจ้าสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัต) ครั้งเมื่อยังเป็นหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ เป็นพระอุปัชฌาย์
ภายหลังอุปสมบท พระภิกษุม.ร.ว.เจริญเข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งที่ 3 ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.2425 แปลได้อีก 1 ประโยค รวมเป็น 5 ประโยค
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 08 พ.ย. 12, 21:35

  เมื่อ พ.ศ.2430  พระภิกษุม.ร.ว. เจริญ เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะ มีราชทินนามพิเศษว่า พระราชานุพัทธมุนี มีตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกฯ    อีก 5 ปีต่อมา จึงได้กลับมาครองวัดระฆังฯ
  พ.ศ.2438 ท่านได้เลื่อนขึ้นเป็นพระเทพเมธี  พระธรรมไตรโลกาจารย์  เจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์  บัญชาการมาจนสิ้นรัชกาลที่ 5
  หลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6    โปรดฯให้เลื่อนพระธรรมไตรโลกาจารย์ขึ้นเป็นพระพิมลธรรม ตำแหน่งเจ้าคณะรอง    จนถึง พ.ศ.2464 โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระพิมลธรรม (หม่อมราชวงศ์ เจริญ อิศรางกูร) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  บัญชาคณะกลาง

  คุณพิเศษอย่างหนึ่งของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์คือเป็นสรญาณบัณฑิต  สันทัดทำนองสวดต่างๆตามแบบโบราณ  เช่นขัดตำนานสวดมนตร์  สวดญัติ   สวดอาณาฏิยสูตร  เทศน์มหาชาติก็สันทัดดีเยี่ยมทั้ง 13 กัณฑ์   ท่วงทำนองในการเทศน์ของท่านเป็นที่นิยมยกย่องในยุคนั้นเป็นอย่างมาก สมัยนั้นตามวังเจ้านาย เช่น วังบางขุนพรหมของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระองค์ทรงโปรดให้จัดมีพระธรรมเทศนาเวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์ พร้อมทั้งอาราธนาพระสงฆ์ซึ่งเป็นองค์พระธรรมกถึกในการเทศนาเข้าไปแสดงถวายเป็นประจำทุก ๆ ปี โดยก่อนที่พระสงฆ์รูปที่จะไปแสดงพระธรรมเทศนาถวายจำจะต้องทำการฝึกซ้อมท่วงทำนองต่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ เสมอ

ผลงานอีกชิ้นหนึ่งของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  คือ เชี่ยวชาญภาษามคธ (บาลี) เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคำโคลง 4 สุภาพ ในความภาษาไทยท่านมักจะใช้ศัพท์มคธเข้าแทรก ผลงานส่วนหนึ่งคือคำโคลงรามเกียรติ์ซึ่งจารึกไว้ตามเสาระเบียงพระวิหารคต ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีปรากฏนามของท่านมาจนถึงปัจจุบันนี้

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) มรณภาพเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม เวลา 18.35 น. ปีมะโรง พ.ศ.2471 คำนวณอายุได้ 70 ปี พรรษา 50
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 12 พ.ย. 12, 16:39

เมื่อครึ่งศตวรรษก่อน   เชื้อสายราชสกุลอิศรางกูรท่านหนึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะคนเบื้องหลังวงการบันเทิง  มีชื่อประดับอยู่ในโปสเตอร์และคัทเอาท์ภาพยนตร์ไทยเกือบทุกเรื่อง ในฐานะนักพากย์ผู้มีฝีมือยากจะหาใครเทียบได้   ท่านคือม.ล.รุจิรา อิศรางกูร

ในสมัยนั้น ภาพยนตร์ไทยยังพากย์กันอยู่  นักพากย์ดังๆก็จะคู่กันเป็นตัวเอกฝ่ายชายและหญิง  เช่น รุจิรา-มารศรี  เสน่ห์-จุรี
ม.ล. รุจิรามีความสามารถพิเศษ ดัดแปลงเสียงได้หลากหลาย  คนเดียวพากย์ได้หลายตัวแสดงด้วยกัน จนมีสมญาว่า มนุษย์เก้าเสียง

http://www.youtube.com/watch?v=dI28STW2rTk&feature=youtu.be

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 12 พ.ย. 12, 17:16

 ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร  เกิด 25 พ.ย.2456 เสียชีวิตแล้ว  เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์สุดใจ  และเป็นหลานปู่ของหม่อมเจ้าน้อย  ซึ่งเป็นหนึ่งในพระโอรสในเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์    ม.ล.รุจิรามีพี่น้องร่วมบิดาคือม.ล.(หญิง)ชูจิต   ม.ล.(หญิง)สุดจิตต์ ม.ล.(ชาย)แจ่ม และม.ล.(ชาย) เหมือน อิศรางกูร

ท่านสมรสกับมารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ปี 2542  เป็นนักพากย์และนักแสดงอาวุโสที่คนดูรู้จักกันดีมานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว    มีบุตรธิดา 3 คนล้วนแต่อยู่ในวงการบันเทิงคือ อรสา  จีรศักดิ์   และคนสุดท้อง จิรวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา

ไปค้นหารูปม.ล.รุจิรา เจอแต่ตอนวัยกลางคน   ไม่มีตอนหนุ่มๆ ได้แต่เดาว่าคงรูปหล่อ เห็นได้จากประวัติ ที่ว่าละครเวทีเรื่อง วนิดา เมื่อนำไปเป็นละครเวทีครั้งแรกที่ "ศาลาเฉลิมนคร"  ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร เล่นเป็น พ.ต.ประจักษ์  บทเดียวกับที่ติ๊ก เจษฎาภรณ์แสดง
ในภาพนี้ ม.ล.รุจิราคือคนที่สองจากซ้าย


บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 13 พ.ย. 12, 10:18

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ทรงมีพระโอรสพระธิดา ๕ พระองค์ กับ สมเด็จฯเจ้าฟ้าปัญจปาปี ในสมเด็จพระเจ้าตากสิน กับกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์(เจ้าหญิงฉิม)ประกอบด้วย
                  ๒๕.๑ หม่อมเจ้าใหญ่ อิศรางกูร ณ อยุธยา
                  ๒๕.๒ หม่อมเจ้ากลาง อิศรางกูร ณ อยุธยา
                  ๒๕.๓ หม่อมเจ้าหญิงศรีฟ้า อิศรางกูร ณ อยุธยา
                  ๒๕.๔ หม่อมเจ้าสุนทรา อิศรางกูร ณ อยุธยา
                  ๒๕.๕ หม่อมเจ้าหญิงรสสุคนธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 13 พ.ย. 12, 11:05

เขียนผิดไปหน่อย เมื่อเขียนถึงม.ล.รุจิรา เพราะมีประโยคหนึ่งไปลอกมาจากเน็ต  เขาใส่ ณ อยุธยาต่อท้ายให้ราชสกุล อิศรางกูรของท่าน ก็เลยเผลอเอาลงทั้งยังงั้น ไม่ได้ตัดออก 
ความจริงแล้ว   พระองค์เจ้า  หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง  เมื่อระบุราชสกุล  ไม่ต้องมีคำว่า ณ อยุธยา ต่อท้ายค่ะ
แต่ถ้าเป็นสะใภ้ของราชสกุล  และบุตรธิดาที่เป็นชั้นเด็กชายเด็กหญิงแต่กำเนิด  จึงจะใช้ ณ อยุธยาต่อท้าย
ตัวอย่าง
ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร
มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา(เพราะท่านเป็นสะใภ้ของราชสกุล)
คุณอรสา  จีรศักดิ์  จีระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา  (เพราะเป็นบุตรธิดาของม.ล. ซึ่งอยู่ในชั้นสามัญชนแล้ว)

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ทรงมีพระโอรสพระธิดา ๕ พระองค์ กับ สมเด็จฯเจ้าฟ้าปัญจปาปี ในสมเด็จพระเจ้าตากสิน กับกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์(เจ้าหญิงฉิม)ประกอบด้วย
                  ๒๕.๑ หม่อมเจ้าใหญ่ อิศรางกูร ณ อยุธยา
                  ๒๕.๒ หม่อมเจ้ากลาง อิศรางกูร ณ อยุธยา
                  ๒๕.๓ หม่อมเจ้าหญิงศรีฟ้า อิศรางกูร ณ อยุธยา
                  ๒๕.๔ หม่อมเจ้าสุนทรา อิศรางกูร ณ อยุธยา
                  ๒๕.๕ หม่อมเจ้าหญิงรสสุคนธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
หม่อมเจ้าทั้ง 5 องค์นี้ไม่ต้องมีคำว่า ณ อยุธยา ต่อท้าย ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 13 พ.ย. 12, 11:14

นอกจากสมเด็ตเจ้าฟ้าปัญจปาปีแล้ว   เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ทรงมีพระโอรสธิดากับหม่อมห้ามอื่นๆอีกหลายท่านด้วยกัน    เท่าที่ราชสกุลรวบรวมไว้ คือ
ฝ่ายชาย
๑    หม่อมเจ้าชะอุ่ม  กรมหมื่นเทวานุรักษ์ (ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าอาจเป็นองค์เดียวกับหม่อมเจ้าใหญ่)
๒    หม่อมเจ้าสนุ่น
๓    หม่อมเจ้าโสภณ
๔    หม่อมเจ้าขจร
๕    หม่อมเจ้าชุมแสง หรือชุมสาย
๖    หม่อมเจ้าชายดำ
๗    หม่อมเจ้าวัตถา
๘    หม่อมเจ้าโต
๙    หม่อมเจ้ากำพล
๑๐  หม่อมเจ้านิล
๑๑  หม่อมเจ้ามุ้ย
๑๒  หม่อมเจ้าคันทรง
๑๓  หม่อมเจ้าน้อย (ท่านปู่ของม.ล.รุจิรา)
๑๔  หม่อมเจ้ามณฑป
๑๕  หม่อมเจ้าถึก หรือพรหมเมศร
๑๖  หม่อมเจ้าสุด
๑๗  หม่อมเจ้าตุ้ม
๑๘  หม่อมเจ้าสุราไลย

ทั้งหมดนี้เป็นหม่อมเจ้าชาย     ส่วนพระธิดาที่เป็นหม่อมเจ้าหญิงมี ๓๑ องค์ (รวมพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าปัญจปาปีด้วย)  ไม่มีองค์ไหนเสกสมรส  จึงไม่มีลูกหลานสืบมาทางสายพระธิดา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 13 พ.ย. 12, 15:44

นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และรองเลขาธิการสำนักพระราชวัง (เทียบเท่ารองปลัดกระทรวง) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ประวัติส่วนตัว
นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เกิดวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 เป็นบุตรของ นายจรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตองคมนตรี กับท่านผู้หญิงอรอวล อิศรางกูร ณ อยุธยา
เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์(เกียรตินิยม)จาก London School of Economics (วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน) ประเทศอังกฤษ และปริญญาเอกจาก Australian National University ประเทศออสเตรเลีย
สมรสกับ ท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  มีบุตรชาย 2 คน ชื่อ จิรุตถ์ และ จิรัตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

ประวัติการทำงาน
26 ตุลาคม พ.ศ.2507 ถึง 30 กันยายน พ.ศ.2509 เริ่มรับราชการสังกัดกรมวิเทศสหการ ตำแหน่งเศรษฐกรโท
1 ตุลาคม พ.ศ.2509 ถึง 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 โอนมารับราชการสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์     คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ ตำแหน่งอาจารย์โท
8 สิงหาคม พ.ศ.2518 ถึง  30 มิถุนายน พ.ศ.2519 รองคณบดี คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

29 ตุลาคม พ.ศ.2518 ถึง 1 กรกฎาคม พ.ศ.2519     เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์   ถึง คณบดี คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
13 มกราคม พ.ศ.2522 ถึง 21 มีนาคม พ.ศ.2522 เลื่อนตำแหน่งเป็นรองศาสตราจารย์
11 มีนาคม พ.ศ.2524 ถึง 19 มีนาคม พ.ศ.2526  ลาออกจากราชการไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7 พฤษภาคม พ.ศ.2526 ถึง 19 กันยายน พ.ศ. 2528 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
พ.ศ.2528               ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
พ.ศ.2529               ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2530              ถึงปัจจุบัน ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และรองเลขาธิการพระราชวัง สำนักพระราชวัง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 14 พ.ย. 12, 10:57

คุณจิรายุเป็นอิศรางกูร สายกรมหมื่นเทวานุรักษ์(หม่อมเจ้าชอุ่ม อิศรางกูร) 
ท่านองคมนตรีจรูญพันธ์ บิดาของคุณจิรายุ เป็นบุตรของพระยาวิเศษฤๅชัย (ม.ล.เจริญ อิศรางกูร) และเป็นหลานปู่ของม.ร.ว.สวาสดิ์ อิศรางกูร ซึ่งเป็นโอรสของกรมหมื่นเทวานุรักษ์

สังเกตอีกอย่างว่า โอรสธิดาของเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์อันประสูติจากสมเด็จเจ้าฟ้าปัญจปาปี พระราชธิดาสมเด็จพระเจ้าตากสิน ล้วนแต่ดำรงพระยศชั้นหม่อมเจ้า   ไม่ใช่พระองค์เจ้าหรือเจ้าฟ้าอย่างพระชนกชนนี    แสดงว่าสมเด็จเจ้าฟ้าปัญจปาปีก็เช่นเดียวกับพระราชโอรสธิดาพระองค์อื่นๆในสมเด็จพระเจ้าตากสิน  คือกลายมาเป็นสามัญชนในสมัยรัชกาลที่ 1   พระโอรสธิดาจึงเป็นหม่อมเจ้า เช่นเดียวกับพระโอรสธิดาที่เกิดจากหม่อมอื่นๆที่เป็นสามัญชน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง