เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 53608 ราชสกุล อิศรางกูร ณ อยุธยา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 25 ต.ค. 12, 10:23

ตั้งหัวข้อไว้ก่อน  เผื่อสำหรับท่านผู้สนใจ ทยอยมาจองม้ายาวหน้าวิก
เดี๋ยวจะต้องไปธุระค่ะ  กลับขึ้นเรือนเมื่อไรจะมาต่อเรื่อง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 10:33

เข้ามาเคี้ยวหมากรอหน้าวิกครับ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 10:43

มานั่งก๋างสาด รอครับ (ภาษาเมืองแพร่ ครับ)
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 10:48

ราชสกุล "อิศรางกูร"

ภาพโดย คุณปิยะสารณ์

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 13:09

ขอเริ่มตั้งต้น ราชสกุลอิศรางกูร ณ อยุธยา ที่สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก  หรือพระพินิจอักษร(ทองดี)  เมื่อสมัยปลายอยุธยา
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ทรงมี พระโอรส-ธิดา กับ พระอัครชายา ผู้เป็นบุตรีเศรษฐีจีน  มีนามว่าดาวเรือง   5 พระองค์ คือ

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี พระนามเดิม สา
    สมเด็จพระเจ้ารามณรงค์ เคยมีบรรดาศักดิ์เป็น ขุนรามณรงค์ พระนามเดิมว่าราม
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระนามเดิม แก้ว
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่1)พระนามเดิม ทองด้วง
    สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระนามเดิม บุญมา

    ท่านแก้วหรือเจ้าฟ้ากรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์  เมื่อครั้งปลายกรุงศรีอยุธยา ได้สมรสกับบุตรชายของเศรษฐีจีน  เชื้อสายเสนาบดีกรุงปักกิ่ง       เมื่อแผ่นดินพระเจ้าเมงไทโจแห่งราชวงศ์หมิงเสียเมืองแก่พวกตาด  (หรือพวกราชวงศ์ชิงในเวลาต่อมา) คนจีนเดิมเกล้าผมมวย  ก็ต้องมาตัดผมมวยทิ้งไว้หางเปียตามพวกตาด     แต่ท่่านเสนาบดีที่ว่า แข็งข้อไม่ยอมทำตาม  ก็เลยตัดสินใจอพยพจากเมืองจีนเดินทางมาถึงสยาม
    เมื่อมาถึงที่นี่ ก็ตั้งถิ่นฐานอยู่ในอยุธยา    แต่งกายแบบจีนอย่างเดิมโดยไม่มีใครห้าม  พระเจ้าแผ่นดินอยุธยาก็มิได้ทรงรังเกียจ  สกุลนี้จึงตั้งรกรากอยู่ในอยุธยาเรื่อยมา   มีลูกหลานซึ่งต่อมาก็คงจะกลืนเข้ากับไทยไปเสียแล้ว  จึงมีชื่อไทยกันหมด  ว่า นวม เอียง ทอง และเงิน   ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลถนนตาล  มีอาชีพค้าขาย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 16:06

  ที่ว่าค้าขาย ก็ไม่ใช่แค่คนค้าคนขายธรรมดา แต่เป็นถึงขั้นเศรษฐีทีเดียว    คำว่าเจ้าขรัวที่นำหน้าเจ้าขรัวเงิน  สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากเจ้าสัว
  
  บรรพบุรุษฝ่ายบิดาของเจ้าขรัวเงินที่มาจากเมืองจีน อาจจะมาแต่งงานกับผู้หญิงไทย หรืออย่างน้อยก็มีเชื้อสายไทย    มารดาของเจ้าขรัวเงินชื่อเรียงเสียงไรในหนังสือที่อ้างมานี้ไม่ได้ระบุไว้   บางทีคุณเพ็ญชมพูหรือคุณ siamese อาจจะบอกได้   รู้แต่ว่าท่านเป็นน้องสาวของท่านผู้หญิงน้อย ภรรยาเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์  ว่าที่โกษาธิบดีหรือเจ้าพระยาพระคลัง
  ตัวเจ้าพระยาชำนาญฯกับท่านผู้หญิงมีบุตรชายคนหนึ่งชื่อนายฤทธิ   ซึ่งได้แต่งงานกับบุนนาค บุตรีพระยาวิชิตณรงค์
  หลักฐานตรงนี้ในหนังสือต่างเล่มกันก็บอกต่างกันไป   เล่มที่อ้างนี้บอกว่าชื่อนายฤทธิ์ แต่อีกเล่มบอกว่าชื่อนายจันทร์ เป็นมหาดเล็กตำแหน่งหลวงฤทธิ์นายเวร   หรือเรียกกันว่าหลวงนายฤทธิ์
  พระยาวิชิตณรงค์เป็นพี่ชายของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช

  ที่เล่าชื่อต่างๆซึ่งเกี่ยวดองเป็นเครือญาติมายืดยาวก็เพราะต่อไป จะมีบทบาทในประวัติศาสตร์สมัยธนบุรีและในรัชกาลที่ 1 กัน  ช่วยจำไว้หน่อยก็ดีค่ะ

   ท่านแก้วกับเจ้าขรัวเงิน มีบุตรชายด้วยกันแล้ว 3 คน ชื่อ   ตัน  ฉิม  ส่วนคนที่สามไม่ทราบชื่อ  เป็นชายถึงแก่กรรมแต่ยังเล็ก   เมื่อกรุงแตก   ท่านแก้วหรือสมเด็จพระศรีสุดารักษ์กำลังตั้งครรภ์บุตรคนที่ 4 ได้ 4 เดือน   ท่านกับเจ้าขรัวเงินหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาไปอยู่ที่อัมพวา ซึ่งเป็นบ้านเดิมของน้องสะใภ้ ภรรยาหลวงยกกระบัตรราชบุรี หรือสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก     ท่านได้คลอดธิดาชื่อบุญรอด    ต่อมาในรัชกาลที่ 2 ก็คือสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 16:29

  หลังจากเสียกรุง คนไทยที่หนีกระจัดกระจายกันไปได้ก็รวมกันเข้าเป็นก๊กใหญ่ๆหลายก๊กด้วยกัน   ทางใต้คือก๊กพระเจ้าพระยานครนรีธรรมราชซึ่งเป็นน้องชายแท้ๆของพระยาวิชิตณรงค์  พ่อตาของหลวงนายฤทธิ์

หลวงฤทธิ์นายเวร หรือ หลวงนายฤทธิ์ จึงพาภรรยา ซึ่งเป็นหลานอาของพระเจ้านครศรีธรรมราชไปพึ่งพาอาศัยที่เมืองนครฯ พระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) ก็ตั้งหลวงนายฤทธิ์เป็นวังหน้ามหาอุปราช เรียกกันว่า ‘อุปราชจันทร์’ บุนนาคผู้ภริยา ได้เป็นเจ้าครอกข้างใน  ธิดาชื่ออำพันของอุปราชจันทร์ก็ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้า

ส่วนเจ้าขรัวเงินและท่านแก้วโยกย้ายจากอัมพวามาอยู่ที่กรุงธนบุรี    เช่นเดียวกับน้องชายทั้งสองคือหลวงยกกระบัตรและท่านบุญมา
ซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นลำดับ    เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯทรงสถาปนากรุงธนบุรีแล้ว เจ้าขรัวเงิน และ ท่านแก้วตระหนักว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินจะต้องเสด็จยกทัพไปปราบนครศรีธรรมราช    เกรงว่าหลวงนายฤทธิ์จะพลอยตายไปกับพระเจ้านครฯ  ท่านทั้งสองจึงลอบเดินเรือลงไปพบหลวงนายฤทธิ์  เกลี้ยกล่อมให้เปลี่ยนใจสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ยังไม่ทันเกลี้ยกล่อมได้สำเร็จ ก็พอดีมีเสียงเล่าลือกันขึ้นในเมืองนครฯ ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้เจ้าขรัวเงินลงมาเกลี้ยกล่อมให้อุปราชจันทร์เป็นไส้ศึก เจ้าขรัวเงินเกรงตนเองและภรรยาจะมีอันตรายจึงรีบลงเรือกลับกรุงธนบุรี

มิช้ามินาน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็เสด็จยกทัพลงไปตีนครศรีธรรมราช ปราบก๊กนี้ลงได้จริงๆ  แต่มิได้ทรงลงพระราชอาญา พระเจ้านครศรีธรรมราช และ อุปราชจันทร์  เนื่องจากทรงเห็นว่าเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก ผู้มีกำลังต่างก็ตั้งตัวเป็นใหญ่ด้วยกันหลายก๊กหลายเหล่า  จะเรียกว่าเป็นกบฏหาได้ไม่
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 16:34

อาจารย์ครับไม่ว่าผมนะครับ ขออนุญาตเสริมอาจารย์นิดหนึ่งครับ
นายฤทธิซึ่งได้แต่งงานกับบุนนาค
นายฤทธิ ก็คือ เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ จันทโรจวงศ์)  อุปราชจันทร์แห่งเมืองนครศรีธรรมราช ต้นสกุล จันทโรจวงศ์ บิดาของเจ้าจอมมารดาอำพันในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 16:50

ด้วยความยินดีค่ะ  ถ้าเห็นตรงไหนพอจะมาร่วมวงได้ก็เชิญเลยค่ะ   ดิฉันจะได้ไม่ต้องเล่าอยู่คนเดียว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 17:02

ขอต่อเรื่องอุปราชจันทร์ ที่คุณ werachaisubhong เริ่มไว้

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โปรดฯให้เจ้าพระยานครฯและอุปราชจันทร์ขึ้นมารับราชการกรุงธนบุรีด้วยกันทั้งสองคน ส่วนเมืองนครฯ โปรดฯให้ พระเจ้าหลานเธอ เจ้านราสุริยวงศ์ เป็นพระเจ้านครฯแทน   เจ้านราฯ ครองเมืองอยู่ ๗ ปี ก็พิราลัย
เจ้าพระยานครฯ และอุปราชจันทร์ เข้ามารับราชการรบทัพจับศึกถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินฯหลายครั้งอย่างเข้มแข็งเป็นที่พอพระราชหฤทัย  จึงโปรดฯให้เจ้าพระยานครฯกลับไปครองเมืองนครศรีธรรมราชตามเดิม เกียรติยศเสมอเมืองประเทศราช

แต่อุปราชจันทร์ซึ่งได้เป็นพระยาอินทรอัครราช ทูลขอรับราชการอยู่ ณ กรุงธนบุรีต่อไป  ท่านได้ถวายคุณอำพันธิดาเป็นพระสนมใน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระองค์เจ้าหญิงพระองค์หนึ่ง คือ พระองค์เจ้าสำลีวรรณ

ต่อมาเมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์และพระราชจักรีวงศ์  โปรดฯให้ยกเลิกฐานะเมืองนครฯเป็นประเทศราช แต่ให้กลับไปเป็นเหมือนครั้งอยุธยา มีเจ้าเมือง ตำแหน่งเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช ปกครอง
ส่วนอุปราชจันทร์ เลื่อนเป็นพระยาสุรินทราชา (จันทร์) ไปกินตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองถลาง
พระองค์เจ้าสำลีวรรณ หลานตาของเจ้าพระยาสุรินทราชา เมื่อสิ้นพระราชวงศ์กรุงธนบุรีแล้วได้เป็นอัครชายาใน สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ มหาเสนานุรักษ์ ‘วังหน้า’ ในรัชกาลที่ ๒ เป็นบรรพสตรี ราชสกุล ‘อิศรเสนา ณ อยุธยา’
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 18:59

ย้อนกลับมาทางท่านแก้ว(สมเด็จกรมพระศรีสุดารักษ์)และเจ้าขรัวเงิน

เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงดำริจะว่าว่างเมื่อใดจะยกทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราช   โดยจะทรงมอบหมายให้เจ้าขรัวเงินเป็นผู้นำทัพนำทาง   เพราะเคยเดินทางไปนครศรีธรรมราชมาก่อน    เจ้าขรัวเงินไม่อยากจะทำงานนี้   จึงบอกป่วยว่าเปนง่อยเสียก่อน ไปไหนมาไหนไม่ได้  จึงไม่ได้ร่วมไปในกองทัพเมื่อยกไปตีนครศรีธรรมราช
ผลจากที่ท่านอ้างว่าเจ็บป่วยเรื่องนี้  จึงไม่ได้ทำราชการเป็นตำแหน่งใดในแผ่นดินธนบุรี   จนกระทั่งถึงแก่กรรมในกลางรัชสมัยธนบุรีนั่นเอง   

เมื่อเปลี่ยนแผ่นดินมาเป็นของราชวงศ์จักรี   พระพี่นางทั้งสองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็เฉลิมพระยศเป็นกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี และกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์   ทั้งสองพระองค์ตามเสด็จเข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง
กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดีมีพระตำหนักอยู่ข้างหลังพระมหามณเฑียร เรียกว่าพระตำหนักใหญ่ ได้ว่าราชการเปนใหญ่ทั่วไปแทบทุกอย่าง  ว่าการวิเศษใน พระคลังเงิน พระคลังทอง แลสิ่งของต่าง ๆ ในพระราชวังชั้นในทั้งหมด
ส่วนกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์  มีพระตำหนักอยู่เบื้องหลังหมู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และพระวิมานรัตยา เรียกว่าพระตำหนักแดง ได้ทรงราชการทรงกำกับเครื่องใหญ่ในโรงวิเศษต้น การสดึง และอื่น ๆ อีกหลายอย่าง

ทั้งกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดีและกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์มีพระชนม์ยืนยาวในรัชกาลที่ ๑  จนทรงพระประชวรพระโรคชรา กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์พระชนมายุ ๖๐ ปีเศษยังไม่ถึง ๗๐ เสด็จทิวงคตลงก่อน
อีก ๓ เดือนเศษ กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดีมีพระชนมายุได้ ๗๐ ปีเศษ ไม่ถึง ๘๐ เสด็จทิวงคต พระศพได้ไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้วยกัน ได้ถวายพระเพลิงพร้อมกัน 
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 26 ต.ค. 12, 09:31

เจ้าขรัวเงินและเจ้าขรัวทองนอกจากเป็นผู้มีฐานมหาเศรษฐีแล้วยังเป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งสองท่านน่าจะเป็นพี่น้องที่มีความรักใคร่ผูกพันกันอย่างใกล้ชิด โดยได้สร้างวัดคู่กันถึง  2 แห่ง ในกรุงธนบุรี แห่งแรกตั้งอยู่ปากคลองแม่น้ำอ้อม (คือคลองบางพรมในปัจจุบัน)
โดยเจ้าขรัวทองได้สร้างวัดกาญจนสิงหาสน์ (วัดทอง) และเจ้าขรัวเงินได้สร้างวัดรัชฎาธิษฐาน (วัดเงิน)อีกแห่งหนึ่งริมคลองบางกอกใหญ่ คือวัดใหญ่ศรีสุพรรณและวัดหิรัญรูจี ดังที่ได้กล่าวมานี้สันนิษฐานว่า วัดที่เจ้าขรัวเงินและเจ้าขรัวทองสร้างขึ้นน่าจะอยู่ในตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือในสมัยกรุงธนบุรี ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นเปลี่ยนนามวัดน้อยบางไส้ไก่ โดยพระราชทานนามใหม่ว่า
วัดหิรัญรูจี ซึ่งมีความหมายตรงกับชื่อของเจ้าขรัวเงินผู้สร้างวัดแห่งนี้ ส่วนเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าขรัวทองไม่ปรากฏรายละเอียด แม้แต่การสืบค้นประวัติของวัดใหญ่ศรีสุพรรณจากคำบอกเล่าของชาวบ้านก็ได้ความว่า ไม่ทราบว่าผู้ใด
เป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้ทราบแต่เพียงว่าผู้น้องเป็นผู้สร้างวัดน้อยบางไส้ไก่และผู้พี่เป็นผู้สร้างวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 26 ต.ค. 12, 16:00

หลักฐานเกี่ยวกับเจ้าขรัวทองหาได้น้อยมาก   ในหนังสือที่นำมาอ้างคือหนังสือ "อิศรางกูรฯ" เล่าไว้สั้นๆว่า เมื่อครั้งรัชสมัยธนบุรี   สมเด็จพระศรีสุดารักษ์และเจ้าขรัวเงินตั้งบ้านเรือนอยู่ที่โรงแพ ตำบลกุฎีจีน   แต่ก็มีหลักฐานอื่นบอกว่าอยู่ที่ตำบลแม่น้ำอ้อม  จังหวัดธนบุรีใต้   ที่ต่อมาคือคลองบางขุนพรหม  แขวงตลิ่งชัน    ส่วนพี่ชายคือเจ้าขรัวทองก็ตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน
ท่านทั้งสองสร้างวัดเงินกับวัดทองขึ้น อย่างที่คุณ werachaisubhong เล่าไว้ข้างบนนี้

ส่วนหลักฐานทางสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ ที่แสดงถึงการใฝ่พระทัยทางศาสนา คือทรงซ่อมแซมบูรณะพระอารามหลวงไว้ ๓ แห่ง
๑  วัดหิรัญรูจี  ริมคลองบางไส้ไก่  ตำบลตลาดพลู  เดิมเป็นวัดโบราณชื่อวัดน้อย ทรงบูรณะร่วมกับพระภัสดา
๒  วัดศรีสุดาราม  ริมคลองบางกอกน้อย   เดิมเป็นวัดโบราณชื่อวัดชีผ้าขาว   ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๑  ล่วงมาถึงรัชกาลที่ ๔  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ พระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดศรีสุดาราม
๓  วัดหงส์รัตนาราม   เดิมชื่อวัดเจ้าสัวหงส์   สันนิษฐานว่าเป็นนามผู้สร้างเดิม     ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้น     ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงปฏิสังขรณ์ร่วมกัน พระราชทานนามว่า วัดหงส์รัตนาราม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 26 ต.ค. 12, 16:35

กรมพระศรีสุดารักษ์ทรงมีพระโอรสธิดา ๖ องค์ด้วยกัน   สิ้นพระชนม์แต่ยังเยาว์องค์หนึ่ง เหลือ ๕ องค์เป็นชาย ๓ หญิง ๒
เมื่อพระบาทพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรี     ก็โปรดเกล้าฯเฉลิมพระยศพระเจ้าหลานเธอพระโอรสธิดาในพระพี่นางขึ้นเป็นเจ้าฟ้าทุกพระองค์    ได้แก่
๑  เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์(เจ้าฟ้าชายตัน) ต้นราชสกุล เทพหัสดิน ณ อยุธยา
๒  เจ้าฟ้ากรมขุนอนัคฆนารี (เจ้าฟ้าหญิงฉิม) องค์นี้ ว่ากันว่าเสียพระจริต
๓  เจ้าฟ้าชาย   สิ้นพระชนม์แต่ยังเยาว์
๔  สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด) พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2  ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
๕  เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าชายจุ้ย)ต้นราชสกุล มนตรีกุล ณ อยุธนา
๖  เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์  (เจ้าฟ้าชายเกศ) ต้นราชสกุลอิศรางกูร ณ อยุธยา
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 27 ต.ค. 12, 09:32

พระโอรสองค์แรก เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์(เจ้าฟ้าชายตัน) ต้นราชสกุล เทพหัสดิน ณ อยุธยา
เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นราชสกุลสายพระปฐมวงศ์ สืบลงมาจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์น้อยแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ มีพระโอรสธิดาเป็นหม่อมเจ้า ตามพระเกียรติยศ โอรสธิดาของเจ้าฟ้า ที่ประสูติแต่มารดาสามัญชน
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ มีหม่อมห้ามผู้นับว่าเป็นหม่อมเอก ชื่อว่า หม่อมผ่อง หม่อมผ่องผู้นี้เป็นธิดาของท่านเจ้าขรัวทอง (หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯรับสั่งเรียกว่า ‘เจ้าข้าวทอง’) ท่านเจ้าขรัวทอง เป็นพี่ยาของท่านเจ้าขรัวเงิน พระชนกของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ หม่อมผ่อง จึงเป็นลูกผู้พี่ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ
ถึงรัชกาลที่ ๖ มีพระราชบัญญัตินามสกุลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จึงโปรดฯ พระราชทานนามสกุลที่สืบสายลงมาจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ว่า ‘เทพหัสดิน’ โดยเอาพระนามกรมข้างหน้าของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ กับ ‘หัสดิน’ ที่แปลว่า ‘ช้าง’ รวมเข้าด้วยกัน เป็นการแปลกกว่าราชสกุลอื่น ซึ่งมักจะมาจากพระนามจริงหรือพระนามกรมแต่อย่างเดียว
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง