เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
อ่าน: 53599 ราชสกุล อิศรางกูร ณ อยุธยา
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 14 พ.ย. 12, 11:02

ขอโทษอย่างสูงเลยนะครับท่านอาจารย์ หม่อมเจ้า ไม่ต้อง ณ อยุธยา ต่อท้าย ผิดพลาดอย่างแรง
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 14 พ.ย. 12, 11:29

เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์ย้อย อิศรางกูร เจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2398 เป็นธิดาในหม่อมเจ้าโสภณ อิศรางกูร พระโอรสในพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเกศ กรมขุนอิศรานุรักษ์ องค์ต้นราชสกุล"อิศรางกูร" ท่านเป็นพระมารดาใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพินทุ์เพ็ญภาคย์ ท่านมีน้องสาว 1 คนที่ได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์มณี อิศรางกูร
เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์ย้อย อิศรางกูร ถึงอสัญกรรม เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2439 สิริอายุ 41 ปี โดยมีอนุสาวรีย์อยู่ที่สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

พระรูป พระองค์เจ้าหญิงอรพินทุ์เพ็ญภาคย์


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 14 พ.ย. 12, 13:53

เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์ย้อย อิศรางกูร เจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2398 เป็นธิดาในหม่อมเจ้าโสภณ อิศรางกูร พระโอรสในพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเกศ กรมขุนอิศรานุรักษ์ องค์ต้นราชสกุล"อิศรางกูร" ท่านเป็นพระมารดาใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพินทุ์เพ็ญภาคย์ ท่านมีน้องสาว 1 คนที่ได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์มณี อิศรางกูร
เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์ย้อย อิศรางกูร ถึงอสัญกรรม เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2439 สิริอายุ 41 ปี โดยมีอนุสาวรีย์อยู่ที่สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

ขออนุญาตแก้อีกข้อหนึ่ง

ประการหนึ่ง  เจ้าจอมและเจ้าจอมมารดาเขียนนามสกุลต่อท้ายชื่อได้ด้วยหรือ  เอาธรรมเนียมมาแต่ไหน
กรุณาอ้างหลักฐานทางราชการที่เชื่อถึงได้มาให้ดูหน่อยซิ

ให้เขียนว่า เจ้าจอม (เจ้าจอมมารดา).......ในรัชกาลที่ ๕

คุณหลวงท่านอยู่ไหนหนอ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 14 พ.ย. 12, 15:05

กระทู้ที่เดินมาถึงค.ห.นี้เป็นการเล่าถึงสมาชิกราชสกุลอิศรางกูร ที่มีบทบาทเป็นที่รู้จักในสังคมไทยทั้งอดีตและปัจจุบัน      

ดิฉันเข้าใจว่าคุณวีระชัยเขียนถึงสตรีในราชสกุลนี้ ที่ต่อมาได้เป็นเจ้าจอมหรือเจ้าจอมมารดาในรัชกาลต่างๆ   แล้วระบุนามสกุลเดิมลงไป เพื่อเป็นบริบทให้คนอ่านเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นว่าท่านมาจากราชสกุลนี้    ดิฉันก็เข้าใจเหตุผล  และไม่ถือเป็นข้อผิดพลาดอย่างคุณเพ็ญชมพูมองเห็น  
ถ้าคุณเพ็ญชมพูจะบอกว่า มีประวัติอยู่ในค.ห.แล้วว่าท่านเป็นลูกหลานใครในราชสกุล ไม่จำเป็นต้องเอ่ยนามสกุลซ้ำอีก  อย่างนี้พอฟังได้

ก็อยากเห็นเหมือนกัน ถึงระเบียบข้อห้ามทางราชการที่ห้ามเอ่ยถึงชื่อเจ้าจอมโดยมีนามสกุลเดิมต่อท้าย    มีอยู่ในราชกิจจาฯหรือไร คุณเพ็ญชมพูช่วยนำมาให้ดูหน่อยได้ไหม  เผื่อจะใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างถูกต้องต่อไป
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 14 พ.ย. 12, 18:02

ดิฉันเข้าใจว่าคุณวีระชัยเขียนถึงสตรีในราชสกุลนี้ ที่ต่อมาได้เป็นเจ้าจอมหรือเจ้าจอมมารดาในรัชกาลต่างๆ   แล้วระบุนามสกุลเดิมลงไป เพื่อเป็นบริบทให้คนอ่านเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นว่าท่านมาจากราชสกุลนี้    ดิฉันก็เข้าใจเหตุผล  และไม่ถือเป็นข้อผิดพลาดอย่างคุณเพ็ญชมพูมองเห็น  

ผู้ที่ระบุนามสกุลเดิมลงไปน่าจะเป็น คุณวิกกี้  อ่านที่คุณวิกกี้เขียนคงเชื่อทั้งหมดไม่ได้ ต้องเอามากรองเสียก่อน

ก็อยากเห็นเหมือนกัน ถึงระเบียบข้อห้ามทางราชการที่ห้ามเอ่ยถึงชื่อเจ้าจอมโดยมีนามสกุลเดิมต่อท้าย   มีอยู่ในราชกิจจาฯหรือไร คุณเพ็ญชมพูช่วยนำมาให้ดูหน่อยได้ไหม  เผื่อจะใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างถูกต้องต่อไป

ตัวอย่างนี้น่าจะพอใช้ได้

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 14 พ.ย. 12, 18:17


ก็อยากเห็นเหมือนกัน ถึงระเบียบข้อห้ามทางราชการที่ห้ามเอ่ยถึงชื่อเจ้าจอมโดยมีนามสกุลเดิมต่อท้าย    มีอยู่ในราชกิจจาฯหรือไร คุณเพ็ญชมพูช่วยนำมาให้ดูหน่อยได้ไหม  เผื่อจะใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างถูกต้องต่อไป


คงคล้ายๆ กับธรรมเนียม เรียกนามหม่อมเจ้า ตามด้วยนามกรมของพระบิดา เช่น หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ธรรมเนียมนี้เพิ่งมาเลิกเอาเมื่อรัชกาลที่ ๗ แล้วใช้นามสกุลต่อท้ายแทน เป็น หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 14 พ.ย. 12, 18:55

หมายความว่าเป็นธรรมเนียม ไม่ใช่ระเบียบราชการ หรือคะ?
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 14 พ.ย. 12, 21:53

การออกพระนามหม่อมเจ้าแล้วต่อด้วยพระนามพระบิดานั้น  เป็นเพราะกเมื่อรัชกาลที่ ๖ โปรดให้มีนามสกุลแล้ว  แต่ทรงถือว่า
หม่อมเจ้าเป็นพระราชวงศ์ซึ่งนับเนื่องในพระบรมราชวงศ์  จึงมิได้ทรงกำหนดให้ใช้นามสกุล  จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ ที่โปรดเกล้าฯ
ให้ออกประกาศให้หม่อมเจ้าใช้นามสกุล  ส่วนการออกนามเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ในรัชกาล... นั้น  เป็นพระราชนิยมใน
รัชกาลที่ ๖ ที่คงถือปฏิบัติต่อเนื่องมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง