เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 34434 กัปตันเอมซ์ นายตำรวจแบบยุโรปคนแรกของสยาม
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 00:34

ผมชอบอ่านกระทู้ของคุณลุงเนาวรัตน์เพราะได้ความรู้เยอะมาก
กระทู้นี้ก็สนุก เพียงแต่ว่า.... เพียงแต่ว่าตำแหน่งของป้อมปืนทำให้เกิดความสับสน จนีู้สึกว่าอ่านแล้ว "ไม่ทะลุ"
คงต้องมาช่วยกันทำความกระจ่างชัดในเรื่องนี้
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 00:54

๒ ตั้งอยู่ที่ปัจจุบันเป็นที่ทำการเขตสัมพันธวงศ์ เดิมเป็นอำเภอซึ่งปกครองสำเพ็งทั้งหมด หมายความว่า ก่อนจะตัดถนนเยาวราชขึ้นนั้น เมืองจีนทั้งย่านโดยมีตรอกที่เดี๋ยวนี้ชื่อว่าถนนวานิช๑ และถนนวานิช๒เป็นแกนกลาง เขาเรียกรวมกันว่าสำเพ็ง ไม่ใช่หมายถึงแค่ตรอกสำเพ็งตามที่ทุกวันนี้เราเข้าใจกัน
 
ตามประวัติระบุว่าที่ทำการอำเภอสร้างทับไปบนตัวป้อมปิดปัจจานึกพอดี เป็นการประหยัดเงินงบประมาณไม่ต้องถมที่


รูปของที่ว่าการเขตสัมพันธวงศ์ที่คุณลุงกรุณานำมาประกอบนี้เป็นรูปของที่ว่าการใหม่ (ประมาณ 30-40ปีเห็นจะได้)
ที่ว่าการเดิมนั้นไม่ได้ตรงตำแหน่งในปัจจุบัน แต่อยู่ตรงบริเวณถนนโยธา1 (ถ้าดูจาก GoogleMap) อาคารเดิมเป็นอาคารไม้สองชั้น ตัวอาคารหันหน้าไปทางด้านทิศเหนือ (มิใช่ทิศตะวันออกดังเช่นอาคารปัจจุบัน) ด้านหน้าอาคารหลังเดิมจะมีสนามฟุตบอลขนาดย่อมๆแต่กว้างขวางพอให้เด็กละแวกนั้นเตะฟุตบอลได้ (แต่ต้องคอยเลี้ยงหลบเสาธง)
ด้านหลังอาคารที่ว่าการอำเภอสัมพันธวงศ์เป็นคูนำ้เล็กๆและมีบ้านของพ่อบ้านที่ดูแลอำเภออาศัยอยู่ รวมทั้งในสมัยก่อนบริเวณหลังอำเภอในบริเวณนั้นก็จะมีลานโล่ง และมีเสาไม้สูงมีวิทยุอยู่ข้างบน (เข้าใจว่าจะคล้ายหอกระจายข่าว)
ที่คลาสสิคคือหน้าที่ว่าการอำเภอติดกับถนนจะมีรั้วไม้ทาสีขาวเตี้ยกั้นพองาม ชาวบ้านละแวกนั้นชอบไปนั่งกินอาหารเย็นในสนามหญ้าของอำเภอ
อาคารหลังเก่าสวยมากเพราะทางเดินขึ้นขั้นสิงอยู่ด่านหน้าและนอกอาคาร ขึ้นได้สองข้าง สง่ามั๊กๆ

อาคารเดิมถูกไฟไหม้จึงได้มีอาคารสร้างใหม่ในตำแหน่งปัจจุบัน
ตำแหน่งของอาคารปัจจุบันแต่เดิมนั้นเป็นที่ที่โล่งๆมีบ้านไม้หลังเตี้ยๆอยู่ แต่มิได้มีป้อมอะไรในละแวกนั้น
ถ้าเป็นดังที่คุณลุงเนาวรัตน์ว่า ก็ไม่น่าจะหมายถึงตำแหน่งของอาคารสำนักงานเขตในปัจจุบัน อาจจะเป็นที่ว่าการเก่า

อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาแล้วทั้งสองตำแหน่งก็อาจไม่เหมาะที่จะเป็นตำแหน่งของป้อมปืนยิงสลุตเพราะจะมีตัวโบสถ์วัดกาลหว่าร์บังแม่น้ำอยู่

หมายเหตุ: บ้านเดิมของผมอยู่ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอเก่าครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 07:07

๒ ตั้งอยู่ที่ปัจจุบันเป็นที่ทำการเขตสัมพันธวงศ์ เดิมเป็นอำเภอซึ่งปกครองสำเพ็งทั้งหมด หมายความว่า ก่อนจะตัดถนนเยาวราชขึ้นนั้น เมืองจีนทั้งย่านโดยมีตรอกที่เดี๋ยวนี้ชื่อว่าถนนวานิช๑ และถนนวานิช๒เป็นแกนกลาง เขาเรียกรวมกันว่าสำเพ็ง ไม่ใช่หมายถึงแค่ตรอกสำเพ็งตามที่ทุกวันนี้เราเข้าใจกัน
 
ตามประวัติระบุว่าที่ทำการอำเภอสร้างทับไปบนตัวป้อมปิดปัจจานึกพอดี เป็นการประหยัดเงินงบประมาณไม่ต้องถมที่




อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาแล้วทั้งสองตำแหน่งก็อาจไม่เหมาะที่จะเป็นตำแหน่งของป้อมปืนยิงสลุตเพราะจะมีตัวโบสถ์วัดกาลหว่าร์บังแม่น้ำอยู่


วัดกัลว่าร์ ได้รับพระราชที่ดินให้สร้างโบสถ์ในรัชกาลที่ ๓ ด้วยอาคารไม้ธรรมดา และมาก่อสร้างเป็นอาคารทรงฝรั่งแบบโกธิกใหญ่โตเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งหมายว่า การใช้งานในป้อมต่าง ๆ ไม่ได้ใช้งานแล้ว บางป้อมทิ้งโทรมครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 08:24

^
โบสถ์แม่พระลูกประคำ(กาลหว่าร์) ตั้งอยู่ที่ซอยวานิช 2 ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ มีประวัติความเป็นมาดังนี้
เมื่อปี ค.ศ.1786 (พ.ศ. 2329)  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯได้พระราชทานที่ดินให้สร้างโบสถ์หลังแรก ซึ่งทำด้วยไม้ยกพื้นสูงเพื่อหนีน้ำท่วมที่มีประจำบริเวณนี้

ในปี ค.ศ.1839 (พ.ศ. 2382)  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ปีเดียว ทางวัดได้สร้างโบสถ์หลังใหม่ขึ้นแทนหลังเดิม โดยตั้งชื่อว่า วัดแม่พระลูกประคำ แต่ชาวจีนยังคงเรียกว่า วัดกาลหว่าร์
 
โบสถ์หลังที่ 3 (หลังปัจจุบัน) ซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบโกธิค เริ่มสร้างปี ค.ศ.1891(พ.ศ. 2434) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ แล้วเสร็จในปี 1897(พ.ศ. 2440)

ซึ่งในปีที่เริ่มสร้างโบสถ์วัดกาลหว่าร์ที่เราเห็นในทุกวันนี้นั้น ตัวป้อมปิดปัจจานึกคงถูกรื้อลงเรียบร้อยแล้ว
เราไม่ทราบได้เลยว่าก่อนรื้อลงนั้น ป้อมถูกสร้างค้างคาไว้ในลักษณะใด รวมทั้งไม่เคยเห็นโบสถ์วัดกาลหว่าร์หลังเดิมว่าตั้งอยู่ตรงไหน สูงต่ำเท่าใด ขวางทางปืนของป้อมหรือไม่ด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 08:27

อย่างไรก็ดี ท่านก็ไม่ได้ยิงสลุตที่ป้อมนี้ อาจเกรงใจบาทหลวงและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดก็ได้ จึงไปยิงที่ป้อมฮึกเหี้ยมหาญถัดขึ้นไปอีกหน่อยนึง ซึ่งเป็นป้อมที่สร้างไว้เฉพาะกิจการยิงสลุตโดยเฉพาะ

ตำแหน่งของป้อมฮึกเหี้ยมหาญ ผมมิได้นั่งเทียนเดาขึ้น และกำหนดไปตามหลักฐานที่บอกว่าอยู่ที่ใกล้โรงกระทะ  คำว่าโรงกระทะนี้ เป็นชื่อตรอกอยู่บริเวณสำเพ็ง มาจากสมญานามของพระยาอินทรอากร ผู้เป็นนายอากรบ่อนเบี้ยผูกขาดเก็บภาษีให้หลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และมีอาชีพค้าสำเภากับเมืองจีนจนร่ำรวย มีบริวารบ่าวไพร่มากมาย ขนาดต้องตั้งโรงครัวหุงข้าวด้วยกระทะขนาดยักษ์เรียงๆกันหลายเตาเพื่อให้พอเลี้ยงลูกน้อง จนได้สมญานามว่าเจ้าสัวเตากระทะ

พระยาอินทรอากรได้ถวายธิดาสาวคนหนึ่งชื่ออำภา ได้เป็นเจ้าจอมมารดา มีพระราชโอรสและพระราชธิดาถึง ๖ พระองค์ หนึ่งในนั้นคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ หรือพระองค์เจ้าชายปราโมช ต้นราชสกุลที่ไม่ธรรมดาเลยทีเดียวในเมืองไทย (ถึงตรงนี้พลอยทำให้ผมนึกออกได้ว่า ทำไมหม่อมเจ้าฉวีวาด ท่านจึงหาเรือสำเภาขนละครหนีไปเขมรได้ง่ายๆเมื่อต้นรัชกาลที่๕)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 08:28

ส่วนเขตสัมพันธวงศ์นั้น รูปของอาคารที่มาแสดงไว้ผมไม่ได้ตั้งใจเจาะจงว่าป้อมปิดปัจจานึงตั้งอยู่ตรงตึกนี้เป๊ะ แต่อยู่ในพื้นที่ที่เคยเป็นที่ว่าการอำเภอสัมพันธวงศ์ ณ จุดใดจุดหนึ่ง เวลาผมกำหนดจุดในกูเกิลแมป ก็บังเอิญอยู่ในบริเวณเดียวกับที่คุณสุจิตราว่าไว้ แต่พอซูมออกไปแล้วมันคล่อมไปหมด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 08:36

อย่างที่ผมเขียนไปแล้ว ป้อมตามแนวของคลองผดุงกรุงเกษม มีจุดประสงค์ในการวางผังไว้สำหรับป้องกันการล้อมเมืองบนบกเป็นส่วนใหญ่ นอกจากป้อมที่อยู่ริมแม่น้ำเท่านั้นที่อาจจะได้ต่อสู้กับเรือข้าศึก ทางเหนือท่านวางไว้ป้อมเดียวตรงปากคลอง ทางใต้ท่านวางไว้สอง อยู่คนละฟากฝั่งแม่น้ำ ตรงปากคลองสารชื่อป้อมป้องปัจจามิตร ถ้าจะมีอีกป้อมหนึ่งตรงข้ามฝั่งคลองผดุงกรุงเกษมตรงโรงแรมรอยัลออคิด คงบังจะทางปืนกันเอง เพราะถ้าเรือข้าศึกเข้ามาจริงคงซัลโวตั้งแต่โผล่คุ้งน้ำแล้ว ไม่ต้องรอจนเข้ามาตรงหน้าจนตรงกับวัดกาลหว่าร์ดอกครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 09:01

ถ้าสองป้อมยิงประสานกัน จะเป็นแนวนี้ละครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 09:32

^
โบสถ์แม่พระลูกประคำ(กาลหว่าร์) ตั้งอยู่ที่ซอยวานิช 2 ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ มีประวัติความเป็นมาดังนี้
เมื่อปี ค.ศ.1786 (พ.ศ. 2329)  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯได้พระราชทานที่ดินให้สร้างโบสถ์หลังแรก ซึ่งทำด้วยไม้ยกพื้นสูงเพื่อหนีน้ำท่วมที่มีประจำบริเวณนี้

ในปี ค.ศ.1839 (พ.ศ. 2382)  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ปีเดียว ทางวัดได้สร้างโบสถ์หลังใหม่ขึ้นแทนหลังเดิม โดยตั้งชื่อว่า วัดแม่พระลูกประคำ แต่ชาวจีนยังคงเรียกว่า วัดกาลหว่าร์
 
โบสถ์หลังที่ 3 (หลังปัจจุบัน) ซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบโกธิค เริ่มสร้างปี ค.ศ.1891(พ.ศ. 2434) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ แล้วเสร็จในปี 1897(พ.ศ. 2440)

ซึ่งในปีที่เริ่มสร้างโบสถ์วัดกาลหว่าร์ที่เราเห็นในทุกวันนี้นั้น ตัวป้อมปิดปัจจานึกคงถูกรื้อลงเรียบร้อยแล้ว
เราไม่ทราบได้เลยว่าก่อนรื้อลงนั้น ป้อมถูกสร้างค้างคาไว้ในลักษณะใด รวมทั้งไม่เคยเห็นโบสถ์วัดกาลหว่าร์หลังเดิมว่าตั้งอยู่ตรงไหน สูงต่ำเท่าใด ขวางทางปืนของป้อมหรือไม่ด้วย


ป้อมปิดปัจจนึก ยังคงอยู่เรื่อยมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๒ ครับผม ยืนยันด้วยแผนที่ป้อมปิดปัจนึกและโบสถ์วัดกัลวาร์


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 09:37

แผในที่ป้อมปิดปัจนึก และบริเวณใกล้เคียง สมัยร.ศ. ๑๑๕


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 09:45



ซึ่งในปีที่เริ่มสร้างโบสถ์วัดกาลหว่าร์ที่เราเห็นในทุกวันนี้นั้น ตัวป้อมปิดปัจจานึกคงถูกรื้อลงเรียบร้อยแล้ว



และแผนที่ พ.ศ. ๒๔๗๕ ยังคงปรากฎป้อมปิดปัจนึก (หมายเลข ๑๖๘) ส่วนอาคารหมายเลข ๑๖๕ คือ โบสถ์วัดกัลวาร์ ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 09:52


 
โบสถ์หลังที่ 3 (หลังปัจจุบัน) ซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบโกธิค เริ่มสร้างปี ค.ศ.1891(พ.ศ. 2434) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ แล้วเสร็จในปี 1897(พ.ศ. 2440)



ภาพนี้เป็นภาพถ่ายเมื่อโบสถ์กำลังทาสีจวนก่อสร้างเสร็จแล้ว นั่งร้านยังคงอยู่ แต่ไม่เห็นโครงสร้างของป้อมปัจจนึกซึ่งอยู่ด้านหลัง ถูกบดบังด้วยอาคารและพุ่มไม้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 10:11

ท่านผู้มีเอกสารอยู่ในกำมือ ท่านไม่มีแผนที่ตรงปลายตรอกโรงกระทะหรือครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 10:32

ท่านผู้มีเอกสารอยู่ในกำมือ ท่านไม่มีแผนที่ตรงปลายตรอกโรงกระทะหรือครับ

มีครับ พิจารณาดูนะครับผม ไม่มีป้อม ไม่มีอะไรนอกจากบ้านเรือน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 15:17

นายเออร์เนสต์ ยัง( Ernest Young )ชาวอังกฤษผู้เขียนหนังสือเรื่อง " ราชอาณาจักรแห่งจีวรเหลือง " ( The Kingdom of The Yellow Robe ) ในปีพ.ศ. 2441 ได้บรรยายถึงภาพลักษณ์ของพลตระเวน หรือโปลิศในสมัยนั้นว่า “ ..ตำรวจส่วนใหญ่เป็นคนไทย แต่งตัวสง่าสู้บุรุษไปรษณีย์ไม่ได้ ตำรวจใช้เครื่องแบบสีน้ำเงิน ตั้งใจเลียนแบบตำรวจกรุงลอนดอน แต่ผ้าที่ใช้สีตกและหดทำให้ดูตลก ตำรวจชอบถือร่ม ชอบถลกขากางเกงเหนือเข่า ไม่สวมรองเท้า สวมหมวกยู่ยี่ แม้ไม่มีบุคลิกน่าเกรงขาม แต่ก็ไม่ถูกต่อต้านจากผู้จับกุม มักเห็นตำรวจโทรมๆ เหล่านี้นำผู้ต้องหาสามสี่คนเดินไปโรงพัก ให้ผูกข้อมือไพล่หลังด้วยผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าขะม้าของผู้ต้องหาเอง”

The Kingdom of The Yellow Robe หน้า ๑๘

Most of the policemen are Siamese, but their appearance is always a decided contrast to that of the neatly clad postmen. Their uniforms, made of blue cloth, are intended to be reproductions of those worn by their London brethren. But as they are made of a cloth that rapidly shrinks and fades, a caricature rather than an imitation is the result. They are partial to umbrellas, roll  their trousers above their knees, wear no shoes, and seem to revel in the possession of battered helmets. There is nothing whatever in thdr bearing that is characteristic of authority, neither are they men of great stature or commanding strength. Yet they seldom meet with any resistance in the exercise of their duties, and it is a common sight to see a puny-looking policeman leading three or four natives to the police-station, each prisoner being merely fastened by the arm to the one behind, with his own scarf or pocket-handkerchief.

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 20 คำสั่ง