เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 34287 กัปตันเอมซ์ นายตำรวจแบบยุโรปคนแรกของสยาม
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 07:46


อยากให้คุณหนุ่มสยามช่วยหาว่า ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ ที่โรงพักแห่งแรกตั้งอยู่ใกล้ๆนั้น อยู่ที่ไหนของสำเพ็งด้วยน่ะครับ


เข้ามาดูแล้วพบว่า กองตะเวนตั้งอยู่ช่วงบริเวณใกล้สะพานทิพยเสถียรในปัจจุบันนี้ ซึ่งพิกัดอยู่หน้าป้อมปิดปัจนนึก ซึ่งเป็นพิกัดที่ออกตะเวนง่ายคือ ขึ้นเหนือก็เหมาสำเพ็งทั้งสาย ลงใต้ก็ถนนเจริญกรุงทั้งเส้นได้สบาย ๆ เป็นระยะกึ่งกลางสะดวกครับ

ทั้งนี้แนบแผนที่ตั้งกองตะเวนให้พิจารณาครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 08:33

^
ขอบคุณครับ
ก็คงใช่โรงพักนึงแหละ แต่ไม่ใช่โรงพักแรกที่ตั้งอยู่ใกล้โรงกระทะและป้อมฮึกเหี้ยมหาญ บริเวณสำเพ็ง

ป้อมที่ว่ามีชื่ออยู่ในรายชื่อป้อมเมืองกรุงเทพ คุณเพ็ญชมพู(ขออนุญาตพาดพิงโดยเจตนา)เคยเอามาลงไว้ด้วย แต่ผมหาแผนที่ไม่ได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 08:36

ผมพยายามหาภาพพลตระเวนที่ว่าเป็นชาวอินเดียโพกผ้าอยู่นาน มาเห็นตรงนี้เอง ไม่ชัดแจ๋วแต่ก็พอไหวนะครับ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 09:17

กิจการตำรวจนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ คำว่าตำรวจแผลงมาจากตรวจ เพราะมีหน้าที่ตรวจตรา คงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยด้วยซ้ำ แต่หลักฐานมาปรากฏในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าฯให้ตราระเบียบการปกครองบ้านเมืองออกสองฝ่าย คือ ฝ่ายทหารทั้งปวง มีสมุหกลาโหม(เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์)เป็นหัวหน้า และฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายก(เจ้าพระยาเสนาบดี)เป็นหัวหน้า จตุสดมภ์ได้แก่ เวียง(พระนครบาล) วัง(พระธรรมาธิกรณ์) คลัง(พระโกษาธิบดี) นา(พระเกษตรธิการ)
 
ตำรวจสมัยโบราณส่วนหนึ่งสังกัด“วัง” เรียกว่าตำรวจหลวง ซึ่งคัดเลือกมาจากผู้มีเชื้อสายของผู้จงรักภักดี ถือเป็นข้าราชบริพารรับใช้ใกล้ชิด นอกจากตำรวจหลวงรักษาพระองค์และถวายความปลอดภัยพระราชวงศ์แล้ว ยังมีตำรวจอีกส่วนหนึ่งเรียกว่าตำรวจเวียง หรือนคราภิบาลมีหน้าที่รักษาความสงบ จับกุม ปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายทั่วไป พวกนี้สังกัดอยู่กับ“เวียง” 


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 09:19

ภายใต้ระบบจตุสดมภ์ดังกล่าว อำนาจบังคับบัญชาในแต่ละอาณาเขตยังก้าวก่ายกันมากอยู่ เช่น ในเมืองหลวงและหัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในความปกครองของสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความปกครองของสมุหกลาโหม แต่หัวเมืองชายทะเลอยู่ในความปกครองของพระคลังผู้ดูแลกรมท่าเป็นต้น กรมพระตำรวจในยุคนั้นนอกจากจะขึ้นอยู่กับฝ่ายต่างๆที่กล่าวมา ตามหัวเมืองต่างๆ ตำรวจยังมีหลวงเมืองเป็นหัวหน้าขึ้นตรงต่อเจ้าเมือง และเจ้าเมืองต่างก็ดำเนินการในเขตการปกครองของตนเป็นเอกเทศตามนโยบายของต้นสังกัดอีกทีหนึ่ง

กิจการตำรวจยังคงรูปแบบเดิมๆนี้มาจนกระทั่งได้รับการปฏิรูปครั้งสำคัญภายหลังการเข้ามาของเซอร์จอห์น บาวริง ในสมัยรัชกาลที่สี่ เมื่อสยามทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศตะวันตกแล้ว ในเรื่องอันเกี่ยวกับ“สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ที่อารยะประเทศไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมแบบไทยๆ สยามจึงจำเป็นต้องว่าจ้างกัปตันเอมซ์ หรือหลวงรัฐยาภิบาลบัญชา มาเป็นผู้วางแบบแผนจัดตั้งกองตำรวจอย่างยุโรปเรียกว่ากองโปลิสคอนสเตเบิล ขึ้นอยู่กับกรมพระนครบาล แต่ขอบเขตการปฏิบัติการก็ยังจำกัดอยู่แต่ในเขตกรุงเทพชั้นใน ที่ชาวยุโรปและชาวเอเซียในบังคับของกงสุลชาติต่างๆอยู่กันหนาแน่นเท่านั้น เพราะคดีที่เกี่ยวข้องกับคนเหล่านี้อยู่นอกอำนาจศาลไทย ต้องส่งจำเลยไปขึ้นศาลกงสุล สำหรับคนไทยก็ส่งไปขึ้นศาลไทยตามเดิม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 09:21

ช่วยอีกภาพ จะชัดขึ้นไหม  ฮืม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 09:23

^
โอ้ชัด ขอบคุณครับ

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ห้า เมื่อกัปตันเอมซ์เกษียณอายุไปแล้ว ได้ทรงว่าจ้างกัปตันกูสตาฟ เชาว์(Captain Gustav Schau)ชาวเดนมาร์กมาเป็นผู้วางโครงการต่อเพื่อขยายกิจการของกองโปลิส และเขตรักษาการกว้างขวางออกไปเป็นลำดับ เพื่อให้คุ้มครองคนไทยทั่วไปได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น มีการจัดตั้งโรงพักพลตระเวนขึ้นในพระนคร นอกพระนคร และฟากกรุงธนบุรี รวมกันทั้งหมดถึง๖๔โรงพัก บางโรงพักก็ตั้งอยู่บนแพ มีหน้าที่ลาดตระเวนรักษาแม่น้ำลำคลอง เช่น โรงพักปากคลองสาน โรงพักปากคลองบางกอกใหญ่เป็นต้น
ในต่างจังหวัดก็มีจัดตั้งตำรวจภูธรขึ้นด้วยในรูปทหารโปลิสในปี พ.ศ.2419 ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมกองตระเวนหัวเมือง จนถึงปี พ.ศ.2440 ได้ตั้งเป็นกรมตำรวจภูธรขึ้นในสังกัดกระทรวงมหาดไทยแทน โดยมีนายพลตรี พระยาวาสุเทพ (กูสตาฟ เชาว์) เป็นเจ้ากรม ใช้กฎหมายเกณฑ์คนเข้าเป็นตำรวจเช่นเดียวกับทหาร

เมื่อถึงรัชกาลที่หก จึงโปรดเกล้าฯให้รวมกรมตำรวจภูธรกับกรมพลตระเวนเข้าเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า “กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวน” สังกัดกระทรวงนครบาลเมื่อวันที่13 ตุลาคม พ.ศ.2458


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 09:29

นายพลตรี พระยาวาสุเทพ (กูสตาฟ เชาว์) ฝรั่งดีอีกคนหนึ่งของสยาม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 11:46

ป้อมที่ว่ามีชื่ออยู่ในรายชื่อป้อมเมืองกรุงเทพ คุณเพ็ญชมพู(ขออนุญาตพาดพิงโดยเจตนา)เคยเอามาลงไว้ด้วย แต่ผมหาแผนที่ไม่ได้


จาก ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๕ เรื่องสถานที่แลวัดถุซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๔

๓๒ ขุดคลองแลทำถนนในจังหวัดพระนคร ๑ คลองผดุงกรุงเกษม เมื่อปีกุญ พ.ศ. ๒๓๙๔ โปรดให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหมเปนแม่กอง ให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ( วร ) เปนนายงานขุด คลองแต่ลำแม่น้ำที่ใต้วัดเทวราชกุญชรผ่านคลองมหานาคไปออกแม่น้ำ ที่เหนือวัดแก้วแจ่มฟ้าคลอง๑ ๑ เปนคูพระนครชั้นนอกกว้าง ๑๐ วาลึก ๖ ศอก ยาว ๑๓๗ เส้น ๑๐ วาสิ้นค่าจ้างขุดเปนเงิน ๒๗,๕๐๐ บาท สำเร็จในปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๗ ได้เปิดคลองเมื่อ ณ วันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรม ค่ำ ๑ พระราชทานนามว่า คลองผดุงกรุงเกษม แลมีงานมโหรศพ ฉลอง ๓ วัน ต่อมาโปรดให้สร้างป้อมตามแนวคลองเปนระยะห่างกันประมาณ ๑๒ เส้น รวม ๘ ป้อม คือ ๑ ป้อมป้องปัจจามิตร อยู่ฝั่งตวันตกที่ปากคลองสาร ๒ ป้อมปิดปัจนึก อยู่ที่ปากคลองผดุง ฯ ข้างใต้ ๓ ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ ๔ ป้อมผลาญไพรีราบ อยู่ตรงตลาดหัวลำโพง ๕ ป้อมปราบสัตรูพ่าย อยู่ที่ริมวัดพลับพลาไชย  ๖ ป้อมทำลายแรงปรปักษ์ อยู่ตรงมุมถนนหลานหลวง ๗ ป้อมหักกำลังดัษกร อยู่ตรงถนนราชดำเนิน ๘ ป้อมพระนครรักษา อยู่ริมวัดนรนารถ ๑ วัดแก้วแจ่มฟ้า เดิมอยู่ตรงหลังธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ ย้ายไปอยู่ถนนสี่พระยา เมื่อ ในรัชกาลที่ ๕

๓๓ (ป้อม ๘ ป้อมนั้นสร้างไม่ทันแล้วหมด ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อเขตรพระนครขยายต่อออกไปอิก ป้อมเหล่านั้นไม่เปนประโยชน์ดังแต่ก่อน จึงโปรดให้รื้อเอาที่สร้างสถานที่ต่าง ๆ โดยมาก ยังเหลืออยู่เวลานี้แต่ป้อมป้องปัจจามิตรข้างฝั่งตวันตกที่ปากคลองสาร กับป้อมปิดปัจนึก ข้างฝั่งตวันออกที่ปากคลองผดุง ฯ ข้างใต้ ๒ ป้อมเท่านั้น)

ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ อยู่ใกล้กับป้อมปิดปัจจนึก เป็นป้อมสำหรับยิงคำนับแขกเมือง (ภายหลังรื้อแล้ว)

พ.ศ. ๒๔๒๙ ไฟไหม้ไปถึงวัดญวน ตลาดน้อย ไปหยุดลงที่ป้อมปิดปัจจนึก



โรงโปลิศใกล้ป้อมฮึกเหี้ยมหาญที่คุณนวรัตนหา อาจจะเป็นโรงเดียวกับโรงที่อยู่ใกล้ป้อมปิดปัจจนึกก็เป็นได้

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 11:50

^
อุ อุ ๒ เสียงแล้วนะครับ อ.NAVARAT.C   ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 13:56

^
อุ อุ ๒ เสียงแล้วนะครับ อ.NAVARAT.C   ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ข้อมูลจากหนังสือ ลิ้นชักภาพเก่า ระบุว่า ป้อมอึกเหี้ยมหาญ ไม่ได้สร้าง ครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 15:39

แล้วตรอกกระทะที่ติดกับตรอกพระยาไกรอยู่ที่ไหนครับ ถ้าอยู่ใกล้ๆกับป้อม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 16:01

แล้วตรอกกระทะที่ติดกับตรอกพระยาไกรอยู่ที่ไหนครับ ถ้าอยู่ใกล้ๆกับป้อม

อยู่หลังตลาดน้อย ถนนทรงวาดครับ ตรอกโรงกะทะ เปลี่ยนชื่อในนาม "ถนนเยาวพานิช" ครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 16:45

^ นั่นแหละครับ ต้องคลำทางจากตรงนั้น
ตรอกโรงกระทะก็คุ้นหูผมมากในสมัยเด็กๆ แต่ตอนนี้ยังนึกไม่ออกว่าอยู่ตรงไหนอยู่ดี

อ้างถึง
พ.ศ. ๒๔๒๙ ไฟไหม้ไปถึงวัดญวน ตลาดน้อย ไปหยุดลงที่ป้อมปิดปัจจนึก
โรงพักแรก ตั้งในปี๒๔๐๓ ห่างกันกับข่าวนี้ถึง๒๖ปี กองโปลิศคงขยายไปตั้งโรงพักที่ป้อมปิดปัจจนึกด้วยแล้ว แต่ที่นั่นไม่ใช่โรงพักแห่งแรกแน่นอน
ป้อมปิดปัจจนึกจากแผนที่ของคุณหนุ่ม ผมดูแล้วเห็นว่าอยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษมตรงหัวมุมถนนเจริญกรุงมาชนกับถนนกรุงเกษมและถนนไมตรีจิต ที่บอกว่า “ขึ้นเหนือก็เหมาสำเพ็งทั้งสาย ลงใต้ก็ถนนเจริญกรุงทั้งเส้นได้สบาย ๆ เป็นระยะกึ่งกลางสะดวก” ก็คงไม่ใช่ จากป้อมปิดปัจจนึก กว่าจะไปถึงสำเพ็งต้องผ่านเยาวราชไปทั้งสาย เกือบสองกิโลเมตร ถ้าจับนักวิ่งราวได้คนนึงกว่าจะลากตัวมาโรงพักคงเหนื่อยแย่ สมัยนั้นยังไม่มีฉลามบกใช้นะคุณน้อง

ส่วนป้อมฮึกเหี้ยมหาญ แม้อาจจะสร้างไม่เสร็จคงค้างไว้แค่ไหนก็ตาม คนก็คงเรียกตามชื่อนั้น อาจเป็นเพียงจุดอ้างอิงที่โรงพักไปตั้งใกล้ๆที่นั่น บังเอิญผมหาแผนผังไม่ได้ว่า โบราณกำหนดจะสร้างไว้ที่ไหน รู้แต่ว่าใกล้ตรอกโรงกระทะเหมือนกัน


บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 17:42

ขอแก้ไขครับ  ....คนละเรื่องเดียวกัน อายจัง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง