เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 34430 กัปตันเอมซ์ นายตำรวจแบบยุโรปคนแรกของสยาม
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 19:42

^
โบสถ์แม่พระลูกประคำ(กาลหว่าร์) ตั้งอยู่ที่ซอยวานิช 2 ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ มีประวัติความเป็นมาดังนี้
เมื่อปี ค.ศ.1786 (พ.ศ. 2329)  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯได้พระราชทานที่ดินให้สร้างโบสถ์หลังแรก ซึ่งทำด้วยไม้ยกพื้นสูงเพื่อหนีน้ำท่วมที่มีประจำบริเวณนี้

ในปี ค.ศ.1839 (พ.ศ. 2382)  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ปีเดียว ทางวัดได้สร้างโบสถ์หลังใหม่ขึ้นแทนหลังเดิม โดยตั้งชื่อว่า วัดแม่พระลูกประคำ แต่ชาวจีนยังคงเรียกว่า วัดกาลหว่าร์
 
โบสถ์หลังที่ 3 (หลังปัจจุบัน) ซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบโกธิค เริ่มสร้างปี ค.ศ.1891(พ.ศ. 2434) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ แล้วเสร็จในปี 1897(พ.ศ. 2440)

ซึ่งในปีที่เริ่มสร้างโบสถ์วัดกาลหว่าร์ที่เราเห็นในทุกวันนี้นั้น ตัวป้อมปิดปัจจานึกคงถูกรื้อลงเรียบร้อยแล้ว
เราไม่ทราบได้เลยว่าก่อนรื้อลงนั้น ป้อมถูกสร้างค้างคาไว้ในลักษณะใด รวมทั้งไม่เคยเห็นโบสถ์วัดกาลหว่าร์หลังเดิมว่าตั้งอยู่ตรงไหน สูงต่ำเท่าใด ขวางทางปืนของป้อมหรือไม่ด้วย


อาคารทางซ้ายมือในรูปคือโรงเรียนกุหลาบวัฒนา(โรงเรียนสำหรับสตรี)

อาคารทางขวามือคือโรงเรียนกุหลาบวิทยา(โรงเรียนชาย)

ปัจจุบันสองโรงเรียนรวมกันในชื่อว่า กุหลาบวิทยา

โรงเรียนชายคือโรงเรียนเก่าของผทสมัยปรัถมและมัธยมต้นครับ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 19:52



ซึ่งในปีที่เริ่มสร้างโบสถ์วัดกาลหว่าร์ที่เราเห็นในทุกวันนี้นั้น ตัวป้อมปิดปัจจานึกคงถูกรื้อลงเรียบร้อยแล้ว



และแผนที่ พ.ศ. ๒๔๗๕ ยังคงปรากฎป้อมปิดปัจนึก (หมายเลข ๑๖๘) ส่วนอาคารหมายเลข ๑๖๕ คือ โบสถ์วัดกัลวาร์ ครับ

โอ! รูปนี้ชัดมาเลยครับ
ตำแหน่งในรูปคือตำแหน่งของที่ว่าการอำเภอสัมพันธวงศ์(อาคารเก่า)และที่ว่าการเขตสัมพันธวงศ์(อาคารใหม่)
ถนนด้านบน(ด้านทิศเหนือ)ของป้อมในรูปคือถนนโยธา ถนนด้านล่าง(ด้านทิศใต้)คือตรอกโรงน้ำแข็ง
เป็นดีงที่คุณลุงเนาวรัตน์ให้ข้อมูลจริง
(โทษผมไม่ได้นะครับเพราะผมเกิดไม่ทัน)
นับถือท่าน สยาม จริงๆ ที่มีข้อมูลที่ใครก็ปฏิเสธไม่ได้
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 26 ต.ค. 12, 05:53

คุณหนุ่มสยามสะสมภาพเก่าๆมีค่าหายากไว้มากมายคนหนึ่งในโลกอินเทอเน็ท



รูปตรอกโรงกระทะนั้น บ้านเจ้าสัวยิ้มอยู่ตรงไหนหรือครับ แผนที่ทำพ.ศ.ใด หลังรูปถ่ายที่แลเห็นป้อมนานไหม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 26 ต.ค. 12, 07:30

คุณหนุ่มสยามสะสมภาพเก่าๆมีค่าหายากไว้มากมายคนหนึ่งในโลกอินเทอเน็ท



รูปตรอกโรงกระทะนั้น บ้านเจ้าสัวยิ้มอยู่ตรงไหนหรือครับ แผนที่ทำพ.ศ.ใด หลังรูปถ่ายที่แลเห็นป้อมนานไหม

แผนที่ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ แต่อาจจะสำรวจก่อนหน้านั้นกว่า ๒-๓ ปีจึงตีพิมพ์ออกมาได้ สำหรับอาคารต่าง ๆ นั้นสูญหายไปอาจเป็นด้วยไฟไหม้ก็เป็นได้

นำข่าวเล็ก ๆ มาฝาก

"บางกอกรีคอร์ดเดอร์..หมอบรัดเลย์...ใบที่ ๑๘ ฉบับตีพิมพ์วันที่ 7 NOV. 1886

กัปปิตัน เอศ เซ บี เอม ซี เป็นนายกองตระเวนใหญ่ ทั้งลูกเมียทั้งหมดหมอสมิทและภรรยา จะไปอ่างหิน จะไปตากลมหายเหนื่อย จะไปอยู่ตึกซันนิเตเรียมที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้สร้างไว้ เพื่อจะให้ชาติยุโรปอเมริกาไปพักอาศัยให้สบาย"
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 26 ต.ค. 12, 09:18

๑.
แผนที่ทำพ.ศ.ใด

คุณหนุ่มตอบแล้วว่า

แผนที่ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ แต่อาจจะสำรวจก่อนหน้านั้นกว่า ๒-๓ ปีจึงตีพิมพ์ออกมาได้ สำหรับอาคารต่าง ๆ นั้นสูญหายไปอาจเป็นด้วยไฟไหม้ก็เป็นได้

๒.
หลังรูปถ่ายที่แลเห็นป้อมนานไหม

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เรือไฟชื่อ เจ้าพระยา เดินเมล์และรับส่งสินค้าระหว่างไทยกับสิงคโปร์ ซึ่ง ๑๕ วันจะเข้าเทียบท่าครั้งหนึ่งได้นำน้ำแข็งเป็นก้อนใส่หีบกลบด้วยขี้เลื่อยมาถวายรัชกาลที่ ๔ อยู่เป็นประจำ สิ่งแปลกประหลาดแบบนี้เชื้อพระวงศ์ เจ้านาย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ลิ้มลองกันทั่วหน้า ทำให้ติดอกติดใจเพราะน้ำแข็งสามารถดับร้อนผ่อนกระหายได้เป็นอย่างดี

มาดูข้อมูลเรือไฟ "เจ้าพระยา" ตามที่คุณหลวงเล็กเคยใส่ลิงค์บางกอกคาเลนเดอร์ ของหมอบรัดเลย์ เป็นเรือแบบใบพัด ยาว ๒๐๕ เมตร กว้าง ๒๘ เมตร ระบุชื่อเจ้าของเรือคือ "เจ้าสัวยิ้ม"

ซึ่งเจ้าสัวยิ้ม มีกิจการเดินเรือระหว่างกรุงเทพฯ - สิงค์โปร์ ๑ รอบกินเวลา ๑๕ วัน




เรือกลไฟ "เจ้าพระยา" ในภาพ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑ ภาพถ่ายอาจจะหลังจากนั้น ๑-๒ ปี

ภาพถ่ายเรือเมล์เจ้าพระยา ของเจ้าสัวยิ้ม เบื้องหลังเป็นบ้านแบบจีน คงจอดไว้หน้าบ้านท่านริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งควรจะถ่ายมองไปฝั่งกรุงเทพช่วงตลาดน้อย ถ้า



ดังนั้นข้อมูลแผนที่ในข้อ ๑ จึงควรอยู่หลังภาพนี้ประมาณ (๒๔๓๙ - ๒ ถึง ๓) - (๒๔๐๑ + ๑ ถึง ๒) = ๓๓-๓๕ ปี

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 26 ต.ค. 12, 09:41

อ้างถึง
"บางกอกรีคอร์ดเดอร์..หมอบรัดเลย์...ใบที่ ๑๘ ฉบับตีพิมพ์วันที่ 7 NOV. 1886

กัปปิตัน เอศ เซ บี เอม ซี เป็นนายกองตระเวนใหญ่ ทั้งลูกเมียทั้งหมดหมอสมิทและภรรยา จะไปอ่างหิน จะไปตากลมหายเหนื่อย จะไปอยู่ตึกซันนิเตเรียมที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้สร้างไว้ เพื่อจะให้ชาติยุโรปอเมริกาไปพักอาศัยให้สบาย"

สะดุดหูกับคำว่าซันนิเตเรียม   น่าจะมาจากคำว่า sanitarium    ซึ่งแปลว่าโรงพยาบาล  หรือรวมถึงศูนย์พักฟื้น    มีใครพอจะทราบรายละเอียดบ้างไหมคะว่าหน้าตาเป็นอย่างไร  ยังอยู่มาจนทุกวันนี้หรือเปล่า
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 26 ต.ค. 12, 09:58

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อ่างศิลาเป็นสถานที่พักฟื้นของเจ้านายชั้นสูง และได้เสด็จประพาสอากาศที่สามมุข เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๒ คัดจากหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ แต่งโดยเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) ความว่า

“ครั้นมาถึง ณ วันพุธ เดือนยี่ ขึ้น ๑๒ ค่ำ (๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๒) เสด็จพระราชดำเนินลงเรือพระที่นั่งมณีเมขลาใช้จักรจากท่านิเวศวรดิฐไปประพาสอากาศที่สามมุข แล้วเสด็จกลับทางปากน้ำบางปะกง ทอดพระเนตรเขาดิน แล้วก็เสด็จขึ้นไปตามลำน้ำถึงเมืองปราจีนบุรี แล้วก็เสด็จกลับเข้าพระนคร”

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สร้างตึกใหญ่สำหรับให้ต่างชาติที่เจ็บไข้อยู่รักษาตัว

“ที่อ่างศิลา แขวงเมืองชล อากาศดี โปรดให้ทำที่ประทับแห่งหนึ่ง ได้ทำแต่อิฐปูนขึ้นไว้กับถมสะพานศิลาเป็นถนนออกมาสายหนึ่ง ฯพณฯ หัวเจ้าท่าน เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ ที่สมุหกระลาโหมสร้างตึกใหญ่ขึ้นไว้หลังหนึ่ง เพื่อจะให้พวกยุโรปที่เจ็บไข้ไปอยู่รักษาตัวตากอากาศ ที่นั้นเป็นการบุญ แลที่ตลาดหลังเขาสามมุกนั้น โปรดให้ทำพลับพลาเป็นที่ประพาสขึ้นไว้หมู่หนึ่ง ให้ถมศิลาเป็นถนนออกมาสายหนึ่ง…”

หนังสือพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ กล่าวถึงตึกที่สร้างไว้ว่า “ตึกอาไศรยสถาน”

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสอ่างศิลาหลายครั้งและทรงโปรดปรานมาก ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุ ฉบับวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๓๔๑๙ ว่า “…ที่อ่างศิลาเป็นที่สนุกแลเป็นที่สบายมาก เราอยากใคร่อยู่นาน ๆ แต่ไม่ใคร่จะมีเวลาจะไปอยู่พ้น ๑๐ วันเลย…”

จากหนังสือย้อนรอยเจ้าจอมก๊กออ ในรัชกาลที่ ๕ กล่าวถึงเจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) ว่า เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต่างประเทศครั้งแรกที่ชวาและอินเดีย เจ้าพระยาภาณุวงศ์ก็ได้ตามเสด็จด้วย เมื่อทรงเสด็จประพาสพระพุทธบาทและเสด็จต่อไปยังนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และประทับที่อ่างศิลา เจ้าพระยาภานุวงศ์สร้างตำหนักขึ้นที่อ่างศิลาปลายปี พ.ศ. ๒๔๑๕ แล้วทำถนนจากอ่างศิลาไปชลบุรีและบ่อน้ำร้อนบางพระ ตำหนักที่อ่างศิลานี้เป็นสถานที่ที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพาเจ้านายและข้าราชการฝ่ายในไปตากอากาศอีกแห่งหนึ่งนอกเหนือจากที่บางปะอิน คณะทูตานุทูตชาวต่างประเทศต่างก็นิยมไปพักฟื้นรักษาตัว หรือตากอากาศที่อ่างศิลานี้เช่นกัน เจ้าพระยาภาณุวงศ์ชอบปลูกไม้ผลโดยเฉพาะมะม่วง จึงปลูกมะม่วงไว้รอบตำหนักอ่างศิลา

ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ สมเด็จพระนางเจ้าศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (ขณะนั้นทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ขณะเสด็จประพาสยุโรป) ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ปฏิสังขรณ์อาคารทั้ง ๒ หลัง และพระราชทานนามอาคารหลังใหญ่ว่า “ตึกมหาราช” และอาคารหลังเล็กว่า “ตึกราชินี” เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในมงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๙ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ได้ประชวรพระโรคปอดในระยะเริ่มแรก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสด็จจากพระบรมมหาราชวังไปประทับรักษาพระองค์ ณ อ่างศิลา และโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นตามเสด็จไปถวายการรักษาพยาบาลด้วย

ตลาดอ่างศิลาในปัจจุบันยังคงความงดงามและสง่างามด้วย “ตึกมหาราช” และ “ตึกราชินี” หรือ “ตำหนักราชินี” ซึ่งมีสีแดงตั้งเป็นสง่าอยู่ริมชายทะเลอ่างศิลา ตรงปากทางเข้าตลาดอ่างศิลานั่นเอง

จาก หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 26 ต.ค. 12, 10:08

ไปหารูปมาประกอบ
ตึกมหาราช-ตึกราชินี


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 26 ต.ค. 12, 10:29

จาก ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๕ เรื่องสถานที่แลวัดถุซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๔

๕๔ ที่ประพาศที่อ่างศิลา ทรงพระราชดำริห์ว่าที่ชายทะเลตำบลอ่างศิลาแขวงเมืองชลบุรีเปนที่อากาศดี ให้ทำเปนที่เสด็จประทับแห่ง ๑ กับที่เขาสมมุขข้างใต้ ตำบลอ่างศิลาก็โปรดให้ทำพลับพลาเปนที่ประพาศ ด้วย แต่การปลูกสร้างส่วนที่อ่างศิลาเปนแต่ได้กะที่บนเนินไว้สำหรับทำพลับพลาแลได้ถมศิลาที่ชายทะเลก่อนเปนท่าเรือจอด แต่ตำหนักของถาวรประจำที่ยังหาได้สร้างไม่ ทำแต่พลับพลาที่สมมุข ต่อมาเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหมสร้างตึกอาไศรยสถาน (หลังใหญ่) ขึ้นหลัง ๑ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์สร้างตึกอาไศรยสถาน (หลังเล็ก) ขึ้นหลัง ๑ ที่ปลายแหลม สำหรับให้คนป่วยไปพักรักษาตัวเปนการกุศล ถึงรัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จไปประพาศอ่างศิลาหลายครั้ง ทำแต่พลับพลารับเสด็จชั่วคราว หาได้ทำตำหนักของถาวรไม่ พลับพลาที่สมมุขนั้นนานมาก็ผุพังไปหมด แต่ตึกอาไศรยสถาน ๒ หลังนั้นเมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ ทรงสำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์คราวเสด็จยุโรปเมื่อในรัชกาลที่ ๕ โปรด ฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ในการพระราชกุศลเฉลิมพระชัณษาพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แลตกแต่งเครื่องใช้สอยครบบริบูรณ์แล้วพระราชทานนาม หลังใหญ่ว่า ตึกมหาราช นามหลังเล็กนั้นว่า ตึกราชินี ยังเปนที่อาไศรยสถานมาจนทุกวันนี้

ซันนิเตเรียม  ที่ กัปปิตัน เอศ เซ บี เอม ซี ( S J B Ames - Captain Samuel Joseph Bird Ames แล้ว C ย่อมาจากอะไรหนอ ?) และครอบครัวเข้าพัก คงเป็น "ตึกมหาราช" ในปัจจุบันนั่นแล

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 27 ต.ค. 12, 07:59

ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูนะครับ ที่บวกลบคูณหารระยะปีที่แตกต่างระหว่างรูปถ่ายที่แลเห็นป้อมฮึกเหี้ยมหาญกับแผนที่สมัยรัชกาลที่๕ ทำให้มั่นใจได้ว่าตำแหน่งป้อมที่ปลายตรอกโรงกระทะนั้น ไม่ผิด เพราะระยะเวลาที่ต่างกันสามสิบกว่าปี อะไรๆก็ปรับเปลี่ยนไปได้มาก

ส่วนปริศนาเรื่องตัว C คุณวิกี้อธิบายไว้ดังนี้

Commissioner is in principle the title given to a member of a commission or to an individual who has been given a commission (official charge or authority to do something, the noun's second meaning).

In practice, the title of commissioner has evolved to include a variety of senior officials, often sitting on a specific commission. In particular, commissioner frequently refers to senior police or government officials.
 
Commissioner is a senior rank used in many police forces and may be rendered Police Commissioner or Commissioner of Police.


ดังนั้น กัปปิตัน เอศ เซ บี เอม ซี ซึ่งหมายถีง  Captain S J B Ames นั้น คำว่า C น่าจะย่อมาจากย่อมาจาก Commissioner (of Police )

แต่ในแผนที่ข้างล่างของคุณหนุ่มที่เคยมาลงไว้ ผมอยากถอดความว่า Commission of Police Captain แต่อยากทราบซะหน่อยก่อน บนคำว่า COM. มีตัวหนังสืออะไรอยู่ผมอ่านไม่ออก คุณหนุ่มสยามช่วยถอกระหัสด้วยครับ จะได้ทราบว่าข้อสันนิฐานนี้ผิดหรือถูก




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 27 ต.ค. 12, 08:28

COM.sr OF POLICE CAP.

ตัวยกที่เห็นคือ sr. ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 27 ต.ค. 12, 08:43

COMMISSIONER ?

ต้องรอท่านอาจารย์ใหญ่ เอกภาษาอังกฤษมาตรวจการบ้านแล้วละครับ มันเข้าท่าหรือออกปากอ่าวไปก็ไม่ทราบ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 27 ต.ค. 12, 08:47

COMMISSIONER ?

ต้องรอท่านอาจารย์ใหญ่ เอกภาษาอังกฤษมาตรวจการบ้านแล้วละครับ มันเข้าท่าหรือออกปากอ่าวไปก็ไม่ทราบ

ถ้าเห็นเป็น ER ผมก็เสอน COMMANDER ดีกว่าครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 27 ต.ค. 12, 09:41

เห็นเป็น SR ครับ

ปัญหาคือ COMMISSIONER มันหมายถึงที่ทำการได้ไหม ซึ่งผมคิดว่าได้

ตัวอย่างคือ UNHCR- United Nations High Commissioner for Refugees ก็เป็นชื่อองค์กร บางครั้งก็หมายถึงที่ทำการเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 27 ต.ค. 12, 19:23

ชื่อที่ระบุในแผนที่ มักเป็นชื่อสถานที่ ไม่ใช่ชื่อคนหรือชื่อตำแหน่งอยู่แล้วค่ะ   แต่ไม่เคยเห็นคำย่อ com.sr  มาก่อน เลยไม่แน่ใจว่าหมายถึง commissioner หรือไม่
อ่านจากบริบทในแผนที่แล้ว เข้าใจว่าหมายถึงที่ทำการของหัวหน้าตำรวจ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.17 วินาที กับ 19 คำสั่ง