เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 34423 กัปตันเอมซ์ นายตำรวจแบบยุโรปคนแรกของสยาม
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 19:36

^ นั่นแหละครับ ต้องคลำทางจากตรงนั้น
ตรอกโรงกระทะก็คุ้นหูผมมากในสมัยเด็กๆ แต่ตอนนี้ยังนึกไม่ออกว่าอยู่ตรงไหนอยู่ดี


หยิบแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๕ นำมาแหย่ ๆ ให้ชมครับ คงเห็นแล้วร้องอ๋อแน่นอนว่าคือ ถนนเยาวพานิช ซึ่งเดิมคือ "ตรอกกะทะ" และมีปากคลองกะทะตั้งอยู่  อ.NAVARAT.C คงจะหายงงแล้วนะครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 22 ต.ค. 12, 22:05

ตามประวัติบอกว่า ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ อยู่ใกล้กับป้อมปิดปัจจานึก เป็นป้อมเล็ก ๆ สำหรับยิงปืนคำนับแขกเมืองตามธรรมเนียมยิงสลุต

การยิงสลุตก็คงยิงเมื่อเรือของแขกเมืองวิ่งผ่านเข้ามาตามลำน้ำเจ้าพระยา ดังนั้นป้อมนี้ก็ควรจะอยู่ใกล้กับแม่น้ำ ไม่ใช่ริมคลองผดุงกรุงเกษม และเนื่องจากเป็นป้อมขนาดเล็กโดดๆไม่ต่อเนื่องกับกำแพง ถ้าอยู่ปลายตรอกกระทะตามแผนที่ข้างบนก็สมเหตุสมผลดีนะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 23 ต.ค. 12, 19:21

เรามาวิเคระห์ข้อความนี้กันหน่อย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 23 ต.ค. 12, 19:24

ข้อความดังกล่าวชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ได้เขียนไว้ในหนังสือ “สยามสมัยโบราณ” ตีพิมพ์ในปี๒๕๒๐ แสดงว่ากองโปลิศเมื่อเริ่มตั้งขึ้นนั้น มิได้มีแห่งเดียวตามที่เข้าใจกันเสียแล้ว แต่มีสองแห่งคือ

๑ ตั้งอยู่ที่ปัจจุบันเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเยาวราช ในตรอกโรงกระทะหรือถนนเยาวพานิช สุดตรอกตอนนั้นคงยังไม่มีถนนทรงวาด เป็นที่ตั้งของป้อมปืนเล็กๆที่ไว้ยิงสลุตรับเรือรบของแขกบ้านแขกเมือง จึงน่าจะอยู่ริมแม่น้ำ ชื่อว่าป้อมฮึกเหี้ยมหาญ ตัวป้อมจะสร้างเสร็จหรืออาจสร้างแค่ฐานอะไรก็สุดแล้วแต่ ชื่อก็คงตั้งไว้แล้วและคนก็เรียกตามนั้น

ตรอกโรงกระทะหรือถนนเยาวพานิชมีซอยวานิช๑ตัดผ่าน สามารถเดินตรงไปเรื่อยๆจนถึงสำเพ็งในทุกวันนี้ได้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 23 ต.ค. 12, 19:29

๒ ตั้งอยู่ที่ปัจจุบันเป็นที่ทำการเขตสัมพันธวงศ์ เดิมเป็นอำเภอซึ่งปกครองสำเพ็งทั้งหมด หมายความว่า ก่อนจะตัดถนนเยาวราชขึ้นนั้น เมืองจีนทั้งย่านโดยมีตรอกที่เดี๋ยวนี้ชื่อว่าถนนวานิช๑ และถนนวานิช๒เป็นแกนกลาง เขาเรียกรวมกันว่าสำเพ็ง ไม่ใช่หมายถึงแค่ตรอกสำเพ็งตามที่ทุกวันนี้เราเข้าใจกัน
 
ตามประวัติระบุว่าที่ทำการอำเภอสร้างทับไปบนตัวป้อมปิดปัจจานึกพอดี เป็นการประหยัดเงินงบประมาณไม่ต้องถมที่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 23 ต.ค. 12, 19:32

และด้วยข้อมูลดังกล่าว ผมจึงทดลองกำหนดจุดที่ตั้งป้อมต่างๆที่อยู่ตามแนวคลองผดุงกรุงเกษมได้ และขอเสนอไว้ให้วิจารณ์กันด้วยเป็นของแถม
อย่าลืมว่านอกแนวคลองออกไป สมัยนั้นยังเป็นท้องไร่ท้องนาอยู่ ป้อมต่างๆในแผนผังนี้เป็นป้อมโดดๆ เรียกว่า ป้อมปีกกาคือมีแต่ตัวป้อมไม่มีกำแพงเมืองต่อเนื่องกันไป เช่นอาณาบริเวณพระนครเดิมถัดจากคลองคูเมือง ยุทธวิธีโบราณที่จะใช้เมื่อเกิดศึกมาประชิดติดเมืองนั้น ก็จะปักระเนียดไม้ชักปีการะหว่างป้อมให้ถึงกันตลอดแนว แล้ววางกำลังทหารเป็นแนวต้านทานด่านหน้า

ตามที่ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๕ เรื่องสถานที่แลวัดถุซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๔ อันเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นในชั้นหลังระบุว่า
 
๓๒ ขุดคลองแลทำถนนในจังหวัดพระนคร ๑ คลองผดุงกรุงเกษม เมื่อปีกุญ พ.ศ. ๒๓๙๔ โปรดให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหมเปนแม่กอง ให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ( วร ) เปนนายงานขุด คลองแต่ลำแม่น้ำที่ใต้วัดเทวราชกุญชรผ่านคลองมหานาคไปออกแม่น้ำ ที่เหนือวัดแก้วแจ่มฟ้าคลอง๑ ๑ เปนคูพระนครชั้นนอกกว้าง ๑๐ วาลึก ๖ ศอก ยาว ๑๓๗ เส้น ๑๐ วาสิ้นค่าจ้างขุดเปนเงิน ๒๗,๕๐๐ บาท สำเร็จในปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๗ ได้เปิดคลองเมื่อ ณ วันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรม ค่ำ ๑ พระราชทานนามว่า คลองผดุงกรุงเกษม แลมีงานมโหรศพ ฉลอง ๓ วัน ต่อมาโปรดให้สร้างป้อมตามแนวคลองเปนระยะห่างกันประมาณ ๑๒ เส้น รวม ๘ ป้อม คือ ๑ ป้อมป้องปัจจามิตร อยู่ฝั่งตวันตกที่ปากคลองสาร ๒ ป้อมปิดปัจนึก อยู่ที่ปากคลองผดุง ฯ ข้างใต้ ๓ ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ ๔ ป้อมผลาญไพรีราบ อยู่ตรงตลาดหัวลำโพง ๕ ป้อมปราบสัตรูพ่าย อยู่ที่ริมวัดพลับพลาไชย ๖ ป้อมทำลายแรงปรปักษ์ อยู่ตรงมุมถนนหลานหลวง ๗ ป้อมหักกำลังดัษกร อยู่ตรงถนนราชดำเนิน ๘ ป้อมพระนครรักษา อยู่ริมวัดนรนารถ
 
ป้อมชื่อนั้นชื่อนี้อยู่ที่วัดหรือถนนโน่นนี่นั่น ความจริงแล้ว ช่วงเวลาที่ป้อมสร้างขึ้นสถานที่ดังกล่าวยังหามีไม่ แม้ตัวป้อมเองก็อาจมีแต่ชื่อ ยังไม่ได้สร้าง หรือยังสร้างยังไม่เสร็จก็ทิ้งฐานรากค้างไว้ด้วยหมดความจำเป็น เพราะยุทธวิธีในการรบชิงเมืองได้เปลี่ยนไปแล้ว
สมัยรัชกาลที่๕ ทางราชการจึงรื้อป้อมที่สร้างค้างไว้ลง เอาพื้นที่ให้เป็นประโยชน์อย่างอื่นแทน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 23 ต.ค. 12, 20:41

^
คิดไว้เช่นเดียวกัน ยิงฟันยิ้ม

ภาพถ่ายไม่เคยโกหก.. ผมก็นั่งมองภาพนี้อยู่หลายวัน เป็นภาพถ่ายเรือเมล์เจ้าพระยา ของเจ้าสัวยิ้ม เบื้องหลังเป็นบ้านแบบจีน คงจอดไว้หน้าบ้านท่านริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งควรจะถ่ายมองไปฝั่งกรุงเทพช่วงตลาดน้อย จะเห็นสิ่งก่อสร้าง อยู่ ๓ อย่างที่น่าสงสัย

๑. อาคารสูงเท่ากับตึก ๒-๓ ชั้น มีหลังคาทรงคล้ายป้อม (ตรงนี้เป็นจุดที่สงสัยว่า ควรจะเป็นป้อมสักแห่ง)

๒. บ้านเจ้าสัวยิ้ม

๓. หลังคาวัด (คงเป็นวัดเกาะ)

ถ้าตรงนี้เป็นไปตามที่ผมสันนิฐานไว้ก็ตรงใจมากครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 24 ต.ค. 12, 07:13

^
เยี่ยม

กระทู้นี้เราพบข้อมูลเก่าใหม่เอี่ยมที่คนไม่กล้ากำหนดมาก่อนว่า ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ อยู่ตรงไหน แล้วพลอยไม่กล้าลงจุดป้อมริมคลองผดุงกรุงเกษมต่างๆในแผนที่ไปด้วยเลย

คุณหนุ่มพอจะมีภาพละเอียดๆ พอที่จะตัดขยายเฉพาะส่วนที่คิดว่าเป็นป้อมให้ดูชัดๆกว่านี้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 24 ต.ค. 12, 07:17

อ้างถึง
กิจการตำรวจยังคงรูปแบบเดิมๆนี้มาจนกระทั่งได้รับการปฏิรูปครั้งสำคัญภายหลังการเข้ามาของเซอร์จอห์น บาวริง ในสมัยรัชกาลที่สี่ เมื่อสยามทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศตะวันตกแล้ว ในเรื่องอันเกี่ยวกับ“สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ที่อารยะประเทศไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมแบบไทยๆ สยามจึงจำเป็นต้องว่าจ้างกัปตันเอมซ์ หรือหลวงรัฐยาภิบาลบัญชา มาเป็นผู้วางแบบแผนจัดตั้งกองตำรวจอย่างยุโรปเรียกว่ากองโปลิสคอนสเตเบิล ขึ้นอยู่กับกรมพระนครบาล แต่ขอบเขตการปฏิบัติการก็ยังจำกัดอยู่แต่ในเขตกรุงเทพชั้นใน ที่ชาวยุโรปและชาวเอเซียในบังคับของกงสุลชาติต่างๆอยู่กันหนาแน่นเท่านั้น เพราะคดีที่เกี่ยวข้องกับคนเหล่านี้อยู่นอกอำนาจศาลไทย ต้องส่งจำเลยไปขึ้นศาลกงสุล สำหรับคนไทยก็ส่งไปขึ้นศาลไทยตามเดิม

ผมเข้าไปเจอในเวปของกระทรวงยุติธรรมมาครับ มีข้อความน่ารู้ คือยุคต้นของตำรวจนั้น เมื่อจับผู้ร้ายได้ก็สามารถชำระคดีได้เองเลย คือมีศาลเหมือนกันเรียกว่าศาลพลตระเวน ถึงแม้ผู้จับไม่ใช่ผู้พิพากษา แต่ผู้พิพากษาก็เป็นตำรวจด้วยกัน

ในสมัยรัชกาลที่ 1 ประเทศไทยยังปกครองแบบจตุสดมภ์ กรมเมืองหรือที่เรียกกันว่า “กรมพระนครบาล” เป็นกรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในกรุงเทพมหานคร มีศาลในสังกัดเรียกว่า “ศาลนครบาล” กรมพระนครบาลได้จัดตั้งกองตระเวนขึ้น 2 กอง คือ กองตระเวนซ้ายและกองตระเวนขวา มีพลตระเวนทำหน้าที่จับผู้ร้ายให้ผู้ใหญ่ในกรมชำระตัดสินความได้เอง โดยยังไม่มีผู้พิพากษาตัดสินความได้อย่างในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 241 มีการปรับปรุงกิจการตำรวจซึ่งเรียกว่า “พลตระเวน” ในกรุงเทพมหานครออกเป็น 3 กอง พลตระเวนทั้งสามกองนี้ เมื่อจับผู้ร้ายได้ก็ชำระความเอง เรียกว่า “ศาลพลตระเวน” สังกัดกรมพระนครบาล หลังจากประกาศตั้งกระทรวงยุติธรรมแล้ว ในปี พ.ศ. 2436 (ร.ศ.111) ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้ง "ศาลโปริสภา" เป็นศาลกองตระเวนสำหรับกรุงเทพมหานคร โดยยกเลิกศาลพลตระเวนเดิม ศาลโปริสภาที่จัดตั้งขึ้นมีอำนาจชำระและตัดสินความอาญาลหุโทษเฆี่ยน (ทวน) 50 ทีลงมา และโทษจำไม่ถึงคุก จำที่ตะรางตั้งแต่ 6 เดือนลงมา หรือปรับไม่เกิน 2 ชั่ง (160 บาท) ส่วนคดีแพ่งมีอำนาจชำระและตัดสินความทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 ชั่ง (160 บาท)



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 24 ต.ค. 12, 10:15

^
เยี่ยม

กระทู้นี้เราพบข้อมูลเก่าใหม่เอี่ยมที่คนไม่กล้ากำหนดมาก่อนว่า ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ อยู่ตรงไหน แล้วพลอยไม่กล้าลงจุดป้อมริมคลองผดุงกรุงเกษมต่างๆในแผนที่ไปด้วยเลย

คุณหนุ่มพอจะมีภาพละเอียดๆ พอที่จะตัดขยายเฉพาะส่วนที่คิดว่าเป็นป้อมให้ดูชัดๆกว่านี้ไหมครับ

ลองเปรียบเทัยบกับป้อมที่ก่อสร้างริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ซ้ายภาพ) กับภาพสิ่งก่อสร้างคล้ายป้อม (ภาพขวา) ก็ลองดูนะครับว่าใช่หรือไม่


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 24 ต.ค. 12, 10:20

ชัดเลยครับ ขอบคุณมากๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 24 ต.ค. 12, 14:24

ป้อมนี้มีนามว่ากระไรฤๅ

 ฮืม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 24 ต.ค. 12, 14:28

ป้อมนี้มีนามว่ากระไรฤๅ

 ฮืม

ป้อมมหายักษ์ ครับคุณเพ็ญฯ (หายไปนานเลยนะ)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 24 ต.ค. 12, 15:29

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 00:31

ตามประวัติบอกว่า ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ อยู่ใกล้กับป้อมปิดปัจจานึก เป็นป้อมเล็ก ๆ สำหรับยิงปืนคำนับแขกเมืองตามธรรมเนียมยิงสลุต

การยิงสลุตก็คงยิงเมื่อเรือของแขกเมืองวิ่งผ่านเข้ามาตามลำน้ำเจ้าพระยา ดังนั้นป้อมนี้ก็ควรจะอยู่ใกล้กับแม่น้ำ ไม่ใช่ริมคลองผดุงกรุงเกษม และเนื่องจากเป็นป้อมขนาดเล็กโดดๆไม่ต่อเนื่องกับกำแพง ถ้าอยู่ปลายตรอกกระทะตามแผนที่ข้างบนก็สมเหตุสมผลดีนะครับ

คลองผดุงกรุงเกษมทั้งสองด้านเปิดสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ดังนัั้นถ้าป้อมอยู่ใกล้กับริมปากคลอง ก็สามารถที่อยู่ใกล้แม่น้ำได้ด้วย
บริเวณตำแหน่งของโรงแรมรอยัลริเวอร์ ซึ่งอยู่ใกล้ปากคลองผดุงกรุงเกษม(ทางด้านสะพานทิพยเสถียร หรือ สี่พระยา) ก็สามารถอยู่ติดแม่น้ำในเวลาเดียวกันครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 19 คำสั่ง