เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 23010 ช่วยวิจารณ์หน่อยนะครับ
เขมากร
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


 เมื่อ 13 ต.ค. 12, 14:11

ความรักหนีห่างร้าง  กลับกลาย  นางนา
แลก่นเศร้าหมองหลาย   หม่นแท้
หนทางดั่งหมดหาย    หดห่อน  เลยเนอ
เหลือซึ่งความหวังแม้  ซ่อนเร้นบางเบา

เคยรักหวานร่นน้อย  พลอยหาย
นวลที่ซึ้งสลาย  รี่ล้าง
คลายพิษร่างเหลือหมาย  ปลายผ่อน
พรากพึ่งจากมอญม้าง  ม่านแคล้วทางเดิน

โปรยปรายเจียรหว่านคล้อย  จินต์ไป
ปลูกว่าแพ้รักใจ  มั่นแม้น
พจน์เพียรว่าพิศใคร  พันธ์แน่น
เจตต์พร่ามัวมองแค้น  แน่แท้จริงนาง

วางแวดวัดว่าไว้  แผนการ
ชีพแก่นได้นางหาญ  ไม่แม้
มรรคาเด่นสราญ  พานผ่อน
สุกไม่สุขชะแง้  เนิ่นร้าปรางค์คลาย

ลหุโทษพ่นขึ้น  มหันต์
พาลพ่นล้นความฉัน  กู่ก้อง
มามองเช่นเคียดกัน  ว่าถ่อย
จริงไถ่โทษตนพ้น ไม่แคล้วข้าฯเลว

#เขมากร#
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 ต.ค. 12, 14:50

ขออภัย ไม่สามารถวิจารณ์ได้
เพราะอ่านเข้าใจแค่บทแรก  บทต่อๆมาจนจบ อ่านแล้วไม่เข้าใจว่าผู้เขียนเขียนถึงอะไร
บันทึกการเข้า
เขมากร
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 14 ต.ค. 12, 10:58

ขอโทษครับ  สงสัยผมเขียนเองเข้าใจเอง  อิอิ  คุณเทาชมพู  ช่วยวิจารณ์เฉพาะบทแรกก็ได้ครับ

 เพิ่งแต่งนะครับ  จะได้พัฒนาต่อไปครับ  ขอบคุณมากครับพี่เมตตาครับผม   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 14 ต.ค. 12, 15:29

1  ถ้าคุณเขียนให้คนอื่นอ่าน  มันคือการสื่อสาร  ควรเขียนให้คนอื่นเขาเข้าใจง่าย  หลีกเลี่ยงคำยากหรือคำที่ไม่มีความหมาย
แต่ถ้าเขียนไว้อ่านคนเดียวก็ไม่ต้องคำนึงข้อนี้
2  บทแรกที่อ่านเข้าใจ  คืออกหักธรรมดา  ไม่มีจุดเด่นทั้งภาษาและความคิด   
   ใน 3 บาทแรกไม่มีความคืบหน้าอะไรเลย  ความหมายซ้ำกันไปมาว่าเศร้าโศกที่อกหัก     บาทที่ 4  ถึงบอกว่ายังเหลือความหวังอยู่เบาบาง  แปลว่ายังไม่สิ้นหวัง 100%   
   ถ้าจะเขียนบทที่ 2  ก็ควรจะอธิบายเรื่องความหวังที่เหลืออยู่  เพื่อจะเชื่อมต่อจากบทที่ 1   แต่นี่ไม่มีเลย  ไปพูดถึงอะไรก็ไม่เข้าใจค่ะ
3  สมัยนี้  โคลง กลอน หรือคำร้อยกรองประเภทอื่นเป็นสิ่งที่ห่างจากภาษาในชีวิตประจำวันมาก    เขียนยาวๆจะยิ่งทำให้อึดอัดในการอ่าน    ถ้าหัดแต่ง ควรแต่งสั้นๆก็พอ  รวบรัดประเด็นให้กระชับ
4  ลองคิดดูว่าคนเราเกิดมา รักและผิดหวังเป็นของธรรมดา  กวีทั้งหลายก็เขียนเรื่องอกหักรักสลายมากันเกือบจะทุกคน  คุณจะเขียนยังไงให้โดดเด่นแหวกออกมาไม่ซ้ำกับคนอื่น     ไม่งั้นก็จะไม่มีใครอยากอ่านผลงานของคุณ
 
ขอให้กำลังใจที่จะแต่งต่อไปค่ะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 14 ต.ค. 12, 15:30

ลหุโทษพ่นขึ้น  มหันต์
พาลพ่นล้นความฉัน  กู่ก้อง
มามองเช่นเคียดกัน  ว่าถ่อย
จริงไถ่โทษตนพ้น ไม่แคล้วข้าฯเลว

ผิดฉันทลักษณ์   คำต้องสัมผัสกันค่ะ
บันทึกการเข้า
เขมากร
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 14 ต.ค. 12, 23:12

ขอบพระคุณมากครับ  เป็นประโยชน์ต่อมือใหม่อย่างผมมากเลยครับ 

คุณเทาชมพู  มีหนังสือ  หรือเวปไซต์  ที่แนะนำให้อ่าน  ฝึกเขียน  แต่ง  หรือบทวิจารณ์เกี่ยวกับ  โคลง  กลอน  ไหมครับ

ขอคำแนะนำเพิ่มเติมด้วยครับ 


ขอบพระคุณมากที่กรุณาครับผม... 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 ต.ค. 12, 19:06

ลองเข้าไปอ่านกระทู้นี้นะคะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=501.0
โคลงสี่สุภาพ
บันทึกการเข้า
เขมากร
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 ต.ค. 12, 19:17

ขอบพระคุณมากครับผม  เป็นประโยชน์อย่างมากครับ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 ต.ค. 12, 08:59

ลองเข้าไปอ่านกระทู้นี้นะคะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=501.0
โคลงสี่สุภาพ

ได้อ่านกระทู้ที่ท่านเทาชมพูแนะนำล้วในส่วนต้น น่าสนใจครับ งต้งใช้วลาค่อยๆย่อยอ่าน
แต่ผมมีคำถามสำหรับตัวเองขึ้นมาว่า "โคลง" กับ "กลอน" ต่างกันอย่างไร
ลองถามผบ.ทบ.ที่บ้านก็ไม่ได้คำตอบ ลองถามอากู๋ก็ค้นไม่เจอสียที (จนล้าสายตา)

รบกวนอาจารย์ทุท่านช่วยชี้แนะผู้น้อยในประเด็นดังกล่าวหน่อยครับ หรือจะแนะให้ไปอ่านที่เว็บอื่นก็ได้ครับ
ขอบคุณครับ
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 ต.ค. 12, 19:41

แบบแผนวิธีแต่งไม่เหมือนกันค่ะ   เรียกอีกอย่างว่าฉันทลักษณ์ไม่เหมือนกัน
ขอเทียบแบบแผนการแต่งโคลงสี่สุภาพ กับกลอนแปด นะคะ

โคลงสี่สุภาพ  มีสัมผัสแบบนี้ค่ะ  และมีคำที่กำหนดไม้เอก 7 แห่ง และไม้โท 4 แห่ง
ใช้คำตายแทนเสียงเอกได้



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 ต.ค. 12, 19:47

กลอนแปด

http://www.online-station.net/event/gameonline/3799


บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 22:42

ขอบพระคุณท่านเทาชมพูครับ
ผมเข้าว่าโคลงสี่สุภาพก็เป็นหนึ่งในหลากหลายโคลงที่มีอยู่ (ภาษาคณิตศาสตร์เรียกว่าโคลงสี่สุภาพเป็น subset หรือเซ็ทย่อย) และกลอนสี่สุภาพก็เป็นหนึ่งในหลากหลายกลอนที่มีอยู่
ผมก็เลยสนใจว่า แก่นของ "โคลง" ในฐานะที่เป็น set มีลักษณะอย่างไร และแก่นของ "กลอน" ในฐานะที่เป็น set มีลักษณะสำคัญอย่างไร
ต้องขออภัยถ้าผมใช้ภาษาที่เข้าใจยากครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 26 ต.ค. 12, 09:46

ดิฉันไม่แน่ใจว่าแก่นของโคลงและกลอนมีหรือไม่    แต่เอาเป็นว่าถ้าหมายถึงลักษณะเฉพาะของคำประพันธ์แต่ละชนิด เราเรียกว่า "ฉันทลักษณ์"  อันเป็นสิ่งจำแนกให้เห็นว่าโคลงฉันท์กาพย์กลอนแตกต่างกันอย่างไร
ฉันทลักษณ์ของโคลง แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน  ฉันทลักษณ์โคลงสองก็เป็นอย่างหนึ่ง   โคลงสามก็เป็นอย่างหนึ่ง  โคลงสี่ก็อย่างหนึ่ง
โคลงสี่ยังแยกย่อยลงไปเป็นโคลงดั้น และโคลงสี่สุภาพ  โคลงดั้นก็มีหลายชนิด
ทั้งหมดนี้จำแนกความแตกต่างกันด้วยฉันทลักษณ์

กลอนมีกลอนหก กลอนแปด  กลอนเสภา  กลอนบทละคร    แตกต่างกันในรายละเอียดอีกละค่ะ  แจะเรียกว่าแก่นได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 26 ต.ค. 12, 14:19

คำถามของตุณ Sujittra นั้นสั้น แต่ตอบยาก แยกไปเป็นอีกกระทู้หนึ่งผมยังสงสัยว่าจะน้อยไป เกรงว่าเหมาะจะเป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก หรือใช้เป็นผลงานขอตำแหน่งทางวิชาการได้เลยนะครับ

แต่ถ้าจะตอบอย่างกางตำราตอบ ก็คงต้องบอกว่าความแตกต่างที่สำคัญของกลอนกับโคลงคือ โคลงมีการบังคับ(รูป)วรรณยุกต์ด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาฉันทลักษณ์ส่วนที่ไม่อยู่ในตำราก็ต้องยอมรับว่ากลอนเองก็มีการบังคับ(เสียง)วรรณยุกต์ในบางตำแหน่งเหมือนกัน ดังนั้นคำอธิบายแบบนี้ก็ดูเหมือนว่ายังไม่ถูกใจนักเรียนสายวิทยาศาสร์นักนะครับ

และถ้าจะตอบอย่างกำปั้นทุบดิน (ซึ่งผมก็ว่าเข้าท่าอยู่เหมือนกัน) ก็ต้องว่า กลอนกับโคลงเป็นเพลงคนละทำนองกันนั่นเอง เป็นทำนองมาตรฐานสองทำนองหลักที่ใครจะใส่เนื้ออย่างไรก็ร้องกันได้ทุกคน แต่คำตอบแบบนี้ก็ดูเหมือนจะกุดด้วนคาใจชอบกลอยู่ครับ

มองในเชิงประวัติศาสตร์วรรณคดี ก่อนที่จะเรียบเรียงเป็นฉันทัลักษณ์แบบมาตรฐาน กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด กลอนตลาด ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็น subset ของเพลงยาว กลอนตลาด หรือแม้แต่เพลงชาวบ้านอีกหลายรูปแบบ ที่มีมาอย่างช้าก็ตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว ฉันทลักษณ์ของกลอนคือบทหนึ่งมี 4 วรรค แต่ละวรรคแบ่งจำหวะการอ่านเป็น 3 จังหวะ มีการส่งสัมผัสระหว่างวรรคในรูปแบบที่ชัดเจน

(หมดเวลา... ขอมาต่อทีหลังนะครับ)
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 26 ต.ค. 12, 14:59

ให้สายวิทย์กับสายวิทย์เขาอธิบายกันเองดีกว่า  น่าจะเก๊ทกันได้ง่ายกว่าค่ะ

ส่วนดิฉันถ้าจะอธิบาย ก็จะแจกแจงไปทางด้านลักษณะการแต่งของคำประพันธ์แต่ละชนิด   ซึ่งไม่ซ้ำแบบกัน   ถ้าอธิบายยาวเหยียดต่อไปก็จะเลยไปถึงขั้นว่า อะไรเหมาะจะแต่งเป็นกลอน อะไรเหมาะจะแต่งเป็นโคลง   พอจะเรียกว่าแก่นของ "โคลง" หรือ "กลอน" ได้
แต่ก็ไม่รู้ว่าคุณสุจิตราต้องการรู้ในลักษณะนี้หรืออย่างอื่น  เพราะคำถามสั้นมากแต่กินเนื้อที่กว้างมาก
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 20 คำสั่ง