เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 23104 กษัตริย์อยุธยา ในสายตาของนักคติชน
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 19:04

ผมยังยืนยันอย่างเดิมว่า สงครามนั้น ถ้าคิดว่าไม่คุ้มแล้วก็อย่าก่อดีกว่า
 
คุณประกอปไม่คิดหรือครับว่าทัพกรีก พอชนะแล้วจะขนอะไรกลับไปบ้านเมืองบ้าง มิฉะนั้นเอเธนส์จะเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองได้อย่างไร ทรัพย์ที่ว่า นอกจากเพชรนิลจินดา ทองคำแร่ธาตุต่างๆแล้ว ทาส หรือแรงงานมนุษย์ และสัตว์ ก็ถือเป็นปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่งที่เขากวาดต้อนกันไป

พม่าสมัยบุเรงนองเหมือนกัน เพราะมั่นใจในศักยภาพของตนว่าจะค่อยๆดูดโภคทรัพย์จากอยุธยาได้นานๆ จึงไม่จำเป็นต้องปล้นเอาทีเดียวเหมือนสมัยมังระ แต่ไทยพม่าพอเหยียบดินแดนใคร ถ้ามีโอกาสก็เทครัวกลับมาทุกครั้ง

เมืองขึ้นของไทยที่ส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทอง หรือไทยเคยจิ้มก้องจีน ก็เหมือนกัน ไม่ใช่เครื่องราชบรรณาการที่เป็นเนื้อเป็นหนัง สิทธิในการค้าผูกขาดบางอย่าง ก็นำทรัพย์มาให้เป็นกอบเป็นกำ ฝรั่งที่มาล่าเมืองขึ้นก็คิดคล้ายๆกันนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 19:07

ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์เคยพูดถึงคติ "จักรพรรดิราช" ของพม่าซึ่งเป็นที่มาของการทำสงครามขยายอาณาเขต    แต่ดิฉันหาไม่เจอในอินทรเนตร  ไปเจอบทความนี้แทน

จักรพรรดิราช" ปัจจัยสำคัญ ก่อสงครามพม่า - อยุธยา
             ภมรี สุรเกียรติ อธิบายไว้ในหนังสือ "เมียนมาร์ สยามยุทธ์" ว่า การเคลื่อนทัพครั้งใหญ่ของพม่าเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยา มีสาเหตุสำคัญจากความเชื่อเรื่อง "จักรพรรดิราช" ของกษัตริย์พม่า ซึ่งเชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่เหนือกษัตริย์อื่นใดทั่วหล้า ฉะนั้นกษัตริย์ต่างแดนทั้งหลายจะต้องมาสวามิภักดิ์นอบน้อมต่อพระองค์
              ภมรี สุรเกียรติ ได้แบ่งยุคสงครามพม่า-กรุงศรีอยุธยาครั้งใหญ่ ออกเป็น ๒ ช่วง คือ
              ๑. ยุคราชวงศ์ตองอูยุคต้น ซึ่งตรงกับยุคสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ ในช่วงเวลานี้เป็นยุคที่ราชวงศ์ตองอูโดยพระเจ้าตะเบงชเวตี้เพิ่งขยายอำนาจไปทั้งด้านเหนือและใต้ จนทำให้สามารถยึดครองรัฐต่างๆ ในพม่าได้ รวมทั้งรัฐมอญ(หงสาวดี) ซึ่งเป็นรัฐสำคัญทางใต้  การขยายอำนาจมาครอบครองรัฐมอญเช่นนี้ ได้ทำให้พระองค์ต้องพยายามแสดงพระองค์ให้เป็นที่ยอมรับ จงรักภักดีจากขุนนางมอญ โดยทรงต้องสร้างบารมีด้วยการประกาศพระองค์ว่าทรงเป็น "จักรพรรดิราช" พระองค์ได้เคลื่อนทัพปราบปรามรัฐต่างๆ ทั่วทุกสารทิศ รวมถึงกรุงศรีอยุธยาให้มานอบน้อมต่อพระองค์ ซึ่งคติความเชื่อนี้ได้สืบทอดต่อเนื่องมาถึงรัชกาลของพระเจ้าบุเรงนอง
              ๒. ยุคราชวงศ์คองบองยุคต้น ซึ่งตรงกับยุคสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์นี้คือพระเจ้าอลองพญา พระองค์ก้าวขึ้นมาจากการเป็น "หัวหน้าชุมนุม" พระองค์ไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์มาแต่เดิม ฉะนั้นพระองค์จึงต้องเร่งสร้างบารมี สิทธิธรรมในการก้าวขึ้นเป็นกษัตริย์(Kingship)  และการยอมรับนับถือจากฝ่ายต่างๆ ด้วยการแสดงเดชานุภาพในการเป็น "จักรพรรดิราช" ว่าทรงมีพระราชอำนาจเหนือกษัตริย์ต่างๆ พระองค์จึงต้องกรีธาทัพออกปราบปรามรัฐต่างๆ รอบทิศ
               อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสงครามคราวเสียกรุงฯ ทั้งสองครั้งจะเกิดขึ้นจาก "คติจักรพรรดิราช" เหมือนกัน ทว่าผลของสงครามทั้งสองครั้งกลับแตกต่างกัน โดยครั้งแรก แม้กรุงศรีอยุธยาจะพ่ายแพ้แก่พม่า แต่พม่าก็ไม่ได้ทำลายกรุงศรีอยุธยาให้สิ้นสูญ กลับแต่งตั้งกษัตริย์จากเชื้อวงศ์เดิมให้ปกครองอยุธยาสืบต่อไป โดยต้องถวายความอ่อนน้อมสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์พม่า  ส่วนสงครามครั้งที่สอง เมื่อพม่าได้เข้ายึดกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ ก็ได้ทำลายกรุงศรีอยุธยาให้สิ้นสูญ ไม่ให้สามารถกลับมามีอำนาจได้อีก
               ภมรี สุรเกียรติ ได้อธิบายประเด็นนี้ไว้ว่า ผลของสงครามทั้งสองครั้งที่แตกต่างกันนี้ เกิดขึ้นจากโครงสร้างการปกครองของพม่าในแต่ละยุคสมัยที่มีความแตกต่างกันนั่นเอง
               ในคราวสงครามเสียกรุงฯครั้งที่ ๑ เวลานั้นพม่ามีโครงสร้างการปกครองที่มุ่งสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์แบบวงศาคณาญาติ หรือมุ่งสร้างความจงรักภักดี ฉะนั้นเมื่อสามารถยึดครองเมืองใดได้แล้ว ก็มักจะแต่งตั้งเจ้าเมืองเชื้อวงศ์เดิมให้ปกครองเมืองต่อไป โดยต้องสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์พม่า ส่วนในคราวสงครามเสียกรุงฯ ครั้งที่ ๒  โครงสร้างการปกครองของพม่าในขณะนั้นกลับเป็นไปในลักษณะดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้ราชธานี มุ่งกำจัดศูนย์กลางอำนาจอื่นๆ ให้สูญสิ้นไป ไม่ให้สามารถกลับมามีอำนาจแข่งกับตนได้อีก

http://www.museum-press.com/content-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2-4-5600-93201-1.html
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 20:52

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

     อยุธยามีชนต่างชาติเข้ามาค้าขายกันหลายประเทศ ทั้งชาวตะวันตกเช่นโปรตุเกส ฮอลันดาหรือดัทช์ และฝรั่งเศส     พวกนี้แม้ว่าเป็นคนต่างชาติด้วยกันก็ไม่ได้ถือว่ามีหัวอกกันเดียวกัน  คือไม่มีทัศนะแบบเอส   แต่ไปมีทัศนะแบบเอ๊กส์ใส่กันในรูปของการชิงดีชิงเด่น    ในสายตาของดัทช์ และฝรั่งเศส   โปรตุเกสเป็นตัวโกงตัวร้ายทีเดียว     ถูกหาว่าคอยใส่ร้ายป้ายสีพ่อค้ากลุ่มอื่น   
    จดหมายเหตุรายวันของฮอลันดามีเอกสารรายงานว่า ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง   พวกเขาต้องร้องเรียนต่อเจ้าพระยาพระคลังว่าถูกโปรตุเกสใส่ร้ายเอาหลายครั้ง   แต่ไม่เป็นผล  เพราะพระเจ้าปราสาททองเชื่อว่าถ้าสยามทำดีกับโปรตุเกส  ก็จะชักจูงให้ชนชาติอื่นยินดีเข้ามาค้าขายด้วย   
    ฮอลันดาก็เลยเข้าใจว่าไทยเข้าข้างโปรตุเกส  แล้วก็บ่นกะปอดกะแปดว่าเจ้าพระยาพระคลังเอาใจฝักใฝ่โปรตุเกสเกินไป   แต่ฮอลันดาก็กระหยิ่มใจขึ้นมาได้หน่อยหนึ่งว่าเวลาเข้าเฝ้าในงานพระราชพิธี  ฮอลันดาได้นั่งในตำแหน่งสูงกว่าโปรตุเกส 
    เมื่อมองไปทางด้านฝรั่งเศสกับโปรตุเกส ก็มีหลักฐานเอกสารแสดงให้เห็นว่ามีความรู้สึกเอ๊กซ์ต่อกันไม่น้อยไปกว่าฮอลันดา    ฝรั่งเศสออกจะเหยียดหยามโปรตุเกสด้วยซ้ำไปว่าโง่แกมหยิ่ง       แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้ทำให้ฝรั่งเศสหันไปจับมือกับฮอลันดาอยู่ดี     ฝรั่งเศสมองฮอลันดาเป็นคู่แข่งมาตั้งแต่สมัยไปค้าขายที่อินโดนีเซีย  ขนาดออกปากว่า
    " พวกฝรั่งเศสเหล่านี้ได้รับความเดือดร้อนบีบคั้นจากฮอลันดายิ่งกว่าทาสหรือสุนัขเสียอีก"   

   สรุปว่าชาวต่างชาติพวกนี้ มีทัศนะเป็นเอ๊กซ์ของกันและกัน   ดูเหมือนจะไม่มีใครมองในมุมของเอสด้วยกันเลย
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 20:53

ว้ายยยยย จากเคยได้ A เลยได้ F จากท่านอาจารย์ซะแล้วหรือนี่

ผมกำลังสงสัยเรื่องการได้กำไรจากการทำสงครามหนะครับ  คำว่ากำไรในที่นี้อาจจะไม่ได้หมายถึงความมั่งคั่งหรือในรูปตัวเงินทั้งหมดก็ได้  เพราะดูเหมือนสงครามหลายๆ ครั้งในประวัติศาสตร์โลกเกิดขึ้นเพราะความทะเยอทะยานส่วนบุคคลล้วนๆ เช่นสมัยอเล็กซานเดอร์ของกรีกที่ยกทัพตีไปทั่วจนมาถึงอินเดีย  หรือโรมันยกทัพไปบุกเกาะอังกฤษสมัยจูเลียสซีซาร์ หรือเจงกิสข่านบุกมาถึงยุโรปตะวันออก  มุสโสลินีบุกอบิสซีเนีย  ฯลฯ   จะว่าเพื่อบุกเบิกหรือสร้างความมั่นคงให้กับเส้นทางการค้าก็ไม่น่าจะใช่   มันไม่มีความจำเป็นขนาดต้องทำสงครามยาวนานบุกไปเรื่อยๆ แบบนั้น แต่สงครามเหล่านี้แม่ทัพนายกองตัวเอ้ๆ ก็ได้ความร่ำรวยอยู่จริง

อย่างบุเรงนอกยกทัพมาตีอยุธยาเนี่ย ผมก็สงสัย คือบุเรงนองแกก็ร่ำรวยอำนาจล้นฟ้าอยู่แล้ว อยากได้ทองได้ อยากได้แก้วได้ อยากได้ลูกเขาเมียใครอำนาจขนาดนั้นก็ได้ ขุนนางเจ้าเมืองต่างๆ ใต้อำนาจก็ไม่กล้าหือ ความมั่นคงเต็มเปี่ยมล้น เส้นทางการค้าพม่าช่วงนั้นอยุธยาก็ไม่น่าเป็นอุปสรรคใดๆ อีก จะแย่งชิงเมืองแถวตะเข็บขายแดนราชอาณาจักรกันเพื่อผลประโยชน์อย่างเดียวเหมือนมันไม่น่าจะใช่หนะครับ  ทางออกทางทะเลก็มีมากมาย  ทรัพยากรต่างๆ ก็ใกล้เคียงกัน   บุเรงนองมาตีอยุธยาชนะแล้วก็ได้แต่กวาดต้อนผู้คนทรัพย์สินไปไม่ได้เผาเมืองทิ้ง  ผมว่าอันนั้นเป็นธรรมดาเพราะสงครามต้องลงทุนก็ต้องถอนทุน แต่ไม่น่าจะเพราะอยากได้เงินทองเป็นหลักมั๊ง  ไม่อยากให้ใครมามีชื่อเสียงโด่งดังเป็นคู่แข่งมากกว่า ผมเดาๆ ใจบุเรงนองเอานะครับ

ที่เดาแบบนี้ประวัติศาสตร์โลกมีผู้นำกระหายสงครามมากมายที่ก่อสงครามโดยไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยนอกจากเพราะความอยากได้หน้าหรือเพราะหลงตัวเองเท่านั้น เป็นเรื่องของกิเลสส่วนตนล้วนๆ การกวาดต้อนผู้คนทรัพย์สินเป็นเพียงผลพลอยได้ที่ตามมาเท่านั้น เหมือนสงครามหลายครั้งเกิดจากความอยากไม่มีที่สิ้นสุดของผู้นำที่หลงไหลในอำนาจมากกว่า

จริง ๆ การที่บุเรงนองมีอำนาจล้นฟ้าได้ ก็เพราะไปตีเขานี่ล่ะครับ ถ้าจะดูกันจริง ๆ หัวเมืองมอญ,ลานนา,ไต,ล้านช้าง เหล่านี้จะบอกว่าเป็นสิ่งที่อยุธยาและพม่าต้องแก่งแย่งกันอยู่แล้ว ช่วงไหนใครแกร่งกว่าก็ได้หัวเมืองเหล่านี้ไป

แล้วหัวเมืองพวกนี้มันก็เป็นรัฐกันชนกลาย ๆ ถ้าได้ไป ก็เหมือนได้กินอาณาเขตของอีกอาณาจักรไปอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น จะค่อย ๆ เล็ม หรือจะเล็มทีเดียว ค่าก็ไม่ต่างกันครับ ต้องยึดให้ได้

แล้วจริง ๆ หัวเมืองมอญ เช่น มะริด ทวาย ตะนาวศรี ที่ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่โดยเนื้อแท้แล้ว เป็นแหล่งหากินอย่างดีครับ เพราะโลกตะวันตก+อาหรับ จะต้องมาขึ้นท่าเรือที่หัวเมืองเหล่านี้ ก่อนจะเดินเท้าเข้าอยุธยา แล้วไปค้าขาย นำเครื่องเทศจากจีนและอินโด+สยาม กลับไปโลกตะวันตก

เพราะฉะนั้น ถ้าพม่าไม่ได้หัวเมืองเหล่านี้ ก็เสร็จ

นอกจากจะขายกับโลกตะวันตกไม่ได้ ยังขายกับโลกตะวันออกไม่ได้อีก ในขณะที่อยุธยา ไม่จำเป็นจะต้องไปตีพม่า ก็ยึดเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลกไว้ได้ สบายกว่าเยอะครับ

พม่าต่างหากที่ต้องขวนขวายมายึดให้ได้ ต่อให้ยึดได้ ถ้าอยุธยายังอยู่ พม่าก็ได้แค่ขายกับตะวันตกเท่านั้น การจะไปขายของให้ทางฝั่งตะวันออก ดูท่าจะเป็นไปได้ยากมาก ๆ  

นี่ก็เป็นประการหนึ่ง


ส่วนเรื่องคติจักรพรรดิราช ผมว่าทั้งไทยและพม่าก็มีเหมือนกัน ดร. จากสถาบันสีชมพู ทำดูราวกับว่าสยามไม่มีคติจักรพรรดิราชอย่างนั้น ทั้งที่ในโองการแช่งน้ำเอย หรือจะเป็นแผนผังการสร้างพระราชวังเอย มันก็ล้วนสะท้อนแนวคิดจักรพรรดิราชทั้งนั้น ซึ่งก็ส่งต่อไปถึงการทำสงครามยึดเอา มอญ เขมร ลาว ปัตตานี มาไว้ในครอบครองด้วยเช่นกัน

ผิดแต่ว่า ไม่ได้เข้าไปยึดพม่า จะเพราะว่าภูมิประเทศไปลำบาก(ต้องเดินขึ้นเขา แต่พม่าเดินลงเขามาตีสยาม ง่ายกว่ากันเยอะ) หรือไม่อยู่ในสายตาตั้งแต่แรก(พม่าแต่เดิมอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ทุรกันดาร เข้าไปก็ไม่คุ้ม ) เหล่านี้ก็น่าจะเป็นเหตุผลว่า ทำไมสยามถึงไม่เคยจะต้องลำบากไปตีพม่าครับ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 21:36

แห่ะๆ ถ้าเรื่องสงครามนี่ต้องเห็นต่างกับท่านอาจารย์นวรัตนนิดนึงครับ เพราะจากประวัติศาสตร์มีสงครามมากมายที่ก่อขึ้นมาโดยไม่ได้มองเรื่องความคุ้มค่าเป็นหลักเลย หรือถ้ามองเรื่องความคุ้มค่า ก็ไม่ใช่ความคุ้มค่าของประชาชนโดยรวม แต่เป็นความคุ้มค่าของผู้นำเท่านั้นแม้ว่าเรื่องทรัพยากรมันโยงไปถึงทุกเรื่องเช่นความมั่นคงของผู้นำด้วย แต่ผมมองว่าไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดสงครามเสมอไปครับ


เอาแค่ในรอบหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา สงครามหลายๆ ครั้งเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองเป้าหมายทางการเมืองของผู้นำเท่านั้น เช่นสงครามชิงเกาะฟอร์คแลนด์  อาเจนตินายึดฟอร์คแลนด์เพื่อเบี่ยงเบนปัญหาการเมืองภายในของประเทศตอนนั้น อังกฤษสู้กลับเพราะศักดิ์ศรีล้วนๆ เช่นกัน ผลประโยชน์ในรูปตัวเงินจากทรัพยากรบนเกาะหรือทะเลบริเวณนั้นน่าจะมีมูลค่าน้อยกว่าเรือรบที่จมและเครื่องบินที่ตกเสียอีก


สงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็เช่นกัน ลุกลามเป็นสงครามโลกเพราะแต่ละประเทศต้องทำตามสนธิสัญญาที่เป็นพันธมิตรกัน ประเทศโน้นประกาศสงครามกับประเทศนั้น พลอยทำให้พันธมิตรประเทศนั้นต้องประกาศสงครามตามไปด้วย  ดังนั้นชนวนหลักของสงครามก็มาจากกระแสชาตินิยม ไม่ได้มาจากการขาดแคลนทรัพยากรเป็นหลัก หรือสงครามเวียดนาม จุดประสงค์คือการรวมชาติเป็นเรื่องหลัก เป็นเรื่องของชาตินิยมเช่นกัน  ไม่ใช่เพราะเวียดนามเหนือต้องการทรัพยากรเวียดนามใต้ แม้แต่สงครามเกาหลีก็ด้วย หรือดูง่ายๆ การแย่งชิงเขาพระวิหารก็ได้ เป็นสงครามที่เกิดจากปัญหาทางการเมือง ไม่ใช่เพราะทรัพยากร   เรื่องทรัพยากรเป็นสิ่งที่ตามมาภายหลังเท่านั้น เพราะเมื่อมีสงครามก็มีค่าใช้จ่าย ลงทุนไปแล้วก็ต้องถอนทุน คนแพ้คือคนจ่าย  และคนตายมักใช่ใช่คนระดับผู้นำและเครือญาติ สงครามเลยมีได้เรื่อยๆ เพราะพวกผู้นำไม่ค่อยเดือดร้อนจากผลของสงครามเท่าประชาชนหรือทหารที่ไปเสี่ยงตาย ดังนั้นถ้าผู้นำอยากได้หน้าก็อาจหาเหตุก่อสงครามได้เฉยๆ เลยก็ได้


หรือแม้แต่กรีก  ข้อดีของการบุกมาแถวอินเดียคืออารยะธรรมกรีกแพร่มาถึงแถวนี้ ไม่งั้นเราอาจจะยังไม่รู้จักทำพระพุทธรูปไว้กราบไหว้ก็ได้ครับ  ไอ้ที่กรีกขนกลับก็มี ไอ้ที่กรีกขนมาให้ก็มี แต่จุดประสงค์หลักของการที่อเล็กซานเดอร์บุกมาถึงอินเดีย คงไม่ใช่เพื่อช่วงชิงทรัพยากรหรือความมั่งคั่งแล้ว เพราะมันไกลเกินความจำเป็นครับ  เหมือนสมัยโรมันที่บุกไปตามที่ต่างๆ ทั่วยุโรป  ขึ้นมาทางตอนเหนือถึงอังกฤษ เยอรมัน  ถ้าจะหาทาส โรมันหาจับเอาแถวแอฟริกาตอนบนๆ ก็มีเยอะแยะแล้ว  ไม่จำเป็นต้องแผ่ไปทุกทิศทางก็ได้  


จริงอยู่ว่าการเชื่อมโยงไปเรื่องความต้องการทรัพยากรหรือกำไรจากการทำสงครามเป็นสาเหตุหลักๆ ของสงครามจำนวนไม่น้อย แต่สงครามที่เกิดจากความบ้าของผู้นำอย่างเดียวก็มี แถมมีไม่น้อย และยิ่งเกิดขึ้นได้ง่ายมากถ้าผู้นำมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ผมเชื่อว่ามนุษย์จำนวนไม่น้อย โง่และบ้าพอที่จะก่อสงคราม เพียงเพื่อสนองต่ออัตตาของตนเอง และไม่จำเป็นต้องมองผลได้ผลเสียก่อนด้วยครับ


แต่ข้อดีหนึ่งของสงครามคือมันอาจมีส่วนให้อารยธรรมแพร่กระจายไปได้เร็วกว่าการแพร่กระจายที่เกิดจากการค้าล้วนๆ เช่นสงครามครูเสด  การแพร่อารยธรรมกรีกมายังอินเดีย หรือแม้แต่การมาถึงของอารยะธรรมตะวันตกในเอเชียเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว  อุ๊ย กระทู้นี่มันเรื่องอยุธยา นี่เลยไปถึงแอตแลนติก ฟอร์คแลนด์กรีกโรมันแล้วนะครับเนี่ย  ขยิบตา

บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 23:32

อ้าว ตาย! ไม่ทันอธิบาย นึกว่ารู้แล้ว  ขออภัยค่ะ  อายจัง

คติชนวิทยา แปลจากอังกฤษว่า Folklore  เมื่อก่อนนี้เราก็มองในแง่ว่า folklore หมายถึงตำนานที่เล่าต่อๆกันมา จะเขียนลงเป็นหนังสือหรือว่าเล่าสืบทอดกันมาปากต่อปากก็ได้ ในไทยก็มี folklore มากมายในแต่ละท้องถิ่น   เช่นตำนานตาม่องล่าย  หรือพญากงพญาพาน    
แต่ในความหมายของศาสตร์สาขา Folklore  มันกว้างกว่านั้นค่ะ
คติ หมายถึง แนวทาง วิถีทาง (เช่นคำว่า คติโลก คติธรรม)
ชน หมายถึง คนในกลุ่มหนึ่ง หรือในชาติหนึ่ง
วิทยา หมายถึง ความรู้
จากรูปศัพท์ดังกล่าว คติชนวิทยา จึงหมายถึง ความรู้ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

คำว่า คติชน นั้น ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ให้คำอธิบายว่า คือผลผลิตทางวัฒนธรรมที่คติชนวิทยาสนใจนำมาศึกษา ส่วนคำว่า คติชนวิทยา นั้น ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ให้คำจำกัดความว่า คติชนวิทยาคือ วิชาซึ่งว่าด้วยการศึกษาคติชนหรือผลผลิตทางวัฒนธรรมของกลุ่มชน และผลผลิตทางวัฒนธรรมนี้เป็นมรดกที่รับทอดกันมาทั้งภายในชนกลุ่มเดียวกัน และที่แพร่กระจายไปสู่ชนต่างกลุ่มด้วย
สรุปได้ว่า วิชาคติชนวิทยา เป็นวิชาที่ศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตหรือความเป็นอยู่ของมนุษย์ ตลอดจนผลผลิตหรือการสร้างสรรค์ต่างๆ จากอดีตมาจนปัจจุบันของมนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ

เพราะฉะนั้นนักคติชน ก็คือผู้ศึกษาทางผลผลิตทางวัฒนธรรมของกลุ่มชน และผลผลิตทางวัฒนธรรมนี้เป็นมรดกที่รับทอดกันมาทั้งภายในชนกลุ่มเดียวกัน และที่แพร่กระจายไปสู่ชนต่างกลุ่มด้วยค่ะ

อะไรกันครับเพิ่งถามเมื่อเช้านี้ว่า "คติชนแปลว่าอะไร" ตั้งใจกลับมาอ่านคำตอบคุณครู อ่านคำตอบจบกำลังจะพิมพ์ตอบว่า อึ้ม (น้ำเสียงแบบทรงภูมิ แต่จริงๆยังไม่เข้าใจชัดเจน)
สังเกตอีกที เอ! นี่มันหน้าหนึ่งนี่ อ้าว!ผ่านไปแล้ว 3 หน้า!!
ขอโทษคุณครูด้วยครับที่มาlate  ร้องไห้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 11 ต.ค. 12, 07:38

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

   สรุปว่าชาวต่างชาติพวกนี้ มีทัศนะเป็นเอ๊กซ์ของกันและกัน   ดูเหมือนจะไม่มีใครมองในมุมของเอสด้วยกันเลย

เคยอ่านบทความเรื่องการค้าสมัยโบราณ เหมือนจะเป็นข้อคิดเห็นของกรมพระยาดำรงฯ เกี่ยวกับเรื่องการค้าไว้ว่า ในการค้าของชาวสยามมีกับจีนและยุโรปนั้น ต่างกันโดยสิ้นเชิง การค้าแบบยุโรปนั้นจะแข่งขันกันแบบเอาเป็นเอาตายไม่ไว้หน้าซึ่งกันและกัน ส่วนการค้ากับทางจีนนั้นจะไม่แข่งขันกันตายไปข้างหนึ่ง แต่จะให้รอดไปด้วยกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 11 ต.ค. 12, 08:15

แต่โบราณกาลมา กษัตริย์ทำสงครามกันด้วยเหตุ๓ประการ ได้แก่ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ

ตัณหา คือ ความทะยานอยาก คืออยากเป็น อยากได้เช่นนั้นเช่นนี้ ไม่อยากเป็นไม่อยากได้เช่นนั้นเช่นนี้

มานะ คือ ความทะนงตนว่าเหนือกว่าเขา เห็นเขาด้อยกว่าตน หรือน้อยเนื้อต่ำใจว่าด้อยกว่าเขา เห็นเขาเหนือกว่าตน

ทิฏฐิ คือ ความเห็น และความยึดมั่นในความเห็นของตนโดยไม่ยอมปล่อยวาง

สงครามสมัยใหม่ หรือการทะเลาะเบาะแว้งของมนุษย์ก็ยังไม่พ้นเหตุทั้ง๓ดังกล่าว

แต่เมื่อประกอบกันแล้ว การทำสงครามในยุคใหม่จะถูกตัดสินใจที่ความคุ้มค่า ผมขยายความแล้วว่ามันอาจจะไม่ใช่ทรัพย์สินเงินทองที่จับต้องได้ในบัดนั้น แต่เป็นผลประโยชน์ในระยะยาว ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมด้วยซ้ำ และบางทีก็อาจจะเป็นนามธรรมที่ตัวผู้ประกาศสงครามจะได้ด้วย

การที่รัฐบาลทหารอาร์เจนตินาส่งกองกำลังบุกหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ก็เพราะประเมินว่าอังกฤษคงคิดว่าไม่คุ้มที่จะทำสงครามรักษามันไว้อีกต่อไป และได้เสียงเชียรสนั่นจากเพื่อนร่วมชาติ ความแตกแยกในชาติกลายมาเป็นความเป็นหนึ่งเดียว กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษก็ทำอะไรไม่ถูก การส่งทหารเข้าไปยึดคืนหมู่เกาะที่อยู่ไกลโพ้นเช่นนั้น มีค่าใช้จ่ายที่ไม่คุ้มกับรายได้อันเกิดจากเกาะเล็กๆแห่งนั้น

คนที่ตัดสินใจฟันธงคือนายกรัฐมนตรีหญิง มาร์กาเรต แทตเชอร์ ที่คิดแล้วว่าถ้ารบกัน อย่างไรๆอังกฤษก็ชนะแน่ ขึ้นอยู่กับตัวเงินค่าใช้จ่ายเท่านั้น ซึ่งก็มิใช่ว่าอังกฤษจะยากจนค่นแค้นถึงกับไม่มี อังกฤษตัดสินใจรบทำเอาอาร์เจนติน่าถึงกับเหวอ และทั้งสองฝ่ายก็ทำสงครามกันแบบจำกัดขอบเขต และชัยชนะของอังกฤษครั้งนั้นก็ทำให้ แทตเชอร์ ได้ฉายา “หญิงเหล็ก” และได้รับเลือกตั้งอีกถึง2สมัย ในปี 1983 และ 1987 คุ้มสุดคุ้มกับการลงทุน

สงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสก็คล้ายๆกันนี้ ดินแดนเขมรลาวที่ได้คืนมามิได้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจเท่าไหร่(ในตอนที่ยึดคืนมาได้) ทหารก็ใช้งบไปหมดตัว อาวุธยุทโธปกรณ์ก็เสียหายเยอะ แต่ถือว่ารัฐบาลได้กำไร ความแตกแยกระหว่างคนในชาติหลังการกวาดล้างนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามในปี 2482 ถูกกระแสประชานิยมกลบมิด ชาติไทยเป็นหนึ่งเดียว หลวงพิบูลสงครามได้เป็น “ท่านผู้นำ” ซึ่งไม่มีนายกรัฐมนตรีสมัยใดจะมีบารมีมากเท่าเทียมได้ คุ้มสุดคุ้มเหมือนกัน

การทะเลาะเบาะแว้งเรื่องเขาพระวิหาร ดูลึกๆเถอะครับ ไม่ใช่ตัวปราสาทหินพังๆหรอกที่แย่งกัน  ผลประโยชน์ทั้งนั้น ตามรู้ตามดูต่อไปเถิดครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 11 ต.ค. 12, 09:10

อะไรกันครับเพิ่งถามเมื่อเช้านี้ว่า "คติชนแปลว่าอะไร" ตั้งใจกลับมาอ่านคำตอบคุณครู อ่านคำตอบจบกำลังจะพิมพ์ตอบว่า อึ้ม (น้ำเสียงแบบทรงภูมิ แต่จริงๆยังไม่เข้าใจชัดเจน)
งั้นเอาภาษาแบบดิฉันก็แล้วกันค่ะ ง่ายๆ
คติชน เรียกอีกอย่างว่าคติชาวบ้าน  คืออะไรก็ตามที่ชาวบ้านในท้องถิ่นสร้างขึ้น ทั้งในรูปลายลักษณ์อักษร และเล่าด้วยปาก   เช่นตำนาน นิทาน บทกล่อมเด็ก ฯลฯ  ทั้งหมดนี้จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม มันคือวิถีชีวิต (หรือเรียกอีกอย่างว่าวัฒนธรรม) ของชาวบ้านนั้นๆ  นักคติชนวิทยาก็จับสิ่งเหล่านี้มาศึกษาเพื่อดูว่ามันสะท้อนอะไรบ้าง เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน

ต่อมาสาขาวิชานี้มีขอบเขตขยายกว้างออกไป ไม่ได้หมายถึงแต่เฉพาะหมู่บ้านชนบทเท่านั้น  แต่รวมสังคมเมืองด้วย  คำว่า"ชาวบ้าน" ก็ขยายออกไป หมายถึงกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมเดียวกัน   หรือมีเอกลักษณ์บางอย่างร่วมกัน เช่นมีอาชีพเดียวกัน พูดภาษาเดียวกัน นับถือศาสนาเดียวกัน กระทำกิจกรรมบางประเภทเหมือนกัน  ฯลฯ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 11 ต.ค. 12, 09:29

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

   สรุปว่าชาวต่างชาติพวกนี้ มีทัศนะเป็นเอ๊กซ์ของกันและกัน   ดูเหมือนจะไม่มีใครมองในมุมของเอสด้วยกันเลย

เคยอ่านบทความเรื่องการค้าสมัยโบราณ เหมือนจะเป็นข้อคิดเห็นของกรมพระยาดำรงฯ เกี่ยวกับเรื่องการค้าไว้ว่า ในการค้าของชาวสยามมีกับจีนและยุโรปนั้น ต่างกันโดยสิ้นเชิง การค้าแบบยุโรปนั้นจะแข่งขันกันแบบเอาเป็นเอาตายไม่ไว้หน้าซึ่งกันและกัน ส่วนการค้ากับทางจีนนั้นจะไม่แข่งขันกันตายไปข้างหนึ่ง แต่จะให้รอดไปด้วยกัน

เรื่องการค้าระหว่างชาวยุโรป กับ อยุธยา คงเป็นเรื่องอย่างเดียวตามที่ อ.NAVARAT.C กล่าวไว้ซึ่งก็คือ "ผลประโยชน์"

บางยุคกษัตริย์ก็โปรชาวโปรตุเกส, บางยุคก็โปรชาวดัชท์, บางยุคก็โปรชาวฝรั่งเศส ซึ้งทั้งนี้ทั้งนั้นก็มาจากผลประโยชน์ทางการค้ามิใช่หรือ

เราจะเห็นผลประโยชน์ที่ช่วงชิงไหวพริบไปมาในช่วงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยฝรั่งเศสต้องการที่จะเปลี่ยนศาสนา นัยหนึ่งทางเราก็ได้ประโยชน์ในการก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ป้อมปราการ การวางผังเมือง การทหาร และการค้า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 11 ต.ค. 12, 09:42

เรื่องผลประโยชน์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องคุยกันได้ยาว    อ่านจากที่เขียนกันในกระทู้นี้ ก็มองเห็นได้ว่าผลประโยชน์นั้นเกิดได้อย่างน้อย 2 ทาง คือ
1  ติดต่อค้าขายระหว่างประเทศ
2  ทำศึกสงครามกันระหว่างประเทศ
ลงตัวกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์เป๊ะเลยค่ะ   เดี๋ยวจะขยายความ

ขอต่อเรื่องทัศนะ "เอ๊กซ์ "ของชาวต่างชาติสมัยอยุธยา
การแข่งขันชิงดีชิงเด่นของชาวต่างชาติปรากฏอยู่หลายแห่งในจดหมายเหตุหรือบันทึกของพวกนี้      ที่น่าหัวเราะฝืดๆออกมาก็คือแม้ว่าพวกนี้เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยา  พระเจ้าแผ่นดินของไทยก็ต้อนรับด้วยดี   ไม่มีการจับฆ่ายึดเรือเอย่างที่พวกนี้เจอในหลายๆดินแดน    แต่จะทำให้ชาวต่างชาติพวกนี้รู้สึกเป็นมิตรดีกับอยุธยานั้น ก็มิใช่อยู่ดี

นอกจากจิกตีกันเองในระหว่างคนต่างชาติด้วยกันอยู่ทั้งทางตรงทางอ้อมแล้ว    ฝรั่งก็แอบสมน้ำหน้าไทยอยู่ลับหลัง เมื่อเห็นไทยพลาดเรื่องค้าขาย  เห็นได้จากบันทึกของฮอลันดาฉบับหนึ่ง ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง  แสดงอาการดีใจตีปีกเมื่อรู้ว่าเรือสินค้าของไทยที่แล่นไปค้าขายกับญี่ปุ่น เกิดอับปางลง ไปไม่ถึงที่หมาย  แน่ละว่า ไทยก็ต้นทุนหายปลายทุนหดในครั้งนี้

ฮอลันดาบันทึกไว้เลยว่า
"หลังจากโชคร้ายคราวนี้แล้ว    บางทีชาวสยามคงจะไม่คิดค้าขายกับญี่ปุ่นอีก    ซึ่งจะเป็นคุณประโยชน์สำหรับบริษัท(ของฮอลันดา)"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 11 ต.ค. 12, 09:51

ทัศนะ "เอ๊กซ์" นี้รวมความไปถึงว่า ชาวต่างชาติพวกนี้มุ่งผลประโยชน์อย่างเดียว  ไม่ว่าชาติไหนที่เขาค้าขายด้วยก็ถูกมองด้วยสายตาอย่างคนนอกเท่าเทียมกัน    ต่อให้สนิทสนมกลมเกลียวค้าขายกันด้วยดียังไง  พวกต่างชาติไม่เปลี่ยนทัศนะมาเป็น "เอส" กับประเทศคู่ค้า
เห็นได้จากฮอลันดาปฏิเสธสยาม ไม่ให้ความช่วยเหลือเมื่ออยุธยาเกิดสงครามกับเขมร     เพราะฮอลันดาเห็นว่าตัวเองก็ค้าขายทั้งกับเขมรและไทยเท่าๆกัน     จะไปถือหางฝ่ายหนึ่งก็จะกลายเป็นปฏิปักษ์กับอีกฝ่ายหนึ่ง
ส่วนไทยก็คงจะรู้เท่าทัน    จึงเกิดนโยบาย "แลกหมูแลกแมว" กันขึ้น    เห็นได้จากพระเจ้าแผ่นดินอยุธยามีพระราชสาส์นไปถึงอังกฤษ  เพื่อขอความช่วยเหลือด้านรบกับเขมร   โดยมีข้อแลกเปลี่ยนว่าถ้าอังกฤษช่วยเรื่องนี้ก็จะได้รับอภิสิทธิ์ทางการค้าเหนือกว่าประเทศอื่นๆ
แปลได้อีกอย่างว่าต่างชาติมองไทยแบบ เอ๊กซ์   ไทยก็ดูออกว่าเขามองเราแบบไหน  จึงพยายามประสานมิตรภาพเข้ากับผลประโยชน์แลกเปลี่ยน   

ดิฉันคิดว่าทัศนะแบบนี้ทำให้อยุธยาสมัยราชวงศ์ปราสาททองต้องเลี้ยงตัวอยู่บนคมหอกคมดาบมาตลอด    แต่กษัตริย์ไทยเก่งพอจะเลี้ยงตัวมาได้ตลอด  จึงได้เงินทองจากการค้าขายมาเพิ่มพูนในท้องพระคลังไม่ขาดสาย   จนถึงปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์นี่เองที่มาถึงจุดจบ  เดินบนคมหอกคมดาบต่อไปไม่ไหวแล้ว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 11 ต.ค. 12, 10:14


ขอต่อเรื่องทัศนะ "เอ๊กซ์ "ของชาวต่างชาติสมัยอยุธยา
การแข่งขันชิงดีชิงเด่นของชาวต่างชาติปรากฏอยู่หลายแห่งในจดหมายเหตุหรือบันทึกของพวกนี้      ที่น่าหัวเราะฝืดๆออกมาก็คือแม้ว่าพวกนี้เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยา  พระเจ้าแผ่นดินของไทยก็ต้อนรับด้วยดี   ไม่มีการจับฆ่ายึดเรือเอย่างที่พวกนี้เจอในหลายๆดินแดน    แต่จะทำให้ชาวต่างชาติพวกนี้รู้สึกเป็นมิตรดีกับอยุธยานั้น ก็มิใช่อยู่ดี



พักเบรค...นึกถึงเพลงท่อนหนึ่งของ "หากรู้สักนิด" จากบ้านทรายทอง

นี่คือสถาน แห่งบ้านทรายทอง ที่ฉันปองมาสู่
 ฉันยังไม่รู้ เขาจะต้อนรับ ขับสู้เพียงไหน
 อาจมียิ้มอาบ ฉาบบนสีหน้า ว่ามีน้ำใจ
 แต่สิ่งซ่อนไว้ ในดวงจิต คือความริษยา
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 11 ต.ค. 12, 10:46

ถ้าไปตอบในกระทู้เพลง  คุณ siamese คงโดนให้คาบไม้บรรทัด 2 นาที   เพลงนี้ชื่อบ้านทรายทองค่ะ   เพลง " หากรู้สักนิด" เป็นอีกเพลงหนึ่งในละคร(หรือหนัง) เรื่องนี้
อินเตอร์มิชชั่น 15 นาที



หากรู้สักนิด



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 11 ต.ค. 12, 10:59

 อายจัง เพียงแต่กระซิบ ว่าศิษย์รัก ฉันก็จะมิอาจจากไป ... อายจัง ต่อเพลงผิดก็ต้องถูกทำโทษ

การทำศึกสงครามกันระหว่างประเทศ เท่าที่ทราบมาก็หนีไม่พ้นเรื่องการเข้ามาขายอาวุธ ยุทธภัณฑ์ให้กับสยาม ทั้งนี้ชาวต่างประเทศเข้ามาขายทั้งพม่า ทั้งเขมร เช่นเดียวกัน อยากทราบว่าทั้งฝ่ายเอส และฝ่ายเอ๊กซ์ มีข้อคิดเห็นกรณีนี้ไม่หนอ  ฮืม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.089 วินาที กับ 20 คำสั่ง