เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 23103 กษัตริย์อยุธยา ในสายตาของนักคติชน
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 11:31

  อุดมการณ์ของวีรบุรุษ
  
   การกำจัดนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะพระเจ้าแผ่นดินที่ขึ้นครองราชย์แล้ว แต่ว่ายังเด็ก หรืออ่อนแอเกินกว่าจะต้านทานฝ่ายตรงข้ามได้    แต่ว่ารวมผู้อยู่ในข่ายที่จะได้ขึ้นครองด้วย เช่นพระขวัญ โอรสพระเพทราชาก็ถูกขุนหลวงสรศักดิ์หรือพระเจ้าเสือกำจัดไปตั้งแต่พระเพทราชายังไม่ทันสวรรคต    ในการกำจัดหลายครั้งก็ทำแบบกวาดล้างโคตรเหง้าพี่น้อง ตลอดจนแม่ทัพนายกองที่เป็น "เอส" กับฝ่ายถูกปราบด้วย

การเข่นฆ่ากันนั้น อาจจะมีผลส่วนหนึ่งมากจากการที่ ชนชั้นผู้ปกครองสืบเชื้อสายมาจากหลากราชวงศ์กัน เช่น วงศ์สุพรรณภูมิ, วงศ์สุโขทัย, วงศ์อู่ทอง ฯลฯ ซึ่งต่างก็ต้องการก้าวขึ้นมามีอำนาจในพวกพ้องตน จึงทำให้มีการ "ตัดกล้วยอย่าไว้หน่อ" กันมากมาย ซ้ำร้ายระบบวังหลวง วังหน้า วังหลัง ก็เกิดการเข่นฆ่า แย่งชิงอำนาจระหว่างกันในหมู่พี่น้องด้วยกันเอง

จะเห็นว่าภาวะการได้ขึ้นเป็นกษัตริย์สมัยอยุธยานั้น ต้องระวังตัวทั้งแนวดิ่ง และแนวราบ คือ แนวดิ่งหมายถึง อำนาจที่แผ่ลงไปยังเบื้องล้่าง ส่วนแนวราบก็ต้องระวังทางญาติ พี่น้องด้วยกันเอง

ดังนั้นแล้วผลของการปกป้องสถาบันหลัก คือ การออกกฎหมายที่เข้มแข็ง เด็ดขาด ปราบปรามให้สิ้น มีผลให้ ห้ามมองระหว่างขบวนเสด็จ (หมายถึงการชี้เป้าหมายในการกำจัด), การห้ามพูดกันในท้องพระโรง (หมายถึงระวังคบคิดก่อการกบฏ), ห้ามมีพรรคพวกเกินเหล่า, ฯลฯ อีกมากมายที่ออกมาในรูปของ กฎหมายและกฎมณเฑียรบาล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 11:59

^
ขอต่อท้ายว่า..ทั้งๆป้องและปรามกันเด็ดขาดขนาดนั้น   มันก็ไม่เคยได้ผลมาจนถึงราชวงศ์สุดท้าย    

ในสมัยปลายราชวงศ์บ้านพลูหลวง    เจ้านายอื่นๆถูกปราบเหี้ยนเตียนไปหมดแล้ว เหลือสององค์คือพระเจ้าเอกทัศและพระเจ้าอุทุมพร  ก็ไม่อาจสามัคคีร่วมมือกันต่อต้านพม่าได้อยู่ดี
ความรู้สึก เอ๊กซ์ ยังมีอยู่ในตัวพระเจ้าอุทุมพร   ไม่งั้นท่านคงไม่วางเฉยอยู่ในผ้าเหลือง   แล้วปล่อยให้พม่าเข้าเมืองมาพาท่านไปอยู่ที่พม่าจนสิ้นพระชนม์    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 12:10

   สายตาของทูตและพ่อค้าวาณิชในกรุงศรีอยุธยา มองกษัตริย์อยุธยาแบบ เอ๊กซ์ อย่างไร  หาอ่านได้จากหนังสือ ประวัติเรื่องราวการสงครามชิงราชสมบัติหลังสมัยพระเจ้าทรงธรรม      ผู้เขียนสรุปถึงพระเจ้าปราสาททอง ว่า   

   ไม่มีกษัตริย์องค์ใดในสยามโหดร้ายเกินกว่ากษัตริย์องค์นี้ (ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ ๔๙, ๒๕๗) 
 
   จดหมายเหตุของลาลูแบร์สอดคล้องกันในเรื่องกวาดล้างพรรคพวกของอำนาจเก่า เมื่ออำนาจใหม่ขึ้นมาแทนที่ ว่า
   "มีผู้ยืนยันว่าที่กรุงสยามนั้น...(แต่ครั้งบ้านเมืองดี) ราชสำนักเมื่อครั้งกระนั้นสง่างามรุ่งเรืองยิ่ง...แต่มาบัดนี้ ไม่เป็นเช่นนั้นเสียแล้ว   นับแต่สมเด็จพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบันได้ทรงพิฆาตเจ้านาย  ขุนนางผู้ใหญ่เสียแทบจะสิ้นไม่มีเหลือ"

   แต่การรัฐประหารเมื่อผลัดแผ่นดิน  ก็ไม่ได้ถูกมองในแง่มุมเดียว  แม้ว่ามีข้อเท็จจริงอันเดียวกันคือเกิดการยึดอำนาจ ฆ่าฟันผู้แพ้และพรรคพวกกันอีกมากมาย    ทัศนะแบ่งตามแนวคิดของแจนเซนเป็นเอส และเอ๊กซ์ ได้ดังนี้   
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 14:23

ผมขอนำตัวอย่างหนังสือเล่มหนึ่งยกขึ้นมาในเรื่องความคิดของนักคติชน เฉกเช่นเดียวกันนี้เป็นหนังสือตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1889 (พ.ศ. ๒๔๓๒) เล่าถึงพระราชอาณาจักรสยามเมื่อ ๒๕๐ ที่ผ่านมา ซึ่งเขียนโดยพ่อค้าชาวดัชท์ เขียนเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับพระราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาไว้ เมื่อ ค.ศ. 1636 (พ.ศ. ๒๑๗๙) อันเป็นช่วงที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองครองราชย์อยู่ ซึ่งแน่นอนว่าเก่าแก่กว่างานเขียนของลาลูแบร์ พิมพ์ใหม่จากโรงพิมพ์บางฅอแหลม (ของหมอสมิท)

ในคำเขียนว่า

We Think it will be interesting to our readers both Foreigners and Simaese to see how Siam appeared upwards 250 years ago in the eye of an intelligent and unprejudiced European. We accordingly propose to publish a new translation of the Description of Siamy by a distinguished Ducthman. Should the present translation draw comparisions between Siam of today and Siam 250 years ago from the residents who are well qualified for the last by an intimated acquanintance with the people and their langauge.

ตรงนี้น่าสนในในเรื่องการกล่าวถึงพระราชอำนาจของกษัตริย์อยุธยา (สมัยพระเจ้าปราสาททอง)

The King rules as a despotic monarch with absolute authority over peace, war, alliances, punishments, the pardoning and releasing of criminals, and all other things which concern the country and his subjects. He has the power of promulgating any laws or regulations at his own pleasure without the advice, opinion, or assent of the leading men, nobility, or towns, unless he himself out of his own free will should think it advisable to deliberate with them, or only with some of them.

It is a very old custom of The King of Siam to show himself to the people yearly about the month of October.

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 14:25

เอกสารของชาวต่างประเทศเหล่านี้ถูกส่งผ่านรุ่นต่อรุ่น ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า ก่อนการเดินทางมาของคณะทูตฝรั่งเศส ลาลูแบร์ ก็คงมีเรื่องราวต่าง ๆ บันทึกเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาไม่มากก็น้อย การเดินทางมายังโลกตะวันออกไกลย่อมต้องหาข้อมูลศึกษามาเป็นอย่างดี ลักษณะหัวข้อของงานเขียนชาวต่างประเทศก็มักจะคล้ายคลึงกันอย่างเห็นได้ชัด เช่น

เริ่มต้นที่การบรรยายลักษณะภูมิประเทศ - ว่าด้วยชาวสยาม - ลักษณะบ้านเรือน - กษัตริย์และพระราชวัง - การแต่งกาย - ศาสนาของชาวสยาม - ขบวนเรือพยุหยาตรา - การดูจับช้าง เป็นต้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 14:44

      งานเขียนของพ่อค้าดัทช์ที่คุณ siamese ยกมา พูดถึงพระราชอำนาจของพระเจ้าปราสาททอง  เหมือนกับพระราชอำนาจของสมเด็จพระนารายณ์ในสมัยลาลูแบร์นั่นเอง  แสดงว่าในรัชสมัยของพ่อ  กับรัชสมัยของลูก การดำรงตนบนราชบัลลังก์ก็ไม่แตกต่างกันแต่อย่างใด   
      ขอต่อ เรื่องทัศนะในแนวเอส และเอ๊กซ์ นะคะ

      1   ทัศนะแบบ เอส    ถ้าผู้บันทึกพงศาวดารเป็นเชื้อพระวงศ์  หรือทำงานอยู่ในราชสำนัก   ย่อมจะไม่แสดงความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อกษัตริย์   แม้ว่าจะขึ้นครองราชย์ด้วยวิธีรัฐประหารหรือชิงอำนาจ   ผู้บันทึกก็มักจะชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นและสมเหตุสมผล    เช่นการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าปราสาททองในฐานะออกญากลาโหม   ก็มีเหตุผลที่มาที่ไป  ว่าเป็นเพราะกษัตริย์องค์ก่อนคือพระเจ้าเชษฐาธิราชทรงระแวงและมุ่งกำจัดออกญากลาโหมก่อน      ฝ่ายถูกปองร้ายจึงต้องรัฐประหารเพื่อ "เอาตัวรอด"
     ต่อมาเมื่อออกญากลาโหมกำจัดพระอาทิตยวงศ์ที่พระชันษาเพียง 9 ขวบ   จะหาเหตุผลในด้านความปลอดภัยได้ยากหน่อย  ก็มีเหตุผลว่า เพราะเป็นเด็ก เอาแต่เล่นไปวันๆ ไม่สามารถทำหน้าที่พระเจ้าแผ่นดินได้  สมควรถูกถอด   
     สรุปแล้วทัศนะแบบเอส คือให้ความประนีประนอมเห็นอกเห็นใจกันอยู่มาก  ในฐานะ "กลุ่มเดียวกัน"
     2  ทัศนะแบบ เอ๊กซ์   คือมองจากหลักฐานฝ่ายคนนอกที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยโดยตรง  ที่เห็นชัดคือกลุ่มชาวต่างชาติ    พ่อค้าดัทช์ได้บันทึกการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าปราสาททองในรูปการประณามอย่างไม่เกรงใจ    เรียกพระองค์ว่า  " พระเจ้าแผ่นดินผู้ชิงราชย์  ผู้ละโมบ
     เอกสารฮอลันดายังได้เอ่ยถึงนางพญาปัตตานีด้วยว่า  นางเรียกพระเจ้าปราสาททองว่า " คนชิงราชสมบัติ คนโกง ฆาตกร และคนทรยศ " ทำให้พระนางหมดศรัทธาและไม่ยำเกรงพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาองค์นี้  อย่างที่พระราชาปัตตานีองค์ก่อนๆเคยยำเกรงพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาองค์ก่อนๆ

    แต่ก็ต้องบันทึกไว้แถมท้ายด้วยว่า ทัศนะเอ๊กซ์ดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของราชบัลลังก์   แม้แต่นางพญาปัตตานีเองเมื่อแสดงการต่อต้าน  พระเจ้าปราสาททองก็ส่งกองทัพไปปราบ ในที่สุดพระนางก็ต้องประนีประนอมยอมถวายบรรณาการตามเดิม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 14:55

     ดร.กิ่งแก้วนำแนวคิด เอส-เอ๊กซ์นี้ไปวิเคราะห์การรุกรานของพม่าที่ทำต่ออยุธยาอย่างต่อเนื่องอีกด้วยค่ะ    ก็นับว่าน่าคิด ถ้าใครสนใจจะวิจารณ์ต่อ
    " ทัศนะแบบเอ๊กซ์จากฝ่ายพม่าไม่ว่าจะในยุคใดๆ   ยังผลให้เกิดการยกทัพมารุกรานไทยอย่างเป็๋นเนืองนิจ    เมื่อทราบถึงการผลัดแผ่นดินก็รู้ต่อไปอีกทุกครั้งว่า จะต้องมีความอ่อนแอเกิดขึ้น เพราะเหตุแห่งการแตกสามัคคีและช่วงชิงบัลลังก์     พม่ามิเพียงหมดศรัทธาและหมดความเกรงใจเท่านั้น   หากแต่เห็นเป็นโอกาสที่จะบุกรุกเข้ามาครอบครองบ้านเมืองไทยเสียทีเดียว
    ฉะนั้น ทัศนะแบบ "เอ๊กซ์ลบ" ของพม่าต่อไทย   จึงกลายเป็นเรื่องเสริม "เอสบวก" ของพม่าอย่างดีที่สุด    เท่ากับความพินาศของฝ่ายไทยกลายเป็นความยิ่งใหญ่ของฝ่ายพม่านั้นเอง"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 15:04

     ส่วนคำว่าอุดมการณ์ของวีรบุรุษนั้น  ดร.กิ่งแก้วเห็นว่าการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์อยุธยาตั้งแต่แรก   มาจากแนวคิดแบบ "ใครดีใครได้"    คนที่จะขึ้นมาเป็นกษัตริย์ต้องเก่งกล้าเป็นผู้นำ และต้องลงมือพิสูจน์ด้วยตัวเองด้วย    ไม่สามารถอาศัยบารมีใครคุ้มกันเอาไว้ได้อย่างเดียว  
   ต่อให้เป็นพระโอรสของพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาองค์ก่อนที่มีฤทธานุภาพ  มีคุณอนันต์ต่อประเทศชาติ    แต่ถ้าลูกไม่มีฝีมือหรือไม่อยู่ในโอกาสจะแสดง (เช่นอายุยังน้อย)   ก็ไม่อยู่ในข้อยกเว้น    จำต้องหลีกทางให้ผู้ที่เก่งกล้าสามารถกว่า  ไม่ว่าเขาผู้นั้นอยู่ในฐานะพระญาติพระวงศ์หรือสามัญชนก็ตาม
    เหตุผลแบบ "ใครดีใครได้" นี้เองเป็นคำตอบถึงการลงจากบัลลังก์แบบประนีประนอมบ้าง  ถูกหักโค่นบ้าง ของบรรดาพระโอรสทั้งหลายที่ควรจะได้สืบต่อราชบัลลังก์อยุธยาจากพระบิดา  แต่ไม่อาจทำได้     เริ่มมาตั้งแต่พระโอรสพระเจ้าอู่ทองปฐมกษัตริย์แห่งอยุธยาเลยทีเดียว   เรื่อยมาหลายยุคหลายสมัย แทบจะเรียกได้ว่าไม่เว้น ประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอยเรื่อยมา       แม้แต่หลังรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถ    พระศรีเสาวภาคลูกหลานท่านก็ถูกกำจัดไปจากราชบัลลังก์ ด้วยเหตุผลนี้เอง

   บัลลังก์อยุธยาจึงเป็นบัลลังก์ของผู้มีฝีมือหรือขุมกำลังเข้มแข็งที่สุด   หรือดร.กิ่งแก้วใช้คำว่า "วีรบุรุษ"    คำนี้เป็นคนละอย่างกับผู้ได้รับเหรียญกล้าหาญในสนามรบ   กรุณาอย่าเอามาปนกันนะคะ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 16:01

มิน่าว่ากษัตริย์อยุธยาจะไม่มีพระองค์ใดได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ผู้ใช้พระคุณในการปกครองเลย แต่ละพระองค์ที่มีชื่อเสียงเป็นผู้ที่ใช้พระเดชอย่างแรงกล้าทั้งนั้น องค์อื่นๆ ที่ไม่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักนักก็ไม่มีพระองค์ใดได้ชื่อว่าเป็นนักปกครองที่เอื้ออารีต่อไพร่ฟ้าเลย เพราะถ้าจะใช้พระคุณคงอยู่ในอำนาจไม่ได้นาน บังลังก็อยุธยาตั้งอยู่บนคมหอกคมดาบจริงๆ

จริงๆ หนังไทยยุคหลังน่าจะให้ภาพที่ผิดจากสังคมจริงสมัยอยุธยาไปมาก เช่นหนังสุริโยทัยของท่านมุ้ยภาคแรก  ฉากที่ในบ้านเรือนของพระเฑียรราชามีการฝึกทหารฝึกอาวุธแล้วสรพงศ์มาสมัครขอเป็นข้า ถ้าสมัยอยุธยาจริงเจ้านายหรือขุนนางใดมีการฝึกทหารแบบนั้นไม่แคล้วต้องอาญาฐานกบฏถูกตัดหัว  ทุบในถุงแดงหรือถ่วงทะเลแน่ๆ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 16:05

    ดร.กิ่งแก้วนำแนวคิด เอส-เอ๊กซ์นี้ไปวิเคราะห์การรุกรานของพม่าที่ทำต่ออยุธยาอย่างต่อเนื่องอีกด้วยค่ะ    ก็นับว่าน่าคิด ถ้าใครสนใจจะวิจารณ์ต่อ
    " ทัศนะแบบเอ๊กซ์จากฝ่ายพม่าไม่ว่าจะในยุคใดๆ   ยังผลให้เกิดการยกทัพมารุกรานไทยอย่างเป็๋นเนืองนิจ    เมื่อทราบถึงการผลัดแผ่นดินก็รู้ต่อไปอีกทุกครั้งว่า จะต้องมีความอ่อนแอเกิดขึ้น เพราะเหตุแห่งการแตกสามัคคีและช่วงชิงบัลลังก์     พม่ามิเพียงหมดศรัทธาและหมดความเกรงใจเท่านั้น   หากแต่เห็นเป็นโอกาสที่จะบุกรุกเข้ามาครอบครองบ้านเมืองไทยเสียทีเดียว
    ฉะนั้น ทัศนะแบบ "เอ๊กซ์ลบ" ของพม่าต่อไทย   จึงกลายเป็นเรื่องเสริม "เอสบวก" ของพม่าอย่างดีที่สุด    เท่ากับความพินาศของฝ่ายไทยกลายเป็นความยิ่งใหญ่ของฝ่ายพม่านั้นเอง"


เรื่องพม่ารบไทย จำได้ว่าหนังท่านมุ้ย "ตำนานพระนเรศวร" มีอยู่ฉากหนึ่งเกี่ยวกับพระเจ้าบุรเนงนองยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาในทำนองว่า เป็นเพราะบ้านเมืองโยเดียเป็นทุรยศ ฆ่าพี่ฆ่าน้องเป็นบาปหนักหนา หงสาวดีอันเป็นเมืองพุทธศาสนาทนไม่ได้กับการกระทำดังกล่าว จำเป็นต้องยกทัพไปปราบโยเดียปราบให้หมดสิ้นไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 16:32

พระเจ้าบุเรงนองของท่านมุ้ย (คนละองค์กับในประวัติศาสตร์)คงไม่ได้เรียนวิชาประวัติศาสตร์ หรือเรียนแต่ได้ F    ก็เลยจำไม่ได้ว่าในประวัติศาสตร์มอญพม่าก่อนสมัยพระองค์ไม่เท่าไหร่  เมียฆ่าผัว แม่ฆ่าลูก  ทุรยศเสียยิ่งกว่าอยุธยา

ในสมัยพระเจ้าสีหสูแห่งอังวะ หลงใหลมเหสีใหม่ชื่อพระนางเชงสอบู เจ้าหญิงจากหงสาวดี   ทำให้พระนางเชงโบเม มเหสีเก่าเชื้อสายไทใหญ่เกิดริษยาอาฆาต   นางก็เลยเป็นไส้ศึกคบคิดกับไทใหญ่ ยกทัพมาตีอังวะ  พระเจ้าสีหสูทรงออกรบ สิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 1969   จากนั้นยังไม่พอ  พระโอรสของพระนางเชงโบเมขึ้นครองราชย์  พระนางก็กำจัดพระโอรสเสียอย่างเลือดเย็น  แต่แล้วพระนางก็พ่ายแพ้ให้กบฏมังตรา ซึ่งสำเร็จโทษพระนางเสีย แล้วตั้งตนเป็นพระเจ้ากรุงอังวะองค์ใหม่

ทัศนะ ใครดีใครได้ เห็นจะครอบคลุมไปถึงพม่าด้วยมั้ง   คุณ siamese กับคุณประกอบว่าไงคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 17:00

  ด้วยแนวคิดของวีรบุรุษดังที่ว่า   จึงเห็นได้ว่าพระเจ้าแผ่นดินสำคัญๆของอยุธยาที่ขึ้นสู่บัลลังก์ด้วยความเข้มแข็ง  และดำรงตนมาตลอดรัชสมัยด้วยความเข้มแข็งล้วนแต่ไม่ใช่เด็กหรือหนุ่มน้อย   แต่เป็นหนุ่มใหญ่วัยฉกรรจ์ หรือกลางคนเต็มที่   สมเด็จพระนเรศวรพระชนม์ 35   พระเจ้าปราสาททอง 30   สมเด็จพระนารายณ์ผ่านวัยเบญจเพสมาแล้ว   พระเพทราชา 55 และพระเจ้าเสือ 35
   พระเจ้าแผ่นดินเหล่านี้ล้วนเชี่ยวชาญในการรบ  ไม่ว่ารบระหว่างแคว้น หรือรบกันภายในกับฝ่ายตรงข้ามก็ตาม     เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว   ก็ทรงนับ "วีรกรรม" หรือพระเดชที่เบิกทางขึ้นมาเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของบุคลิก    อีกครึ่งหนึ่งคือพระคุณ   เช่นทรงใฝ่พระทัยอุปถัมภ์ทะนุบำรุงศาสนาอย่างเอาจริงเอาจัง    บางพระองค์ก็สนพระทัยถึงศิลปะแขนงต่างๆ เช่นพระเจ้าปราสาททองทรงสร้างวัดไชยวัฒนารามตามศิลปะแบบขอม
   กษัตริย์อยุธยาองค์อื่นๆ แม้จะผ่านการรบราฆ่าฟันมาอย่างใดก็ตาม  ก็ทรงศรัทธาในพุทธศาสนา  เคารพนับถือพระสงฆ์  สร้างวัดวาอาราม  ทะนุบำรุงศาสนาอย่างดี     ถึงตรงนี้คงต้องขอขยายความว่า ศาสนาเป็นเขตแดนศักดิ์สิทธิ์ซึ่งแม้แต่พระราชอำนาจก็ล่วงเข้าไปไม่ได้     เจ้านายทั้งหลายที่มีสิทธิ์ในราชบัลลังก์  แต่รู้องค์ว่าไม่ใช่คนเก่งที่สุด จะหาทางเลี่ยงการถูกกำจัดอย่างง่ายๆคือผนวช   เช่นเจ้าฟ้านเรนทร์หลานชายของพระเจ้าบรมโกศ      จึงเป็นที่โปรดปรานอย่างมาก   
  ด้วยเหตุนี้เมื่อเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ละเมิดความศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาด้วยการเอาดาบไล่ฟันเจ้าฟ้านเรนทร์   พระเจ้าบรมโกศจึงพิโรธมาก    แต่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ก็เอาพระองค์รอดไปได้ด้วยการหนีไปผนวชเสีย   นับว่าเขตแดนศาสนาที่ทรงละเมิดไว้ยังศักดิ์สิทธิ์พอจะคุ้มภัยได้จากพระราชอำนาจ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 17:15

เคยอ่านงานของอ.นิธิ เอียวศรีวงศ์  จำได้แบบคลับคล้ายคลับคลาว่ากษัตริย์แถวๆ ภูมิภาคนี้จะมีแนวคิดเรื่องการเป็นจักรพรรดิราช คือต้องแผ่อิทธิพลชื่อเสียงให้เลื่องลือระบือไกล และกษัตริย์ทางพม่าดูจะเน้นทางแนวคิดนี้มากกว่าอยุธยา ทำให้พม่ารามัญมาตีเราบ่อยครั้ง  เพื่อแสดงความเหนือกว่าหรือเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่กว่า  รวมทั้งอาจเพื่อกวาดต้อนผู้คนเพราะสมัยนั้นพื้นที่เยอะ คนน้อย แรงงานเป็นสิ่งสำคัญ    แต่จู่ๆ จะยกทัพมาตีช่วงที่กษัตริย์อยุธยาแข็งแกร่งมีพระราชอำนาจเต็มที่เข้มแข็งคงไม่เหมาะ มาช่วงระส่ำระสายเปลี่ยนผ่านแผ่นดินจะง่ายกว่า ทางพม่าถึงเลือกตีเวลานั้น

ส่วนใหญ่สงครามระหว่างอาณาจักรต่างๆ สมัยอยุธยาจึงเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีของกษัตริย์ล้วนๆ  ใครอ่อนน้อมยอมตนถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทองเป็นข้าไปก็หมดปัญหา  ใครศักดิ์ศรีแรงก็ต้องรบกัน  ถ้ายอมกันแต่เนิ่นๆ ก็ไม่ค่อยถึงกับต้องเผาบ้านเผาเมืองกัน   จนฝรั่งเรือปืนมาถึงในช่วงรัตนโกสินทร์สมัยรัชการที่ 3 ที่ 4 แล้วนี่เอง ค่านิยมเรื่องการเป็นจักรพรรดิราชถึงหมดไป เพราะต้องมาเจอมหาอำนาจตัวจริงอำนาจการทำลายล้างสูงกว่า เป็นระบบกว่า

ส่วนข้ออ้างว่ามาตีเพราะทางอยุธยาเป็นทุรยศ น่าจะเป็นท่านมุ้นใส่เข้าไปเองเพื่อสอนคนไทยยุคหลังด้วยกันมากกว่า   เพราะช่วงเปลี่ยนผ่านแผ่นดินของประเทศหรือเมืองต่างๆ ย่านนี้ ดูจะไม่มีที่ไหนเปลี่ยนกันง่ายๆ สงบๆ เลยทั้งไทย พม่า รามัญ เขมร ญวณ ส่วนใหญ่ก็ทุรยศกันทั้งนั้น ที่น่ากลัวกว่าบ้านเราก็มี  น้อยครั้งที่เปลี่ยนแผ่นดินได้แบบสงบราบคาบ




บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 17:24

คุณ NAVARAT.C  เล่าไว้ในกระทู้เก่า จะเป็นกระทู้โปรตุเกสเข้าเมืองหรือกระทู้เกี่ยวกับพม่า เขมร อะไรก็จำไม่ได้แล้ว  ได้ F ตามพระเจ้าบุเรงนองของท่านมุ้ยไปอีกคน     คุณ N.C. ท่านบอกว่าทำสงครามต้องหวังกำไรกันทั้งนั้น   ไม่มีใครทำเปล่าๆหรือทำเพื่อขาดทุนกลับไป      เจ้าอาณานิคมมาเที่ยวฟันดินแดนแถวตะวันออกไกลก็หวังโกยกำไรกลับไปบ้านเมือง    ดินแดนไหนยึดแล้วไม่คุ้มทุน  ก็ปล่อยง่ายหน่อย
ดิฉันจึงคิดว่าพม่าทำสงครามกับไทย หรือไทยทำกับอาณาจักรอื่น  น่าจะบวกการบวกลบผลได้จากสงครามเอาไว้ด้วย  ถ้าคุ้มทุนก็ทำ   เพราะสงครามไม่ใช่ของฟรี   ทำทีก็ต้องใช้กำลังคนและงบประมาณกันมหาศาล     เคยเรียนมาว่าพม่าชนะไทยได้เมืองท่าไปเป็นของตน   เมืองท่าเป็นเมืองที่โกยกำไรใส่ท้องพระคลังได้มากกว่าเมืองห่างไกลทะเลก็รู้ๆกันอยู่   ส่วนตอนกรุงแตกครั้งที่ 2  พม่าน่าจะได้ทรัพย์สินจากอยุธยากลับไปมากโขอยู่   อย่างน้อยก็ทองคำที่เผาลอกไปจากพระพุทธรูป
แต่รายละเอียดไม่ทราบ  จำได้คร่าวๆแค่นี้ละค่ะ   
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 17:44

ว้ายยยยย จากเคยได้ A เลยได้ F จากท่านอาจารย์ซะแล้วหรือนี่

ผมกำลังสงสัยเรื่องการได้กำไรจากการทำสงครามหนะครับ  คำว่ากำไรในที่นี้อาจจะไม่ได้หมายถึงความมั่งคั่งหรือในรูปตัวเงินทั้งหมดก็ได้  เพราะดูเหมือนสงครามหลายๆ ครั้งในประวัติศาสตร์โลกเกิดขึ้นเพราะความทะเยอทะยานส่วนบุคคลล้วนๆ เช่นสมัยอเล็กซานเดอร์ของกรีกที่ยกทัพตีไปทั่วจนมาถึงอินเดีย  หรือโรมันยกทัพไปบุกเกาะอังกฤษสมัยจูเลียสซีซาร์ หรือเจงกิสข่านบุกมาถึงยุโรปตะวันออก  มุสโสลินีบุกอบิสซีเนีย  ฯลฯ   จะว่าเพื่อบุกเบิกหรือสร้างความมั่นคงให้กับเส้นทางการค้าก็ไม่น่าจะใช่   มันไม่มีความจำเป็นขนาดต้องทำสงครามยาวนานบุกไปเรื่อยๆ แบบนั้น แต่สงครามเหล่านี้แม่ทัพนายกองตัวเอ้ๆ ก็ได้ความร่ำรวยอยู่จริง

อย่างบุเรงนอกยกทัพมาตีอยุธยาเนี่ย ผมก็สงสัย คือบุเรงนองแกก็ร่ำรวยอำนาจล้นฟ้าอยู่แล้ว อยากได้ทองได้ อยากได้แก้วได้ อยากได้ลูกเขาเมียใครอำนาจขนาดนั้นก็ได้ ขุนนางเจ้าเมืองต่างๆ ใต้อำนาจก็ไม่กล้าหือ ความมั่นคงเต็มเปี่ยมล้น เส้นทางการค้าพม่าช่วงนั้นอยุธยาก็ไม่น่าเป็นอุปสรรคใดๆ อีก จะแย่งชิงเมืองแถวตะเข็บขายแดนราชอาณาจักรกันเพื่อผลประโยชน์อย่างเดียวเหมือนมันไม่น่าจะใช่หนะครับ  ทางออกทางทะเลก็มีมากมาย  ทรัพยากรต่างๆ ก็ใกล้เคียงกัน   บุเรงนองมาตีอยุธยาชนะแล้วก็ได้แต่กวาดต้อนผู้คนทรัพย์สินไปไม่ได้เผาเมืองทิ้ง  ผมว่าอันนั้นเป็นธรรมดาเพราะสงครามต้องลงทุนก็ต้องถอนทุน แต่ไม่น่าจะเพราะอยากได้เงินทองเป็นหลักมั๊ง  ไม่อยากให้ใครมามีชื่อเสียงโด่งดังเป็นคู่แข่งมากกว่า ผมเดาๆ ใจบุเรงนองเอานะครับ

ที่เดาแบบนี้ประวัติศาสตร์โลกมีผู้นำกระหายสงครามมากมายที่ก่อสงครามโดยไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยนอกจากเพราะความอยากได้หน้าหรือเพราะหลงตัวเองเท่านั้น เป็นเรื่องของกิเลสส่วนตนล้วนๆ การกวาดต้อนผู้คนทรัพย์สินเป็นเพียงผลพลอยได้ที่ตามมาเท่านั้น เหมือนสงครามหลายครั้งเกิดจากความอยากไม่มีที่สิ้นสุดของผู้นำที่หลงไหลในอำนาจมากกว่า
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง