เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 14708 อยากเห็น "เงินผูกปี้"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 19 ต.ค. 12, 18:16

ครั่งที่ใชัยึดปลายของเชือกก็คงจะเป็นลักษณะนี้ หยดครั่งที่ละลายเหมือนเทียนโดนไฟลงไปเป็นก้อน แล้วใช้ตราประทับกดลงไป ทิ้งให้เย็น เป็นอันเสร็จการ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 19 ต.ค. 12, 18:21

ส่วนครั่งที่ประทับตราผูกปี้ คงหายากมาก ผมคิดว่าคงจะเพราะมันเปราะแตกหักง่าย๑ และหลังจากใช้นานๆมันจึงสกปรกดูไร้คุณค่า๑ เจ้าของคงไม่อยากเก็บไว้อวดลูกหลาน

ส่วนตราครั่งข้างบนเป็นของล้านนา ไม่ใช่ตราผูกปี้ แต่เป็นตราประจำตำแหน่งของจ้าวนาย อย่างไรก็ดี ผมคิดว่ามันคงจะมีลักษณะเดียวกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 19 ต.ค. 12, 18:25

ตราครั่งที่มีมาก พอจะเล่นสะสมกันได้เป็นของอังกฤษยุควิกทอร์เรีย ใช้ประทับตราหนังสือราชการที่สำคัญ แต่ของไทยผมไม่เคยเห็นใครสะสมไว้ได้เหมือนกันครับ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 20 ต.ค. 12, 06:55



ตอนผูกข้อมือ เอาครั่งหยดคงกระเด็นน่าดู  ยิงฟันยิ้ม


ไปได้มาจากคลังกระทู้เก่าที่พันทิป แม้จะไม่ใช่ แต่ก็คงจะเป็นวิธีการคล้ายๆ กัน

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/08/K9574086/K9574086.html





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 13:31

Ernest Young เขียนไว้ในหนังสือ The Kingdom of The Yellow Robe หน้า ๑๐ ว่า คนจีนจะไปผูกปี้และจ่ายเงินที่สถานีตำรวจ

As far as the casual observer can judge, in this capital of Siam there are no Siamese engaged in any hard manual labour at all. There are of course, many Siamese employed in various kinds of domestic or official work, but in the streets nearly every workman is Chinese.

There are nearly as many Chinese in the country as there are Siamese. They marry Siamese women, and their children make excellent subjects, as they possess both the natural brightness of the mother and the industry of the father.

Unless they renounce their own nationality they are subject to a poll-tax of about five or six shillings, payable once every four years. At a date made known by proclamation, each Chinaman must present himself at the police-station and pay the tax. The receipt given is a small piece of bee's-wax about the size of a three-penny piece. This bears a seal, and is worn on the wrist for a certain time, fastened by a piece of string.

The police are very busy at this time, as there is nothing the Siamese policeman so much enjoys as leading some unfortunate Chinaman to pay the tax. Should the seal be lost, the alien is bound to buy another as soon as he is requested by some officer of the law.

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 13:53

กำลังลังเลอยู่ว่าจะเอาลงที่นี่ หรือที่กระทู้ตำรวจดี คุณเพ็ญก็ได้ช่วยให้ตัดสินใจ

The Kingdom of The Yellow Robe

ปี พ.ศ. 2441 ( ค.ศ. 1898 ) นายเอิร์นเนสต์ ยัง ( Ernest Young ) ชาวอังกฤษ ผู้เคยพำนักในสยามหลายปี เขียนหนังสือเรื่อง " ราชอาณาจักรกาสาวพัตร์ " ( The Kingdom of The Yellow Robe ) ตีพิมพ์ในประเทศอังกฤษ ได้กล่าวถึงคนจีนในบางกอกตอนหนึ่งว่า

.. เท่าที่สังเกตุในเมืองหลวงของสยาม ไม่มีคนไทยทำงานหนักเลย ส่วนใหญ่ทำงานบ้าน หรือรับราชการ งานหนักตกกับคนจีนเป็นส่วนใหญ่ สยามมีคนจีนมากพอๆ กับคนไทย คนจีนนิยมแต่งงานกับสาวไทย ลูกจีนจึงได้รับหน้าตาที่งดงามจากมารดา รับนิสัยขยันจากบิดา ลูกจีนเหล่านี้หากไม่สละสัญชาติจีนแล้ว จะต้องเสียค่าช่วยราชการ ( poll Tax ) เช่นเดียวกับบิดา เป็นเงินประมาณ 5 หรือ 6 ชิลลิ่ง ( ของอังกฤษ ) โดยจ่ายทุก 4 ปี

..เมื่อถึงวันที่ราชการประกาศ คนจีนต่างมุ่งสู่สถานีตำรวจเพื่อชำระภาษี หลักฐานการชำระเงิน ใช้เชือกผูกข้อมือข้างใดข้างหนึ่ง ปลายเชือกติดด้วยครั่ง และประทับตราของราชการ ครั่งนี้มีรูปกลมแบน ขนาดเหรียญ 3 เพนนี ( ของอังกฤษ ) ช่วงเวลานี้ตำรวจไทยทำงานหนัก คอยตรวจจับคนจีนไปเสียภาษี หากผู้ใดทำครั่ง หรือเชือกที่ผูกข้อมือหลุดหาย จะต้องไปเสียค่าปรับและทำใหม่ มิฉนั้นจะมีความผิด

นายยัง ได้บรรยายถึงภาพลักษณ์ของตำรวจสยาม ( พลตระเวน หรือโปลิศ ) ในสมัยนั้นว่า ..ตำรวจส่วนใหญ่เป็นคนไทย แต่งตัวสง่าสู้บุรุษไปรษณีย์ไม่ได้ ตำรวจใช้เครื่องแบบสีน้ำเงิน ตั้งใจเลียนแบบตำรวจกรุงลอนดอน แต่ผ้าที่ใช้สีตก และหดตัวทำให้ดูแล้วตลก ตำรวจชอบถือร่ม ชอบถลกขากางเกงเหนือเข่า ไม่สวมรองเท้า สวมหมวกยู่ยี่ แม้ไม่มีบุคลิคน่าเกรงขาม แต่ก็ไม่ถูกต่อต้านจากผู้จับกุม มักเห็นตำรวจโทรมๆ เหล่านี้นำผู้ต้องหา 3 ถึง 4 คนเดินไปโรงพัก ให้ผูกข้อมือไพล่หลังด้วยผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าพันคอของผู้ต้องหาเอง

( คนจีนในสยาม สมัยนั้นสังเกตุได้ง่ายว่าต่างจากคนไทย เพราะคนจีนไว้ผมเปียทุกคน เพิ่งมาเลิกหลังปี ค.ศ. 1911 หลังราชวงศ์ชิงถูกโค่นล้ม จีนเป็นสาธารณรัฐ )

** กล่าวเพิ่มเติม นายยังผู้นี้ได้เขียน ไว้ในบทนำของหนังสือข้างต้นว่า เขาเป็นเพื่อนกับนายโรเบิร์ต โมรันต์ ( Mr. Robert L. Morant ) ผู้ซึ่งเคยเป็นอาจารย์ใหญ่แห่งโรงเรียนราชกุมาร ภายในพระบรมมหาราชวัง ( Rajaku-mara School ) นายยังได้รับคำแนะนำ และคำวิจารณ์จากท่านผู้นี้ เรื่องการผูกปี้คนจีนในสยาม.........

การผูกปี้คนจีนในสยาม

.. การเก็บภาษีคนจีนในสยาม รัฐบาลสยามใช้วิธีผูกเชือกที่ข้อมือข้างหนึ่ง และตีด้วยครั่ง เรียกกันว่า " ผูกปี้ "
เดิมที คำว่า " ปี้ " มาจากภาษาจีน หมายถึง เงินเหรียญกลมแบน
ส่วนภาษาไทย ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน คำว่าปี้ หมายถึง กระเบื้องถ้วย หรือทองเหลือง หรือแก้ว ทำเป็นเครื่องหมาย สำหรับใช้แทนเงินในบ่อนเบี้ย และยังหมายถึง " ครั่งประทับตราที่ผูกข้อมือจีนครั้งก่อนเป็นสำคัญว่า ได้เสียค่าราชการแล้ว "

การเก็บภาษีโดยตรงจากคนจีน ที่อพยพทำมาหากินในสยาม เป็นรายหัว มีครั้งแรกตั้งแต่สมัย รัชกาลที่สาม แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเก็บเงิน หนึ่งบาท สองสลึง ทุกๆ สามปี
.. ระหว่างปี พ.ศ. 2371 - 2452 ( ค.ศ. 1828 - 1909 ) เก็บภาษีคนจีน 3 ปีครั้ง กำหนดเป็นเงิน 4 บาทสลึง
การเก็บภาษี (ผูกปี้) จากคนจีนต่างกับ เงินช่วยราชการ จากชายฉกรรจ์ไทย เพราะคนจีนที่มาเมืองไทยไม่ถูกต้องเกณฑ์แรงงาน (ไม่ได้ถูกสักข้อมือเป็นไพร่ของชายไทย) ได้รับยกเว้นการรับใช้มูลนายเป็นส่วนตัว จึงประกอบอาชีพอิสระ มีอาชีพตั้งแต่กรรมกรใช้แรงงาน จนถึงฐานะสูงส่งเป็นถึงเจ้าสัว เถ้าแก่ เจ้าภาษีนายอากร

หลังจากสยามลงนาม ในสนธิสัญญาเบาริ่ง กับอังกฤษ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 ( ค.ศ. 1855 ) สยามค้าขายกับต่างประเทศอย่างเสรี มีเรือเดินสมุทร ระหว่างกรุงเทพฯ กับ เมืองซัวเถา ของจีนเป็นประจำ เป็นผลให้มีคนจีนอพยพ มาพำนักในสยามเพิ่มขึ้นทุกปี

ตลอดราชกาลที่ 4 และ 5 จนสิ้นสุดการผูกปี้ ในปี พ.ศ.2453 รัฐบาลไม่เคยขึ้นภาษีการผูกปี้เลย แม้ว่ารายได้จากภาษีประเภทนี้ จะไม่สูงนัก แต่รัฐบาลสยามต้องพึ่งแรงงานจีนเพื่อพัฒนาประเทศ รัฐเก็บภาษีทางอ้อมจากคนจีน ที่เพิ่มจำนวนสูงขึ้นทุกปี เช่น จากภาษีฝิ่น ภาษีบ่อนการพนัน ภาษีสุรา อบายมุขเหล่านี้ จูงใจให้กรรมกรจีน (กุลี) อุดหนุนเป็นส่วนใหญ่ ทำรายได้ให้รัฐมากกว่าเงินจากผูกปี้


โดย : นายแพทย์พิพัฒน์ ชูวรเวชที่มา : วารสารตราไปรษณียากร
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง