เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8]
  พิมพ์  
อ่าน: 67526 คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ 176 คำ ที่อาจจะต้องแก้ไขใหม่
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 09:41

" แสงทอง" หรือหลวงบุณยมานพพาณิชย์  เคยให้ความเห็นเรื่องการสะกดคำในพจนานุกรมไว้ ว่า

การออกเสียง Chocolate    ข้าพเจ้าเข้าใจว่า  พจนานุกรมคลาดเคลื่อนที่ให้ไว้เป็น ช๊อกโกเลต  เพราะตัวอักษรเสียงต่ำจะผันไม้ตรีไม่ได้     และถ้าจะให้เสียงถูกต้องด้วย  ต้องเขียน ช้อกโกเล้ต
ชอล์ก   ควรเป็น ช้อล์ก
เต็นท์   ควรเป็น เต๊นท์   ปทานุกรมเคยใช้ เต็นต์
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 16:18

เกือบลืมเข้ามากราบขอบคุณท่านอาจารย์เพ็ญชมพูซะแล้วครับ  แม้จะยังงงๆ  บ๊ะ ไม่มีรูปกราบ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 18:42

เพียงแต่คุณประกอบ      เข้ามาขอบคุณก็พอ
รูปกราบไม่ต้องหนอ      หากไม่งงคงยินดี

 ยิงฟันยิ้ม     

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 17 ธ.ค. 12, 20:27

ข่าวล่ามาเร็ว

"ราชบัณฑิต"ล้มแผนคำยืมจากภาษาอังกฤษ เสียงไม่เห็นด้วย ๑๗๘ เสียง

นายอุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ ราชบัณฑิต ประธานสำนักศิลปกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณากำหนดแนวทางการเขียนคำที่ยืมมาจากต่างประเทศ เปิดเผยว่า หลังจากนางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต และนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย ได้จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นจากคณะกรรมการราชบัณฑิต และภาคีสมาชิก รวม ๓๖๐ ชุด เกี่ยวกับการขอเปลี่ยนแปลงการเขียนคำที่ยืมจากภาษาอังกฤษใหม่๑๗๖ คำ ที่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เนื่องจากมองว่าเขียนไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้น ๆ ตามอักขรวิธีไทยและการอ่านออกเสียง อาทิ แคลอรี เป็น แคลอรี่, โควตา เป็น โควต้า, เรดาร์ เป็น เรด้าร์, ซีเมนต์ เป็น ซีเม็นต์, เมตร เป็น เม้ตร, คอนเสิร์ต เป็น ค็อนเสิร์ต, คอมพิวเตอร์ เป็น ค็อมพิ้วเต้อร์, คลินิก เป็น คลิหนิก เป็นต้น

นายอุดมกล่าวต่อว่า ขณะนี้กองศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน ได้สรุปผลสำรวจดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากแบบสอบถามทั้งหมด มีราชบัณฑิต และภาคีสมาชิก ตอบคำถาม และส่งคืนทั้งหมด ๒๘๓ ชุด โดยมีผู้เห็นด้วย กับข้อเสนอของนางกาญจนาที่ต้องการแก้ไขคำยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ และให้เขียนศัพท์ให้ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้น ๆ ตามอักขรวิธีไทย และการอ่านออกเสียง มี ๑๗ คน ส่วนไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว มี ๑๗๘ คน นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่เห็นด้วย แต่เห็นด้วยบางคำ ๘๑ คน และไม่ลงความเห็นอีก ๗ คน รวมทั้งหมด ๒๘๓ คน

นายอุดมกล่าวว่า ในการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ เมื่อจำแนกความเห็นของราชบัณฑิต และภาคีสมาชิกออกเป็นส่วน ๆ พบว่า สำนักวิทยาศาสตร์ ไม่เห็นด้วย ๖๑ คน สำนักศิลปกรรม เห็นด้วย ๕ คน ไม่เห็นด้วย ๔ คน เห็นด้วยบางคำ ๑๐ คน สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง เห็นด้วย ๗ คน ไม่เห็นด้วย ๑ คน เห็นด้วยบางคำ ๕ คน และไม่ออกความเห็น ๕ คน กรรมการวิชาการ กองวิทยาศาสตร์ เห็นด้วย ๑ คน ไม่เห็นด้วย ๓๐ คน เห็นด้วยบางคำ ๒๓ คน กรรมการวิชาการ กองศิลปกรรม เห็นด้วย ๑ คน ไม่เห็นด้วย ๓๕ คน เห็นด้วยบางคำ ๑๗ คน ไม่ออกความเห็น ๒ คน กรรมการวิชาการ กองธรรมศาสตร์และการเมือง เห็นด้วย ๑ คน ไม่เห็นด้วย ๓๒ คน เห็นด้วยบางคำ ๑๗ คน และไม่ระบุสังกัด เห็นด้วย ๒ คน ไม่เห็นด้วย ๑๕ คน และเห็นด้วยบางคำ ๙ คน

"ทั้งนี้ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่เบื้องต้นพบว่าคนที่ไม่เห็นด้วยหลายคน ให้เหตุผลประกอบว่าการเขียนตามแบบเดิมดีอยู่แล้ว ไม่สมควรแก้ไข หรือว่าเปลี่ยนอะไรอีก อย่างไรก็ตาม ได้นำผลการสำรวจความเห็นดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมสภาราชบัณฑิตยสถานให้พิจารณาว่าจะทำอย่างไรกับประเด็นดังกล่าว ที่ประชุมมีมติว่าเมื่อเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ก็สมควรให้ยุติเรื่องดังกล่าวไว้เท่านี้ก่อน นางกาญจนาก็ยอมรับ" นายอุดมกล่าว

นายปัญญา บริสุทธิ์ นายกราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า เมื่อผลการสำรวจออกมาเช่นนี้ เป็นการยืนยันได้ว่าเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข เพราะของเก่าที่ดีอยู่แล้ว ดังนั้น ทางราชบัณฑิตยสถานยืนยันตอนนี้ไม่แก้คำยืมจากภาษาอังกฤษแน่นอน โดยยังถือหลักการเขียนคำในภาษาต่างประเทศ ตามพระดำริของพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน ว่าการเขียนคำในภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษออกเสียงไม่แน่นอน จะออกเสียงอย่างไรย่อมแล้วแต่ประโยค เสียงจะสูงต่ำก็แล้วแต่ตำแหน่งของคำในประโยค จึงทรงเห็นว่าไม่ควรใช้วรรณยุกต์กำกับ อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตมีเหตุผล หรือว่าเสียงส่วนใหญ่สนับสนุน ตนก็ไม่คัดค้าน

นางกาญจนากล่าวว่า เมื่อผลสำรวจความเห็นออกมาเช่นนี้ก็ยอมรับ แต่ยืนยันว่าที่อยากให้แก้วิธีเขียนคำศัพท์ดังกล่าวให้ตรงกับการเขียนตามอักขรวิธีไทยนั้น เห็นว่าหลาย ๆ คำได้แก้ และเปลี่ยนวิธีการเขียนให้ตรงตามเสียงอ่านแล้ว ดังนั้น อยากให้ทุกคนเปิดใจยอมรับ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราชบัณฑิตไม่เห็นด้วยกับแก้วิธีการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษ แต่ส่วนตัวยืนยันว่าจะใช้วิธีดังกล่าวเขียนในงานเขียนส่วนตัวต่อไป เพราะมองว่าเป็นวิธีการเขียนที่ถูกต้อง

ข่าวจาก มติชน

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 23 ธ.ค. 12, 13:21

แล้วนี่ล่ะ ท่านจะว่าอย่างไร


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 23 ธ.ค. 12, 14:51

มายสเปซ (MySpace) =  ปริภูมิอัตตโน    นึกว่าจะใช้  "อัตโนอวกาศ"   ยิ้มเท่ห์ เสียอีก

วิกกี้เล่าว่า รอยอินบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์ไว้ตามนี้

        hardware ใช้ทับศัพท์ว่า "ฮาร์ดแวร์" หรือใช้ศัพท์ไทยว่า "ส่วนเครื่อง" หรือ "ส่วนอุปกรณ์" ก็ได้
        software ใช้ทับศัพท์ว่า "ซอฟต์แวร์" หรือใช้ศัพท์ไทยว่า "ส่วนชุดคำสั่ง" ก็ได้

นอกจากนี้ ยังมีศัพท์อื่น ๆ ที่เข้าใจผิดอย่างเดียวกัน เช่น "joystick" ที่เชื่อกันว่าราชบัณฑิตยสถานให้ใช้ว่า "แท่งหรรษา" แต่อันที่จริง ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า "ก้านควบคุม"
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 23 ธ.ค. 12, 14:57

ศัพท์ที่คุณนวรัตนนำมาเสนอเป็นผลงานบัญญัติศัพท์ของคุณ MacroArt



 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 23 ธ.ค. 12, 15:00

ต่อมาคุณชัย ราชวัตร นำมาใช้เป็นมุขในการเขียนการ์ตูนในไทยรัฐ

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 23 ธ.ค. 12, 15:03

แล้วคุณสุทธิชัย หยุ่น นำไปขยายต่อ

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 23 ธ.ค. 12, 21:17

วิกกี้เล่าว่า รอยอินบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์ไว้ตามนี้

        hardware ใช้ทับศัพท์ว่า "ฮาร์ดแวร์" หรือใช้ศัพท์ไทยว่า "ส่วนเครื่อง" หรือ "ส่วนอุปกรณ์" ก็ได้
        software ใช้ทับศัพท์ว่า "ซอฟต์แวร์" หรือใช้ศัพท์ไทยว่า "ส่วนชุดคำสั่ง" ก็ได้

นอกจากนี้ ยังมีศัพท์อื่น ๆ ที่เข้าใจผิดอย่างเดียวกัน เช่น "joystick" ที่เชื่อกันว่าราชบัณฑิตยสถานให้ใช้ว่า "แท่งหรรษา" แต่อันที่จริง ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า "ก้านควบคุม"

นางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตและนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการโพสความหมายของคำศัพท์คอมพิวเตอร์ในอินเทอร์เน็ต โดยอ้างว่าเป็นคำศัพท์ที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติขึ้น อาทิ

ละมุนพรรณ หมายถึง ซอฟต์แวร์ (Software) และกระด้างพรรณ หมายถึง ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

ซึ่งได้สร้างความเข้าใจผิดให้แก่ประชาชนอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีการแปลศัพท์คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกต้องอีกหลายคำ เช่น คำว่า

จิ๋วระทวย แปลมาจากคำว่า ไมโครซอฟท์ (Microsoft) โดย Micro แปลว่า เล็ก จิ๋ว และ soft แปลว่า อ่อนนุ่ม
แท่งหฤหรรษ์ แปลจาก จอยสติ๊ก (Joystick)
พหุบัญชร แปลจาก วินโดวส์ (Windows)
จุดอิทธิฤทธิ์ แปลจาก พาวเวอร์พอยท์ (Power Point)
พหุอุบลจารึก แปลจาก โลตัส โน้ต (Lotus Notes)
ภัทร แปลจาก เอ็กซ์เซล (Excel)
ปฐมพิศ แปลจาก วิชวลเบสิก (Visual Basic)
พหุภาระ แปลจาก มัลติทาสก์กิ้ง (Multitasking)
แท่งภาระ แปลจาก ทาสก์บาร์ (Taskbar)
สรรค์ใน แปลจาก บิลต์อิน (Build In) และ
ยืนเอกา แปลจาก สแตนอโลน (Standalone) เป็นต้น
    
"ขอยืนยันว่าศัพท์ดังกล่าวไม่ใช่การแปลความโดยราชบัณฑิต ซึ่งในการบัญญัติคำศัพท์คอมพิวเตอร์ของราชบัณฑิต จะมีคณะกรรมการบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์ เป็นผู้ดูแลโดยเฉพาะ และการแปลความจะเน้นว่าต้องไม่ใช้ภาษากำกวม หยาบคาย หรือสองแง่สองง่าม ซึ่งตามหลักการแล้วจะมีบางคำศัพท์ที่ต้องบัญญัติขึ้นใหม่ แต่ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเรียกทับศัพท์" นางกาญจนา กล่าวและว่า การโพสคำศัพท์คอมพิวเตอร์และอ้างว่าเป็นคำที่ ราชบัณฑิตบัญญัติขึ้น เป็นเรื่องที่น่าห่วง ซึ่งตนขอเตือนผู้ที่โพสข้อความ ในลักษณะดังกล่าวให้เลิกทำ อย่างไรก็ตามตนจะเสนอให้ราชบัณฑิตออกประกาศทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์คอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันความสับสนในการใช้ภาษาไทยของประชาชนต่อไป

http://www.thaipoet.net/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=thaipoetnet&thispage=32&No=1227522


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 10 ต.ค. 16, 12:16

เชิญต่อกระทู้นี้ค่ะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6600.msg154976;topicseen#msg154976
คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ 176 คำ ที่อาจจะต้องแก้ไขใหม่ (2)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง