เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 8
  พิมพ์  
อ่าน: 67445 คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ 176 คำ ที่อาจจะต้องแก้ไขใหม่
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 19:15

ถ้าจำไม่ผิดท่านอาจารย์ใหญ่ของผมจบอักษรศาสตร์มา  แต่ไม่รู้สาขาภาษาไทยรึเปล่า แต่ขอเหมารวมถามซะเลย  คือผมมีคำถามเรื่องพยัญชนะไทยบางตัวครับ สงสัยมาตั้งแต่เด็กๆ แต่ตอนนั้นกลัวครูไม่กล้าถาม  ตอนนี้เป็นเด็กหนวดแล้ว แต่ไม่รู้จะไปถามครูภาษาไทยที่ไหน เลยถามท่านอาจารย์เลย

ตัวอักษรเสียงต่ำเดี่ยว ได้แก่  ง  ม  น  ร  ล ว  ย ทำไมไม่ถูกจัดให้เป็นอักษรกลางเสียเลย ในเมื่อฐานเสียงของตัวอักษรเหล่านี้ก็เป็นเสียงกลางอยู่แล้ว ถ้าจัดเป็นเสียงกลางเราก็จะผันเสียงตัวอักษรเหล่านี้ได้ 5 ระดับแบบอักษรกลาง ไม่ต้องมาเติม ห หรือ อ นำหน้ากันอีก และมันก็แทนเสียงกันได้ เช่น

มา ม่า ม้า ม๊า ม๋า  ออกเสียงว่า มา หม่า หม้า ม้า หมา  คือเปลี่ยนการออกเสียงใหม่

มา  ออกเสียง มา เหมือนเดิม
ม่า แทนที่จะออกเสียงว่า ม่า แบบมาม่าปัจจุบัน ให้ออกเสียงว่า หม่า แทน 
ม้า  ส่วนคำที่สะกดว่า ม้า ปัจจุบัน ออกเสียงแบบ ม่า หรือ หม้า แทน
ม๊า แทนเสียง ม้า ที่สะกดในปัจจุบัน
ม๋า แทนเสียง หมา 


หรือผมทำให้เสียงบางตัวหายไปรึเปล่าครับ แต่ดูแล้วก็ไม่หาย  เพราะแบบที่ใช้ ห นำ กับไม่มี ห นำ รวมแล้ว 6 คำ  แต่มันจะมีคำที่เสียงพ้องกัน 1 คำ  ดังนั้นระดับเสียงจริงๆ ของทั้ง 6 คำจะมีแค่ 5 ระดับ  ดังนั้นปรับเป็นเสียงอักษรกลางน่าจะได้  หรือเพราะมันติดกฏคำเป็นคำตายหรืออะไรรึเปล่าครับ  หรือผมผันเสียงพลาดตรงไหน หลงลืมเสียงไหนไปรึเปล่าครับ

เอ๊ะ ถ้าจำไม่ผิดท่านอาจารย์เพ็ญชมพูนี่ก็เชี่ยวชาญภาษาไทยมากด้วยเหมือนกัน ถามซะด้วยอีกท่านครับ

บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 20:08

ดิฉันเป็นพวกเอกอังกฤษค่ะ       คำถามของคุณประกอบขอส่งไม้ต่อให้คุณเพ็ญชมพูนะคะ       เพราะยังไงก็เดาว่าคุณเพ็ญต้องเข้ามาตอบอยู่ดี

เท่าที่อ่านของคุณประกอบ  คุณเล่นคว่ำกฎเกณฑ์เลยนี่คะ เพื่อให้อ่านตัวอักษรได้อย่างต้องการ  
ถ้าจะทำอย่างคุณว่า  คือ  
มา  ออกเสียง มา เหมือนเดิม
ม่า ให้ออกเสียงว่า หม่า แทน
ม้า  ให้ออกเสียงว่า หม้า แทน
ม๊า แทนเสียง ม้า ที่สะกดในปัจจุบัน
ม๋า แทนเสียง หมา

เริ่มด้วยคำว่า ม่า ให้ออกเสียงว่า หม่า แทน
งั้น คำว่า ม่าน(เวที)  ร่า(เริง)  เงื้อ(ง่า)  จะออกเสียงว่าอะไร   หม่านเวที   หร่าเริง  เงื้อหง่า งั้นหรือคะ

ต่อไป  คำ  ม้า  ให้ออกเสียงว่า หม้า แทน
ปลาร้า  ก็ต้องอ่านออกเสียงว่า ปลาหร้า    หรือถ้าจะเอาเสียงเดิมไว้  ต้องสะกดใหม่ว่า ปลาร๊า    คุณน้า = คุณน๊า   น้ำปลา =น๊ำปลา
 ฮืม ฮืม ฮืม


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 21:05


เริ่มด้วยคำว่า ม่า ให้ออกเสียงว่า หม่า แทน
งั้น คำว่า ม่าน(เวที)  ร่า(เริง)  เงื้อ(ง่า)  จะออกเสียงว่าอะไร   หม่านเวที   หร่าเริง  เงื้อหง่า งั้นหรือคะ

ต่อไป  คำ  ม้า  ให้ออกเสียงว่า หม้า แทน
ปลาร้า  ก็ต้องอ่านออกเสียงว่า ปลาหร้า    หรือถ้าจะเอาเสียงเดิมไว้  ต้องสะกดใหม่ว่า ปลาร๊า    คุณน้า = คุณน๊า   น้ำปลา =น๊ำปลา
 ฮืม ฮืม ฮืม

ภาษาไทยฉบับประกอบปรับปรุงใหม่ จะเขียนแบบนี้แทนครับ ระบบภาษา(วิบัติ)ใหม่ ไม่ต้องใช้ ห หรือ อ นำหน้าเลย

เมื้อม้านเวทีถูกรูดลง พระเอกขี่ม๊านี๋ไปซื้อน๊ำปลาร๊าที่ร๊านน๊าสาว  น๊าร้าเริงเงื๊อง้าควานหาเจอแต่น๊ำปลาเลยบอกว่าย่าเอาไปเลยย้าไม่ชอบ

อ่านว่า: เมื่อม่านเวทีถูกรูดลง พระเอกขี่ม้าหนีไปซื้อน้ำปลาร้าที่ร้านน้าสาว   น้าร่าเริงเงื้อง่าควานหาเจอแต่น้ำปลาเลยบอกว่าอย่าเอาไปเลย ย่าไม่ชอบ    จุมพิต
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 21:33

คุณเพ็ญชมพูจะเห๋นด้วยฤๅไหม้น๋อ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 21:50

สิ่งที่คุณประกอบเสนอมาคือให้อักษรต่ำเดี่ยวผันได้ครบทั้ง ๕ เสียงโดยไม่ต้องใช้ ห หรือ อ มาช่วย

มา ม่า ม้า ม๊า ม๋า  ออกเสียงว่า มา หม่า หม้า ม้า หมา  

ตัวอย่างที่คุณประกอบยกมาเป็นการละเมิดกฎเกณฑ์ของภาษาไทย  มีคำเพียง ๑ คู่ที่เป็นไปได้ (ไม่นับคำว่า มา) คือ ม๋า และ หมา ซึ่งเป็นเสียงจัตวาเหมือนกัน

ม่า เป็นเสียงโท ออกเสียงว่า หม่า ซึ่งเป็นเสียงเอกได้อย่างไร

ม้า เป็นเสียงตรี ออกเสียงว่า หม้า (เสียงเดียวกับ ม่า) คงไม่ได้

ม๊า ไม่มีในสารบบการออกเสียง

สำหรับประโยคคำถามของคุณเทาชมพู

คุณเพ็ญชมพูจะเห๋นด้วยฤๅไหม้น๋อ

มีคำให้พิจารณาอยู่ ๓ คำคือ  ๑. เห๋น  ๒. ไหม้  ๓. น๋อ

คำที่ ๒ และ ๓ เห็นด้วยว่า เป็นเสียงเดียวกับ ไม่ (เสียงโท) และ หนอ (เสียงตรี)

ส่วนคำที่ ๑ ไม่มีในสารบบการออกเสียง เพราะรูปสามัญ "เห็น" ก็ออกเสียงจัตวาอยู่แล้ว

ข้อวิสัชนาก็จบลงด้วยประการฉะนี้แล

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 22:01

ก็คุณประกอบเขาจะละเมิดกฎ   คุณเพ็ญชมพูไปตอบว่าทำไม่ได้เพราะละเมิดกฎ  ก็จบกันละค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 22:04

ขออนุญาตกลับเข้าสู่หัวข้อเรื่องของกระทู้

รายการ คม-ชัด-ลึก วันจันทร์ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

 

ศ.ดร. อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยากร  

คุณครูคริสโตเฟอร์ ไรท์ พิธีกรรายการสอนภาษาอังกฤษทางโทรทัศน์ เข้าใจแจ่มแจ้ง

แต่คุณครูลิลลี่ (มีไม้เอก) ครูสอนภาษาไทย ยังคงไม่เข้าใจ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 22:59

   คลิปข้างบนนี้ สรุปได้ประโยคเดียวตามที่อาจารย์อมราพูด คือบัดนี้  มีการริเริ่มให้สะกดตรงตามแบบที่คนไทยออกเสียง  ผิดกับเมื่อก่อนที่สะกดอย่างหนึ่ง ออกเสียงอีกอย่างหนึ่ง  เท่านั้นเอง
   (เว้นแต่คำว่า  New York  ยังฟังไม่รู้เรื่องว่าจะสะกดยังไง  นิวหยอก หรือ นิวยอร์ค   อ้อ! วอชิงตัน หรือวอชิงตั้น)
   แต่การสะกดตามแบบออกเสียง จำกัดเฉพาะคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ     ไม่รวมภาษาไทยคำอื่นๆที่สะกดอย่าง ออกเสียงอีกอย่างมาตั้งแต่โบราณ
   อย่างไรก็ตาม  เมื่อราชบัณฑิตฯ ท่านออกมาแถลงแล้วว่าไม่เปลี่ยน  เอาไว้อย่างเดิม  ไม่มีวรรณยุกต์  ก็เห็นจะต้องยุติแต่เพียงนี้
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 23:37

ภาษาแต่ละภาษามีข้อจำกัดของตัวเองครับ

ภาษาในโลกนี้ส่วนมากแล้วไม่มีการใช้วรรณยุกต์ ที่มีวรรณยุกต์นั้น มีภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม จะมีภาษาไหนอีกคงต้องถามหาจากน้องกุ๊กเพิ่มเติม พวกภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์นั้น เขาจึงแยกเสียงวรรณยุกไม่ได้ เหมือนโจ๊กเรื่องสอนฝรั่งให้พูดว่า "ใครขายไข่ไก่" เป็นเรื่องที่ทารุณฝรั่งมาก อย่างฝรั่งอังกฤษเสียง กอ กับ ขอ ใครไม่ได้เรียน phonetics มาเป็นอันว่าแยกไม่ออกแน่ๆ สระเสียงสั้นเสียงยาวก็ไม่มี "ใครขายไข่ไก่" จึงกลายเป็น "ครายคายคายคาย" ซึ่งรับรองได้เหมือนกันว่าไม่มีคนไทยคนไหนฟังรู้เรื่องหรอกครับ

ตัว u ภาษาญี่ปุ่นอาจออกเสียงเป็น อุ หรือ อึ ได้ ขึ้นกับผู้พูด เพราะเขาแยกสองเสียงนี้ไม่ได้ครับ อุ และ อึ มีค่าเท่ากันสำหรับคนญี่ปุ่น ซึ่งอาจทำให้เกิดเรื่องร้ายแรงได้หากมาอยู่เมืองไทย

เสียง ch ของเขาก็อาจเป็น จ หรือ ช ได้เท่าๆกัน ก็เพราะเขาแยกสองเสียงนี้ไม่ออก แต่ sh ของเขา เราคนไทยไม่มี จึงฟังว่าเป็นเสียงเดียวกับ ch (ช) แต่สำหรับเขาแล้วเป็นคนละเสียงกัน สักยี่สิบกว่าปีที่แล้วมีละครญี่ปุ่นเรื่องหนึ่งมาโด่งดังในบ้านเราคือเรื่อง Oshin เราอ่านว่า โอชิน ซึ่งเป็นวิธีการอ่านที่เขย่าขวัญคนญี่ปุ่นมาก เพราะ โอ เขาแปลว่าใหญ่ ในขณะที่ sh ของเขาเราดันออกเสียงเป็น ch แล้ว ชิน ที่ใช้ ch สะกดมันแปลว่าอวัยวะเพศชายครับ

จะว่าไปแล้ว จากยุคอาณานิคมเป็นต้นมา หลายชาติยกเลิกระบบการเขียนด้วยตัวอักษรของตัวเอง ไปรับเอาอักษรโรมันมาใช้ โดยพัฒนาระบบการแทนเสียงในภาษาของชาติตนด้วยอักษรโรมัน ส่วนชาติที่ยังใช้อักษรของตัวเองอยู่ ก็พัฒนาระบบการถอดเสียงภาษาของตัวเองด้วยอักษรโรมันกันเกือบทุกชาติ เมื่อรวมพวกชาติตะวันตกเองซึ่งใช้อักษรโรมันกันอยู่แล้ว อักษรโรมันจึงการเป็นอักษรสากลที่คนแทบทุกชาติใช้สื่อสารกันได้

ระบบที่แต่ละชาติพัฒนาขึ้นมานั้น โดยมากมีกติกาที่ชัดเจนตายตัวเพื่อการออกเสียงในภาษาของตัวเองเป็นหลัก เห็นอักษรแต่ละตัว จะรู้แน่ว่าต้องออกเสียงอย่างไร แทบจะกล่าวได้ว่ามีแต่ภาษาอังกฤษเท่านั้นแหละที่ไม่ยึดหลักเกณฑ์นี้ คนไทยที่คุ้ยเคยกับภาษาอังกฤษ แต่ไม่รู้จักภาษาอื่นๆเลยจึงอ่านไม่รู้ข้อเท็จจริงข้อนี้

ความโชคร้ายซ้ำซ้อนของคนไทยก็คือ ระบบการใช้อักษรโรมันเขียนคำไทยที่ออกโดยราชบัณฑิตยสถานไม่แสดงความแตกต่างของสระเสียงสั้นเสียงยาว สระออ กับ สระโอ ก็แยกไม่ได้ ไม่มีเครื่องหมายแทนวรรณยุกต์ และที่แย่ที่สุดคือไม่สามารถแยกเสียง จ กับ ช ได้ เขียนว่า chong อาจอ่านได้ว่า จอง จ่อง จ้อง จ๋อง จง จ่ง จ้ง จ๊ง จ๋ง โจง โจ่ง โจ้ง โจ๊ง โจ๋ง ชง ฉ่ง ฉ้ง ช้ง ฉง โชง โฉ่ง โฉ้ง โช้งโฉง ชอง ฉ่อง ช่อง ช้อง ฉอง และอีกหลายเสียงที่หมดแรงจะไล่แล้ว มหัศจรรย์พันลึกดีทีเดียว ถือเป็นปัญหาของระบบการเขียนไทยด้วยอักษรโรมันที่ไม่เคยได้รับการชำระให้สมบูรณ์ ในขณะที่คนไทยส่วนมากที่ไม่เข้าใจเรื่องที่ว่าการเขียนคำด้วยอักษรโรมันนั้นแทนเสียงที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาษา ยึดติดอยู่กับภาษาอังกฤษอย่างเดียวก็มัวเซ็งว่าทำไม Phuket ต้องเขียนแบบนี้ Bangkok ต้องเขียนแบบนี้ให้ฝรั่ง (ซึ่งหมายถึงอังกฤษที่ใช้อักษรโรมันระบบมั่วแหลก) ล้อเลียนอยู่ไม่รู้จักจบสิ้นครับ

เรื่องที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ คนในชาติที่ใช้อักษรโรมันก็ไม่ต่างจากคนไทยนัก ส่วนมากยึดติดกับระบบการแทนเสียงของชาติตัวเอง (ดีกว่าไทยหน่อยที่ไปยึดภาษาอังกฤษที่มหามั่ว) เวลาเจอคำต่างชาติที่เขียนด้วยอักษรโรมัน (แต่ใช้ระบบแทนเสียงที่ต่างออกไป) ก็สนุกสิครับ ส่วนมากจะอ่านตามระบบของชาติตัวเอง ซึ่งบางคำคนชาติเจ้าของคำนั้นฟังไม่รู้เรื่องแน่นอน อย่าง women คนจีนเห็น คงต้องอ่าน หว่อเมินก่อนเลย

ไหนๆจะบ่นแล้ว ก็ขอบ่นให้ถึงที่สุดเลย เรื่องชาติที่มีวรรณยุกต์ด้วยกันนี่แหละครับ เวลาเอาคำชาติอื่นมา ไม่เข้าใจว่าทำไมวรรณยุกต์ถึงได้เพี้ยนอุตลุด ก็เข้าใจอยู่นะครับว่าวรรณยุกต์ของแต่ละชาตินั้นไม่ตรงกันเสียทีเดียว แต่เจียมอี๊ของจีนมาเมืองไทยกลายเป็นเกี้อมอี๋ เหล่าเต้งกลายเป็นเล่าเต๊ง และอีกเป็นร้อยคำซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเพี้ยนทั้งสิ้น ภาษาเวียดนามก็เป็นอีกภาษาหนึ่งซึ่งมีระบบวรรณยุกต์ ชื่อประเทศเขาคือเหวียดนาม เราก็ไม่สนใจเสียงวรรณยุกต์ของเขา เรียกตามใจเราว่าเวียดนาม แล้วรู้ไหมครับว่าเขาเรียกประเทศเราว่าอะไร ไถลาน ครับ 555 พอกันเลย
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 05 ต.ค. 12, 08:27

ผมอยากให้ท่านลองเข้าไปลองในเวปนี้ ที่ออกเสียงสะกดคำในภาษาต่างๆดู

http://www.oddcast.com/home/demos/tts/tts_example.php?sitepal

ผมเลือกเอาคำง่ายๆว่า court ให้ลองอ่านภาษาอังกฤษ

ในจำนวนสิบกว่าคนทั้งหญิงและชายจะออกเสียงเหมือน-ไม่เหมือนกันบ้าง ไล่ระดับแล้วก็ออกมาประมาณว่าอยู่ในช่วง ค้อร์ต-ขอร์ต-ข้อร์ต
คราวนี้ลองใหม่ เอาคำว่า ค้อร์ต ขอร์ต และข้อร์ต สามคำนี้ไปเลือกให้อ่านในภาษาไทยมั่ง คนอ่านอ่านออกมาสำเนียงเดียวคือ คอร์ต
นี่คือข้อเท็จในโลกที่เราสื่อสารกันทุกวันนี้

แล้วลองเอาศัพท์ในภาษาใดภาษาหนึ่งที่ไม่คุ้นหูคนไทย จะเป็นฝรั่งเศส เดนมาร์ก เสปญ ไปลองให้อ่านดู ในสิบคนจะออกสำเนียงต่างกันอย่างน้อยๆก็สามสี่แบบ ผมพยายามออกเสียงตามเขาเท่าไรก็ไม่เหมือน แล้วขอประทานโทษเถอะ หากราชบัณฑิตคิดค้นที่จะสะกดสำเนียงเหล่านั้นเป็นภาษาไทย แล้วตัวเองอ่านให้เจ้าของภาษาฟัง เขาก็คงส่ายหัว นอกจากว่าคนอ่านมีพื้นฐานแน่นจริงๆในภาษานั้นๆ หรือเคยอยู่ในประเทศเขามาแล้วจนพูดถนัดลิ้น จึงจะอ่านออกเสียงถูกต้องตามภาษาเดิมได้


ชอบอ่านที่คุณลุงเนาวรัตน์(ขออนุญาตเรียกคุณลุงเพราะมิบังอาจตีรุ่นเท่าครับ)แสดงความเห็น
เหตุผลนี้ราชบัณฑิตควรรับไปตรึกตรองให้หนัก
เรามักจะมองด้านเดียวว่า สิ่งนี้ผิด ต้องแก้เป็นแบบนี้
แต่เรามักจะไม่ได้มองให้รอบคอบปข้างหน้าว่า ไอ้สิ่งใหม่ที่ว่านี้จะนำปัญหาหรือความโกลาหลหรือวิบัติอะไรตามมา ซึ่งการมองเช่นนี้ได้จะต้องใช้สมาธิ สติ และปัญญาอย่างมาก เพราะต้องคิดในสิ่งที่ยังจับต้องไม่ได้ เช่นเดียวกับ Einstein (ขอโทษที่ไม่ได้เขียนคำไทย เพราะกลัวผิดหลักการของราชบัณฑิต ไม่รู้ว่าจะเขียน ไอน์สไตน์, อายน์สไตน์, อายน์สตายน์, ไอน์ชไตน์, อายน์ชตายน์ ฯลฯ หมดความมั่นใจในตัวเองไปเยอะเลยครับ)
ชอบมั๊กๆครับกับเหตุผลของคุณลุง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 05 ต.ค. 12, 08:38

นาน น๊าน จะมีคนชมทีนึง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 05 ต.ค. 12, 08:40

^
ดีใจที่ได้เป็นลุง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 05 ต.ค. 12, 09:04

^
เห็นท่านดีใจที่ได้เป็นลุง เสียก่อน   ไม่งั้นจะขอให้คุณสุจิตราเรียกพี่อยู่เชียวละค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 05 ต.ค. 12, 09:15

เห็นด้วยกับคุณ Crazyhorse ค่ะ 
กลับไปอ่านคำแถลงของราชบัณฑิตฯอีกที  โปรดอ่านข้อความนี้ซ้ำอีกครั้ง

"ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ในฐานะราชบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย ได้เสนอขอให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษ โดยแนะให้ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ หรือใช้อักษรสูง หรือใช้ ห นำในคำที่ไม่สามารถผันวรรณยุกต์ได้ ราชบัณฑิตยสถานจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดแนวทางการเขียนคำที่มาจากต่างประเทศ เพื่อพิจารณาเรื่องที่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล เสนอ คณะกรรมการฯ ได้มีมติให้ออกแบบสอบถามตามข้อเสนอของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล โดยสอบถาม ราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก และกรรมการวิชาการของราชบัณฑิตยสถาน เพื่อรับฟังความคิดเห็นเฉพาะภายในองค์กรเป็นเบื้องต้นให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และจะเสนอผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวต่อสภาราชบัณฑิต ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๕ วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

เขาสอบถามทำกันเป็นการภายในองค์กร   ไม่ได้มาเกี่ยวอะไรกับประชาชนภายนอกอย่างพวกเรานี่นา

จากนั้น ท่านก็แถลงด้วยว่า
"ผลการรับฟังความคิดเห็นภายในองค์กรฯ....ไม่ว่าจะมีผลเป็นประการใด  เป็นเพียงความเห็นส่วนหนึ่ง  ไม่ใช่ข้อยุติ..."
แปลภาษาราชการเป็นภาษาชาวบ้านว่า  ไม่ว่าผลออกมาว่าเอาหรือไม่เอา   ก็หยุดไว้ลอยๆแค่นั้นแหละ  ยังไม่ตัดสินอะไรลงไปหรอก
 
กด like ข้างล่างนี้กดให้คุณม้าและคุณลุงของคุณสุจิตรานะคะ  ไม่ได้กดให้คำแถลงของราชบัณฑิตฯ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 05 ต.ค. 12, 09:40

อ้างถึง
เห็นท่านดีใจที่ได้เป็นลุง เสียก่อน   ไม่งั้นจะขอให้คุณสุจิตราเรียกพี่อยู่เชียวละค่ะ

ธ่อ เป็นลุงก็หล่อแล้ว ไปตลาดแม่ค้าเค้าเริ่มเรียกคุณปู่ซะด้วยซ้ำ
.
.
ขอถือโอกาสนี้ให้ตัวLIKEในความเห็นของคุณม้าล่าสุดด้วยครับ คุณม้ารู้มาก เลยต้องหงุดหงิดมากหน่อยเป็นธรรมดา
ผมไม่รู้มาก เลยไม่หงุดหงิด เขาจะออกอะไรมาก็ช่างเขา ผมก็จะเขียนแบบของผมนี่แหละ เขาบอกว่าไม่ได้บังคับนี่ สุดท้ายคนไม่เอาด้วยมากเข้าก็พับฐานไปเอง

ดูแต่ภาษาไทยของจอมพลป.นั่นประไร ยังไม่ทันสิ้นยุคเผด็จการของท่านก็ซาโยนาระ ก่อนญี่ปุ่นจะแพ้สงคราม คำนับกลับประเทศเสียอีก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.213 วินาที กับ 20 คำสั่ง