ช้าก่อน คุณเพ็ญ โปรดอ่านคำให้สัมภาษณ์ของศ.กาญจนา
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000121006 จู่ๆ อะไรดลใจให้ลุกขึ้นมาปฏิวัติการเขียนครั้งใหญ่ขนาดนี้? ไม่ใช่ว่าเพิ่งลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงนะคะ จริงๆ แล้วกรรมการราชบัณฑิตฯ มีมติเรื่องนี้ออกมาตั้งแต่ปี 2550 แล้ว เพียงแต่ว่าเรายังไม่ได้พิมพ์พจนานุกรมเล่มใหม่ ก็เลยยังไม่ได้แก้ไขอย่างเป็นทางการ แต่ในพจนานุกรมฉบับเดิมนั้นก็มีคำทับศัพท์กว่า 200 คำแล้วที่ใส่วรรณยุกต์และเขียนได้ถูกต้อง นี่ก็เหลือแค่คำไม่กี่คำที่ยังไม่ได้แก้ ยังไม่ได้ใส่วรรณยุกต์ ก็เลยคิดว่าจะแก้ให้เสร็จไป ทางเราเองทำงานตรวจสอบและแก้ไขคำผิดมาตลอด ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมเพิ่งจะมาเป็นประเด็นอะไรกันในสังคมตอนนี้ ไม่เข้าใจเหมือนกันว่ามันเกิดอะไรขึ้น ถึงได้มีคนลุกขึ้นมาโวยวายอะไรกันนักกันหนา ก็แปลกดีเหมือนกันค่ะ (หัวเราะ) จริงๆ แล้วมันไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรเลย แค่เรื่องเขียนหนังสือให้ถูกต้อง ท่านเรียกของท่านว่า "คำทับศัพท์" ราชบัณฑิตฯออกมาแถลง ใช้คำว่า "คำยืม"
จะให้สรุปว่ากระไรดี
เห็นคำว่า "คำทับศัพท์" ในคำให้สัมภาษณ์ของอาจารย์กาญจนาตั้นแต่แรกแล้ว และคิดว่าต้องมีผู้ถามแน่
เรื่องนี้อาจารย์กาญจนาพลาด เข้ากับคำพังเพยที่ว่า
"สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง"

ขอขุดค.ห.นี้กลับมาอีกครั้ง เพราะยังติดใจอยู่
ดิฉันคิดว่าคนพลาดไม่น่าจะเป็นอาจารย์กาญจนา เพราะท่านระบุที่มาของคำทับศัพท์ 176 คำนี้ไว้ชัดเจน ว่า
"แต่ในพจนานุกรมฉบับเดิมนั้นก็มี
คำทับศัพท์กว่า 200 คำแล้วที่ใส่วรรณยุกต์และเขียนได้ถูกต้อง
นี่ก็เหลือแค่คำไม่กี่คำที่ยังไม่ได้แก้ ยังไม่ได้ใส่วรรณยุกต์ ก็เลยคิดว่าจะแก้ให้เสร็จไป"
คือ 176 คำนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคำ "ทับศัพท์" กลุ่มใหญ่กว่า 200 คำ ที่ดำเนินการแก้ไขใส่วรรณยุกต์ไปเรียบร้อยแล้ว
ในเมื่อมีที่อ้างอิงขนาดนี้จะเรียกว่าอาจารย์กาญจนพลาดอย่างไรได้ ท่านไม่ได้พูดสักคำว่า กลุ่มคำขนาดใหญ่นั้นคือคำยืม ท่านบอกว่าเป็นคำทับศัพท์มาแต่แรก
ถ้าจะมีคนพลาด คือคนที่เรียกกลุ่มคำใหญ่นั้นว่า "คำยืม" อันได้แก่ราชบัณฑิตฯและตัวแทนที่แถลง โดยไม่ได้ตรวจสอบว่าที่จริงมันคือคำทับศัพท์
ข้อนี้เป็นไปได้หรือไม่ ฝากให้คิด
หรือจะให้คิดว่าเอาเข้าจริงแล้ว คำยืมและคำทับศัพท์ก็เหมือนๆกันละ ใช้คำไหนก็แทนกันได้ งั้นหรือ?
ถ้างั้นคำจำกัดความของคำยืมและคำทับศัพท์ที่คุณเพ็ญชมพูยกมา ก็ต้องขีดทิ้งไปให้หมด ไม่ต้องไปจำให้เสียเวลา