เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 48500 สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
tubtimthai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 12 ต.ค. 12, 18:31

อ้อ.. ทับทิมสยามนั้นครั้งเมื่อฝรั่งเศษเข้าครอบครองเขมรและไทยบางจังหวัดนั้น คนฝรั่งเศสสมัยนั้นรู้ดีเรื่องคุณภาพของทับทิมสยาม สมัยนั้นฝรั่งเศษเรียกทับทิมพม่าว่าพลอยแดง แต่เรียกทับทิมสยามว่า Siam red diamond ครับ อันนี้มีคนเล่าให้ฟังมาอีกที

แสดงว่าตอนนั้นฝรั่งเศสได้ทับทิมสยามไปเยอะ แต่ตอนนี้ไม่รู้ไปอยู่ใหนบ้าง หรือสูญหายไประหว่างสงครามแต่ละครั้งหมดแล้วก็ไม่รู้ครับ
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 12 ต.ค. 12, 21:53

ไม่มีความรู้เรื่องสีทับทิมมากนัก ได้แต่มองๆเวลาผ่านร้านขายอัญมณี
แต่ทำให้นึกถึงคำที่ชาวบ้านเขาเปรียบเทียบ(เฉดสี)ที่มีซื้อ ขายกันทั่วไปว่า

ทับทิมสี... แดงอมม่วง แดงเลือดนก แดงตากระต่าย ชมพูกลีบกุหลาบ เป็นการเรียกพอให้นึกถึงสีสันแบบกว้างๆ
พอจะสื่อสารกันได้ง่ายๆ

เหมือนเรียกสีของเสื้อผ้าเทียบกับธรรมชาติ เช่นเขียวตองอ่อน  เขียวหัวเป็ด  เขียวแบบปีกแมลงทับ  เขียวขี้ม้า

เขียวใบเตย  เขียวนกพิราบ  เขียวปี๋ ....

คำเรียกเฉดสีแบบนี้เคยมีคนรวบรวมไว้ในวิทยานิพนธ์ทางภาษา ที่อักษร จุฬา (เคยเห็นนานมากแล้วคะ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 13 ต.ค. 12, 20:44

อ้อ.. ทับทิมสยามนั้นครั้งเมื่อฝรั่งเศษเข้าครอบครองเขมรและไทยบางจังหวัดนั้น คนฝรั่งเศสสมัยนั้นรู้ดีเรื่องคุณภาพของทับทิมสยาม สมัยนั้นฝรั่งเศษเรียกทับทิมพม่าว่าพลอยแดง แต่เรียกทับทิมสยามว่า Siam red diamond ครับ อันนี้มีคนเล่าให้ฟังมาอีกที

คนฝรั่งเศสคงเรียกตรงกันข้ามกับคนไทย     สมัยแม่ดิฉัน เรียกทับทิมจากพม่าว่าทับทิม   ส่วนมณีสีแดงที่ขุดได้ในเมืองไทย เรียกว่าพลอยแดง  ถ้าได้จากจันทบุรีก็เรียกว่าพลอยจันท์   ไม่เป็นที่นิยมเท่าทับทิมพม่าค่ะ
บันทึกการเข้า
Ratananuch
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 16 ต.ค. 12, 10:12

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีรายการทีวีรายการหนึ่งพาไปชมตลาดพลอยเมืองจันท์ มีการอธิบายเรื่องทับทิม และนำมาโชว์ว่า นีคือทับทิมสยามสีจะออกแดงอมชมพู ทับทิมพม่าสีแดงสด แสดงว่าใครอยากจะซื้อทับทิมสยามก็ไปหาได้ที่ตลาดเมืองจันท์ซิคะ
 
บันทึกการเข้า
tubtimthai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 17 ต.ค. 12, 16:08

เท่าที่ฟังมาทับทิมไทยน่าจะไม่มีแล้วนะครับ ที่เหลืออาจเป็นของเก่าเก็บ หรือไม่ก็เป็นทับทิมจากเขมรซึ่งอาจถือว่าเป็นทับทิมสยามได้เหมือนกันครับ ความจริงตอนนี้ที่ไทยขายไม่ใช่พลอยแต่เป็นชื่อเสียงเรื่องการเจียรนัยและการออกแบบเครื่องประดับซะมากกว่า และพอหนักๆ เข้าผู้ค้าก็ไม่เล่นของเกรดสูงราคาแพงเพราะใช้ทุนสูงและนอนทุนยาว ผมเคยได้ยินว่าคนที่มีทับทิมสยามเอาของไปขายเมืองจันทร์แต่ไม่มีคนซื้อเพราะเม็ดเดียวซื้อพลอยอื่นได้ครึ่งตลาดเลยไม่มีพ่อค้าคนใหนอยากจับไว้ครับ

  ส่วนเรื่องชื่อผมก็ได้ยินมาเหมือนกันครับว่าคนเมืองจันทร์เรียกพลอยตัวเองว่าพลอยจันทร์ ซึ่งคนจัทร์ชอบเรียกอย่างนั้นจริงๆ แม้แต่ตอนนี้พลอยชมพูของอาฟริกายังเรียกว่าทับทิมอาฟริกาอยู่เลย แต่จากน้ำเสียงแล้วเค้าก็ค่อนข้างภูมิใจในพลอยจันทร์กันนะครับ ยิ่งตอนนี้พลอยจันทร์เองก็ยังหายากมากความรู้สึกยิ่งเข้มข้นมากขึ้น

  ที่จริงการเรียกชื่อนี้ผมก็ได้ยินมาหลายทางเหมือนกัน ส่วนเรื่องตามบันทึกต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตเท่าที่พบก็ย้อนหลังไปแค่ 30-40 ปีเท่านั้นเอง และคำว่าทับทิมสยามนี้ได้มาตอนใหน ถ้าได้มาตอนที่เรายังเป็นประเทศสยามก่อนที่ประเทศไทยจะถูกฝรั่งเศสและอังกฤษหั่นแยกแบ่งกันนั่นก็อาจแปลว่าชื่อนี้ได้มาก่อนตลาดพลอยเมืองจันทร์จะบูมเสียอีก ความจริงประเทศสยามอาจได้มาแต่ชื่อส่วนตัวพลอยเขมรนั้นพร้องเสียมราชฎร์หรือเปล่าก็ไม่ทราบได้ เรื่องนี้ก็อาจเป็นประเด็นค้นคว้าที่ยาวมากๆ ได้อีกเรื่องหนึ่งเหมือนกันครับ

  ช่วงนี้ผมขบคิดหนักเรื่อง คุณค่า กับ มูลค่า ที่คุณ naitang พูดไว้และคิดเรื่องนี้อย่างจริงจังมาตลอด แต่คิดยังไงก็ยังคิดไม่ตกเพราะว่าฝ่ายฝรั่งก็มีคำว่า rarity อีกคำหนึ่งเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น
  มรกตจากแคชเมียร์ ซึ่งถือเป็นมรกตคุณภาพสูงสุดที่คนทั้งโลกยอมรับ แต่มรกตจากแคชเมียร์นั้นหมดไปนานมากแล้ว มูลค่าของมันสูงมากและก็มีคุณค่าแบบสากล ซึ่งต่างจากทับทิมสยามเพราะรู้สึกประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งจะขาดตอนไป และสังหรใจว่าคุณค่าและมูลค่าของทับทิมสยามนั้นจะมาไม่พร้อมกันยังไงๆ อยู่ครับ

  เพียงแต่ว่าทำไม่คำว่า ทับทิมสยาม นั้นยังมีคุณค่าและมูลค่าสูงมากสำหรับคนกลุ่มหนึ่งที่ผมได้ข้อมูลมา มันเป็นข้อมูลจริงหรือแค่คำพูดทางการตลาด มันมีคุณค่าสำหรับคนกลุ่มเล็กๆ หรือแท้จริงมันมีคุณค่าแบบสากล โจทก์ข้อนี้แก้ได้ยากเพราะนั่นต้องหมายถึงต้องมีทับทิมสยามมาปรากฏตัวขึ้นเพื่อทดสอบเรื่องนี้ แล้วใครกันที่จะกล้าทำแบบนั้น เป็นเรื่องที่ยากจริงๆ ครับ
บันทึกการเข้า
tubtimthai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 18 ต.ค. 12, 19:55

วิดีโอนี้มีผู้ยืนยันว่าการเผาพลอยเป็นความบังเอิญจากเหตุการไฟใหม้ตลาดพลอยครับ
บันทึกการเข้า
mrpzone
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 18 ต.ค. 12, 20:50

วิดีโอนี้มีผู้ยืนยันว่าการเผาพลอยเป็นความบังเอิญจากเหตุการไฟใหม้ตลาดพลอยครับ
ynYmIOLKyUE

แสดงวีดีโอจากยูทูปให้ครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 18 ต.ค. 12, 21:32

เหตุการณ์เกิดไฟไหม้ในตลาดจันทบุรี จนทำให้พลอยที่ถูกเผากลายเป็นพลอยสีสวยขึ้นนั้น ดิฉันเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง
แต่มันไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการเผาพลอยในไทย      ในกรุงเทพ  เรามีการเผาพลอย ที่เรียกว่า "หุง" มานานแล้ว  ดิฉันก็ไม่ทราบว่าประวัติการหุงพลอยมีมาแต่ครั้งไหน อาจเป็นได้ว่ามีมาตั้งแต่อยุธยา แล้วสืบเนื่องต่อมาถึงรัตนโกสินทร์

ในรัชกาลที่ ๒  กวีเอ่ยถึงพลอยหุง ไว้ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง   ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

แต่แรกเชื่อว่าเนื้อทับทิมแท้                 มาแปรเป็นพลอยหุงไปเสียได้
กาลวงว่าหงส์ให้ปลงใจ                     ด้วยมิได้ดูหงอนแต่ก่อนมา

จากเนื้อความนี้แสดงว่า "พลอยหุง" เป็นพลอยสีแดงลักษณะเหมือนทับทิม ดูเผินๆอาจจะแยกจากกันยาก     แต่คนไทยสมัยนั้นถือว่า "พลอยหุง" ไม่ใช่ทับทิมแท้   ทับทิมแท้ต้องไม่ผ่านเทคนิคการเปลี่ยนสี   แต่พลอยหุงก็คงมีการผลิตกันมากอยู่ จึงเป็นที่รู้จักกันจนนำมาเปรียบเทียบในกลอนบทนี้
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 19 ต.ค. 12, 23:14

ดิฉันเคยเห็นทับทิมเม็ดโตพองาม ที่อ.แม่สะเรียง ในร้านขายพลอย
มันมีสีแดงแต่ไม่จัดจ้านนักแต่มีความใสในเนื้อหิน คล้ายเม็ดทับทิม(ผลไม้ )
มีผู้รู้บอกว่าเป็นทับทิมที่ยังไม่ได้เผา ...เข้าใจว่าจะเป็นทับทิมธรรมชาติ

มีใครเคยเห็นอะไรทำนองนี้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
tubtimthai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 23 ต.ค. 12, 04:02

ขอตอบตามประสาคนเพิ่งศึกษานะครับ

ตอบคุณพวงแก้วนะครับ เรื่องสีของพลอยนั้นเป็นเรื่องเอกที่แยกคุณค่าและมูลค่าของพลอยแต่ละชนิดออกจากกัน เม็ดพลอยเม็ด 1/5 กรัม ราคาอาจแค่ 5 USD หรืออาจเป็น 10,000 USD อยู่ตรงที่สีเป็นโจทก์หลักครับ ตอนนี้ชื่อเสียงของร้านค้าในไทยคือ 95-99% เป็นของไม่แท้ครับ เป็นเรื่องน่าเศร้าจริงๆ ถ้าเป็นไปได้วันหลังจะเอาตัวอย่างภาพทับทิมที่มีค่าจริงๆ มาลงให้ดูครับ

ตอบคุณเทาชมพูครับ เรื่องการเผาพลอยนั้นผมก็คิดเช่นนั้นเหมือนกัน ที่ผมตามหาเหตุการณ์ไฟใหม้นั้นที่ว่านั้นเพราะสงสัยว่ามีไฟใหม้จริงหรือแค่อ้างกันมาลอยๆ เท่านั้นมา จึงได้ตามหาหลักฐานบางอย่างเพื่ออ้างอิง แต่ผมก็คงยังไม่ได้ไปทางใหนและตอนนี้คงไม่ได้เจาะลึกเรื่องนี้ไปมากกว่านี้ครับ

หลายวันผ่านผมค้นข้อมูลหลายเรื่อง บางเรื่องพบแล้วก็เป็นน่าสนใจ เช่น สิงค์โปร์สนใจจะเป็นศูนย์กลางการซื้อขายพลอยและทับทิมของเอเซียไต้นี้ ฟังดูแล้วก็น่าสนใจ เพราะเค้าไม่มีทรัพยากรแต่เค้ากลับเป็นตัวแทนค้าเครื่องมือวิเคราะห์และเจียรนัยเพชรพลอยที่สำคัญๆ ของโลกหลายยี่ห้อ และเค้าสามารถเกี่ยวข้องกับการซื้อขายพลอยและทับทิมก้อนใหญ่ๆ จากไทยและเขมรในหลายเหตุการณ์ อันนี้น่าคิดนะครับ
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 23 ต.ค. 12, 17:17

เดาเล่าๆนะคะว่าเป็นเพราะความน่าเชื่อถือหรือเปล่า ที่ทำให้สิงคโปร์ดูมีแต้มต่อมากกว่า
การซื้ออัญมณีมีราคา ต้องการการรับรองที่เชื่อถือได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์

แต่เท่าที่ได้ยินมาตลาดพลอยที่เมืองจันทบุรีมีชื่อเสียงอยู่มากในขณะนี้
ก็คุยกันตามประสานะคะ  ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมายมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 24 ต.ค. 12, 14:32

เห็นภาพนี้แล้วสงสัยคะว่า มณีสีแดงขุ่นๆนี้ใช่ทับทิมไหมคะ ทำไมการเจียระนัยจึงไม่เหมือนสมัยนี้

ทำไมไม่ดูเงางาม แต่ดูด้านๆ คะ


บันทึกการเข้า
tubtimthai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 24 ต.ค. 12, 20:38

ผมเข้าใจว่าสิงค์โปร์เค้าทำงานอย่างมีแบบแผนและสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ครับ ปัญหาของผู้ผลิตคือการหาลูกค้า หากสิงค์โปร์เค้าสามารถมีรายชื่อและสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าไว้ได้ตลอด ขอเพียงมีคนมาเสนอขายพลอยเม็ดสวยๆ เค้าก็จะสามารถเสนอราคาซื้อและหาลูกค้าที่จะขายได้เลยในทันที อันนี้สำคัญมากโดยเฉพาะกับอัญมณีเกรดสูงเหนือปกติครับ แต่แค่นี้ก็พอแล้วเพราะสินค้าเกรดสูงจำนวน 10% อาจมีมูลค่าเท่ากับ 80%-90% ของมูลค่ารวมของตลาดครับ

ตัวอย่างเช่น มีพลอยหรือทับทิมขนาดใหญ่หลุดมาเสนอขายในตลาดไทยเป็นทับทิมขนาด 1.8 กิโลกรัม (ประมาณ 9000 กะรัต) และต้องการหาคนซื้อ ผู้ซื้อในเมืองไทยคงหายาก เดาว่ารูปการณ์ที่เกิดขึ้นคือตัวแทนไปติดต่อผู้ซื้อจริงมาซื้อโดยตรง โดยตัวแทนจะทำหน้าที่จัดการในรายละเอียดให้ บทสรุปคือสิงค์โปร์ (ซึ่งน่าจะเป็นตัวแทน) ซื้อไปในราคา 450 Million USD (13,500 ล้านบาท) ซึ่งจะตกกะรัตละ ประมาณ 50,000 USD (แต่หากพิจารณาจริงๆ แล้วราคานี้ไม่ใช่ราคาที่ดีที่สุดของทับทิมขนาดใหญ่ นั่งคิดเพลินๆ ว่า หากตัวแทนรายนี้ซื้อไปแปรรูปขายเองนั้น การจะได้กำไร 50%-100% เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ครับ)

สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือ ผู้ซื้อเกรดสูงไม่ได้มีเวลาไปตามดูหรือเสาะหาสินค้าเองแต่จะมีนายหน้าหรือผู้ค้าคอยนำข้อมูลพลอยเม็ดสวยๆ ไปเสนอขายให้ หากตัวกลางมีทุนพอก็อาจซื้อเองแล้วนำไปขายต่อเอาก็ทำได้ อย่างหลังจะได้ส่วนต่างสูงกว่าแต่ก็ใช้ทุนสูงและเสี่ยงกว่า และหน้าที่ตัวแทนหรือนายหน้านี่แหละที่เค้าอาจทำได้ดีกว่า มันเลยปรากฏชื่อผู้เล่นรายที่น่าแปลกใจขึ้นมาในตลาดแบบนี้ครับ

ส่วนทับทิมเม็ดที่คุณพวงแก้วเอามาให้ดูนี้ดูยากครับ ตามภาพคงเป็นของเก่าที่เจียรนัยโดยช่างในอดีตอย่างที่ว่าเพราะทับทิมเกรดนี้ทุกวันนี้ต้องเจียรนัยแบบเหลี่ยมเท่านั้นถึงจะได้ราคา มองดูคร่าวๆ เฉพาะเม็ดหลักขนาดจะประมาณ 10-15 กะรัต หากสีตามนี้ และน้ำสวย+ไม่เผา คิดเล่นเพลินๆ โดยอ้างราคาตามของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (http://www.git.or.th/thai/info_center/gems_price_list/colored_stone_prices/2012/09/2012_cstones_09.pdf) ลองประเมินแค่ที่ 30,000 USD/กะรัต ราคาของเม็ดนี้ก็อาจตกประมาณ 450,000 USD ก็เป็นได้

แต่เรื่องการประเมินราคานี่ยากมากครับ ลองนั่งชมเล่นเพลินๆ จากเว็บนี้ได้ครับ http://www.thenaturalsapphirecompany.com/Rubies/#&&FzhZ2VNLOQIMbU+8FXp70QuFQ4IK/1caS99gp8IBsZQEUgagsmdozmczP3/Sw/DZwZ0FXXx0j+Ze6G/5gMpMNXRpI2eY/cHZwaqvobuH9Lb5jAiNajDqc+C3xgUx9ScR9AZKyUPx27YPZMvsCPXTif14293+WyuloaIj8GLupiNlpevY7Sv9FQuSD0Dx0c4YcnnUqhQXvqS0MHEu7Vss23r57H56ppjDIaDI9T5CyRCg2mgf9ucZ8DhWHeoIIHR0aXK2m6mz6u4t3YaS8xIJrcZ5pSld17o0eWbNlEuXp5lmciHP+WFI4sktC6hblpQWPRX7fxdCiD39NORcEt5+k50Oace+bHlp3M6pjndmkizvjRREmmhUP88OFHH4T40bA5xuZvptHabsMES4DjEQ/gVqG/hfWBlcF0Y2u49zSEEIC+lHjti2+txMkn6n/Uy4vN47pth63ZHOLzfqBC8C0TZW1tNjWlkQg6ubwEazW6jjjKeF0VPA8+YLtIKRIiHEXbLdvf7E8gLkS/zm6NKl7cgsB3NmZR5e8hfYz1jrdo3pv2Y91aA4YJzlD/4nIa+QexDOsainyEastpzMAANP6/I1jVDS81651bg992KW4caQoYFrXDo9p4Sfgt3FrNaoqEiB0fZ7O6KG366PS+vrpTrNNTs=
บันทึกการเข้า
tubtimthai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 01:26

รูปก่อนและหลังเจียรนัยครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
tubtimthai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 25 ต.ค. 12, 01:29

อีกภาพครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 20 คำสั่ง