เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 48501 สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 15:38

สาแหรก=star

เคยเห็นสาแหรกในทับทืม นิลสีน้ำเงิน และไพทูรย์  ที่เจียระไนแบบ หลังเบี้ย แต่ไม่เคยเห็นในพลอยที่เจียระไนเหลี่ยม 
ไม่ทราบว่า cutting แบบเหลี่ยม จะทำให้เกิดสตาร์ในเนื้อพลอยได้หรือเปล่าค่ะ  ต้องถามคุณตั้ง


บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 16:28


อ้าว เงิบไปเลย  อายจัง  เคราะห์ดีที่ออกตัวไว้ก่อน...ว่าคลับคล้าย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 16:44

สาแหรก=star

เคยเห็นสาแหรกในทับทืม นิลสีน้ำเงิน และไพทูรย์  ที่เจียระไนแบบ หลังเบี้ย แต่ไม่เคยเห็นในพลอยที่เจียระไนเหลี่ยม 
ไม่ทราบว่า cutting แบบเหลี่ยม จะทำให้เกิดสตาร์ในเนื้อพลอยได้หรือเปล่าค่ะ  ต้องถามคุณตั้ง

อันนี้ไม่รู้นะว่าสาแหรกสวยจัด ขาทั้ง 6 คมกริีบแบบนี้ ซื้อหาก็ต้องระวังกันให้มาก อันธรรมชาตินั้นดีอย่างก็เสียอย่าง จะให้น้ำงามสวย ๆ ทั้งหมดเป็นไปได้ยากนะขอรับ  อายจัง
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 18:47

ผมเคยจำคลับคล้ายได้ว่า  ทับทิมพม่านั้นจะมี...สาแหรก อยู่นะครับ
และสมัยก่อนเมื่อพูดถึงทับทิมก็ต้องหมายถึงทับทิมของพม่าเท่านั้น
ทับทิมสยามเกิดขึ้นทีหลัง และความสวยสู้ทับทิมพม่าไม่ได้เลย ราคาก็ห่างไกลกันมาก


จำได้ว่ามีสแตมป์ไทยออกมานานมากแล้วก่อนปี 2530
เป็นชุดภาพอัญมณีไทยทั้งชุด
หนึ่งในนั้นมีรูปทับทิมไทยที่มี star
เพราะฉะนั้นที่ว่าเฉพาะทับทิมพม่าเท่านั้นที่มี star จึงเป็นข้อความที่ไม่ถูกต้อง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 19:44

สาแหรก=star
เคยเห็นสาแหรกในทับทืม นิลสีน้ำเงิน และไพทูรย์  ที่เจียระไนแบบ หลังเบี้ย แต่ไม่เคยเห็นในพลอยที่เจียระไนเหลี่ยม 
ไม่ทราบว่า cutting แบบเหลี่ยม จะทำให้เกิดสตาร์ในเนื้อพลอยได้หรือเปล่าค่ะ  ต้องถามคุณตั้ง

ครับ cutting แบบเหลี่ยม ไม่ทำให้เกิดสตาร์ครับ 

ไม่แน่ใจว่าจะใช้คำอธิบายถูกหรือไม่นะครับ  cutting แบบหลังเบี้ย เป็นการใช้ระบบแสงแบบ refraction  (แสงกระดอนกลับบนพื้นผิวของหน้าผลึก_cryatal plane ฟรือ crystal face) เพื่อขับสตาร์ออกมา  ในขณะที่ cutting แบบเหลี่ยม เป็นการใช้ระบบแสงแบบ reflection (แสงสะท้อนกลับไปมาบนพื้นผิวของหน้าที่ตัด_facet plane หรือ facet face) เพื่อขับความเปล่งปลั่งออกมา ซึ่งมักใช้คำว่าการเล่นไฟ    เมื่อจะซื้อพลอยที่เจีรยนัยแบบเหลี่ยม เขาจึงให้เอาพลอยมากลิ้งดูกับแสงไฟว่าระยิบระยับเพียงใด   ในขณะที่ซื้อพลอยที่เจีรนัยแบบหลังเบี้ย เขาจึงให้ดูการเคลื่อนหวของสาแหรก     อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงอยู่ประการหนึ่งเสมอนะครับ (โดยเฉพาะสำหรับผม) ของที่เป็นธรรมชาติแท้ๆนั้น ไม่เคยมีสวยหรือดีเลิศอย่างไม่มีที่ตำหนิ

ผมเคยเห็นพลอยของ อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุร๊ ขายในร้านพลอยใน อ.บ่อพลอย   เป็นไพลินธรรมชาติที่ไม่ผ่านการเผา สวยงามมาก เล่นไฟระยิบระยับเลยทีเดียวทั้งด้วยแสงอาทิตย์และแสงไฟ มีอยู่สามเม็ด ทำตุ้มหูกับแหวนได้พอดี ตอนนั้นเขาขายในราคาประมาณ 3,000 บาท (ประมาณ พ.ศ.2516) มีเงินอยู่ในมือแต่ซื้อไม่ได้ เพราะต้องเอาไปทำงาน เสียดายจนบัดนี้เลยครับ     

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 20:32

เสียดายแทนค่ะ ร้องไห้

เอารูปทับทิมเจียระไนเหลี่ยมและไพลิน หรือ blue sapphire มาประกอบกระทู้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 21:02

สาแหรก=star

เคยเห็นสาแหรกในทับทืม นิลสีน้ำเงิน และไพทูรย์  ที่เจียระไนแบบ หลังเบี้ย แต่ไม่เคยเห็นในพลอยที่เจียระไนเหลี่ยม 
ไม่ทราบว่า cutting แบบเหลี่ยม จะทำให้เกิดสตาร์ในเนื้อพลอยได้หรือเปล่าค่ะ  ต้องถามคุณตั้ง

การเกิด Star 6 ขา เป็นการเกิดปรากฎการณ์ทางแสงที่เรียกว่า Asterism หากเกิดกับพลอยใดแล้ว ไม่ว่าทับทิม หรือ นี่หร่า ก็จะมีค่ามาก
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 21:08

ข้อมูลเครื่องประดับให้ความรู้เรื่องการเจียพลอยไว้ว่า

การเจียระไนทับทิม ปกติมี ๒ แบบคือ แบบเหลี่ยม (Facets) และโค้งหลังเต่า (Cabochon)

ซึ่งการเจียระไนแบบเหลี่ยมนิยมทำเหลี่ยมแบบเพชร (Brilliant) เพื่อเพิ่มความโปร่งใส โปร่งตาภายในเนื้อทับทิมให้มากขึ้น จะทำให้การเจียระไนให้มีความบางกว่าหรือแบนกว่าเจียระไนเพชร อาจจะเป็นเหลี่ยมขั้น ๆ หรือ แบบผสม

ส่วนการเจียระไนแบบหลังเต่า ปกติจะคัดเลือกจากพลอยที่มีคุณสมบัติต่ำรองลงมาจากชนิดที่นำไปเจียระไนแบบเหลียมแล้ว เช่น พลอยจากพม่า แม่สอง แม่สะเรียง และการเจียแบบหลังเต่า หากกระทำในทิศทางที่ถูกต้องอาจเกิดรูปดาว หรือ สาแหรก

ที่เรียกว่า Star Ruby
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 21:12

สังวาลย์ชุดทับทิม ในสมเด็จพระพันปีหลวง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 21:15

นวมทอง ใช้ในการพิธีโสกันต์ ชุดนี้เป็นนวมทับทิม


บันทึกการเข้า
tubtimthai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 01:54

ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันเผยแพร่ความรู้นะครับ

ความรู้จากท่าน naitang รวมทั้งท่านอื่นๆ ทำให้ผมได้มุมมองในมุมใหม่ๆ กว้างขึ้น ไม่เฉพาะในเชิงคุณค่าและความรู้สึก ผมแตกความคิดไปถึงเรื่องการตลาดไปด้วย เพราะฝ่ายทางฝรั่งดูเหมือนจะเข้มแข็งในเรื่องการปั้นมูลค่าอัญมณีมากๆ (ขออภัยที่ใช้คำว่าฝรั่งบ่อยๆ แต่เพื่อให้กระชับในการพิมพ์จึงขอใช้คำนี้นะครับ) แทบจะใช้คำว่า "คุณค่าอยู่ที่คนขุด กำไรอยู่ที่คนขาย" ก็ว่าได้ ตอนนี้แม้มีข่าวราคาทับทิมสูงมากมายแค่ใหนก็ตาม แต่ก็ยังทำให้อดสงสัยและต่อไปอีกไม่ได้ว่า แล้วเจ้าของดั้งเดิมที่ขุดขึ้นมาจะได้อานิสงค์ด้วยแค่ใหนกันครับ

วกกลับมาอีกเรื่องครับ ผมคลัคล้ายคลับคลาว่าทับทิมสตาร์มีองค์ประกอบคนละอย่างกับทับทิมธรรมดาครับ ทำให้เกิดแสงดาว 6 แฉกในเนื้อทับทิม (แล้วผมจะกลับไปหาแหล่งที่มาข้อมูลเอาอ้างอิงอีกทีนะครับ) จึงนิยม (จำเป็นต้อง) เจียรนัยแบบหลังเบี้ยเพื่อโชว์แสงดาว 6 แฉก แต่โดยเนื้อของทับทิมจึงทำให้มีราคาต่ำกว่าครับ ส่วนทับทิมสยามมีทับทิมสตาร์เหมือนกัน อันนี้ฟันธงได้ครับ

ส่วนคำตอบของคำถามว่าเจียรนับแบบเหล่มให้เห็นสตาร์ได้ด้วยเป็นไปได้ใหม คำตอบก็น่าจะเป็นว่า หากสวยพอเจียรนัยแบบเหลี่ยมได้แล้วการจะเห็นสตาร์หรือไม่ก็ไม่สำคัญแล้ว เพราะราคาแบบเหลี่ยมสูงกว่าแบบเบี้ยหลายเท่าตัว และในความจริงแล้วทับทิมที่มีสตาร์ทุกเม็ดที่ไม่สวยพอที่จะเจียรนัยแบบเหลี่ยมได้แม้ฝืนทำก็จะเสียทั้งสองทางและไม่มีราคาครับ แล้วผมก็ยังไม่พบบันทึกที่ว่าทับทิมสตาร์เผาแล้วสวยพอจะเจียรนัยแบบเหลี่ยมได้นั้นยังเหลือสตาร์ให้เห็นอยู่หรือเปล่าครับ

ส่วนเรื่องแหล่งที่เกิดและสภาพการเกิดทำให้ทับทิมสยามและทับทิมพม่าต่างกันผมเห็นด้วยครับ ที่แน่นอนคือแร่อื่นที่อยู่ในพื้นที่ที่เกิดที่เข้าผสมทำให้สีต่างกัน ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากระยะเวลาในการเย็นตัวของลาวาซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่เกิดการตกผลึก และสภาวะอากาศระหว่างการเกิด ผมคิดว่าทับทิมสยามอาจจะเกิดใต้ทะเลครับ ก่อนที่จะเกิดการชนของทวีปและทำให้แผ่นดินส่วนนั้นยกตัวขึ้นสูงเหนือทะเล ต่อมาถูกชะล้างจนแร่ส่วนนั้นโผล่ขึ้นเหนือดิน อันนี้เป็นข้อสันนิษฐานของผมเองนะครับ

อีกสิ่งหนึ่งคือ ทับทิมสยามและทับทิมเขมรนั้นถือว่าเป็นทับทิมที่เกิดจากแหล่งเดียวกันก็ว่าได้ เขมรก็มีทับทิมและจะเรียกว่าทับทิมสยามก็ได้เหมือนกัน เพราะก่อนหน้านั้นพื้นที่ที่พบทับทิมในเขมรตอนนี้เป็นอาณาเขตของประเทศสยาม ดังนั้นตอนนี้ถ้าเราจะหาทับทิมสยามก็อาจต้องไปตามหาที่เขมรเอา

มาอีกเรื่องคือเรื่องไฟและน้ำครับ ทับทิมสวยไฟดีนั้นก็คงหมายถึงทับทิมที่เจียรนัยให้ความเปล่งประกายสวยงาม ยิ่งประกายดีก็ยิ่งถือว่าไฟดีและราคาดีครับ ส่วนน้ำดีนั้นอาจหมายถึงความสวยและอิ่มในสี รวมไปถึงน่าจะเป็นความรู้สึกถึงได้ว่าชุ่มน้ำอยู่ตลอดเวลา ยิ่งมองเหมือนหยดน้ำเต้นระริกอยู่เท่าไหร่ยิ่งน่าจะหมายถึงน้ำดีมากเท่านั้นครับ แต่น้ำกับไฟมันก็เป็นสิ่งที่อยู่คนละขั้วจึงยากที่จะอธิบาย อันนี้เลยทำให้ผมนึกไปว่า ทับทิมแทบทั้งหมดตอนนี้น่าจะหาเจอได้เฉพาะทับทิมไฟดีเพราะเผากันหมดแทบทุกเม็ดแล้ว จะเหลือให้มองเห็นมีน้ำอยู่นั้นคงเหลือน้อยเต็มที แล้วแบบใหนที่มีคุณค่าและราคาดีกว่ากัน ผมก็ผมเลยคิดเลยเถิดไปว่า ทับทิมที่ราคาแพงที่สุดที่ถูกบันทึกอยู่ตอนนี้นั้นเป็นทับทิมพม่าจากเหมืองโมก็อกที่ไม่ผ่านการเผา นั่นอาจหมายถึงทับทิมที่น้ำยังไม่แห้งไป และจะเป็นทั้งทับทิมที่น้ำดีและไฟดี ดังนั้นทับทิมที่ดีจึงน่าจะมีทั้งน้ำและไฟในตัว และยิ่งโดเด่นทั้งสองทางมากเท่าไหร่ยิ่งมูลค่าสูงเท่านั้น นี่คือแนวความคิดที่ผมพอจะเข้าใจเอาเองได้ตอนนี้ครับ

ที่จริงเกณฑ์ความสวยของทับทิมหรืออัญมณีอื่นๆ เอามาจากเพชรอีกทีคือ 4C ซึ่งประกอบด้วย

- Color (สี)
- Clarity(มนทิล ซึ่งตอนนี้แปลไปว่าความโปร่ง ความใส)
- Cut (การเจียรนัย)
- Carat (ขนาด)

เรียงตามลำดับความสำคัญ (แต่ผู้ซื้อบางกลุ่มบางประเทศเรียงต่างไปจากนี้ก็มีเช่น เอา Cut (การเจียรนัย) มาก่อน เป็นต้น -- ข้อมูลนนี้มาจากเว็บฝรั่งที่เล่าถึงความนิยมของผู้ซื้อแต่ละโซนแต่ละชาติ) แต่ในนี้ยังไม่ได้บอกอย่างแน่ชัดถึงองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญแต่มีผลมากคือ ความเปล่งประกาย ซึ่งน่าจะหมายถึงไฟดี แม้มีการบอกไว้เหมือนกันว่าอยู่ในหมวดการเจียรนัยแต่ก็ไม่ชัดเจนอยู่ดี ส่วนอีกข้อคือความหายากซึ่งอาจถึงความหมายโดยรวมของทุกข้อโดยเฉพาะขนาด แต่ตอนนี้ทับทิมจากเหมืองโมก็อกราคาสูงสุดแม้อาจจะสวยเท่าๆ กับเม็ดอื่นที่มาจากแหล่งอื่น แต่อีกครั้งคือก็มีบางแห่งเหมือนกันที่ให้ความสำคัญกับแหล่งที่มา (origin) เป็นอันดับแรก (ดังนั้นข้อนี้จึงเป็นข้อผิดอย่างมากๆ หากพ่อค้าไทยจะอ้างว่าแหล่งที่มาไม่สำคัญ และว่าเค้าเพียงเอาไว้เพื่อลักษณะสีเท่านั้น) และตอนนี้ที่ขัดแย้งอย่งสำคัญที่สุดคือต่างชาติให้ความสำคัญความเป็นธรรมชาติสูงสุด ในขณะที่ผู้ค้าไทยให้ความสำคัญความสวยสุดท้ายของผลงานโดยไม่ให้ความสำคัญของการปรุงแต่งนัก (ซึ่งจะจะปรุงแต่งให้มากที่สุดเพื่อให้สวยที่สุด) อันนี้จึงย้อนกลับมากระแทกเรื่องคุณค่ากับมูลค่าในอีกวงรอบอย่างซับซ้อนครับ

ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญนะครับ ความรู้ที่มีก็เก็บเอามาจากหลายแหล่งมาประกอบกัน หลายอย่างฟังจากปากผู้เชี่ยวชาญคนไทยก็ยังไม่ปักใจ (ประกอบกับมีเวลาพูดคุยกันน้อยทำให้สื่อได้ไม่หมด) ก็ได้เอาข้อมูลมาหาต่อในอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ได้ข้อมูลจากคนอื่นๆ รวมทั้งมุมมองต่างชาติด้วยเช่นกัน และหลายๆ บันทึกก็บันทึกจากความรู้สึกของตัว ซึ่งต้องตามหาข้อเท็จจริงต่อให้เจออีกที

เป้าหมายผมคือตามหาความจริงเพื่อเปรียบเทียบทับทิมสยามกับทับทิมจากแหล่งอื่นๆ ว่าของเราดีหรือด้อยกว่าจริงหรือและอย่างไร ตอนนี้ข้อมูลที่ผมได้คือทับทิมสยามเหนือกว่าแต่ไม่อาจเป็นหนึ่งได้ นั่นเพราะว่าหาไม่มีแล้ว ถึงมีแต่ก็จะไม่พอต่อความต้องการจนไม่อาจโด่งดังในวงกว้างได้ครับ

ช่วงหลายมาวันนี้ผมตามหาว่าสีแดงเลือดนกพิราบเป็นแบบใหนโดยการถามเอาจากหลายๆ คน แต่ก็ไม่ยังเค้าเท่าไหร่ มาวันนี้นึกอะไรขึ้นมาได้ซึ่งอาจทำให้ผมได้คำตอบก็เป็นได้ครับ (แต่ก็ไม่ได้คิดไปยิงนกพิราบเอามาดูสีของเลือดนะครับ)

(แหล่งข้อมูลที่พูดถึง สีแดงเลือดนกพิราบ http://www.ruby-sapphire.com/pigeons-blood-mogok.htm)
บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 10:01

ทับทิมสีนกพิราบครับ

อ่านต่อได้ที่นี่ครับ

http://www.allaboutgemstones.com/gemstones_ruby_mogok.html


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 10:24

เข้าใจว่าทับทิมสีเลือดนกพิราบ จะเป็นสีแดงสดแบบนี้เมื่อเจียระไนแล้ว   ไม่ใช่สีแดงออกชมพูอย่างทับทิมพม่าค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 18:20

ทับทิมและพลอยสีอื่นในตระกูลแร่คอรันดัม เป็นแร่ที่เกิดในโครงสร้างของผลึกระบบหกเหลี่ยม (Hexagonal system) ประกอบด้วยแกนในแนวนอนสามทิศทาง ทำมุม 60 องศาแก่กัน และแกนในแนวตั้งที่ทำมุมตั้งฉากกับแกนในแนวนอน เมื่อมองทางด้านบน (หรือด้านล่าง) ของแกนตั้ง ก็จะเห็นระนาบของหน้าผลึก (crystal face) เป็นเส้นที่สามารถลากเชื่อมต่อกันไปทั้งหกด้าน ผลึกของแร่ต่างๆนั้นจะค่อยๆขยายออกไปจากแกนกลาง ดังนั้น จึงเห็นเป็นเส้นตามแนวระนาบที่หน้าผลึกมาชนกัน  ในกรณีของทับทิมและพลอยในตระกูลแร่คอรันดัม หากแต่ละหน้าผลึกที่พอกตัวออกไปมีความต่างกันในส่วนผสม เราจึงเห็นเป็นหกเส้นหรือหกขาเสมอ ไม่ว่าจะเจียรนัยแบบหลังเต่าหรือแบบตัดเหลี่ยม    หากตั้งแกนตั้งได้ถูกต้อง ในพลอยที่มีเนื้อใส แต่ไม่สะอาดนัก เราก็จะเห็นเส้นของหน้าผลึกเหล่านี้ชัดเจนเหมือนกัน แต่คงไม่เรียกว่าสตาร์   ซึ่งแม้กระทั่งใสมากๆ เมื่อส่องด้วยกล้องขยายก็อาจเห็นได้เช่นกัน     หากเจียรนัยแบบหลังเต่ามันก็จะขับเส้นนี้ออกมาให้เห็นเด่นชัด เนื่องจากความลาดเอียงของพื้นผิวซึ่งมีลักษณะมนของผิวที่ที่เราขัดออกไป ที่เรียกเส้นที่ปรากฎออกมาในลักษณะนี้ว่าสตาร์หรือสาแหรก

ในการเจียรนัยพลอยใดๆนั้น ไม่ว่าจะเป็นแบบหลังเต่าหรือหน้าตัด สำหรับพลอยที่เม็ดขนาดประมาณถั่วดำขึ้นไป ช่างเจียรนัยที่เก่งๆและชำนาญจึงต้องตั้งแกนให้ถูกก่อนการเจียรนัยเสมอ พร้อมกับต้องตัดสินใจเลือกด้วยว่าจะให้พลอยเม็ดนั้นๆสวยสุดๆหรือต้องการรักษาน้ำหนัก ซึ่งโดยปรกติก็พยายาม maximized ทั้งสองเรื่องนี้ เนื่องจากทั้งสองเรื่องนี้เป็นสิ่งที่เพิ่มมูลค่าของพลอย

พอจะกล่าวได้ว่าพลอยในทุกตระกูลมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Asterism ซึ่งเป็นผลมาจากแกนดังที่เล่ามาแล้วบ้าง จากการบริเวณเส้นที่ชนกันของผลึกบ้าง หรือจากการตกผลึกแฝดหรือร่วมก็ได้

ก็ให้ความเห็นมาตามที่เคยเรียนรู้มาครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 18:24

ชักเริ่มสงสัยแล้วว่า  ทับทิมที่เรากำลังกล่าวถึงกันนี้ เป็นทับทิมแบบเจียรนัยหลังเบี้ยหรือแบบตัดเหลี่ยม ฮืม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 20 คำสั่ง