เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 48498 สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 14:53

หนังสือภูมิศาสตร์สยาม พ.ศ. ๒๔๖๘ ราคาเล่มละ ๒ บาท ๕๐ สตางค์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 15:08

หาภาพทับทิมมาประกอบกระทู้   ไปเจอเข้าวงหนึ่ง ของดาวค้างฟ้าลิซ เทเลอร์  ซึ่งนำออกประมูลหลังเธอถึงแก่กรรมแล้ว
เป็นแหวนทับทิมสีแดงสดบริสุทธิ์   ขนาด 8.24 กะรัต ล้อมเพชร    ของขวัญจากสามีดาราใหญ่ด้วยกัน ริชาร์ด เบอร์ตัน ให้เป็นของขวัญคริสต์มาสในค.ศ. 1968  
แหวนวงนี้ตั้งราคาไว้ 1.5 ล้านดอลลาร์    เอาเข้าจริงประมูลขายไปในราคา $4,226,500 ดอลลาร์   เอาสามสิบกว่าคูณเข้าไปเองถ้าหากว่าอยากทราบเป็นราคาเงินไทยนะคะ

ป้าลิซมีคอลเลคชั่นเครื่องเพชรจากสามีหลายคนที่เธอเคยแต่งงานด้วย    ที่เด่นๆก็คือไมค์ ทอดด์ และริชาร์ด เบอร์ตันที่ชอบซื้อเพชรพลอยให้ภรรยาเป็นหลักประกันฐานะ

สงสัยว่าทับทิมของป้าลิซเป็นทับทิมน้ำขนาดไหนกันนี่   ทำไมแพงนัก   อ้อ ในเว็บเขาเรียกว่า pigeon red ruby  แปลว่าทับทิมสีเลือดนกพิราบค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 15:14

นี่คือต่างหูทับทิมของป้าลิซเช่นกัน   ของกำนัลจากสามีอีกคน ชื่อไมค์ ทอดด์ เป็นผู้กำกับหนังฮอลลีวู้ด   
ห้างคริสตี้นำออกมาประมูล ทีแรกประเมินราคา ว่าน่าจะได้ระหว่าง 80,000 – 120,000 ดอลลาร์   เอาเข้าจริงมีคนประมูลไปในราคา 782,500 ดอลลาร์   เจ็ดเท่าของที่ประเมิน


บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 19:05

มาติดตามอ่าน เรื่องเพชรนิลจินดา น่าสนใจอยู่แล้วสำหรับผู้หญิง แต่ผู้รู้จริงกลับเป็นผู้ชาย...
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 19:19


อ้างค.ห.11คุณ Siamese

ผมเข้าใจว่า พลอยหลังเบี้ย หรือ หลังเต่า นำมาเข้าแหวนทรงมอญก็สวย ล้อมเพชรก็งามเป็นการเจียแบบโบราณ ซึ่งใช้พลอยดิบมาเจียจึงมีค่ามากกว่า พลอยเจียเหลี่ยมซึ่งอาจจะเป็นพลอยหุงปนเข้ามาก็ได้ครับ
 
 
 นอกจากเรื่องรัตนชาติแล้ว มีอีกสิ่งที่น่าสนใจคือการทำเรือนรองรับ....
 ฝีมือช่างทองไทยตามภาคต่างๆมีเอกลักษณืของตนเอง เช่น สุโขทัย เพชรบุรี อยุธยา
 ไม่ทราบว่านอกจากหนังสือช่างทองไทย ที่อาจารย์ท่านหนึ่งเคยเขียนไว้นานแล้ว
 เน้นฝีมือช่างทองเพชรบุรี แล้วมีหนังสืออื่นๆอีกไหมคะ

 แหวนทรงมอญ หน้าตาเป็นอย่างไรคะ
บันทึกการเข้า
tubtimthai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 07 ต.ค. 12, 16:05

ขอบคุณสำหรับคำตอบที่มีค่ามากมายนี้ครับ ผมมั่นใจน่าจะหาอ่านเอ่านจากตำราฝรั่งไม่ได้แน่ๆ ครับ

ขอเสริมเรื่องราวจากที่ได้ศึกษามาเพิ่มลงในนี้ต่อนะครับ ผิดถูกอย่างไรช่วยชี้แนะด้วยนะครับ

- ความเข้าใจเรื่องการ "หุงพลอย" นั้นเข้าใจว่า ตอนนี้ไม่ใช่เรื่องลึกลับเหมือนแต่ก่อนแล้ว เริ่มมีตำราวิชาการเรื่องการเผาพลอยออกมาเผยแพร่ให้หาศึกษาได้ไม่ยากนัก เตาเผาพลอยที่มีคุณภาพและดีที่สุดก็ทำโดยฝรั่งไปแล้ว ซึ่งน่าจะแถมการอบรมบางอย่างมาด้วย อีกอย่างฝ่ายโน้นเล่นเจาะลึกถึงขั้นระดับโมเลกุลเคมีเพื่ออธิบายปรากฏการด้านสีและความโปร่ง ทั้งก่อนและหลังเผาเป็หลักวิทยาศาสตร์แบบถึงแก่นไปเลย ด้านนี้อาจก้าวไปไกลกว่าช่างไทยแล้วก็เป็นได้

- แท่นเจียรนัยเราก็ยังซื้อจากเมืองนอกทั้งหมดอยู่ เราไม่มีผู้ผลิตเองเลย มีข้อมูลให้เห็นบ้างก็แท่นเจียฯ อุตสาหกรรมที่ ม. จุฬาฯ ผลิตเท่านั้น แต่ยังไม่เป็นเชิงพานิชย์
  ส่วนทางอินเดียนั้นนอกจากที่มีพลอยป้อนอุตสาหกรรมอัญมณีของตัวเองแล้วความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเจียรนัยก็ยังค่อนข้างล้ำหน้ากว่าไทย แม้ฝีมือการออกแบบยังเป็นรองแต่ถ้าหากเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกไม่นานก็คงก้าวข้ามประเทศไทยไปได้ไม่ยาก

- มนุษย์สามารถสร้างอัญมณีจากห้องแล็ปได้เกือบทุกชนิดแล้ว บางอย่างเช่นทับทิมสามารถสร้างเป็นจำหน่ายระดับอุตสาหกรรมได้นานแล้ว สวิสเซอร์แลนด์เป็นผู้นำเข้ารายอัญมณีและเครื่องประดับใหญ่ที่สุดของไทย แต่ก็เป็นผู้ส่งออกทับทิมที่สร้างในโรงงานอันดับหนึ่งของโลกด้วย เพียงแต่ทับทิมสร้างนี้มุ่งเน้นไปที่การใช้งานในอุตสาหกรรมอย่างอื่นที่ไม่ใช่เครื่องประดับ ประกอบกับความนิยมในของแท้จากธรรมชาติยังเข้มข้นอยู่ ราคาของทับทิมจึงไม่ตกลงแต่นับวันจะเพิ่มสูงขึ้น

- ทับทิมแพงกว่าเพชรแต่ก็ยังเป็นรองเพชรสีที่หายากๆ ทับทิมพม่ามีฐานราคาสูงกว่าทับทิมสยาม เพียงแต่ทับทิมน้ำเอกจากเหมืองโมก็อกนั้นพอมีปรากฏให้เห็น แต่ทับทิมสยามน้ำหนึ่งหายไปนานแล้ว ผมจึงยังคงสงสัยอยู่ว่าเทียบฐานราคากันอย่างไร

- ราคาทับทิมแบ่งตามเกรด จึงจะต้องกำหนดเกรดก่อนโดยกำหนดจากความอิ่มของสี ตามมาด้วยความโปร่ง มลทิลในเม็ด (สิ่งปลอมปน) เมื่อจัดเกรดได้แล้วจึงคำนวนราคาตามขนาดน้ำหนักโดยคิดเป็นกะรัต โดย 1 กะรัตเท่ากับ 0.2 กรัม และ 1 ก.ก. จะหนัก 5,000 กะรัต เม็ดใหญ่ๆ เกรดสูงๆ จะหาได้ยาก เพราะของที่เกิดตามธรรมชาตินั้นอะไรที่ขนาดใหญ่ก็ยิ่งมีโอกาสถูกปลอมปนมาก และโดยการใช้งานก็จะใช้ในขนาดไม่ใหญ่นัก เช่น หัวแหวน จะใช้ 1-3 กะรัต ใหญ่หน่อยก็ขึ้นไป 5-7 กะรัต ส่วนสร้อยก็ใหญ่ขึ้นไปหน่อย ส่วนเม็ดขนาดที่ใหญ่มากๆ เช่น 100 กะรัต ก็น่าจะทำอย่างอื่นไม่ได้แล้วนอกจากประดับบนมงกุฎ (อันนี้พอเห็นได้เลาๆ แล้วว่าถ้าวาสนาไม่มีบารมีไม่ถึงแล้ว การจะครอบครองทับทิมเม็ดใหญ่ๆ นั้นอาจไม่เป็นคุณแก่ตัว)

- ราคาซื้อขายไม่เหมือนเพชร ราคากลางสำหรับซื้อขายทับทิมไม่มีข้อกำหนดแน่นอน ราคาอาจมีตังแต่ 10 USD จนไปถึง 150,000 USD ต่อกะรัต สาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับราคานั้นมีมากมายจนแทบจัดเป็นศาสตรชั้นสูงอีกสาขาได้เลยก็ว่าได้ ตอนนี้ราคาประเมิลพื้นฐานที่ "สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)" ลงประกาศไว้ที่นี่ http://www.git.or.th/thai/info_center/gems_price_list/colored_stone_prices/2012/09/2012_cstones_09.pdf
ผมสรุปราคาทับทิมดิบขนาด 1 กะรัต ไว้คร่าวๆ ตรงนี้คือ

เกรด    ราคา/กะรัต
(Fine)
  6-7      1,300-2,200 USD/carat
  7-8      2,200-2,600 USD/carat
(Extra Fine)
  8-9      2,600-4,000 USD/carat
  9-10    4,000-7,750 USD/carat

เม็ดขนาด 1 กะรัตที่สวยๆ เท่าที่ทราบนั้นพอหาได้ แต่ใหญ่กว่านั้นถึงสวยก็เป็นเกรดสูงยากเพราะมลทินมาก ราคานี้ดูเหมือนจะแพงนะครับ แต่ราคาจริงๆ ที่ซื้อขายสำหรับเกรดดีๆ นั้นสูงกว่านี้

  *ที่สำคัญ ระดับราคาก็พุ่งสูงขึ้นตามขนาด ผมเรียกมันว่าสูตรระเบิดนิวเคีร์ยเพราะสูตรคำนวนของมันคือ
        ราคา = ราคาต่อกะรัต x ขนาดยกกำลังสอง
   ตัวอย่างเช่น
        ผมมีทับทิมดิบเม็ดสวยเกรด 9 ขนาด 14 กะรัต หากผมจะขายผมก็จะตั้งราคาที่ 4,000 x (14x14) = 784,000 USD
        หรือตกที่ราคา 56,000 USD ต่อกะรัต
        และเมื่อเจียรนัยเสร็จน้ำหนักอาจหายไป 40% จะเหลือ 8.4 กะรัต จึงตกที่ราคาอย่างน้อยราว 93,333 USD ต่อกะรัต

        ดังนั้เมื่อผมขายได้ ผมก็อาจได้เงินถึงประมาณ 23,520,000 บาทจากการขายทับทิม 1 เม็ด (โดยเฉพาะว่ากันว่าถ้าใครมีทับทิมสยามตอนนี้ราคานั้นอยู่ที่ปากกันเลยทีเดียวครับ)

  น่าเสียดายที่ผมจะไม่ได้เงินก้อนนี้เพราะไม่รู้จะไปขายให้ใครและขายที่ใหน และที่สำคัญมันเป็นเรื่องที่ผมสมมุติเอาครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 07 ต.ค. 12, 16:40


อ้างค.ห.11คุณ Siamese



 แหวนทรงมอญ หน้าตาเป็นอย่างไรคะ

ทรงมอญ จะเป็นการเข้าตัวเรือนโดยไม่ใช้หนามเตย เป็นการเข้าตัวเรือนแบบฝังมีการยกขอบขึ้นมาหุ้มไว้แทน มักจะมีบ่าใหญ่ จะล้อมเพชรหรือไม่ล้อมก็ตามใจชอบ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 07 ต.ค. 12, 16:50

ไม่เห็นภาพก็นึกไม่ออกหรอกครับ นี่ ทรงมอญทุกวงเลย


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 07 ต.ค. 12, 18:08

คุณค่า กับ มูลค่า มีความต่างกัน คุณค่าเป็นเรื่องทางนามธรรม ส่วนมูลค่าเป็นเรื่องทางรูปธรรม แต่ทั้งสองเรื่องนี้ได้นำมาผนวกกัน เลยทำให้ไม่สามารถกำหนดมาตรฐานได้  พลอยสีจึงไม่มีราคามาตรฐานสำหรับการอ้างอิง ขึ้นอยู่กับสี ความสว่าง มลทิน ขนาด ฯลฯ  ต่างกับเพชรที่พอจะสามารถกำหนดราคามาตรฐานได้ เพราะว่าใสไม่มีสี (จึงแทบจะไม่มีเรื่องทางนามธรรม) มีเพียง inclusion ซึ่งเป็นจุดเล็กมากๆจนต้องขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์จึงจะเห็น และซึ่งได้ใช้เป็นตำหนิประจำตัวของเพชรแต่ละเม็ด

ราคาของทับทิมและพลอยสีอื่นๆ จึงไปขึ้นอยู่กับการกำหนดตามความต้องการข้องผู้ขายและราคาที่ฝ่ายผู้ซื้อพอใจที่จะจ่ายเงินซื้อไป ราคาสุดท้ายก็คือราคาที่ทั้งฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อพอใจ     ซึ่งในหมู่พรรคพวกของฝ่ายผู้ขายก็จะมีความเห็นทั้งในด้าน ขายถูกไปหรือขายได้ราคาดี และในหมู่พรรคพวกของฝ่ายผู้ซื้อก็จะมีความเห็นทั้งในด้าน ซื้อมาในราคาที่ถูกหรือซื้อมาในราคาที่แพงเกินไป เช่นกัน

ราคาของพลอยยังไปขึ้นอยู่กับปริมาณที่ผลิตออกสู่ตลาด ซึ่งไปพัวพันถึงเรื่องของกระบวนกรรมวิธีการในการขุดหาด้วย  แหล่งพลอยเกือบทั้งโลกจึงมักจะป็นการขุดหาด้วยแรงคน มีเครื่องจักรกลเข้าไปช่วยอยู่เพียงเล็กน้อย ระบบนี้ ทำให้เกิดความสมดุลย์ระหว่างคุณค่าและมูลค่า และยังทำให้เกิดมีการกระจายโอกาสให้กับคนในวงกว้างและในทุกระดับเศรษฐกิจ ที่จะได้เชยชมกันในระยะเวลานาน    หากทำการขุดพลอยในลักษณะการทำเป็นเหมืองด้วยเครื่องจักรกลทันสมัยทุกขั้นตอน เมื่อนั้น พลอยในแหล่งนั้นๆก็จะหมดไปอย่างรวดเร็ว  พลอยนั้นๆก็จะกลายเป็นของเก็บที่มีราคาขายต่อสูงมาก เป็นโอกาสของคนรุ่นเก่ากลุ่มน้อย คนรุ่นใหม่ต่อๆมาจึงเกือบจะไม่มีโอกาสได้เชยชมเลย   ไพลินของ อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุร๊ และพลอยจันทบุรี รวมทั้งทับทิมสยาม ได้หมดไปด้วยการขุดหาด้วยวิธีการทำเหมืองแร่ด้วยเครื่องมือสมัยใหม่นี้เอง (ผนวกกับความมีอย่างจำกัดของทรัพยากร)   

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 07 ต.ค. 12, 18:53

ในความเห็นและความรู้ที่พอมีส่วนตัวของผมนั้น
 
ผมเห็นว่า ทิบทิมพม่านั้นมีส่วนผสมของธาตุในปริมาณมากพอที่จะให้ความสว่างสดใสเปล่งปลั่งขึ้นมา (เหมือนผิวของมุก) เมื่อกระทบกับแสงอัลตราไวโอเล็ต (UV) ทำให้เกิดผลที่เรียกว่า fluorescence   ดังนั้น แม้กระทั่งจะเจียรนัยแบบหลังเต่า (หรือหลังเบี้ย) และใส่ในเรือนแหวนที่เรียกว่าแบบทรงมอญ ก็ยังเปล่งประกาย โดยเฉพาะในการใส่ในช่วงเวลาก่อนเที่ยงวัน ซึ่งเป็นช่วงที่แสงจากดวงอาทิตย์ให้แสงครบความยาวของทุกคลื่นแสงที่ผสมออกมาเป็นแสงสีขาว (white light) อย่างสมดุลย์ โดยเฉพาะในซีกโลกด้านเหนือ (ละติจูดสูงๆ แถบประมาณ 40 องศาเหนือ)  สำหรับผมนั้น จึงไม่ค่อยจะแปลกใจนักที่ทับทิมพม่าจึงเป็นที่นิยมอย่างมากของคนในยุโรป   

สำหรับทับทิมสยามนั้น มีธาตุที่ให้ผลทาง fluorescence น้อยกว่า โดยธรรมชาติเองทับทิมสยามก็จะมีสีที่ทึบกว่า การเจียรนัยแบบหลังเบี้ยและใส่ในแหวนทรงมอญจึงไม่เปล่งประกาย แต่หากเจียรนัยแบบ facet แล้วใส่ในวงแหวนแบบเกาะด้วยหนามเตย ให้ส่วนก้นของพลอย (pavilion) ลอย  ก็จะเปล่งปลั่ง เล่นกับแสงไฟได้ระยิบระยับดีมากๆ  ทับทิมสยาม (ในสายตาของของผม) ใช้ใส่่ในเวลางานกลางคืนที่มีแสงไฟจากหลายแหล่ง (นีออน และหลอดไฟธรรมดา) จะเด่นกว่ามาก โดยไม่ต้องใช้เพชรเป็นองค์ประกอบช่วยขับความเปล่งปลั่งให้กับทับทิม

ทำยังกับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเลยนะครับ   

   
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 11:09

ทับทิมสยาม (ในสายตาของของผม) ใช้ใส่่ในเวลางานกลางคืนที่มีแสงไฟจากหลายแหล่ง (นีออน และหลอดไฟธรรมดา) จะเด่นกว่ามาก โดยไม่ต้องใช้เพชรเป็นองค์ประกอบช่วยขับความเปล่งปลั่งให้กับทับทิม


แสดงว่าคุณตั้งเคยเห็นทับทิมสยามมาแล้วอย่างใกล้ชิดแน่เลย จึงบรรยายได้ถึงการสะท้อนแสง....ชัดเจน

ขอบคุณsiamese  คุณ NAVARAT.C ที่อธิบายและนำภาพประกอบแหวนทรงมอญมาให้ดูคะ

ดิฉันเรียกแบบนี้ว่าแบบหุ้มขอบ ต่างกับแบบมีหนามเตยเกาะอัญมณี ตรงการยอมให้แสงผ่านด้านข้างของเม็ดพลอย
ถ้าพลอยสีสว่าง ทำแบบทรงมอญก็แข็งแรงดี แต่ถ้าสีเข้มมาก ทำแบบหนามเตยก็จะส่งประกายได้งามกว่า.
โดยเฉพาะทับทิมเนื้อแก้ว และเนื้อแพรที่มีความใส

ถึงตรงนี้ ขอเรียนถามว่า ทับทิมที่ทึบแสง กับที่โปร่งแสงมากๆ มีส่วนผสมของธาติต่างกันมากไหมคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 11:20

Al2O3, Aluminium oxide เป็นองค์ประกอบหลักของทับทิมในรูปการตกผลึก ทั้งนี้การตกผลึกของทับทิมก็แล้วแต่ว่าองค์ประกอบของสารรอบข้างมีอะไรบ้าง หากมีแร่ธาตุองค์ประกอบของเหล็กและโครเมียมเข้าไปผสมเจือจาง ก็ทำให้ทับทิมออกมาสีหนึ่ง หากมีเหล็กและโครเมียมเข้าผสมมากก็แดงจัดเป็นต้น

กรณีเช่นนี้ ยกตัวอย่าง "เพชร" จะเห็นง่ายที่สุด ซึ่งเพชรแฟนซีมีหลายสี เช่น เหลือง แดง ชมพู น้ำเงิน ดำ ก็เกิดจากแร่ะาตุต่าง ๆ เข้าไปผสมในเนื้อ จะมากหรือจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับแร่ธาตุที่ปนเข้าไปในเนื้อเข้มข้นมากน้อยแค่ไหนเท่านั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 11:23

แหวนมอญที่คุณ siamese เรียก   แม่ดิฉันเรียกว่าแหวนหัวมอญ    รูปทรงแบบเดิมเป็นแบบเกลี้ยงๆ อย่างในรูปซ้าย   ส่วนรูปขวามีการออกแบบเรือนให้สวยวิจิตรประณีตขึ้นมา
แม่ยังเล่าต่อว่าแหวนหัวมอญแบบนี้  เป็นที่นิยมกันในหมู่เศรษฐีเจ้าของสวน  เป็นเรือนทองเกลี้ยงๆ หัวฝังเพชรเม็ดเดี่ยว  ไม่มีเพชรล้อมหรือออกแบบลวดลายใดๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 11:25

สร้อยทับทิมจากห้างคาเทียร์ชุดนี้เป็นสมบัติของป้าลิซที่ได้จากสามี ไมค์ ทอดด์      เป็นทับทิมอินเดีย พม่า หรือสยาม ก็สุดจะเดา  รู้แต่ว่าราคาแพงพันลึกมโหฬาร 


บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 13:08

ผมเคยจำคลับคล้ายได้ว่า  ทับทิมพม่านั้นจะมี...สาแหรก อยู่นะครับ

และสมัยก่อนเมื่อพูดถึงทับทิมก็ต้องหมายถึงทับทิมของพม่าเท่านั้น

ทับทิมสยามเกิดขึ้นทีหลัง และความสวยสู้ทับทิมพม่าไม่ได้เลย ราคาก็ห่างไกลกันมาก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 20 คำสั่ง